สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลในฤดูกาล 2003–04

การแข่งขันฟุตบอลประจำปีของสโมสร

ฤดูกาล 2003–04 เป็นฤดูกาลที่ 109 ในประวัติศาสตร์ของสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2003 และสิ้นสุดในวันที่ 30 มิถุนายน 2004 ประกอบด้วยนัดแข่งขันตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงพฤษภาคม สโมสรฯ สิ้นสุดฤดูกาลในพรีเมียร์ลีกโดยเป็นแชมป์ไร้พ่าย (สถิติชนะ 26 นัด และเสมอ 12 นัด) ส่วนในฟุตบอลชิงถ้วย สโมสรฯ ทำผลงานได้ไม่ดีนัก โดยตกรอบรองชนะเลิศเอฟเอคัพและลีกคัพ โดยพ่ายต่อแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดและมิดเดิลส์เบรอตามลำดับ และในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก แพ้ต่อเชลซี ในรอบก่อนรองชนะเลิศ

อาร์เซนอล
ฤดูกาล 2003–04
ประธานสโมสรปีเตอร์ ฮิล-วูด
ผู้จัดการทีมอาร์แซน แวงแกร์
สนามไฮบรี
พรีเมียร์ลีกอันดับที่ 1
เอฟเอคัพรอบรองชนะเลิศ
ลีกคัพรอบรองชนะเลิศ
เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์รองชนะเลิศ
ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกรอบก่อนรองชนะเลิศ
ผู้ทำประตูสูงสุดลีก: ตีแยรี อ็องรี (30)
ทั้งหมด: ตีแยรี อ็องรี (39)
ผู้เข้าชมในบ้านสูงสุด38,184 คน พบกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
(28 มีนาคม 2004)[1]
ผู้เข้าชมในบ้านต่ำสุด27,451 คน พบกับรอเทอรัมยูไนเต็ด
(28 ตุลาคม 2003)[1]
ผู้เข้าชมในบ้านเฉลี่ย38,078 คน[2]
สีชุดเหย้า
สีชุดเยือน

ช่วงต้นฤดูกาล อาร์เซนอลซื้อ-ขายนักเตะค่อนข้างน้อย เนื่องจากต้องการเก็บงบประมาณเพื่อโครงการสร้างสนามฟุตบอลแห่งใหม่ นักเตะคนสำคัญที่ย้ายเข้ามา อาทิ ผู้รักษาประตู เย็นส์ เลมัน (ค่าตัว 1.5 ล้านปอนด์) ต่อมามีการซื้อกองหน้า โฆเซ อันโตนิโอ เรเยส ในช่วงซื้อขายฤดูหนาว ส่วนนักเตะเดิมที่มีอยู่ สโมสรฯ สามารถเก็บรักษาไว้ได้ และเจรจาต่อสัญญาฉบับใหม่กับกัปตันทีม ปาทริก วีเยรา และกองกลาง รอแบร์ ปีแร็ส สำเร็จ เนื่องจากสมาชิกนิ่ง จึงมีการมองว่าอาร์เซนอลเป็นตัวเต็งคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีก เช่นเดียวกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดและเชลซี ซึ่งเศรษฐีพันล้านชาวรัสเซีย โรมัน อับราโมวิช ซื้อไป

อาร์เซนอลเริ่มต้นฤดูกาลอย่างดี ได้อยู่หัวตารางตั้งแต่สี่นัดแรก แต่นัดที่เสมอกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในเดือนกันยายนสร้างเรื่องไม่ดีระหว่างสองสโมสร ผู้เล่นของอาร์เซนอลบางคนถูกสมาคมฟุตบอลอังกฤษปรับเงินจากเหตุทะเลาะวิวาทหมู่หลังจบการแข่งขัน ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน อาร์เซนอลชนะดีนาโมคียิวด้วยประตูเดียว และต่อมามีผลงานน่าประทับใจด้วยการบุกไปยิง 5 ประตูต่ออินเตอร์มิลานที่ซานซีโร ถือเป็นการเริ่มต้นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกที่ดี ต่อมาในช่วงปลายปี สโมสรสามารถเก็บชัยได้ถึง 9 นัดติดต่อกัน ทำให้ตำแหน่งจ่าฝูงมั่นคงขึ้น แต่ในสัปดาห์แรกของเดือนเมษายน สโมสรฯ ตกรอบทั้งเอฟเอคัพและแชมเปียนส์ลีก แต่ในปลายเดือนเดียวกัน สโมสรฯ ก็สามารถรับประกันแชมป์พรีเมียร์ลีก หลังจากที่เสมอ 2–2 กับคู่ปรับท้องถิ่นทอตนัมฮอตสเปอร์

มีผู้เล่น 34 คนลงเล่นให้กับสโมสรฯ ในการแข่งขัน 5 รายการ และมีผู้ทำประตู 15 คน โดยผู้ทำประตูสูงสุดเป็นปีที่สามติดต่อกันคือ ตีแยรี อ็องรี ยิงได้ 39 ประตูใน 51 เกม ทั้งยังได้รับรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของพีเอฟเอจากคะแนนของเพื่อนร่วมอาชีพและรางวัลนักฟุตบอลแห่งปีของสมาคมผู้สื่อข่าวฟุตบอลจากผู้สื่อข่าวฟุตบอล แม้ว่าอาร์เซนอลจะไม่ประสบความสำเร็จในฟุตบอลชิงถ้วย แต่นักวิจารณ์หลายคนก็ถือว่าความสำเร็จในลีกเป็นความสำเร็จแล้ว ทีมได้รับฉายา "ดิอินวินซิเบิล" เหมือนกับเพรสตันนอร์ทเอนด์เคยทำได้ในสมัยฤดูกาลประเดิมของฟุตบอลลีก และหลังจากจบฤดูกาล สโมสรฯ ได้รับถ้วยรางวัลพรีเมียร์ลีกสีทองเมื่อจบฤดูกาล และทีมยังไม่แพ้ทีมใดเป็นจำนวน 49 นัดเป็นสถิติใหม่ ในปี 2012 ทีมอาร์เซนอลชุดฤดูกาล 2003–04 ชนะรางวัล "ทีมยอดเยี่ยม" จากรางวัลพรีเมียร์ลีก 20 ฤดูกาล

ภูมิหลัง

แก้
 
อาร์แซน แวงแกร์ ผู้จัดการของสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล

อาร์เซนอลจบฤดูกาลที่แล้วด้วยอันดับรองชนะเลิศในพรีเมียร์ลีก หลังถูกแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดทำคะแนนแซงในช่วงสิบสัปดาห์สุดท้ายของฤดูกาล[3] อย่างไรก็ตาม สโมสรฯ สามารถคว้าแชมป์เอฟเอคัพ โดยชนะเซาแทมป์ตัน 1–0[4] และผลจากการเริ่มต้นฤดูกาล 2002–03 ที่ดีนั้น ผู้จัดการทีม อาร์แซน แวงแกร์ บอกเป็นนัยว่าทีมของเขาอาจไม่แพ้ทุกการแข่งขันของฤดูกาล "ใช่ว่ามันเป็นไปไม่ได้เมื่อเทียบกับที่เอซี มิลานเคยทำได้ แต่ผมมองไม่ออกเลยว่าทำไมแค่พูดถึงก็น่าตกใจหนักหนา คุณคิดว่าแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด, ลิเวอร์พูล หรือเชลซีไม่คิดฝันอย่างนี้บ้างหรือ พวกเขาก็เหมือนกัน พวกเขาเพียงไม่พูดเพราะกลัวคนมองว่าน่าตลกขบขัน แต่ไม่มีใครขำขันกับงานแบบนี้หรอก เพราะเรารู้ว่าอะไรก็เกิดขึ้นได้"[nb 1][6] ทีมของเขาพ่ายต่อเอฟเวอร์ตันเพียงหนึ่งเดือนหลังประกาศของแวงแกร์ โดยนักเตะดาวรุ่งอย่างเวย์น รูนีย์ เป็นผู้ทำประตูชัย หยุดสถิติไร้พ่าย 30 นัดของอาร์เซนอล[7] ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2003 อาร์เซนอลเป็นจ่าฝูง มีแต้มเหนือกว่าแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดอยู่ 5 แต้ม แต่เนื่องจากการบาดเจ็บของผู้เล่นคนสำคัญ รวมทั้งกัปตันทีมปาทริก วีเยรา ทำให้ทีมขาดเสถียรภาพ[8] อาร์เซนอลเสมอหลายนัดในเดือนเมษายน ประกอบกับแพ้ในบ้านต่อลีดส์ยูไนเต็ด ทำให้อาร์เซนอลหมดโอกาสรักษาแชมป์ลีก[3] แวงแกร์หักล้างความคิดเห็นจากสื่อที่กล่าวว่าเป็นฤดูกาลที่ล้มเหลว แวงแกร์กล่าวว่า

แน่นอนเราต้องการแชมป์ลีก แต่ผมคิดว่าสิ่งที่ยากที่สุดสำหรับสโมสรคือความคงเส้นคงวา และเรามีความคงเส้นคงวาอย่างมาก เราเสียแชมป์ลีกให้กับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ซึ่งใช้เงินมากกว่า 50% ทุกปี ปีที่แล้วพวกเขาใช้เงินซื้อนักเตะ 30 ล้านปอนด์หลังจากเสียแชมป์ พวกเขาจะทำแบบนี้อีกในปีหน้า และพวกเราสร้างปาฏิหาริย์ที่ต่อกรกับพวกเขา[9]

ช่วงปิดฤดูกาล เชลซีถูกขายให้กับเศรษฐีพันล้านชาวรัสเซีย โรมัน อับราโมวิช ด้วยมูลค่า 140 ล้านปอนด์ ถือเป็นการซื้อกิจการที่ใหญ่ที่สุดในวงการฟุตบอลอังกฤษในช่วงนั้น[10][nb 2] แดเนียล คิง นักหนังสือพิมพ์ต้อนรับการซื้อกิจการครั้งนี้ โดยแสดงความคิดเห็นว่าสโมสรฯ จะสามารถ "ยุติการผูกขาดแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด-อาร์เซนอล" ในลีกได้ดีขึ้น[12] รองประธานสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล เดวิด ดีน รู้สึกไม่พอใจอย่างยิ่ง และเหน็บอับราโมวิชว่า "จอดรถถังรัสเซียของเขาบนสนามหญ้าของพวกเรา แล้วก็ยิงธนบัตร 50 ปอนด์ใส่เรา"[13] กล่าวกันว่าอับราโมวิชประมูลซื้อกองหน้าอาร์เซนอล ตีแยรี อ็องรี แต่ถูกปฏิเสธทันควัน[14]

การทำนายอันดับในลีกเมื่อจบฤดูกาล
สำนักข่าว อันดับ
เดอะการ์เดียน[nb 3] 3[15]
การ์เดียนอันลิมิตเต็ด 1[16]
ดิอินดิเพนเดนต์ 3[17]
ดิอินดิเพนเดนต์ออนซันเดย์ 5[18]
ดิอับเซิร์ฟเวอร์ 1[19]
เดอะซันเดย์ไทม์ 3[20]
ซันเดย์ทริบูน 2[21]

การซื้อขายนักเตะช่วงฤดูร้อนของอาร์เซนอลค่อนข้างเงียบ เนื่องจากงบประมาณที่จำกัดจากโครงการสนามแห่งใหม่[22][nb 4] แต่สโมสรก็สามารถรั้งนักเตะคนสำคัญ ๆ ชุดเดิมไว้ได้ และยังเจรจาสัญญาฉบับใหม่กับปาทริส เอวรา และตำแหน่งปีก รอแบร์ ปีแร็สได้สำเร็จ[25] มีการซื้อตัวนักเตะเพิ่มสำคัญมีเฉพาะผู้รักษาประตูชาวเยอรมัน เย็นส์ เลมัน เขาเข้ามาแทนเดวิด ซีแมน ที่ย้ายไปแมนเชสเตอร์ซิตี[26] กองหลังชาวยูเครน ออเลก ลุชนี (Oleh Luzhny) หมดสัญญา 4 ปีกับสโมสรและย้ายไปวุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์แบบไม่มีค่าตัว ในขณะที่กองหน้า เกรอัม แบร์เรตต์ ย้ายไปคอเวนทรีซิตี[27] กองหน้า ฟรานซิส เจฟเฟอส์ ซึ่งไม่ค่อยมีโอกาสลงเล่นชุดใหญ่ ก็ถูกปล่อยยืมตัวให้กับเอฟเวอร์ตัน สโมสรเก่าของเขา หนึ่งฤดูกาล[28] โจฟันนี ฟัน โบรงก์ฮอสต์ ย้ายไปบาร์เซโลนาในข้อตกลงคล้ายกัน โดยมองว่าอาจย้ายถาวรเมื่อจบฤดูกาล[29] สโมสรได้ผู้เล่นเยาวชนจากอะคาเดมีต่างประเทศ ได้แก่ กาแอล กลีชี จากสโมสรกาน และโยฮัน จูรูจากเอตวลการูฌ[30] ในเดือนมกราคม 2004 อาร์เซนอลเซ็นสัญญากับกองหน้าชาวสเปน โฆเซ อันโตนิโอ เรเยส (José Antonio Reyes) จากเซบิยา และในเดือนเมษายนบรรลุข้อตกลงซื้อตัวตำแหน่งปีก โรบิน ฟัน แปร์ซี กับไฟเยอโนร์ด[31]

