เนื่องจากว่าปัจจุบันผู้พัฒนาบอตคุง และบอตในเครือไม่ว่างตั้งแต่เที่ยงคืนถึง 2 ทุ่มทุกวันจันทร์-ศุกร์ตามเวลาประเทศไทย จึงไม่มีเวลาที่จะพัฒนาหรือตรวจสอบบอตเหมือนเมื่อก่อน หากพบว่าบอตคุงหยุดการทำงาน หรือทำงานไม่ปกติ กรุณาแจ้งที่หน้านี้

BotKung now runs in the clouds!
การทำงานของบอตคุงทั้งหมดรันอยู่บนก้อนเมฆ
สถานะการทำงานของบอตคุง
Crystal Clear action run.png
บันทึกการทำงานอัตโนมัติครั้งล่าสุดเมื่อ
2 มีนาคม 2023 19:03 (UTC+7) (เรื่องที่เขียน)
Crystal 128 error.png หยุดการทำงานไปมากกว่า 12 ชั่วโมง โปรดติดต่อผู้ควบคุม

บอตคุง (BotKung) เป็นบอตบนวิกิพีเดีย หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นและควบคุมโดยผู้ใช้ Jutiphan สำหรับการแก้ไข ตรวจสอบ รายงาน หลากหลายอย่างบนวิกิพีเดียโดยอัตโนมัติ หรือกึ่งอัตโนมัติ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการทำงานที่ซ้ำซ้อน หรือจำเจ สามารถอ่านการทำงานทั้งหมดอย่างละเอียดได้ด้านล่างนี้ครับผม ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับ หากมีปัญหาให้แจ้งผู้ควบคุมนะครับผม เพราะผมเองคงไม่เข้าใจข้อความที่คุณทิ้งไว้

ผมรายงานตัวหลังจากการทำงานส่วนอัตโนมัติเสร็จสิ้น

เป้าหมายในชีวิตแก้ไข

เราเสียเวลาทำสิ่งที่น่าเบื่อ จำเจ ซ้ำซ้อน เพื่อให้คุณมีเวลาทำสิ่งที่คุณสนใจจริง ๆ มากขึ้น

ที่อยู่แก้ไข

เพื่อเสถียรภาพและความรวดเร็วในการทำงาน 24x7 เสมือน 7-11 ระบบบอตคุงทั้งหมดได้ย้ายไปทำงานบนกลุ่มเมฆเรียบร้อยแล้ว โดยใช้ Windows Azure และ SQL Azure ในการทำงานเบื้องหลัง

สิ่งที่กำลังทำอยู่แก้ไข

ส่วนการทำงานอัตโนมัติทุกนาทีตลอดวันแก้ไข

ดำเนินงานโดยทีทีบอตแก้ไข

ดำเนินงานโดยเจบอตแก้ไข

ดำเนินงานโดยทีทีบอต และเจบอตแก้ไข

  • บันทึกข้อมูลการก่อกวนจากการย้อนการก่อกวนโดยผู้ใช้ผ่านสคริปต์จัดให้ หรือจากการย้อนโดย TBot และ JBot ไปบนฐานข้อมูลเพื่อคำนวณและวิเคราะห์สถิติเพิ่มเติม

ส่วนการทำงานอัตโนมัติทุก 15 นาทีตลอดวันแก้ไข

ดำเนินงานโดยไอบอตแก้ไข

  • ย้อนและลบการแก้ไขที่อาจกระทำโดย "สแปมบอต" และการแก้ไขไร้สาระเฉพาะบางส่วนแบบง่ายบนไร้สารานุกรมเสรี

ส่วนการทำงานอัตโนมัติทุกชั่วโมงตลอดวันแก้ไข

  • ตรวจสอบภาพที่ไม่ได้ระบุสัญญาอนุญาตภาพ และพูดคุยที่หน้าคุยกับผู้ใช้ ให้ผู้อัปโหลดทราบโดยใช้แม่แบบ:ต้องการสถานะภาพ และแม่แบบ:ต้องการสถานะภาพ2
  • นำร่องตรวจสอบภาพที่ไม่ได้ระบุแหล่งที่มา สำหรับภาพบางประเภท และพูดคุยที่หน้าคุยกับผู้ใช้ ให้ผู้อัปโหลดทราบโดยใช้แม่แบบ:ต้องการแหล่งที่มาภาพ
  • คอยอัปเดต สถานะภาพล่าสุด ซึ่งจะอัปเดตอัตโนมัติหลังจากตรวจสอบสถานะภาพเสร็จสิ้น
  • คอยอัปเดตรายชื่อบทความและภาพที่มีปัญหาลิขสิทธิ์ โดยเรียงตามอันดับอักษรไทยที่ถูกต้อง
  • คอยเตรียมบทความเหตุการณ์ปัจจุบันรายวัน โดยจะเตรียม 7 วันถัดไปหากยังไม่ได้ถูกสร้างขึ้น
  • ลบการใช้งานภาพสำหรับภาพที่ถูกแจ้งลบ โดยหากผู้แจ้งลบเป็นผู้ใช้ที่ล็อกอิน และยกเว้นหากแจ้งลบด้วยสาเหตุมีแล้วในคอมมอนส์
  • เก็บกวาดหน้าทดลองทั้งหมด 4 หน้า โดยจะเคลียร์และใส่แม่แบบแนะนำหน้าทดลอง เฉพาะกรณีที่พบว่าแม่แบบแนะนำหน้าทดลองได้ถูกลบไปแล้ว ในกรณีอื่นจะทิ้งเนื้อหาเดิมไว้เพื่อคงลักษณะความเป็นหน้าทดลอง
  • ตรวจสอบหน้า ผู้ใช้:BotKung/เปลี่ยนชื่อหมวดหมู่ และดำเนินการเปลี่ยนชื่อหมวดหมู่หากพบรายการแจ้งใหม่
  • ลบบทความใหม่ที่สร้างโดยผู้ใช้ไม่ล็อกอิน และจัดเป็น "ขยะ" บนไร้สารานุกรมเสรี

ส่วนการทำงานอัตโนมัติรายวันแก้ไข

ส่วนการทำงานอัตโนมัติทุก 3 วันแก้ไข

  • อัปเดตสถิติการย้อนก่อกวนอย่างย่อของเจบอต
  • คอยติดป้ายโครงการวิกิตามบริการใหม่ในป้ายโครงการวิกิ
  • อัปเดตรายชื่อ "ผู้ใช้ที่เชื่อถือได้" หรือผู้ใช้ที่เจบอตถือว่าผู้ใช้ดังกล่าวไม่ใช่ "ผู้ใช้ใหม่" แล้ว

