อินโดจีนของฝรั่งเศส

(เปลี่ยนทางจาก สหภาพอินโดจีน)

อินโดจีนของฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Indochine française, อังกฤษ: French Indochina) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สหภาพอินโดจีน (Union Indochinoise) เป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2430 โดยประกอบด้วยตังเกี๋ย อันนัม โคชินไชนา (ทั้งสามแห่งรวมกันเป็นประเทศเวียดนามในปัจจุบัน) และกัมพูชา ต่อมาในปี พ.ศ. 2436 จึงได้รวมเอาลาวเข้ามา อินโดจีนมีไซ่ง่อนเป็นเมืองหลวงจนถึงปี พ.ศ. 2445 จึงได้ย้ายเมืองหลวงมาที่ฮานอย ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง อินโดจีนถูกปกครองโดยฝรั่งเศสเขตวีชีและยังถูกญี่ปุ่นรุกรานด้วย ในต้นปี พ.ศ. 2489 เวียดมินห์ได้เริ่มต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศส ซึ่งในภายหลังเรียกว่าสงครามอินโดจีน ส่วนทางใต้ได้มีการก่อตั้งรัฐเวียดนามซึ่งนำโดยจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย แห่งเวียดนาม และได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2492 แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2498 เวียดมินห์ก็ได้กลายเป็นรัฐบาลของเวียดนามเหนือตามอนุสัญญาเจนีวา โดยที่รัฐบาลของจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ยังคงปกครองเวียดนามใต้อยู่

สหภาพอินโดจีน

Union indochinoise  (ฝรั่งเศส)
Liên bang Đông Dương  (เวียดนาม)
សហភាពឥណ្ឌូចិន  (เขมร)
ສະຫະພາບອິນດູຈີນ  (ลาว)
ค.ศ. 1887–1945
ค.ศ. 1945–1954
ธงชาติอินโดจีนของฝรั่งเศส
ธงชาติ
มหาลัญจกร[a]ของอินโดจีนของฝรั่งเศส
มหาลัญจกร[a]
ตราแบบเวียดนามของผู้ว่าราชการอินโดจีนของฝรั่งเศส[b]
แผนที่อินโดจีนของฝรั่งเศส ไม่รวมGuangzhouwan
แผนที่อินโดจีนของฝรั่งเศส ไม่รวมGuangzhouwan
สถานะสหพันธรัฐอาณานิคมฝรั่งเศส
เมืองหลวง
ภาษาทั่วไปฝรั่งเศส (ทางการ)
ศาสนา
การปกครองสหพันธรัฐฝรั่งเศส
ผู้ว่าราชการ 
• 1887–1888 (คนแรก)
Ernest Constans
• 1955–1956 (คนสุดท้าย)
Henri Hoppenot[d]
ยุคประวัติศาสตร์จักรวรรดินิยมใหม่
ค.ศ. 1858–85
• ก่อตั้ง
17 ตุลาคม ค.ศ. 1887
19 เมษายน ค.ศ. 1899
• ได้พื้นที่Guangzhouwan
5 มกราคม ค.ศ. 1900
22 กันยายน ค.ศ. 1940
ตุลาคม ค.ศ. 1940 – พฤษภาคม ค.ศ. 1941
9 มีนาคม ค.ศ. 1945
13 กันยายน ค.ศ. 1945
19 ธันวาคม ค.ศ. 1946
21 กรกฎาคม ค.ศ. 1954
สกุลเงินปียัสทร์อินโดจีนของฝรั่งเศส
ก่อนหน้า
ถัดไป
1887:
รัฐในอารักขา
อันนัม
รัฐในอารักขา
ตังเกี๋ย
โคชินไชนา
กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส
1899:
อาณาจักร
หลวงพระบาง
1900:
Guangzhouwan
1904:
อาณาจักรจำปาศักดิ์
ราชอาณาจักร
สยาม
1945:
สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม
ราชอาณาจักรกัมพูชา
1946:
ลาวอิสระ
1945:
จักรวรรดิ
เวียดนาม
Kingdom of
Kampuchea
อาณาจักร
หลวงพระบาง
Guangzhouwan
จักรวรรดิญี่ปุ่น
1954:
รัฐ
เวียดนาม
ราชอาณาจักรกัมพูชา
ราชอาณาจักรลาว
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ เวียดนาม
 ลาว
 กัมพูชา
 จีน
  1. มหาลัญจกรฝรั่งเศสที่นำมาดัดแปลงให้เข้ากับท้องถิ่น โดยนำสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป, วิทยาศาสตร์ และไก่เพศผู้ฝรั่งเศสของฝรั่งเศสออก แล้วเพิ่มสมอและรวงข้าวลงไป[1]
  2. ใช้ในเอกสารภาษาจีนคลาสสิก ตัวอักษรนี้เขียนเป็น Đại Pháp Quốc Khâm mệnh Tổng thống Đông Dương Toàn quyền đại thần quan nho (大法國欽命總統東洋全權大臣關伩) ในseal script
  3. เปลี่ยนชื่อเป็น "ไทย" ตั้งแต่ ค.ศ. 1939
  4. ในฐานะข้าหลวง