ต้นฤดูกาลแวงแกร์ให้ความความสำคัญกับการทวงแชมป์ลีกไว้ว่า "ผมรู้สึกว่าการทำดังนี้สำคัญมากในใจเรา และผมทราบว่าความกระหายที่จะลงมือแรงกล้า" และออกชื่อนิวคาสเซิลยูไนเต็ดกับลิเวอร์พูล รวมไปถึงแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดกับเชลซี เป็นคู่แข่งหลักในพรีเมียร์ลีก[32][33] อดีตกองกลางอาร์เซนอล พอล เมอร์สัน ยืนยันว่าอาร์เซนอลเป็นตัวเต็ง เพราะพวกเขามี "ผู้เล่นยอดเยี่ยม … ถ้าพวกเขามีความพร้อมคงเส้นคงวาแล้วพวกเขาจะไม่แพ้"[34] เกล็น มัวร์จาก ดิอินดิเพนเดนต์ เขียนถึงโอกาสของอาร์เซนอลว่า "พวกเขาจะเข้าใกล้แชมป์ แต่จนกว่าแวงแกร์จะให้ความเชื่อมั่นกับเยาวชน และผู้เล่นอย่างเฌเรมี อาลียาเดียร์ (Jérémie Aliadière), เจอร์เมน เพนนันต์ (Jermaine Pennant), ฟีลิป แซนเดอร็อส เล่นคุ้มค่าตอบแทน พวกเขาอาจขาดความสามารถในการรักษาหนทางชิงแชมป์"[17] กองหลัง โซล แคมป์เบลล์ เชื่อว่าผู้เล่นชุดนี้ "แข็งแกร่งพอสำหรับลีกและเอฟเอคัพ" แต่ข้องใจกับการคว้าแชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก[35]

สีชุดเหย้าไม่เปลี่ยนจากฤดูกาลที่แล้ว เป็นชุดสีแดง แขนเสื้อ กางเกง และถุงเท้าสีขาว[36] ส่วนชุดเยือนสีใหม่ เป็นเสื้อสีเหลืองแนวย้อนยุค ปกเสื้อและกางเกงสีน้ำเงิน ชุดนี้มาจากชุดที่ใส่แข่งขันเอฟเอคัพ รอบชิงชนะเลิศ 1979[37][38]

การซื้อขายนักเตะ

แก้

ก่อนเปิดฤดูกาล

แก้

เพื่อเตรียมตัวก่อนเปิดฤดูกาล อาร์เซนอลได้ลงแข่งนัดกระชับมิตรในยุโรปตะวันตก นัดแรกพ่ายต่อปีเตอร์โบโรยูไนเต็ดจากเซคกันด์ดิวิชั่น โดยผู้รักษาประตู สจวต เทย์เลอร์ ถูกไล่ออกจากสนามหลังไปปะทะกับ ลี คลาร์ก ผู้เล่นปีเตอร์โบโรตัวสำรอง ในครึ่งหลัง[60] ต่อมาอาร์เซนอลเสมอกับบาร์นิต ซึ่งมียาย่า ตูเร น้องชายของโกโล ตูเร อยู่ในทีมด้วย[61] ในการสัมภาษณ์ในปี 2011 แวงแกร์กล่าวถึงผลงานของยาย่าว่า "กลาง ๆ โดยสิ้นเชิงในเวลานั้น" และสังเกตว่าความใจร้อนทำให้เขาไม่ได้เข้าอาร์เซนอล ตูเรจึงย้ายไปบาร์เซโลนาก่อนไปแมนเชสเตอร์ซิตีในปี 2010[62] ภายหลังจากการเสมอกับบาร์นิต อาร์เซนอลทัวร์ในประเทศออสเตรีย ซึ่งเคยเกิดเหตุการณ์วุ่นวายฝูงชนในนัดกระชับมิตรที่ไอเซินชตัทเมื่อปีก่อนทำให้ต้องยกเลิก[63] วันนั้น แวงแกร์ไม่ได้เข้าร่วมเพราะมีอาการปวดมวนท้อง จึงให้ผู้ช่วยผู้จัดการ แพต ไรซ์ คุมทีมชั่วคราว ในนัดที่พบกับริทซิง เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2003 ทีมยิงตามตีเสมอได้หลังตามอยู่สองประตู เป็นการเสมอนัดกระชัดมิตรนัดที่สองติดต่อกัน[64] ไรซ์พอใจการเล่นเกมรับของฟีลิป แซนเดอร็อส และกล่าวว่า "ยังมีอุปสรรคข้างหน้า แต่เขาก็จะดีขึ้นเมื่อได้เล่นร่วมกับมาร์ติน คีโอน และโซล แคมป์เบลล์"[64]

อาร์เซนอลชนะนัดแรกช่วงก่อนเปิดฤดูกาลต่อเอาส์ทรีอาวีน โดยแบร์คกัมป์ทำ "ผลงานส่วนตัวได้สุดยอด" โดยยิงประตูแรก แล้วส่งให้เจฟเฟอร์ทำประตูที่สอง[65] นัดสุดท้ายของทัวร์พบกับเบชิกทัช ซึ่งต้องมีการรักษาความปลอดภัยหนาแน่นเนื่องจากประวัติศาสตร์ระหว่างแฟนบอลชาวอังกฤษและตุรกี[66] ในนัดนั้น อาร์เซนอลได้ประตูชัยจากแบร์คกัมป์ในครึ่งหลังลอดขาของผู้รักษาประตู ออสการ์ กอร์โดบา[67] หลังจากนั้น อาร์เซนอลเดินทางกลับอังกฤษ และแข่งขันนัดกระชับมิตรกับเซนต์ออลบันส์ซิตีและชนะ 3–1 จากนั้นชุดหลักเดินทางต่อไปยังประเทศสกอตแลนด์พบกับเซลติกในวันที่ 2 สิงหาคม 2003 ผลเสมอ 1–1 มาจากครึ่งหลัง โดยนัดนั้นวีเยรากลับมาลงเล่นอีกครั้งในรอบสามเดือนหลังเจ็บเข่า[68] แวงแกร์เปิดเผยภายหลังว่าเขาตั้งใจใช้นัดกระชับมิตรเพื่อทดลองแนวรับ[69] เขาจัดวางเซ็นเตอร์แบ็ก แคมป์เบลล์คู่กับตูเร ซึ่งในฤดูกาลก่อนส่วนใหญ่เล่นตำแหน่งกองกลาง[68] แวงแกร์พอใจการเล่นของโกโล ตูเร ในนัดพบกับเซลติก เขากล่าวว่า "เขามีคุณภาพ เดิมเขาเป็นกองหลังกลาง และเนื่องจากเราเก็บคลีนชีตได้บ้างในช่วงหลัง และเขาเล่นได้ดี ผมคิดว่าเราควรให้เขาเล่นตำแหน่งนั้นต่อ"[69] หลังจากนั้น ชุดหลักเดินทางไปประเทศเบลเยียมเพื่อลงเล่นกับเบเฟอเรินและเสียสองประตูในช่วงห้านาทีสุดท้าย ทำให้เสมอกัน 2–2 และนัดกระชับมิตรนัดสุดท้าย พวกเขาบุกไปชนะเรนเจอส์ 3–0 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2003[70]

19 กรกฎาคม ค.ศ. 2003 (2003-07-19) กระชับมิตรบาร์นิต0–0อาร์เซนอลบาร์นิต
15:00 รายงาน สนามกีฬา: สนามกีฬาอันเดอร์ฮิลล์
ผู้ชมในสนาม: 4,778 คน
22 กรกฎาคม ค.ศ. 2003 (2003-07-22) กระชับมิตรริทซิง2–2อาร์เซนอลริทซิง
19:00 เซบัสทา   20'
เอ็ล เซโนซี   25'
รายงาน ซีก็อง   60'
ยุงแบร์ย   85' (ลูกโทษ)
สนามกีฬา: สนามกีฬาริทซิง
ผู้ชมในสนาม: 4,200 คน
25 กรกฎาคม ค.ศ. 2003 (2003-07-25) กระชับมิตรเอาส์ทรีอาวีน0–2อาร์เซนอลชเว็ชชัท
19:00 รายงาน แบร์คกัมป์   29'
เจฟเฟอส์   44'
สนามกีฬา: สนามกีฬาชเว็ชชัท
ผู้ชมในสนาม: 4,800 คน[71]
29 กรกฎาคม ค.ศ. 2003 (2003-07-29) กระชับมิตรอาร์เซนอล1–0เบชิกทัชสตีเรีย
18:00 แบร์คกัมป์   48' รายงาน สนามกีฬา: บาทวัลเทิร์สดอร์ฟชตาดีอ็อน
31 กรกฎาคม ค.ศ. 2003 (2003-07-31) กระชับมิตรเซนต์ออลบันส์ซิตี1–3อาร์เซนอลเซนต์ออลบันส์
19:30 มักดอนเนลล์   44' รายงาน ฟ็อลทซ์   19'51'
ฮอลส์   60'
สนามกีฬา: แคลเรนซ์พาร์ก
ผู้ชมในสนาม: 1,500 คน
ผู้ตัดสิน: แกรี เอฟวิตส์
2 สิงหาคม ค.ศ. 2003 (2003-08-02) กระชับมิตรเซลติก1–1อาร์เซนอลกลาสโกว์
15:00 มิลเลอร์   57' รายงาน คานู   70' สนามกีฬา: เซลติกพาร์ก
ผู้ชมในสนาม: 44,396 คน
ผู้ตัดสิน: ดักกี แมกดอนัลด์
3 สิงหาคม ค.ศ. 2003 (2003-08-03) กระชับมิตรเบเฟอเริน2–2อาร์เซนอลเบเฟอเริน
17:00 กาอีแปร์   85'
ยาปี ยาโป   88'
รายงาน Nicolau   55'
โอวูซู-อาเบยี   76'
สนามกีฬา: สนามกีฬาเฟรตีล
ผู้ชมในสนาม: 2,500 คน
5 สิงหาคม ค.ศ. 2003 (2003-08-05) กระชับมิตรเรนเจอส์0–3อาร์เซนอลกลาสโกว์
19:45 รายงาน เอดู   31'
โลแรน   47' (ลูกโทษ)
แคมป์เบลล์   58'
สนามกีฬา: สนามกีฬาไอบรอกซ์
ผู้ชมในสนาม: 37,000 คน
ผู้ตัดสิน: เคนนี คลาร์ก

สัญลักษณ์สี: เขียว = อาร์เซนอลชนะ; เหลือง = เสมอ; แดง = คู่แข่งชนะ

เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์

แก้

การแข่งขันเอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ 2003 นัดฟุตบอลอังกฤษประจำปี เป็นการแข่งขันระหว่างแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดกับอาร์เซนอลที่มิลเลนเนียมสเตเดียมในคาร์ดิฟฟ์ในวันที่ 10 สิงหาคม โดยเลมันลงเล่นนัดแรกให้กับอาร์เซนอล และตูเรยังคงเล่นกองหลังกลางคู่กับแคมป์เบลล์[72] ยูไนเต็ดได้ประตูขึ้นนำในนาทีที่ 15 จากมีกาแอล ซีลแว็สทร์ แต่ไม่นานจากนั้นตีแยรี อ็องรี ก็ตีเสมอให้อาร์เซนอลจากลูกฟรีคิก[73] เจฟเฟอส์ถูกไล่ออกจากสนามจากการไปเตะฟิล เนวิล และไม่มีประตูเกิดขึ้นหลังจากนั้น ทำให้ต้องตัดสินด้วยการยิงลูกโทษ[73] ผู้รักษาประตู ทิม ฮาวเวิร์ด เซฟจุดโทษของฟัน โบรงก์ฮอสต์ และปีแร็สทำให้ยูไนเต็ดเป็นฝ่ายชนะ 4–3[73] แวงแกร์พาดพิงถึงผู้ชมอาร์เซนอลที่ไปชมการแข่งขันน้อยและเสนอว่ามี "ความกระหายน้อยลงทุกที" สำหรับคอมมิวนิตีชีลด์ [74] เขาไม่มีความสุขกับช่วงก่อนเปิดลีกในวันเสาร์ที่จะมาถึง "ผมอยากมีเวลาอีกสักสองสัปดาห์ โดยเฉพาะกับผู้เล่นชาวฝรั่งเศสที่ไปเล่นคอนเฟเดอเรชันส์คัพ พวกเรายังไม่พร้อมเท่าแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด และรู้ว่าผู้เล่นหลายคนยังไม่มีร่างกายพร้อม"[74]

พรีเมียร์ลีก

แก้

ฤดูกาล 2003–04 ของพรีเมียร์ลีกมี 20 ทีม แต่ละทีมลงเล่น 38 นัด โดยแข่งกับทีมอื่นทุกทีมทีมละ 2 นัด ที่สนามเหย้าของแต่ละฝ่ายครั้งละนัด ถ้าชนะได้สามคะแนน เสมอได้หนึ่งคะแนน และถ้าแพ้จะไม่ได้คะแนน เมื่อจบฤดูกาล 2 ทีมแรกจะได้สิทธิแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกรอบแบ่งกลุ่ม ส่วนอันดับที่ 3 และ 4 ต้องเล่นรอบคัดเลือกก่อน[75]

มีการออกกำหนดการแข่งขันมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2003 แต่อาจเปลี่ยนแปลงได้ในกรณีชนกับการแข่งขันอื่น การแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศ ลมฟ้าอากาศไม่เอื้ออำนวยหรือนัดที่เลือกให้แพร่สัญญาณโทรทัศน์ โดย 5 จาก 8 นัดแรกของอาร์เซนอลมีการแร่ะสัญญาณผ่านทางช่องสกายสปอร์ต และในจำนวนนั้น 3 นัดจะอยู่ในรายการหลักของเครือข่ายในรายการ ซูเปอร์ซันเดย์[76]

