ขุนศึก (บันเทิงคดี)

นวนิยายไทย

ขุนศึก เป็นผลงานประพันธ์เรื่องสุดท้ายของ ไม้ เมืองเดิม ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2482 ในนิตยสารเพลินจิตรายสัปดาห์ โดยใช้เวลาเพียงสองปีเศษในการสร้างสรรค์งานเขียนชิ้นนี้ก่อนเสียชีวิตในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2484 โดยตอนสุดท้ายในการเขียนของ ไม้ เมืองเดิม ลงตีพิมพ์เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2485 ต่อมากิ่ง พึ่งบุญ ณ อยุธยา น้องชายของ ไม้ เมืองเดิม ได้เขียนเรื่องขุนศึกจนเสร็จสมบูรณ์ โดยใช้นามปากกา "สุมทุม บุญเกื้อ" ภายหลังได้มีการนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์อีกหลายต่อหลายครั้ง[1]

ขุนศึก  
ขุนศึก ของ ไม้ เมืองเดิม, ภาพประกอบโดย เหม เวชกร
ผู้ประพันธ์ไม้ เมืองเดิม, สุมทุม บุญเกื้อ
ประเทศไทย
ภาษาไทย
ประเภทอิงประวัติศาสตร์, สงคราม, ชีวิต, รัก
สำนักพิมพ์สำนักพิมพ์เพลินจิตต์ (ตีพิมพ์ครั้งแรก)
วันที่พิมพ์พ.ศ. 2482
ชนิดสื่อสิ่งพิมพ์

เนื้อเรื่อง แก้

ขุนศึกเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับหลังกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชพร้อมด้วยสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้ยกทัพไปตีเมืองแกลงและได้ทรงหลั่งอุทกธาราประกาศตัดไมตรีกับพม่า เสมาลูกชายช่างตีเหล็กได้เป็นทหารสมกับความมุ่งมั่น แต่เกิดไปมีเรื่องกับหัวหมู่ จึงต้องหนีเตลิดเข้าป่าและได้พบกับทหารหลวงอีกกลุ่มหนึ่ง เสมาจึงอาสาร่วมรบตีทัพพม่าจนแตกกระเจิง เมื่อบ้านเมืองสงบลง เสมาจึงได้รับยศเป็นขุนแสนศึกพ่ายและได้แต่งงานกับแม่หญิงสมดังปรารถนา

ละครเวที แก้

ขุนศึก ได้เคยถูกสร้างเป็นละครเวทีมาแล้วถึง 3 ครั้ง ดังนี้

ครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2489 ได้สร้างเป็นละครเวทีแสดง ณ โรงละครศรีอยุธยา

ครั้งที่ 2 ในราว พ.ศ. 2490 ทางคณะนิยมไทยจึงได้นำมาจัดการแสดงขึ้นที่โรงภาพยนตร์นาครเขษม

ครั้งที่ 3 คณะศิวารมย์ สร้างเป็นละครเวทีแสดงที่โรงภาพยนตร์เฉลิมไทย ในปี พ.ศ. 2494

ภาพยนตร์ แก้

ขุนศึก ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2495 เป็นภาพยนตร์ฟิล์ม 16 มม.สีธรรมชาติ พากย์สด สร้างโดย ทวีภาพยนตร์ นำแสดงโดย ชูชาติ คุ้มภัย และ ฟูจิตร์ นากบุญ

ฉบับ พ.ศ. 2519 สร้างโดยบริษัท ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น กำกับภาพยนตร์โดย สักกะ จารุจินดา เขียนบทโดย สุภาว์ เทวกุล ออกแบบสร้างฉากโดย สุพจน์ จารุจินดา ลำดับภาพโดย ณรงค์ จารุจินดา นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี, นัยนา ชีวานันท์, มานพ อัศวเทพ, ดวงใจ หทัยกาญจน์, สะอาด เปี่ยมพงษ์ศานต์, ธัญญรัตน์ โลหนันท์, จีระศักดิ ปิ่นสุวรรณ, สายัณห์ จันทรวิบูลย์, ดวงดาว จารุจินดา เข้าฉายวันที่ 11 กันยายน 2519 ได้รับรางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ตุ๊กตาทอง ปี 2519 ได้รางวัล 3 สาขา และการประกวดภาพยนตร์เอเชีย-แปซิฟิค ที่เมืองปูซาน ประเทศเกาหลี ปี 2519 ใน 2 สาขา [2]

