พูดคุย:รถไฟฟ้าบีทีเอส
รถไฟฟ้าบีทีเอส เคยได้รับการเสนอชื่อให้เป็น บทความคุณภาพ แต่ไม่ผ่านเกณฑ์บทความคุณภาพในเวลานั้น เนื่องจากยังไม่ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะพัฒนาบทความ อย่างไรก็ตาม หากคุณเชื่อว่ามีความผิดพลาดในการพิจารณา คุณสามารถเสนอบทความคุณภาพได้ใหม่ หากคุณคิดว่านี่เป็นความผิดพลาด (วันที่พิจารณา: 23 มกราคม 2563) |
รถไฟฟ้าบีทีเอส เคยได้รับการเสนอชื่อให้เป็น บทความคุณภาพ แต่ไม่ผ่านเกณฑ์บทความคุณภาพในเวลานั้น เนื่องจากยังไม่ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะพัฒนาบทความ อย่างไรก็ตาม หากคุณเชื่อว่ามีความผิดพลาดในการพิจารณา คุณสามารถเสนอบทความคุณภาพได้ใหม่ หากคุณคิดว่านี่เป็นความผิดพลาด (วันที่พิจารณา: 22 ธันวาคม 2014) |
บทความนี้อยู่ในโครงการวิกิต่อไปนี้: | |||||||||||||||||||
|
การเปิดดูหน้าเว็บประจำวันของ รถไฟฟ้าบีทีเอส
กราฟควรแสดงอยู่ที่นี่แต่กราฟถูกปิดใช้งานชั่วคราว จนกว่ากราฟจะเปิดใช้งานอีกครั้ง ดูกราฟเชิงโต้ตอบที่ pageviews.wmcloud.org |
ชื่อบทความ
แก้น่าจะใช้ชื่อทั่วไปที่เรียกกันมากกว่าไหมครับ (บีทีเอส, รถไฟฟ้าบีทีเอส) 203.131.212.68 19:22, 7 พฤษภาคม 2551 (ICT)
- สารานุกรมนะครับ ไม่ใช่หนังสือพิมพ์หัวสี -- Lv.86 อะควาจะชำระประวัติศาสตร์สุโขทัย •ไฟล์:WikiBotany tap.png 19:27, 7 พฤษภาคม 2551 (ICT)
ถ้าสารานุกรมเอาไว้ให้คนทั่วไปอ่าน ก็น่าจะใช้ชื่อทั่วไปนะ
ชื่อประเทศยังใช้ชื่อแบบที่เรียกกันทั่วไปเลย ประเทศซาอุดีอาระเบีย vs ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย [[ประเทศสวิตเซอร์แลนด์] vs สมาพันธรัฐสวิส
ชื่อนักเขียนถ้านามปากกาเป็นที่รู้จักกว่าชื่อจริง ก็ยังใช้นามปากกา ทมยันตี vs วิมล เจียมเจริญ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 58.137.54.36 (พูดคุย | ตรวจ) 20:00, 27 พฤษภาคม 2551 (ICT)
EMU-A2 ชื่อรุ่น ไม่ใช่ Siemens Inspiro นะครับ
แก้ภายในเพจวิกิพีเดียนะครับ มีการแสดง ว่า EMU Type A 2 ชื่อรุ่น ไม่ใช่ Inspiro นะครับ แต่เนื่องจากแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือที่สุด คือสื่อต่างประเทศ ซึ่งสื่อ ก็ไม่สามารถให้แหล่งข้อมูล ที่ซื้อบอกมาเช่นกัน ว่าสื่อเอาคำพูดว่า EMU-A2 คือ Siemens Inspiro มาจากไหน แต่อย่างไรก็ตาม ผมติดต่อเข้าไปในซีเมนส์ และพูดคุยกับวิศวกร เรียบร้อยแล้ว แต่เนื่องาก วิศวกร ยังไม่สามารถออกหนังสือ หรือจดหมายที่เป็นทางการได้ในขณะนี้ ทางวิศวกร ซีเมนส์ กำลังเดินทางไปที่ เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี นะครับ และภายใน 2-3 อาทิตย์นี้ จะได้ แฃะมีจดหมาย อย่างเป็นทางการ ออกมาแน่นอน พร้อมกับ ชื่อเรียก ที่ซีเมนส์คิดว่า เหมาะที่สุด สำหรับประเทศไทย เนื่องจาก ไม่มีแหล่งอ้างอิง ตามนโยบายของวิกิพีเดีย คือ ต้องมีแหล่งอ้างอิง ที่ชัดเจน จึงจะนำเข้าวิกิพีเดียได้ และที่ผมมีตอนนี้ คือคำพูด ของวิศวกร ซีเมนส์หลายๆท่าน จึงยังไม่สามารถ นำลงวิกิพีเดียได้ แต่ก็อยากจะเรียนทุกคนนะครับ ว่า BTS Electric Multiple Unit Type A No.2 ไม่ใช่ ซีเมนส์ อินสไปโร ครับ และบางท่านอาจจะยังไม่ต้องเชื่อก็ได้ แต่เร็วๆนี้ จะมีหลักฐาน จดหมาย และประกาศอย่างเป็นทางการ จากหลายๆแห่ง รวมถึงในกลุ่ม ชมรมรถไฟฟ้าไทย Thailand Electrified Train Club ครับ --Wasin147 (คุย) 17:53, 12 ตุลาคม 2562 (+07)
รถไฟฟ้าสายสีทอง
แก้รถไฟฟ้าสายสีทอง ควรถูกนับเป็นรถไฟฟ้าบีทีเอสหรือไม่? เนื่องจากรถไฟฟ้าสายนี้ ถูกเดินรถ และบริหารจัดการโดยบีทีเอส และหากถูกนับเป็นรถไฟฟ้าบีทีเอส ควรนำคำว่า "รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา" ออกจากการเป็นหัวข้อหรือไม่? --Wasin147 (คุย) 18:12, 27 เมษายน 2563 (+07)
- ส่วนตัวเห็นว่าควรเปลี่ยนบทความนี้กลับเป็นชื่อเดิมครับ คือ "รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา" เพื่อให้เจาะจงไปเลยว่าหน้านี้เกี่ยวข้องกับสายสีเขียวทั้งโครงการ ตามเหตุผลที่มีอยู่ในบทความคือเป็นชื่อพระราชทานและเป็นชื่อเฉพาะ แล้วค่อยสร้างหน้า "รถไฟฟ้าบีทีเอส" ในทำนองเดียวกับบทความ รถไฟฟ้ามหานคร ขึ้นใหม่ เพราะในอนาคตนอกจากสายสีทองแล้ว สายสีเหลือง และสายสีชมพู ก็จะเรียกว่ารถไฟฟ้าบีทีเอสเช่นเดียวกัน เดิมทีเราเคยมีบทความ ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ที่เป็น "ชื่อโครงการจริง" ของรถไฟฟ้าบีทีเอสรวมถึงชื่อระบบของรถไฟฟ้าที่อยู่ในความดูแลของกรุงเทพมหานครไว้อยู่ก่อนแล้ว แต่แอดมินหลายคนมองว่าชื่อบทความนี้เดิมทีเกี่ยวข้องกับตัวบริษัท เลยลบหน้านี้ทิ้งแล้วทำเป็นหน้าเปลี่ยนทางไป บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ แทน
- ป.ล.1 อันที่จริง สายสีทอง ไม่ได้เหมารวมเป็นรถไฟฟ้าบีทีเอส (ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้เคยมีชื่อเขียนว่าเป็นรถไฟฟ้าบีทีเอส) แต่เป็นระบบที่ดำเนินการเหมือนบีทีเอสเด๊ะ ๆ
- ป.ล.2 คนบริหารจัดการจริง ๆ คือ กรุงเทพธนาคม วิสาหกิจของ กทม. บีทีเอส แค่ลงทุนระบบกับเดินรถให้เฉย ๆ ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ ในโครงการ--Magnamonkun (คุย) 22:02, 12 พฤศจิกายน 2563 (+07)
