กรุ 1 กรุ 3 กรุ 4 กรุ 5 กรุ 6 กรุ 7

ทับศัพท์

พอดีอยากจะรบกวนถามว่าคำด้านล่างนี้ทับศัพท์ว่าอะไรกันบ้างหรอครับ

ขอบคุณครับ --โก๋ปอ (พูดคุย) 16:59, 15 มิถุนายน 2560 (ICT)

  • Respublykanskyi Stadion = เรสปูบลีคันสกีย์สตาดีออน
  • Ukrainian Cup = ยูเครเนียนคัป
  • Olimpiiska = โอลิมปีย์สกา
  • Lobanovsky Dynamo = โลบานอว์สกีดีนาโม
  • ground of Dynamo เอามาจากไหนครับ

--Potapt (พูดคุย) 17:14, 15 มิถุนายน 2560 (ICT)

Republican Stadium (ริพับลิกันสเตเดียม) กับ Respublykanskyi Stadion คืออันเดียวกันครับ --Potapt (พูดคุย) 17:17, 15 มิถุนายน 2560 (ICT)

สวัสดีครับคุณ Potapt

รบกวนทับศัพท์คำให้หน่อยครับ

  •   День командира дивизии (ชื่อภาพยนตร์)
  •   Афана́сий Павла́нтьевич Белоборо́дов
  •   Документ Р (เปลี่ยนชื่อบทความ Dokument R)
  •   Suomen marsalkka (เปลี่ยนชื่อบทความ Suomen marsalkka)
  •   Battle of Dybbøl

และมีเรื่องอยากจะถามครับ

  1. Legion ในทางทหารแปลว่าอะไรครับ
  2. ในภาษารัสเซีย ถ้ามีตัว У ลงท้ายต้องออกเสียงเป็นสระอูเปล่าครับ อย่าง บีตวาซามัสวู (Битва за Москву)

ช่วยตอบที่หน้าพูดคุยของผมนะครับ ขอบคุณครับ--Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 03:01, 17 มิถุนายน 2560 (ICT)

ข้อมูลถูกลบ

ทำไมถึงลบข้อมูลประชากรรายตำบลแต่ล่ะอำเภอ คือผิดตรงช่วยบอกได้ไหมคับ จะแก้ให้ถูก ผมจะได้ทำต่อ 878อำเภอ ใช้เวลาเหมือนกันนะคับ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ ทศพล ทรวงชัย (พูดคุยหน้าที่เขียน) 19:55, 17 มิถุนายน 2560 (ICT)

เรื่องใช้เวลานาน ผมเข้าใจครับเพราะผมก็เคยทำข้อมูลพวกนั้นมาบ้าง แต่ที่ลบออกเพราะตารางเหล่านั้นไม่มีลักษณะเป็นสารานุกรมครับ ไม่ได้บอกว่าไม่มีประโยชน์ แต่มันจิปาถะเกินไป แทบไม่เกี่ยวข้องกับชื่อบทความ (ถ้าเป็นตารางประกอบเนื้อหาความเรียงก็ว่าไปอย่าง) แล้วข้อมูลมันก็เพิ่มขึ้นทุกปี ๆ ไม่มีใครตรวจสอบได้หมดหรอกครับ --Potapt (พูดคุย) 01:56, 18 มิถุนายน 2560 (ICT)

ถ้าไม่ทำเป็นตาราง สามารถทำได้แบบไหน ข้อมูลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผมจะลบข้อมูลปีสุดท้าย เพื่อจะให้ข้อมูลย้อนหลังแค่10ปี --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ ทศพล ทรวงชัย (พูดคุยหน้าที่เขียน) 08:36, 18 มิถุนายน 2560 (ICT)

ประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่าทำกี่ปีครับ แต่อยู่ที่ว่ามันไม่เป็นสารานุกรมและเนื้อหาไม่เกี่ยวข้องกับบทความ --Potapt (พูดคุย) 15:51, 18 มิถุนายน 2560 (ICT)

รถไฟฟ้า

ประเด็นที่ 1 ระบบของรถไฟฟ้าสายสุขุมวิทและสีลม: BMT มันหมายถึงเฉพาะ BTS ส่วนที่อยู่ในอาณาเขตกทม. (ส่วนที่อยู่ภายใต้สัญญาของกทม.) เท่านั้นนะครับ แต่รถไฟฟ้าบีทีเอสในปัจจุบันมันมีโครงการไปถึงนอกกทม.ด้วยนะครับ (ส่วนที่อยู่ภายใต้สัญญาของรฟม.) ดังนั้นในบทความสายสุขุมวิทและสีลม จึงต้องลงข้อมูลว่าใช้ระบบ "รถไฟฟ้าบีทีเอส" แทนที่จะเป็น "ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร" --☭ Walker Emp (พูดคุย) 18:39, 18 มิถุนายน 2560 (ICT)

ประเด็นที่ 2 หัวของกล่องข้อมูลนั้น ผมขอหยิบยกการอภิปราย (คลิก) การอภิปรายครั้งนั้นเห็นไปในทางเดียวกันว่าควรใช้ชื่อทั่วไปมากกว่า ประกอบกับแบบแผนในการตั้งชื่อหัวกล่องข้อมูลของรถไฟฟ้าสายต่างๆในวิกิภาษาอังกฤษที่มักจะใช้ชื่อโดยสรุปเป็นหัวกล่องข้อมูล --☭ Walker Emp (พูดคุย) 18:39, 18 มิถุนายน 2560 (ICT)

ประเด็นที่ 1 แล้วแต่คุณกับผู้ใช้อีกคนจะตกลงกันเลยครับ ผมแค่ย้อนกลับไปพร้อมกับประเด็นที่ 2 เท่านั้น จะได้ไม่เข้าใจผิดว่ายอมรับแบบใดแบบหนึ่ง
  สำเร็จ --☭ Walker Emp (พูดคุย) 19:06, 18 มิถุนายน 2560 (ICT)
ประเด็นที่ 2 ที่เขาคุยกันนั่นหมายถึง "ชื่อบทความ" นะครับ (เพราะตอนนั้นใช้ชื่อทางการเป็นชื่อบทความอยู่) ไม่ใช่ชื่อตรงส่วนหัวกล่องข้อมูล ซึ่งผมไม่เห็นว่าจะเป็นอะไรถ้าใส่ชื่อทางการตรงนั้น เพราะเนื้อหาในส่วนนำก็อ้างถึงชื่อทั่วไปอยู่แล้ว ในหน้าประเทศไทยก็ใช้ชื่อทางการตรงส่วนหัวกล่องข้อมูลเหมือนกัน --Potapt (พูดคุย) 18:47, 18 มิถุนายน 2560 (ICT)
เวลาผมลงข้อมูลในกล่องข้อมูล ผมก็จะคิดเผื่อไปถึงผู้ใช้งานวิกิพีเดียบนโทรศัพท์มือถือ (ซึ่งไม่น้อยที่ดูแค่กล่องข้อมูล ไม่ได้เลื่อนลงมาดูเนื้อหา) วัตถุประสงค์ของการมีกล่องข้อมูลคือการนำเสนอ quick fact ซึ่งผมเห็นว่าการไปใส่ชื่ออย่างเป็นทางการตรงนั้น ผมเกรงว่ามันจะไปลดประสิทธิภาพของการเป็น quick fact อย่างบทความสายรถไฟจำนวนมากในวิกิภาษาอื่น เขาก็ใส่ชื่อทั่วไปเท่านั้น เอาเป็นว่า ผมจะขอแก้หัวกล่องข้อมูลเป็นชื่อทั่วไปละกัน ส่วนชื่ออย่างเป็นทางการจะเอาไปใส่ไว้ใน อินพุต other_name ซึ่งจะแสดงผลอยู่ใต้รูปภาพในกล่องข้อมูล--☭ Walker Emp (พูดคุย) 19:06, 18 มิถุนายน 2560 (ICT)
ผมเปิดดูจากมือถือแล้วมันเพิ่มมาแค่บรรทัดเดียวเองนะครับ และ other_name มันควรจะเป็นชื่อเรียกทั่วไปมากกว่า --Potapt (พูดคุย) 19:13, 18 มิถุนายน 2560 (ICT)
แล้วจะเอาชื่อเรียกในภาษาอื่นมาเป็นตัวตั้ง แบบนี้ไม่ต้องเปลี่ยนชื่อเป็น "สายสุขุมวิท" กับ "สายสีลม" ไปด้วยเหรอครับ --Potapt (พูดคุย) 19:18, 18 มิถุนายน 2560 (ICT)
en:MRT_Purple_Line ยังเอาชื่อทางการใส่ไว้ตรงหัวกล่องข้อมูลเลย ทั้งที่ชื่อบทความใช้ชื่อเรียกทั่วไป --Potapt (พูดคุย) 19:29, 18 มิถุนายน 2560 (ICT)

เรื่องชื่อดาว

ผมเข้าใจเหตุผลที่ว่ามา

อย่างไรก็ตาม ผมไม่เคยเห็นใครเรียกชื่อดาวนี้ว่า "แคสเตอร์" ดังนั้นอย่างน้อยเปลี่ยนกลับเป็น "คาสเตอร์ ละกันครับ อย่างน้อยคนทั่วไปก็คุ้นเคยกว่า --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Phyblas (พูดคุยหน้าที่เขียน) 16:00, 29 มิถุนายน 2560 (ICT)

บางชื่อแปลกๆ

ช่วยตรวจดูชื่อบุคคลในบทความ รัฐประหารวังหลวงพม่า พ.ศ. 2421–2422 บางชื่อสะกดผิด เหมือนแปลเอาเอง ไม่ตรงตามสัทอักษร แปลกไปจากที่คนพม่าเรียกมาก ไม่ไกล้เคียงเลย --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 171.5.243.103 (พูดคุย | ตรวจ) 13:21, 2 กรกฎาคม 2560 (ICT)

สวัสดีครับคุณ Potapt

รบกวนช่วยทับศัพท์คำให้หน่อยครับ

  • Святослав
  • Святополк
  • Кузьма́ Ми́нин (ชื่อเต็ม:Кузьма́ Ми́нич Заха́рьев Сухору́кий)
  • Ну, погоди! (ชื่อการ์ตูน)
  • Зимний вечер в Гаграх (ชื่อภาพยนตร์)
  • Минута молчания (ชื่อรายการโทรทัศน์)
  • Государственная граница (ชื่อภาพยนตร์โทรทัศน์)
  • Гостья из будущего (ชื่อภาพยนตร์โทรทัศน์)

ช่วยตอบที่หน้าพูดคุยของผมนะครับ ขอบคุณครับ--Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 21:51, 11 กรกฎาคม 2560 (ICT)

ทับศัพท์

สวัสดีครับ รบกวนคุณ Potapt ช่วยทับศัพท์ชื่อตามนี้ให้หน่อยครับ

  •   Benjamin Mendy
  •   Thomas Lemar
  •   Tiemoué Bakayoko
  •   Douglas Luiz Soares de Paulo

ขอบคุณมากครับ --Wutzwz (พูดคุย) 09:40, 25 กรกฎาคม 2560 (ICT)

  • Benjamin Mendy แบ็งฌาแม็ง แมนดี
  • Thomas Lemar ตอมา เลอมาร์
  • Tiemoué Bakayoko ตีเยมูเอ บากายอโก
  • Douglas Luiz Soares de Paulo โดกลัส ลูอิส โซอาริส จี เปาลู

--Potapt (พูดคุย) 02:21, 26 กรกฎาคม 2560 (ICT)

กรกฎาคม 2560

  คุณอาจไม่ได้ตั้งใจ แต่การแก้ไขล่าสุดของคุณในหน้า หมวดหมู่:พื้นที่หน่วงน้ำ ได้ลบเนื้อหาออกไปเกือบหมด หรือได้ทำหน้าดังกล่าวว่าง ซึ่งกรณีแบบนี้ทำให้ผู้ใช้อื่นไม่แน่ใจถึงเจตนาของคุณ และเนื่องจากการก่อกวนที่มากขึ้น ทำให้ผู้ใช้อื่นอาจเข้าใจผิดว่าเป็นการก่อกวนได้

  • ในกรณีที่คุณได้ตั้งชื่อผิด หรือต้องการเปลี่ยนชื่อบทความนั้น ควรใช้วิธีเปลี่ยนชื่อโดยคลิกที่ป้าย เปลี่ยนชื่อ แทนการสร้างบทความใหม่ ซึ่งวิธีนี้จะย้ายประวัติการแก้ไขของบทความไปยังชื่อใหม่
  • ในกรณีที่หน้าดังกล่าวได้ซ้ำซ้อนกับอีกบทความที่มีเนื้อหาสมบูรณ์กว่า คุณอาจเลือกที่จะทำเป็นหน้าเปลี่ยนทางแทน
  • ในกรณีที่คุณต้องการแจ้งลบนั้น ให้คงเนื้อหาเดิมไว้ และเพิ่มโค้ด {{ลบ|สาเหตุที่แจ้งลบ}} ที่ส่วนบนสุดของบทความ

หากมีเจตนาอื่น คุณอาจเลือกใส่แม่แบบแสดงข้อความที่เหมาะสม หรือใช้หน้าพูดคุยในการอภิปราย ในอนาคตคุณควรระบุข้อความสั้นๆแจ้งให้ผู้ใช้อื่นรับทราบสิ่งที่คุณทำก่อนบันทึกการแก้ไขด้วยการใส่คำอธิบายอย่างย่อ ข้อความนี้เป็นข้อความแจ้งอัตโนมัติโดยบอตคุง โปรแกรมอัตโนมัติ หากคุณมีข้อสงสัย หรืออย่างไร กรุณาสอบถามได้ที่เลขาชาววิกิพีเดีย ขอขอบคุณสำหรับความร่วมมือ --JBot | แจ้งผู้ดูแล - 17:59, 29 กรกฎาคม 2560 (ICT)

จักรพรรดิเยอรมัน

ผมเห็นควรให้ใช้ "จักรพรรดิ...แห่งเยอรมัน" มากกว่านะครับ เพราะเอาตามตรง เพราะชื่อประเทศก็คือจักรวรรดิเยอรมัน Title ของเขาก็เป็น German Emperor ไม่ใช่ Emperor of Germany

นอกจากนี้ คำว่า "เยอรมนี" เป็นคำซึ่งแปลมาจากภาษาอังกฤษ ไม่ใช่คำที่มีอยู่จริงๆในภาษาเยอรมัน เหมือน Saxony กับ Sachsen เป็นต้น --☭ Walker Emp (พูดคุย) 00:38, 31 กรกฎาคม 2560 (ICT)

"เยอรมัน" มาจาก German ซึ่งเป็นคำคุณศัพท์ ทำหน้าที่ขยายคำนามคือ Emperor แต่ "แห่ง" เป็นคำบุพบท คำคุณศัพท์ขยายไม่ได้ครับ ถ้าจะแปล "German Emperor" ก็ต้องแปลเป็น "จักรพรรดิเยอรมัน" ให้สอดคล้องกับที่มาเดิม ไม่ใช่ "จักรพรรดิแห่งเยอรมัน" (*Emperor of German) ส่วนประเด็นที่สอง ไม่เข้าใจครับว่าเกี่ยวกันยังไง เพราะ เยอรมัน และ German ก็ไม่ได้มีอยู่ในภาษาเยอรมันเหมือนกัน --Potapt (พูดคุย) 00:45, 31 กรกฎาคม 2560 (ICT)

WLM2017 Invitation

สวัสดีครับ คุณ Potapt/กรุ 5 ผมขอเชิญชวนท่านเข้าร่วมงานประกวดภาพถ่าย Wiki Loves Monuments 2017 in Thailand ซึ่งจะเปิดรับภาพถ่ายระหว่างวันที่ 1-30 กันยายน 2560 นี้ครับ ขอบคุณมากครับ —Athikhun.suw (พูดคุย) 14:26, 13 สิงหาคม 2560 (ICT)

รากนครา

มีคนแยกหน้า รากนครา ไปยัง รากนครา (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2560) ซึ่งมันควรจะรวมกันหรือเปล่า แบบบทความสายโลหิต เพราะมันไม่ได้ได้โดดเด่นพอที่จะแยกเป็นบทความเดี่ยว ช่วยดูให้หน่อย

แล้วบทความ กิ๊กดู๋ สงครามเพลง ก็มีคนย้ายไป กิ๊กดู๋ (รายการโทรทัศน์) แล้วสร้างบทความแยกทั้งที่มันเป็นรายการเดียวกัน ทางช่องเขาแค่เปลี่ยนชื่อรายการ

--2403:6200:8863:9AFE:EC94:4C5F:DF52:8E7B 02:02, 14 สิงหาคม 2560 (ICT)

เมื่อกี้เห็นเปลี่ยนบทความหน้า รากนครา อีกแล้ว เห็นด้วยว่าควรรวมกัน แบบบทความขุนศึก (บันเทิงคดี) เหมือนพยายามทำข้อมูลให้เป็นของช่องสามอย่างเดียว โดยเอาข้อมูลจากหน้าเก่ามาทั้งดุ้น --ไทๆ (พูดคุย) 17:42, 17 สิงหาคม 2560 (ICT)

ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าแบบเดิมไม่ดียังไง --Potapt (พูดคุย) 22:19, 17 สิงหาคม 2560 (ICT)

Salzkammergut

ทำไม ซัลทซ์คัมเมอร์กูท ถึงมี "ท" หลังซัลด้วยหล่ะครับ อย่าง Salzburg ก็ไม่เห็นมีเลย? ทั้งๆที่มันคือคำเดียวกัน แปลว่าเกลือ --☭ Walker Emp (พูดคุย) 23:35, 27 สิงหาคม 2560 (ICT)

ไม่สงสัยบ้างเหรอครับว่าทำไม Salz ในชื่อแรกกับชื่อที่สองใช้สระเสียงสั้นกับสระเสียงยาว --Potapt (พูดคุย) 04:28, 29 สิงหาคม 2560 (ICT)
ผมถามดีๆเพราะว่าไม่รู้ ถ้าไม่อยากตอบก็บอกกันดีๆครับ จะได้ไม่ถาม --☭ Walker Emp (พูดคุย) 12:10, 10 กันยายน 2560 (ICT)
@Setawut: อ๋อ ไม่รู้หรอกเหรอครับ ปกติเห็นคุณส่งข้อความด้วยน้ำเสียง condescending มาแทบทุกครั้ง ก็เลยนึกว่ารู้อยู่แล้วแต่แกล้งถาม z ออกเสียง /ts/ ไม่ได้ออกเสียง /s/ ครับ ส่วน Salzburg มีอยู่ในกำหนดชื่อประเทศแล้ว ก็สะกดตามนั้น --Potapt (พูดคุย) 19:39, 10 กันยายน 2560 (ICT)

คำทับศัพท์

สวัสดีครับ รบกวนคุณ Potapt ช่วยทับศัพท์ชื่อตามนี้ให้หน่อยครับ

  •   Ousmane Dembélé
  •   Djibril Sidibé
  •   Presnel Kimpembe
  •   Serge Aurier

ขอบคุณมากครับ --Wutzwz (พูดคุย) 07:00, 31 สิงหาคม 2560 (ICT)

  • อุสมาน แดมเบเล
  • จีบรีล ซีดีเบ
  • แพร็สแนล กีมแปมเบ
  • แซร์ฌ โอรีเย

--Potapt (พูดคุย) 07:18, 31 สิงหาคม 2560 (ICT)

New Khwaeng

As you just changed the number of Khwaeng from 169 to 180 - what is the status of these new Khwaeng? I haven't yet seen the announcement in the Royal Gazette, so are they already in effect now and the announcement will be late? Its a pity that the ccaatt codes were just updated last month, shortly before a change. แอนดี้ (พูดคุย) 15:47, 1 กันยายน 2560 (ICT)

@Ahoerstemeier: The announcements were published online yesterday, but they came into effect last month.

--Potapt (พูดคุย) 16:39, 1 กันยายน 2560 (ICT)

Thanks, now my tool also discovers them - strange, when I checked yesterday it only showed the creation of เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูขัด as a new announcement to be checked. แอนดี้ (พูดคุย) 17:02, 1 กันยายน 2560 (ICT)
@Ahoerstemeier: Since you mentioned the split of Bang Khae District before, it seems that they want to split Sai Mai, Lat Krabang, and maybe other most populous districts, as well. No concrete talks or actions have been carried out though. --Potapt (พูดคุย) 17:12, 1 กันยายน 2560 (ICT)
The way I understood it, that split of Bang Khae was delayed originally because it wasn't ready early enough before the local elections, but then 4 years later again nothing happened. Anyway, if you hear any concrete information on new districts let me know, it'd be better to know before they get official by the announcement in Royal Gazette, so we can prepare updated versions of the SVG maps in time, and don't have to do them in a hurry.
Checking through the announcements, they all say "ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป", which in my understanding means that the change became effective with the publication the Gazette - or did they become effective when the governor signed them on July 26th? แอนดี้ (พูดคุย) 17:47, 1 กันยายน 2560 (ICT)
OK. I imagine that any change is subject to the policies of the authorities too. After the 2009 changes to those khet (Khan Na Yao, Don Mueang, etc.), they already settled on how many khwaeng each of the rest of the khet with one khwaeng would have, and on what the name of them would be (except Bang Bon, which originally had been intended to be subdivided into 2 or 3 khwaeng with different names). However, the project had been shelved until a few months ago. (I just did a research yesterday.)
The changes become effective when the governor signed them. If they became effective with the publication, the wording would be something like "ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป" --Potapt (พูดคุย) 19:22, 1 กันยายน 2560 (ICT)

ขอบคุณนะครับ

ผมขอขอบคุณคุณ Potapt (พูดคุย) ด้วยนะครับ ที่ช่วยทำการย้อนการแก้ไขทั้งหมดของสุรสิทธิ์ สมศักดิ์ (พูดคุย) ที่เขาทำการก่อกวนขึ้นมาจนทำให้ผู้อ่านบางคนอาจเกิดความเข้าใจผิดได้ เขาใส่เนื้อหาที่บิดเบือนไปจากความจริงเป็นอย่างมาก เมื่อสักครู่ผมได้แจ้งไปยังวิกิพีเดีย:แจ้งผู้ดูแลระบบ เพื่อให้บล็อกผู้ใช้:สุรสิทธิ์ สมศักดิ์ เพราะว่าเขาเขียนหรือแทรกเนื้อหาที่ผิด --MildyManUnited (พูดคุย) 17:50, 4 กันยายน 2560 (ICT)

ครับ แต่จริง ๆ แล้ว ถ้าคุณเห็นการก่อกวนสามารถย้อนการแก้ไขเองได้เลยนะครับ --Potapt (พูดคุย) 18:01, 4 กันยายน 2560 (ICT)

Dylan Sprayberry‎

Dylan Sprayberry‎ ควรจะอ่านว่าอย่างไรครับ ดีแลน สเปรย์แบร์รี ดีแลน สเปรย์เบรี หรือ ดีแลน สเปรย์เบอร์รี แต่ที่เมืองนอกเห็นเรียกกัน ดีแลน สเปรย์เบอร์รี สับสนกับบทความเพราะมันไม่น่าใช่ สเปรย์แบร์รี มันเป็นตัว e ไม่ใช่ตัว A หรือ ea ที่จะอ่านเป็นสระ แ แล้วต้นตระกูลครอบครัวเขาเคยทำไร่ไวน์องุ่น น่าจะพ้องกับคำว่าเบอร์รี่มากกว่า --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ 2403:6200:8863:FB9B:5CD8:9689:D819:9DCA (พูดคุยหน้าที่เขียน) 21:12, 12 กันยายน 2560 (ICT)

ตัว e ในคำที่มีตัวสะกด -erry เช่น berry, cherry, merry (รวมทั้งนามสกุลของคนนี้ด้วย ฟังเสียงจากยูทูบแล้ว) จะออกเสียง ɛ ซึ่งเป็นเสียงกึ่งเอกับแอครับ (เขียนทับศัพท์ใช้รูปสระเอ) แต่คนไทยนิยมทับศัพท์เป็น เออ น่าจะเป็นเพราะเอาไปเทียบกับคำที่ลงท้ายด้วย -er เช่น computer, rubber --Potapt (พูดคุย) 00:19, 14 กันยายน 2560 (ICT)

ดาวผู้พิทักษ์แห่งวิกิ

  ดาวผู้พิทักษ์แห่งวิกิ
ในฐานะที่ผมร่วมต่อสู้กับการก่อกวนของ Hateegatestudio และ หุ่นเชิด กระผมจึงขอมอบดาวผู้พิทักษ์แห่งวิกิให้แก่คุณ Potapt สำหรับการป้องกันการใช้วิกิพีเดียเพื่อหลอกลวงหรือต้มตุ๋นครับ --Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 16:35, 14 กันยายน 2560 (ICT)
ขอบคุณครับ --Potapt (พูดคุย) 20:26, 14 กันยายน 2560 (ICT)

