โยฮันเนิส บรามส์

โยฮันเนิส บรามส์ (เยอรมัน: Johannes Brahms; 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1833 - 3 เมษายน ค.ศ. 1897) เป็นคีตกวีและวาทยกรชาวเยอรมัน หลายคนยกย่องเขาในฐานะทายาททางดนตรีของลูทวิช ฟัน เบทโฮเฟิน ซิมโฟนีบทแรกของเขาได้รับการยกย่องจาก ฮันส์ ฟ็อน บือโล ว่าเป็นซิมโฟนีบทที่ 10 ของเบทโฮเฟิน

โยฮันเนิส บรามส์
บราห์มส์ในปีค.ศ. 1889
เกิด7 พฤษภาคม ค.ศ. 1833
ฮัมบวร์ค สมาพันธรัฐเยอรมัน (ปัจจุบันคือฮัมบวร์ค ประเทศเยอรมนี)
เสียชีวิต3 เมษายน ค.ศ. 1897
เวียนนา จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี (ปัจจุบันคือเวียนนา ประเทศออสเตรีย)
สัญชาติเยอรมัน
อาชีพคีตกวี
โยฮันเนิส บรามส์

ชีวประวัติและผลงาน แก้

บรามส์เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1833 ที่นครฮัมบวร์คประเทศเยอรมนี

บิดาของบรามส์เป็นนักเล่นดับเบิลเบสและยังเป็นครูดนตรีคนแรกของเขาอีกด้วย บรามส์ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถมากอันโดดเด่นเกินวัย สนใจเครื่องดนตรีทุกประเภท ครูดนตรีคนสำคัญของเขาได้แก่เอดูอาร์ท มาคส์เซิน ได้สอนเขาอย่างตั้งอกตั้งใจ ด้วยความหวังที่ว่าเขาจะกลายเป็นนักเปียโนเอกในอนาคต โดยได้สอนเทคนิคการเล่นของบัค โมทซาร์ท และเบทโฮเฟิน ซึ่งกลายเป็นที่จดจำของบรามส์ไปตลอด โดยมิได้ทำลายพรสวรรค์ทางการสร้างสรรค์ของศิษย์

ความสามารถทางการเล่นเปียโนของเขา ทำให้เขาได้เป็นนักดนตรีอาชีพครั้งแรกที่ผับแห่งหนึ่งในนครฮัมบวร์ค ตั้งแต่มีอายุเพียงสิบสามปี

ในปีค.ศ. 1853 บรามส์ออกตระเวนเปิดการแสดงกับเพื่อนนักไวโอลิน ชื่อแอแด แรเมญี ซึ่งทำให้เขามีโอกาสได้พบกับนักไวโอลินชื่อดังแห่งยุค โยเซ็ฟ โยอาคิม ผู้ซึ่งประทับใจฝีมือของบรามส์มาก และยังได้แนะนำให้เขาได้รู้จักกับฟรันทซ์ ลิสท์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งชูมัน กับภรรยา คลารา ชูมัน ซึ่งเขาได้สนิทสนมด้วยเป็นอย่างดี อิทธิพลของชูมันที่มีต่องานของบรามส์นั้นใหญ่หลวงนัก

ระหว่างปี ค.ศ. 1857 ถึง ค.ศ. 1859 เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะนักร้องประสานเสียงประจำวังของเจ้าชายแห่งเด็ทม็อลท์ ในช่วงเวลานี้เองที่เขาได้ประพันธ์เซเรเนดสำหรับวงดุริยางค์ขึ้นสองบท และคอนแชร์โตสำหรับเปียโนชื้นแรก

ในค.ศ. 1862 เขาได้เดินทางกลับสู่นครเวียนนา ชื่อเสียงในฐานะนักดนตรีของเขาเพิ่มขึ้น และได้รับการยกย่องให้เป็น ทายาทดนตรีของเบทโฮเฟิน เพลงสวดเรเควียมของเขาเป็นเครื่องพิสูจน์คำกล่าวนั้นได้เป็นอย่างดี

ในปีค.ศ. 1870 เขาได้พบกับวาทยกรฮันส์ ฟ็อน บือโล ผู้ซึ่งมีอุปการคุณต่องานดนตรีของบรามส์เป็นอย่างมากในภายหลัง