ส่วนการทำงานที่ต้องได้รับคำสั่งให้ทำแก้ไข

กรุณาแจ้ง ผู้ควบคุม หากต้องการให้สั่งความสามารถใดด้านล่างนี้

  • ทดลองผลกระทบการเพิ่มความสามารถเก็บกวาดเช่นแก้ไขการสะกดคำศัพท์ หรือรูปแบบเก็บกวาดใหม่ ด้วยการสุ่มบทความจำนวนหนึ่งและแสดงผลรายชื่อบทความที่สุ่มและได้รับผลกระทบ เพื่อใช้ตรวจสอบผลกระทบข้างเคียงอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด
  • แก้ไขบทความที่ใช้แม่แบบ เพื่อเปลี่ยนชื่อแม่แบบเดิมไปเป็นชื่อแม่แบบใหม่ ตัวอย่างการทำงาน
  • ทำลิงก์ข้ามภาษา ด้วยการใส่ลิงก์ข้ามภาษาสำหรับหมวดหมู่ เกิดปี ตายปี และหมวดหมู่อื่น ๆ หากต้องการ
  • ทำลิงก์ข้ามภาษากรณีพิเศษที่มีช่วงเวลาลิงก์กัน และ/หรือต้องคำนึงถึงเรื่อง noinclude ตัวอย่างการทำงาน 1 ตัวอย่างการทำงาน 2
  • เปลี่ยนชื่อหมวดหมู่ ซึ่งจะดำเนินการหากได้รับสั่งให้เปลี่ยน หรือรวมหมวดหมู่
  • ตรวจสอบการละเมิดลิขสิทธิ์บทความกึ่งอัตโนมัติ (ปัจจุบันดำเนินงานผ่านเจบอต)
  • ปรับแม่แบบโดยลบบรรทัดว่างก่อนหน้าโค้ด <noinclude>

ส่วนการทำงานเฉพาะกิจแก้ไข

กรุณาแจ้ง ผู้ควบคุม หากต้องการให้สั่งความสามารถใดด้านล่างนี้

สิ่งที่อยากจะทำแก้ไข

  • แจ้งบทความอยู่ในโครงการที่ต้องการโดยอัตโนมัติ หากบทความอยู่ในหมวดหมู่ที่กำหนด เช่น บทความที่อยู่ใน หมวดหมู่:ประเทศไทย จะให้บอตแจ้งเป็นบทความในโครงการวิกิประเทศไทยโดยอัตโนมัติ
  • อัปเดต แม่แบบ:ปรับปรุงล่าสุด/บทความที่ต้องการ ด้วยการนำบทความที่สร้างแล้วออก และใส่บทความที่ต้องการใหม่เข้าไปแทนที่ ตามความเหมาะสม
  • ทำรายงานสัญญาอนุญาตภาพ on-demand สำหรับบทความที่ต้องการ และจากนั้นเชื่อมเข้า FA, GA เพื่อให้สร้างรายงานอัตโนมัติเมื่อบทความถูกเสนอชื่อ
  • แก้ปัญหาการจัดหมวดหมู่ โดยจะแก้/ใส่ sortkey ขณะนี้ไม่แน่ใจว่าจะทำอย่างไรกรณีที่มีสระตามหลังเช่นคำว่า "เคียว" เป็นต้น
  • ความสามารถหลายส่วนในสคริปต์จัดให้ที่ผมทำได้ จะได้ช่วยประหยัดแรงชาววิกิพีเดียมากขึ้น
  • แย่งงานจากน้องบอตมาทำบางส่วน (เห็นน้องบอตแอบมาซิบว่าแย่งงานไปหมด เอ๋ !?)
  • คอยตรวจสอบการปรับปรุงล่าสุดทุกๆ x นาทีเพื่อตรวจสอบการก่อกวนขั้นพื้นฐาน
  • จัดหัวข้อพูดคุยในหน้าอภิปรายที่ต้องการ เข้ากรุโดยอัตโนมัติ ตามจำนวนวันที่กำหนด
  • ขอเพียงแค่บอกมา จะพยายามทำ ถ้าทำไม่ได้.. ก็ยังจะทำ ไม่ได้.. งงไหม ^_^

สิ่งที่รอจะทำแก้ไข

รายการนี้ส่วนใหญ่เป็นความสามารถที่อาจมีอยู่ในสคริปต์จัดให้ แต่รอเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สคริปต์จัดให้ทดสอบ ก่อนที่จะเพิ่มไปในส่วนการทำงานของบอตคุง

  • ย้ายโครงไปหลังหมวดหมู่ตามสคริปต์จัดให้ 4.92
  • รองรับการตรวจสอบลิงก์ข้ามไปภาษาอื่นรูปแบบลิงก์นอกตามสคริปต์จัดให้ 4.99
  • เปลี่ยน [[ชื่อบทความ]] ไปเป็น '''ชื่อบทความ''' ตามสคริปต์จัดให้ 5.0
  • ตรวจสอบการสแปมลิงก์ ตักเตือน และบล็อกการแก้ไขหากจำเป็น

วิธีเลือกไม่รับข้อความแจ้งแก้ไข

แจ้งบทความละเมิดลิขสิทธิ์ หากคุณเป็นผู้เริ่มบทความ หรือผู้ที่แก้ไขบทความมากที่สุด

โปรดทราบว่าการเลือกไม่รับข้อความ ถือว่าคุณได้ยินยอมให้บอตไม่จำเป็นที่จะต้องแจ้งคุณให้ทราบในกรณีดังกล่าว โดยบอตคุง และผู้ควบคุมจะไม่รับผิดชอบจากการเปลี่ยนแปลงนี้

วิธีเลือกไม่รับการตรวจสอบลงชื่ออัตโนมัติแก้ไข

โปรดทราบว่าการเลือกไม่รับตรวจสอบจะทำให้บอตคุงตรวจการแก้ไขล่าสุดว่าเป็นผู้ใช้อยู่ในหมวดหมู่ดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งไม่ได้ช่วยให้การทำงานเร็วขึ้น แต่จะใช้เวลาตรวจเพิ่มเติมก่อนดำเนินการต่อ

การทำงานแก้ไข

ติดป้ายโครงการวิกิแก้ไข

บอตคุงไม่ได้เพียงแค่ติดป้ายโครงการวิกิอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังพยายามดำเนินการดังนี้:

ตรวจสอบเนื้อหาที่อาจละเมิดลิขสิทธิ์แก้ไข

เรียกรายชื่อบทความใน หมวดหมู่:บทความที่รอการตรวจลิขสิทธิ์ด้วยบอต จากนั้นแต่ละบทความ จะดำเนินการดังนี้:

