วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/การทับศัพท์ญี่ปุ่นกับการ์ตูนญี่ปุ่น

หน้านี้เป็นหน้าอภิปรายในวิกิพีเดียภาษาไทย
การอภิปรายด้านล่างนี้ปิดแล้ว โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่

ตามที่ทางราชบัณฑิตยสภาได้ออกเกณฑ์การทับศัพท์ฉบับใหม่ และได้มีข้อสรุปไปเมื่อเดือนเมษายนว่าให้ใช้ตามประกาศฯ ฉบับใหม่ในทุกกรณี ผมมีข้อสงสัยอยู่เกี่ยวกับการ์ตูนญี่ปุ่นครับ

  1. เนื่องจากในบทความการ์ตูนญี่ปุ่นบางเรื่องมักจะสะกดชื่อตัวละครหรือชื่อเรื่องส่วนที่เป็นภาษาญี่ปุ่นตามฉบับที่แปลเป็นภาษาไทยแล้ว ซึ่งมักจะทับศัพท์ตามความสะดวกของผู้แปล และในบางครั้งฉบับแปลไทยสองฉบับก็เขียนชื่อตัวละครไม่ตรงกันและไม่ตรงกับหลักการทับศัพท์ใหม่ด้วย รวมไปถึงประเด็นลำดับการวางชื่อและนามสกุล เช่น ชื่อ 千反田 える จากเรื่องปริศนาความทรงจำ ถ้าทับศัพท์ตามประกาศฉบับใหม่จะต้องเขียนว่า เอรุ ชิตันดะ ซึ่งเอานามสกุลไปวางไว้ข้างหลัง แต่ในฉบับแปลไทยสองฉบับจะวางตามญี่ปุ่นคือเอานามสกุลขึ้นก่อน โดยนิยายของสำนักพิมพ์เอ็นเธอร์บุ๊คส์เขียนว่า จิทันดะ เอรุ และในฉบับของโรสที่ฉายทางโทรทัศน์ใช้ว่า จิตันดะ เอรุ ถ้าเป็นลักษณะนี้ควรยึดตามอะไรเป็นหลักครับ ถ้าใช้ตามหลักการทับศัพท์ก็อาจจะเกิดปัญหาเวลาที่คนอ่านการ์ตูนมาเจอชื่อที่ไม่ตรงกับที่ตัวเองคุ้นเคย แต่ถ้าใช้ตามชื่อที่แปลก็จะลักลั่นไม่ตรงกันกับเรื่องอื่นและไม่เป็นมาตรฐานเดียวกับบทความอื่น ๆ เกี่ยวกับคนญี่ปุ่นที่มีตัวตนจริง ๆ
  2. คำว่า "อะนิเมะ" ควรจะเปลี่ยนเป็นคำว่า "อานิเมะ" ตามหลักการทับศัพท์ หรือ "อนิเมะ" ตามความนิยมถึงจะเหมาะสมดีครับ เพราะในหลักเกณฑ์มีข้อหนึ่งระบุว่า "คำภาษาญี่ปุ่นที่รับมาใช้ในภาษาไทยเป็นเวลานานและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้ว ให้ใช้ตามเดิม"

--ZeroSixTwo (คุย) 05:24, 8 ตุลาคม 2561 (ICT)

  • เคยมีการอภิปรายเรื่องชื่อตัวละครในวิกิพีเดีย:สภาการ์ตูนญี่ปุ่น#ชื่อภาษาญี่ปุ่นแล้วครับ ส่วนจะใช้ชื่ออะไรถ้ายังไม่มีการเผยแพร่ในภาษาไทยก็ใช้ทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น ถ้ามีแล้วก็ใช้ตามสื่อที่แปลมาพร้อมใส่อ้างอิงไว้เพื่อให้ผู้อ่านและคนอื่นทราบ (ยกเว้นแฟนซับ)
สำหรับชื่อตัวละครแปลไทยจะใช้ของแหล่งไหนมองว่ามี 2 แนวทางคือ
  1. ใช้ชื่อตามสื่อที่เผยแพร่ก่อน เช่น โทระโดระ! ยายเสือใสกับนายหน้าโหด ใช้ชื่อตามสำนักพิมพ์ที่ซื้อลิขสิทธิ์มาก่อนซึ่งตอนนี้ยุบไปแล้ว สำนักพิมพ์ใหม่จะใช้อีกชื่อหนึ่ง
  2. ใช้ชื่อตามสื่อที่ผู้อ่านคุ้นเคยมากกว่า อาจต้องค้นดูจาก Google
คุณอาจลองอภิปรายกับสมาชิกในโครงการวิกิการ์ตูนญี่ปุ่นที่ยัง Active อยู่ และค่อยปรับในวิกิพีเดีย:คู่มือการเขียนสารานุกรมการ์ตูนญี่ปุ่น ซึ่งแนวทางการเขียนหรือนโยบายต่าง ๆ ก็หลายปีมาแล้วครับ --Geonuch (คุย) 09:27, 8 ตุลาคม 2561 (ICT)
  • ชื่อเรื่อง ผมเห็นควรให้ใช้ชื่อที่สำนักพิมพ์หรือผู้ถือสิทธิ์เป็นคนตั้ง ส่วนชื่อตัวละครผมเห็นควรให้ใช้ตามเกณฑ์ใหม่ของราชบัณฑิต
คำว่า Anime นั้น ขอคัดค้านการใช้คำว่า "อานิเมะ" เพราะไร้การใช้งานอย่างสิ้นเชิงในทางปฏิบัติไม่ว่าทั้งในอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต โดยส่วนตัวเห็นควรให้ใช้ "อนิเมะ" --Setawut (คุย) 14:04, 12 ตุลาคม 2561 (ICT)
ส่วนตัวผมเห็นด้วยตามนี้ทั้งสองข้อครับ คำว่า anime ก็ยืมมาจาก animation อีกทีนึง "อนิเมะ" ก็น่าจะใกล้เคียงกว่า "อานิเมะ" --ZeroSixTwo (คุย) 20:43, 21 ตุลาคม 2561 (ICT)
ผมว่าถ้าจะไม่สะกดว่า "อานิเมะ" ก็ควรสะกดว่า "อะนิเมะ" เหมือนเดิม เพราะพบว่ามีการใช้งานมากเช่นเดียวกับ "อนิเมะ" แม้ว่าอาจจะไม่ได้มากกว่าก็ตาม การใช้รูป "อ" เพียงตัวเดียว อาจทำให้เข้าใจผิดว่าออกเสียงเป็น อะ กึ่งเสียง [ə] แทนที่จะเป็น อะ เต็มเสียง [a] --Potapt (คุย) 03:25, 22 ตุลาคม 2561 (ICT)
อนึ่ง ชื่อ Hokkaido มีความนิยมเรียกในภาษาไทยทั้ง "ฮกไกโด" และ "ฮอกไกโด" แต่ในนี้ก็ใช้ตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ --Potapt (คุย) 03:32, 22 ตุลาคม 2561 (ICT)
ผมมีความเห็นว่าชื่อเรื่อง, ตัวละคร และท่าไม้ตาย ซึ่งอยู่ใน "เรื่องแต่ง" ให้เขียนตามผู้ถือครองลิขสิทธิ์ปัจจุบัน ส่วนชื่อเรื่องที่จัดฉายทางโทรทัศน์, เคเบิล, ออนไลน์ กับหนังสือการ์ตูน หากมีการใช้ต่างกัน ถ้าจำไม่ผิด เข้าใจว่าทางชุมชนให้ยึด "ตามชื่อผู้ถือครองลิขสิทธิ์หนังสือการ์ตูนปัจจุบัน" ในขณะที่ชื่อนักพากย์ หรือสถานที่ ซึ่งอยู่ใน "โลกความเป็นจริง" ให้ใช้การทับศัพท์ครับ --B20180 (คุย) 23:45, 21 ตุลาคม 2561 (ICT)
 ความเห็น ในข้อ 1 ผมเห็นด้วยกับความเห็นของคุณ Setawut และคุณ B20180 ครับ ส่วนข้อ 2 ผมก็คิดว่าให้ใช้คำว่า "อะนิเมะ" เหมือนเดิม เพราะมีการใช้ก็เยอะพอสมควรครับ --Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 05:17, 22 ตุลาคม 2561 (ICT)
@Tvcccp: คุณ Setawut เห็นว่าควรใช้ชื่อเรื่องตามผู้ถือลิขสิทธิ์แต่ใช้ทัพศัพท์กับชื่อตัวละคร ส่วนคุณ B20180 เห็นว่าใช้ทั้งชื่อเรื่องและชื่อตัวละครตามผู้ถือลิขสิทธิ์ ผมไม่เข้าใจว่าคุณ Tvcccp เห็นด้วยกับชื่อของอะไรครับ --Geonuch (คุย) 08:49, 23 ตุลาคม 2561 (ICT)
ที่ผมพูดนี้คือให้ชื่ออะนิเมะหรือมังงะ ให้เขียนตามผู้ถือครองลิขสิทธิ์ปัจจุบัน ครับ ผมได้คิดไกลว่าหากไม่เขียนเป็นไปตามผู้ถือครองลิขสิทธิ์ปัจจุบัน เดียวจะมีดราม่าที่ไร้ประโยชน์ในวิกิไทย 100 เปอร์เซนต์ครับ --Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 09:53, 23 ตุลาคม 2561 (ICT)
ชื่อทุกสิ่งอย่าง เห็นว่าควรอิงจากงานแปลลิขสิทธิ์ชิ้นแรก ถ้าไม่มี ถึงจะทับศัพท์ครับ --พ่อบ้านลูกหนี้ 14:49, 22 ตุลาคม 2561 (ICT)