สิงหาคม–ตุลาคม

แก้
 
รอแบร์ ปีแร็ส ยิงประตูชัยให้อาร์เซนอลในนัดที่พบกับลิเวอร์พูลเมื่อเดือนตุลาคม 2003

นัดเปิดฤดูกาล อาร์เซนอลลงเล่นในบ้านพบกับเอฟเวอร์ตันที่ไฮบรี แคมป์เบลล์ถูกไล่ออกในนาทีที่ 25 จากการทำฟาวล์ที่กีดขวางการเล่น (professional foul) ใส่ทอมัส กราเวอเซิน กองกลางเอฟเวอร์ตัน แม้ว่าอาร์เซนอลจะเสียเปรียบจำนวนผู้เล่น แต่ก็นำสองประตูเมื่อเวลา 58 นาที ก่อนที่ตอมัช ราจินสกี จะยิงประตูให้ทีมเยือน[77] นัดต่อมาหลังจากนัดแรกหนึ่งสัปดาห์ พวกเขาไปเยือนมิดเดิลส์เบรอที่ริเวอร์ไซด์สเตเดียม จบด้วยชัย 4–0 โดยได้ 3 ประตูจากอ็องรี, ชิลเบร์ตู ซิลวา และซีลแว็ง วีลตอร์ในครึ่งแรก[78] สามวันถัดมา อาร์เซนอลชนะแอสตันวิลลา โดยแคมป์เบลล์และอ็องรีทำประตูได้คนละประตู[79] อาร์เซนอลยังรักษาช่วงต้นฤดูกาลที่ยอดเยี่ยมด้วยการบุกไปชนะแมนเชสเตอร์ซิตี เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2003 เมื่อแคมป์เบลล์ถูกพักการเล่น มาร์ติน คีโอนเข้ามาเล่นตัวจริงคู่กับตูเรแทน[80] แม้ว่าอาร์เซนอลทำเข้าประตูตัวเองโดยโลแรนในครึ่งแรก และเล่น "45 นาทียอดแย่ที่แฟนคนใดจะจำได้" ตามคำบรรยายของนักหนังสือพิมพ์ แมต ดิกคินสัน แต่ในครึ่งหลังวีลตอร์ตามตีเสมอในครึ่งหลัง ก่อนเฟรดริก ยุงแบร์ย ใช้ข้อผิดพลาดของซีแมนทำประตูชัย[80] จบ 4 นัดแรก อาร์เซนอลอยู่อันดับหนึ่ง มีแต้มนำแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดอยู่สามแต้ม[81]

เนื่องจากกำหนดการแข่งขันทีมชาติ ทำให้สโมสรได้พักสองสัปดาห์ พวกเขากลับมาลงเล่นในบ้านพบกับพอร์ตสมัทที่เพิ่งเลื่อนชั้น โดยกองหน้า เท็ดดี เชริงงัม ยิงให้ทีมเยือนขึ้นนำก่อน ก่อนที่อาร์เซนอลได้จุดโทษเมื่อปีแร็สถูกเดยัน สเตฟานอวิช กรรมการตัดสินว่าทำฟาวล์ในกรอบเขตโทษ[82] อ็องรียิงประตูเข้า และแม้การเล่นของทีมจะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในครึ่งหลัง แต่เกมก็จบด้วยผลเสมอ[82] ทำให้ผู้จัดการทีมพอร์ตสมัท แฮร์รี เรดแนปป์ บ่นถึงการเสียจุดโทษและรู้สึกว่าปีแร็ส "... กำลังจะได้ใบเหลือง [จากการพุ่งล้ม]"[82] แต่ปีแร็สปฏิเสธการกล่าวหาดังกล่าวที่ว่าเขาตบตากรรมการ "ผมไม่ได้พุ่งล้มและผมไม่ได้โกง ไม่ใช่วิธีการเล่นของผม"[83]

หนึ่งสัปดาห์ถัดมา อาร์เซนอลไปพบแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดที่โอลด์แทรฟฟอร์ด โดยแวงแกร์ให้ปีแร็สและวีลตอร์เป็นสำรอง และให้เรย์ พาร์เลอร์ กับยุงแบร์ยลงเล่นแทน ส่วนแคมป์เบลล์ไม่ได้เดินทางไปด้วย เนื่องจากมีสมาชิกครอบครัวเสียชีวิต[84] ในนาทีที่ 80 วีเยราถูกไล่ออกจากสนามจากการได้ใบเหลืองที่สอง โดยเขาพยายามเตะกองหน้า รืด ฟัน นิสเติลโรย ซึ่งผู้ตัดสิน สตีฟ เบนนิตต์ เห็นการกระทำดังกล่าว[84] ขณะผลประตู 0–0 ยูไนเต็ดได้จุดโทษในนาทีที่ 90 แต่ลูกยิงของฟัน นิสเติลโรย ไปชนคาน กลับมาเล่นต่อ[84] หลังจบเกม ผู้เล่นอาร์เซนอลหลายคนไปล้อมฟัน นิสเติลโรย ซึ่งบานปลายเป็นเหตุทะเลาะวิวาทระหว่างทั้งสองทีม[84] ผู้เล่นของอาร์เซนอล 6 คน (แอชลีย์ โคล, โลแรน, คีโอน, พาร์เลอร์, เลมัน, วีเยรา) ถูกสมาคมฟุตบอลอังกฤษ (FA) ตั้งข้อหาประพฤติไม่เหมาะสม และสโมสรถูกปรับเงิน 175,000 ปอนด์ ซึ่งเป็นค่าปรับมากที่สุดที่สั่งลงโทษสโมสรใด ๆ[85] โลแรนถูกแบน 4 นัด ในขณะที่วีเยรากับพาร์เลอร์ถูกแบนนัดเดียว[86]

ในนัดถัดมา อาร์เซนอลชนะนิวคาสเซิลยูไนเต็ด 3–2 โดยได้ประตูชัยจากจุดโทษของอ็องรี[87] วีเยราได้รับบาดเจ็บระหว่างเกม ทำให้ลงเล่นไม่ได้สองเดือน[88] หลังจากนั้นอาร์เซนอลบุกไปเยือนลิเวอร์พูลที่แอนฟีลด์ในสัปดาห์แรกของเดือนตุลาคม แต่วีเยราไม่ได้ลงเล่น ทำให้พาร์เลอร์รับหน้าที่เป็นกัปตันทีมแทน ส่วนแคมป์เบลล์ลงเล่นตำแหน่งกองหลังแทนคีโอน[89][90] อาลียาเดียร์เล่นกองหน้าคู่กับอ็องรี[90] อาร์เซนอลตามหลังในนาทีที่ 11 แต่ก็ตีเสมอได้เมื่อซามี ฮือปิแอ เปลี่ยนทิศทางลูกโหม่งของเอดูโดยไม่ได้ตั้งใจจากฟรีคิกของอาร์เซนอล[91] ปีแร็สยิงประตูชัยในครึ่งหลัง ทำให้ทีมยังเป็นจ่าฝูงในตารางลีกอยู่[91][92] ผู้สื่อข่าวของเดอะไทมส์ โอลิเวอร์ เคย์ บรรยายการกลับมาชนะของอาร์เซนอลว่า "มุ่งมั่นมาก" และสังเกตข้อแตกต่างของทีมเทียบกับฤดูกาลก่อนว่า[91]

... เหตุการณ์ล่าสุดสอนพวกเขาให้จัดสาระก่อนลีลา อาจดูไม่ดึงดูดสำหรับผู้เน้นความถูกต้อง แต่ไม่มีข้อสงสัยว่าแนวทางโผงผางแบบใหม่ของพวกเขาทำให้ดูน่าเกรงขามยิ่งขึ้น หนึ่งปีก่อนพวกเขากำลังผลิตฟุตบอลที่มีความงามที่พบเห็นได้น้อยครั้งในประเทศนี้หรือที่อื่น ฤดูกาลนี้ ด้วยความคล่องที่พิสูจน์แล้วว่าลื่นไหล พวกเขากำลังทำผลงานโดยมีประสิทธิภาพเทียบได้กับทิวทอนิก[91]

นัดถัดมา อาร์เซนอลสามารถชนะเชลซีได้ในนัดที่สูสี จากความผิดพลาดของผู้รักษาประตู การ์โล กูดีชีนี ในครึ่งหลัง ทำให้อ็องรียิงประตูที่ 7 จาก 9 นัดแรก[93] จนถึงขณะนั้นทั้งสองทีมเป็นจ่าฝูงของตารางและไม่แพ้ทีมใด[94] แวงแกร์ตั้งข้อสังเกตหลังจบการแข่งขันว่า ทีมของเชลซีที่ใหญ่กว่าจะมีประโยชน์เมื่อฤดูกาลผ่านไป แต่เน้นย้ำว่าทีมเล็กของเขามีเสถียรภาพ "เราอยู่ด้วยกันหลายปีและมีความอุ่นใจที่ทราบว่าเราเคยคว้าแชมป์มาก่อน เมื่อเราถูกท้าทาย เรายิ่งสามัคคีกันมากขึ้น"[95] ปลายเดือนตุลาคม อาร์เซนอลเสมอชาร์ลตันแอธเลติก 1–1[96] ผ่านไป 10 นัด อาร์เซนอลเก็บได้ 24 แต้ม กลับเป็นจ่าฝูงอีกครั้งหลังจากเสียอันดับให้กับเชลซีชั่วคราว[97]

พฤศจิกายน–ธันวาคม

แก้

อาร์เซนอลเริ่มต้นเดือนพฤศจิกายนด้วยการเยือนลีดส์ยูไนเต็ด ณ เอลแลนด์โรด ไม่มีการเปลี่ยนตัวผู้เล่นจากเกมที่พบชาร์ลตัน โดยผู้เล่นของลีดส์อย่างเพนนันต์ลงเล่นพบกับสโมสรแม่ของเขาหลังแวงแกร์อนุญาต[98] อาร์เซนอลชนะ 4–1 เหมือนกับนัดที่พบกันเมื่อฤดูกาลที่แล้ว[99] ในรายงานการแข่งขันของ นิวส์ออฟเดอะเวิลด์ นักข่าว มาร์ติน ซามูเอล ยกให้อ็องรีเป็นผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัด และยืนยันว่าอาร์เซนอลคือทีมที่ลุ้นแชมป์เต็มตัว[100] นัดถัดมา อาร์เซนอลแข่งดาร์บีลอนดอนเหนือ พบกับทอตนัมฮอตสเปอร์ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2003 โดยทอตนัมไม่ชนะอาร์เซนอลมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 1999 และชัยของทอตนัมครั้งล่าสุดที่สนามไฮบรีเกิดเมื่อทศวรรษก่อน[101][102] นัดนี้ คานูถูกจัดเป็นตัวจริงคู่กับอ็องรี เนื่องจากวีลตอร์มีกล้ามเนื้อน่องล้า[103] อาร์เซนอลเสียประตูเร็วหลังดาร์เรน แอนเดอร์ตันใช้โอกาสที่กองหลังสับสน แต่สามารถยิงสองประตูในช่วงท้ายเกม โดย ดิอับเซิร์ฟเวอร์ อธิบายว่าเป็นการเล่นที่ "ติดขัดอีกครั้ง"[102] ผลทำให้อาร์เซนอลนำอันดับที่สองอยู่ 4 แต้มชั่วคราวก่อนเชลซีชนะนิวคาสเซิลในบ้านในหนึ่งวันต่อมา ทำให้แต้มห่างกันเหลือหนึ่งแต้ม[104]

 
ตีแยรี อ็องรีพลาดการลงเล่นเพียงหนึ่งนัดในลีก คือนัดเยือนเลสเตอร์ซิตี

อาร์เซนอลไม่ได้ลงเล่นเป็นเวลาสองสัปดาห์เนื่องจากช่วงพักฟุตบอลระหว่างประเทศ ก่อนบุกไปเยือนเบอร์มิงแฮมซิตี เนื่องจากการพักการแข่งขันมีผลและมีผู้เล่นตัวจริงได้รับบาดเจ็บหลายคน ทำให้แวงแกร์ต้องปรับเปลี่ยนผู้เล่น โดยกลีชีได้ลงเล่นตัวจริงนัดแรก ส่วนปัสกาล ซีก็อง ลงเล่นเป็นนัดแรกของฤดูกาล โดยลงตำแหน่งคู่กับแคมป์เบลล์[105] อาร์เซนอลยิงสามประตูจนได้รับชัยชนะเป็นนัดที่สามติดต่อกันของเดือน[106] จนถึงขณะนั้นอาร์เซนอลไม่แพ้ทีมใดตั้งแต่เปิดฤดูกาลมา 13 นัดติดต่อกัน นับเป็นสถิติใหม่ของพรีเมียร์ลีก[106] นัดถัดมา ทีมเสมอฟูลัม 0–0 เป็นทีมแรกที่อาร์เซนอลยิงประตูในบ้านไม่ได้ครั้งแรกใน 46 นัดที่ไฮบรี[107] เดวิด เลซีย์ ผู้สื่อข่าวของ เดอะการ์เดียน สรุปการเล่นของอาร์เซนอลในวันนั้นว่า "เข้มแข็งในส่วนเครื่องสาย แต่ขาดเครื่องเคาะจังหวะ" และตั้งข้อสังเกตว่าพวกเขากลับไปมีรูปแบบทำประตูสมบูรณ์แบบแทนที่จะเล่นแบบมีประสิทธิภาพ[108] ในสัปดาห์เดียวกัน เชลซีชนะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 1–0 ทำให้อาร์เซนอลตกลงมาอยู่อันดับที่ 2 ในวันสุดท้ายของเดือน[109]