  • ปรับแต่งข้อความให้เป็นรูปแบบที่สามารถส่งเข้าเสิร์ชเอนจินได้
  • เลือกจุดที่จะดำเนินการ จากนั้นเริ่มตัดแบ่งข้อความที่จุดนั้นตามการเว้นวรรค และบรรทัดใหม่ แล้วค่อยผนวกเข้าด้วยกัน โดยจะคัดส่วนที่ผนวกกันแล้วได้ข้อความที่ค่อนข้างสั้น ไม่ยาวไปสำหรับเสิร์ซเอนจิน จากนั้นค้นหาด้วยกูเกิล โดยขณะนี้จะดึงรายชื่อเว็บไซต์ 15 รายการแรกสุด
  • บันทึกรายชื่อเว็บไซต์ โดยจะนับความถี่ที่พบสำหรับแต่ละเว็บไซต์
  • เลือกจุดต่อไป โดยจำนวนจุดที่จะค้นหาขึ้นอยู่กับความยาวของบทความ ยิ่งยาวมาก ยิ่งมากจุดที่จะค้นหาเพื่อให้มีความแม่นยำมากที่สุด
  • เมื่อตรวจสอบครบจุดที่ต้องการแล้ว ประมวลผลจากความถี่เว็บไซต์ โดยหากพบว่าความถี่มีโอกาสที่จะละเมิดจากแหล่งดังกล่าว (เช่นหลายจุดพบว่ามีเว็บไซต์นี้เหมือนกัน) ก็จะดำเนินการแจ้งละเมิด พร้อมมากสุด 5 รายชื่อเว็บไซต์ที่มีความถี่มากที่สุด และแจ้งผู้ที่เริ่มบทความโดยใช้ ผู้ใช้:BotKung/uw-copyright หากผู้เริ่มเขียนเป็นผู้ใช้ที่ล็อกอิน และแจ้งผู้ใช้ที่แก้ไขบทความมากที่สุดเกิน 1 ครั้งโดยไม่นับการแก้ไขที่ใช้สคริปต์จัดให้ โดยจะใช้ข้อความ ผู้ใช้:BotKung/uw-copyright-mcu

ลิงก์ข้ามภาษาแก้ไข

เรียกรายชื่อบทความใน ปรับปรุงล่าสุด จากนั้นในแต่ละหน้าบทความและหมวดหมู่ ผมจะดำเนินการดังนี้

  • ตรวจสอบและหากพบว่ามีลิงก์ไปวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ผมก็จะทำการโหลดหน้าในวิกิพีเดียอังกฤษ
  • ในหน้าวิกิอังกฤษ ตรวจสอบว่ามีลิงก์ไปวิกิพีเดียภาษาไทยหรือไม่ หากไม่มีผมก็จะทำการใส่ลิงก์ข้ามภาษามาที่วิกิพีเดียไทย
  • ในหน้าวิกิอังกฤษ หากพบว่ามีลิงก์ไทย จะตรวจสอบว่าลิงก์มาหน้าบทความไทยปัจจุบันหรือไม่ หากไม่จะทำการอัปเดตลิงก์
  • เปรียบเทียบจำนวนลิงก์ข้ามระหว่างบทความไทย และบทความอังกฤษ หากบทความอังกฤษมากกว่า ผมจะลบลิงก์ข้ามในบทความไทย และใส่ลิงก์ข้ามจากบทความอังกฤษแทนที่ โดยเชื่อว่าวิกิอังกฤษจะมีลิงก์ข้ามอัปเดตที่สุด
  • หรือหากพบว่าลิงก์ข้ามภาษาไปวิกิอังกฤษ ในบทความไทยส่งไปหน้าเปลี่ยนทาง ผมก็จะทำการอัปเดตลิงก์ข้ามภาษาเช่นเดียวกับขั้นตอนก่อนหน้านี้ โดยจะใส่ลิงก์ข้ามจากบทความอังกฤษหลังจากเปลี่ยนทางแทนที่
  • ในกรณีที่ลิงก์ข้ามไปบทความที่ไม่มีในวิกิอังกฤษ ผมจะทำการลบลิงก์ข้ามในบทความไทยออก เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน และเข้าใจผิด

ตัวอย่างการทำงาน ตัวอย่างการทำงาน 2 ตัวอย่างการทำงาน 3

ตรวจสอบข้อความไม่ได้ลงชื่อแก้ไข

เรียกรายชื่อหน้าพูดคุยและหน้าในหมวดหมู่:หน้าอื่นนอกเหนือจากหน้าพูดคุยที่มีการลงชื่ออัตโนมัติจาก ปรับปรุงล่าสุด จากนั้นแต่ละบทความ ผมจะดำเนินการดังนี้

  • เรียกประวัติของหน้าดังกล่าว จากนั้นตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงข้อความระหว่างรุ่น
  • หากเป็นหน้าใหม่ ตรวจสอบว่ามีการลงชื่อต่อท้ายหรือไม่ หากไม่ ลงชื่อ
  • หากมีมากกว่า 1 รุ่น เทียบตรวจสอบความแตกต่าง เฉพาะส่วนที่มีข้อความเพิ่มขึ้น จากนั้นดึงส่วนบรรทัดสุดท้ายของแต่ละกลุ่มข้อความใหม่ว่ามีการลงชื่อหรือไม่ หากไม่ลงชื่อ
  • ซึ่งการลงชื่อ จะตรวจสอบว่าเป็นผู้ใช้ล็อกอินหรือไม่ โดยหากเป็นผู้ใช้ล็อกอินจะใช้แม่แบบ {{ไม่ได้ลงชื่อ}} และสำหรับผู้ใช้ไม่ได้ล็อกอิน จะใช้แม่แบบ {{ไม่ได้ลงชื่อไอพี}}
  • ทดสอบความสามารถนี้ได้ที่หน้านี้ ตัวอย่างการทำงาน
  • ตัวอย่างที่ไม่รองรับเนื่องจากว่าไม่สามารถยืนยันได้เพียงพอ: ตัวอย่างไม่รองรับ 1

เปลี่ยนชื่อหมวดหมู่แก้ไข

บอตคุงสามารถเปลี่ยนชื่อหมวดหมู่ตามที่ต้องการได้ โดยเพียงแค่บอกชื่อหมวดหมู่เดิม และชื่อหมวดหมู่ใหม่ที่ต้องการ จากนั้นผมจะทำการดึงรายชื่อบทความในหมวดหมู่เดิมมาทั้งหมด และเปลี่ยนชื่อหมวดหมู่ในบทความที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และ sortkey จะคงเดิมเหมือนก่อนหน้าที่จะเปลี่ยนชื่อ หากคุณมีความต้องการจะเปลี่ยนชื่อหมวดหมู่ ทำได้เพียงแค่แจ้งที่หน้าบริการเปลี่ยนชื่อหมวดหมู่

ตรวจสอบ ย้อนการก่อกวน และแจ้งผู้ใช้แก้ไข

 
บอตคุงเก็บรายชื่อผู้ที่ถูกเตือนการก่อกวน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาล่าสุด
 