ฉบับ พ.ศ. 2546 กำกับภาพยนตร์โดย ธนิตย์ จิตนุกูล นำแสดงโดย วรวิทย์ แก้วเพชร, สาวิณี ภู่การุณ, ปราบต์ปฎล สุวรรณบาง, จรัล งามดี, ธิดารัตน์ จันทร์ดารา, พิมทอง กลิ่มสมิทธิ์, ภุมรินทร์ จันทร์จิต, แผลงฤทธิ์ แสงชา เข้าฉายวันที่ 17 ตุลาคม 2546[3]

ละครโทรทัศน์ แก้

ขุนศึก ถูกสร้างเป็นละครโทรทัศน์จำนวน 5 ครั้ง ดังนี้

ครั้งแรก ฉายทางช่อง 4 บางขุนพรหม กำกับการแสดงโดย ทัต เอกทัต ในปี พ.ศ. 2502 จัดโดยคณะนาฏศิลป์สัมพันธ์ โดย สัมพันธ์ พันธ์มณี เขียนบทโดย สุมทุม บุญเกื้อ และ รพีพร แพร่ภาพครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคม 2502 - กุมภาพันธ์ 2504 ความยาวทั้งสิ้น 16 ตอน โดยจัดแสดงเดือนละครั้งๆละ 2 ชั่วโมง จำนวนบทมีความยาวประมาณ 25 หน้าต่อ 1 ตอน เป็นละครที่ทำลายสถิติของช่อง 4 บางขุนพรหมทุกเรื่องที่ผ่านมาตลอด 3 ปี[4]

ครั้งที่ 2 ฉายทางช่อง 5 ในปี พ.ศ. 2520 สร้างโดย รัชฟิล์ม

ครั้งที่ 3 ฉายทางช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2523 ด้วยรูปแบบภาพยนตร์ โดย ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น กำกับการแสดงโดย สักกะ จารุจินดา

ครั้งที่ 4 ฉายทางช่อง 9 พ.ศ. 2538 สร้างโดย อัครมีเดีย จัดโดย กนกวรรณ ด่านอุดม กำกับการแสดง สะอาด เปี่ยมพงษ์ศานต์

ครั้งที่ 5 ฉายทางช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2555 สร้างโดย ทีวีซีน กำกับการแสดงโดย อดุลย์ บุญบุตร ออกอากาศ 1 พฤษภาคม 2555 ถึง 25 มิถุนายน 2555 จำนวน 16 ตอน