จากที่ทุกท่านกล่าวมาสามารถสรุปได้คือ

  1. ชื่อตัวละคร รวมทั้งชื่อเรือง และชื่ออื่น ๆ ที่เกียวข้องทุกอย่างที่เป็นเรื่องแต่ง (ไม่รวมการ์ตูนญี่ปุ่นที่ยังไม่มีลิขสิทธิ์) มีอยู่สองแนวทางโดยผมลองพิจารณาถึงข้อดีข้อเสียเพิ่มคือ
    1. ใช้ทั้งชื่อเรื่อง ตัวละคร และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามผู้ถือลิขสิทธิ์
      1. ข้อดี ผู้อ่านส่วนใหญ่มีความคุ้นเคย และใช้หลักเกณฑ์เดียวตลอดการเขียนบทความทั้งหมด
      2. ข้อเสีย ผู้แก้ไขบทความอาจต้องมีความรู้เกี่ยวกับการเขียนชื่อที่ถูกต้องตามผู้ถือลิขสิทธิ์ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับการทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสภา
    2. ใช้ชื่อเรื่องตามผู้ถือลิขสิทธิ์ แต่ชื่อตัวละคร และอาจรวมถึงชื่ออื่น ๆ ใช้ตามการทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสภา
      1. ข้อดี เนื้อหาบทความมีความสอดคล้องกับบทความเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นอื่น ๆ มีมาตรฐาน และง่ายต่อการแก้ไขโดยผู้ใช้ทั่วไปที่ไม่ได้ติดตามการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องนั้น ๆ เพราะนำหลักการทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสภามาใช้ได้เลย
      2. ข้อเสีย ชื่อเรื่องและชื่อตัวละครใช้คนละหลักเกณฑ์เมื่อเทียบกับการใช้ชื่อตามผู้ถือลิขสิทธิ์หรือราชบัณฑิตยสภาแบบทั้งบทความ และสร้างความสับสนต่อผู้อ่านเพราะไม่คุ้นเคย
  2. อะนิเมะ ไม่มีท่านใดเห็นด้วยกับคำว่า "อานิเมะ" ดังนั้นจึงเหลือว่าจะใช้คำว่า "อะนิเมะ" หรือ "อนิเมะ" ที่มีการใช้คำพอ ๆ กัน ซึ่งหากเป็นไปตามที่คุณ Potapt อธิบายเรี่องการออกเสียงและการทับศัพท์จะเห็นว่าควรใช้ "อะนิเมะ" มากกว่า "อนิเมะ"