บอตคุงบันทีกข้อมูลการก่อกวนไปในฐานข้อมูลเพื่อใช้ทำสถิติ

ปัจจุบัน ผู้ใช้:JBot ได้คอยตรวจสอบการก่อกวนจากหน้าที่ปรับปรุงล่าสุดประมาณทุกนาที โดยหากพบว่าการแก้ไขดังกล่าวเป็นการทดลองเขียน เขียนเล่น ไร้สาระ อาจละเมิดลิขสิทธิ์ หรืออาจเข้าข่ายการก่อกวน เจบอตก็จะดำเนินการย้อนการแก้ไขดังกล่าว และแจ้งผู้ใช้ ซึ่งผู้ใช้ดังกล่าวก็จะถูกเพิ่มไปในรายชื่อชั่วคราวที่ได้ถูกเตือนอย่างที่เห็นในภาพ โดยปัจจุบันรายชื่อผู้ใช้จะเก็บไว้เฉพาะผู้ใช้ที่ถูกเตือน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาเท่านั้น โดยในกรณีที่บอตคุงแจ้งเตือน บอตคุงจะตรวจสอบก่อนว่าผู้ใช้ดังกล่าวเคยถูกเตือนมาก่อนหรือไม่ และหากถูกเตือนมาแล้ว ก็จะดำเนินการที่เหมาะสมสำหรับขั้นดังกล่าว และหากเมื่อไรที่ผู้ใช้ดังกล่าวถูกบล็อก หรือผ่านไปแล้ว 24 ชั่วโมง ผู้ใช้ก็จะถูกลบจากรายชื่อออกเพื่อรีเซตเริ่มต้นใหม่

ในการย้อนการแก้ไขแต่ละครั้ง บอตคุงจะทำการบันทึกข้อมูลรายละเอียดไปในปูม เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ภายหลังถึงสาเหตุที่บอตคุงได้ย้อนการแก้ไขดังกล่าว

เก็บกวาดแก้ไข

ความสามารถเก็บกวาด ไม่เหมือน กับเก็บกวาดในสคริปต์จัดให้ โดยความสามารถหลายอย่างได้นำมาจากสคริปต์จัดให้ ในขณะที่บางความสามารถมีเฉพาะในบอตคุงเท่านั้น เหตุผลที่แตกต่างคือบอตคุงจะแก้ไขสิ่งที่มีความเสี่ยงต่ำ ความเหมาะสม และเป้าหมายแตกต่างกัน

แจ้งลิงก์แทรกไปภาษาอื่น
  • ในหน้าบทความ หากพบว่ามีลิงก์ข้ามไปภาษาอื่นในส่วนเนื้อหาบทความ เก็บกวาดจะทำการใส่ {{ลิงก์ไปภาษาอื่น}} ที่ส่วนบนสุดของบทความ


แจ้งต้องการหมวดหมู่
  • ไม่มีความสามารถนี้ ในบอตคุง


แก้ลิงก์ภายใน
  • ไม่มีความสามารถนี้ ในบอตคุง


แก้โค้ด HTML
  • เปลี่ยน <br/> ไปเป็น <br /> ตามมาตรฐาน XHTML
  • เปลี่ยน &prime &amp &minus &times &mdash &ndash ไปเป็นตัวอักษรรูปแบบยูนิโค้ดแทน เพื่อให้อ่านง่าย


จัดรูปแบบ
  • ลบลายเซ็นในหน้าบทความ
  • เว้นช่องว่างระหว่าง "พ.ศ." หรือ "ค.ศ." กับตัวเลขเช่น พ.ศ.1234 จะปรับเปลี่ยนเป็น พ.ศ. 1234 เพื่อให้อ่านง่าย และยังแก้ไข "พศ." และ "คศ." เช่นกัน
  • ย้ายแม่แบบแจ้งภาษาอย่าง (อังกฤษ) จากด้านหน้ารายชื่อลิงก์และในอ้างอิง ไปไว้ด้านหลังแทนเพื่อให้การเรียงลำดับตรงกันหมด (ตัวอย่างการทำงาน)
  • จัดแม่แบบขั้นสูงโดยย้ายเครื่องหมาย "|" ไปด้านหน้าสุดหากอยู่ด้านท้ายสุด เช่น ชื่ออังกฤษ = โรงเรียน | ไปเป็น | ชื่ออังกฤษ = โรงเรียน เพื่อให้อ่านง่าย (ตัวอย่างการทำงาน ตัวอย่างการทำงาน 2)
  • จัดแม่แบบขั้นสูงโดยเว้นช่องว่างระหว่างเครื่องหมาย "|" และเครื่องหมาย "=" ให้อ่านง่ายขึ้น (ตัวอย่างการทำงาน ตัวอย่างการทำงาน 2)
  • เปลี่ยน ==หัวข้อ== ไปเป็น == หัวข้อ == เพื่อให้อ่านง่าย
  • เปลี่ยน = หัวข้อ = ไปเป็น == หัวข้อ == เพื่อไม่ให้หัวข้อเด่นไป ซึ่งควรใช้เครื่องหมายเท่ากับสองตัว
  • ใส่ช่องว่าง ระหว่าง * หรือ # หากไม่มีเพื่อให้อ่านง่าย เช่น *รายการ ไปเป็น * รายการ


ปรับเปลี่ยนนโยบาย
  • เปลี่ยน [[category: ไปเป็น [[หมวดหมู่:
  • เปลี่ยน [[template: ไปเป็น [[แม่แบบ:
  • เปลี่ยน image: ไปเป็น ไฟล์:
  • เปลี่ยนหัวข้อ แหล่งอ้างอิง หนังสืออ้างอิง ข้อมูลอ้างอิง และคำอื่น ๆ ที่ใกล้เคียงกันไปเป็น อ้างอิง
  • เปลี่ยนหัวข้อ ดูเพิ่มเติม ดูเพิ่มที่ หัวข้ออื่นที่เกี่ยวข้อง และคำอื่น ๆ ที่ใกล้เคียงกันไปเป็น ดูเพิ่ม
  • เปลี่ยนหัวข้อ เว็บไซต์อื่น ลิงก์ภายนอก ลิงค์ภายนอก โยงภายนอก แหล่งข้อมูลอื่น และคำอื่น ๆ ที่ใกล้เคียงกันไปเป็น แหล่งข้อมูลอื่น
  • เปลี่ยนหัวข้อ ประวัติความเป็นมา ความเป็นมา ประวัติส่วนตัว และคำอื่นๆที่ใกล้เคียงกันไปเป็น ประวัติ
  • ย้ายโครงไปหลังหมวดหมู่


แก้สระซ้อน


แก้คำสะกดผิดบ่อย


รายชื่อคำที่ตรวจสอบอยู่ในสคริปต์จัดให้ และบอตคุงรุ่นล่าสุด ซึ่งมีมากกว่า 80 รายการ โดยบางส่วนนำมาจากที่ใช้ในน้องบอต และคำที่มักเขียนผิด เรียงตามลำดับคำที่ตรวจสอบ:

คำที่ตรวจสอบ คำที่แก้แทนที่ สคริปต์จัดให้ บอตคุง น้องบอต[1] หมายเหตุ
_กฏ _กฎ      
_เกมส์ _เกม    
ก๊กกะ, กิ๊กกะ, กิกะ จิกะ     ระวัง ทะกิกะวะ และอีกมากมาย คำว่า กิกะ ไม่ควรนำมาใช้เป็นอย่างยิ่ง (แยก false positive ยากจัด)
กฏหมาย กฎหมาย      
กรกฏาคม กรกฎาคม    
กระทั้ง กระทั่ง    
กราฟฟิค, กราฟฟิก กราฟิก    
กษัตรย์ กษัตริย์    
กิติมศักดิ์ กิตติมศักดิ์    
ขาดดุลย์ ขาดดุล    
คริสตศตวรรษ คริสต์ศตวรรษ    
คริสตศักราช คริสต์ศักราช    
คริสตศาสนา คริสต์ศาสนา    
คริสต์กาล คริสตกาล    
คริสต์เตียน คริสเตียน    
คริสมาส คริสมาสต์ คริสต์มาส    
คลีนิก คลินิก    
คำนวน คำนวณ    
เคเบิ้ล เคเบิล    
จักรสาน จักสาน    
โครงการณ์ โครงการ    
งบดุลย์ งบดุล    
ซอฟท์แวร์ ซอฟต์แวร์      
ซีรี่ส์ ซีรีย์ ซีรี่ย์ ซีรีส์    
เซ็นติ เซนติ    
เซอร์เวอร์ เซิร์ฟเวอร์    
ฑูต ทูต    
ดอทคอม, ด็อทคอม, ด็อตคอม ดอตคอม    
ดอทเน็ท, ดอตเน็ท, ด็อตเน็ต, ด็อทเน็ต, ดอทเน็ต, ดอทเนท ดอตเน็ต    
ถ่วงดุลย์ ถ่วงดุล    
ทะเลสาป ทะเลสาบ     ระวังวรรณกรรมที่ใช้ชื่อ ทะเลสาป
เทมเพลท เทมเพลต    
ธุระกิจ ธุรกิจ    
นิวยอร์ค นิวยอร์ก      
โน๊ต โน้ต  
บรรได บันได    
บรรเทิง บันเทิง     ระวังคุณกรรณิการ์ บรรเทิงจิตร
บราวเซอร์ เบราเซอร์ เบราว์เซอร์      
บล็อค บล๊อค บล๊อก บล็อก    
เบรค เบรก     ระวังกล้ามเนื้อ? กลุ่มเบรคิไอ เบรคิโอ ทั้งหลาย
ไบท์ ไบต์     ระวัง ขบวนการจาโคไบท์
ปฎิ ปฏิ    
ปฏิกริยา ปฎิกริยา ปฏิกิริยา      
ปรากฎ ปรากฏ    
ปราถนา ปรารถนา    
ปีรามิด ปิระมิด พีระมิด      
โปรเจค โปรเจคท์ โปรเจคต์ โปรเจ็ค โปรเจ็คท์ โปรเจ็คต์ โปรเจกต์    
โปรโตคอล โพรโทคอล    
ผลลัพท์ ผลลัพธ์    
ผูกพันธ์ ผูกพัน    
ฝรั่งเศษ ฝรั่งเศส    
ฟังก์ชั่น ฟังก์ชัน    
ภาพยนต์ ภาพยนตร์      
มิวสิค มิวสิก  
ไมโครซอฟต์ ไมโครซอฟท์    
เยอรมันนี เยอรมนี    
รถยนตร์ รถยนต์    
ร็อค ร็อก  
ล็อค ล็อก     ระวังชื่ออื่น ๆ
ลอส แองเจลิส, ลอส แองเจลลิส,ลอส แองเจลีส, ลอสแองเจลิส, ลอสแองเจลีส,

ลอสแองเจลลิส, ลอสแองเจอลิส, ลอสแองเจอลีส, ลอสแอนเจลลิส

ลอสแอนเจลิส    
ลายเซ็นต์ ลายเซ็น    
ลิ้งค์ ลิ๊งค์ ลิ้งก์ ลิ๊งก์ ลิงก์    
ไลท์โนเวล ไลค์โนเวล ไลก์โนเวล ไลต์โนเวล  
เวคเตอร์ เวกเตอร์    
เวทย์มนตร์ เวทย์มนต์ เวทมนต์ เวทมนตร์    
เวบไซท์, เวบไซต์, เวบไซท์, เว็บไซท์, เว็บไซต เว็บไซต์      
เวอร์ชั่น เวอร์ชัน    
เวิล์ด เวิลด์    
ศรีษะ ศีรษะ     สจห. ไม่แก้เฉพาะ "ศรีษะเกษ" เนื่องจากเป็นคำเฉพาะ ชื่อตำบลในจังหวัดน่าน (อธิบาย)
สคริปท์, สครปต์ สคริปต์      
สเตชั่น สเตชัน    
สมดุลย์ สมดุล    
สังเกตุ สังเกต    
สวดมน, สวดมนตร์ สวดมนต์    
สวรรณคต สวรรคต    
อโดบี อะโดบี    
อะนิเม อานิเมะ อะนิเม อนิเมะ     ตามการสรุปใหม่ในการอภิปรายหน้านี้
อนุญาติ อนุญาต    
อลูมิเนียม อะลูมิเนียม    
ออบเจ็ค, ออปเจ็ค, ออปเจค อ็อบเจกต์    
อัพเด็ต, อัพเดต, อัพเดท, อัปเด็ต อัปเดต    
อัพโหลด อัปโหลด    
อินเตอเน็ต, อินเตอร์เน็ต, อินเตอร์เนต, อินเทอร์เนต อินเทอร์เน็ต      
อิเล็กโทรนิกส์ อิเล็กทรอนิกส์      
อิสระภาพ อิสรภาพ    
เอ็กซ์ เอกซ์  
เอ็นจิ้น, เอ็นจิน, เอนจิ้น เอนจิน    
เอล์ฟ เอลฟ์    
เอาท์พุต, เอาท์พุท เอาต์พุต    
แอปพลิเคชั่น แอพพลิเคชั่น แอพพลิเคชัน แอพพลิคเคชัน แอปพลิเคชัน      
ทรง(เสวย|ประชวร|มีพระ|เป็นพระ|เสด็จ|บรรทม|ผนวช|ทอดพระเนตร|สวรรคต) $1   ยกเว้น "วัดทรงเสวย"

คุณสามารถสอบถาม แจ้งปัญหา หรือเสนอแนะความสามารถเพิ่มเติมได้ที่หน้าพูดคุย
ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:คำทับศัพท์ที่ใช้ในวิกิพีเดีย คำที่มักเขียนผิด

คำแนะนำถึงผู้ควบคุมบอต ถ้าเป็นไปได้ให้ใช้นิพจน์ปกติในการหาข้อความ เพื่อให้ไม่เกิดกรณีเช่น โปรเจคท์ => โปรเจกต์ท์


ข้อมูลแก้ไข

 
บอตคุงบันทึกข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นก่อนรีสตาร์ตเพื่อสามารถตรวจสอบทีหลังได้
 