รายชื่อนักแสดงและการสร้าง แก้

ปี พ.ศ. 2502 พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2523 พ.ศ. 2538 พ.ศ. 2546 พ.ศ. 2555
รูปแบบ ละครแสดงสด ช่อง 4 ภาพยนตร์ 35 มม. ละคร ช่อง 5 ภาพยนตร์ละคร ช่อง 3 ละคร ช่อง 9 ภาพยนตร์ 35 มม. ละคร ช่อง 3
ผู้สร้าง คณะนาฏศิลป์สัมพันธ์ ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น รัชฟิล์ม ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น อัครมีเดีย 2002 บิ๊ก เบสท์, พระนครฟิลม์ ทีวีซีน
ผู้กำกับ ทัต เอกทัต สักกะ จารุจินดา สมจินต์ ธรรมทัต สักกะ จารุจินดา สะอาด เปี่ยมพงษ์ศานต์ ธนิตย์ จิตนุกูล อดุลย์ บุญบุตร
หมื่นศึกอาสา/ขุนศึกอาสา/หลวงโจมจาตุรงค์/ขุนแสนศึกพ่าย/จมื่นแสนศึกสะท้าน/พระยารามจัตตุรงค์/เสมา กำธร สุวรรณปิยะศิริ สมบัติ เมทะนี พิศาล อัครเศรณี โกวิท วัฒนกุล ธนายง ว่องตระกูล วรวิทย์ แก้วเพชร อธิชาติ ชุมนานนท์
แม่หญิงเรไร อารีย์ นักดนตรี นัยนา ชีวานันท์ ผุสดี พลางกูล นิภาพร นงนุช วิมลเรขา ศิริชัยราวรรณ สาวิณี ภู่การุณ เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์
หมื่นชาญณรงค์/ขุนณรงค์วิชิต/หมู่ขัน สมจินต์ ธรรมทัต มานพ อัศวเทพ วุฒิ คงคาเขต สุเชาว์ พงษ์วิไล พลรัตน์ รอดรักษา ปราบต์ปฎล สุวรรณบาง วรฤทธิ์ เฟื่องอารมย์
ดวงแข นวละออ ทองเนื้อดี ดวงใจ หทัยกาญจน์ สุกัญญา นาคสนธิ หรรษา จริยาพร
พิมพ์ใจ พรหมมาลี
ปวีณา ชารีฟสกุล ธิดารัตน์ จันทร์ดารา พรชิตา ณ สงขลา
จำเรียง ธัญญรัตน์ โลหะนันท์ ดิถีทิพ เกสะวัฒนะ วาสนา พลเยี่ยม พิมทอง กลิ่มสมิทธิ์ ภัทรินทร์ เจียรสุข
ขุนรามเดชะ/หลวงรามเดชะ/พระรามเดชะ/พระยาศรีพิชัยสงคราม/ขุนราม ทัต เอกทัต สะอาด เปี่ยมพงษ์ศานต์ ตรัยเทพ เทวะผลิน สมบัติ เมทะนี สะอาด เปี่ยมพงษ์ศานต์ นิรุตติ์ ศิริจรรยา
หลวงวิสุทธิ์โยธามาศ/สมบุญ ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา สายัณห์ จันทรวิบูลย์ ชูศักดิ์ สุธีรธรรม วีระชัย หัตถโกวิท แผลงฤทธิ์ แสงชา เกียรติกมล ล่าทา
หลวงราชโยธาเทพ/หมู่สิน จำรูญ หนวดจิ๋ม จีระศักดิ์ ปิ่นสุวรรณ รอง เค้ามูลคดี ภุมรินทร์ จันทร์จิต โกสินทร์ ราชกรม
เอื้อยแตง ดวงดาว จารุจินดา สุธิตา เกตานนท์ มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล
พันอินทราช/หลวงพิมานมงคล/พันอิน พฤทธิ์ อุปถัมภานนท์ ทม วิศวชาติ สรพงศ์ ชาตรี
พันจบรณรงค์/หมื่นทรงเดชะ/ขุนวิเศษสรไกร/พุฒ สิวะ แตรสังข์ วรรธนะ กัมทรทิพย์
ศรีเมือง สุดหทัย ชมพนา อรุณณภา พาณิชจรูญ
บัวเผื่อน วีนัส มีวรรณ เพชรดา เทียมเพ็ชร
ลำภู มนัส บุณยเกียรติ กิ่งดาว ดารณี เพ็ญพักตร์ ศิริกุล
มั่น วุฒิ คงคาเขตร ชุมพร เทพพิทักษ์ สุเชาว์ พงษ์วิไล
บุญเรือน ปทุมวดี โสภาพรรณ ดวงใจ หทัยกาญจน์
แต้ม เสริมพันธ์ สุทธิเนตร ทองขาว ภัทรโชคชัย
อำพัน ฉันทนา กิติยาพันธ์ โฉมฉาย ฉัตรวิไล
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ธนากร โปษยานนท์
สมเด็จพระเอกาทศรถ รอน บรรจงสร้าง
พระราชมนู สมภพ เบญจาทิกุล ชัชวาล เพชรวิศิษฐ์
พระยาศรีไสยณรงค์ กรกฏ ธนภัทร
จมื่นศรีสรรักษ์ ฐากูร การทิพย์
พระครูขุน จำนงค์ บำเพ็ญทรัพย์ อิทธิฤทธิ์ สิงหรัตน์
พระเจ้านันทบุเรง จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์
พระมหาอุปราชา อดิศร อรรถกฤษณ์
พระเจ้าเชียงใหม่ สุรจิต บุญญานนท์
พระวิสุทธิกษัตรีย์ พิศมัย วิไลศักดิ์
พระมหาธรรมราชา สมภพ เบญจาทิกุล
พระยาพิชัยสงคราม พงศนารถ วินศิริ
สมเด็จพระนพรัตน์ ธีรยุทธ ปรัชญาบำรุง
พันจิตรเสน่หา ดนัย จารุจินดา
อาจารย์บ่าย วิศิษฐ์ ยุติยงค์ พงศภัค อุบล
ขุนจำนงรักษา อติเทพ ชดช้อย
พระเจ้าแปร โชคชัย บุญวรเมธี
สมิงโยคราช วัชรชัย สุนทรศิริ
แม่ทัพพม่า เอก ธณากร
สมิงมะตะเบิด ธนาวุฒิ เกสโร
นันทะกะยอสู วัชรชัย สุนทรศิริ
ไชกะยอสู เขมชาติ โรจนะหัสดิน
พิณ ไปรมา รัชตะ ภาวิณี วัฒน์รณชัย
จำปี (บุตรสาวคนเล็กของพ่อเสมาและแม่เรไร) ด.ญ.หยาดทิพย์ ราชปาล ด.ญ.นภัสธนันท์ นิมจิรวัฒน์
พ่อแสน (บุตรชายคนโตของพ่อเสมาและแม่เรไร) ด.ช.ยงศิลป์ วงศ์พนิตนนท์