Khwao Sinarin

Can you take a look at en:Khwao Sinarin District? The recommended spelling is Sinarin, but User:แอนเดอร์สัน insists it should be Sinrin. แอนดี้ (พูดคุย) 03:26, 15 กันยายน 2560 (ICT)

OK. --Potapt (พูดคุย) 03:38, 15 กันยายน 2560 (ICT)

สวัสดีครับ

ขออนุญาติรบกวนเวลาซักนิดนะครับพอดีจะถามว่าคำด้านล่างนี้ควรทับศัพท์หรือแปลว่าอะไรดีครับ

  • Supervolcano
  • Volcanic winter

--โก๋ปอ (พูดคุย) 20:22, 30 กันยายน 2560 (ICT)

ราชบัณฑิตฯ ไม่ได้บัญญัติศัพท์ไว้ เท่าที่ค้นดูมีคนแปล supervolcano ว่า ภูเขาไฟใหญ่ และแปล volcanic winter ว่า ฤดูหนาวจากภูเขาไฟ น่าจะใช้ได้ครับ --Potapt (พูดคุย) 20:28, 30 กันยายน 2560 (ICT)

อ่อครับขอบคุณครับงั้นผมจะใช่ชื่อนี้ไปก่อนหากมีชื่อที่ดีกว่านี้คงค่อยเปลี่ยนก็ได้มั่งครับ ขอบคุณนะครับ--โก๋ปอ (พูดคุย) 20:32, 30 กันยายน 2560 (ICT)

เรื่องคุณhours

ที่ไปเขียนในหน้าของคุณTvccp พอดีแค่หงุดหงิดคุณผู้ใช้:Horusเค้า รู้สึกเค้าทำเกินไปตามลบ บทความ

ไปคุยในหน้านั้นก็พอครับ --Potapt (พูดคุย) 18:46, 15 ตุลาคม 2560 (ICT)

สวัสดีครับคุณ Potapt

คือผมมีคำถามครับ

  1. Urban คืออะไรครับ
  2. Governorate ควรแปลว่าอย่างไรครับ (เช่น Minsk Governorate)
  3. Regions of Finland ควรแปลว่าอย่างไรครับ (คือประเทศฟินแลนด์ได้ยกเลิกระบบจังหวัดแล้วใช้ระบบ Regions แทนในปี 2009 น่ะครับ)

ช่วยตอบที่หน้าพูดคุยของผมนะครับ ขอบคุณครับ--Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 22:07, 22 ตุลาคม 2560 (ICT)

ติดตามข่าวสารทางเฟสบุคได้แล้ววันนี้

สวัสดีครับ คุณ Potapt/กรุ 5 ต่อไปนี้ท่านสามารถติดตามข่าวสารต่าง ๆ ของทางกลุ่มอาสาสมัครวิกิมีเดียในประเทศไทยทางเฟสบุคได้แล้ว ที่   Facebook: Wikimedia Thailand ในช่วงสองเดือนสุดท้ายของปีนี้ ทางเรามีกิจกรรมให้ร่วมสนุกดังต่อไปนี้ครับ

  • งานประกวดภาพถ่ายวิทยาศาสตร์ Wiki Science Competition 2017 (15 พฤจิกายน - 15 ธันวาคม)
  • งานประกวดบทความ Wikipedia Asian Month 2017 (1-30 พฤศจิกายน)

ขอบคุณมากครับ —Athikhun.suw (พูดคุย) 09:40, 23 ตุลาคม 2560 (ICT)

แม่แบบ:Finnish Regions

สวัสดีครับ รบกวนคุณ Potapt ทับศัพท์ภาษาฟินแลนด์ ที่แม่แบบ:Finnish Regions ให้หน่อยครับ คือมีบางคำที่ผมไม่เข้าใจอยู่บ้างน่ะครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ--Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 17:49, 23 ตุลาคม 2560 (ICT)

ทับศัพท์เครื่องราชอิสรยาภรณ์ด้วยครับ

  • Методија Андонов Ченто (ชื่อคนครับ)
  •     Order of the Yugoslav Star with Sash
  •     Order of Brotherhood and Unity with golden wreath
  •     Order of Labours with red flag
  •     Jubilee Medal "65 Years of Victory in the Great Patriotic War 1941–1945

--ร้อยตรี โชคดี (พูดคุย) 14:04, 27 ตุลาคม 2560 (ICT)

@ร้อยตรี โชคดี: Методија Андонов Ченто ทับศัพท์ว่า แมตอดียา อันดอนอฟ แชนตอ ส่วนเครื่องอิสริยาภรณ์ผมตอบไม่ได้นะครับ ไม่ถนัดด้านนั้น --Potapt (พูดคุย) 18:28, 28 ตุลาคม 2560 (ICT)

@ร้อยตรี โชคดี: ขอตอบแทนนะครับ
  •     เครื่องอิสริยาภรณ์ดารายูโกสลาเวีย with Sash
  •     เครื่องอิสริยาภรณ์แรงงานพร้อมธงแดง
  •     เหรียญที่ระลึก "ครบรอบ 65 ปีชัยชนะในมหาสงครามของผู้รักชาติ ค.ศ. 1941-ค.ศ. 1945"

เบื้องต้นแค่นี้ก่อนเพราะผมพอมีความรู้ด้านเครื่องอิสริยาภรณ์อยู่บ้างครับ--Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 18:49, 28 ตุลาคม 2560 (ICT)

ขอบคุณครับ --ร้อยตรี โชคดี (พูดคุย) 18:52, 28 ตุลาคม 2560 (ICT)

ทับศัพท์หน่อยครับ

ชื่อคนนะครับ

  • Hari Kostov
  • Vlado Bučkovski
  • Ljubčo Georgievski

ถ้าได้ ช่วยตอบทีนี้นะครับ

--ร้อยตรี โชคดี (พูดคุย) 17:50, 30 ตุลาคม 2560 (ICT)

การเลือกตั้ง ส.ส. 2557

จากการที่คุณได้ทำการเพิ่มเขตการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด และมีครั้ง พ.ศ. 2557 นั้น ผมขออธิบายก่อนว่า ถ้าจะบันทึกในแต่ละจังหวัดนั้น จะองมีการเลือกตั้งอย่างเป้นทางการและสมบูรณ์ ซึ่งครั้งปี พ.ศ. 2557 นั้น ศาลรัฐธรรมนูญในช่วงเวลานั้นได้ตีความว่า 'การเลือกตั้งครั้งดังกล่าวเป็นโมฆะ' ซึ่งก็เหมือนครั้ง พ.ศ. 2549 ฉะนั้น ผมจึงสรุปว่า การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2557 ไม่มีอยู่จริงครับผม

--poompong1986 (พูดคุย) 20:17, 30 ตุลาคม 2560 (ICT)

@Poompong1986: คือหน้านี้อธิบายไว้อีกอย่างน่ะครับ ถ้าไม่ถูกต้องรบกวนช่วยแก้ไขด้วย และบางหน้าที่คุณกดย้อนการแก้ไขไปมันมีการก่อกวนอยู่ด้วยนะครับ --Potapt (พูดคุย) 22:19, 30 ตุลาคม 2560 (ICT)
@Poompong1986: ตกลงจะทำยังไงครับ ปล่อยทิ้งไว้แบบนั้นจะครบเดือนแล้ว --Potapt (พูดคุย) 17:37, 27 พฤศจิกายน 2560 (ICT)
@Poompong1986: หน้า การเลือกตั้ง 2557 ก็มีตามปกติ แต่ที่ผมหมายถึงว่า เขตเลือกตั้งในจังหวัดต่างๆ ไม่ต้องใสในส่วนปี 2557 ลงไปครับ Potapt (พูดคุย) 17:50, 27 พฤศจิกายน 2560 (ICT)
@Poompong1986: "การเลือกตั้ง 2557 ก็มีตามปกติ" แต่ข้างบนคุณบอกว่า "การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2557 ไม่มีอยู่จริง" ตกลงยังไงครับ แล้วมันไม่ใช่แค่เรื่องที่มีหรือไม่มีการเลือกตั้งอย่างเดียว ยังมีเรื่องการก่อกวนที่คุณย้อนกลับไปเป็นรุ่นนั้นอีก --Potapt (พูดคุย) 18:09, 27 พฤศจิกายน 2560 (ICT)
@Poompong1986: ถ้า "การเลือกตั้ง 2557 ก็มีตามปกติ" อย่างที่คุณว่าแล้ว ทำไมถึงจะใส่เขตเลือกตั้งไม่ได้ครับ --Potapt (พูดคุย) 18:17, 27 พฤศจิกายน 2560 (ICT)
@Poompong1986: มันก่อกวนตรงไหนครับ เพราะการเลือกตั้ง 2557 มันไม่ถูกนับอย่างเป็นทางการอยู่แล้ว ก็เหมือนกับปี 2549 ทั้ง 2 ครั้ง ที่การเลือกตั้งไม่เสร็จสมบูรณ์เช่นเดียวกับ การเลือกตั้ง 2557 ฉะนั้นตามความเข้าใจของผมคือ การเลือกตั้งที่มีผลการลงคะแนนอย่างสมบูรณ์ และรับรองจาก กกต. นั่นหมายความว่า มีผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ สรุปเลยว่า บทความ การเลือกตั้ง 2549 กับ การเลือกตั้ง 2557 คือมีบันทึกว่ามีเหตุการณ์นี้ขึ้น แต่เรื่องผลการนับคะแนนของทั้ง 2 ครั้งนั้น ไม่ได้ถูกรับรองจาก กกต. ผมจึงถือว่า ไม่ต้องใส่ในเขตเลือกตั้งของจังหวัดต่างๆ ครับ --Potapt (พูดคุย) 18:38, 27 พฤศจิกายน 2560 (ICT)
@Poompong1986:
(1) สรุปว่ามีการเลือกตั้งใช่ไหมครับ แล้วข้อความที่ว่า "การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2557 ไม่มีอยู่จริง" นี่แปลว่าอะไร
(2) ผลการนับคะแนนไม่ได้รับรอง แต่ถ้า "การเลือกตั้ง 2557 ก็มีตามปกติ" แล้ว ทำไมถึงจะใส่ข้อมูลเขตเลือกตั้งว่าประกอบด้วยอำเภอหรือตำบลอะไรไม่ได้ครับ ส่วนนั้นมันไม่ใช่ส่วนที่ใส่ข้อมูลการนับคะแนนนี่
(3) การก่อกวนที่ผมว่าน่ะไม่ได้เกี่ยวกับว่ามีหรือไม่มีการเลือกตั้ง แต่หมายถึงการที่มีหมายเลขไอพีมาแบ่งเขตเลือกตั้งเอาเอง (ซึ่งในบางหน้าก็ไม่ใช่ของปี 2557 ด้วยซ้ำ) แล้วคุณก็ย้อนกลับไปเป็นรุ่นนี้ แล้วจนถึงบัดนี้หน้าเหล่านั้นก็ยังแสดงให้ใครต่อใครดูอยู่ --Potapt (พูดคุย) 18:53, 27 พฤศจิกายน 2560 (ICT)
@Potapt:ถ้าอย่างงั้นคุณช่วยเพิ่มเขตเลือกตั้ง ปี 2549 ทั้ง 2 ครั้งด้วยละกันนะครับ รบกวนด้วยครับ --poompong1986 (พูดคุย) 20:46, 2 ธันวาคม 2561 (ICT)
@Poompong1986: ไม่มีปัญหาครับ --Potapt (คุย) 20:49, 2 ธันวาคม 2561 (ICT)

ทับศัพท์

สวัสดีครับ รบกวนดูเรื่องการทับศัพท์ในบทความ ปีแยร์ รอซีเย หน่อยครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ --Sry85 (พูดคุย) 15:38, 3 พฤศจิกายน 2560 (ICT)

слава великому октябрю

 

เนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี การปฏิวัติเดือนตุลาคม ผมขอให้ คุณ Potapt มีความสุขและปฎิบัติงานให้ดีในทุกโครงการของวิกิพีเดียนะครับ Да здравствует Великая Октябрьская Социалистическая Революция !--Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 06:57, 7 พฤศจิกายน 2560 (ICT)

ครับ --Potapt (พูดคุย) 02:03, 8 พฤศจิกายน 2560 (ICT)

คำเชิญผู้เข้าร่วมใหม่

กิจกรรมเดือนแห่งเอเชียของวิกิพีเดีย 2017 (Wikipedia Asian Month 2017) ได้เริ่มขึ้นแล้ว เราต้องการเชิญคุณเข้าร่วมอีเวนต์อีดิทอะธอนของเราในครั้งนี้ หากคุณสร้างบทความ 4 บทความ คุณจะได้รับโปสการ์ด โดยบทความต้องมีมากกว่า 3,000 ไบต์และมากกว่า 300 คำ นอกจากนี้เรายังปรับปรุงกระบวนการส่งโปสการ์ดของเรา เช่น การทำโปสการ์ดในตอนนี้ และรวบรวมที่อยู่หลังจากอีเวนต์นี้จบลงโดยไม่ต้องรอภาษาอื่น ๆ ชาววิกิพีเดียที่สร้างบทความมากที่สุดในแต่ละวิกิพีเดียจะได้รับการยกย่องให้เป็น "ทูตแห่งเอเชียของวิกิพีเดีย" เราจะส่งทั้งสำเนาดิจิทัลและสำเนาหนังสือรับรองการเป็นทูตให้แก่คุณ

เป็นเวลากว่าสองปีของกิจกรรมเดือนแห่งเอเชียของวิกิพีเดีย เราทำงานร่วมกันกับชาววิกิพีเดียมากกว่า 2,000 คน และมีส่วนร่วมในบทความที่มีคุณภาพสูงกว่า 15,000 บทความในวิกิพีเดียใน 50 ภาษา รวมทั้งวิกิซอร์ซ กิจกรรมเดือนแห่งเอเชียของวิกิพีเดียจึงเป็นอีเวนต์การแก้ไขออนไลน์ประจำปีที่ใหญ่ที่สุดของวิกิพีเดียอย่างไม่ต้องสงสัย เราหวังว่าคุณคงจะตื่นเต้นและเข้าร่วมกิจกรรมกับเราในครั้งนี้

ขอขอบคุณที่พิจารณา ! --B20180 (พูดคุย)

ตรวจคำทับศัพท์

สวัสดีครับคุณ Potapt คือผมได้ลองทับศัพท์คำในภาษารัสเซียน่ะครับ แต่ว่าไม่มั่นใจน่ะครับจึงอยากให้ลองตรวจดูว่าผมทับศัพท์ถูกเปล่าครับ:

  • Всеволод = เวสโวลอด
  • Северодвинск = เซเวรโดวีนสค์
  • Весёлые ребята = เวสโยลืยรีบยาทา

ขอบคุณครับ--Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 02:56, 10 พฤศจิกายน 2560 (ICT)

ทองเนื้อเก้า

มีคนก่อกวนบทความยงศิลป์ วงศ์พนิตนนท์ โดยลบประวัติการแสดงเหลือแต่ช่องสาม และก่อกวนบทความทองเนื้อเก้า โดยลบรายชื่อนักแสดงและรางวัลเวอร์ชั่นอื่นเหลื่อแต่ของช่องสาม โดยผู้ใช้คนเดียวกัน--171.5.245.240 09:18, 12 พฤศจิกายน 2560 (ICT)

สุขสันต์วันส้วมโลก

ไฟล์:Wtd-th.jpg

สุขสันต์วันส้วมโลกให่แก่คุณ Potapt ขอให้คุณใช้ส้วมอย่างเพลิดเพลินตลอดไป --ร้อยตรี โชคดี (พูดคุย) 18:15, 20 พฤศจิกายน 2560 (ICT)

เรื่องของ ชาร์ลิซ เธอรอน

ที่จริง ชาร์ลิซ เธอรอน นามสกุลนี้ตังหากครับ ไมใช่ ชาร์ลิส โตรน ซักหน่อย ช่วยชี้แจงและอธิบายเหตุผลหน่อยครับ ว่าทำไมถึงเปลี่ยนนามสกุลล่ะ --AAT000 (พูดคุย) 04:51, 21 พฤศจิกายน 2560 (ICT)

"ชาร์ลิส โตรน" ทับศัพท์ตามการออกเสียงในภาษาอาฟรีกานส์ ที่จริง "ชาร์ลิซ เธอรอน" ก็ไม่ได้ตรงตามการออกเสียงในภาษาอังกฤษนะ หรือเจ้าของชื่อกำหนดมาโดยเฉพาะว่าให้เขียนเป็นอักษรไทยแบบนี้? --Potapt (พูดคุย) 04:57, 21 พฤศจิกายน 2560 (ICT)

หรอครับ งั้นก็ตามนั้นก็เลยก็แล้วกัน--AAT000 (พูดคุย) 13:43, 21 พฤศจิกายน 2560 (ICT)

คำสิงห์ ศรีนอก

สวัสดี,คุณช่วยเขียน transcription ของชื่อของนักเขียน- คำสิงห์ ศรีนอก --Qweasdqwe (พูดคุย) 22:16, 3 ธันวาคม 2560 (ICT)

Hi. Do you mean IPA transcription in EN Wikipedia? Done. --Potapt (พูดคุย) 22:38, 3 ธันวาคม 2560 (ICT)
Thank you Qweasdqwe (พูดคุย) 14:24, 4 ธันวาคม 2560 (ICT)

ทับศัพท์

สวัสดีครับพอดีไม่ทราบว่าราชบัณฑิตยสถานบัญญัติศัพท์คำว่า Islet ไว้ว่าอะไรหรอครับ -เก็บตกจบแล้วจ้า (พูดคุย) 22:34, 4 ธันวาคม 2560 (ICT)

"เกาะเล็ก" ครับ (ศัพท์บัญญัติสาขาภูมิศาสตร์) --Potapt (พูดคุย) 00:18, 5 ธันวาคม 2560 (ICT)

  ครับขอบคุณมากครับ-เก็บตกจบแล้วจ้า (พูดคุย) 00:24, 5 ธันวาคม 2560 (ICT)

แล้วคำพวกนี้ควรทับศัพท์ว่าอะไรดีครับ

--เก็บตกจบแล้วจ้า (พูดคุย) 22:17, 9 ธันวาคม 2560 (ICT)

  • cay; key = เกาะปริ่มน้ำ, คีย์
  • skerry = เกาะโขดหิน
  • skerry guard = แนวเกาะโขดหิน
  • ait; eyot = เกาะในลำน้ำ, ดอนในลำน้ำ

ศัพท์บัญญัติที่เกี่ยวข้อง :

  • isle; island = เกาะ
  • barrier island = เกาะสันดอน
  • coral island = เกาะปะการัง
  • atoll = เกาะปะการังวงแหวน, อะทอลล์
  • heat island = เกาะความร้อน
  • ice island = เกาะน้ำแข็ง
  • continental island = เกาะริมทวีป

คำพวกนี้ถ้าอยู่โดด ๆ เป็นคำนามทั่วไป ควรแปลเป็นไทย แต่ถ้าเป็นส่วนประกอบของคำนามชื่อเฉพาะ ไม่ต้องแปลก็ได้ (ยกเว้นคำว่า island) เช่น Grand Turk Island = เกาะแกรนด์เติร์ก, Ambergris Cay = แอมเบอร์กรีสคีย์ (ไม่ต้องแปลว่า เกาะปริ่มน้ำแอมเบอร์กรีส), Isle of Man = ไอล์ออฟแมน (ไม่ต้องแปลว่า เกาะแมน), British Isles = บริติชไอลส์ (ไม่ต้องแปลว่า หมู่เกาะบริติช), Johnston Atoll = จอห์นสตันอะทอลล์ (ไม่ต้องแปลว่า เกาะปะการังวงแหวนจอห์นสตัน)

ส่วน tidal island ราชบัณฑิตฯ ไม่ได้บัญญัติศัพท์ไว้ ถ้าให้ผมแปลเองคงประมาณว่า "เกาะน้ำขึ้นลง" หรือ "เกาะน้ำขึ้นถึง" --Potapt (พูดคุย) 22:48, 9 ธันวาคม 2560 (ICT)

ครับผมขอบคุณมากครับ--เก็บตกจบแล้วจ้า (พูดคุย) 23:08, 9 ธันวาคม 2560 (ICT)

ขออนุญาติถามอีกข้อนะครับคำว่า Reefควรทับศัพท์ว่าอะไรหรอครับ--เก็บตกจบแล้วจ้า (พูดคุย) 18:25, 22 ธันวาคม 2560 (ICT)

ศัพท์บัญญัติ :

  • reef = ๑. พืดหินใต้น้ำ, หินโสโครก ๒. ทางแร่
  • algal reef = พืดหินสาหร่าย
  • coral reef = พืดหินปะการัง
  • fringing reef = พืดหินปะการังชายฝั่ง
  • barrier reef = เทือกปะการังสันดอน
  • organic reef = พืดหินอินทรีย์

--Potapt (พูดคุย) 22:15, 22 ธันวาคม 2560 (ICT)

ขอโทษที่มาทำให้เดือดร้อนบ่อยๆนะครับ ขอบคุณมากครับ--เก็บตกจบแล้วจ้า (พูดคุย) 22:17, 22 ธันวาคม 2560 (ICT)

ไม่เป็นไรครับ ไม่ได้เป็นการรบกวนอะไร --Potapt (พูดคุย) 22:27, 22 ธันวาคม 2560 (ICT)

Theron

เหรอคะ เห็นหน้าภาษาอังกฤษออกเสียง Theeren น่ะค่ะ อาจผิดก็ได้ ขอโทษค่ะ Som Potter (พูดคุย) 23:04, 9 ธันวาคม 2560 (ICT)

Hello Potapt! Thank you for creating the File:East Timor administrative divisions-th-colored 2003-2015.svg. FYI: There was a change in administrative borders of Timor-Leste in 2015. New maps in Latin writting is still available: File:East Timor administrative divisions-th-colored 2003-2015.svg. Blank maps are available, too. If you have questions, you can contact me on my German user page. Greetings, --J. Patrick Fischer (พูดคุย) 13:50, 12 ธันวาคม 2560 (ICT)

 
New map
Oh sorry, this is the new map: File:2015 East Timor, administrative divisions - de - colour.tif. The most visible difference is the border between Lautém and Baucau in the east. --J. Patrick Fischer (พูดคุย) 06:00, 13 ธันวาคม 2560 (ICT)

No, I do not speak Tetum, but there is an automatic Tetum-English/Portuguese translator here. Here is another online vocabulary and there are some books available about Tetum, too, like the Lonely Planet East Timor Phrasebook. --J. Patrick Fischer (พูดคุย) 14:22, 14 ธันวาคม 2560 (ICT)

New map looks fine. ;-) --J. Patrick Fischer (พูดคุย) 04:28, 23 ธันวาคม 2560 (ICT)

ขอตรวจสอบบทความ

สวัสดีครับ ผมเพิ่งแปล ภาวะคู่หรือคี่ของ 0 เสร็จ แล้วมีการทับศัพท์ชื่อบุคคลจำนวนหนึ่ง จึงขอคุณช่วยตรวจทานความถูกต้องดูหน่อยครับ ขอบคุณครับ --Horus | พูดคุย 13:10, 29 ธันวาคม 2560 (ICT)

สวัสดีครับคุณ Potapt

รบกวนช่วยทับศัพท์คำให้หน่อยครับ

  • Центрнаучфильм
  • Иван Бровкин на целине
  • Незабываемый год 1919
  • Ленин в Октябре

ช่วยตอบที่หน้าพูดคุยของผมนะครับ และ ผมขอให้คุณ Potapt มีความสุขและปฏิบัติงานเคียงข้างวิกิพีเดีย และ วิกิมีเดีย ต่อไปนะครับ С новым годом товарищ :) (Happy new year Tovarishch)--Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 19:39, 31 ธันวาคม 2560 (ICT)

สวัสดีปีใหม่ 2018 ครับ

 
 
 
ศุภอรรถสวัสดีวันปีใหม่ ขอพรให้ทุกท่านนั้นสุขขี
ให้ร่ำรวยเงินทองและมั้งมี ให้โชคดีเปรมปรีย์และมีชัย
เทวดาอารักษ์จงรักษา หมดปัญหามีปัญญามาช่วยไว้
มีแต่ความสุขกายสบายใจ ไร้โรคภัยห่างโชคร้ายสบายดี
ส.ค.ส.จากEZBELLA

ขอบคุณครับ และสวัสดีปีใหม่เช่นกัน --Potapt (พูดคุย) 21:38, 1 มกราคม 2561 (ICT)