เรื่องสี
แก้จากปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จากที่บีอีเอ็มประกาศข้อความสีรถไฟฟ้าสลับกัน ทำให้เกิดความสับสนในเรื่องสีของสายสุขุมวิทและสายสีสีลมทั้งวงการ เท่าที่ลองหาข้อมูลมามีข้อมูลหลายที่ที่ตรงกับใน M-Map อันได้แก่
- สไลด์นำเสนอนักลงทุนของกลุ่มบีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (ความเห็นส่วนตัว ขนาดของตัวเองยังใช้ผิด)
- สไลด์นำเสนอนักลงทุนของทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ
เท่ากับถ้าอิงตามข้อมูลนี้ จะมีเพียงแค่บีทีเอสซีที่ใช้ผิดอยู่คนเดียวทั้ง ๆ เป็นสีที่บีทีเอสซีใช้งานมาตั้งแต่ต้น
คำถามคือเราควรอ้างอิงข้อมูลไหนดี ข้อมูลที่มาจากแผนแม่บทโดยตรง หรือข้อมูลจากบีทีเอสซี หรือจะแก้ไขปัญหานี้ยังไงดี? ขอความเห็นทุกท่านด้วยครับ
ข้อควรทราบ - ที่วิกิพีเดียภาษาอังกฤษก็มีปัญหาในเรื่องนี้เช่นกัน และทางนั้นยังไม่ได้ข้อสรุปเลยครับว่าจะแก้ไขกันยังไง
Attn. User:Wasin147 --Magnamonkun (คุย) 21:55, 12 พฤศจิกายน 2563 (+07)
- @Magnamonkun: ถ้าต้องการจะอ้างอิงจากกรมการขนส่งทางราง ลองพิจารณาแหล่งอ้างอิงเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 ไหมครับ : อินโฟกราฟฟิก จากกรมการขนส่งทางราง ซึ่งในเมื่อประกาศกรมขนส่งทางรางล่าสุด มีการใช้สีเขียวอ่อนกับสายสุขุมวิท และสีเขียวเข้มสำหรับสายสีลมแล้ว ทุกๆคนคิดว่าเพียงพอหรือยังครับที่จะนำมาใช้อ้างอิงในวิกิพีเดีย --Wasin147 (คุย) 10:26, 8 พฤษภาคม 2564 (+07)
บทความ:สถานีในเส้นทาง
แก้ซึ่งวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2563 รถไฟฟ้าบีทีเอส จะเปิดให้บริการเพิ่ม ได้แก่ สายสีเขียว 7 สถานี และสายสีทอง
ซึ่งบทความสถานี ขอความกรุณาให้ทำเป็นในรูปแบบ "ฉบับร่าง" ไปพลางก่อน จนถึงวันเปิดให้บริการ เนื่องจากข้อมูลอ้างอิงประกอบบทความ ยังมีไม่เพียงพอ มีความเสี่ยงอาจถูกเปลี่ยนหน้า
ดังนั้นขอให้แก้ไขในบทความฉบับร่าง ที่ผมได้สร้างและแก้ไขขึ้นมาแล้วเท่านั้น หากมีแหล่งอ้างอิงที่เพียงพอ สามารถแทรกลงในฉบับร่างได้เลยครับ แล้วค่อยเปลี่ยนจากบทความฉบับร่างเป็นบทความฉบับสมบูรณ์ ซึ่งบทความฉบับร่างสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส อยู่ใน https://th.wikipedia.org/wiki/หมวดหมู่:บทความฉบับร่าง สามารถเข้าไปแก้ไขได้เลยครับ แต่อย่าเพิ่งยกระดับเป็นบทความฉบับสมบูรณ์ ตามเหตุผลข้างต้นที่กล่าวมา. ขอบคุณครับ. --oum (คุย) 08:05, 15 ธันวาคม 2563 (+07)