ในสัปดาห์แรกของเดือนธันวาคม อาร์เซนอลบุกไปเยือนเลสเตอร์ซิตีและพลาดอีก 2 แต้ม ในนัดนั้นอ็องรีไม่ได้ลงเล่นเช่นเดียวกับวีเยรากัปตันทีม อาร์เซนอลได้ประตูขึ้นนำก่อนเมื่อเวลา 60 นาทีจากลูกโหม่งของชิลเบร์ตู แต่ถูกตีเสมอในช่วงทดเวลาบาดเจ็บ[110] นัดนั้นโคลได้รับใบแดงจากการพุ่งเสียบเบน แทตเชอร์โดยใช้สองเท้า ทำให้ลงเล่นไม่ได้อีก 3 นัด[111] แวงแกร์กล่าวหลังจากนั้นว่า "ดูเหมือนว่าแอชลีย์ต้องการพุ่งเอาบอล แต่เมื่อมันเป็นการเข้าแย่งสองเท้าที่สูงเกินไป จึงเป็นใบแดงและเราต้องยอมรับ"[111] อีกหนึ่งสัปดาห์ถัดมา อาร์เซนอลเปิดบ้านเอาชนะแบล็กเบิร์นโรเวอส์ 1–0 จากประตูของแบร์คกัมป์ เชลซีที่แพ้เมื่อวันก่อนก็ทำให้อาร์เซนอลกลับไปอยู่หัวตารางอีกครั้ง นำหน้าแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด อันดับที่สองอยู่หนึ่งแต้ม[112]

วันที่ 20 ธันวาคม 2003 อาร์เซนอลบุกไปเยือนโบลตันวอนเดอเรอส์ที่สนามกีฬารีบ็อก ซึ่งเคยมีส่วนทำให้อาร์เซนอลพลาดแชมป์เมื่อแปดเดือนที่แล้ว[113] แม้ว่าทีมจะเก็บได้เพียงหนึ่งแต้ม แต่แวงแกร์ยังมองว่ามีประโยชน์ "หากโบลตันยังคงเล่นแบบนั้น เราจะมองย้อนกลับมาดูผลนี้และรู้สึกยินดีมาก ดีมากเท่ากับทีมที่เราเล่น"[113] ต่อมาในวันเปิดกล่องของขวัญ อ็องรียิงสองประตูช่วยให้ทีมชนะวุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ 3–0[114] สามวันถัดมา ทีมพบกับเซาแทมป์ตัน ประตูชัยมาจากครึ่งแรก คือ ลูกส่งผ่านของอ็องรีเข้าเท้าของปีเรส "ที่สไลด์บอลลอดใต้อันต์ตี นิเอมี"[115] ผลชนะทำให้อาร์เซนอลไม่แพ้ทีมใดมาครึ่งฤดูกาลแล้ว และ เดอะไทมส์ เขียนว่าทีมเริ่ม "สร้างรัศมีไร้พ่าย"[115] อาร์เซนอลจบปีปฏิทินด้วยอันดับที่สอง มี 45 แต้มจาก 19 นัด ตามหลังแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเพียงหนึ่งแต้ม และนำเชลซีอยู่สามแต้ม[116]

มกราคม–กุมภาพันธ์

แก้

วันที่ 7 มกราคม 2004 อาร์เซนอลพบเอฟเวอร์ตันที่กูดิสันพาร์ก ซึ่งแวงแกร์ได้สับเปลี่ยนผู้เล่นหลายตำแหน่ง ซีก็องถูกเรียกกลับไปเล่นกองหลังกลาง หมายความว่าตูเรถูกเลื่อนเป็นปีกขวาและโลแรนถูกส่งเป็นตัวสำรอง และพาร์เลอร์ลงเป็นตัวจริงแทนชิลเบร์ตูในกองกลาง[117] คานูยิงประตูให้อาร์เซนอลขึ้นนำก่อนในครึ่งแรก แต่ราจินสกีทำประตู "ตีเสมอช่วงท้ายเกมอย่างสมควรอย่างยิ่ง" ให้กับเอฟเวอร์ตันในช่วง 15 นาทีสุดท้าย[118] คืนเดียวกัน แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดชนะโบลตันวอนเดอเรอส์ 2–1 ทำให้จ่าฝูงนำห่าง 3 แต้ม[119] สามวันถัดมา อาร์เซนอลเปิดบ้านพบมิดเดิลส์เบรอ และทำผลงานที่แวงแกร์อธิบายว่าเป็นนัดยอดเยี่ยมนัดหนึ่งในฤดูกาล เขากล่าวว่า "เราเล่นเกมตามธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง และน่าจะทำประตูได้มากกว่านี้"[120][121] โดยนัดนั้นพวกเขาชนะ 4–1 กลับขึ้นไปเป็นจ่าฝูงอีกครั้ง แม้เป็นการจัดเรียงตามตัวอักษรเท่านั้น เนื่องจากแต้ม ผลต่างประตูได้เสียและประตูได้เท่ากับสถิติของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด[120] สัปดาห์ถัดมา อาร์เซนอลชนะแอสตันวิลลา 2–0 โดยอ็องรีเป็นผู้ทำประตูทั้งสองลูก[122] อย่างไรก็ตาม เกิดกรณีพิพาทในประตูแรกของอ็องรี ซึ่งได้จากลูกฟรีคิกที่ตั้งเร็วซึ่งทำให้ผู้เล่นของวิลลาสับสนและทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อผู้ตัดสิน มาร์ก แฮลซีย์ ซึ่งส่งสัญญาณว่าอนุญาตให้เล่น[122] ผ่านไป 22 นัด อาร์เซนอลอยู่อันดับที่ 1 นำแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดอยู่สองแต้ม[123]

"บางคนยังไม่ยอมชื่นชมอาร์เซนอลยุคใหม่ พวกเขายังเชื่อว่านี่เป็นด้านที่นิก ฮอร์นบีกล่าวว่าเป็นตัวแทนของความน่าเบื่อ ความโชคดี ความสกปรก อารมณ์ร้อน ความรวย และความใจแคบ ความจริงคือมันเป็นเอกสิทธิ์ที่ได้ดูอาร์เซนอลยุคใหม่ พวกเขาเป็นโพรแซก [ยี่ห้อยาต้านซึมเศร้า] แก่ผู้ที่คุ้นเคยกับความน่าเบื่อ"

บันทึกของริก บรอดเบนต์ว่าด้วยนัดที่อาร์เซนอลชนะวุลเวอร์แฮมป์ตัน ในเดอะไทม์ 9 กุมภาพันธ์ 2004[124]

อาร์เซนอลยังรักษาสถิติไร้พ่ายตลอดเดือนกุมภาพันธ์ โดยชนะทั้ง 5 นัด เริ่มจากเกมเหย้าที่พบกับแมนเชสเตอร์ซิตี โดยเรเยสลงเล่นนัดแรกให้กับสโมสรโดยลงสนามเป็นตัวสำรองในครึ่งหลัง ส่วนประตูชัย "ดังสนั่นกะอย่างสวยงาม 25 หลา" ได้จากอ็องรี[125] ต่อมา ในนัดที่ 24 ของลีก อาร์เซนอลทำสถิติชนะเกมเยือนพบกับวุลเวอร์แฮมป์ตัน ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2004 ทำสถิติไร้พ่ายยาวนานที่สุดตั้งแต่เปิดฤดูกาลของสโมสรนับแต่ทีมของจอร์จ เกรอัมในปี 1990–91[126] แวงแกร์กล่าวถึงสถิติไร้พ่ายในการประชุมผู้สื่อข่าวหลังนัด ว่า "คุณต้องการโชคเพียงเล็กน้อยและคุณภาพจิตใจที่ดี"[126] สามวันถัดมา อ็องรีทำสถิติส่วนตัวยิงประตูที่ 100 และ 101 ในพรีเมียร์ลีกของเขา นัดที่พบกับเซาแทมป์ตัน[127] ผลชนะในนัดนั้นทำให้อาร์เซนอลนำแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดอันดับสองอยู่ 5 แต้ม โดยแข่งมากกว่า 1 นัด[128]

อ็องรีกลับมาลงเล่นนัดวันเสาร์ช่วงมื้อกลางวันที่พบกับเชลซี เขาไม่ได้ลงในรอบที่ห้าเอฟเอคัพพบกับเชลซีเช่นกัน[129] อาร์เซนอลเสียประตูก่อนใน 27 วินาทีแรก แต่ก็กลับมาตีเสมอได้ในนาทีที่ 15 แบร์คกัมป์ "บรรจงส่งลูก" ให้กับวีเยราทางฝั่งซ้าย และยิงบอลผ่านผู้รักษาประตู นีล ซิลลิวัน[130] และได้ประตูชัยใน 6 นาทีถัดมา ซัลลิเวนกะลูกเตะมุมของอ็องรีผิด ซึ่งทำให้เอดูยิงเข้าตาข่าย[130] ตารางคะแนนตอนนี้ อาร์เซนอลนำห่าง 7 แต้ม ซึ่งแวงแกร์ว่าเป็น "ตำแหน่งที่ดีกว่าทีมใดเคยถือฤดูกาลที่แล้ว"[130] เดอะไทม์ เน้นการย้ายตูเรไปเล่นกองหลังว่า

ประกอบกับที่แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดไม่มีริโอ เฟอร์ดินานด์[nb 5] การแจ้งเกิดของโกโล ตูเรในฐานะเซ็นเตอร์ฮาล์ฟผู้มากความสามารถ อาจหมายถึง ทำให้มีคะแนนแกว่งเป็นสิบแต้มในพรีเมียร์ชิป หากตูเรและแคมป์เบลล์ยังฟิตอยู่เรื่อย ๆ อาร์เซนอลน่าจะยิ่งกว่าจะแค่เพียงรักษาผลต่าง 7 แต้ม ส่วนกาแอล กลีชี พวกเขาก็คาดไว้ว่าจะมาแทนแอชลีย์ โคล[133]

นัดสุดท้ายของเดือน อาร์เซนอลพบชาร์ลตันที่ไฮบรี โดยอาร์เซนอลทำได้สองประตูในสี่นาทีแรก แต่ในช่วงท้ายเกม "ยังรักษาตำแหน่งผู้นำ เหมือนลูกแมวกระวนกระวาย"[134] ผ่านไป 27 นัด อาร์เซนอลอยู่อันดับหนึ่ง สะสมได้ 67 แต้ม นำห่างเชลซีและแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 9 แต้ม[135]

มีนาคม–พฤษภาคม

แก้

อาร์เซนอลยังรักษาฟอร์มการเล่นที่ดีในเดือนมีนาคม โดยอ็องรีและปีแร็สยิงคนละประตูในนัดที่บุกชนะแบล็กเบิร์นโรเวอส์ เป็นการเล่นที่หมั่นเพียรจากจ่าฝูงสมคำกล่าวว่า "... สิ่งเตือนจำของภาษิตโบราณว่าทีมชนะแชมเปียนชิปคือทีมที่เก็บแต้มได้มากที่สุดเมื่อพวกเขาไม่ได้เล่นดี"[136] นัดถัดมา อาร์เซนอลเปิดบ้านพบโบลตันวอนเดอเรอส์ โดยในนัดนั้น แวงแกร์ได้จัดตัวแบร์คกัมป์ลงแทนเรเยสอยู่หน้า[137] ภาวะลมแรงทำให้เลื่อนการแข่งขัน 15 นาที ปีแร็สยิงประตูขึ้นนำก่อนในเวลาประมาณ 15 นาที[138] ต่อมานาทีที่ 24 ผลขยับเป็น 2–0 แม้ว่าโบลตันจะทำผลงานดีขึ้นหลังทำประตูได้ก่อนหมดครึ่งแรกเล็กน้อย แต่ผลสุดท้ายอาร์เซนอลชนะ 9 ติดต่อกัน และรักษาแต้มห่างอันดับที่สอง 9 แต้ม[138]

วันที่ 28 มีนาคม 2004 การพบกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในบ้านถือเป็นบททดสอบที่ดุดันของอาร์เซนอล เป็นการพบกันครั้งแรกของทั้งสองทีมหลังเหตุรุนแรงที่โอลด์แทรฟฟอร์ด[139] กลีชีได้เป็นผู้เล่นตัวจริงแทนโคลซึ่งบาดเจ็บในเกมแชมเปียนลีกพบกับเชลซีเมื่อกลางสัปดาห์ ส่วนเรเยสได้เป็นตัวจริงแทนแบร์คกัมป์[140] อ็องรียิงประตูขึ้นนำให้อาร์เซนอลด้วยลูกยิงระยะไกลที่โค้งผ่านผู้รักษาประตู รอย แคร์รอลล์[141] แต่ในห้านาทีสุดท้าย ลูย ซาอา หลบหลีกกองหลังของอาร์เซนอล และทำประตูตีเสมอให้ทีมเยือน[141] อาร์เซนอลเกือบได้ประตูชัยในช่วงทดเวลาบาดเจ็บ แต่ผู้รักษาประตูรับลูกยิงของโลแรนได้[141] ผลเสมอไม่ดีสำหรับเซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ผู้จัดการทีมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ซึ่งยอมรับโอกาสของทีมเขาภายหลังว่า "ตอนนี้พวกเขา (อาร์เซนอล) กำลังจะเป็นแชมป์ลีก ผมแน่ใจเลย พวกเขาเล่นด้วยความมุ่งมั่นอย่างยิ่ง ... ทีมที่แข็งแกร่ง ฉะนั้นควรชนะลีกจริง ๆ"[142] หลังจบนัดนั้น "อาร์เซนอลสร้างสถิติลีกใหม่ตลอดกาลของลีกไม่แพ้ทีมใด 30 นัดติดต่อกันตั้งแต่เริ่มฤดูกาล ซึ่งผู้ถือสถิติเดิม ได้แก่ ลีดส์และลิเวอร์พูล[nb 6][147] จบเดือนมีนาคม พวกเขาอยู่อันดับที่หนึ่งของตาราง มีแต้มนำห่างเชลซี 7 แต้มในขณะที่เหลือการแข่งขันอีก 8 นัด[148]