การแทรกแซงครั้งแรกของฝรั่งเศส

แก้

ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามและฝรั่งเศสเริ่มต้นขึ้นเมื่อราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยมีมิชชันนารีคณะเยสุอิตนำโดยบาทหลวงอาแล็กซ็องดร์ เดอ รอด เข้ามาเผยแผ่คริสต์ศาสนาในช่วงเวลาดังกล่าว เวียดนามเพิ่งจะเข้าครอบครองดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ซึ่งเคยเป็นดินแดนของอาณาจักรจามปามาได้ไม่นานนัก[2] ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับยุโรปจำกัดอยู่แค่เรื่องการค้าเท่านั้น ในปี พ.ศ. 2330 ปีโญ เดอ เบแอนได้ร้องเรียนรัฐบาลฝรั่งเศสและจัดตั้งอาสาสมัครทหารฝรั่งเศสเพื่อช่วยเหลือเหงียน อั๊ญ (ซึ่งภายหลังคือจักรพรรดิยา ลอง) ให้ได้ดินแดนที่สูญเสียให้กับราชวงศ์เต็ยเซินกลับคืนมา ปีโญเสียชีวิตในเวียดนาม แต่กองทหารของเขายังคงต่อสู้จนถึงปี พ.ศ. 2345 ฝรั่งเศสเข้าไปเกี่ยวของกับเวียดนามอย่างมากในคริสต์ศตวรรษที่ 19 อาทิเช่น การปกป้องกิจการของคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ซึ่งเข้ามาเผยแผ่นิกายโรมันคาทอลิก การกระทำดังกล่าวทำให้ราชวงศ์เหงียนรู้สึกว่าคณะมิชชันนารีที่เข้ามานั้นเป็นการคุกคามทางการเมือง

ในปี พ.ศ. 2401 ราชวงศ์เหงียนได้รวบรวมดินแดนทั้งหมดไว้ได้ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ซึ่งทำได้สำเร็จโดยการบุกโจมตีดานังของพลเรือเอกชาร์ล รีโกล เดอ เฌอนูยี ซึ่งทำให้คณะมิชชินนารีไม่ถูกขับไล่ ในเดือนกันยายนกองทัพผสมระหว่างฝรั่งเศสและชาวพื้นเมืองในอาณานิคมของสเปน[3]ได้เข้าโจมตีท่าเรือตูรานที่ดานังและยึดเมืองสำเร็จในที่สุด

เดอ เฌอนูยีได้ล่องเรือลงไปทางใต้ และได้เข้าครอบครองไซ่ง่อนเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2402 ต่อมารัฐบาลเวียดนามถูกบังคับให้ยกเบียนหฮว่า ซาดิ่ญ และดิ่ญเตื่องให้กับฝรั่งเศส เดอ เฌอนูยีถูกวิพากษ์วิจารณ์และถูกถอดออกจากหน้าที่ในเดือนพศจิกายน พ.ศ. 2402 เพราะว่าเขาได้รับคำสั่งให้ปกป้องศาสนาคริสต์ ไม่ใช่เพื่อขยายอาณาเขต อย่างไรก็ดี นโยบายของฝรั่งเศสในช่วงเวลาสี่ปีถัดมากลับเปลี่ยนไปเป็นตรงกันข้าม ดินแดนของฝรั่งเศสในเวียดนามค่อยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในปี พ.ศ. 2405 ฝรั่งเศสได้รับสัมปทานท่าเรือสามแห่งในอันนัม ตังเกี๋ย และโคชินไชนาจากจักรพรรดิตึ ดึ๊ก และต่อมาในปี พ.ศ. 2407 ฝรั่งเศสก็ประกาศดินแดนของฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2410 จังหวัดเจิวด๊ก (โชฎก) ห่าเตียน และหวิญล็องก็ตกเป็นของฝรั่งเศส