อาสนวิหาร

ชื่ออาสนวิหารนี่ผมไม่เห็นด้วยเลยนะครับที่จะให้ใช้ชื่อไทย (ยกเว้นพวกอาสนวิหารในโรมซึ่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพเขาเรียกอย่างนั้น) ที่ผมคำนึงเป็นพิเศษคือบทความสถานที่มันลิ้งก์ไปบริการอื่นๆด้วย เช่น Google Maps, FB ผมคำนึงเผื่อคนที่เขาเดินทางในยุโรปว่าเออ ทุกคนก็ไมได้อ่านภาษาท้องถิ่นเป็น ถ้าเราทับศัพท์ไปเลยเวลาคนเดินทางเปิดดู Google มันจะทำให้การเดินง่ายขึ้นไม่มากก็น้อย เพราะคนท้องถิ่งบางทีก็ไม่ได้รู้ว่าคำนี้ในภาษาเขามันภาษาอังกฤษมันเรียกว่ายังไง ออกเสียงยังไง ยกตัวอย่างถ้าไปพูด "ไอว้อนทูโกเซนต์จอห์นเดอะแบ็พติสท์คาเทดราล" ในฝรั่งเศส คนฟังอาจจะว่าเราจะไปที่ไหน แต่ถ้าเป็น "แซ็ง-ฌ็อง-บาติส" อย่างน้อยคนฟังเขาก็พอจับคำได้ หรืออย่างวิหาร Our Lady เนี่ย ถ้าไปพูดคำนี้ผมเชื่อว่าเขาไม่รู้แน่ๆว่าเราจะไปที่ไหน แต่ถ้าเป็น "น็อทร์-ดาม" ก็พอจับความได้--☭ Walker Emp (พูดคุย) 21:20, 10 มกราคม 2561 (ICT)

@Setawut:
- ชื่ออาสนวิหารนี่ผมไม่เห็นด้วยเลยนะครับที่จะให้ใช้ชื่อไทย (ยกเว้นพวกอาสนวิหารในโรมซึ่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพเขาเรียกอย่างนั้น)
ถ้ามันเป็นส่วนที่แปลได้ก็ควรแปลครับ ไม่ว่าในไทยหรือต่างประเทศ ถ้าสื่อถึงสิ่งเดียวกัน จะเรียกให้เหมือนกันก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร (?) ไม่อย่างนั้น Cathédrale Notre-Dame de Bayeux ก็ต้องทับศัพท์ทั้งหมดทุกคำเป็น "กาเตดราลน็อทร์-ดามเดอบาเยอ" ถ้าใช้เป็น "อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งบาเยอ" ก็จะดูครึ่ง ๆ กลาง ๆ เพราะ cathedral ทั้งหลายในต่างประเทศเขาคงไม่ได้กำหนดเอาไว้เหมือนกันว่าต้องแปลเป็นไทยว่าอะไร อีกอย่าง การแปลก็จะช่วยแยกความแตกต่างกับโบสถ์บางแห่งที่ไม่ต้องแปลคำว่า saint(e) ด้วย เช่น Basilique Saint-Denis ใช้ว่า "มหาวิหารแซ็ง-เดอนี" ไม่ใช้ว่า "มหาวิหารนักบุญเดนิส" เพราะตั้งตามชื่อเมืองแซ็ง-เดอนีอีกที ไม่ได้ตั้งเพื่ออุทิศให้นักบุญเดนิสโดยตรง
กรณี Notre-Dame Cathedral ที่ปารีส ที่ใช้ชื่อบทความว่า "น็อทร์-ดาม" โดยไม่แปลว่า "แม่พระ" ก็เพราะในกรณีนี้ "Notre-Dame" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชื่อเต็มนั้นกลายเป็นชื่อที่รู้จักกันทั่วไป (โดยไม่คำนึงถึงความหมาย) ทั้งในภาษาอังกฤษและภาษาไทยแล้ว สังเกตว่าวิกิพีเดียภาษาอังกฤษใช้ชื่อบทความว่า "Notre-Dame de Paris" โดยไม่มีคำว่า Cathedral หรือ Cathédrale กำกับไว้ด้วย หรือ "น็อทร์-ดาม" ในชื่อนิยาย คนค่อมแห่งน็อทร์-ดาม นั้นถ้าผมเข้าใจไม่ผิดก็ไม่ได้สื่อถึงแม่พระ แต่สื่อถึงตัวอาสนวิหารโดยตรง ในขณะที่ Notre-Dame Cathedral แห่งอื่น ๆ ไม่ได้เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ "Notre-Dame" จึงไม่จำเป็นต้องคงภาษาฝรั่งเศสไว้ครับ อย่างหน้าอาสนวิหารน็อทร์-ดามที่คุณสร้างไว้ ในวิกิบางภาษาเขาก็แปลเป็นภาษาของเขา ไม่ได้คงต้นฉบับภาษาฝรั่งเศสไว้
- บทความสถานที่มันลิ้งก์ไปบริการอื่นๆด้วย เช่น Google Maps, FB
เท่าที่เห็น ปกติมันก็ลิงก์ไปเฉพาะจากชื่อบทความที่เป็นชื่อแบบสั้นอยู่แล้วนี่ครับ ไม่ได้ลิงก์ไปจากชื่อทางการแบบยาวในเนื้อหาบทความ
- ถ้าเราทับศัพท์ไปเลยเวลาคนเดินทางเปิดดู Google มันจะทำให้การเดินง่ายขึ้นไม่มากก็น้อย เพราะคนท้องถิ่งบางทีก็ไม่ได้รู้ว่าคำนี้ในภาษาเขามันภาษาอังกฤษมันเรียกว่ายังไง ออกเสียงยังไง ยกตัวอย่างถ้าไปพูด "ไอว้อนทูโกเซนต์จอห์นเดอะแบ็พติสท์คาเทดราล" ในฝรั่งเศส คนฟังอาจจะว่าเราจะไปที่ไหน แต่ถ้าเป็น "แซ็ง-ฌ็อง-บาติส" อย่างน้อยคนฟังเขาก็พอจับคำได้
ผมว่าตัวอย่างที่คุณยกมานี่ไม่น่าเกิดขึ้นจริงได้เลย เพราะโบสถ์ระดับอาสนวิหารในต่างประเทศไม่ได้มีดาษดื่นเหมือนวัดในไทย การที่วิกิพีเดียภาษาอังกฤษตั้งชื่อบทความแบบสั้นโดยใช้คำว่าอาสนวิหารประกอบกับชื่อเมืองโดยไม่ต้องแก้ความกำกวมนั้นก็เพราะว่าแต่ละเมืองจะมีอาสนวิหารอยู่แห่งเดียว และเมืองที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว เป็นแหล่งมรดกโลก หรือมีสถานที่สำคัญอย่างอาสนวิหารมักจะมีศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยวซึ่งคุณสามารถเข้าไปขอแผนที่แสดงสถานที่สำคัญเพื่อเดินเที่ยวชมได้อยู่แล้ว ไม่ต้องพึ่งพวกแอปฯ แผนที่ก็ได้ ถ้าคุณจะถามทางก็พูดแค่ว่า "Where is the Cathedral?/I want to go to the Cathedral." อะไรทำนองนี้ โดยไม่ต้องเรียกเต็มยศ คนฟังก็เข้าใจแล้วครับ อย่างเวลาจะถามทางไปวัดโพธิ์ท่าเตียน คงไม่มีใครพูดว่า "ช่วยบอกทางไปวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามหน่อย" หรอกครับ หรือถ้าคุณต้องการจะไปมหาวิหารหรือโบสถ์เล็กโบสถ์น้อยที่คนไม่ค่อยรู้จักจริง ๆ ก็ยื่นแผนที่หรือเขียนให้เขาดูก็ได้ แต่ถ้าจะเดินทางไปยังท้องถิ่นที่คนไม่ค่อยพูดภาษาอังกฤษกันขนาดนั้น โดยปกติคุณต้องรู้อะไรมากกว่าการออกเสียงชื่อโบสถ์เป็นภาษาท้องถิ่นอยู่แล้วนะครับ --Potapt (พูดคุย) 02:34, 12 มกราคม 2561 (ICT)
คุณเข้าใจผิด ผมไม่เรียกร้องให้ตั้งชื่อบทความเป็นแบบเต็ม (เต็มก็ได้ สั้นก็ได้ ไม่ซีเรียส) ผมแค่อยากจะให้มีกำกับชื่อทั้งสองแบบไว้ในบทความ ดังนั้นผมเลยจะถามว่า ชื่อเต็มที่จะปูขึ้นบทความ จะเอาเป็นแบบไทย หรือฝรั่งเศส เช่นถ้าคุณเลือกอยากจะเอาชื่อเต็มแบบไทยปูขึ้นบทความ ผมก็จะแก้แม่แบบกล่องข้อมูล เพิ่ม lable ชื่อแบบฝรั่งเศสไว้อีกบรรทัดหนึ่ง หรือถ้าคุณจะเอาชื่อเต็มแบบฝรั่งเศสปูขึ้นบทความ ผมก็จะไปเพิ่ม lable ชื่อแบบไทยไว้ในกล่องข้อมูลแทน อย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนเรื่องที่ว่าลิ้งไปบริการอื่น มันไม่ได้ลิ้งเฉพาะชื่อบทความนะครับ แต่ยังลิ้งค์เนื้อหาประมาณ 2-3 บรรทัดแรกไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการ search google แบบธรมดา หรือแม้กระทั่ง search ในกูเกิลแมพ หรือซึ่งอันเนี้ยที่ผมคำนึง ว่าเราจะให้คนเห็นเนื้อหาส่วนนี้เป็นชื่อแบบไทยหรือแบบฝรั่งเศส--☭ Walker Emp (พูดคุย) 19:32, 12 มกราคม 2561 (ICT)
@Setawut: ถ้า "lable ชื่อแบบฝรั่งเศส" ที่คุณว่านั้นหมายถึงชื่อภาษาฝรั่งเศสที่เขียนเป็นอักษรโรมัน ไม่ใช่ชื่อที่ทับศัพท์เป็นอักษรไทย ผมก็ไม่ได้ขัดข้องอะไรถ้าคุณจะใส่ไว้ตรงส่วน "ชื่อภาษาอื่น" แต่คุณก็ไม่ได้บอกแบบนี้ตั้งแต่แรกนี่ครับ และผมก็ไม่ได้พูดถึงเรื่องการตั้งชื่อบทความแบบเต็มหรือแบบสั้นนะ ก็พูดถึงเรื่องการแปลหรือไม่แปลวลี Notre-Dame กับ Saint... ตามที่คุณเขียนมานั่นแหละ อย่างตอนแรกคุณบอกว่า ไม่เห็นด้วยเลยนะครับที่จะให้ใช้ชื่อไทย (ยกเว้นพวกอาสนวิหารในโรมซึ่งอัครสังฆมณฑลกรุงเทพเขาเรียกอย่างนั้น) คราวนี้มาบอกว่า เช่นถ้าคุณเลือกอยากจะเอาชื่อเต็มแบบไทยปูขึ้นบทความ ผมก็จะแก้แม่แบบกล่องข้อมูล เพิ่ม lable ชื่อแบบฝรั่งเศสไว้อีกบรรทัดหนึ่ง แล้วมันจะเป็นไปได้ยังไงครับ ในเมื่อถ้าเอาตามที่คุณว่าตอนแรก อาสนวิหารหลายแห่งก็ไม่มีชื่อไทยที่อัครสังฆมณฑลกรุงเทพเรียกอยู่แล้ว หรือถ้าคุณจะบอกว่าให้เอาชื่อที่แปลใส่ไว้ตรงเนื้อหา แล้วเอาชื่อที่ทับศัพท์ใส่ไว้ตรงกล่องข้อมูลแม่แบบ แบบนี้ไม่ตลกเหรอครับ ชื่อเดียวกันจะเขียนเป็นอักษรไทยให้ต่างกันทำไม --Potapt (พูดคุย) 21:15, 12 มกราคม 2561 (ICT)

ทับศัพท์

 

สวัสดีปีใหม่คุณ Potapt นะครับ ผมอยากให้ช่วยทับศัพท์ในหน้า Hermann von Oppeln-Bronikowski นี้ครับ ขอบพระคุณอย่างยิ่งครับ --ร้อยตรี โชคดี (พูดคุย) 20:44, 12 มกราคม 2561 (ICT)

คุณ Horus ทับศัพท์ให้แล้วนะครับ --Potapt (พูดคุย) 06:55, 13 มกราคม 2561 (ICT)

การประชุม ESEAP 2018

สวัสดีคะ คุณ Potapt

อยากขอให้พิจารณาสมัครเข้าร่วม การประชุม ESEAP 2018บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ดูนะคะ ขณะนี้เปิดรับสมัครแล้ว จนถึงวันที่ 15 มีนาคม หากได้รับเลือกจะได้ทุนค่าเดินทางและที่พักด้วยคะ --Pilarbini (พูดคุย) 00:38, 18 มกราคม 2561 (ICT)

การตั้งชื่อบทความ

ช่วยดูชื่อบทความ ดากุนดัง ว่าถูกไหม --171.5.245.160 15:11, 27 มกราคม 2561 (ICT)

จังหวัดยโสธร

ช่วยดูบทความจังหวัดยโสธร ให้หน่อย น้ำเยอะมาก บางบทความก็ไม่รู้เอามาจากไหนไม่มีอ้างอิง หัวข้อผลิตภัณฑ์ และสินค้าพื้นเมืองดูยังกับโฆษณา โดยเฉพาะลอดช่องยโสธร

เดี๋ยวดูให้ครับ --Potapt (พูดคุย) 03:11, 5 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)

การออกเสียงภาษาฝรั่งเศส

สวัสดีครับ

เสียง "th" ในภาษาฝรั่งเศส ออกเสียง θ / ธ/ท ครับ เป็นเวลา 10 ปีที่ได้ใช้ภาษาฝรั่งเศส ไม่เคยได้ยินคำไหนออกเสียง ต จะมีแต่ตัว /t/ ครับ

