ประยงค์ ชื่นเย็น

ประยงค์ ชื่นเย็น เป็นนักเรียบเรียงเสียงประสานเพลงลูกทุ่งชื่อดัง ที่อยู่ในวงการมานานหลายสิบปี โดยมีผลงานการเรียบเรียงเพลงไว้มากมาย และเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประจำปี พ.ศ. 2552

ประยงค์ ชื่นเย็น
เกิด12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 (78 ปี)
อาชีพนักดนตรี นักเรียบเรียงเสียงประสาน
ปีที่แสดงพ.ศ. 2516 - ปัจจุบัน
ผลงานเด่นขายส้มตำข้าวเหนียวไก่ย่าง จดหมายจากแนวหน้า หนุ่มนารอนาง เทพธิดาผ้าซิ่น อีสาวทรานซิสเตอร์ ขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก
ศิลปินแห่งชาติพ.ศ. 2552 - สาขาศิลปะการแสดง (เพลงไทยลูกทุ่ง)

ประวัติ

แก้

ประยงค์ เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 ที่จังหวัดพระตะบอง จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนการช่างบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ (ปัจจุบันคือวิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์)

ประยงค์ เริ่มเข้าสู่วงการเพลงไทยลูกทุ่งและเพลงไทยสากล ปลายปีพ.ศ. 2510 โดยการชักนำของ แดน บุรีรัมย์โดยได้มีโอกาสเข้าสังกัดวงดนตรีลูกทุ่งตำแหน่งทรัมเป็ต ของวงรวมดาวกระจาย ของครูสำเนียง ม่วงทองต่อมาจึงอยู่กับวงดนตรีสุรพัฒน์ ของชลธี ธารทอง วงดนตรีของผ่องศรี วรนุช และ เพลิน พรหมแดน ตามลำดับ[1]

ประยงค์เริ่มทำงานด้านการเรียบเรียงเสียงประสานในปี พ.ศ. 2516 โดยเป็นผู้เรียบเรียงเพลงทุกรูปแบบ และควบคุมการบรรเลงเพลงให้กับวงดนตรีไทยลูกทุ่งและไทยสากล ผลงานบันทึกเสียงเพลงแรกในฐานะผู้เรียบเรียงเสียงประสาน คือเพลง ทนหนาวอีกปี ขับร้องโดย เด่น บุรีรัมย์ ต่อมาได้เรียบเรียงเสียงประสานเพลงมากมายนับพันเพลง บทเพลงที่สร้างชื่อเสียงได้แก่ เพลง จดหมายจากแนวหน้า ทหารเรือมาแล้ว อเวจีใจ ล่องเรือหารัก ของยอดรัก สลักใจ เพลง หนุ่มนารอนาง ของ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ เพลง อกหักซ้ำสอง ของสายัณห์ สัญญา เพลง เทพธิดาผ้าซิ่น ของเสรี รุ่งสว่าง เพลง อีสาวทรานซิสเตอร์ ของอ้อยทิพย์ ปัญญาธรณ์ เพลง ท้ารัก ของบุษบา อธิษฐาน เพลง รักจริงให้ติงนัง ของรุ่ง สุริยา เพลง ขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก ของธานินทร์ อินทรเทพ เพลง ส่วนเกิน ของดาวใจ ไพจิตร รวมถึงเพลงของพุ่มพวง ดวงจันทร์ เช่น หัวใจถวายวัด ผู้ชายในฝัน ห่างหน่อยถอยนิด เป็นต้น อีกทั้งยังได้เรียบเรียงเสียงประสานเพลงพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพลงที่รู้จักกันดีคือ เพลงส้มตำ ฉบับที่ขับร้องโดย พุ่มพวง ดวงจันทร์ และ สุนารี ราชสีมา[2]