ในปี พ.ศ. 2406 สมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์ได้ขอให้กัมพูชาเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส และในปี พ.ศ. 2410 สยามได้ประกาศยกเลิกอำนาจเหนือกัมพูชาและยอมรับสถานะกัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส โดยแลกกับจังหวัดพระตะบองและเสียมราฐ

การสถาปนาอินโดจีนของฝรั่งเศส

แก้
 
อาณาเขตของอินโดจีนของฝรั่งเศส
แสดงด้วยสีม่วง

ฝรั่งเศสได้เข้าควบคุมเวียดนามเหนือหลังจากได้รับชัยชนะในสงครามจีน-ฝรั่งเศสระหว่างปี พ.ศ. 2427 - 2428 ฝรั่งเศสได้รวมเอาดินแดนทั้งสี่แห่งเข้าไว้ด้วยกันเป็นอินโดจีนของฝรั่งเศสเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2430 ส่วนลาวนั้นถูกผนวกเข้าภายหลังสงครามฝรั่งเศส-สยาม

โดยนิตินัย ฝรั่งเศสได้มอบอำนาจให้กับผู้ปกครองท้องถิ่นในรัฐในอารักขาทั้งสี่ ได้แก่ จักรพรรดิเวียดนาม กษัตริย์กัมพูชา และเจ้ามหาชีวิตลาว แต่ในความเป็นจริงแล้ว อำนาจอยู่กับข้าหลวงใหญ่มากกว่าบรรดาผู้ปกครองท้องถิ่น โดยผู้ปกครองท้องถิ่นเป็นเหมือนหุ่นเชิดเท่านั้น ฝรั่งเศสปกครองอินโดจีนอยู่จนถึงปี พ.ศ. 2497

การก่อจลาจลในเวียดนาม

แก้

กองทหารฝรั่งเศสขึ้นฝั่งเวียดนามในปี พ.ศ. 2401 และในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1880 ก็ได้แผ่ขยายเข้าไปในภาคเหนือของเวียดนาม ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2428 -2438ฟาน ดิ่ญ ฝุ่งได้นำการก่อจลาจลต่อต้านฝรั่งเศส แนวคิดชาตินิยมได้รุนแรงขึ้นในเวียดนาม โดยเฉพาะในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและหลังจากนั้นเป็นต้นมา แต่การลุกฮือและความพยายามทั้งหมดก็ไม่ได้ทำให้เกิดอะไรขึ้น

สงครามฝรั่งเศส-สยาม

แก้
 
กองทัพสยามในลาว

ข้อพิพาทดินแดนในคาบสมุทรอินโดจีนจากการขยายอาณาเขตของอินโดจีน นำไปสู่สงครามระหว่างสยามและฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2436 ทางฝรั่งเศสได้ใช้ข้อขัดแย้งในเรื่องเขตแดนในการกระตุ้นวิกฤตขึ้นมา เรือปืนของฝรั่งเศสได้บุกเข้ามาถึงกรุงเทพมหานครและเรียกร้องให้สยามส่งมอบดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ขอความช่วยเหลือจากอังกฤษ แต่ทูตอังกฤษได้แนะนำให้ยอมทำตามคำร้องขอของฝรั่งเศส อังกฤษได้ทำข้อตกลงร่วมกับฝรั่งเศสว่าจะรับรองบูรณภาพของดินแดนส่วนที่เหลือสยาม โดยสยามจะต้องยอมยกดินแดนในรัฐฉานให้กับอังกฤษ และยกลาวให้กับฝรั่งเศส

การรุกล้ำมากขึ้นในสยาม (พ.ศ. 2447-2450)

แก้
 
การส่งมอบตราดให้กับฝรั่งเศส

ฝรั่งเศสได้กดดันสยามอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2449-2450 ได้เกิดวิกฤตขึ้นอีกครั้ง โดยครั้งนี้ สยามต้องยอมรับว่าดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงฝั่งตรงข้ามเมืองหลวงพระบางและพื้นที่ทางตะวันตกของแขวงจำปาศักดิ์ในปัจจุบันเป็นของฝรั่งเศส ฝรั่งเศสยังยึดจันทบุรีไว้เป็นประกัน และเพื่อที่จะได้จันทบุรีกลับมา สยามต้องยอมยกตราดให้เป็นส่วนหนึ่งของอินโดจีน ตราดกลับมาเป็นของไทยอีกครั้งในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 โดยต้องแลกกับดินแดนมณฑลบูรพา ได้แก่ พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ และ ปัจจันตคีรีเขตร์