เพื่อนกระผมชาวฝรั่งเศส ชื่อ Clothilde ออกเสียง "คลอธิลด์" ครับ

ขอบคุณครับ --ฟลานส์บวร์ก

@ฟลานส์บวร์ก:
  • ภาษาฝรั่งเศสไม่มีเสียง /θ, ð/ (ซึ่งในภาษาอังกฤษทับศัพท์เป็น ธ) ทั้ง t และ th ในภาษาฝรั่งเศสออกเสียงเหมือนกันคือ /t/ และโดยปกติ Clothilde ออกเสียงว่า /klɔ.tild/ ไม่ใช่ /klɔ.θild/ ครับ (นอกจากเพื่อนคุณต้องการให้ออกเสียงเช่นนั้นเป็นการส่วนตัว) เสียง /t/ ในภาษาฝรั่งเศสจะมีลมพ่นออกมามากกว่า ต แต่ยังไม่มากเท่า ท ในภาษาไทย และตำราทั่วไปถือเป็นเสียงไม่พ่นลม คือใกล้เคียงกับ ต มากกว่า
  • /ɛ/ (แอ) นอกจากแทนด้วย è แล้ว ยังแทนด้วยรูปเขียนอื่นได้ด้วย เช่น e ใน Pierre = ปีแยร์ ไม่ใช ปีเย, ei ใน seize = แซซ ไม่ใช่ เซซ ส่วน Élisabeth ออกเสียงว่า /elizabɛt/ ไม่ใช่ /elizabeθ/ ครับ --Potapt (พูดคุย) 01:49, 9 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
  • ไม่ใช่เลยครับ คนฝรั่งเศสออกเสียง /th/ ในเสียง θ กันทั้งนั้น คุณลองสามารถพิมพ์ฟังใน Google Translate หรือ Text-to-speech ก็ได้ครับ อาจารย์ของผมชื่อ Élisabeth ก็ออกเสียง เอลิซาเบธเช่นกัน ออกเสียงเหมือนกันเกือบทุกภาษาในยุโรปครับ ตอนอยู่ยุโรปใหม่ๆ อิงตามตำราจากไทยเช่นกัน แต่เมื่อฟังจากชาวฝรั่งเศสหรือเบลเยียม หรือสวิสแล้วปรากฎว่าผิดครับ กระผมให้ชาวฝรั่งเศสออกทวนเสียงซ้ำหลายครั้ง มีหลายเสียงที่ทำให้เราคิดผิดครับ
  • คำว่า Pierre ที่ออกเสียง ปิแอร์ เพราะ "er" คือเสียง "แอ"ครับ และ Seize ออกเสียง แซส เพราะว่า "ei" เป็นสระผสมครับ เมื่อตัว e เดี่ยวๆจะออกเสียง เออ และเมื่อมีตัวสะกดจะออกเสียง "เอ" ครับ ผมใช้ภาษาฝรั่งเศสทุกวัน ขอบคุณครับ --ฟลานส์บวร์ก
  • ไม่ทราบว่ามีเอกสารอ้างอิงไหมครับว่า "คนฝรั่งเศสออกเสียง /th/ ในเสียง θ กันทั้งนั้น" เพราะเอกสารที่ผมมีอยู่ตอนนี้ (Cécile Fougeron, Caroline L. Smith. Illustrations of the IPA: French. Journal of the International Phonetic Association.) ไม่ระบุว่ามีเสียง /θ/ อยู่ในตารางเสียงพยัญชนะภาษาฝรั่งเศสครับ ผมลองใส่ชื่อ Clothilde ลงใน Google Translate ก็ได้ยินเป็น /klɔ.tild/ ไม่ใช่ /klɔ.θild/ ครับ และจากที่ผมเรียนและเคยใช้ภาษาฝรั่งเศสกับเจ้าของภาษามาบ้าง ทั้งผู้สอนชาวไทยและชาวฝรั่งเศสไม่เคยมีใครสอนให้ออกเสียง th เป็น /θ/ ครับ
  • ผมยังยืนยันนะครับว่าตัว "e" ออกเสียงได้ทั้งเออ, เอ และแอ ตัว r ใน "er" ที่คุณว่านั้น ที่จริงมันอยู่ติดกับ r อีกตัว เป็น -rr- ซึ่งเมื่อ e ตามด้วยรูปพยัญชนะซ้อนจะออกเป็นเสียง แอ (หรือบางครั้ง เอ) เช่น belle = แบล --Potapt (พูดคุย) 02:18, 9 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
  • มันไม่ใช่เสียง /th/θ/ ที่ออกเสียงแบบ the ในภาษาอังกฤษนะครับ ขอโทษทีครับที่ผมทำให้เข้าใจว่าออกเสียงแบบนั้น ผมหมายถึงเสียง /ท.ทหาร/ น่ะครับ ผมจำจากการทับศัพท์ภาษาไทยที่ th มักเป็น ธ และ t มักเป็น ท ในการเขียนคำทับศัพท์เฉพาะน่ะครับ lol แต่ยังยันนะครับว่าออกเสียงตัว t/ท จริงๆ ไม่ใช่ ต แบบ ต.เต่าชัดเจนแบบนั้นแน่นอน และ Élisabeth ออกเสียงเบธแบบสระเอจริงๆ มันไม่ใช่สระแอชัดเจนแน่นอน กระผมคุยกับอาจารย์เจ้าของชื่อเมื่อกี๊ แกถึงกับพูดช้าๆดังๆว่า "เอ-ลี-ซา-เบท" แต่คำว่า Beth โดดๆ แกออกเสียงว่า เบธ ตัวสะกดแบบ /th/ ในภาษาอังกฤษเลยครับ ผมได้ขอให้แกอธิบาย La phonologie française อีกครั้ง พร้อมจะขอหนังสือจากอาจารย์ของผมมาอ้างอิงนะครับ (แกยกตัวอย่างอีกคำให้มา การออกเสียง เมืองเบธเลเฮม ในภาษาฝรั่งเศสคือ Bethléem ซึ่งอ่านว่า เบธเลียม ครับ)
  • ข้อสังเกตมีว่า การออกเสียงฝรั่งเศสนั้น มันจะออกนาสิกค่อนข้างเยอะ ออกจมูกเยอะมาก ทำให้เราได้ยินเป็นสระแบบผสมบ่อยๆทำให้สับสนได้เช่นกันครับ เพราะผมใช้ผมฟังทุกวัน ผมไม่ได้เล่นวิกิมานาน กลับมาครั้งนี้ ยินดีที่ได้มีส่วนร่วมแบ่งปันความรู้กันนะครับ ขอบคุณครับ --ฟลานส์บวร์ก
  • ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนความรู้เช่นกันครับ แต่ผมขออธิบายเพิ่มอย่างนี้ครับ ต ในภาษาไทยใช้แทนเสียงไม่พ่นลม /t/ และ ท ในภาษาไทยใช้แทนเสียงพ่นลม /tʰ/ ส่วนในภาษาฝรั่งเศส รูปเขียน t และ th ทั้งคู่ออกเสียงเหมือนกันคือ /t/ ซึ่งหน่วยเสียง /t/ ในภาษานี้ เมื่อออกเสียงจริงอาจเป็นได้ทั้งเสียงไม่พ่นลม คือ ต [t], เสียงพ่นลม คือ ท [tʰ], หรือเสียงที่มีระดับการพ่นลมออกมาก้ำกึ่งระหว่าง ต กับ ท (ในภาษาไทย) ก็ได้ครับ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ผู้พูด, ตำแหน่งของ t ในคำ, จังหวะ, น้ำเสียง ฯลฯ ซึ่งไม่ว่าจะเป็น ต [t], ท [tʰ] หรือเสียงก้ำกึ่งระหว่าง ต กับ ท ในภาษาไทย ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสับเซต (เสียงย่อย) ของหน่วยเสียง /t/ ทั้งสิ้น หมายความว่า ไม่ว่าเราจะออกเสียงใดเสียงหนึ่งในสามเสียงนั้น ความหมายของคำจะไม่เปลี่ยนไป ลองฟังตัวอย่างการออกเสียง "tu t'appelles" ในเว็บนี้ดูนะครับ คนที่ 1 กับคนที่ 4 ออกเสียง ต (หรือใกล้เคียง ต มาก) ส่วนคนที่ 2 กับคนที่ 3 ออกเสียงปนกันระหว่าง ท-ต ทั้งหมดนี้ไม่ได้มีใครออกเสียงผิด เพราะเสียงที่ออกนั้นก็ยังเป็นสับเซตของหน่วยเสียง /t/ อยู่ดี อย่างไรก็ตาม อย่างที่ผมบอกไปคือ ตำราทั่วไปถือว่าหน่วยเสียง /t/ ในภาษาฝรั่งเศสเป็นเสียงไม่พ่นลม (unaspirated) ดังนั้นถอดเป็นอักษรไทยโดยใช้ ต จะใกล้เคียงที่สุดครับ
  • แ- ในภาษาไทยใช้แทนเสียง /æ/ ส่วนในภาษาฝรั่งเศส รูปเขียน e แทนเสียงเออ /ə/, เอ /e/, /ɛ/ เสียง /ɛ/ ในภาษาฝรั่งเศสนั้นไม่ตรงกับทั้งสระเอ /e/ และสระแอ /æ/ ในภาษาไทย เพราะระดับลิ้นขณะออกเสียง ɛ อยู่ก้ำกึ่งระหว่างสองเสียงนั้น แต่เมื่อทับศัพท์เป็นอักษรไทยจำเป็นต้องใช้รูปสระ แ- แทนเสียง /ɛ/ เนื่องจากรูปสระ เ- ใช้แทนเสียง /e/ ไปแล้ว ตามหลักแล้ว /ɛ/ กับ /e/ ในภาษาฝรั่งเศสถือเป็นคนละหน่วยเสียงกัน เนื่องจากแต่ละเสียงมีผลให้ความหมายของคำเปลี่ยนไป แต่บ่อยครั้งมีการออกเสียง /ɛ/ เป็น [e] หากการออกเสียงเช่นนั้นไม่สร้างความสับสนแก่ผู้ฟัง เช่น maison ตามหลักหรือตามพจนานุกรมทั่วไปให้ออกเสียงว่า แมซง /mɛzɔ̃/ แต่ผู้มีออกเสียงว่า เมซง [mezɔ̃] เช่นกัน ในกรณีชื่อ Élizabeth นั้นออกเสียงว่า /elizabɛt/ เนื่องจากตามหลักแล้ว เสียง /e/ มักจะไม่ปรากฏในพยางค์ที่มีพยัญชนะท้าย แต่ในความเป็นจริง ก็เป็นไปได้ที่จะออกเสียงว่า [elizabet] เช่นกัน เพราะการสลับเสียงในตำแหน่งนี้ไม่ได้ทำให้ความหมายของคำเปลี่ยน จากตัวอย่างการออกเสียงในเว็บนี้ คนแรกออกเสียงเอ [e] (หรือใกล้เคียงมาก) แต่คนที่สองออกเสียง "แอ" [ɛ] ครับ --Potapt (พูดคุย) 04:18, 9 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
  • เอกสารที่ผมได้มา (Andre-Faber Claire. La langue en mouvements : Méthode de sensibilisation à la phonologie du français) ก็มีตารางจำแนกเสียงเทียบเคียงภาษาอังกฤษ ซึ่งก็มีทฤษฎีตามที่คุณบอกครับ ทั้งนี้ ผมได้เปิดหาดูวีดีโอ เว็บนี้ นาทีที่ 2.40 ที่ Queen Mathilde ออกเสียงพระนามว่า มาทิลด์ ในภาษาฝรั่งเศส และในภาษาอื่นเช่นภาษาดัตช์ เว็บนี้ นาทีที่ 0.58 ซึ่งออกเสียง มาทิลเดอ เช่นเดียวกับภาษาเยอรมัน ซึ่งผมอาจสันนิษฐานว่าอาจเป็นเพราะการออกเสียงเฉพาะถิ่นก็เป็นได้ เพื่อนผม Clothilde เป็นคนสวิส และอาจารย์ Élisabeth ก็เป็นชาวเบลเยียมเช่นกัน
  • การออกเสียงพระนามพระองค์อื่นๆเช่น เจ้าชายกาเบรียล ในภาษาฝรั่งเศสออกเสียง "กาเบรียล" และภาษาดัตช์ออกเสียง "คาเบรียล" อีกพระนามคือ Princess Eléonore ซึ่งออกเสียง "เอเลโอนอร์"
  • ด้วยเหตุข้อถกเถียงนี้ ส่วนหนึ่งเพราะเบลเยียมมีภาษาประจำชาติ 3 ภาษา และออกเสียงต่างกัน หากผมเสนอว่า ควรออกชื่อตามแบบภาษาอังกฤษ แล้วสามารถระบุการออกเสียงภายในบทความทั้ง 3 ภาษา จะดีไหมครับ อย่างเช่นจักรพรรดินโปเลียน ซึ่งออกเสียง "นโปเลอ็อง" ในภาษาฝรั่งเศส หากจะเปลี่ยนชื่อเป็นจักรพรรดินโปเลอ็อง ก็จะไม่ต้องผู้อ่านเช่นกัน เพราะผู้อ่านคุ้นชินกับชื่อนโปเลียนมาตลอด
  • อีกพระนามคือ King Philippe หากเขียนชื่อ Philip อาจเขียนเป็น ฟิลิป ได้ แต่หากเป็น Philippe ซึ่งมี pp 2 ตัว ควรเขียนเป็นภาษาไทยว่า ฟิลิปป์ ดีหรือไม่ครับ ขอบคุณครับ --ฟลานส์บวร์ก
  • ครับ ตามที่ผมบอกไปคือ ในภาษาฝรั่งเศส ไม่ว่าจะออกเสียง t เป็น ท [tʰ], ต [t] หรือ กึ่ง ท กึ่ง ต ก็ไม่ถือว่าผิด ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ผมลองฟังการออกเสียงคำอื่น ๆ ที่มีเสียง /t/ แล้วตามด้วยสระ /i/ (โครงสร้างเดียวกับ Mathilde /ma.tild/) เช่น Bastille sympathie ก็ยังได้ยินว่าเป็นเสียง ต เหมือนกัน ดังนั้น ผมจึงไม่คิดว่า Mathilde หรือ Clothilde จะเป็นข้อยกเว้นครับ เนื่องจากภาษาฝรั่งเศสไม่มีการแยกหน่วยเสียง /tʰ/ กับ /t/ อย่างภาษาไทย โดยปกติผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่จึงไม่รู้ตัวว่ากำลังออกเสียงตัว t เป็น ท, ต หรือ กึ่ง ท กึ่ง ต ส่วนเสียง /t/ ในภาษาดัตช์ เอกสารที่ผมมีอยู่ก็ระบุว่าโดยปกติเป็นเสียงไม่พ่นลม จึงเป็นไปในลักษณะเดียวกับภาษาฝรั่งเศสครับ
  • โดยปกติรูปเขียน -ie- จะออกเสียง /jɛ/ ซึ่งถือเป็นพยางค์เดียว เช่น deuxième /dø.zjɛm/ เดอ-เซียม, Daniel /da.njɛl/ ดา-เนียล แต่ -ie- ในชื่อ Gabriel (และ Gabrielle) เป็นข้อยกเว้นครับ จะออกเสียงแยกเป็นสองพยางค์ คือ /ɡa.bʁi.ɛl/ กา-บรี-แอล หรือ /ɡa.bʁi.jɛl/ กา-บรี-แยล ผมไม่ทราบเหตุผล แต่คิดว่าคงเป็นเรื่องรากศัพท์ ส่วนรูปเขียน o เมื่อไม่ได้อยู่ในพยางค์สุดท้ายและไม่มีพยัญชนะท้าย ตามหลักให้ออกเสียง ออ /ɔ/ ดังนั้น Éléonore จึงออกเสียงว่า เอเลออนอร์ /eleɔnɔʁ/ อย่างไรก็ตาม มีผู้นิยมออกเสียงรูปเขียน o ในตำแหน่งนี้เป็น โอ [o] เช่นกัน คำนี้จึงออกเสียงว่า เอเลโอนอร์ [eleonɔʁ] ก็ได้ ตัวอย่างอื่น เช่น chocolat ตามหลักออกเสียงว่า ชอกอลา แต่มีผู้ออกเสียงว่า โชโกลา เช่นกัน แต่ทั้งนี้ พจนานุกรมต่าง ๆ จะระบุคำอ่านโดยใช้เสียง ออ /ɔ/ เป็นหลักครับ
  • ที่ในวิกิพีเดียภาษาไทยเลือกเอาชื่อภาษาฝรั่งเศสมาทับศัพท์ น่าจะเป็นเพราะว่าภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่คนไทยรู้จักคุ้นเคยมากที่สุดในบรรดาภาษาราชการ 3 ภาษาของเบลเยียมครับ ส่วนเรื่องเปลี่ยนไปใช้ชื่อภาษาอังกฤษคงต้องดูด้วยครับว่าผู้ใช้คนอื่นจะเห็นเป็นอย่างไร ส่วนตัวผมไม่มีปัญหาอะไร แต่ไม่เห็นด้วยเท่าไหร่ เพราะชื่อหลายชื่อเป็นชื่อภาษาฝรั่งเศส ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ จึงไม่มีคำอ่านออกเสียงในพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ถ้าจะถอดเสียงตามภาษาอังกฤษก็จะไม่มีแหล่งอ้างอิงว่าออกเสียงอย่างไร และแม้แต่วิกิพีเดียภาษาอังกฤษเองบางครั้งก็ยังใช้ชื่อภาษาฝรั่งเศสเป็นชื่อบทความ เช่น en:Princess Eléonore of Belgium (ภาษาอังกฤษสะกดว่า Eleonore ไม่มีเครื่องหมาย accent)
  • การทับศัพท์ฝรั่งเศสในวิกิพีเดียใช้ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส พ.ศ. 2553 ซึ่งมีตารางเทียบเสียงไว้ให้ว่า เสียงสระหรือเสียงพยัญชนะแต่ละตัวจะใช้ตัวอักษรไทยตัวใดถอดเสียง กรณีชื่อ Philippe ภาษาฝรั่งเศสออกเสียงว่า /fi.lip/ กล่าวคือ แม้ว่ารูปเขียนจะเป็นพยัญชนะ p ซ้อนกันสองตัว แต่เวลาออกเสียงจะออกเสียงเหมือนมี p เพียงตัวเดียว ตามหลักเกณฑ์ให้ใช้ ป เพียงตัวเดียวครับ --Potapt (พูดคุย) 02:57, 10 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
  • หลักการทับศัพท์เยอรมันที่เห็นอยู่นั้นเป็นของเก่า ปัจจุบันสำนักงานราชบัณฑิตยสภากำลังปรับปรุงใหม่ครับ --Potapt (พูดคุย) 03:03, 10 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
  • ฝรั่งเศสออกเสียงโชโกลากันทั้งนั้นครับ อยู่มาไม่เคยได้ยินใครพูดชอกอลาเลย ถึงแม้ว่าจะกำหนด phonetics เสียง ออ มา แสดงว่าเราต้องอ้างอิงตามพจนานุกรมหลักถูกหรือไม่ครับ ถ้าเช่นนั้น หลายคำอาจสร้างความสับสนและเข้าใจผิดกับผู้อ่านได้
  • ที่ผมหมายถึงการเขียนชื่อภาษาอังกฤษ ผมหมายถึงเขียนการออกเสียงแบบภาษาอังกฤษครับ ชื่อฝรั่งเศสส่วนใหญ่ทับศัพท์เป็นอังกฤษไม่ได้แน่นอน บางชื่ออย่าง Alexander - Alexandre ยังพอใช้ได้อยู่ อย่างชื่อ Gabriel มั่นใจว่าคนอ่าน เห็นคำว่า กาเบรียล มาตลอด ชื่อเฉพาะบางชื่อ คนไทยคุ้นชินกับการอ่านแบบภาษาอังกฤษ อย่างลักเซมเบิร์ก ไม่มีใครเรียกประเทศ ลุกซองบูร์ก แน่นอน ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมก็เห็นว่ามันก็แล้วแต่ context ไป
  • บางชื่อในภาษาเยอรมันก็ทับศัพท์ภาษาอังกฤษไม่ได้เช่นกัน Jürgen (เยือร์เกิน) / Georg (กียอก) คำที่ออกเสียง"บูร์ก"นี่ไม่เคยได้ยิน จะมีเพียง บวร์ก (burg) เพราะ u คือสระอุ/อู เมื่อมี r ตามมาจะกลายเป็นสระอัว บางพื้นที่จะออกเสียง"อัว"มากน้อย แต่ก็ยังคงเสียงอัวไว้ นอกจากนี้ยังมี แบร์ก (berg) และบางส่วนยังมี โบร์ก (borg) ของทางเหนือที่ติดกับเดนมาร์ก เพราะเป็นภาษาเดนมาร์ก ขอบคุณครับ --ฟลานส์บวร์ก
  • เรื่องการออกเสียงสระ /ɛ~e/ กับ /ɔ~o/ ในตำแหน่งที่ผมว่านั้น ได้เคยถามเจ้าของภาษาที่พอจะมีความรู้เรื่องสัทวิทยาแล้ว เขาบอกว่าออกเสียงได้ทั้งสองอย่างในแต่ละคู่ครับ ไม่ได้สร้างความสับสนหรือเข้าใจผิดว่าเป็นคนละคำแต่อย่างใด เนื่องจากการจัดวางรูปปากและอวัยวะในช่องปากขณะออกเสียงสระในแต่ละคู่ไม่ได้ต่างกันมากขนาดนั้น และขึ้นอยู่กับความนิยมส่วนตัวหรือท้องถิ่นของผู้พูดด้วย อย่างการออกเสียง chocolat ใน เว็บนี้ ก็มีทั้งคนที่ออกเสียง "โชโกลา", "ชอกอลา" และเสียงที่ก้ำกึ่งระหว่างสระโอกับสระออของไทย (ซึ่งไม่มีรูปสระไทยใด ๆ เทียบได้) แต่หลักการทับศัพท์ฝรั่งเศสจะอ้างอิงจากพจนานุกรมที่ระบุคำอ่าน ซึ่งพจนานุกรมเท่าที่ผมหาได้ทุกเล่มให้ออกเสียง /ɛ/ กับ /ɔ/ เป็นหลักครับ มีบางคำเท่านั้นที่ระบุให้ออกเสียง /ɛ, e/ และ /ɔ, o/ ได้ทั้งสองแบบ
  • ใช่ครับ ขึ้นอยู่กับบริบท อย่างลักเซมเบิร์กนั้นเป็นชื่อที่คนไทยคุ้นเคยกันแล้ว และมีประกาศของทางราชการให้เรียกเช่นนั้น ส่วน Gabriel มันก็เป็นได้ทั้งภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส หรือภาษาอื่น ๆ แต่ในบริบทนี้ ถ้าเราทับศัพท์พระนามเชื้อพระวงศ์หรือพระญาติพระองค์อื่นตามภาษาฝรั่งเศสหมด เหลือแต่บางพระองค์ที่ทับศัพท์พระนามตามภาษาอังกฤษ แบบนี้ผมรู้สึกว่าแปลกครับ
  • ur ที่ออกเสียง อัว นั้นส่วนใหญ่เป็นสำเนียงเยอรมัน (อาจจะออสเตรียด้วยแต่ผมไม่แน่ใจ) มาจากการที่พยัญชนะ r กลายเป็นสระอา ดังนั้นในกรณี -burg ส่วนตัวผมเห็นว่าควรทับศัพท์ว่า บวค เพราะ r ไม่ได้ออกเสียง ร อีกต่อไปแล้ว แต่กลายเป็นส่วนประกอบของสระประสม อัว แทน แต่คอยดูอีกทีว่าหลักการทับศัพท์ใหม่จะเป็นอย่างไร ทั้งนี้ ur ในสำเนียงสวิสยังออกเสียงว่า อูรฺ อยู่ครับ เช่น Winterthur, Kurt, Soloturn --Potapt (พูดคุย) 20:52, 10 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
  • อันนั้นเห็นด้วยครับ ที่ชื่อฝรั่งเศสหรือภาษายุโรปส่วนใหญ่ ก็ควรเขียนทับศัพท์ไปในแบบของภาษาเขา ที่ผมเห็นต่างก็คงจะมีแต่เรื่องการเขียนเท่านั้น แต่ก็ต้องศึกษากันต่อไป เพราะหลายอันที่ผมเข้าไปดูการทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส หลายเสียงที่ดูแล้ว มันไม่น่าถูกต้อง เพราะที่ได้ยินมาทุกวันก็ไม่ใช่เสียงนี้แน่นอน อย่าง in- / im- ที่ออกเสียง อัง ไม่ใช่ แอง เช่น impossible /อังปอสซิเบลอะ/ vingt /วัง/ ไม่ใช่แวง (เสียง v ก็คล้ายๆภาษาอังกฤษ /ฟว/) ไม่รู้ใช้หลักการอะไรในการเทียบเสียงผ่านตัวอักษร เพื่อนผมที่เรียน Alliance Française ถึงกับบอกว่า เอาอะไรมากกับราชบัณฑิต ผมเองก็อยากศึกษาจากราชบัณฑิตในการเขียนภาษาไทยว่าจะขัดแย้งกับการออกเสียงจริงๆมากน้อยแค่ไหน
  • สำหรับภาษาเยอรมันนั้น การออกเสียง /ur/ (อูร์) เป็นภาษาเยอรมันแบบสวิสครับ (Schwyzerdütsch) ภาษาท้องถิ่นที่ออกเสียง /ร/ ชัดเจน จึงออกเสียงเหมือน อูร์ สำหรับเยอรมันและออสเตรีย ออกเสียง /อัว/ ครับ ซึ่งถ้า r อยู่ข้างหลัง u จะกลายเป็นสระอัวในภาษาไทยไป แต่การทับศัพท์ควรอ้างอิงตามภาษาแบบมาตรฐานไม่ใช่เหรอครับ และผมคิดว่า การทับศัพท์ภาษาไทย เมื่อมี r ถึงแม้ว่าไม่ออกเสียง ควรเขียนทับศัพท์ตรงตัว b-บ / u-ว / r-ร์ / g-ก = บวร์ก นะครับ เหมือน Karl – คาร์ล จะให้เขียนคาล ก็ไม่ได้แน่ๆ ผมเขียน Flansburg เป็น ฟลานส์บวร์ก (จริงๆออกเสียง ฟลันส์) ไม่รู้มาตรฐานการทับศัพท์ของเยอรมันในภาษาไทย ราชบัณฑิตใช้หลักการอะไรในการเทียบ ในฐานะลูกครึ่งเยอรมัน ถ้าเห็นว่าต้องอ้างอิงตามหลักการของราชบัณฑิตอย่างเดียว ซึ่งบางอันมันขัดแย้งกับการที่ออกเสียงจริงๆ อาจเกิดความเข้าใจผิดในผู้อ่านคนไทยได้ ขอบคุณครับ --ฟลานส์บวร์ก (พูดคุย) 13.12, 11 กุมภาพันธ์ 2561 (CET)
  • ตัว -in, -im ที่คุณได้ยินเป็น กึ่งแอ็งกึ่งอัง [æ̃] (ไม่ใช่ อัง [ã ɑ̃] แบบเป๊ะ ๆ) โดยมากเป็นการแปรจากเสียง แอ็ง /ɛ̃/ ของสำเนียงปารีสซึ่งมีอิทธิพลสูงเพราะได้ยินบ่อยในสื่อ แต่ไม่ใช่ว่าออกเสียงเป็น แอ็ง [ɛ̃] แล้วจะผิดโดยสิ้นเชิงครับ ที่มาที่ไปก็คล้ายกับบรรดาเสียงต่าง ๆ ที่ได้คุยกันไปแล้วข้างต้น หลักเกณฑ์ไม่ได้มุ่งเน้นสอนภาษาเป็นหลัก ไม่ได้เน้นให้ผู้อ่านนำไปใช้สื่อสารได้กับเจ้าของภาษาทุกกลุ่มหรือทุกสถานการณ์ แต่มุ่งให้คนไทยนำไปถอดเสียงให้เป็นแบบแผนเดียวกัน ถ้าเราทับศัพท์ตามที่หูของเราได้ยินอย่างเดียวโดยไม่พึ่งพจนานุกรมเลย แต่ละคนก็คงทับศัพท์ออกมาไม่เหมือนกันครับ (ดังกรณี t ที่ได้คุยกันไปแล้วเป็นต้น) คนไทยที่ไม่เคยรู้จักพูดคุยกับเจ้าของภาษา แต่มีความจำเป็นต้องทับศัพท์ฝรั่งเศส เขาก็ต้องพึ่งพจนานุกรมเป็นหลักครับ และคุณก็คงเห็นแล้วว่า หลักเกณฑ์ได้อ้างอิงการออกเสียงตามพจนานุกรมภาษาฝรั่งเศส ดังนั้น ถ้าจะผิดจริง ก็คงผิดตั้งแต่พจนานุกรมในภาษาต้นฉบับครับ ถ้าพจนานุกรมในภาษาต้นฉบับเปลี่ยนการออกเสียงเมื่อไหร่ ในอนาคตหลักเกณฑ์ก็อาจจะปรับปรุงอีกก็ได้ เพราะหลักเกณฑ์รุ่น พ.ศ. 2553 ก็ไม่ใช่หลักเกณฑ์รุ่นแรกนะครับ ส่วนที่เพื่อนคุณบอกว่า เอาอะไรมากกับราชบัณฑิต นั้น จะบอกว่าหลักเกณฑ์ออกในนามราชบัณฑิตยสภาก็จริง แต่คนที่มีส่วนร่วมในการออกหลักเกณฑ์ของแต่ละภาษาไม่ได้มีแต่ราชบัณฑิตหรือคนในหน่วยงานครับ ยังมีนักภาษาศาสตร์ อาจารย์มหาวิทยาลัยที่สอนภาษานั้น ๆ และเจ้าของภาษาไปร่วมกำหนดด้วย ผมว่าคงเป็นไปไม่ได้นะครับที่จะบุคคลเหล่านั้นจะไม่มีใครทราบถึงสถานการณ์ทางภาษาที่คุณว่ามาเลย
  • เรื่องการออกเสียงในสำเนียงสวิส ผมตอบคุณตรงประเด็นที่คุณบอกว่า คำที่ออกเสียง"บูร์ก"นี่ไม่เคยได้ยิน จะมีเพียง บวร์ก โดยเฉพาะครับ และอย่างที่บอกว่า การไม่ถอดเสียงจากรูปพยัญชนะที่ไม่ออกเสียงนั้นเป็นความเห็นส่วนตัวของผม เช่น burg ถ้าถอดตามเสียงก็ควรเป็น b-บ / u-อุ/อู / r-อะ / g-ค (/ɡ/ ท้ายคำจะถูกลดทอนความก้องเป็น [k]) ซึ่งความเห็นของผมก็ไม่ได้ตรงกับหลักเกณฑ์ปัจจุบันและอาจจะไม่ได้ตรงกับหลักเกณฑ์ใหม่ก็ได้ ผมถึงบอกว่าให้คอยดูไปก่อนว่าหลักเกณฑ์ใหม่จะเป็นอย่างไร --Potapt (พูดคุย) 20:15, 11 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
  • ขอบคุณมากๆครับสำหรับคำอธิบายทั้งหมด ผมใช้เวลาทั้งวันที่มหาวิทยาลัยค้นคว้าด้านภาษาศาสตร์ใหม่จากที่เรียนกันมาก่อนแล้ว เพราะยังไงก็ต้องอิงตามหลักของไทยอยู่ดี ผมกำลังค้นคว้าทับศัพท์ภาษายุโรปของไทยอยู่ครับว่าเป็นลักษณะไหนบ้าง เพราะคุณกล่าวมาว่ายังไงก็ต้องมีการปรับปรุงอีก สำหรับผมเองก็เห็นด้วย แม้แต่ต่างชาติยังขัดแย้งกันเองเรื่องออกเสียง เพราะมาจากต่างถิ่นกันด้วย ขอบคุณครับ --ฟลานส์บวร์ก (พูดคุย) 11.52, 12 กุมภาพันธ์ 2561 (CET)

ก่อกวน

https://th.wikipedia.org/wiki/พิเศษ:เรื่องที่เขียน/110.170.47.165 ก่อกวนบทความเยอะมาก

น่าจะคนเดียวกันกับ https://th.wikipedia.org/wiki/พิเศษ:เรื่องที่เขียน/202.29.54.58 --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 171.5.243.23 (พูดคุย | ตรวจ) 22:55, 9 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)

น่าจะเป็นคนเดียวกันแหละครับ เผลอ ๆ เป็นเจ้าเก่าด้วย --Potapt (พูดคุย) 02:35, 10 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)

สวัสดีครับ ตอนนี้วิกิพีเดียจะเปลี่ยนนโยบายวิกิพีเดีย:เงื่อนไขสำหรับเนื้อหาไม่เสรี และจะเริ่มใช้แม่แบบใหม่จึงอยากขอความคิดเห็นท่านที่คุยเรื่องวิกิพีเดีย:เงื่อนไขสำหรับเนื้อหาไม่เสรี ขอบคุณครับที่ร่วมสร้างสรรค์สารานุกรมเสรี--Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 00:46, 16 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)

ขอช่วยตรวจสอบคำแปล

สวัสดีครับ ล่าสุดผมแปล สถานีย่อย:สารบัญ/ภาพรวม จาก en:Portal:Contents/Overviews ครับ มีหลายคำไม่มั่นใจ +หาคำแปลไม่ได้ จึงขอความช่วยเหลือจากคุณช่วยตรวจทานกับหาคำแปลบางคำด้วยครับ ขอบคุณครับ --Horus (พูดคุย) 00:28, 22 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)

ผมตรวจและแก้เท่าที่ทำได้แล้วนะครับ --Potapt (คุย) 00:55, 25 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
1. คำที่เหลือนี่หาไม่ได้ใช่ไหมครับ จะได้ใช้วิธีถอดเสียงเอา
2. ขอสอบถามบางคำครับ
2.1 "เต้นรำ" ที่คุณแปลมาจาก dancing นั้น ในพจนานุกรมระบุความหมายว่า " เคลื่อนไปโดยมีระยะก้าวตามกำหนดให้เข้าจังหวะกับดนตรี ซึ่งเรียกว่า ลีลาศ" ผมเห็นว่าน่าจะแคบเกินไปเลยใช้ว่า "เต้น" เฉย ๆ
2.2 "ท่าเรือ" ที่คุณแปลมาจาก port ผมคิดว่า "ท่า" ปกติความหมายก็แปลว่า ที่จอดเรือ อยู่แล้วเลยคิดว่าใช้สั้น ๆ น่าจะพอครับ --Horus (พูดคุย) 01:07, 25 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
1. ณ ตอนนี้หาไม่ได้ครับ
2.1 "เต้น" เฉย ๆ ก็ได้ครับ
2.2 "ท่า" หมายถึงที่จอดยานพาหนะอื่นก็ได้ เช่น ท่ารถ ท่าอากาศยาน และในหน้า port ของวิกิภาษาอังกฤษก็กล่าวถึงท่าเรืออย่างเดียวครับ --Potapt (คุย) 01:23, 25 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)

ทำไม luge ถึงเขียนว่า ลูช ครับ

สวัสดีครับ ทำไม luge ถึงเขียนว่า ลูช ครับ เห็นในกูเกิลก็ใช้คำว่า ลุจ นะครับ บางวิดีโอก็ใช้คำว่า ลูจ หรือ ตาม Phonetic ครับอ้างอิง:

และมีกีฬาอื่นที่ใช้คำผิดไหมครับ ขอบคุณครับ :) --Dinnerbrone (คุย) 21:36, 4 มีนาคม 2561 (ICT)