บอตคุงใช้ปูมในการเลือกแสดงเฉพาะข้อความที่ต้องการเก็บบันทึก

บอตคุง เขียนขึ้นโดยใช้ภาษาซีชาร์ป ซึ่งทำงานบนดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก 3.5 ซึ่งมีส่วนการทำงานอัตโนมัติโดยจะเริ่มขึ้นเองเมื่อถึงเวลาที่กำหนด หรือสามารถเลือกสั่งให้ทำงานที่ต้องการได้เช่นกัน โดยปกติจะแก้ไข 5 บทความต่อ 1 นาที ซึ่งค่านี้ขึ้นอยู่กับฟังก์ชันที่ทำงานอยู่

บอตคุงเป็นโปรแกรมรูปแบบ multi-threaded โดยจะรันงานคนละ thread แยกออกจาก thread หลัก ทำให้โปรแกรมสามารถรายงานสถานะได้โดยไม่รู้สึกว่ามีอาการค้าง รวมถึงทำให้สามารถรันงานได้มากกว่า 1 พร้อมกันได้ โดยปัจจุบันทีทีบอต และไอบอตยังได้ร่วมใช้โปรแกรมเดียวกัน และสามารถรันงานแตกต่างกันพร้อมกันได้

บอตคุงยังมีความสามารถที่จะรีสตาร์ตโปรแกรมด้วยตัวเองในกรณีที่ได้มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น ทำให้การทำงานต่อเนื่อง ไม่ติดขัด

ปัจจุบัน บอตคุงได้เพิ่มความสามารถส่วนปูม โดยเพื่อให้สามารถเลือกข้อความเฉพาะที่ต้องการบันทึกเก็บไว้แม้ว่าโปรแกรมปิดไปแล้ว เพื่อวิเคราะห์เพิ่มเติม ป้องกันสูญหาย หรือใช้เพื่อให้สังเกตง่ายขึ้นจากข้อความการทำงานปกติ โดยจะบันทึกไปในหน้าปูมโดยเฉพาะ

ล่าสุดได้พัฒนาให้เชื่อมต่อกับฐานข้อมูลไมโครซอฟท์ ซีควลเซิร์ฟเวอร์ เอกซ์เพรส 2005 เพื่อบันทึกและคำนวณสถิติเกี่ยวข้องกับการก่อกวนในส่วนโครงการศึกษาและวิจัยการก่อกวน

อัปเดตเกี่ยวกับข้อจำกัดทางเทคนิคเรื่องภาพแก้ไข

ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2551 ทางผมได้ออกบอตคุงรุ่นใหม่ที่ได้พัฒนาให้แก้ไขข้อจำกัดทางเทคนิคดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว โดยหันไปใช้ Mediawiki API ตัวใหม่ที่เปิดให้สามารถเรียกข้อมูลเกี่ยวกับภาพได้แทนการดึงข้อมูลแบบเก่า ซึ่งวิธีใหม่ไม่เพียงแค่สามารถดึงผู้ที่อัปโหลดล่าสุดเท่านั้น แต่ยังสามารถดึงข้อมูลว่าภาพดังกล่าวเป็นภาพคอมมอนส์หรือไม่

เนื่องด้วยข้อจำกัดทางเทคนิค เมื่อก่อน บอตคุงจะทำการดึงรายชื่อภาพที่จะตรวจสอบจากปูมการอัปโหลด โดยแต่ละครั้งนั้น บอตคุงจะดึงรายชื่อภาพถึง 300 ภาพต่อครั้งมาตรวจสอบรายชั่วโมง ซึ่งสาเหตุที่จำเป็นต้องดึงภาพจำนวนมาก เพื่อที่จะสามารถตรวจสอบการแก้ไขหลังจากภาพอัปโหลดไปแล้ว ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้แทนการดึงรายชื่อภาพที่แก้ไขล่าสุด เพราะไม่สามารถยืนยันทางเทคนิคได้ว่าภาพดังกล่าวมาจากที่คอมมอนส์หรือไม่ (ในขณะนั้น แม้ว่าสามารถเขียนให้ตรวจสอบไปที่คอมมอนส์ได้สำหรับแต่ละภาพ แต่ว่าจะมีผลกับประสิทธิ์ภาพค่อนข้างสมควร เลยไม่ทำ) นอกจากนั้น โดยข้อจำกัดทางเทคนิค จึงสามารถดึงเรียกรายชื่อเพียงผู้ที่แก้ไขหน้าดังกล่าวล่าสุดเท่านั้น ซึ่งความจริงแล้ว ไม่สามารถดึงข้อมูลจากภาพได้เลย (ในขณะนั้น แม้ว่าสามารถเขียนให้ดึงด้วยการโหลดหน้าของแต่ละภาพ แต่ว่าจะมีผลกับประสิทธิภาพค่อนข้างสมควร เลยไม่ทำ)

ปัจจุบัน บอตคุงจะดึงรายชื่อภาพจากปูมการอัปโหลดที่อัปโหลด 3 ชั่วโมงที่ผ่านมา และจะดึงรายชื่อภาพที่แก้ไขล่าสุด 3 ชั่วโมงที่ผ่านมา โดยจะตรวจสอบเฉพาะภาพที่เก็บอยู่บนวิกิพีเดียไทยเท่านั้น วิธีใหม่นี้จะลดจำนวนภาพที่บอตคุงต้องดาวน์โหลด และตรวจสอบน้อยลงกว่าเดิม มีประสิทธิภาพขึ้นกว่าเดิม รวมถึงจะทำให้สามารถตรวจภาพที่แก้ไขล่าสุดได้ 100% นอกจากนั้น โค้ดที่ผมใช้ในการทำงานส่วนนี้ เป็นโค้ดที่เขียนขึ้นมาใหม่ และใช้วิธีการดึงข้อมูลใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง ทำให้การดึงข้อมูลรวดเร็วกว่าเดิมมาก

ซึ่งด้วยวิธีปัจจุบัน จะทำให้บอตคุงสามารถเก็บกวาดภาพเก่าได้ทั้งหมดในวิกิพีเดียไทย โดยความพยายามเมื่อก่อนต้องล้มเหลว และพับเก็บไป เพราะว่าบอตคุงไม่สามารถแยกแยะว่าเป็นภาพในคอมมอนส์หรือไม่ ซึ่งบางท่านที่ไม่เข้าใจเบื้องหลังการทำงานทางเทคนิคของมีเดียวิกิซอฟต์แวร์ จึงไม่ได้รับทราบถึงบางกรณี และเบื้องหลังในหลายสาเหตุ ว่าทำไมผมถึงเลือกที่จะไม่ดำเนินตรวจสอบกับภาพทั้งหมด เวลานโยบายใหม่ของภาพเพิ่มขึ้นมา