รางวัลที่ได้รับ แก้

  • ภาพยนตร์ พ.ศ. 2519
  1. รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ตุ๊กตาทอง ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ปี 2519 [5]
  2. รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ตุ๊กตาทอง ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม (สักกะ จารุจินดา) ปี 2519
  3. รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ตุ๊กตาทอง ผู้สร้างฉากยอดเยี่ยม (สุพจน์ จารุจินดา) ปี 2519
  4. การประกวดภาพยนตร์เอเชีย-แปซิฟิค ที่เมืองปูซาน ประเทศเกาหลี สาขานักแสดงดีเด่น (นัยนา ชีวานันท์) ปี 2519
  5. การประกวดภาพยนตร์เอเชีย-แปซิฟิค สาขาเทคนิคการถ่ายภาพยอดเยี่ยม ปี 2519
  • ภาพยนตร์ทางโทรทัศน์ พ.ศ. 2523
  1. รางวัลเมขลา ดาราภาพยนตร์โทรทัศน์ดีเด่น (สุเชาว์ พงษ์วิไล) ปี 2523
  • ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2538
  1. รางวัลเมขลา ผู้แสดงประกอบชายดีเด่น (พลรัตน์ รอดรักษา) ปี 2538
  2. รางวัลเมขลา-พิเศษ ดาวรุ่งชาย (ธนายง ว่องตระกูล) ปี 2538
  3. รางวัลเมขลา-พิเศษ นักแสดงผู้มีมนุษยสัมพันธ์ (วิมลเรขา ศิริชัยราวรรณ) ปี 2538
  • ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2555
  1. รางวัลนาฏราช ละครยอดเยี่ยม ปี 2555
  2. รางวัลนาฏราช กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (สุดเขตร ล้วนเจริญ) ปี 2555
  3. รางวัลนาฏราช กำกับภาพยอดเยี่ยม (ชูชาติ นันทิธัญญธาดา) ปี 2555
  4. รางวัลนาฏราช ลำดับภาพยอดเยี่ยม (วิโรจน์ ภุมวิภาชน์) ปี 2555
  5. รางวัลนาฏราช เครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม (กิจจา ลาโพธิ์) ปี 2555
  6. รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ละครดีเด่น ปี 2555
  7. รางวัลโทรทัศน์ทองคำ นักแสดงนำชายดีเด่น (อธิชาติ ชุมนานนท์) ปี 2555
  8. รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ผู้กำกับการแสดงละครดีเด่น (อดุลย์ บุญบุตร) ปี 2555
  9. รางวัลเมขลา ละครส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมดีเด่นยอดนิยม ปี 2555
  10. รางวัลพระพิฆเนศ นักแสดงชายดีเด่น (อธิชาติ ชุมนานนท์) ปี 2555
  11. รางวัล "ราชบันฑิตยสถานสรรเสริญ" ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นแห่งชาติ นักแสดงนำชาย (อธิชาติ ชุมนานนท์) ปี 2555
  12. รางวัล "ราชบันฑิตยสถานสรรเสริญ" ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นแห่งชาติ นักแสดงนำหญิง (เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์) ปี 2555
  13. รางวัล Drama Award 2012 ละครยอดเยี่ยม ปี 2555 [6]
  14. รางวัล MThai Top Talk-About 2013 ละครที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด ปี 2556
  15. รางวัล MThai Top Talk-About 2013 นักแสดงชายที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด (อธิชาติ ชุมนานนท์) ปี 2556
  16. รางวัล International Drama Festival in Tokyo 2013 ละครต่างชาติยอดเยี่ยม ปี 2556

อ้างอิง แก้

  1. ดูขุนศึก...ถามหา เสมา คนรักชาติบ้านเมือง บทความโดย ยุรชัฏ ชาติสุทธิชัย
  2. ขุนศึก 1976
  3. ขุนศึก 2003
  4. ""เสมา" ตัวขาว ปากแดง - ขุนศึก 2012". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-18. สืบค้นเมื่อ 2012-07-01.
  5. "รางวัลพระสุรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) ปี 2519". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-24. สืบค้นเมื่อ 2012-05-09.
  6. Drama Award ละครยอดเยี่ยม ปี 2012 ขุนศึก ช่อง 3

แหล่งข้อมูลอื่น แก้