  • สวัสดีครับ จากพจนานุกรมการออกเสียงภาษาอังกฤษนะครับ ตัว u ออกเสียง /uː/ ซึ่งเป็นเสียงยาว จึงต้องใช้ อู ไม่ใช่ อุ ส่วน -ge ในคำนี้ออกเสียง /dʒ/ (ทับศัพท์เป็น จ) เฉพาะในสำเนียงบริติช แต่ออกเสียง /ʒ/ (ทับศัพท์เป็น ช) ได้ทั้งในสำเนียงบริติชและสำเนียงอเมริกัน แบบหลังจึงเป็นกลางกว่าครับ
  • กีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวอื่น ๆ (เท่าที่มีบทความแล้ว) ผมว่าโอเคแล้ว ยกเว้น skeleton ถ้าทับศัพท์ตามคำอ่าน /ˈskelɪtən/ ควรเป็น "สเกลิตัน" เพราะ /k/ เมื่อตามหลัง /s/ โดยธรรมชาติของเจ้าของภาษาจะออกเสียง ก ไม่ใช่ ค (เช่น ski = สกี ไม่ใช่ สคี) และ t ถ้าไม่ได้อยู่ในพยางค์ที่เน้นเสียง ออกเสียงเป็น ต ได้เช่นเดียวกับ ท ครับ และคนไทยนิยมทับศัพท์โดยใช้ ต ตัวอย่างอื่น เช่น Washington = วอชิงตัน, (Isaac) Newton = นิวตัน --Potapt (คุย) 21:50, 4 มีนาคม 2561 (ICT)

Share your experience and feedback as a Wikimedian in this global survey

WMF Surveys, 01:19, 30 มีนาคม 2561 (ICT)

171.100.77.173

Can you review the edits of this IP? Either there are several municipal upgrades forthcoming in Nakhon Phanom and that user just couldn't wait till they got official, or its just nonsense. แอนดี้ (คุย) 05:37, 8 เมษายน 2561 (ICT)

At the end of 2017, the population of Thetsaban Mueang Nakhon Phanom was only 26,337. Plus, while upgrading their status they have to hold local elections, which will continue being impossible for a long while, so I'm quite sure that those edits were just nonsense. The most all the local organizations can do at present is to conduct polls in which their residents are asked if they agree with the upgrade or not. To my knowledge, at least 4 or 5 local organizations have already prepared the poll results in order to propose to the Ministry for consideration (after the elections are allowed in the future). --Potapt (คุย) 20:59, 8 เมษายน 2561 (ICT)

Transliteration rules

As the pselling is one of your pet projects - in case you haven't seen the latest Royal Gazette announcements, there are now (new) rules for Burmese [1], German, Spanish, Japanese and Malay [2] and Indonesian [3]. แอนดี้ (คุย) 18:17, 9 เมษายน 2561 (ICT)

Thanks! Loads of works to do now :) --Potapt (คุย) 18:23, 9 เมษายน 2561 (ICT)

ชื่อนักฟุตบอล

สวัสดีครับ รบกวนตรวจทานและถอดเสียงชื่อนักฟุตบอลในหน้า สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลในฤดูกาล 2003–04 เพื่อเตรียมเสนอบทความคัดสรรต่อไปครับ ขอบคุณครับ --Horus (พูดคุย) 23:14, 12 เมษายน 2561 (ICT)

Reminder: Share your feedback in this Wikimedia survey

WMF Surveys, 08:17, 13 เมษายน 2561 (ICT)

ทับศัพท์สเปน ฉบับใหม่

สวัสดีครับคุณ Potapt รบกวนสอบถามหน่อยครับ ว่าพอดีผมกำลังศึกษาหลักเกณฑ์การทับศัพท์ฉบับใหม่อยู่ และเห็นหลักการเขียนคำทับศัพท์ภาษาสเปน ตามข้อที่ 8.3 เรื่องของการเขียนทับศัพท์ชื่อเฉพาะ ที่ต้องแยกคำเหมือนการเขียนในภาษาสเปน อย่างกรณีชื่อบทความที่เป็นสโมสรฟุตบอลของประเทศสเปน ต้องเปลี่ยนชื่อบทความใหม่เลยไหมครับเช่น เรอัลโซเซียดัด --> เรอัล โซเซียดัด, สโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริด --> สโมสรฟุตบอลเรอัล มาดริด

ขอบคุณครับ --Wutzwz (คุย) 20:41, 14 เมษายน 2561 (ICT)

ถ้าเอาตามหลักเกณฑ์ ชื่อสโมสรเป็นชื่อเฉพาะ เพราะฉะนั้นต้องเขียนแยกครับ แต่ผมคิดว่าจะลองถามเขาดูก่อนอีกที เพราะหลักเกณฑ์ไม่ได้กล่าวถึงสโมสรฟุตบอลโดยตรง อย่างหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาเยอรมันก็ให้เขียนแยกเฉพาะ "ชื่อเมือง" แต่ชื่อสโมสรฟุตบอลหรือชื่อเฉพาะอื่นไม่ได้กล่าวถึงเลย ส่วนตัวผมรู้สึกว่า ถ้าสโมสรเยอรมันเขียนติดกัน แต่สโมสรสเปนเขียนแยกกัน จะดูไม่ค่อยเป็นระบบ --Potapt (คุย) 21:09, 14 เมษายน 2561 (ICT)

Your feedback matters: Final reminder to take the global Wikimedia survey

WMF Surveys, 07:27, 20 เมษายน 2561 (ICT)

สอบถาม

สวัสดีครับ ขอทราบวิธีดูสระเสียงหนักเสียงเบา หรือวิธีแยกว่าจะอ่านควบหรืออ่านแยกได้ไหมครับ ขอบคุณครับ (จริง ๆ ผมก็เพิ่งสังเกตว่ามีวิธีอ่าน "gu + e" ข้างล่าง แต่อยากได้หลักการรวม ๆ ครับ) --Horus (พูดคุย) 19:55, 20 เมษายน 2561 (ICT)

สระเดี่ยวมี 2 กลุ่ม สระเสียงเบา คือ i, u สระเสียงหนัก คือ a, e, o (คำว่า "เบา" ในที่นี้หมายถึง มันสามารถจะไปรวมเป็นสระประสมกับสระตัวอื่นได้ทุกตัว ทั้งกับสระเสียงหนักและกับสระเสียงเบาด้วยกันเอง แต่สระเสียงหนักกับสระเสียงหนักด้วยกันจะรวมเป็นสระประสมไม่ได้ เพราะมันแข็งแรง ไม่อ่อนแอเหมือนสระเสียงเบา)
1. สระเบา+สระหนัก (สลับที่กันได้) ถือเป็นสระประสม (diphthong) และนับเป็น 1 พยางค์ ไม่ว่าจะมีพยัญชนะท้ายหรือไม่ เช่น Nadia, nadie, Europa, radio, dios แบ่งพยางค์ได้เป็น Na-dia, na-die, Eu-ro-pa, ra-dio, dios
2. สระเบา+สระเบา (คือ iu, ui) ถือเป็นสระประสม ไม่ว่าจะมีพยัญชนะท้ายหรือไม่ เช่น ciudad, cuidado, triunfo แบ่งพยางค์เป็น ciu-dad, cui-da-do, triun-fo
(ทั้งนี้ หลักเกณฑ์กำหนดว่า สระประสมไหนไม่มีรูปหรือเสียงที่ใกล้เคียงในภาษาไทย ให้ทับศัพท์แยกกัน)
3. สระหนัก+สระหนัก ไม่ถือเป็นสระประสม แต่ถือเป็นสระที่ออกเสียงเรียงกันเฉย ๆ (hiatus) และถือว่าอยู่คนละพยางค์ เช่น Bilbao, oeste, línea แบ่งพยางค์เป็น Bil-ba-o, o-es-te, lí-ne-a
4. สระเบาที่มีเครื่องหมาย accent กำกับอยู่ ถือว่าเป็นสระหนัก ดังนั้น เมื่อสระหนัก+สระหนัก จึงออกเสียงสระเรียงกัน ไม่เป็นสระประสม เช่น agencia, policial แบ่งพยางค์เป็น a-gen-cia, po-li-cial เพราะ ia เป็นสระประสม (เบา+หนัก) แต่ policía แบ่งพยางค์เป็น po-li-cí-a เพราะ ía เป็นสระเรียง (หนัก+หนัก)
5. สระหนักที่มีเครื่องหมาย accent กำกับอยู่ ถือว่าเป็นสระหนักเหมือนเดิม หากอยู่ติดกับสระอื่น ให้จำแนกตามข้อ 1. และ 3. เช่น océano มี 4 พยางค์ คือ o-cé-a-no เพราะ éa เป็นสระเรียง (หนัก+หนัก), nacn มี 2 พยางค์ คือ na-cn เพราะ ió เป็นสระประสม (เบา+หนัก) ในภาษาไทยทับศัพท์เป็น "นาซิออน" ซึ่งดูเหมือนมี 3 พยางค์ แต่เป็นเพราะว่าภาษาไทยไม่มีสระที่ตรงกับเสียงสระประสมนี้
ในกรณีสระประสม /ue/ กับ /ui/ ถ้าตามหลังพยัญชนะทั่วไปจะใช้รูปเขียนปกติ คือ ue กับ ui เช่น bueno, puesto, cuidado แต่ถ้าตามหลัง g จะใช้รูปเขียน üe กับ üi เช่น güisqui /guis-ki/, Sigüenza /si-guen-θa/ เพื่อแยกให้ต่างจาก gue, gui ซึ่งรูปสระ u ในที่นี้ไม่ออกเสียง เป็นเพียงตัวบอกว่าออกเสียง /g/ เช่น guiso /gi-so/, Miguel /mi-gel/ เพราะหากไม่มีรูปสระ u คั่นไว้ ตัว g ที่นำหน้าสระ e, i ก็จะออกเสียง /x/ เหมือนกับตัว j เช่น gente /xen-te/, gimnasio /xim-na-sio/
เสียงพยัญชนะ+สระที่ใช้รูปเขียนต่างกัน จะเป็นชุดตามนี้
/θ/ : za, ce/ze, ci/zi, zo, zu = ซา, เซ, ซิ, โซ, ซู
/k/ : ca, que, qui, co, cu = กา, เก, กิ, โก, กู
/ku/ + สระ : cua, cue, cui, cuo = กัว, กูเอ, กุย, กูโอ (ภาษาสเปนไม่มี cuu)
/x/ : ja, je/ge, ji/gi, jo, ju = ฆา, เฆ, ฆิ, โฆ, ฆู
/g/ : ga, gue, gui, go, gu = กา, เก, กิ, โก, กู
/gu/ + สระ : gua, güe, güi, guo = กัว, เกว, กวิ, กูโอ (ภาษาสเปนไม่มี guu)
จริง ๆ แล้ว güe, güi ควรจะทับศัพท์เป็น กูเอ, กุย ให้สอดคล้องกับการทับศัพท์ ue, ui ในตารางสระประสม หรือไม่ก็ควรทับศัพท์ gu ที่นำหน้า a, o เป็น กว (กวา, กโว) ด้วย เพราะทั้งชุดมันออกเสียงเหมือนกัน แต่ผู้กำหนดหลักเกณฑ์อาจจะมองว่ารูปสระ ü มันดูเด่นกว่ารูปสระ u ธรรมดา หรือคงต้องการให้คำทับศัพท์ต่างจาก กูเอ, กุย ของ cue, cui
ไม่รู้ว่าอธิบายโอเคหรือเปล่า ถ้าสงสัยถามเพิ่มได้ครับ --Potapt (คุย) 21:28, 20 เมษายน 2561 (ICT)
อธิบายได้ดีแล้วครับ ขอถามอีกนิดนึงว่า เครื่องหมาย accent นี่มีตัวอื่นนอกจาก é ไหมครับ จะได้ดูเป็น --Horus (พูดคุย) 21:35, 20 เมษายน 2561 (ICT)
ในภาษาสเปนมีใช้กับสระทุกตัวครับ คือ á, é, í, ó, ú (แต่รู้สึกว่า ú จะพบน้อยมาก)
แต่เครื่องหมาย accent นอกจากจะใช้จำแนกสระประสมกับสระเรียงแล้ว ถ้ามันอยู่กับสระเดี่ยวในคำคำหนึ่ง จะเป็นตัวบอกว่า คำนั้นมีพยางค์ที่ลง stress ไม่ตรงตามหลักทั่วไปด้วย
ตัวอย่างเช่น คำที่ลงท้ายด้วยสระหรือพยัญชนะ n, s ตามหลักการออกเสียงจะลง stress ที่พยางค์รองสุดท้าย เช่น Juani, fresas, canon จะลง stress ที่พยางค์ jua, fre และ ca แต่ jabalí, Tomás, jamón จะลง stress ที่พยางค์ lí, más และ món ทั้งนี้ เครื่องหมาย accent ไม่ได้ทำให้ออกเสียงสระยาวขึ้น คุณอาจจะเห็นว่าหลักเกณฑ์ให้ทับศัพท์ i ท้ายคำเป็น อิ และให้ทับศัพท์ í ท้ายคำเป็น อี แต่นั่นเป็นความพยายามแสดงเค้าเดิมของตัวสะกดในภาษาต้นทาง (ซึ่งก็ทำไม่ได้กับทุกสระ) ที่จริงในภาษาสเปนไม่มีการแบ่งแยกความสั้น-ยาวของสระครับ --Potapt (คุย) 21:53, 20 เมษายน 2561 (ICT)
(ไม่แน่ใจว่าข้างบนพูดถึงภาษาอื่นหรือยัง) ถ้าเป็นภาษาอื่นล่ะครับ อยากรู้ว่าใช้หลักการนี้หรือเปล่า และมีเครื่องหมาย accent อย่างอื่นหรือเปล่าครับ อย่างผมรู้ว่า naïve ก็ใช้แบ่งพยางค์ --Horus (พูดคุย) 21:58, 20 เมษายน 2561 (ICT)
ข้างบนเฉพาะภาษาสเปนครับ ถ้าเป็นภาษาอื่น ๆ ถึงแม้จะอยู่ในกลุ่มละตินเหมือนกัน แต่ทำหน้าที่ต่างกัน ในภาษาสเปนมีเฉพาะ acute accent (´) ทำหน้าที่บอกตำแหน่งพยางค์ที่ลง stress กับจำแนกสระประสม-สระเรียง แต่ในภาษาอื่น นอกจากจะบอกตำแหน่งพยางค์ที่ลง stress แล้ว ยังเปลี่ยนเสียงสระได้ด้วย เพราะภาษาเหล่านั้นมีหน่วยเสียงสระมากกว่าภาษาสเปน อย่างภาษาโปรตุเกสหลัก ๆ จะมี acute accent กับ circumflex accent (^) และภาษาฝรั่งเศสมีทั้ง acute accent, grave accent (`) และ circumflex accent ในแต่ละภาษา รูปเดียวกันอาจใช้แสดงเสียงสระต่างกันอีก เช่น é ในภาษาโปรตุเกสออกเสียง แอ, แต่ในภาษาฝรั่งเศสออกเสียง เอ, ê ในภาษาโปรตุเกสออกเสียง เอ, แต่ในภาษาฝรั่งเศสออกเสียง แอ เป็นต้น สรุปว่าการออกเสียงก็ขึ้นอยู่กับอักขรวิธีของแต่ละภาษาครับ ไม่มีวิธีออกเสียงแบบกลาง ๆ
ส่วนเครื่องหมาย ¨ ไม่เกี่ยวกับ stress โดยตรง ปกติใช้เป็นตัวบอกให้ออกเสียงแยกพยางค์กัน เนื่องจากรูปเขียนที่ไม่มีเครื่องหมายนี้จะสร้างความสับสน เช่น naïve ในภาษาฝรั่งเศสออกเสียง นาอีฟว์ เพราะถ้าไม่มีเครื่องหมาย ¨ naive ก็ต้องออกเสียงเป็น แนฟว์ เนื่องจากรูป ai ในภาษาฝรั่งเศสออกเสียง แอ ได้ด้วย ส่วนในภาษาสเปน จะพูดอีกอย่างว่า เครื่องหมาย ¨ ใน güe, güi เป็นตัวบอกว่ารูปสระ u ออกเสียงแยกเป็นอิสระ ไม่รวมกับรูปสระ e, i เพื่อออกเสียง เอ, อี (ถึงแม้ว่าพอออกเสียงจริงจะรวมเป็นสระประสม /ue/, /ui/ อยู่ดี) ก็ได้เหมือนกันครับ --Potapt (คุย) 22:21, 20 เมษายน 2561 (ICT)

Tim Bergling

Tim Bergling (forvo) ในภาษาสวีเดน ทับศัพท์อย่างไรครับ--Sard112 (คุย) 12:22, 21 เมษายน 2561 (ICT)

@Sard112: ทิม แบร์ยลิง r ออกเสียง ร กระดกลิ้น, g ออกเสียง ย ครับ --Potapt (คุย) 19:33, 21 เมษายน 2561 (ICT)

ฮินดี

आशीष शर्मा ถอดมาเป็นไทยจะอ่านว่าอย่างไรคะ --171.5.239.136 03:55, 22 เมษายน 2561 (ICT)

อาศีษ ศรรมา --Potapt (คุย) 04:18, 22 เมษายน 2561 (ICT)

อาศิษ ศรมา อันนี้กลายเป็น ศร

อักษรโรมันเขียนว่า śarmā หลักเกณฑ์ฯ ระบุว่า "a (ตามด้วยพยัญชนะที่ไม่มีสระตามมา และไม่ใช่พยางค์สุดท้าย) ใช้สระ –ั (แบบปรับรูป) ยกเว้นถ้าพยัญชนะที่ตามมาเป็น r ให้ใช้ "รร" เช่น karm = กรรมะ gandharv = คันธรรวะ" --Potapt (คุย) 04:53, 22 เมษายน 2561 (ICT)

สวัสดีครับ คุณ Potapt

พอดีมีเรื่องสงสัยครับ คือชื่อ Robert Bunsen นักเคมีชาวเยอรมัน ควรจะออกเสียงยังไงครับ ผมเห็นบทความของวิกิพีเดียภาษาไทยใช้ว่าโอแบร์ท บุนเซิน จึงสงสัยว่าทำไมไม่ออกเสียง R เพราะเป็น Robert

ขอบคุณครับ --Anonimeco (คุย) 16:18, 26 เมษายน 2561 (ICT)

รูปพยัญชนะ r ในภาษาเยอรมันออกเสียง ʁ หรือ ʀ ครับ เป็นเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย เวลาทับศัพท์ใช้รูป "ร" แทน (เช่นเดียวกับภาษาฝรั่งเศส) ชื่อนี้จึงทับศัพท์ได้ว่า "โรแบร์ท" ส่วน "โอแบร์ท" นี่ ผมก็ไม่รู้เหมือนกันครับว่าคนเปลี่ยนชื่อบทความเขาไปเอามาจากไหน --Potapt (คุย) 17:38, 26 เมษายน 2561 (ICT)

สรุปการทับศัพท์ไม่แยกคำ

ผมสรุป แบบนี้ โอเคไหมครับ เผื่อคุณอาจจะอธิบายหรือยกตัวอย่างเพิ่ม --Horus (พูดคุย) 00:09, 29 เมษายน 2561 (ICT)

@Horus: ในหน้าหลักการทับศัพท์ ควรปรับแก้หลักการให้สอดคล้องกับคู่มือการเขียน หรือจะปล่อยไว้ให้เหมือนหลักเกณฑ์ของราชบัณฑิตครับ --Potapt (คุย) 01:29, 29 เมษายน 2561 (ICT)
ขอขยายความได้ไหมครับ --Horus (พูดคุย) 01:32, 29 เมษายน 2561 (ICT)
เช่น การทับศัพท์ภาษาอินโดนีเซีย หลักเกณฑ์ข้อ 12. กำหนดว่า "ชื่อพรรคการเมือง ชื่อหน่วยราชการ ชื่อองค์กร ให้ทับศัพท์แยกกัน" แต่คู่มือการเขียนให้เขียนติดกัน (ตามที่คุยกันแล้ว) ในหน้านี้ควรจะแก้เป็น "ชื่อพรรคการเมือง ชื่อหน่วยราชการ ชื่อองค์กร ให้ทับศัพท์ติดกัน" เพื่อให้สอดคล้องกับคู่มือการเขียนไหม --Potapt (คุย) 01:37, 29 เมษายน 2561 (ICT)
ส่วนตัวคิดว่าถ้าจั่วหัวไว้แล้วว่านำมาจากราชบัณฑิตก็น่าจะเขียนตามราชบัณฑิตฯ ทั้งหมด ของวิกิพีเดียเองก็อ้างอิงตามหน้า MOS เอา คิดว่ายังไงครับ เข้าใจว่าคุณคงคิดเผื่อกรณีผู้เขียนจะใช้อ้างอิงในอนาคต --Horus (พูดคุย) 01:43, 29 เมษายน 2561 (ICT)
ผมยังไงก็ได้ครับ แต่คิดว่าควรเปลี่ยนตามคู่มือ เผื่อใครเข้ามาดูหน้าหลักการทับศัพท์โดยตรงจะได้ไม่งงว่าทำไมชื่อบทความถึงไม่เว้นวรรคตามที่หลักในหน้านั้นกำหนด ส่วนข้อความด้านบน ถ้าเพิ่มคำว่า "ส่วนใหญ่" เข้าไปเป็น "การทับศัพท์ภาษา ... นี้ส่วนใหญ่เป็นหลักการที่กำหนดตามสํานักงานราชบัณฑิตยสภา" ก็น่าจะได้ --Potapt (คุย) 01:51, 29 เมษายน 2561 (ICT)
ไม่ทราบว่าคุณ @Wutzwz: มีความเห็นเรื่องนี้ไหมครับ --Potapt (คุย) 02:00, 29 เมษายน 2561 (ICT)
ผมลืมไปว่าด้านล่างของแต่ละหน้ามี แม่แบบ:การเขียนคำทับศัพท์โดยราชบัณฑิตยสถาน อยู่ ถ้าเนื้อหาข้างบนไม่ตรงกับหลักเกณฑ์ของราชบัณฑิต 100% อาจจะไม่โอเค? --Potapt (คุย) 02:04, 29 เมษายน 2561 (ICT)
ถ้าบทความเหล่านี้อยู่ในเนมสเปซ "วิกิพีเดีย" จะไม่เป็นปัญหาเลยครับ แต่นี่อยู่ในเนมสเปซบทความ เท่ากับว่าเราเขียนให้ general public อยู่ครับ ผมคิดว่าเราสามารถทำ footnote ต่อท้ายหรือทำนองนั้นเพื่อชี้แจงกันภายในวิกิพีเดียเองได้ครับ --Horus (พูดคุย) 02:06, 29 เมษายน 2561 (ICT)
โอเค เข้าใจแล้วครับ --Potapt (คุย) 02:09, 29 เมษายน 2561 (ICT)

การสะกดคำ

ช่วยดูการสะกดคำในสองบทความนี้ให้หน่อยค่ะ ว่าถูกหรือมีผิดไหม เกาะสอง ตำบลเกาะสอง --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ 2403:6200:8863:E4C8:60AD:51D7:FFAA:DFA5 (พูดคุยหน้าที่เขียน) 22:56, 1 พฤษภาคม 2561 (ICT)

ตรวจแล้วนะครับ ส่วนชื่อบทความผมคิดว่าคงไม่ต้องเปลี่ยนเป็นชื่อภาษาพม่า เพราะเกาะสองเป็นชื่อที่ใช้กันทั่วไปในภาษาไทยแล้ว --Potapt (คุย) 03:58, 2 พฤษภาคม 2561 (ICT)

Baden-Württemberg

Baden-Württemberg ควรจะใช้ "รัฐบาเดิน-เวือร์ทเทิมแบร์ค" ตามราชบัณฑิต หรือควรใช้ "รัฐบาเดิน-เวือร์ทเทมแบร์ก" ตามสัญญาบัตรตราตั้งทูต [4] และมติครม. [5] ดีครับ? คือราชการใช้อย่างหลังไปแล้ว ถ้าในวิกิมาใช้อย่างแรก มันจะไม่ตรงกับที่ราชการใช้กันนะครับ ผมอยากให้มันเป็นมาตรฐานเดียวกัน --☭ Walker Emp (คุย) 15:53, 5 พฤษภาคม 2561 (ICT)

ในประกาศหลักเกณฑ์การทับศัพท์ระบุไว้ว่า ราชการควรใช้ตามราชบัณฑิตครับ ตัวสะกด "บาเดิน-เวือร์ทเทมแบร์ก" นี่เขาก็ใช้ตามราชบัณฑิตเหมือนกัน เพียงแต่ใช้ตามหลักเกณฑ์เก่า ตอนนี้มีหลักเกณฑ์ใหม่ออกมาแล้วและชื่อนี้ก็มีเป็นตัวอย่างอยู่ในหลักเกณฑ์นั้นด้วย คุณเองก็ยังเปลี่ยน "เซอเร็มบัน" เป็น "เซอเริมบัน" ตามหลักเกณฑ์มลายูฉบับใหม่เลย ทั้งที่ในกำหนดชื่อประเทศฯ พ.ศ. 2554 2544 (ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีประกาศให้เลิกใช้ในราชกิจจานุเบกษา) ก็ให้สะกดว่า "สเรมบัน" หรือประกาศฉบับนี้ ก็ทับศัพท์ Hamburg ว่า "ฮัมบูร์ก" ทั้งก่อนหน้านั้น ราชบัณฑิตได้เผยแพร่แอปพลิเคชันชื่อบ้านนามเมือง (ซึ่งให้สะกดว่า "ฮัมบวร์ค") แล้ว และคุณเองก็เห็นดีด้วยกับการถอดเสียง g ท้ายคำเป็น ค จนถึงกับไปเปลี่ยนชื่อบทความอื่นที่ไม่มีอยู่ในรายชื่อของราชบัณฑิตด้วย แล้วมีเหตุผลอะไรที่ชื่อนี้ต้องสะกดตามหลักเกณฑ์เก่าแต่เพียงชื่อเดียวครับ? --Potapt (คุย) 19:11, 5 พฤษภาคม 2561 (ICT)