 
กัปตันทีม ปาทริก วีเยรา กับถ้วยรางวัลที่ไฮบรี ในการแข่งขันนัดสุดท้ายของฤดูกาล

หลังตกรอบแชมป์ถ้วยสองรายการห่างกันหนึ่งสัปดาห์ อาร์เซนอลเปิดบ้านรับลิเวอร์พูลในวันศุกร์ประเสริฐ นัดนั้น ฮูเปีย้ฟยิงประตูขึ้นนำให้ทีมเยือนก่อนตั้งแต่ 5 นาทีแรก ต่อมาอ็องรีก็ยิงประตูตีเสมอหลัง 30 นาทีเล็กน้อย แต่ลิเวอร์พูลก็ขึ้นนำอีกครั้งก่อนหมดครึ่งแรก[149] อาร์เซนอลยิงสองประตูพลิกขึ้นนำในเวลา 1 นาที ประตูที่สองของอ็องรีเป็นการหยุดดีทมาร์ ฮามัน ในกลางสนาม เลี้ยงผ่านกองหลัง เจมี แคร์ราเกอร์ และวางบอลผ่านแยชือ ดูแด็ก[150] อ็องรีทำแฮตทริกได้ในนาทีที่ 78 หลังแบร์คกัมป์ช่วยส่งให้[149] ผู้จัดการทีมลิเวอร์พูล เฌราร์ อูลีเย เปรียบอาร์เซนอลกับ "สัตว์บาดเจ็บ" หลังการแข่งขันและเชื่อว่าอ็องรีเป็น "ผู้สร้างความแตกต่าง ... เขาตั้งจังหวะการเล่น"[149] ต่อมาอาร์เซนอลเสมอ 0–0 กับนิวคาสเซิลในวันจันทร์หยุดธนาคาร และห้าวันถัดมาพบกับลีดส์ยูไนเต็ด[151] นัดนั้นอ็องรียิงสี่ประตู และได้รับคำชมจากแวงแกร์ว่าเป็น "กองหน้าดีที่สุดในโลก" อาร์เซนอลต้องการชนะอีกสองนัดก็จะคว้าแชมป์[152]

เนื่องจากเชลซีไม่สามารถเก็บแต้มเต็มได้อีกสองนัด อาร์เซนอลจึงทราบตั้งแต่ก่อนนัดที่ไปเยือนทอตนัมว่าผลเสมอจะรับประกันว่าได้แชมป์[153] โคลได้กลับมาลงเล่นในดาร์บีนัดนั้น หลังไม่ได้ลงในนัดที่พบลีดส์ เนื่องจากบาดเจ็บข้อเท้า[154] อาร์เซนอลได้ประตูขึ้นนำก่อนในจังหวะโต้กลับของวีเยรา[2] อาร์เซนอลได้ประตูที่สอง ในช่วงสิบนาทีก่อนพักครึ่ง โดยแบร์คกัมป์ผ่านบอลให้วีเยรา ซึ่งตัดกลับให้ปีแร็สใช้ข้างเท้าเตะเข้า[154] แต่ทอตนัมก็ยิงสองประตูตีเสมอในครึ่งหลัง โดยเป็นลูกโทษหนึ่งลูก แต่ไม่หยุดผู้เล่นอาร์เซนอลมิให้เฉลิมฉลองเมื่อเสียงนกหวีดหมดเวลาการแข่งขัน "หน้ากองเชียร์ที่ไวต์ฮาร์ตเลน"[2] เป็นครั้งที่สองที่อาร์เซนอลได้แชมป์ลีกที่สนามของคู่แข่ง โดยครั้งแรกเกิดในปี 1971[155] แวงแกร์ชื่นชมความสำเร็จของลูกทีม พร้อมกล่าวกับบีบีซีว่า "พวกเรามีความเสมอต้นเสมอปลาย ไม่แพ้สักเกม และเราเล่นฟุตบอลมีสไตล์ เราสร้างความบันเทิงให้ผู้รักฟุตบอล"[156]

ในเดือนพฤษภาคม อาร์เซนอลเสมอในบ้านสองนัดติดต่อกันต่อเบอร์มิงแฮมซิตีและพอร์ตสมัท ทำให้อาร์เซนอลมี 84 แต้มจาก 36 นัด[157][158][159] นัดถัดมา เรเยสยิงหนึ่งประตูช่วยให้ทีมเอาชนะฟูลัมจากความผิดพลาดของผู้รักษาประตู แอ็ดวิน ฟัน เดอร์ซาร์ "ผู้รักษาประตูชาวดัตช์พยายามพุ่งผ่านกองหน้าของอาร์เซนอล แต่ให้อาร์เซนอลได้ครองบอลแทนและเป็นประตูโล่ง ๆ ที่ง่ายที่สุด"[160] นัดสุดท้ายของฤดูกาลอาร์เซนอลพบเลสเตอร์ซิตีในบ้าน พวกเขาเสียประตูก่อน แต่ก็พลิกกลับมาชนะจากสองประตูของอ็องรีกับวีเยรา จบฤดูกาล พวกเขาชนะ 26 นัด เสมอ 12 นัด และไม่แพ้สักนัด เป็นทีมแรกที่ไม่แพ้ทีมใดตลอดทั้งฤดูกาลนับตั้งแต่ที่เพรสตันนอร์ทเอนด์เคยทำได้ในฤดูกาล 1888–89 เมื่อทบทวนนัดและฤดูกาลทั้งหมดแล้ว เอมี โลแรนซ์แห่ง ดิอับเซิร์ฟเวอร์ เขียนว่า "ความสำเร็จของอาร์เซนอลไม่อาจทำให้พวกเขา 'ยิ่งใหญ่' ในความเห็นของทุกคนได้ ผู้ที่นิยามความยิ่งใหญ่เฉพาะจากถ้วยยุโรป แชมป์ติดต่อกันและตีลังกาสามรอบก่อนทำประตูทุกครั้ง แต่มันน่าประทับใจด้วยตัวมันเอง"[161]

