th-3ผู้ใช้คนนี้ใช้ภาษาไทยได้ในระดับสูง
This user is able to contribute with an advanced level of Thai.
en-5ผู้ใช้คนนี้ใช้ภาษาอังกฤษได้ในระดับผู้เชี่ยวชาญ
This user can contribute with a professional level of English.

ข้าพเจ้า นายตำรา ณ ทะเลทอง (นามปากกา) มีความเชี่ยวชาญทางเรื่องทั่วไปและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และบัดนี้กำลังเขียนบทความเกี่ยวกับประเพณีสำหรับผู้วายชนม์ อันเป็นวาระสุดท้ายที่ทุกท่านต้องถึง เพื่อให้เป็นประโยชน์

ท่านสามารถแก้ไขบทความของข้าพเจ้าได้เสมอ แต่ต้องระบุเหตุผลและแหล่งอ้างอิงให้ตรวจสอบได้ โดยเฉพาะการแก้ไขที่มีสาระสำคัญมาก ๆ รวมถึงการแก้ชื่อ การระบุเหตุผลในช่องเหตุผลที่เหมาะสม ถือเป็นการสร้างน้ำใจสร้างไมตรีได้อย่างหนึ่ง การไม่ระบุเหตุผลและแก้ในสาระสำคัญนั้น เคยมีเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทในวิกิภาคภาษาอังกฤษถึงขนาดที่ผู้แก้ไขถูกลงโทษสถานหนัก (อาทิ ถูกกีดกันชั่วคราว หรือ ไล่ออก) มาแล้ว จึงควรที่จะสังวรระวังให้มาก

ถ้อยแถลงเกี่ยวกับปัญหาราชบัณฑิตชนราชบัณฑิต แก้

โดยที่ปรากฏว่ามีการแก้ไขชื่อบทความทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า วิทยาศาสตร์ฯ) บรรดาที่เกี่ยวข้องกับบุคคลชาวยุโรปภาคพื้นทวีป มีฝรั่งเศส เยอรมันเป็นอาทิ ให้เป็นไปตามหลักการเขียนคำทับศัพท์ซึ่งสำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสภา คิดขึ้นในปี พ.ศ. 2554 (แทนหลักการเดิมฉบับปี พ.ศ.2535) โดยมิได้ปรึกษาผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ให้เรียบร้อยว่าชื่อนี้เป็นที่ยอมรับหรือไม่ และปรากฏว่าชื่อเหล่านั้นขัดหรือแย้งต่อหลักการของสำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา กล่าวคือ จะใช้การเขียนคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษมาแก้ไขให้ขัดหรือแย้งกับภาษาเดิมน้อยที่สุด และยอมรับใช้งานเป็นวงกว้างแล้วในบรรดาเอกสารวิชาการ ตัวอย่างเช่น

ชื่อบุคคล ตามหลักของสำนักศิลปกรรม [1] ชื่อกฎเกณฑ์และหน่วย ตามหลักของสำนักวิทยาศาสตร์ (และหน่วยงานอื่นทางด้านวิทยาศาสตร์ฯ) [2]
อ็องเดร-มารี อ็องแปร์ กฎของแอมแปร์ หรือ หน่วยกระแสไฟฟ้าเป็นแอมแปร์
ซาดี การ์โน วัฏจักรคาร์โนต์ หรือ เครื่องยนต์คาร์โนต์
ฌ็อง ฟูรีเย การแปลงฟูเรียร์ หรือ อนุกรมฟูเรียร์ หรือ กฎของฟูเรียร์
แบล็ส ปัสกาล สามเหลี่ยมปาสกาล สามเหลี่ยมพาสคัล และชื่อหน่วยของความดัน (นิวตันต่อตารางเมตร)
ปีแยร์ แวร์นีเย เวอร์เนียร์
ปีแยร์ กูว์รี กูรี หรือ คิวรี
ชาร์ล โอกุสแต็ง เดอ กูลง กฎของคูลอมบ์ หรือ หน่วยประจุไฟฟ้าเป็นคูลอมบ์
โฌแซ็ฟ ลากร็องฌ์ ตัวคูณลากรานจ์ หรือสมการออยเลอร์-ลากรานจ์
เลอ็อนฮาร์ท อ็อยเลอร์ ฟังก์ชันแบบออยเลอร์ และบรรดาศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
กุสทัฟ เคียร์ชฮ็อฟ กฎของเคิร์ชฮอฟฟ์ (นิยมออกเสียง เคอร์ชอฟฟ์)

เอกสารอ้างอิง

  1. ราชบัณฑิตยสภา. ระบบฐานข้อมูลคำทับศัพท์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา.
  2. ราชบัณฑิตยสภา. ศัพท์บัญญัติสำนักงานราชบัณฑิตยสภา. และ Longdo.com. ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน.

การที่ชื่อบทความไม่เป็นไปตามหลักการของผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้น ๆ (ในที่นี้คือ วิทยาศาสตร์ฯ) แต่กลับไปตามผู้เชี่ยวชาญนอกสาขาที่ไม่มีความรู้ในสาขานั้น ๆ ส่งผลให้บทความนั้นไม่สามารถตรวจสอบ ตรวจทาน สืบค้นได้อย่างถูกต้อง กลายเป็นบทความขยะ เมื่อได้ชี้แจงต่อท่านผู้แก้ไขก็กลับไม่ยอมรับ และดึงดันที่จะใช้หลักการที่ตนเห็นว่าถูกต้องต่อไปจนกลายเป็นการวิวาทกัน อีกนัยหนึ่งคือกลายเป็นปัญหา ราชบัณฑิต ชน ราชบัณฑิต ปัญหาข้างต้นหากได้กระทำในวิกิภาษาอังกฤษ ผู้กระทำจักถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อกวนและต้องได้รับโทษตามควรอย่างแน่นอน มีการถูกกีดกันเป็นอาทิ ดังที่ได้ประจักษ์มาแล้ว

ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงยุติการเขียนบทความในกลุ่มนี้อย่างไม่มีกำหนด หรือจนกว่าจะมีการแบ่งเขตอำนาจว่าผู้ใช้แต่ละท่านสามารถรับผิดชอบสาขาวิชาได้อย่างไม่ก้าวก่ายกัน หรือมีมติชัดเจนโดยผู้มีอำนาจในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ฯ หรือมีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินการให้เป็นสารานุกรมที่มีผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ (professionally reviewed) ในสาขานั้น ๆ ซึ่งจะมั่นใจว่าข้อมูลที่เขียนนั้นถูกต้องเป็นไปตามสาขาวิชาแน่นอน

จึงประกาศมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน
นายตำรา