เรื่องการใช้ชื่อบทความ

สวัสดีครับ

  1. ผมออกแบบ {{ชื่อนี้เพราะ}} เอาใส่หน้าคุยเวลาต้องการอธิบายผู้ใช้คนอื่นว่าทำไมจึงใช้ชื่อบทความอย่างนั้นครับ คิดว่าควรใส่เฉพาะชื่อที่ไม่ได้ยึดตามเกณฑ์ราชบัณฑิตฯ ทั่วไปหรือกรณีที่ต้องคุยกันเพื่อให้ได้ชื่อนี้ครับ (สามารถดัดแปลงได้ครับ อยากให้ input เพิ่มเติมอยู่)
  2. เวลาย้ายบทความ อยากให้ช่วยอธิบายเหตุผลทุกครั้งครับ ขอแบบย่อ ๆ ก็ได้ครับ เช่น "ราชบัณฑิตฯ" "สำเนียงท้องถิ่น" "เอกสาร กต." เป็นต้นครับ --Horus (พูดคุย) 17:05, 5 พฤษภาคม 2561 (ICT)
รับทราบครับ แต่ข้อสองนี่หมายถึงกรณีชื่อรัฐเยอรมันข้างบนหรือเปล่าครับ ถ้าใช่ ตอนผมย้ายผมก็ใส่เหตุผลแล้วนะ --Potapt (คุย) 19:12, 5 พฤษภาคม 2561 (ICT)
และในหน้าคุยของผู้ใช้ Setawut นั่นหมายถึงผมหรือเปล่าครับ จะได้เข้าไปตอบ --Potapt (คุย) 21:30, 5 พฤษภาคม 2561 (ICT)
ครับ ข้อสอง หมายถึงครั้งนั้นและครั้งถัด ๆ ไปครับ และผมอยากขอความร่วมมือให้คุณช่วยตักเตือนผู้ใช้มือใหม่ที่ไม่รู้ประสาแทนการย้อนกลับอย่างเดียวด้วยได้ไหมครับ เพราะบางทีย้อนอย่างเดียวเขาก็จะใส่กลับมาอีก เตือนในหน้าคุยสักครั้งก็พอแล้ว แต่ทีนี้ถ้ายังไม่เลิกก็หากรรมการมาห้ามดีกว่าครับ (จะได้ไม่เกิดสงครามแก้ไข) แจ้ง WP:AN ไว้ก็ได้ ส่วนคำถามเพิ่ม คำตอบคือใช่ครับ --Horus (พูดคุย) 04:53, 7 พฤษภาคม 2561 (ICT)
โอเคครับ --Potapt (คุย) 05:28, 7 พฤษภาคม 2561 (ICT)

สวัสดีครับ คุณ Potapt

พอดีเห็นคุณ Potapt เข้าไปแก้ไขบทความรูตเบียร์ เลยมีข้อสงสัย คือผมไปเจอบทความรูทเบียร์ ที่มีเนื้อหาส่วนใหญ่เหมือนกับบทความรูตเบียร์ที่มีอยู่ก่อนแล้ว ผมควรจะทำยังไงกับบทความนี้ดีครับ แจ้งลบหรือเปลี่ยนทางดี

ขอบคุณครับ --Anonimeco (คุย) 00:06, 7 พฤษภาคม 2561 (ICT)

หน้ารูตเบียร์ไม่ได้ถูกย้าย แต่ถูกทำหน้าเปลี่ยนทางมาแทน ผมว่าเปลี่ยนทางกลับเหมือนเดิมคงไม่เป็นอะไรครับ เมื่อเช้าผมนึกว่าคนที่สร้างหน้ารูทเบียร์ยังแก้ไขไม่เสร็จ เลยไม่ได้เปลี่ยนทางทันที --Potapt (คุย) 00:47, 7 พฤษภาคม 2561 (ICT)

ทับศัพท์ชื่อนักฟุตบอล

สวัสดีครับ คุณ Potapt

รบกวนขอความช่วยเหลือเรื่องการทับศัพท์ชื่อนักฟุตบอลในบทความ ผู้เล่นในฟุตบอลโลก 2018 หน่อยครับผม ขอบคุณมากครับ --Wutzwz (คุย) 12:48, 15 พฤษภาคม 2561 (ICT)

กราบขออภัย

กระผมขออภัยที่อาจทำให้คุณไม่สบายใจ เนื่องจากการหลงประเด็นบางอย่างของกระผมเอง การกล่าวหาโดยเลื่อนลอย และการที่ใช้คำว่า อาจ ใน "ส่วนชื่อบทความอื่น ๆ เช่นชีวประวัติ ควรใช้หลักเกณฑ์ของกองศิลปกรรม" ที่จริงต้องเป็น ควร ส่วนที่ผมเสนอไปนั้น เฉพาะชื่อกฎ เกณฑ์ ทฤษฎี ฯลฯ ควรเป็นไปตามเอกสารวิชาการ ตลอดจนความสะดวกในการค้นคว้ากับแหล่งข้อมูลภายนอก

แต่จากการตรวจสอบบทความอื่น ๆ ที่มีการเปลี่ยนชื่อ พบว่า บทความที่กระผมเขียนคือ เลอง ชาร์ล เตฟว์แน็ง (กระผมลืมไปตามหลักเกณฑ์ใช้แบบนี้ แต่ทางปฏิบัติกระผมได้ยินเสียงเป็นอีกแบบ ตรงกันหมดไม่มีเพี้ยน บทความนี้สร้างเพื่อรองรับ ทฤษฎีบทของเทเวนิน (ตามที่เรียกกัน อย่าเผลอไปใช้ทฤษฎีบทของเตฟว์แน็ง ซึ่งไม่เป็นที่รู้จัก) และ ทฤษฎีบทของนอร์ตัน) ในหน้าประวัติระบุดังนี้ "Potapt ย้ายหน้า เลยง ชาร์ล เตฟว์แน็ง ไปยัง เลอง ชาร์ล เตฟว์แน็ง" โดยไม่มีเหตุผลต่อท้าย ในขณะที่บทความซึ่งผู้ใช้ท่านอื่นเปลี่ยนชื่อ เช่น โรฮีนจา ในหน้าประวัติปรากฏข้อความ "Octahedron80 ย้ายหน้า โรฮิงยา ไปยัง โรฮีนจา: ตามอ้างอิง" มหาวิทยาลัยเซาท์แฮมป์ตัน ปรากฏข้อความ "Sry85 ย้ายหน้า มหาวิทยาลัยเซาท์แฮมป์ตัน ไปยัง มหาวิทยาลัยเซาแทมป์ตัน: ตามชื่อเมือง" แสดงให้เห็นว่า บทความที่กระผมเขียน ไม่ได้มีการระบุเหตุผลประกอบการเปลี่ยนแปลง หรืออาจมีข้อขัดข้องทางเทคนิคที่ทำให้แสดงไม่ได้

ฉะนั้น หากคุณได้ระบุเหตุผลลงในช่องเหตุผลแล้ว กระผมขออภัยอย่างสูงและจะไม่ยกข้อความเช่นว่านี้มาว่ากล่าวต่อไป และขอกราบลงแทบเท้า แต่หากคุณมิได้ระบุ จากนี้ไปโปรดระบุเหตุผลเพื่อให้ผู้แก้ไขท่านแรกเข้าใจด้วยว่าทำไม เช่น "หลักเกณฑ์ราชบัณฑิต 2561" หรือ "เกณฑ์ทับศัพท์ 2561" หรือ "ตามอ้างอิง" ฯลฯ หรือหากไม่สะดวกอาจจะระบุในหน้าพูดคุยของบทความนั้น ๆ ก็ได้

ท้ายนี้ขอกราบขออภัยที่ได้ล่วงเกินคุณมา ณ โอกาสนี้ --Char au (คุย) 20:41, 25 พฤษภาคม 2561 (ICT)

หลัง ๆ มานี้เวลาผมเปลี่ยนชื่อบทความผมก็ใส่เหตุผลกำกับไว้บ่อยแล้วนะ แต่ที่ผมไม่ได้เขียนเหตุผลประกอบไว้ตอนย้ายหน้านั้น เพราะพจนานุกรมการออกเสียงภาษาฝรั่งเศสทุกเล่ม (เท่าที่ผมหาได้) ให้ออกเสียงคำนี้ว่า /leɔ̃/ ทั้งหมด ไม่มีเล่มใดให้ออกเสียงว่า /lejɔ̃/ และผมไม่เคยได้ยินผู้สอนภาษาฝรั่งเศสคนใดออกเสียงคำนี้ว่า /lejɔ̃/ จึงคิดว่าคุณก็คงจะเข้าใจได้อยู่แล้วว่าที่ผมแก้ไขไปนั้นเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของราชบัณฑิตยสถาน (ตามที่คุณใส่ไว้เอง) ถ้าใส่เหตุผลไว้อีกก็เกรงว่าจะกลายเป็นการสอนหนังสือสังฆราช แต่ถ้ามันจำเป็นขนาดนั้น เวลาผมแก้ไขครั้งต่อไปผมจะใส่เหตุผลแล้วกัน --Potapt (คุย) 20:56, 25 พฤษภาคม 2561 (ICT)

ทับศัพท์

สวัสดีครับรบกวนช่วยทับศัพท์คำว่า

  • Livyatan
  • Leviathan

ขอบคุณมากครับ--เก็บตกจบแล้วจ้า (คุย) 06:21, 6 มิถุนายน 2561 (ICT)

  • Livyatan = ลิไวอะทัน
  • Leviathan = ลิไวอะธัน
--Potapt (คุย) 08:02, 6 มิถุนายน 2561 (ICT)

ทับศัพท์ชื่อนักฟุตบอล

สวัสดีครับรบกวนช่วยทับศัพท์ชื่อนักฟุตบอลชาวโปรตุเกสคนนี้หน่อยครับ

José Diogo Dalot Teixeira

ขอบคุณครับ --Wutzwz (คุย) 09:25, 6 มิถุนายน 2561 (ICT)

"ฌูแซ ดีโยกู ดาโล ไตไชรา" ครับ --Potapt (คุย) 09:33, 6 มิถุนายน 2561 (ICT)

สวัสดีครับคุณ Potapt

รบกวนทับศัพท์คำให้หน่อยครับ

  •   ჯარისკაცის მამა (ชื่อภาพยนตร์)
  •   Die Deutsche Wochenschau (เปลี่ยนชื่อบทความ Die Deutsche Wochenschau)

ช่วยตอบที่หน้าพูดคุยของผมนะครับ ขอบคุณครับ --Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 05:58, 7 มิถุนายน 2561 (ICT)

อง เหม่ยหลิง

อง เหม่ยหลิง ช่วยดูบทความนี้ให้หน่อย มีคนเพิ่มข้อมูล คำพูด แต่ข้อความเป็นกล่องดูเละ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ 2403:6200:8863:2E13:B549:7C1A:D414:840E (พูดคุยหน้าที่เขียน) 07:04, 12 มิถุนายน 2561 (ICT)

มิถุนายน 2561

  คุณอาจไม่ได้ตั้งใจ แต่การแก้ไขล่าสุดของคุณในหน้า สกุลปลาหมู ได้ลบเนื้อหาออกไปเกือบหมด หรือได้ทำหน้าดังกล่าวว่าง ซึ่งกรณีแบบนี้ทำให้ผู้ใช้อื่นไม่แน่ใจถึงเจตนาของคุณ และเนื่องจากการก่อกวนที่มากขึ้น ทำให้ผู้ใช้อื่นอาจเข้าใจผิดว่าเป็นการก่อกวนได้

  • ในกรณีที่คุณได้ตั้งชื่อผิด หรือต้องการเปลี่ยนชื่อบทความนั้น ควรใช้วิธีเปลี่ยนชื่อโดยคลิกที่ป้าย เปลี่ยนชื่อ แทนการสร้างบทความใหม่ ซึ่งวิธีนี้จะย้ายประวัติการแก้ไขของบทความไปยังชื่อใหม่
  • ในกรณีที่หน้าดังกล่าวได้ซ้ำซ้อนกับอีกบทความที่มีเนื้อหาสมบูรณ์กว่า คุณอาจเลือกที่จะทำเป็นหน้าเปลี่ยนทางแทน
  • ในกรณีที่คุณต้องการแจ้งลบนั้น ให้คงเนื้อหาเดิมไว้ และเพิ่มโค้ด {{ลบ|สาเหตุที่แจ้งลบ}} ที่ส่วนบนสุดของบทความ

หากมีเจตนาอื่น คุณอาจเลือกใส่แม่แบบแสดงข้อความที่เหมาะสม หรือใช้หน้าพูดคุยในการอภิปราย ในอนาคตคุณควรระบุข้อความสั้นๆแจ้งให้ผู้ใช้อื่นรับทราบสิ่งที่คุณทำก่อนบันทึกการแก้ไขด้วยการใส่คำอธิบายอย่างย่อ ข้อความนี้เป็นข้อความแจ้งอัตโนมัติโดยบอตคุง โปรแกรมอัตโนมัติ หากคุณมีข้อสงสัย หรืออย่างไร กรุณาสอบถามได้ที่เลขาชาววิกิพีเดีย ขอขอบคุณสำหรับความร่วมมือ --JBot | แจ้งผู้ดูแล - 09:18, 15 มิถุนายน 2561 (ICT)

เครื่องหมายอะคิวต์

สวัสดีครับ คือผมมีเรื่องสงสัยเกียวกับเครื่องหมายอะคิวต์ (´) ในการทับศัพท์ภาษารัสเซียครับ คือในกรณีที่ตัวอักษรมีเครื่องหมายอะคิวต์ควรทับศัพท์เป็นไม้หันอากาศทุกกรณีหรือเปล่าครับ ตัวอย่างเช่น Забива́ка ควรเป็น ซาบิวัคอา และ Блока́да ควรเป็น โบลคัดอา ขอบคุณครับ --Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 09:54, 15 มิถุนายน 2561 (ICT)

ทับศัพท์

สวัสดีครับ รบกวนทับศัพท์ชื่อบุคคลในสถานีย่อย:สงครามกลางเมืองซีเรีย/Personalities ได้ไหมครับ พอดีตอนนี้ยังถอดภาษาอาหรับไม่เป็น แต่ถ้าไม่สะดวกก็ไม่เป็นไรครับ ขอบคุณครับ --B20180 (คุย) 12:52, 25 มิถุนายน 2561 (ICT)

ขอติดไว้พรุ่งนี้นะครับ --Potapt (คุย) 19:40, 25 มิถุนายน 2561 (ICT)

ดาวเชิดชูเกียรติแห่งประเทศซีเรีย

  ดาวเชิดชูเกียรติแห่งประเทศซีเรีย
ขอมอบให้สำหรับผู้มีส่วนร่วมในบทความที่เกี่ยวข้องกับประเทศซีเรีย อย่างมีนัยยะสำคัญ --B20180 (คุย) 22:45, 3 กรกฎาคม 2561 (ICT)
ขอบคุณครับ --Potapt (คุย) 03:43, 4 กรกฎาคม 2561 (ICT)

ทับศัพท์ชื่อนักฟุตบอล

สวัสดีครับ รบกวนคุณ Potapt ช่วยทับศัพท์ชื่อนักฟุตบอลตามนี้ให้หน่อยครับ

ขอบคุณมากครับ --Wutzwz (คุย) 20:01, 12 กรกฎาคม 2561 (ICT)

  •   Naby Laye Keïta = นาบี ลาย เกอีตา
  •   Issa Laye Lucas Jean Diop = อีซา ลาย ลูว์กา ฌ็อง ดีย็อป
  •   Clément Lenglet = เกลม็อง ล็องแกล
  •   Arthur Henrique Ramos de Oliveira Melo = อาร์ตูร์ เอ็งรีกี รามุส จี โอลีเวย์รา แมลู
  •   Matthijs de Ligt = มัตไตส์ เดอ ลิคต์
  •   Davide Santon = ดาวีเด ซันตอน
  •   Bryan Cristante = บรายัน กริสตันเต

ส่วน Matteo Guendouzi กับ Justin Kluivert ผมยังไม่แน่ใจ เดี๋ยวตอบกลับอีกทีครับ --Potapt (คุย) 20:48, 12 กรกฎาคม 2561 (ICT)

  • Matteo Guendouzi Olié = มาเตโอ แกนดูซี ออลีเย
  • Justin Kluivert = จัสติน ไกลเฟิร์ต (Justin ออกเสียงแบบภาษาดัตช์ว่า ยึสติน แต่เท่าที่หาคลิปฟังได้ ชื่อนักฟุตบอลคนนี้น่าจะออกเสียงแบบภาษาอังกฤษครับ)

--Potapt (คุย) 02:02, 13 กรกฎาคม 2561 (ICT)

สะกด

ช่วยดูการสะกดคำใน รัฐมอญ ให้หน่อยค่ะ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ 2403:6200:8863:3669:640F:ACF7:95B6:5932 (พูดคุยหน้าที่เขียน) 03:22, 21 กรกฎาคม 2561 (ICT)

ผมแก้ไขแล้วเฉพาะคำทับศัพท์ชื่อภาษาพม่า ส่วนคำทับศัพท์ในวงเล็บนั้นเป็นชื่อภาษามอญ ผมไม่รู้ภาษานี้เลยตรวจให้ไม่ได้ ถ้ามีข้อสงสัยอะไรคงต้องถามคุณแอนเดอร์สันนะครับ --Potapt (คุย) 05:15, 21 กรกฎาคม 2561 (ICT)

ดิฉันเป็นคนมอญค่ะ มีพ่อเป็นคนไทย มีญาติที่อยู่ทั้งในไทยและรัฐมอญ รบกวนนิดนึงค่ะ ช่วยดูบทความ เมาะลำเลิง ให้หน่อยค่ะ เพื่อผิดพลาดอันใด และขอบคุณอย่างสูงค่ะที่แก้ไขตรวจสอบบทความให้ --2403:6200:8863:3669:640F:ACF7:95B6:5932 05:29, 21 กรกฎาคม 2561 (ICT)

ช่วยสะกดคำนี้ให้เป็นภาษาไทยหน่อยครับ

สวัสดีครับ ช่วยแปลคำนี้หน่อยครับ :Port-en-Bessin--Matable (คุย) 14:37, 3 สิงหาคม 2561 (ICT)

  • Port-en-Bessin = ปอร็องแบแซ็ง
  • Port-en-Bessin-Huppain = ปอร็องแบแซ็ง-อูว์แป็ง

--Potapt (คุย) 16:58, 3 สิงหาคม 2561 (ICT)

  • ขอบคุณมากครับ--Matable (คุย) 10:06, 4 สิงหาคม 2561 (ICT)

ช่วยทับศัพท์ทีครับ

Przemyśl ([ˈpʂɛmɨɕl]) ควรออกเสียงอย่างไรครับ ผมคิดว่าปแชมึชล แต่ผมไม่แน่ใจ --ZilentFyld (คุย) 13:32, 5 สิงหาคม 2561 (ICT)

śl ออกเสียง ช กับ ล ต่อเนื่องกันเหมือนพยัญชนะควบครับ เขียนว่า ปแชมึชล์ ก็ได้ --Potapt (คุย) 18:13, 5 สิงหาคม 2561 (ICT)

ดนีโปรดเซียร์จินสค์

สวัสดีครับ ไม่ทราบว่า คำว่า Кам'янське ในภาษายูเครนทับศัพท์อย่างไรครับ คือจะเปลี่ยนชือบทความดนีโปรดเซียร์จินสค์ (คือในบทความไม่มีการอัปเดตและยูเครนเปลื่ยนชื่อไปนานแล้ว) ขอบคุณครับ --Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 01:05, 10 สิงหาคม 2561 (ICT)

ช่วยสะกดคำให้เป็นภาษาไทยอีกทีหน่อยครับ

สวัสดีครับ ช่วยแปลคำนี้หน่อยครับ ประมาณสัก 15 คำ 1) Brécourt Manor 2)Graignes 3)Bréville 4)Villers-Bocage 5) Le Mesnil-Patry 6) Verrières 7) Douvres-la-Délivrande 8)Martlet 9)Courseulles 10) Saint-Aubin-sur-Mer 11) Bernières 12)Arromanches-les-Bains 13) Le Hamel 14) La Rivière 15)Ouistreham

ช่วยหน่อยน่ะครับ--Matable (คุย) 10:22, 17 สิงหาคม 2561 (ICT)

  • Brécourt Manor = แมเนอร์เบรกูร์
  • Graignes = แกรญ
  • Bréville = เบรวีล
  • Villers-Bocage = วีแลร์-บอกาฌ
  • Le Mesnil-Patry = เลอแมนีล-ปาทรี
  • Verrières = แวรีแยร์, แวเรียร์
  • Douvres-la-Délivrande = ดูฟวร์-ลา-เดลีวร็องด์
  • Martlet <-- คำนี้มาจากตรงไหนครับ
  • Courseulles = กูร์เซิล, Courseulles-sur-Mer = กูร์เซิล-ซูร์-แมร์
  • Saint-Aubin-sur-Mer = แซ็งโตแบ็ง-ซูร์-แมร์
  • Bernières = แบร์นีแยร์, แบร์เนียร์
  • Arromanches-les-Bains = อารอม็องช์-เล-แบ็ง
  • Le Hamel = เลออาแมล
  • La Rivière = ลารีวีแยร์, ลารีเวียร์
  • Ouistreham = วิสเทรอาม

--Potapt (คุย) 18:33, 17 สิงหาคม 2561 (ICT)

ขอบคุณครับ ส่วนคำว่า Martlet ผมเขียนผิดครับ อันที่จริงแล้วเป็นคำว่า Merderet เป็นชื่อแม่น้ำในฝรั่งเศสครับ--Matable (คุย) 08:34, 18 สิงหาคม 2561 (ICT)

Merderet ทับศัพท์ว่า แมร์เดอแร ครับ --Potapt (คุย) 01:46, 19 สิงหาคม 2561 (ICT)

เกี่ยวกับภาษาฟินแลนด์

  1. เนื่องจากภาษาฟินแลนด์เป็นภาษาเดียวในยุโรปที่ผมรู้จักที่มีการแบ่งเสียงสั้นเสียงยาว (ด้วยการเพิ่มอีกตัวแสดงความยาว) ผมควรทำยังไงดีกับคำต่อท้าย ปล่อยสั้นหรือยาวครับ (wikt:sanakirja [ซะนะกริยะ] กับ wikt:sanakirjaa [ซะนะกิรยา] (รูป partitive singular) เสียงจะต่างกัน)
  2. ถ้ามีตัวสะกดทำให้เป็นคำตายให้เป็นข้อยกเว้นใช่มั้ยครับ
  3. y คือสระ อือหรือสระอู (ซึ่งแทนด้วย u) ครับ
  4. v ควรแทนด้วยอะไรให้ต่างจาก w ดี

โดยทั่วไปผมพอที่จะออกเสียงภาษานี้ได้อยู่ (เพราะไปเขียนมอดูลคำอ่านภาษาไทยสำหรับภาษาฟินแลนด์ในวิกิพจนานุกรมแล้วแก้ไปแก้มาจนจำได้แทบหมดแล้ว) ซึ่งจะเอาข้อมูอมูลมาต่อยอดในการทับศัพท์ภาษาฟินแลนด์ต่อไปครับ --ZilentFyld (คุย) 00:38, 25 สิงหาคม 2561 (ICT)

1. ในการเขียนทับศัพท์ผมไม่ได้คำนึงถึงสระเสียงสั้นเท่าไหร่นัก เพราะ

  • สระเสียงสั้นในภาษาฟินแลนด์ไม่ตรงกับสระเสียงสั้นในภาษาไทย (ในภาษาไทยจะมีเสียง /อ/ ปิดท้าย)
  • อักขรวิธีภาษาไทยไม่เอื้อต่อการแสดงสระเสียงสั้นในภาษาฟินแลนด์เสมอไป เช่น ötökkä พยางค์ที่สอง ถ้าทับศัพท์ตามเสียงสั้นควรใส่ไม้ไต่คู้บนสระอิเป็น เติ็ก เพื่อแยกให้ต่างจาก เติก ที่เป็นเสียงยาว แต่ทำไม่ได้ตามอักขรวิธีภาษาไทยปัจจุบัน
  • ถ้าใช้วิสรรชนีย์ (ะ) เยอะ ๆ จะทำให้อ่านยากและเกรงว่าจะดูตลกสำหรับผู้อ่านที่ไม่คุ้นเคย เช่น ötökkä, Etelä, pöly, Kymenlaakso ถ้าถอดเสียงเป็น "เออะเติกแกะ", "เอะเตะและ", "เปอะลึ", "กึเม็นลากโซะ" น่าจะอ่านยากกว่า "เออเติกแก", "เอเตแล", "เปอลือ", "กือเม็นลากโซ"