ในปีค.ศ. 1876 บรามส์แต่งซิมโฟนีบทแรกสำเร็จ ได้รับการขนานนามว่าเป็น ซิมโฟนีบทที่ 10 ของเบทโฮเฟิน ตามคำกล่าวของบือโล จากนั้นก็มีงานประพันธ์สำหรับวงดุริยางค์ตามมาจำนวนมาก ซิมโฟนีอีกสามบท คอนแชร์โตสำหรับไวโอลิน คอนแชร์โตหมายเลขสองสำหรับเปียโน จนกระทั่งถึงผลงานเอกในช่วงบั้นปลายชีวิต นั่นก็คือบทเพลงสำหรับแคลริเน็ต

งานของบรามส์ได้รับอิทธิพลหลากหลาย โดดเด่นด้วยศาสตร์แห่งเคานเตอร์พ็อยนต์และพอลิโฟนี ความงดงามของบทเพลงที่เขาประพันธ์อยู่ที่รูปแบบคลาสสิกที่ถูกแต่งแต้มด้วยความถวิลหาของยุคโรแมนติก แต่ก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สีสันทางดนตรีอันบรรเจิด ท่วงทำนองที่สร้างสรรค์ และจังหวะทำให้ประหลาดใจด้วยการสอดประสานกัน

เป็นผลงานส่วนตัวของบรามส์ที่เปี่ยมด้วยคุณภาพ ซึ่งเราอาจนึกว่าจะเข้าใจยากเมื่อแรกได้ยิน แต่เราก็จะเข้าถึงได้และขาดไม่ได้ในที่สุด

นับเป็นหนึ่งในคีตกวีคนสำคัญของประวัติศาสตร์ดนตรีตะวันตก ศพของโยฮันเนิส บรามส์ถูกฝังไว้ที่สุสานกลางแห่งนครเวียนนา ในส่วนของนักดนตรีคนสำคัญผู้ล่วงลับ

ผลงานหลักๆ แก้

สำหรับวงดุริยางค์ แก้

คอนแชร์โต แก้

เชมเบอร์มิวสิก แก้

  • ควินเต็ต สำหรับแคลริเน็ตและเครื่องสาย โอปุส 115
  • ทริโอ สำหรับ แคลริเน็ต เชลโล่ และเปียโน โอปุส 114
  • เซ็กเต็ตสำหรับเครื่องสาย หมายเลข 1 โอปุส 18
  • เซ็กเต็ตสำหรับเครื่องสาย หมายเลข 2 โอปุส 36
  • โซนาต้าสำหรับแคลริเน็ตและเปียโน โอปุส 120
  • โซนาต้าสำหรับไวโอลินและเปียโน โอปุสที่ 100 โอปุส 108
  • โซนาต้าสำหรับเชลโล่และเปียโน หมายเลข 2 โอปุส 99
  • ควินเต็ตสำหรับเครื่องสาย หมายเลข 1 โอปุส 88
  • ควินเต็ตสำหรับเครื่องสาย หมายเลข 2 โอปุส 111
  • ควอร์เต็ตสำหรับเครื่องสาย หมายเลข 1 และหมายเลข 2 โอปุส 51
  • ควอร์เต็ตสำหรับเครื่องสาย หมายเลข 3 โอปุส 67
  • ควอร์เต็ตสำหรับเปียโนและเครื่องสาย หมายเลข 1 โอปุส 25 หมายเลข 2 โอปุส 26 และหมายเลข 3 โอปุส 60

ดนตรีขับร้อง แก้

  • "เยอรมัน" เรเควียม โอปุส 45
  • Magelone Romanzen (เพลงโรแมนซ์สิบห้าบท) โอปุส 33 ; Zigeurnerlieder (เพลงร้องยิปซี) , Volskieder (เพลงพื้นบ้าน)
  • Rinaldo โอปุส 50
  • เพลงขับร้องสี่บท โอปุส 121
  • แรพโซดี้สำหรับ นักร้องเสียงอัลโต้ และวงดุริยางค์ โอปุส 53
  • เพลงอื่น ๆ อีกมากมาย

ดนตรีสำหรับเปียโน แก้

บรามส์ ได้แต่งเพลงบรรเลงเปียโนไว้เพียง 12 ชิ้น จากแคตตาล็อกผลงานทั้งหมดรวมกว่า 122 ชิ้น

บรามส์ยังได้ประพันธ์เพลงจำนวนหนึ่งไว้สำหรับบรรเลงด้วยเปียโนสี่มือ :

ผู้ถ่ายทอดผลงานของบรามส์ที่มีชื่อเสียง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้