นัด

แก้
24 สิงหาคม ค.ศ. 2003 (2003-08-24) 2มิดเดิลส์เบรอ0–4อาร์เซนอลมิดเดิลส์เบรอ
16:05 BST คูเปอร์   25' รายงาน อ็องรี   5'
ชิลเบร์ตู ซิลวา   13'
วีลตอร์   22'60'
สนามกีฬา: ริเวอร์ไซด์สเตเดียม
ผู้ชมในสนาม: 29,450 คน
ผู้ตัดสิน: เดอร์มอต แกลลาเกอร์
27 สิงหาคม ค.ศ. 2003 (2003-08-27) 3อาร์เซนอล2–0แอสตันวิลลาลอนดอน
19:05 BST ตูเร   40'
แคมป์เบลล์   57'
วีเยรา   22'
แบร์คกัมป์   80'
อ็องรี   90'
รายงาน เฮนดรี   16'
ดิเลนีย์   18'
อังเฮล   37'
วิตทิงงัม   71'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 38,010 คน
ผู้ตัดสิน: ไมก์ ดีน
31 สิงหาคม ค.ศ. 2003 (2003-08-31) 4แมนเชสเตอร์ซิตี1–2อาร์เซนอลแมนเชสเตอร์
16:05 BST โลแรน   10' (o.g.)
บาร์ตัน   49'
ซอแมย์   56'
ทาร์นัท   74'
ทีแอตโต   75'
รายงาน โคล   34'
วีลตอร์   48'
โลแรน   59'
ยุงแบร์ย   72',   73'
สนามกีฬา: ซิตีออฟแมนเชสเตอร์
ผู้ชมในสนาม: 46,436 คน
ผู้ตัดสิน: เกรอัม โพลล์
13 กันยายน ค.ศ. 2003 (2003-09-13) 5อาร์เซนอล1–1พอร์ตสมัทลอนดอน
15:00 BST แคมป์เบลล์   10'
อ็องรี   40' (ลูกโทษ)
ตูเร   40'
รายงาน เชริงงัม   26'
เดอ เซว   45'
สเตฟานอวิช   48'
เชมเมิล   65'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 38,052 คน
ผู้ตัดสิน: แอลัน ไวลีย์
21 กันยายน ค.ศ. 2003 (2003-09-21) 6แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด0–0อาร์เซนอลแมนเชสเตอร์
16:05 BST คีน   22'
ฟัน นิสเติลโรย   82'
โรนัลโด   84'
ฟอร์จูน   90'
รายงาน ตูเร   54'
คีโอน   61'
วีเยรา   79'   81'
สนามกีฬา: โอลด์แทรฟฟอร์ด
ผู้ชมในสนาม: 67,639 คน
ผู้ตัดสิน: สตีฟ เบนนิตต์
26 กันยายน ค.ศ. 2003 (2003-09-26) 7อาร์เซนอล3–2นิวคาสเซิลยูไนเต็ดลอนดอน
20:00 BST อ็องรี   18'80' (ลูกโทษ)
ชิลเบร์ตู ซิลวา   67'
รายงาน รอแบร์   26',   66'
แบร์นาร์   71'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 38,112 คน
ผู้ตัดสิน: ไมก์ ไรลีย์
4 ตุลาคม ค.ศ. 2003 (2003-10-04) 8ลิเวอร์พูล1–2อาร์เซนอลลิเวอร์พูล
12:30 BST Kewell   14'
Bišćan   67'
Welsh   85'
รายงาน ฮูเปีย   31' (o.g.)
โคล   34'
พาร์เลอร์   37'
ปีแร็ส   68'
สนามกีฬา: แอนฟีลด์
ผู้ชมในสนาม: 44,374 คน
ผู้ตัดสิน: เกรอัม บาร์เบอร์
18 ตุลาคม ค.ศ. 2003 (2003-10-18) 9อาร์เซนอล2–1เชลซีลอนดอน
15:00 BST เอดู   5'
อ็องรี   75'
รายงาน เกรสโป   8'
มาเกเลเล   11'
ฮัสเซิลบังก์   83'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 38,172 คน
ผู้ตัดสิน: พอล เดอร์กิน
26 ตุลาคม ค.ศ. 2003 (2003-10-26) 10ชาร์ลตันแอธเลติก1–1อาร์เซนอลลอนดอน
14:00 GMT Di Canio   28' (ลูกโทษ)
Parker   35'
รายงาน โลแรน   27'
อ็องรี   39'
สนามกีฬา: เดอะแวลลีย์
ผู้ชมในสนาม: 26,660 คน
ผู้ตัดสิน: สตีฟ ดันน์
1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003 (2003-11-01) 11ลีดส์ยูไนเต็ด1–4อาร์เซนอลลีดส์
15:00 GMT แบตตี   30'
ออแลมเบ   51'
สมิท   64'
รายงาน อ็องรี   8'33'
ปีแร็ส   18'
ชิลเบร์ตู ซิลวา   50'
สนามกีฬา: เอลแลนด์โรด
ผู้ชมในสนาม: 36,491 คน
ผู้ตัดสิน: ไมก์ ดีน
8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003 (2003-11-08) 12อาร์เซนอล2–1ทอตนัมฮอตสเปอร์ลอนดอน
15:00 GMT พาร์เลอร์   10'
ปีแร็ส   69'
ยุงแบร์ย   79'
รายงาน แอนเดอร์ตัน   5'   20'
คอนเชสกี   14'
ริชาดส์   20'
ตาริกโก   27'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 38,101 คน
ผู้ตัดสิน: มาร์ก แฮลซีย์
22 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003 (2003-11-22) 13เบอร์มิงแฮมซิตี0–3อาร์เซนอลเบอร์มิงแฮม
15:00 GMT ซีเซ   7' รายงาน ยุงแบร์ย   4'
ตูเร   14'
เอดู   78'
แบร์คกัมป์   80'
ปีแร็ส   88'
สนามกีฬา: เซนต์แอนดรูส์
ผู้ชมในสนาม: 29,588 คน
ผู้ตัดสิน: พอล เดอร์กิน
30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003 (2003-11-30) 14อาร์เซนอล0–0ฟูลัมลอนดอน
14:00 GMT เอดู   90' รายงาน แลกแว็งสกี   57' สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 38,063 คน
ผู้ตัดสิน: เกรอัม บาร์เบอร์
6 ธันวาคม ค.ศ. 2003 (2003-12-06) 15เลสเตอร์ซิตี1–1อาร์เซนอลเลสเตอร์
15:00 GMT เฟอร์ดิแนนด์   50'
ฮิกนิตต์   90'
รายงาน เลมัน   57'
ชิลเบร์ตู ซิลวา   60'
โคล   73'
สนามกีฬา: วอล์กเกอร์สเตเดียม
ผู้ชมในสนาม: 32,108 คน
ผู้ตัดสิน: ร็อบ สไตลส์
14 ธันวาคม ค.ศ. 2003 (2003-12-14) 16อาร์เซนอล1–0แบล็กเบิร์นโรเวอส์ลอนดอน
14:00 GMT แบร์คกัมป์   11'
ชิลเบร์ตู ซิลวา   29'
ซีก็อง   67'
รายงาน เกร็ชกอ   6'
เฟอร์กัสสัน   13'
บับเบิล   42'
ทอดด์   77'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 37,677 คน
ผู้ตัดสิน: แอนดี เดอร์โซ
20 ธันวาคม ค.ศ. 2003 (2003-12-20) 17โบลตันวอนเดอเรอส์1–1อาร์เซนอลโบลตัน
15:00 GMT กัมโป   52'
โนลัน   58'
Pedersen   83'
รายงาน วีเยรา   54'
ปีแร็ส   57'
อ็องรี   64'
สนามกีฬา: สนามกีฬารีบอค
ผู้ชมในสนาม: 28,003 คน
ผู้ตัดสิน: เกรอัม โพลล์
26 ธันวาคม ค.ศ. 2003 (2003-12-26) 18อาร์เซนอล3–0วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ลอนดอน
12:00 GMT แครดด็อก   13' (o.g.)
อ็องรี   20'89'
อาลียาเดียร์   73'
วีเยรา   75'
รายงาน บัตเลอร์   12'
เร   28'
อินซ์   66'
เนย์เลอร์   79'
ลุชนี   80'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 38,003 คน
ผู้ตัดสิน: ฟิล ดาวด์
29 ธันวาคม ค.ศ. 2003 (2003-12-29) 19เซาแทมป์ตัน0–1อาร์เซนอลเซาแทมป์ตัน
20:00 GMT มักแคนน์   87' รายงาน ปีแร็ส   35' สนามกีฬา: เซนต์แมรีส์สเตเดียม
ผู้ชมในสนาม: 32,151 คน
ผู้ตัดสิน: สตีฟ ดันน์
7 มกราคม ค.ศ. 2004 (2004-01-07) 20เอฟเวอร์ตัน1–1อาร์เซนอลลิเวอร์พูล
20:00 GMT ราจินสกี   75' รายงาน พาร์เลอร์   22'
คานู   29'
โลแรน   45'
ยุงแบร์ย   54'
สนามกีฬา: กูดิสันพาร์ก
ผู้ชมในสนาม: 38,726 คน
ผู้ตัดสิน: แอลัน ไวลีย์
10 มกราคม ค.ศ. 2004 (2004-01-10) 21อาร์เซนอล4–1มิดเดิลส์เบรอลอนดอน
15:00 GMT ชิลเบร์ตู ซิลวา   20'
อ็องรี   38' (ลูกโทษ)
เกอดรูว์   45' (o.g.)
ปีแร็ส   57'
ยุงแบร์ย   68'
รายงาน ดูรีวา   30'
มัคคาโรเน   86' (ลูกโทษ)
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 38,117 คน
ผู้ตัดสิน: แอนดี เดอร์โซ
18 มกราคม ค.ศ. 2004 (2004-01-18) 22แอสตันวิลลา0–2อาร์เซนอลเบอร์มิงแฮม
14:00 GMT ดิเลนีย์   29'
เม็ลแบร์ย   34'
วิตทิงงัม   45'
แบร์รี   59'
รายงาน อ็องรี   29'53' (ลูกโทษ)
วีเยรา   55'
สนามกีฬา: วิลลาพาร์ก
ผู้ชมในสนาม: 39,380 คน
ผู้ตัดสิน: มาร์ก แฮลซีย์
1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 (2004-02-01) 23อาร์เซนอล2–1แมนเชสเตอร์ซิตีลอนดอน
16:05 GMT ทาร์นัท   7' (o.g.),   37'
พาร์เลอร์   63'
อ็องรี   83'
โคล   90'
รายงาน บาร์ตัน   60'
ซิงแคลร์   84'
อาแนลกา   89',   90'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 38,103 คน
ผู้ตัดสิน: แอลัน ไวลีย์
10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 (2004-02-10) 25อาร์เซนอล2–0เซาแทมป์ตันลอนดอน
19:45 GMT อ็องรี   31'90'
วีเยรา   38'
พาร์เลอร์   63'
รายงาน แบร์ด   71'
สเว็นซอน   90'
อันต์ตี นิเอมี   90'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 38,007 คน
ผู้ตัดสิน: นีล แบร์รี
21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 (2004-02-21) 26เชลซี1–2อาร์เซนอลลอนดอน
12:30 GMT กวึดยอนแซน   1'   42'   60'
มูตู   51'
เทร์รี   67'
แลมพาร์ด   67'
รายงาน วีเยรา   15'
เอดู   21'
โลแรน   60'
อ็องรี   90'
สนามกีฬา: สแตมฟอร์ดบริดจ์
ผู้ชมในสนาม: 41,847 คน
ผู้ตัดสิน: ไมก์ ไรลีย์
28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 (2004-02-28) 27อาร์เซนอล2–1ชาร์ลตันแอธเลติกลอนดอน
15:00 GMT ปีแร็ส   2'
อ็องรี   4'
รายงาน เยินเซิน   59' สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 38,137 คน
ผู้ตัดสิน: เกรอัม บาร์เบอร์
13 มีนาคม ค.ศ. 2004 (2004-03-13) 28แบล็กเบิร์นโรเวอส์0–2อาร์เซนอลแบล็กเบิร์น
15:00 GMT Andresen   54' รายงาน อ็องรี   57'
เอดู   73'
ปีแร็ส   87'
สนามกีฬา: อีวุดพาร์ก
ผู้ชมในสนาม: 28,627 คน
ผู้ตัดสิน: แอลัน ไวลีย์
20 มีนาคม ค.ศ. 2004 (2004-03-20) 29อาร์เซนอล2–1โบลตันวอนเดอเรอส์ลอนดอน
15:00 GMT ปีแร็ส   16'
แบร์คกัมป์   24'
โคล   62'
รายงาน โนลัน   30'
กัมโป   41'
เพเดอร์เซิน   85'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 38,053 คน
ผู้ตัดสิน: เกรอัม บาร์เบอร์
28 มีนาคม ค.ศ. 2004 (2004-03-28) 30อาร์เซนอล1–1แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดลอนดอน
16:05 BST อ็องรี   50'
กลีชี   70'
รายงาน สโกลส์   25'
ซาอา   86'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 38,184 คน
ผู้ตัดสิน: เกรอัม โพลล์
9 เมษายน ค.ศ. 2004 (2004-04-09) 31อาร์เซนอล4–2ลิเวอร์พูลลอนดอน
12:30 BST โคล   29'
อ็องรี   31'50'78'
ปีแร็ส   49'
วีเยรา   65'
โลแรน   73'
รายงาน ฮือปิแอ   5'
โอเวน   42'
ดียุฟ   83'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 38,119 คน
ผู้ตัดสิน: แอลัน ไวลีย์
11 เมษายน ค.ศ. 2004 (2004-04-11) 32นิวคาสเซิลยูไนเต็ด0–0อาร์เซนอลนิวคาสเซิลอะพอนไทน์
16:05 BST รายงาน วีเยรา   5' สนามกีฬา: เซนต์เจมส์พาร์ก
ผู้ชมในสนาม: 52,141 คน
ผู้ตัดสิน: พอล เดอร์กิน
16 เมษายน ค.ศ. 2004 (2004-04-16) 33อาร์เซนอล5–0ลีดส์ยูไนเต็ดลอนดอน
20:00 BST ปีแร็ส   6'
อ็องรี   27'33' (ลูกโทษ)50'67'
รายงาน สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 38,094 คน
ผู้ตัดสิน: เดอร์มอต แกลลาเกอร์
25 เมษายน ค.ศ. 2004 (2004-04-25) 34ทอตนัมฮอตสเปอร์2–2อาร์เซนอลลอนดอน
16:05 BST เรดแนปป์   58',   62'
คีน   90+4' (ลูกโทษ)
รายงาน วีเยรา   3'
ปีแร็ส   35'
เลมัน   90'
สนามกีฬา: ไวต์ฮาร์ตเลน
ผู้ชมในสนาม: 36,097 คน
ผู้ตัดสิน: มาร์ก ฮอลซีย์
1 พฤษภาคม ค.ศ. 2004 (2004-05-01) 35อาร์เซนอล0–0เบอร์มิงแฮมซิตีลอนดอน
12:30 BST รายงาน จอห์นสัน   16'
แซวิจ   49'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 38,061 คน
ผู้ตัดสิน: เกรอัม โพลล์
4 พฤษภาคม ค.ศ. 2004 (2004-05-04) 36พอร์ตสมัท1–1อาร์เซนอลพอร์ตสมัท
20:00 BST ยาคูบู   30' รายงาน แคมป์เบลล์   42'
เรเยส   50'
พาร์เลอร์   49'
สนามกีฬา: แฟรตตันพาร์ก
ผู้ชมในสนาม: 20,140 คน
ผู้ตัดสิน: ไมก์ ไรลีย์
9 พฤษภาคม ค.ศ. 2004 (2004-05-09) 37ฟูลัม0–1อาร์เซนอลลอนดอน
16:05 BST เดวิส   89' รายงาน เรเยส   9'
วีเยรา   52'
อ็องรี   69'
พาร์เลอร์   84'
สนามกีฬา: ลอฟตัสโรด
ผู้ชมในสนาม: 18,102 คน
ผู้ตัดสิน: ไมก์ ดีน
15 พฤษภาคม ค.ศ. 2004 (2004-05-15) 38อาร์เซนอล2–1เลสเตอร์ซิตีลอนดอน
14:00 BST อ็องรี   47' (ลูกโทษ)
วีเยรา   66'
รายงาน ดิกคอฟ   26'
ซิงแคลร์   47'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 38,419 คน
ผู้ตัดสิน: พอล เดอร์กิน

ตารางคะแนน

แก้
อันดับ
สโมสร
แข่ง
ชนะ
เสมอ
แพ้
ได้
เสีย
ผลต่าง
คะแนน
ได้รับคัดเลือก หรือ ตกชั้น
1 อาร์เซนอล (C) 38 26 12 0 73 26 +47 90 ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2004–05 รอบแบ่งกลุ่ม
2 เชลซี 38 24 7 7 67 30 +37 79
3 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 38 23 6 9 64 35 +29 75 ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2004–05 รอบคัดเลือกรอบสาม
4 ลิเวอร์พูล 38 16 12 10 55 37 +18 60
5 นิวคาสเซิลยูไนเต็ด 38 13 17 8 52 40 +12 56 ยูฟ่าคัพ ฤดูกาล 2004–05 รอบแรก

แหล่งข้อมูล: [162]
กฎการจัดอันดับ: 1) คะแนน; 2) ผลต่างประตู; 3) ประตูรวม
(C) = ชนะเลิศ; (R) = ตกชั้น; (P) = เลื่อนชั้น; (O) = ผู้ชนะจากรอบคัดเลือก; (A) = ผ่านเข้ารอบต่อไป
ใช้ได้เฉพาะเมื่อฤดูกาลยังไม่สิ้นสุด:
(Q) = ได้รับคัดเลือกเข้าแข่งขันในระยะของทัวร์นาเมนต์ที่ระบุ; (TQ) = ได้รับคัดเลือกเข้าแข่งขัน แต่ยังไม่อยู่ในระยะที่ระบุ; (DQ) = ถูกตัดสิทธิ์จากทัวร์นาเมนต์

ผลแต่ละรอบ

แก้
นัดที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38
สนาม H A H A H A H A H A A H A H A H A H A A H A H A H A H A H H H A H A H A A H
ผล W W W W D D W W W D W W W D D W D W W D W W W W W W W W W D W D W D D D W W
อันดับที่ 4 1 1 1 1 1 1 1 1 1 2 1 1 2 2 1 1 2 2 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1

อ้างอิง: [163]
สนาม: A = เยือน; H = เหย้า ผล: D = เสมอ; L = แพ้; W = ชนะ; P = เลื่อนการแข่งขัน

เอฟเอคัพ

แก้

เอฟเอคัพเป็นการแข่งขันถ้วยหลักของฟุตบอลอังกฤษ จัดครั้งแรกในปี 1871–72 โดยมี 15 ทีมเข้าแข่งขัน[164] การเติบโตของกีฬาฟุตบอลและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของการแข่งขันทำให้ในปี 2000 มีกว่า 600 ทีมเข้าร่วม[165] สโมสรในพรีเมียร์ลีกเข้าสู่เอฟเอคัพในรอบสามและถูกจับสุ่มออกจากหมวกด้วยสโมสรที่เหลือ หากผลเสมอทั้งสองทีมต้องเล่นใหม่ เดิมเล่นที่สนามของทีมเยือนของเกมแรก ด้วยกำหนดการลีก นัดเอฟเอคัพจึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในกรณีที่เกมได้รับคัดเลือกให้ออกอากาศทางโทรทัศน์และอาจชนกับการแข่งขันอื่นได้[166] ในกรณีของอาร์เซนอล มีการออกอากาศการแข่งขันทุกนัดยกเว้นนัดที่เสมอ (รอบที่สี่) ต่อผู้ชมบริติช[167][168][169][170]