2. โดยส่วนตัว ผมใช้ตามนี้

ɑ a ไม่มีตัวสะกด: –า, มีตัวสะกด: –ั (ยกเว้นเมื่อตามด้วย r, h ใช้ –า) เช่น sanakirja = ซกีร์ย
ɑː aa –า เช่น sanakirjaa = ซานากีร์ย
æ ä ไม่มีตัวสะกด: แ–, มีตัวสะกด: แ–็ (ยกเว้นเมื่อตามด้วย r, h ใช้ แ–)
æː ää แ–
ข้อผิดพลาด: {{IPA}}: ไม่รู้จักแท็กภาษา: e̞ e ไม่มีตัวสะกด: เ–, มีตัวสะกด: เ–็ (ยกเว้นเมื่อตามด้วย r, h ใช้ เ–)
ข้อผิดพลาด: {{IPA}}: ไม่รู้จักแท็กภาษา: e̞ ee เ–
i i –ิ (ยกเว้นเมื่อตามด้วย r, h หรืออยู่ท้ายคำ ใช้ –ี)
ii –ี
ข้อผิดพลาด: {{IPA}}: ไม่รู้จักแท็กภาษา: o̞ o โ–
ข้อผิดพลาด: {{IPA}}: ไม่รู้จักแท็กภาษา: o̞ oo โ–
ข้อผิดพลาด: {{IPA}}: ไม่รู้จักแท็กภาษา: ø̞ ö ไม่มีตัวสะกด: เ–อ, มีตัวสะกด: เ–ิ (ยกเว้นเมื่อตามด้วย r, h ใช้ เ–อ)
ข้อผิดพลาด: {{IPA}}: ไม่รู้จักแท็กภาษา: ø̞ öö ไม่มีตัวสะกด: เ–อ, มีตัวสะกด: เ–ิ (ยกเว้นเมื่อตามด้วย r, h ใช้ เ–อ)
u u ไม่มีตัวสะกด: –ู, มีตัวสะกด: –ุ (ยกเว้นเมื่อตามด้วย r, h ใช้ –ู)
uu –ู
y y ไม่มีตัวสะกด: –ือ, มีตัวสะกด: –ึ (ยกเว้นเมื่อตามด้วย r, h ใช้ –ือ)
yy ไม่มีตัวสะกด: –ือ, มีตัวสะกด: –ื (ยกเว้นเมื่อตามด้วย r, h ใช้ –ือ)

3. y ใกล้เคียงกับ อือ มากกว่า อู ในภาษาไทยครับ

4. ใช้ ว ทั้งคู่ก็ไม่น่ามีปัญหาอะไรครับ ที่จริง v ในภาษาฟินแลนด์ก็ไม่ได้ออกเสียง ฟฺว [v] เหมือนในภาษาอังกฤษเสียทีเดียว

ผมเข้าใจว่า วิกิพจนานุกรมคงต้องการแสดงคำอ่านที่ชัดเจนเพราะมีผลต่อความหมาย ดังนั้นอาจจะใช้ระบบอื่นแยกออกไปตามความเหมาะสมครับ --Potapt (คุย) 03:45, 25 สิงหาคม 2561 (ICT)

คือสั้นของมัน คือสั้นจริง ๆ แบบภาษาไทยเลยครับ ไม่ว่าจะใน google translate หรือแบบเพลง (ในบางตัวจะยาวหน่อยเพราะเสียงยาว นี่รวมถึงภาษาไทยก็เป็นตามด้วยเหมือนกัน) หรือจะในข่าว (จะสั้นแบบหยุดตรง ๆ) สิ่งที่มันจะดูว่ายาเพราะเสียงเค้าไม่ได้พวก เอก โท เหมือนเราครับ จาก helsinki ยังเป็น -กิ แล้วทำไมถึงยกเว้นอันอื่นครับ (แล้วถ้าตามนี้ หน้าฟินแลนด์ จึงเป็น ซูโอมี :thinking:) --ZilentFyld (คุย) 16:11, 25 สิงหาคม 2561 (ICT)

ครับ ผมเคยลองฟังการออกเสียงหลายครั้งแล้วและก็ได้ยินว่ามันสั้นจริง แต่ที่ทำให้ฟังดูยาวส่วนหนึ่งเป็นเพราะทุกพยางค์ในคำนั้นออกเสียงต่อเนื่องกันไปแบบไม่สะดุด โดยไม่มีเสียง /อ/ คั่นกลางหรือปิดท้ายเหมือนสระเสียงสั้นในภาษาไทย ในความเห็นผมรูปสระเสียงสั้นในภาษาไทยจึงถอดเสียงได้ไม่ตรงเหมือนกัน เลยอาศัยหลักการว่าอย่างน้อยเขียนให้อ่านสะดวกก็ยังดี กรณี "เฮลซิงกิ" (ไม่ใช่ "เฮ็ลซิงกิ") เป็นชื่อที่อยู่มีในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ชื่อไหนที่มีอยู่ในประกาศราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้ตามนั้นไปครับ ส่วนชื่อเมืองอื่น ๆ คุณอาจเห็นว่ามีการสะกดปนกันไปทั้งสองแบบ เป็นเพราะยังไม่เคยมีการเสนอวิธีการทับศัพท์ภาษาฟินแลนด์ให้ใช้เป็นกิจจะลักษณะอย่างภาษาโปแลนด์ครับ ถ้าคุณสนใจการทับศัพท์ภาษานี้จริง ๆ ลองร่างเกณฑ์มาให้ครอบคลุมแล้วไปเสนอดูสิครับ ถ้าผู้ใช้คนอื่นเห็นด้วยตามที่คุณเสนอผมก็ไม่ขัดข้องอะไร --Potapt (คุย) 20:02, 25 สิงหาคม 2561 (ICT)

โฆษณา

ช่วยแก้ไขบทความ ถั่งเช่า กับ รังนก (อาหาร) ให้เป็นตามสากลให้หน่อยค่ะ พอดีไม่สันทัดภาษาอังกฤษซักเท่าไร เพราะสองบทความนี้มีคนแปะข้อมูลโฆษณาสรรพคุณนู้นนี่นั้นเยอะไปหมด ยังกับเสาไฟ ขอบพระคุณค่ะ --171.5.245.136 19:18, 27 สิงหาคม 2561 (ICT)

ผมเอาลิงก์แฝงกับเนื้อหาบางส่วนออกก่อนแล้วกันครับ ส่วนเนื้อหาอื่นที่มีอ้างอิงกำกับอยู่ ถ้าจะให้แก้ไขทั้งหมดคงต้องรื้อใหม่ ตอนนี้ผมยังไม่มีความสนใจพอที่จะทำครับ --Potapt (คุย) 01:34, 28 สิงหาคม 2561 (ICT)

ทับศัพท์ ภาษาโปรตุเกส

สวัสดีครับ รบกวนคุณ Potapt ช่วยทับศัพท์ชื่อสโมสรฟุตบอลดังนี้ให้หน่อยครับ เป็นชื่อสโมสรฟุตบอลในบราซิลครับ

  • 1 Bonsucesso Futebol Clube =
  • 2 Madureira Esporte Clube =
  • 3 Rio Branco Atlético Clube =
  • 4 Botafogo de Futebol e Regatas =
  • 5 Madureira Esporte Clube =
  • 6 Centro Sportivo Alagoano =
  • 7 Bangu Atlético Clube =
  • 8 Paranaense =
  • 9 Fluminense =
  • 10 América =

--Poonpun2016 (คุย) 11:48, 29 สิงหาคม 2561 (ICT)Poonpun2016

    • 1 Bonsucesso Futebol Clube = บงซูแซซูฟูเตบอลกลูบี, สโมสรฟุตบอลบงซูแซซู
    • 2 Madureira Esporte Clube = มาดูเรย์ราอิสโปร์ชีกลูบี
    • 3 Rio Branco Atlético Clube = รีอูบรังกูอาตแลชีกูกลูบี
    • 4 Botafogo de Futebol e Regatas = บอตาโฟกูจีฟูเตบอลอีเรกาตัส
    • 5 Madureira Esporte Clube = มาดูเรย์ราอิสโปร์ชีกลูบี
    • 6 Centro Sportivo Alagoano = เซ็งตรูอิสโปร์ชีวูอาลาโกอานู
    • 7 Bangu Atlético Clube = บังกูอาตแลชีกูกลูบี
    • 8 Paranaense = ปารานาเอ็งซี
    • 9 Fluminense = ฟลูมีเน็งซี
    • 10 América = อาแมรีกา

--Potapt (คุย) 04:14, 30 สิงหาคม 2561 (ICT)

บทความ โยฮันเนิส บรามส์

สวัสดีครับคุณ Potapt พอดีเห็นคุณแก้ชื่อบุคคล เช่น Mozart, Beethoven, Liszt ในบทความ โยฮันเนิส บรามส์ เป็นอีกแบบซึ่งไม่ตรงกับหน้าที่มีในปัจจุบัน จึงสงสัยว่าคุณ Potapt มีแผนจะเปลี่ยนชื่อบทความของบุคคลเหล่านี้ให้ตรงกับชื่อในบทความบรามส์ไหมครับ เพราะผมว่าจะแก้ชื่อเหล่านี้กลับเพื่อให้ตรงกับหน้าที่มีอยู่

ขอบคุณครับ --Anonimeco (คุย) 22:42, 6 กันยายน 2561 (ICT)

เดี๋ยวจะแก้ตามไปครับ --Potapt (คุย) 22:45, 6 กันยายน 2561 (ICT)

ช่วยสะกดทับศัพท์หน่อยครับ

สวัสดีครับ ช่วยสะกดทับศัพท์หน่อยครับ ภาษาเช็กอย่าง Lidice, Ležáky และภาษาเยอรมัน Clemens August Graf von Galen --Matable (คุย) 05:39, 8 กันยายน 2561 (ICT)

  • Lidice = ลิดยิตแซ
  • Ležáky = แลฌากี
  • Clemens August Graf von Galen = เคลเมินส์ เอากุสท์ กราฟ ฟ็อน กาเลิน

--Potapt (คุย) 06:09, 8 กันยายน 2561 (ICT)

ร่วมลงนามเพื่อสนับสนุนการจัดตั้ง Wikimedia Thailand

สวัสดีครับ ช่วยร่วมลงนามเพื่อสนับสนุนการจัดตั้ง Wikimedia Thailand เพื่ออนาคตและสันติภาพของวิกิมีเดียด้วยครับ ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ --Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 19:51, 26 กันยายน 2561 (ICT)

ขอบคุณ-บทความชื่อพายุ

ขอบคุณคุณ Potapt มาก ๆ เลยนะครับ ที่ช่วยพัฒนาบทความชื่อพายุให้ดียิ่งขึ้นรวมถึงเพิ่มเติมข้อมูลเชิงลึกต่าง ๆ ของแต่ละชื่อ เช่น พายุกองเร็ย :) --Slentee (คุย) 15:13, 30 กันยายน 2561 (ICT)

ยินดีครับ --Potapt (คุย) 19:31, 30 กันยายน 2561 (ICT)

กล่องข้อมูล

มีผู้สร้างกล่องข้อมูลซ้ำซ้อน แม่แบบ:กล่องข้อมูล ตัวละครในคอมิกส์ ซ้ำซ้อนกับ แม่แบบ:Infobox comics character --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 171.5.244.167 (พูดคุย | ตรวจ) 06:08, 15 ตุลาคม 2561 (ICT)

ตุลาคม 2561

  คุณอาจไม่ได้ตั้งใจ แต่การแก้ไขล่าสุดของคุณในหน้า หมวดหมู่:ชนิดของคำ ได้ลบเนื้อหาออกไปเกือบหมด หรือได้ทำหน้าดังกล่าวว่าง ซึ่งกรณีแบบนี้ทำให้ผู้ใช้อื่นไม่แน่ใจถึงเจตนาของคุณ และเนื่องจากการก่อกวนที่มากขึ้น ทำให้ผู้ใช้อื่นอาจเข้าใจผิดว่าเป็นการก่อกวนได้

  • ในกรณีที่คุณได้ตั้งชื่อผิด หรือต้องการเปลี่ยนชื่อบทความนั้น ควรใช้วิธีเปลี่ยนชื่อโดยคลิกที่ป้าย เปลี่ยนชื่อ แทนการสร้างบทความใหม่ ซึ่งวิธีนี้จะย้ายประวัติการแก้ไขของบทความไปยังชื่อใหม่
  • ในกรณีที่หน้าดังกล่าวได้ซ้ำซ้อนกับอีกบทความที่มีเนื้อหาสมบูรณ์กว่า คุณอาจเลือกที่จะทำเป็นหน้าเปลี่ยนทางแทน
  • ในกรณีที่คุณต้องการแจ้งลบนั้น ให้คงเนื้อหาเดิมไว้ และเพิ่มโค้ด {{ลบ|สาเหตุที่แจ้งลบ}} ที่ส่วนบนสุดของบทความ

หากมีเจตนาอื่น คุณอาจเลือกใส่แม่แบบแสดงข้อความที่เหมาะสม หรือใช้หน้าพูดคุยในการอภิปราย ในอนาคตคุณควรระบุข้อความสั้นๆแจ้งให้ผู้ใช้อื่นรับทราบสิ่งที่คุณทำก่อนบันทึกการแก้ไขด้วยการใส่คำอธิบายอย่างย่อ ข้อความนี้เป็นข้อความแจ้งอัตโนมัติโดยบอตคุง โปรแกรมอัตโนมัติ หากคุณมีข้อสงสัย หรืออย่างไร กรุณาสอบถามได้ที่เลขาชาววิกิพีเดีย ขอขอบคุณสำหรับความร่วมมือ --JBot | แจ้งผู้ดูแล - 03:52, 18 ตุลาคม 2561 (ICT)

บทความ

ช่วยเก็บกวาดบทความ วัดคุ้งตะเภา กับ หมู่บ้านคุ้งตะเภา สองบทความนี้มีบทความที่ไม่จำเป็นยิบย่อยอะไรต่างๆ นาๆ เยอะมาก บางครั้งอ้างอิงที่ให้มาก็ไม่ตรงกับบทความ ช่วยดูให้หน่อยค่ะ --2403:6200:8863:5446:4163:360E:1AE5:5E54 02:27, 22 ตุลาคม 2561 (ICT)

คุณคิดว่าตรงไหนไม่จำเป็นบ้างล่ะครับ อย่างในหน้าวัดคุ้งตะเภา ผมว่าจะเอาหัวข้อพระเครื่องออก ส่วนหมู่บ้านคุ้งตะเภาเป็นบทความคุณภาพ สงสัยคงต้องให้แอดมินหรือคนที่ประเมินบทความตรวจนะครับ ผมไปเอาออกเองเกรงว่าจะเป็นเรื่อง --Potapt (คุย) 05:28, 22 ตุลาคม 2561 (ICT)

ทับศัพท์

สวัสดีครับคุณ Potapt รบกวนช่วยทับศัพท์ชื่อ Jamal Ahmad Khashoggi หน่อยครับ ขอบคุณครับ --Wutzwz (คุย) 08:01, 22 ตุลาคม 2561 (ICT)

ญะมาล อะห์มัด คอชุกญี --Potapt (คุย) 08:12, 22 ตุลาคม 2561 (ICT)

การทับศัพท์ญี่ปุ่นกับการ์ตูนญี่ปุ่น

สวัสดีครับ ขอเชิญร่วมลงคะแนนในการอภิปรายด้วยครับ

ป.ล. ขอบคุณสำหรับการอธิบายเรื่องการออกเสียงของ "อะนิเมะ" ด้วยครับ --Geonuch (คุย) 20:42, 23 ตุลาคม 2561 (ICT)

ที่จริงผมว่าน่าจะรอความเห็นอีกสักพักนะครับ เพราะผมก็เพิ่งเข้ามาดูเดี๋ยวนี้ และก็รู้สึกว่ายังไม่เคลียร์กับเหตุผลของผู้ใช้บางคน --Potapt (คุย) 23:05, 23 ตุลาคม 2561 (ICT)
การอภิปรายนี้ในช่วง 2 อาทิตย์แรกแทบจะไม่มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นเลยครับ เพื่อไม่ให้หัวข้อตกไปเพราะแนวทางการเขียนปัจจุบันค่อนข้างล้าสมัยจึงปรึกษากับผู้ตั้งหัวข้อและ "ขอเชิญ" ผู้ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อดังกล่าวมาร่วมอภิปรายแต่ก็ยังน้อยอยู่ ยังไงก็ตามสามารถแสดงความคิดเห็นได้ตลอดและหวังว่าจะมีผู้ใช้ท่านอื่นมาร่วมการอภิปรายครับ --Geonuch (คุย) 13:35, 24 ตุลาคม 2561 (ICT)

เซลเซียส

ขอถามหน่อยครับ เซลเซียสสามารถย่อได้เป็น ซ. ใช่ไหมครับ --Horus (พูดคุย) 16:29, 26 ตุลาคม 2561 (ICT)

ใช้ได้ครับ ตามนิยามของเซลเซียสในพจนานุกรม http://www.royin.go.th/dictionary/index.php --Potapt (คุย) 02:35, 27 ตุลาคม 2561 (ICT)

ช่วยแก้ไขบทความของผมให้หน่อย

สวัสดีครับ คุณ Potapt ผมจะขอรบกวนคุณช่วยแก้ไขบทความของผมจะได้มั้ยครับ จะเสริมข้อมูลอะไรก็ได้แล้วแต่เลยครับ เพื่อที่ผู้มาศึกษาจะได้เข้าใจในบทความดีขึ้น

บทความที่ผมเพิ่งลงก็จะมี 1.ยุทธการที่วากรัม 2.เอเทียน ทาร์ดิฟ เดอ บอร์เดอโซล 3.ฌ็อง อาริกฮี คาซาโนวา

คุณพอช่วยแก้ไขบทความของผมให้ดีขึ้นได้มั้ยครับ จะเป็นบุญคุณอย่างสูงครับ แซนเซลเลอร์ (คุย) 23:11, 26 ตุลาคม 2561 (ICT)

ผมช่วยดูให้ได้ครับถ้าเนื้อหาไม่ยาวหรือซับซ้อนเกินไป แต่ช่วงนี้ผมไม่ค่อยว่าง เดี๋ยวจะทยอยแก้นะครับ --Potapt (คุย) 02:37, 27 ตุลาคม 2561 (ICT)

ทับศัพท์หน่อยครับ

  • Talgat Amangeldyuly Musabayev (ภาษาคาซักสถาน:Талғат Аманкелдіұлы Мұсабаев)
  • Aleksey Nikolayevich Ovchinin (ภาษารัสเซีย:Алексей Николаевич Овчинин)
  • Yuri Ivanovich Malenchenko (ภาษารัสเซีย:Юрий Иванович Маленченко)
  • Oleg Dmitriyevich Kononenko (ภาษารัสเซีย:Олег Дмитриевич Кононенко)
  • Yuri Mikhailovich Baturin (ภาษารัสเซีย:Юрий Михайлович Батурин)

รบกวนด้วยครับ ขอบคุณล่วงหน้านะครับ --ร้อยตรี โชคดี (คุย) 14:51, 12 พฤศจิกายน 2561 (ICT)

  • ตัลฆัต อามังเกียลดืออูเลอ มูซาบาเยฟ
  • อะเลคเซย์ นีโคลาเยวิช ออฟชีนิน
  • ยูรี อีวาโนวิช มาเลนเชนโค
  • โอเลก ดมีตรีเยวิช โคโนเนนโค
  • ยูรี มีไฮโลวิช บาตูริน

--Potapt (คุย) 05:24, 13 พฤศจิกายน 2561 (ICT)

ขออภัยไปยังผู้ใช้

@Potapt: สิ่งที่ผมทำลงไปก็เพราะไม่ได้ตั้งใจที่จะก่อกวน แค่ผมจะมาย้อนการแก้ไข แต่ย้อนไม่ได้ ก็เพราะติดปัญหาอยู่ที่ตัวกรอง ให้อภัยด้วยนะครับ Soponwit Sangsai (คุย) 19:29, 19 พฤศจิกายน 2561 (ICT)

หากคุณ Potapt สงสัยว่าเรื่องอะไรดูที่ การทำหน้าผู้ใช้ว่าง ผมไปแจ้งผู้ดูแลระบบ และผมไปถามผู้แก้ไข นะครับ --Geonuch (คุย) 19:49, 19 พฤศจิกายน 2561 (ICT)

@Geonuch: ขอบคุณครับ
@Soponwit Sangsai: ถ้าไม่ได้เจตนาก็ไม่เป็นไรครับ
--Potapt (คุย) 01:50, 20 พฤศจิกายน 2561 (ICT)

ดาวเชิดชูเกียรติแห่งประเทศเม็กซิโก

  ดาวเชิดชูเกียรติแห่งประเทศเม็กซิโก
ขอมอบดาวเชิดชูเกียรติแห่งประเทศเม็กซิโกให้แก่คุณ Potapt สำหรับการมีส่วนร่วมในบทความที่เกี่ยวกับประเทศเม็กซิโก อย่างมีนัยยะสำคัญครับ --B20180 (คุย) 07:42, 20 พฤศจิกายน 2561 (ICT)

--ขอบคุณครับ --Potapt (คุย) 07:46, 20 พฤศจิกายน 2561 (ICT)

Eswatini ครั้งที่ 2

หลังจากเราได้พูดคุยกันในเรื่องการทับศัพท์ชื่อประเทศนี้เมื่อ 20 เมษายน 2561 ที่ผ่านมา 3 วันหลังจากนั้นกระผมก็ได้อีเมลถามทางราชบัณฑิตยสภา และได้ตอบอีเมลผมเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2561 โดยได้ให้คำตอบว่า "eSwatini = เอสวาตินี" กระผมก็ได้คิดว่าควรจะคุยเรื่องนี้กับท่านหรือไม่ แต่ด้วยภาระหน้าที่ และปัญหาด้านความจำจึงต้องทำให้เรื่องนี้ได้มาถึงท่านเมื่อวันนี้ ซึ่งอยากให้ท่านช่วยพิจารณาว่า ควรใช้แบบใดระหว่าง แบบที่ท่านได้ทับศัพท์ไว้ หรือตามที่ราชบัณฑิตยสภาได้ให้คำตอบผมไป --Sir P.S. (Thainexon) (คุย) 19:36, 14 ธันวาคม 2561 (ICT)

@Thainexon: ผมคิดว่าควรใช้ "เอสวาตีนี" ตามการออกเสียง [ɛswa̯ˈtiːni] ไปก่อน ถ้าราชบัณฑิตยสภาจะใช้ตัวสะกดอย่างอื่น ไว้รอให้ประกาศในรายชื่อประเทศฯ แล้วค่อยเปลี่ยนตามก็ได้ครับ --Potapt (คุย) 08:19, 15 ธันวาคม 2561 (ICT)

ISO3166 code for Pattaya

Hi, can you maybe help me out at d:Talk:Q170919. Pattaya has the ISO3166-2 code TH-S, thus a user think this implies it is a first-level subdivision of Thailand and I cannot convince him yet that it is within Chonburi province, only with more autonomy than normal Thesaban. Maybe you have a Thai-language source which explains where this code originates, or why ISO included it though not a first-level subdivision, so I can convince that user that its not just original research by myself, but a fact. แอนดี้ (คุย) 05:04, 27 ธันวาคม 2561 (ICT)

@Ahoerstemeier: I have tried searching for such kind of information but haven't find anything relevant. I think I will leave a comment there later, but do all the entities listed in the ISO3166 code have to be at the first level of subdivision? --Potapt (คุย) 06:16, 27 ธันวาคม 2561 (ICT)

เขตการปกครองของประเทศพม่า

สวัสดีครับคุณ Potapt พอดีผมไปเจอเอกสารนี้ครับ http://www.royin.go.th/wp-content/uploads/2018/03/%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%AF-22-%E0%B8%81.%E0%B8%9E.-60.pdf ในหน้า 31 มีชื่อเขตการปกครองของพม่าอยู่ครับ ผมอยากทราบว่าเราสามารถยึดเอกสารนี้ในการตั้งชื่อบทความได้หรือไม่ครับ --BeckNoDa (คุย) 21:18, 27 ธันวาคม 2561 (ICT)