 
อินโดจีนของฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2456

ในคริสต์ทศวรรษ 1930 สยามได้เรียกร้องให้ฝรั่งเศสส่งมอบดินแดนที่เคยเป็นของสยามกลับคืน และในปี พ.ศ. 2481 ฝรั่งเศสก็ได้ตกลงที่จะส่งมอบนครวัด นครธม เสียมราฐ แสนปาง และบริเวณเกี่ยวเนื่องแก่สยาม ในขณะนั้น สยามก็เข้าครอบครองดินแดนที่ได้รับคืน โดยคาดหวังในสนธิสัญญาที่กำลังจะมีขึ้น ผู้ลงนามของทั้งสองประเทศได้เดินทางไปยังโตเกียวเพื่อลงนามในสนธิสัญญาส่งมอบดินแดนคืน

พรรคชาตินิยมเวียดนาม

แก้

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473 ทหารเวียดนามได้ลุกฮือขึ้นในกองทหารรักษาการแห่งเอียนบ๊าย การจลาจลแห่งเอียนบ๊ายได้รับการสนับสนุนจากพรรคชาตินิยมเวียดนาม (Việt Nam Quốc Dân Đảng) การปะทะกันครั้งนี้เป็นการก่อความไม่สงบครั้งใหญ่ที่สุดที่เคยเกิดขึ้นตั้งแต่การก่อจลาจลของฟาน ดิ่ญ ฝุ่ง และ ขบวนการจักรพรรดินิยมเกิ่นเวืองในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 จุดประสงค์ของการปฏิวัติคือเพื่อจะกระตุ้นให้การลุกฮือแผ่ขยายขึ้นในหมู่ประชาชนทั่วไปที่มีเป้าหมายที่จะล้มอำนาจเจ้าอาณานิคม ก่อนหน้านี้ พรรคชาตินิยมเวียดนามได้พยายามที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมลับที่จะบ่อนทำลายอำนาจการปกครองของฝรั่งเศส แต่ก็ทำให้ฝรั่งเศสจับตามองการกระทำดังกล่าวและทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดการปะทะกับในพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดงในเวียดนามเหนือ

สงครามฝรั่งเศส-ไทย (พ.ศ. 2483-2484)

แก้

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยได้โอกาสอ้างสิทธิในดินแดนที่เคยเป็นของตนขณะที่ฝรั่งเศสกำลังอ่อนแอ จึงเปิดสงครามระหว่างไทยและฝรั่งเศสขึ้นในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2483 - 28 มกราคม พ.ศ. 2484 ในเดือนมกราคมกองทัพเรือฝรั่งเศสสามารถเอาชนะกองทัพเรือไทยได้ในการรบที่เกาะช้าง สงครามจบลงตามโดยมีญี่ปุ่นเป็นตัวกลางในการเจรจา โดยที่ไทยได้รับดินแดนกลับคืนมาบางส่วน

สงครามโลกครั้งที่สอง

แก้

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2483 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ฝรั่งเศสเขตวีชีซึ่งเป็นรัฐบาลหุ่นเชิดของนาซีเยอรมนี ได้อนุญาตให้ญี่ปุ่นเข้ามาในตังเกี๋ย เพื่อให้ญี่ปุ่นสามารถยกทัพเข้าไปในจีนได้สะดวกขึ้น เหตุการณ์นี้ทำให้ไทยถือโอกาสอ้างสิทธิ์ในดินแดนที่เคยเสียไป ทำให้เกิดสงครามระหว่างฝรั่งเศสและไทยระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2483 - 28 มกราคม พ.ศ. 2484 ในเวลาต่อมา

อ้างอิง

แก้
  1. Lecompte, Jean. Monnaies et jetons de l'Indochine Française. (Principality of Monaco, 2013) Quote: "Les légendes sont bien sûr modifiées. A gauche, les attributs de l'agriculture et des beaux-arts sont remplacés par des épis de riz et à droite figure une ancre symbolisant le ministère de la Marine et des Colonies. Hélas, Albert-Désiré Barre décède le 29 décembre 1878 et c'est alors son frère aîné Auguste-Jean Barre qui lui succède et mène à terme le projet. Les premières frappes sortent en 1879." (ในภาษาฝรั่งเศส))
  2. Kahin, George McTurnin (1967). The United States in Vietnam: An analysis in depth of the history of America's involvement in Vietnam. Delta Books. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  3. Chapuis, Oscar (1995). A History of Vietnam: From Hong Bang to Tu Duc (Google Book Search). Greenwood Publishing Group. p. 195. ISBN 0313296227.

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

แม่แบบ:EB1922 poster

21°02′00″N 105°51′00″E / 21.0333°N 105.8500°E / 21.0333; 105.8500