ประยงค์ ชื่นเย็น ยังเป็นผู้สร้างปรากฏการณ์ให้กับวงการเพลงลูกทุ่ง โดยการประสมประสานระหว่างดนตรีพื้นบ้านของไทยกับดนตรีตะวันตก ได้เริ่มนำเครื่องดนตรีไทยหลายชนิดมาบรรเลงผสมกับเครื่องดนตรีสากล จนเป็นเอกลักษณ์ของเพลงลูกทุ่ง[3]

ประยงค์ได้รับรางวัลเกียรติยศมากมาย เช่น รางวัลเสาอากาศทองคำพระราชทาน จากการเรียบเรียงเสียงประสานเพลง แม่ยก อาลัยนักรบ และหนุ่มนารอนาง รางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ประเภทเพลงไทยลูกทุ่ง จากเพลง อีสาวทรานซิสเตอร์ ข้อยเว้าแม่นบ่ รางวัลนักรบ ประเภทเพลงไทยสากล จากเพลง ปั้นดินให้เป็นดาว เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นวิทยากร และอาจารย์พิเศษสอนดนตรีของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และยังเป็นกรรมการตัดสินทางด้านดนตรีและขับร้องรายการต่างๆ โดยยังคงมีผลงานการเรียบเรียงเสียงประสานเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2552 ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ดนตรีไทยลูกทุ่ง-ผู้เรียบเรียงเสียงประสาน[4]

ผลงานการแสดงภาพยนตร์

แก้
  • มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม. (2545)

ผลงานการเรียบเรียงเสียงประสานเพลง

แก้
  • สายัณห์ สัญญา
    • คนซื่อที่ไร้ความหมาย
    • รักจริงมีไหมใจเธอ
    • คนซื่อคือคนช้ำ
    • อกหักซ้ำสอง
    • นางฟ้ายังอาย
    • ห้องนอนคนจน
    • ของขวัญจากแฟน
    • ของขวัญให้แฟน
    • วานนี้รักวันนี้ลืม
    • กินอะไรถึงสวย
  • ยอดรัก สลักใจ
    • จดหมายจากแนวหน้า
    • รักขมที่สันทราย
    • สามสิบยังแจ๋ว
    • ขาดคนหุงข้าว
    • ทหารเรือมาแล้ว
    • ขอบคุณแฟนเพลง
    • หนุ่มนารอนาง
    • หนุ่มบ้านนอก
    • ลืมพี่หรือน้อง
    • รางวัลนักรบ
    • มีแฟนหรือยัง
    • ฝากใจไว้อีสาน
    • ไอ้หนุ่มตู้เพลง
    • โชคดีที่รัก
    • เด็กมันยั่ว
    • อเวจีใจ
    • รักแม่หม้าย
    • ล่องเรือหารัก
  • เสรี รุ่งสว่าง
    • เทพธิดาผ้าซิ่น
    • จดหมายจากแม่
    • ร้องเพลงเพื่อแม่
    • ไอ้หนุ่มบ้านนา
  • ชาย เมืองสิงห์
    • ลูกสาวใครหนอ
  • สันติ ดวงสว่าง
    • ทหารผ่านศึก
  • รุ่ง สุริยา
    • รักจริงให้ติงนัง
  • สดใส รุ่งโพธิ์ทอง
    • นรกออนไลน์
  • พงษ์สิทธิ์ คำภีร์
    • รักเก่าที่บ้านเกิด

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ประยงค์ ชื่นเย็น บุคคลสำคัญคนบุรีรัมย์[ลิงก์เสีย]
  2. "ศิลปินแห่งชาติความทุ่มเททั้งชีวิตของประยงค์ ชื่นเย็น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-22. สืบค้นเมื่อ 2011-08-05.
  3. รายละเอียดวิทยานิพนธ์ การเรียบเรียงเสียงประสานของ ประยงค์ ชื่นเย็น[ลิงก์เสีย]
  4. ประวัติจากเว็บไซต์ ศิลปินแห่งชาติ[ลิงก์เสีย]
  5. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๓เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๓ ข ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ หน้า ๑๔๕