ในขั้นแรกผมใช้ตัวสะกดตามเอกสารฉบับนั้นเป็นตัวตั้งครับ แต่เนื่องจากมีหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาพม่าออกมาด้วยเลยดูไปพร้อม ๆ กัน ตัวสะกดที่อยู่ในลำดับแรก เช่น บะโก ซะไกง์ กะยีน ดะแว ยานโกน ลอยกอ ไม่ปรากฏในประกาศฉบับก่อน [6] เพราะเป็นตัวสะกดที่เพิ่มมาใหม่ตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ สำหรับชื่อรัฐ Chin และรัฐ Kachin ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากฉบับเก่า แต่เอกสารฉบับนี้ยังไม่ได้ลงเป็นประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีในราชกิจจานุเบกษา จึงน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอีก ในกรณีเขตการปกครองของพม่า ผมมองว่า ถ้าราชบัณฑิตฯ กำหนดให้ใช้ชื่อรัฐ Karen และรัฐ Mon (ซึ่งคนไทยรู้จักกันดีอยู่แล้วในชื่อ "กะเหรี่ยง" และ "มอญ") ตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ได้ ต่อไปก็น่าจะกำหนดให้ใช้ชื่อรัฐ Chin และรัฐ Kachin (ซึ่งคนไทยรู้จักน้อยกว่า) ตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์เช่นกัน และตัวสะกด "ชีน" และ "กะชีน" นี้ ผมไม่ได้ถอดเสียงจากตารางด้วยตัวเอง แต่มาจากรายชื่อคำทับศัพท์วิสามานยนามที่อยู่ในภาคผนวกท้ายหนังสือหลักเกณฑ์การทับศัพท์ครับ --Potapt (คุย) 21:46, 27 ธันวาคม 2561 (ICT)
อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผมมองว่าน่าจะมีการปรับปรุงการเขียนชื่อประเทศอีก คือ ตัวสะกดที่เพิ่มมาใหม่ซึ่งควรจะเป็นคำทับศัพท์ตามหลักเกณฑ์ ยังสะกดไม่ตรงตามหลักเกณฑ์ครับ เช่น เอยาวดี มานดะเลย์ มุญ มอละมโยง์ ที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์คือ เอยาวะดี มานดะเล โมน/มูน มอละมไยง์ --Potapt (คุย) 21:55, 27 ธันวาคม 2561 (ICT)

ทับศัพท์ชื่อนักฟุตบอล

สวัสดีครับ คุณ Potapt

รบกวนขอความช่วยเหลือเรื่องการทับศัพท์ชื่อนักฟุตบอลในบทความ ผู้เล่นในเอเชียนคัพ 2019 หน่อยครับผม ขอบคุณมากครับ --Wutzwz (คุย) 10:21, 31 ธันวาคม 2561 (ICT)

สุขสันต์วันปีใหม่

 
ไฟล์:MahaRuek.ogg
ไชโย ไชโย ไชโย 2019
สุขสันต์วันปีใหม่ พุทธศักราช 2562
ขอให้คุณ Potapt/กรุ 5 มีความสุข ร่ำรวยเงินทอง สุขภาพแข็งแรง มีแรงทำบทความในวิกิพีเดียภาษาไทยไปนานตลอดกาลนะครับ Happy New Year 2019 ครับ
ถ้าผมทำให้ผู้ใช้คนไหนไม่ชอบก็ของสุมาอาภัย (ไทย: ขอโทษ) มา ณ ที่นี้นะครับ


ด้วยความปรารถนาดีจาก
--ร้อยตรี โชคดี (คุย) 19:26, 1 มกราคม 2562 (ICT)

สวัสดีปีใหม่ครับ --Potapt (คุย) 20:26, 1 มกราคม 2562 (ICT)

@Potapt:::Created by Congress on 4 August 1790 at the request of Alexander Hamilton as the Revenue Marine, it is the oldest continuous seagoing service of the United States. As Secretary of the Treasury, Hamilton headed the Revenue Marine, whose original purpose was collecting customs duties in the nation's seaports. By the 1860s, the service was known as the U.S. Revenue Cutter Service and the term Revenue Marine gradually fell into disuse. ช่วยแปลประโยคนี้หน่อยครับ ขอบคุณครับ --ร้อยตรี โชคดี (คุย) 13:46, 2 มกราคม 2562 (ICT)

หน่วยงานได้รับการจัดตั้งเป็นครั้งแรกในชื่อ Revenue Marine เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1790 โดยรัฐสภา ตามคำร้องขอของอเล็กซานเดอร์ แฮมิลตัน นับเป็นหน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ในทะเลที่ต่อเนื่องและเก่าแก่ที่สุดของสหรัฐ แฮมิลตันในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้ควบคุม Revenue Marine ซึ่งมีวัตถุประสงค์ดั้งเดิมคือจัดเก็บอากรศุลกากรในท่าเรือต่าง ๆ ของประเทศ เมื่อถึงคริสต์ทศวรรษ 1860 หน่วยงานดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันในชื่อ U.S. Revenue Cutter Service ส่วนชื่อ Revenue Marine ก็ค่อย ๆ พบน้อยลงจนเลิกใช้ไป
ผมไม่รู้คำแปลที่เหมาะสมของชื่อหน่วยงาน เลยทิ้งไว้เป็นภาษาอังกฤษ ยังไม่ได้แปลนะครับ ถ้าคุณจะเอาไปใช้เป็นเนื้อหาบทความ ควรแปลด้วยครับ --Potapt (คุย) 22:29, 3 มกราคม 2562 (ICT)

Compendium

สวัสดีครับ รบกวนสอบถามเกี่ยวกับบทความ Compendium ว่ามีศัพท์บัญญัติในภาษาไทยหรือไม่ครับ --Geonuch (คุย) 10:09, 4 มกราคม 2562 (ICT)

ผมลองค้นจากโปรแกรมรวมศัพท์บัญญัติที่มีอยู่แล้ว ไม่พบคำนี้ครับ --Potapt (คุย) 23:49, 4 มกราคม 2562 (ICT)
ขอบคุณครับ เดี๋ยวผมจะลองหาจากแหล่งอื่นดูครับ --Geonuch (คุย) 08:16, 5 มกราคม 2562 (ICT)

เชิญลงคะแนน

ขอเชิญร่วมลงคะแนนเกี่ยวกับการระงับการอัพโหลดไฟล์โดยผู้ใช้ทั่วไปและเพิ่มสถานะ Uploader ครับ --Geonuch (คุย) 17:55, 4 มกราคม 2562 (ICT)

ทางหลวงหมายเลข 4

Hi Thanisorn Siwasarit (คุย) 16:40, 10 มกราคม 2562 (ICT)

สบายดีไหมครับคุณpopapt

Thanisorn Siwasarit (คุย) 10:44, 16 มกราคม 2562 (ICT)

ทำไมคุณเปลี่ยนเหมือนเดิม Thanisorn Siwasarit (คุย) 20:34, 9 มกราคม 2562 (ICT)

คุณอายุเท่าไร Thanisorn Siwasarit (คุย) 16:44, 10 มกราคม 2562 (ICT)

คุณอายุเท่าไร Thanisorn Siwasarit (คุย) 16:44, 10 มกราคม 2562 (ICT)

ที่ผมเขียนมีข้อผมเขียนคุณลบออกทำไมครับมันก็ถูกอยู่แล้วครับถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ต้องเปลี่ยนนะครับขอร้องยกเว้นถ้าผิดผมจะแก้เองนะครับ Thanisorn Siwasarit (คุย) 17:17, 10 มกราคม 2562 (ICT)

เบอร์4ที่ถนนเพชรเกษมมันต้องมีอยู่แล้วครับไม่ต้องลบนะครับ Thanisorn Siwasarit (คุย) 11:40, 12 มกราคม 2562 (ICT)

ผมจะใส่เพิ่มนะครับ Thanisorn Siwasarit (คุย) 11:41, 12 มกราคม 2562 (ICT)

ถนนกาญจนาภิเษกยังมีเลข4เลยครับทำไมถนนอื่นคุณถึงลบเลข4ออก Thanisorn Siwasarit (คุย) 13:02, 16 มกราคม 2562 (ICT)

ถนนเพชรเกษมคุณเขียนเลขบนทุกทางแยกด้วย Thanisorn Siwasarit (คุย) 13:21, 16 มกราคม 2562 (ICT)

ขอร้องอย่าลบออกได้ไหมครับ Thanisorn Siwasarit (คุย) 15:19, 16 มกราคม 2562 (ICT)

ทื่หมวดทางหลวงผมไม่โฟกัสแล้วคับ Thanisorn Siwasarit (คุย) 16:36, 18 มกราคม 2562 (ICT)

ถนนราชพฤกษ์ควรจะใส่เลข4ด้วยครับ Thanisorn Siwasarit (คุย) 16:38, 18 มกราคม 2562 (ICT)

เฉพาะทางแยกสำคัญอย่างเดียวเพราะทุกถนนต้องใส่หมายเลขด้วยครับ Thanisorn Siwasarit (คุย) 16:44, 18 มกราคม 2562 (ICT)

อย่าลบนะครับแต่รายชื่อทางแยกผมจะไม่ใส่เลข4 Thanisorn Siwasarit (คุย) 16:47, 18 มกราคม 2562 (ICT)

สบายดีไหมครับช่วงนี้ฝุ่นมากรักษาสุขภาพด้วยนะครับ Thanisorn Siwasarit (คุย) 09:24, 19 มกราคม 2562 (ICT)

การทับศัพท์

เห็นคุณแก้ไขการทับศัพท์ภาษาพม่า อยากให้แก้ไขการทับศัพท์ในการแบ่งเขตการปกครองของเนปยีดอค่ะ ฉันว่าไม่จำเป็นเลยค่ะที่บอกว่าพม่าออกเสียงว่าอย่างนู้นอยากนี้ เช่น ตำบลอุตตรสิริ พม่าออกเสียงว่า "โอ้วตยะตี่ยิ" คือมันไม่จำเป็นต้องบอกเลยคะ ภาษาแต่ละประเทศอ่านไม่เหมือนกันอยู่แล้ว แถมมีบอกมาจากบาลีอะไรเยอะแยะ น่าจะเขียนไปเลยว่า อำเภอโอะตะระตีริ ก็พอ แถมทับศัพท์ผิดอีกในบทความนั้น ฉันว่าแบบที่คุณแก้ไขในรัฐต่างๆ ของพม่า ที่เป็นตารางมีแค่ภาษาพม่า ภาษาโรมัน แค่นี้ก็พอ แบบนี้ฉันว่าดูเรียบร้อยและไม่เยิ้นเย้อดีค่ะ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ 2403:6200:8863:BE2B:84CC:F018:911A:7B4A (พูดคุยหน้าที่เขียน) 21:40, 25 มกราคม 2562 (ICT)

ครับ ผมจะทยอยแก้ไปเรื่อย ๆ เพียงแต่ต้องตรวจทานให้แน่ใจก่อนว่าถอดเสียงไม่ผิด --Potapt (คุย) 00:06, 26 มกราคม 2562 (ICT)

เรื่องทับศัพท์ กราบขอบพระคุณ มากครับ

ที่ทำเป็นเรียก "ป้า" รับรู้ว่า "เสียมารยาท" กับคนแปลกหน้าที่ไปเรียก ขอโทษจากใจจริงครับ

แต่ก็ไม่คิดว่าจะตอกย้อนกลับเรียกป้าคืนกลับ เหอ ๆ

คำที่ผมเข้าใจผิด แก้กลับตามเดิม ตามนั้นครับ

ขอบคุณความรู้ครับ

เรื่องทับศัพท์คำว่า croissant ครับ :)

การแก้ไขการบริการของเงินติดล้อ

หลายๆบริษัทใน Wiki มีการใส่รายละเอียดการให้บริการและผลิตภันฑ์ของตัวเอง และส่วนใหญ่ไม่ได้มีการอ้างอิงด้วย ขอเหตุผลที่ลบรายละเอียดเกี่ยวกับบริการและผลิตภันฑ์ของเงินติดล้อด้วย หรือไม่ก็ควรจะลบทุกรายละเอียดบริการและผลิตภันฑ์ ของทุกบริษัทเพื่อรักษามาตราฐานเดียวกัน ของ Wiki

ตัวอย่างบริษัทที่มีรายละเอียดบริการและผลิตภันฑ์ใน Wiki

  • ซัสโก้ หัวข้อ ผลิตภัณฑ์
  • จิฟฟี่ หัวข้อ รูปแบบของจิฟฟี่ ผลิตภัณฑ์จากจิฟฟี่
  • ควิก_(บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป) หัวข้อ ผลิตภัณฑ์
  • โคขุนโพนยางคำ หัวข้อ กระบวนการ ราคา
  • กันตนา หัวข้อ ผลงาน
  • จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ หัวข้อ ผลงานภาพยนตร์ ผลงานละครโทรทัศน์ ช่องโทรทัศน์ระบบภาคพื้นดิน ดาวเทียมเคเบิลทีวีและดิจิทัลทีวี
  • กระเบื้องหลังคาซีแพค หัวข้อ สินค้าที่ผลิต
  • กลุ่มทีซีซี หัวข้อ ธุรกิจของบริษัท

ได้โปรดลบหัวข้อทั้งหมดที่ได้กล่าวมาด้วยเพื่อรักษามาตราฐานเดียวกัน หรือ นำหัวข้อบริการและผลิตภันฑ์ของทางเงินติดล้อกลับคืนมา

--BluebarX (คุย) 09:55, 7 กุมภาพันธ์ 2562 (ICT)

รบกวนเรื่องการทับศัพท์ชื่อพายุครับ

สวัสดีครับคุณ Potapt รบกวนสอบถามการทับศัพท์ชื่อพายุครับ เนื่องจากเมื่อวานนี้คณะกรรมการไต้ฝุ่นเพิ่งปิดการประชุมไป ซึ่งเขาได้เลือกชื่อ "Yun-yeung" (鴛鴦) ขึ้นมาแทนที่ แต่เนื่องจากชื่อมาจากฮ่องกง เลยต้องทับศัพท์เป็นสำเนียงแบบกวางตุ้ง ยังไงรบกวนคุณ Potapt ช่วยหน่อยนะครับ ขอบคุณครับ --Slentee (คุย) 19:02, 2 มีนาคม 2562 (ICT)

@Slentee: สวัสดีครับ ผมไม่ค่อยสันทัดภาษาจีนเท่าไหร่ เลยถามคุณ Octahedron80 ให้แล้วครับ แต่คงต้องดูอีกทีว่าเอกสารของกรมอุตุจะสะกดแบบไหน --Potapt (คุย) 19:31, 2 มีนาคม 2562 (ICT)
ขอบคุณนะครับ 🙂 --Slentee (คุย) 19:45, 2 มีนาคม 2562 (ICT)

ดาวเกียรติยศ

  ดาวต่อต้านการก่อกวน
ขอมอบดาวต่อต้านการก่อกวน (ดวงที่ 2) ให้กับคุณ Potapt สำหรับการแก้ไขเนื้อหาจากการก่อกวนของผู้ใช้ครับ Geonuch (คุย) 06:14, 5 มีนาคม 2562 (ICT)
  ดาวศิลาโรเซตตา
ขอมอบดาวศิลาโรเซตตาให้กับคุณ Potapt สำหรับผู้เขียนมีผลงานโดดเด่นด้านการแปลครับ Geonuch (คุย) 06:14, 5 มีนาคม 2562 (ICT)

ขอบคุณครับ --Potapt (คุย) 08:21, 5 มีนาคม 2562 (ICT)

ทับศัพท์เยอรมัน

  • สวัสดีครับ ผมไม่แน่ใจ คำว่า "Bezirk" ในภาษาเยอรมันตาม IPA: [bəˈt͡sɪʁk] ทับศัพท์ได้เป็น "เบอเซือร์ค" ถูกต้องไหมครับ --Ponpan (คุย) 18:45, 8 มีนาคม 2562 (ICT)
  • ขอถามเพิ่มเติมครับ "Präsidium" [ˌpʁɛˈziːdi̯ʊm] เพรซีดิอุม และ "Präsident" [pʁɛziˈdɛnt] เพรซิเด็นท์ (มีไม้ไต่คู้) ถูกต้องไหมครับ --Ponpan (คุย) 18:49, 8 มีนาคม 2562 (ICT)
หลักเกณฑ์การทับศัพท์เยอรมันฉบับล่าสุดยังกล่าวไม่ครอบคลุมการถอดเสียงบางเสียงในบางบริบท ดังนั้น ที่จะอธิบายต่อไปนี้เป็นการตีความของผมเองนะครับ
  • เสียง [ɪ+ʁ] เมื่อไม่มีสระตาม หลักเกณฑ์ให้ถอดเสียงเป็น "เอียร์" ดังนั้น พยางค์ที่สองจึงทับศัพท์ได้ว่า "เซียร์ค" ส่วนพยางค์แรกในภาษาเยอรมันออกเสียง [bə] ซึ่งเป็นพยางค์เปิด ควรจะถอดเสียงเป็น "เบอ" แต่หลักเกณฑ์ข้อ 16. กำหนดให้ถอดเสียงกักเสียดแทรก [t͡s] เมื่ออยู่ระหว่างพยางค์ เป็นเสียงพยัญชนะ 2 เสียง (คือ "ทซ") โดยไม่มีข้อยกเว้น (มีบางตัวอย่างที่ใช้ "ซ" เพียงตัวเดียว เช่น [ɪnspiʀaˈt͡si̯oːn] = อินสปีราซีโอน แต่หลักเกณฑ์ไม่ได้ให้เหตุผลหรือคำอธิบายไว้ ผมจึงไม่นำมาพิจารณา) เมื่อใช้ "ทซ" ก็ต้องผลักให้ "ท" ไปเป็นพยัญชนะท้ายของพยางค์แรก จึงกลายเป็น "เบิท" ดังนั้น ผมคิดว่าควรถอดเสียง [bəˈt͡sɪʁk] เป็น "เบิทเซียร์ค" ครับ
  • หลักเกณฑ์ให้ถอดเสียงสระ [i] และ [iː] เป็น "อี" ทั้งคู่ ดังนั้นจึงเป็น "-ซีดีอุม" และ "-ซีเด็นท์" (ใส่ไม้ไต่คู้ถูกแล้วครับ) ปัญหาอยู่ที่การถอดเสียงสระ [ɛ] (ในพยางค์แรก) ซึ่งเป็นสระเสียงสั้น หลักเกณฑ์ข้อ 20. กำหนดให้ซ้อนพยัญชนะที่ตามหลังเสียงสระประเภทนี้โดยไม่ต้องคำนึงว่าในรูปเขียนมีพยัญชนะ 2 ตัวหรือไม่ แต่ตารางเทียบเสียงพยัญชนะ หน้า 14 ไม่ได้ระบุตัวอักษรไทยที่จะใช้ถอดเสียง [z] เมื่ออยู่ท้ายพยางค์ ตัวอักษรไทยที่เหมาะสมก็มี "ซ" และ "ส" ถ้าถามผม ผมจะใช้ "ซ" เพราะเท่าที่ตารางเทียบเสียงกล่าวถึงเสียง [z] ก็ให้ถอดเสียงโดยใช้ "ซ" ทั้งหมด ไม่มีการใช้ "ส" และอีกอย่าง หลักเกณฑ์นำ "ส" ไปใช้ถอดเสียง [s] ท้ายพยางค์แล้ว จึงควรใช้ตัวอักษรไทยตัวอื่นในการแสดงเสียงที่ต่างกัน (หลักเกณฑ์การทับศัพท์ฝรั่งเศสก็ใช้แนวทางนี้) ดังนั้น ผมว่าควรถอดเสียง [ˌpʁɛˈziːdi̯ʊm] และ [pʁɛziˈdɛnt] เป็น "เพร็ซซีดีอุม" และ "เพร็ซซีเด็นท์" ครับ --Potapt (คุย) 03:47, 9 มีนาคม 2562 (ICT)
ขอบคุณมากครับสำหรับคำอธิบาย ผมขออนุญาตินำคำทับศัพท์ไปใส่ในบทความ "เรกีรุงส์เบอเซือร์ค" นะครับ --Ponpan (คุย) 07:24, 11 มีนาคม 2562 (ICT)
@Ponpan: เดี๋ยวนะครับ ผมไม่เข้าใจว่าทำไมคุณถึงใช้ "เบอเซือร์ค" ครับ --Potapt (คุย) 07:44, 11 มีนาคม 2562 (ICT)
ผมผิดเอง ดันไปใช้คำทับศัพท์ที่ตัวเองเอามาถามซะงั้น :P --Ponpan (คุย) 07:48, 11 มีนาคม 2562 (ICT)
@Ponpan: อ้อ โอเคครับ --Potapt (คุย) 07:49, 11 มีนาคม 2562 (ICT)
ขอบคุณครับที่เตือน :) --Ponpan (คุย) 07:53, 11 มีนาคม 2562 (ICT)

ทาน/รับประทาน - น้ำมันกัญชง

สวัสดีครับ ขอบคุณครับที่ช่วยแก้บทความ "น้ำมันกัญชง" จากทาน เป็นรับประทาน ทำให้แปลกใจและทำให้ได้ความรู้เพิ่มอีกว่า แม้แต่พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ก็ยังไม่แปล "ทาน" ว่า "กิน" แต่ของ NECTEC ([ทาน https://dict.longdo.com/search/%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99]) นี้ชัดเจน eat = ทาน, ทาน = eat. ราชบัณฑิตยสถานน่าจะไม่ทันสมัยเพราะได้ยินบ่อย ๆ ว่า "ทานข้าวหรือยัง" เป็นต้น คุณ Potapt คิดว่าอย่างไรครับ --Tikmok (คุย)

  • จาก http://www.royin.go.th/?knowledges=กิน-๖-สิงหาคม-๒๕๕๓
    คำว่า กิน ในภาษาไทย หมายถึง อาการใส่อาหารเข้าในปาก เคี้ยว แล้วกลืน เพื่อให้อาหารนั้นเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกายให้มีชีวิตอยู่. แม้ว่า การกิน จะเป็นพฤติกรรมปรกติตามธรรมชาติที่มนุษย์ทุกคนต้องกระทำเพื่อการดำรงชีวิต แต่คนเราก็มักจะจัดให้การกินเป็นวัฒนธรรมประจำชาติ. คนไทยมีคำที่หมายถึง กิน หลายคำ เช่น กิน รับประทาน บริโภค ฉัน เสวย แต่ละคำ จะใช้ในบริบทที่ต่างกัน. กิน ใช้เป็นคำธรรมดา เช่น กินอาหาร กินยา กินน้ำ กินเหล้า. กินใช้เป็นกิริยาของสัตว์ด้วย เช่น ลิงกินกล้วย ช้างกินอ้อย วัวกินหญ้า. คำว่า รับประทาน เป็นคำสุภาพและคำที่ใช้เป็นทางการ. บริโภค ใช้เป็นศัพท์ทางวิชาการ เช่น การบริโภคอาหารเกินขนาดจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่ม. นอกจากนี้ยังมีคำไม่สุภาพ และคำสแลงอีกหลายคำซึ่งต้องเลือกใช้ให้ถูกตามกาลเทศะและบุคคล. - ที่มา : บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย” ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น. --Tikmok (คุย) 15:53, 21 มีนาคม 2562 (ICT)
ผมมองว่าคำว่า "ทาน" เหมือนกับคำว่า "มหาลัย" คือเป็นคำภาษาปากที่ย่อจากคำเดิม แต่ยังไม่ถือว่าเป็นภาษาเขียน ส่วนที่ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรม คงเป็นเพราะผู้จัดทำเลือกที่จะไม่เก็บไว้ (ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม) มากกว่าที่จะไม่รู้ว่ามีการใช้คำนี้อยู่ครับ --Potapt (คุย) 01:01, 22 มีนาคม 2562 (ICT)

ขอเชิญตอบแบบสอบถาม Wikimedia movement strategy

สวัสดีครับ เนื่องด้วย Strategy Working Groups จัดให้มีการขอความคิดเห็นจากชุมชนวิกิมีเดียทั่วโลกเพื่อใช้กำหนดทิศทางการดำเนินการต่อไปของชุมชนวิกิมีเดีย ผมได้รับหน้าที่เป็น liaison person เพื่อรวบรวมความเห็นจากชุมชนวิกิพีเดียภาษาไทยและวิกิมีเดียประเทศไทยต่อ Movement Strategy ดังนั้นผมขอรบกวนให้ท่านตอบแบบสอบถามในหน้านี้ครับ ผมมั่นใจว่าความคิดเห็นของท่านจะเป็นประโยชน์ต่อ Wikimedia movement เป็นอย่างยิ่ง ขอบคุณมากครับ --Athikhun.suw (คุย) 14:57, 11 เมษายน 2562 (ICT)

เปลี่ยนชื่อหมวดหมู่

สวัสดีครับ ผมเพิ่งทราบว่ามีบอตเปลี่ยนหมวดหมู่ของคุณ Jutiphan อยู่ ใช้ได้ตามหน้า ผู้ใช้:BotKung/เปลี่ยนชื่อหมวดหมู่ เลยครับ --Horus (พูดคุย) 19:02, 15 เมษายน 2562 (ICT)

ขอบคุณครับ สะดวกขึ้นมากเลย --Potapt (คุย) 02:56, 16 เมษายน 2562 (ICT)
กลับไปที่หน้าผู้ใช้ของ "Potapt/กรุ 5"