อาร์เซนอลเข้าสู่ฤดูกาล 2003–04 ในฐานะแชมป์เก่า ทีมไร่พ่ายในการแข่งขันถ้วย 14 นัดนับแต่นัดที่แพ้ลิเวอร์พูล 2–1 ในรอบชิงชนะเลิศเอฟเอคัพ 2001 และหวังชนะการแข่งขันเป็นฤดูกาลที่สามติดต่อกัน ซึ่งครั้งสุดท้ายสโมสรแบล็กเบิร์นโรเวอส์เคยทำไว้ตั้งแต่ปี 1884 ถึง 1886[171] อ็องรีเชื่อว่ารูปแบบการเล่นที่ดีของอาร์เซนอลในบอลถ้วยแสดงว่าพวกเขา "สนใจ" ในการแข่งขันและหวังว่าความสำเร็จของพวกเขาจะยังอยู่ต่อไป[171] เอฟเอคัพอยู่ไม่สูงในรายการลำดับความสำคัญของแวงแกร์ "พรีเมียร์ลีกและแชมเปียนลีกสำคัญกว่า" แต่เขาขยายความว่าไม่ได้หมายความว่าอาร์เซนอลจะละเลยการแข่งขันนี้ "คุณชนะเท่าที่ได้และไปให้ไกลที่สุด"[172]

 
ภาพถ่ายเรวี สแตนด์ที่เอลแลนด์โรดปี 2007 ที่ที่อาร์เซนอลพบลีดส์ยูไนเต็ดในรอบที่สาม

อาร์เซนอลถูกจับสลากให้พบกับลีดส์ยูไนเต็ดแบบเยือนในรอบที่สาม มีการเล่นในสุดสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม[173] แวงแกร์เปลี่ยนตัวผู้เล่นหกตำแหน่งซึ่งเริ่มที่เซาท์แทมป์ตันในลีก ได้แก่ โคลแทนกลีชีเป็นกองหลังซ้ายหลังโทษพักเล่น 3 นัด หลังผ่านไป 8 นาที ลีดส์ขึ้นนำก่อนเมื่อลูกที่สกัดไม่หลุดของเลมันชนกองหน้า มาร์ก วิดูกา และกระดอนกลับเข้าตาข่าย[174] อาร์เซนอลตีเสมอได้ด้วยประตูของอ็องรี ซึ่งเปลี่ยนทิศทางลูกส่งข้ามของยุงแบร์ยจากฝั่งขวาด้วยวอลเลย์[174] อาร์เซนอลได้ประตูเพิ่มจากเอดู, ปีแร็ส และตูเร ทำให้อาร์เซนอลชนะ 4–1 ประตูต่อลีดส์เป็นครั้งที่สามติดต่อกันในเอลแลนด์โรด[174] ที่บ้านของมิดเดิลสเบรอในรอบที่สี่ แบร์คกัมป์ยิงประตูให้อาร์เซนอลขึ้นนำก่อนหลังการเล่นที่ดีจากพาร์เลอร์;[175] โฌแซ็ฟ-เดซีเร ฌอบ ยิงประตูตีเสมอให้ทีมเยือนอีกสี่นาทีถัดมา[175] แต่ยุงแบร์ยทำประตูทำให้อาร์เซนอลขึ้นนำอีกครั้งจากลูกยิงนอกกรอบเขตโทษ และยิงประตูที่สองเป็นลูกตรงจากการเตะมุม[175] จอร์จ โบอาเท็ง จากทีมเยือนถูกส่งออกจากสนามในนาทีที่ 86 จากใบเหลืองใบที่สอง และตัวสำรอง เดวิด เบนต์ลีย์ ยิงประตูที่สี่ให้อาร์เซนอล โดยชิปบอลข้ามผู้รักษาประตู ชวาร์ทเซอร์ ในนาทีสุดท้ายของเวลาปกติ[175]

ในรอบที่ห้า อาร์เซนอลพบเชลซีที่ไฮบรี ห้านาทีก่อนหมดครึ่งแรก กองหน้า อาดรีอัน มูตู ยิงให้เชลซีขึ้นนำก่อนจากลูกยิงระยะ 20 หลา[176] เรเยสซึ่งลงมาแทนอ็องรีเป็นตัวจริงในนัดนี้ ยิงไกลเข้าประตูตีเสมอให้กับเจ้าบ้าน[176] เขาวิ่งแข่งผู้รักษาประตูซัลลิวันเพื่อยิงประตูที่สองซึ่งเป็นประตูชัยของนัดนี้[176] รอบก่อนรองชนะเลิศเป็นการพบกับพอร์ตสมัทที่แฟรตตันพาร์กในวันที่ 6 มีนาคม 2004 อ็องรีเปิดเกมด้วยการทำประตูในนาทีที่ 25 และยิงเข้าอีกประตู และยุงแบร์ยกับตูเรยิงเข้าอีกคนละประตู ผ่านเข้าเป็นสี่ทีมสุดท้ายของการแข่งขัน[177] ผู้สื่อข่าว เดอะการ์เดียน เควิน แม็กคารา ผู้ตื่นเต้นกับการเล่นของทีมเยือน ยกย่องเอดูว่า "อาร์เซนอลดำเนินตามปรัชญาของอายักซ์ที่ผู้เล่นสับเปลี่ยนตำแหน่งและเปลี่ยนจุดบุกเรื่อย ๆ ก่อนสะกดสายตาของเกมรับ"[177]

แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเป็นคู่แข่งของอาร์เซนอลในรอบรองชนะเลิศ จัดที่วิลลาพาร์กเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2004 ทั้งสองทีมเสมอกันในลีกเมื่อวันอาทิตย์ก่อน แต่เนื่องจากนี่เป็นนัดเพื่อตำแหน่งในรอบชิงชนะเลิศ เดิมพันจึงสูงกว่ามาก กองหลังของยูไนเต็ด แกรี เนวิล อธิบายเกมนี้ว่าเป็นเกม "สำคัญที่สุด" ของทีมเขาในฤดูกาลนี้หลังตกรอบแชมเปียนลีกและเขามองว่า "ตามหลังเกินไป" ในพรีเมียร์ลีก[178] แวงแกร์ให้อ็องรีได้พัก เมื่อพิจารณากำหนดการแข่งขันแน่นของทีมในอนาคต แม้อาร์เซนอลเริ่มเกมได้ดีกว่า แต่กองกลางของยูไนเต็ด พอล สโกลส์ เป็นผู้ทำประตูชัยประตูเดียวของเกมนั้นและทำให้ทีมผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ[179]

4 มกราคม ค.ศ. 2004 (2004-01-04) รอบที่สามลีดส์ยูไนเต็ด1–4อาร์เซนอลลีดส์
16:05 GMT วิดูกา   8'
Bakke   36'
สมิท   42'
รายงาน อ็องรี   26'
เอดู   33'
ชิลเบร์ตู ซิลวา   84'
ปีแร็ส   87'
ตูเร   90'
สนามกีฬา: Elland Road
ผู้ชมในสนาม: 31,207 คน
ผู้ตัดสิน: ร็อบ สไตลส์
24 มกราคม ค.ศ. 2004 (2004-01-24) รอบที่สี่อาร์เซนอล4–1มิดเดิลส์เบรอลอนดอน
15:00 GMT แบร์คกัมป์   19'
ยุงแบร์ย   28'68'
เบนต์ลีย์   90'
รายงาน ฌอบ   23'
แซ็นเดิน   84'
ริกกอตต์   84'
Parnaby   56'
โบอาเท็ง   84'   85'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 37,256 คน
ผู้ตัดสิน: ไมก์ ดีน
15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 (2004-02-15) รอบที่ห้าอาร์เซนอล2–1เชลซีลอนดอน
12:30 GMT แคมป์เบลล์   7'
ชิลเบร์ตู ซิลวา   34'
วีเยรา   45'
เรเยส   56'61'
รายงาน แม็ลคีโยต   16'
มูตู   25',   40'
มาเกเลเล   29'
ฮัสเซิลบังก์   60'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 38,136 คน
ผู้ตัดสิน: พอล เดอร์กิน
6 มีนาคม ค.ศ. 2004 (2004-03-06) รอบก่อนรองชนะเลิศพอร์ตสมัท1–5อาร์เซนอลพอร์ตสมัท
18:00 GMT เชริงงัม   90' รายงาน อ็องรี   25'50'
ยุงแบร์ย   43'57'
ตูเร   43'
สนามกีฬา: แฟรตตันพาร์ก
ผู้ชมในสนาม: 20,137 คน
ผู้ตัดสิน: เจฟฟ์ วินเตอร์
3 เมษายน ค.ศ. 2004 (2004-04-03) รอบรองชนะเลิศอาร์เซนอล0–1แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเบอร์มิงแฮม
12:00 GMT ปีแร็ส   29'
เลมัน   52'
ตูเร   78'
โลแรน   80'
รายงาน สโกลส์   32',   73' สนามกีฬา: วิลลาพาร์ก
ผู้ชมในสนาม: 39,939 คน
ผู้ตัดสิน: เกรอัม บาร์เบอร์

สัญลักษณ์สี: เขียว = อาร์เซนอลชนะ; แดง = คู่แข่งชนะ

ฟุตบอลลีกคัพ

แก้

ฟุตบอลลีกคัพเป็นการแข่งขันถ้วยที่เปิดแก่สโมสรในพรีเมียร์ลีกและฟุตบอลลีก แข่งแบบแพ้คัดออกเช่นเดียวกับเอฟเอคัพ โดยยกเว้นรอบรองชนะเลิศซึ่งแข่งสองผลัด ระยะเวลาดำรงตำแหน่งผู้จัดการทีมของแวงแกร์ที่อาร์เซนอล เขาใช้การแข่งขันให้ผู้เล่นอายุน้อยและมีชื่อเสียงน้อยกว่าลงเล่น ซึ่งเขาและเฟอร์กูสันถูกวิจารณ์ทีแรกในปี 1997[180] แม้เฟอร์กูสันรู้สึกว่าเป็นสิ่งไขว้เขวไม่พึงปรารถนาในขณะนั้น แต่แวงแกร์กล่าวว่า "หากการแข่งขันต้องการอยู่รอด จะต้องให้สิ่งจูงใจเป็นตำแหน่งในยุโรป [การแข่งขันต่าง ๆ ของยูฟ่า]"[181][182] ผู้ชนะลีกคัพในฤดูกาล 2003–04 จะได้เข้าไปเล่นยูฟ่าคัพ ยกเว้นได้รับสิทธิแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกจากอันดับในลีก[183] นัดลีกคัพสามารถเปลี่ยนได้ในกรณีมีการเลือกเกมออกอากาศ ลมฟ้าอากาศไม่เอื้ออำนวย และการแข่งขันชนที่อาจเกิดขึ้น ทุกรอบยกเว้นรอบชิงชนะเลิศเล่นกลางสัปดาห์[184]

อาร์เซนอลเข้าสู่ลีกคัพในรอบที่สาม และถูกจับสลากเล่นที่บ้านของรอเทอรัมยูไนเต็ด[185] แวงแกร์ให้กองกลาง เซสก์ ฟาเบรกัส ลงเล่นนัดแรกเมืออายุได้ 16 ปี 177 วัน จนถึงปี 2016 เขายังเป็นผู้เล่นอายุน้อยสุดที่ลงเล่นให้สโมสร[186] อาร์เซนอลนำตั้งแต่นาทีที่ 11 จากประตูของอาลียาเดียร์ แต่เสียประตูตีเสมอในช่วงท้ายเกมทำให้ต้องต่อเวลา[187] ผู้รักษาประตูรอเทอรัม ไมก์ พอลลิตต์ ถูกไล่ออกจากสนามเพราะถือบอลนอกกรอบเขตโทษ ส่วนตัวสำรอง แกรี มอนต์กอเมอรี ป้องกันประตูชัยของวีลตอร์ได้ เนื่องจากไม่มีทีมใดยิงประตูเพิ่มได้ จึงตัดสินด้วยจุดโทษซึ่งอาร์เซนอลชนะ 9–8[187] อาร์เซนอลชนะคู่แข่งจากดิวิชันวุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ในรอบที่สี่ วีเยราซึ่งไม่ได้ลงเล่นจากอาการบาดเจ็บในเดือนกันยายนและตุลาคม กลับมาลงเล่นให้ทีมครั้งแรกและเล่นเต็มเวลา[188]

ในรอบที่ห้า อาร์เซนอลเดินทางไปเดอะฮอว์ทอนส์พบกับเวสต์บรอมมิชอัลเบียน แวงแกร์เพิ่มนักฟุตบอลมากประสบการณ์เป็นตัวสำรองเพื่อลงแทนเยาวชน โดยมีชื่อของพาร์เลอร์, เอดู, คานู และคีโอน อาร์เซนอลขึ้นนำในนาทีที่ 25 จากคานู ลูกยิงข้ามจากฝั่งขวามือของโลแรนถูกเปลี่ยนทิศทางสู่คานู[189] ผู้รักษาประตู รัสเซลล์ โฮลต์ ป้องกันลูกโหม่งของเขา แต่ไม่สามารถรับลูกยิงที่กระดอนมาเข้าตาข่าย อาลียาเดียร์ทำประตูที่สองของอาร์เซนอลในนัดนี้หลัง โฮลต์เตะลูกทิ้งไม่ดี[189]