ผมในฐานะผู้พัฒนาบอตคุง ขอขอบคุณทุกๆท่านที่ให้ความสนับสนุนบอตคุงมาตลอดอย่างดี

รายละเอียดข้อจำกัดทางเทคนิคเรื่องภาพ (ไม่มีแล้วในปัจจุบัน)แก้ไข

ข้อความด้านล่างนี้คัดลอกมาจากหน้า คุยกับผู้ใช้:Pi@k

ขอบคุณมากครับที่ได้แจ้งให้ทราบ ผมขอเรียนอย่างนี้นะครับผม เนื่องจากข้อจำกัดทางเทคนิค บอตคุงจะทำการแจ้งผู้ที่แก้ไขภาพล่าสุดครับผม ซึ่งเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว จึงแนะนำให้ผู้ที่ต้องการแก้ไขภาพนั้น ทำการช่วยตรวจสอบปัญหาภาพก่อนการแก้ไขอื่น ๆ หรือทำการแจ้งแทนบอต เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเองโดนแจ้งครับผม ขอบคุณครับ --Jutiphan | พูดคุย - 12:39, 9 สิงหาคม 2007 (UTC)

ยินดีครับ เรื่องข้อจำกัดทางเทคนิคก็พอจะเข้าใจครับ แต่คำอธิบายต่อมาไม่ค่อยเข้าใจ สรุปแล้วไม่ต้องการให้คนอื่นไปยุ่งกับภาพที่อัปโหลดใหม่ (ยกเว้นการแก้ปัญหา และเอาป้ายแสดงปัญหาออก) ใช่หรือเปล่าครับ? --Pi@k 13:24, 9 สิงหาคม 2007 (UTC)
คือผู้ที่แก้ไข ก็สามารถทำการช่วยแจ้งก่อนบอตคุงเข้ามาแจ้งได้ครับผม ดังนั้นพอบอตคุงเห็น ก็พบว่าได้รับการแจ้งเรียบร้อยแล้วครับ ซึ่งมีเพียงไม่กี่ผู้ใช้ที่แก้ไขภาพ จึงอยากฝาก ๆ ให้ช่วย ๆ กันด้วย หลายกรณีบอตคุงก็ไม่สามารถตรวจสอบได้เหมือนกัน ต้องการคนช่วยตรวจสอบ บอตก็ช่วยได้แค่ระดับหนึ่งเท่านั้นครับผม ส่วนเรื่องกรณีศึกษานั้น ผมเองไม่แน่ใจเหมือนกันว่าทำไม ตรงนี้คงต้องรอดูว่าจะมีกรณีแบบนี้เกิดขึ้นอยู่หรือเปล่า หากพบเจอกรณีแบบนี้อีก รบกวนช่วยเข้ามาแจ้งเพิ่มเติมด้วยนะครับผม ขอบคุณมากครับ --Jutiphan | พูดคุย - 03:45, 17 สิงหาคม 2007 (UTC)
โดยปกติแล้ว บอตคุง จะดูจากประวัติของภาพครับผม แต่ไม่ใช่ประวัติของไฟล์ภาพ (ซึ่งจะดูจากประวัติการแก้ไขของภาพนั้นเอง) แต่กรณีศึกษาที่ยกมานั้น หลังจากดูใหม่แล้ว ผมอาจจะพอเข้าใจแล้วว่าคุณ Mda แม้แสดงในประวัติ แต่ความจริงแล้ว ประวัติการแก้ไขไม่ได้มีการแก้ไขภาพดังกล่าว เวลาอัปโหลดทับ จึงแจ้งที่คุณ Pi@k ครับผม (โดยประวัตินั้น จะดึงประวัติอื่น ๆ มาด้วย อย่างเช่นประวัติการล็อก อะไรแบบนี้อะครับ) --Jutiphan | พูดคุย - 04:13, 17 สิงหาคม 2007 (UTC)
เผื่อไม่เข้าใจ คืออย่างนี้นะครับผม เวลาอัปโหลดครั้งแรก วิกิพีเดียจะสร้างหน้าภาพขึ้นมา จึงนับเป็นการแก้ไข แต่เวลาอัปโหลดภาพทับ สังเกตว่าจะไม่มีการแก้ไขที่หน้าภาพ แม้ว่าคุณจะระบุหมายเหตุ หรือเปลี่ยนสัญญาอนุญาต จึงไม่ถือว่าเป็นประวัติการแก้ไขครับผม โดยเวลาเราดูประวัตินั้น มันจะแสดงประวัติอื่น ๆด้วย นอกเหนือจากประวัติการแก้ไข (พวกปูมต่าง ๆ) --Jutiphan | พูดคุย - 04:15, 17 สิงหาคม 2007 (UTC)
ขณะนี้ยังทำไม่ได้ทีครับ ซึ่งสาเหตุทางเทคนิคเป็นเพราะว่า วิกิพีเดียไม่มี API หรือหน้าฟังก์ชันที่สามารถเรียกประวัติของไฟล์มาได้ครับผม ไม่เหมือนเวลาเรียกประวัติการแก้ไขของหน้าต่าง ๆ ซึ่งจริง ๆ แล้วหากจะทำจริง ๆ ก็อาจเป็นไปได้ครับ โดยใช้วิธีคล้ายกับสคริปต์จัดให้ แต่ตรงนี้ต้องไปศึกษาอะครับ ความแม่นยำจะต่างกัน โดยจะเสียเวลากว่าด้วยการไปโหลดหน้าภาพมาก่อน จากนั้น parse ส่วนประวัติไฟล์ภาพ เพื่อดึงผู้ที่อัปโหลดล่าสุดครับผม --Jutiphan | พูดคุย - 04:21, 17 สิงหาคม 2007 (UTC)
ขอบคุณครับ --Pi@k 04:26, 17 สิงหาคม 2007 (UTC)

กว่าจะมาเป็นบอตคุงในวันนี้แก้ไข

ปัจจุบันนี้ บอตคุง ได้มีอายุครบ 1 ปีแล้วจากวันที่ 5 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แก้ไขทั้งหมดกว่า 36,000 ครั้งด้วยกัน โดยมีเป้าหมายแรกคือนำความสามารถเก็บกวาดที่มีอยู่ในสคริปต์จัดให้ มารันบนบอต โดยมีเป้าหมายหลักคือให้บทความในวิกิพีเดียเป็นรูปแบบ และมาตรฐานเดียวกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหลักการทับศัพท์ หรือรูปแบบบทความก็ตาม

ปัจจุบันบอตคุงมีโค้ดทั้งหมดเกือบ 6,000 บรรทัด โดยมีงานที่ได้เขียนขึ้นไว้มากกว่า 20 งานและรันบน 3 วิกิ 4 บัญชีด้วยกัน ซึ่งใช้สำหรับเก็บกวาด ทำลิงก์ข้ามภาษา ตรวจสอบลิขสิทธิ์ เปลี่ยนแม่แบบ ย้ายแม่แบบ เปลี่ยนหมวดหมู่ ตรวจสอบสัญญาอนุญาตภาพ และอื่นๆอีกหลายงานด้วยกันที่บอตคุงได้เคยทำผ่านไปแล้ว และกำลังทำอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งผมได้เคยดูบอตบนวิกิพีเดียอังกฤษแล้ว มีหลาย 10 บอตด้วยกัน แต่ผมเชื่อว่า ไม่มีบอตใดบนวิกิพีเดียอังกฤษ หรือไทยที่ได้มีความสามารถมากเท่าบอตคุง และใช้ GUI