มีท่านใดมีความคิดเห็นเพิ่มเติมอีกไหมครับเผื่อตกประเด็นอะไรไป หากไม่มีเพิ่มในคืนนี้อาจขอให้มีการลงคะแนนเพื่อโหวตเกณฑ์การใช้นะครับ --Geonuch (คุย) 09:42, 23 ตุลาคม 2561 (ICT)


เนื่องจากไม่มีการอภิปรายเพิ่ม ขออนุญาตใช้การลงคะแนนนะครับ --Geonuch (คุย) 20:34, 23 ตุลาคม 2561 (ICT)

ชื่อเรื่อง ตัวละคร และอื่น ๆ

แก้
ใช้ทั้งชื่อเรื่อง ตัวละคร และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามผู้ถือลิขสิทธิ์
  1. เห็นด้วย --Geonuch (คุย) 20:35, 23 ตุลาคม 2561 (ICT)
  2. เห็นด้วย --B20180 (คุย) 22:41, 23 ตุลาคม 2561 (ICT)
  3. เห็นด้วย --พ่อบ้านลูกหนี้ 09:43, 24 ตุลาคม 2561 (ICT)
  4. เห็นด้วย --WindowMaker (คุย) 12:55, 24 ตุลาคม 2561 (ICT)
  5. เห็นด้วย --ยมทูตตบเกรียน (คุย) 18:15, 24 ตุลาคม 2561 (ICT)
  6. เห็นด้วย --Setawut (คุย) 14:58, 25 ตุลาคม 2561 (ICT)
ใช้ชื่อเรื่องตามผู้ถือลิขสิทธิ์ แต่ชื่อตัวละคร และอาจรวมถึงชื่ออื่น ๆ ใช้ตามการทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสภา
  1. เห็นด้วย เพื่อไม่ให้การสะกดลักลั่น --ZeroSixTwo (คุย) 21:04, 23 ตุลาคม 2561 (ICT)
  2. เห็นด้วย --Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 00:22, 24 ตุลาคม 2561 (ICT)

อะนิเมะ

แก้
ใช้คำว่า "อะนิเมะ"
  1. เห็นด้วย --Geonuch (คุย) 20:35, 23 ตุลาคม 2561 (ICT)
  2. เห็นด้วย --Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 00:22, 24 ตุลาคม 2561 (ICT)
  3. เห็นด้วย -ยมทูตตบเกรียน (คุย) 18:16, 24 ตุลาคม 2561 (ICT)
ใช้คำว่า "อนิเมะ"
  1. เห็นด้วย ----McVega (คุย) 21:01, 23 ตุลาคม 2561 (ICT)
  2. เห็นด้วย --ZeroSixTwo (คุย) 21:05, 23 ตุลาคม 2561 (ICT)
  3. เห็นด้วย --พ่อบ้านลูกหนี้ 09:43, 24 ตุลาคม 2561 (ICT)
  4. เห็นด้วย --WindowMaker (คุย) 12:53, 24 ตุลาคม 2561 (ICT)
  5. เห็นด้วย --Setawut (คุย) 14:57, 25 ตุลาคม 2561 (ICT)
  6. เห็นด้วย --The great emperror (คุย) 21:47, 25 ตุลาคม 2561 (ICT)

สรุปผลดังนี้

  1. ใช้ทั้งชื่อเรื่อง ตัวละคร และอื่น ๆ ที่เป็นเรื่องแต่ง (ไม่รวมการ์ตูนญี่ปุ่นที่ยังไม่มีลิขสิทธิ์) ตามผู้ถือลิขสิทธิ์ โดยปรับปรุงในคู่มือการเขียนสารานุกรมการ์ตูนญี่ปุ่นเพื่อเป็นแนวทางการเขียนบทความต่อไป
  2. ใช้คำว่า "อนิเมะ" ตามความนิยมในทุกบทความ โดยเพิ่มการออกเสียงกำกับ (อะนิเมะ/อานิเมะ) ไว้ในบทความอนิเมะ

--Geonuch (คุย) 11:59, 31 ตุลาคม 2561 (ICT)


การอภิปรายด้านบนนี้รักษาไว้เป็นกรุ โปรดอย่าแก้ไข หากต้องการออกความเห็นภายหลัง ควรใช้ส่วนใหม่