อาร์เซนอลออกจากการแข่งขันในรอบรองชนะเลิศที่พบกับมิดเดิลส์เบรอ ที่ไฮบรีอันเป็นที่แข่งขันผลัดแรก ฌูนิญญูยิงประตูเดียวในนัดนั้น[190] ความพยายามผ่านเข้ารอบของอาร์เซนอลยากขึ้นเมื่อคีโอนถูกไล่ออกจากสนามในผลัดสอง และเบาเดอไวน์ แซ็นเดิน ยิงประตูเพิ่มให้มิดเดิลส์เบรอ แม้เอดูจะยิงประตูตีเสมอให้อาร์เซนอลในคืนนั้น แต่การทำเข้าประตูตัวเองของเรเยสทำให้มิดเดิลส์เบรอชนะ[191] แวงแกร์ออกความเห็นถึงผลการแข่งขันว่า "ผมไม่คิดว่าเราสมควรแพ้ แม้เมื่อเราเหลือผู้เล่น 10 คน เราก็กำลังเล่นเกม"[191]

2 ธันวาคม ค.ศ. 2003 (2003-12-02) รอบที่สี่อาร์เซนอล5–1วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ลอนดอน
19:45 GMT อาลียาเดียร์   24'71'
ซิเม็ก   35'
ตัฟลารีดิส   54'
คานู   68'
วีลตอร์   79'
ฟาเบรกัส   88'
รายงาน เบลก   54'
กวึดโยนซอน   72'
เร   81'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 28,161 คน
ผู้ตัดสิน: เดอร์มอต แกลลาเกอร์
16 ธันวาคม ค.ศ. 2003 (2003-12-16) รอบที่ห้าเวสต์บรอมมิชอัลเบียน0–2อาร์เซนอลเวสต์บรอมมิช
20:00 GMT รายงาน คานู   25'
ตัฟลารีดิส   34'
อาลียาเดียร์   57'
สนามกีฬา: เดอะฮอว์ทอนส์
ผู้ชมในสนาม: 20,369 คน
ผู้ตัดสิน: แมตต์ เมสไซอัส
20 มกราคม ค.ศ. 2004 (2004-01-20) รอบรองชนะเลิศ (เลกแรก)อาร์เซนอล0–1มิดเดิลส์เบรอลอนดอน
19:45 GMT รายงาน ฌูนิญญู   14',   53'
เกอดรูว์   64'
มิลส์   71'
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 31,070 คน
ผู้ตัดสิน: สตีฟ ดันน์
3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 (2004-02-03) รอบรองชนะเลิศ (เลกที่สอง)มิดเดิลส์เบรอ2–1
(3–1 ผลประตูรวม)
อาร์เซนอลมิดเดิลส์เบรอ
20:00 GMT เกอดรูว์   60'
แซ็นเดิน   69'
เรเยส   85' (o.g.)
รายงาน คีโอน   45'
เบนต์ลีย์   73'
เอดู   77'
สนามกีฬา: ริเวอร์ไซด์สเตเดียม
ผู้ชมในสนาม: 28,781 คน
ผู้ตัดสิน: เดอร์มอต แกลลาเกอร์

สัญลักษณ์สี: เขียว = อาร์เซนอลชนะ; เหลือง = เสมอ; แดง = คู่แข่งชนะ

ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก

แก้

ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเป็นการแข่งขันฟุตบอลสโมสรของทวีปยุโรปที่ยูฟ่าจัด ก่อตั้งในคริสต์ทศวรรษ 1950 ในชื่อ "ยูโรเปียนแชมเปียนคลับส์คัพ" การแข่งขันเปิดให้กับสโมสรแชมเปียนของแต่ละประเทศและจัดแบบทัวร์นาเมนต์แพ้คัดออก[192] การเติบโตของสิทธิโทรทัศน์ทำให้มีการเปลี่ยนรูปแบบใหม่ในคริสต์ทศวรรษ 1990 ให้รวมรอบแบ่งกลุ่มและอนุญาตให้ประเทศหนึ่งมีสโมสรเข้าแข่งขันได้หลายสโมสร[192][193] อาร์เซนอลผ่านเข้าไปเล่นในแชมเปียนส์ลีกทุกฤดูกาลตั้งแต่ฤดูกาล 1998–99 แต่สโมสรไม่เคยไปไกลเกินรอบก่อนรองชนะเลิศ[194] ก่อนการแข่งขัน แวงแกร์ประเมินว่าทีมเขาจำเป็นต้องทำผลงานในเกมเหย้าว่า "เราโตพอแล้ว และเราต้องเพิ่มประกายเล็กน้อยเพื่อสร้างความแตกต่าง"[194]

รอบแบ่งกลุ่ม

แก้
 
ประกาศนอกไฮบรีแจ้งนัดที่อาร์เซนอลจะพบกับอินเตอร์มิลาน

อาร์เซนอลถูกจับสลากอยู่กลุ่มบี ร่วมกับสโมสรอิตาลีอินเตอร์มิลาน, โลโกโมติฟมอสโกแห่งรัสเซียและดีนาโมคียิวของยูเครน[195] แวงแกร์เชื่อว่าการเดินทางไปยุโรปตะวันออกคุกคามโอกาสชนะพรีเมียร์ลีกของทีม "ทีมอังกฤษอื่นมีกลุ่มที่สบายกว่าเรา การไปรัสเซียมันยาก ผมบอกเสมอถ้าคุณต้องเดินทางมากกว่าสองชั่วโมงมันยาก บางทีผู้เล่นจ่ายราคาแพงในเกมหลังนัดแชมเปียนส์ลีก"[196]

อาร์เซนอลประเดิมแชมเปียนส์ลีกด้วยการแพ้ 3–0 ต่ออินเตอร์มิลานซึ่งได้ประตูจากฮูลิโอ ริการ์โด กรุซ, แอ็นดี ฟัน เดอร์ไมเดอ และโอบาเฟมี มาร์ตินส์ ในครึ่งแรกทั้งหมด ทำให้อาร์เซนอลได้สถิติแพ้ในบ้านในแชมเปียนส์ลีกเป็นนัดที่หกติดต่อกัน[197] แวงแกร์กล่าวหลังจากนั้นว่า "เราสามารถบ่นและร้องไห้ได้ทั้งคืน แต่มันจะไม่เปลี่ยนแปลงผล สิ่งเดียวที่เราทำได้คือโต้ตอบ"[198] ทีมอาร์เซนอลซึ่งไม่มีแคมป์เบลล์และวีเยราเสมอในนัดที่ไปเยือนโลโคโมติฟมอสโก แต่ยังอยู่ท้ายตาราง[199] อาร์เซนอลแพ้ดีนาโมคียิวในปลายเดือนตุลาคม การตัดสินใจของแวงแกร์เปลี่ยนจากรูปขบวน 4–4–2 ที่เขานิยมทำให้ทีมเล่นแคบกว่าปกติ[200] โคลทำประตูชัยในนัดเล่นที่ไฮบรีพบดีนาโมคียิว ลูกยิงข้ามจากวีลตอร์ถูกอ็องรีปักไปทางโคลที่กำลังพุ่งเข้ามา แล้วโหม่งบอลข้ามผู้รักษาประตู ออเลคซันดร์ ชอฟคอฟสกีย์[201]

ทีมทำประตูได้สี่ประตูในครึ่งหลังที่พบกับอินเตอร์มิลานและชนะ 5–1 แวงแกร์รู้สึกว่าผลนี้แสดงถึง "...ความเข้มแข็งทางจิตใจเป็นพิเศษในทีม" ส่วนโคลเปรียบเทียบว่าเหมือนชัยของอังกฤษต่อเยอรมนีในปี 2001 แต่เสริมว่า "นี่ดีกว่าอีก"[202] อาร์เซนอลชนะโลโคโมติฟมอสโก 2–0 เป็นแชมป์กลุ่มบี เจค็อบ เล็กเกโท ถูกไล่ออกจากสนามในนาทีที่ 8 ทำให้ทีมเยือนแข่งในเวลาที่เหลือด้วยผู้เล่นสิบคน[203]

กลุ่มบี
ทีม แข่ง ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง คะแนน
  อาร์เซนอล 6 3 1 2 9 6 +3 10
  โลโคโมติฟมอสโก 6 2 2 2 7 7 0 8
  อินแตร์นาซีโอนาเลมีลาโน 6 2 2 2 8 11 −3 8
  ดีนาโมคียิว 6 2 1 3 8 8 0 7
30 กันยายน ค.ศ. 2003 (2003-09-30) 2โลโคโมติฟมอสโก  0–0  อาร์เซนอลมอสโก รัสเซีย
18:30 MSD นีเจโกโรดอฟ   79' รายงาน สนามกีฬา: สนามกีฬาโลโคโมติฟ
ผู้ชมในสนาม: 30,000 คน
ผู้ตัดสิน: ยัน เวเคอเรฟ (เนเธอร์แลนด์)
5 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003 (2003-11-05) 4อาร์เซนอล  1–0  ดีนาโมคียิวลอนดอน อังกฤษ
19:45 GMT ซิลวา   27'
ตูเร   74'
โคล   88'
รายงาน เลคอ   37' สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 34,419 คน
ผู้ตัดสิน: ลูซียู บาติชตา (โปรตุเกส)
10 ธันวาคม ค.ศ. 2003 (2003-12-10) 6อาร์เซนอล  2–0  โลโคโมติฟมอสโกลอนดอน อังกฤษ
19:45 GMT ปีแร็ส   12'
วีเยรา   14'
ยุงแบร์ย   67'
รายงาน เอฟเซเยฟ   38'
เล็กเกโท   8'   '
สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 35,343 คน
ผู้ตัดสิน: ยูบ็อช มิเค็ลย์ (สโลวาเกีย)

สัญลักษณ์สี: เขียว = อาร์เซนอลชนะ; เหลือง = เสมอ; แดง = คู่แข่งชนะ

รอบแพ้คัดออก

แก้

รอบ 16 ทีมสุดท้าย

แก้

อาร์เซนอลถูกจับคู่พบเซลตา เด บิโกในรอบ 16 ทีมสุดท้าย และผลัดแรกจัดที่บาลาอิโดส[204] แม้เสียสองประตูจากลูกตั้งเตะ แต่อาร์เซนอลทำประตูคืนได้สามประตูทำให้ชนะนัดนั้น ทำให้ทีมอยู่ในสถานะได้เปรียบตามกฎประตูทีมเยือน[205] นัดถัดมาในวันที่ 10 มีนาคม 2004 อาร์เซนอลผ่านเข้ารอบโดยชนะ 2–0 ที่อ็องรีเป็นผู้ทำประตูทั้งสองลูก[206]

24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 (2004-02-24) เลกแรกเซลตา บิโก  2–3  อาร์เซนอลบิโก สเปน
20:45 CET เอดู   27'
ซิลวิญญู   45'
โฆเซ อิกนาซิโอ   64'
รายงาน เอดู   18'58',   87'
ปีแร็ส   80'
อ็องรี   88'
สนามกีฬา: บาลาอิโดส
ผู้ชมในสนาม: 21,000 คน
ผู้ตัดสิน: อันเดิร์ส ฟริสก์ (สวีเดน)
10 มีนาคม ค.ศ. 2004 (2004-03-10) เลกที่สองอาร์เซนอล  2–0
(5–2 ผลประตูรวม)
  เซลตา บิโกลอนดอน อังกฤษ
19:45 BST อ็องรี   14'34' รายงาน กาเซเรส   36'   ' สนามกีฬา: ไฮบรี
ผู้ชมในสนาม: 35,402 คน
ผู้ตัดสิน: ปีแยร์ลูอีจี คอลลีนา (อิตาลี)

สัญลักษณ์สี: เขียว = อาร์เซนอลชนะ; เหลือง = เสมอ; แดง = คู่แข่งชนะ

รอบก่อนรองชนะเลิศ

แก้

ในรอบก่อนรองชนะเลิศ อาร์เซนอลพบสโมสรอังกฤษร่วมชาติเชลซี ผลจับสลากทำให้รองประธานดีนผิดหวัง เขาว่า "ความยินดีของการเล่นในยุโรปอย่างหนึ่งคือการเล่นกับทีมจากต่างประเทศ และการได้เล่นกับเชลซีสามครั้ง เป็นการชะลอความตื่นเต้นไปบ้าง"[207] ผลัดแรกแข่งที่สแตมฟอร์ดบริดจ์ยุติด้วยการเสมอเมื่อกวึดยอนแซนและปีแร็สทำประตูให้สโมสรของตน อาร์เซนอลไม่สามารถใช้ข้อได้เปรียบจากการไล่มาร์แซล เดอซายี ออกในครึ่งหลัง แต่แวงแกร์รู้สึกว่าทีมเขาอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่จะผ่านเข้ารอบ "เป้าหมายหลักของเราจะเป็นการชนะเกมที่ไฮบรี และเรารู้ว่าเราทำได้"[208]

อ็องรีซึ่งพักสำหรับนัดรองชนะเลิศเอฟเอคัพ ลงเป็นตัวจริงคู่กับเรเยสในผลัดสอง เรเยสทำประตูให้อาร์เซนอลขึ้นนำในช่วงทดเวลาบาดเจ็บครึ่งแรก แต่แฟรงก์ แลมพาร์ด ทำประตูตีเสมอให้เชลซีในนาทีที่ 51 และสามนาทีก่อนหมดเวลา กองหลัง เวย์น บริดจ์ ทำประตูได้ทำให้อาร์เซนอลตกรอบ[209]

24 มีนาคม ค.ศ. 2004 (2004-03-24) เลกแรกเชลซี  1–1  อาร์เซนอลลอนดอน อังกฤษ
19:45 BST กวึดยอนแซน   53'
มาเกเลเล   65'