บอตคุงเป็นบอตแรกในวิกิพีเดียไทย ที่มีคนไทยได้เขียนโค้ดงานสำหรับบนวิกิพีเดียไทยโดยเฉพาะ ไม่ได้นำโค้ดมาใช้อย่างบอตอื่น ๆ ที่ได้รันกัน จึงทำให้บอตคุงเป็นบอตเดียวบนวิกิพีเดียไทย ที่ได้รันงานมากกว่างานปกติที่เคยมีทำกันอยู่แล้ว

บอตคุง ซอฟต์แวร์กับการทำงานที่ "ผิด"แก้ไข

บางคนอาจสงสัยว่าทำไม การทำงานบางอย่าง บอตคุงมีข้อจำกัดทางเทคนิค แต่ยังดำเนินงานดังกล่าว ซึ่งนั้นคือเพราะว่า นี่คือวิธีที่ดีที่สุดที่โปรแกรมสามารถทำได้ ณ ขณะนั้น และในกรณีส่วนใหญ่ หรือแทบทั้งหมดทำได้ถูกต้อง ซอฟต์แวร์ไม่สามารถถูกต้องไม่มีที่ติได้ 100%

ปัจจุบันนี้มีเดียวิกิมีปัญหาการเรียงภาษาไทยอยู่ ซึ่งเป็นข้อจำกัดทางเทคนิค ถามว่าผิดไหม ผิด แต่เพราะว่าเรารู้ว่านี่เป็นข้อจำกัดทางซอฟต์แวร์ ปัจจุบันทางวิกิพีเดียไทย จึงได้ใช้หลายวิธี (workarounds) เข้าช่วยเพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว

ผมยอมรับว่า เวลาออกความสามารถใหม่ทีไรนั้น บอตคุงมักจะทำอะไรไม่ถูกต้องตามที่ควร ซึ่งผมเองจะติดตามและคอยแก้ บางความสามารถก็จำเป็นที่จะต้องแก้เรื่อย ๆ เพราะอาจจะโผล่มาได้ใหม่เช่นอย่างกรณีเก็บกวาด ตอนที่เก็บกวาดคำว่า "ร็อก" เป็น "ล็อก" นั้น เมื่อเริ่มรันจริง ๆ แล้วถึงจะได้เห็นผลข้างเคียง ซึ่งตอนแรกก็อาจมองว่าไม่มีปัญหาอะไร แต่รันไปก็อาจจะเจอกรณีอย่าง บุคคลชื่อ "ร็อก" หรือ ตัวละครชื่อ "ร็อก" จากนั้นก็ต้องทำการแก้ไขการตรวจสอบต่อไป ถามว่าเป็นไปได้ไหมที่จะสามารถคิดถึงโอกาสที่เกิดขึ้นได้ในบทความทั้งหมดทุกกรณี ผมยอมรับว่าเป็นไปไม่ได้

ถามว่า การรันงานแต่ละงานมีความเสี่ยงไหม หลายงานมีความเสี่ยง บางงานไม่มีความเสี่ยง อย่างกรณีรันเก็บกวาด ก็ถือว่ามีความเสี่ยง แต่อยู่ในระดับต่ำ เพราะว่าจะเลือกคำที่มีความเสี่ยงต่ำ รวมถึงผ่านการลองใช้ในสคริปต์จัดให้มาก่อน เพื่อให้ผู้ใช้สคริปต์จัดให้ลองทดสอบคำใหม่ว่ามีผลข้างเคียงไหม

ถามต่อว่า ทำไมมีความเสี่ยงแล้วยังรัน ซึ่งทุกอย่างแล้วนั้นมีความเสี่ยงได้หมด และผิดพลาดได้ ผู้ใช้วิกิพีเดียกว่า 95% ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ซึ่งรันบนเครื่องคอมพิวเตอร์มากกว่า 90% ทั่วโลกก็สามารถมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ให้เห็นบ่อยๆ ถามว่า ซอฟต์แวร์ห่วยไหม บางคนอาจบอกว่าใช่ แต่หากศึกษาแล้ว อาจบอกว่าไม่ ซึ่งปัจจุบันผู้ใช้จำนวนมากได้ใช้ Windows XP ซึงมีเสถียรภาพสูง แต่ถามว่า มีล่ม มีค้างไหม ก็มีโอกาสมีได้เช่นกัน

ไม่มีอะไรง่ายเหมือนที่คิดแก้ไข

ความสามารถต่าง ๆ ที่เห็นเหมือนง่าย แต่ไม่มีอะไรง่ายเหมือนที่คิดด้วยรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย ผมขอยกกรณีตัวอย่างจากเหตุการณ์จริง ที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550 ที่เกิดขึ้นจากคำของ่าย ๆ เพียง 1-2 ประโยค:

"สวัสดียามดึกครับ (เดี๋ยวผมคงต้องนอนแล้ว) สคริปต์นี่ มันจัดหน้าวรรคหน้าวรรคหลังวงเล็บได้ไหมครับ (แบบว่าขี้เกียจจัดหน้า..) ก็..สู้เขานะครับคุณ Jutiphan อ้อ..แล้วทำให้มันเคาะวรรคระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ แล้วก็ ตัวเลขกับตัวอักษรได้ไหมครับ?"

ผมตอบกลับไปอย่างเรียบง่ายว่า

"ได้ครับผม ไอเดียดีแหะ เดี๋ยวผมดูให้ แล้วลองเพิ่มในความสามารถเก็บกวาดดูครับ"

ซึ่งจากการพูดคุยในวันนั้น ก็เริ่มกลายเป็นจริง และถูกบรรจุไปในความสามารถในสคริปต์จัดให้ โดยได้เริ่มเห็นเมื่อวันที่ 12/05/2007 ในรุ่น 4.31 โดยผมได้ลงรายละเอียดว่า

"เพิ่มการทำงานเก็บกวาด โดยจะเว้นช่องว่างระหว่างอักขระ และวงเล็บเช่น ข้อ(อะไร)ความ จะแก้เป็น ข้อ (อะไร) ความ"

แต่ทว่าใครจะไปรู้ว่าความสามารถเพียงเว้นว่างระหว่างวงเล็บจะมีสารพัดปัญหากรณีที่นึกไม่ถึง (หรือไม่ได้นึก) ตามมาอีก 1-2 ปีหลังจากนั้น และอีกหลาย ๆ ปีหลังจากนั้น!

บัญชีแก้ไข

Jutiphan

ดูเพิ่มแก้ไข

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข

  1. การแก้ไขของน้องบอตอาจมีเกิน หรือไม่ครบตามที่แจ้งในตาราง สำหรับรายละเอียดติดต่อ ผู้ใช้:Manop