สโมสรฟุตบอลชาร์ลตันแอธเลติก
สโมสรฟุตบอลชาร์ลตันแอธเลติก เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพของอังกฤษ ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1905 ตั้งอยู่ในย่านชาร์ลตัน ในเขตการปกครองกรีนิช ทางตะวันออกเฉียงใต้ของลอนดอน สัญลักษณ์เป็นรูปมือถือดาบ โดยมีฉายาในประเทศไทยว่า ดาบอัศวิน ปัจจุบันเล่นอยู่ในระดับ ฟุตบอลลีกแชมเปียนชิป
![]() | ||||
ชื่อเต็ม | Charlton Athletic Football Club | |||
---|---|---|---|---|
ฉายา | The Addicks ดาบอัศวิน (ภาษาไทย) | |||
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1905 | |||
สนาม | เดอะ วัลเลย์ ลอนดอน | |||
ความจุ | 27,798 คน | |||
เจ้าของ | โรลังด์ ดูชาเตอเลต์ ![]() | |||
ประธาน | ริชาร์ด อลัน เมอร์เรย์ ![]() | |||
ผู้จัดการ | ลี โบว์เยอร์ ![]() | |||
ลีก | แชมเปียนชิป | |||
2018–19 | อันดับที่ 3 ในลีกวัน (เลื่อนชั้นผ่านการเพลย์ออฟ) | |||
เว็บไซต์ | เว็บไซต์สโมสร | |||
|
โดยสโมสรฟุตบอลชาร์ลตัน แอธเลติก ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ.1905 เมื่อสโมสรฟุตบอลระดับเยาวชนในเขตตะวันออกเฉียงใต้ของลอนดอน รวมถึงย่านอีสต์ สตรีท และบลุนเดลล์ ได้รวมตัวกันก่อตั้งสโมสรขึ้นมาใหม่ในชื่อ ชาร์ลตัน แอธเลติก โดยมีสนาม ซีเมนส์ มีโดว์ เป็นสนามเหย้าแห่งแรก จากนั้นสโมสรได้เปลี่ยนสนามเหย้าอีกหลายครั้ง จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1919 ได้ใช้สนาม เดอะ วัลเลย์ เป็นสนามเหย้าจนถึงปัจจุบัน
ชุดแข่งขันของสโมสรจะใช้เสื้อสีแดง กางเกงสีขาว และถุงเท้าสีแดง โดยมีไนกี้เป็นผู้ผลิต สโมสรมีฉายาในภาษาอังกฤษว่า ดิ แอดดิกส์ (The Addicks) โดยที่สื่อกีฬาในประเทศไทยตั้งฉายาให้ว่า ดาบอัศวิน และเป็นฉายาที่นิยมเรียกกันในประเทศไทย
ชาร์ลตัน แอธเลติก ได้รับสถานะเป็นสโมสรฟุตบอลระดับอาชีพในปี ค.ศ.1920 และเข้าสู่ระบบฟุตบอลลีก ในปี ค.ศ.1921 นับตั้งแต่ช่วงเวลาดังกล่าวสโมสรได้อยู่บนลีกสูงสุดของอังกฤษทั้งสิ้น 4 ยุคด้วยกัน ได้แก่ ช่วงปี ค.ศ. 1936–1957, 1986–1990, 1998–1999 และ 2000–2007
ในประวัติศาสตร์ของสโมสรฟุตบอลชาร์ลตัน แอธเลติก ถือได้ว่าสโมสรประสบความสำเร็จสูงที่สุดในยุค 1930 เมื่อได้ตำแหน่งรองแชมป์ดิวิชัน 1 (เดิม) ในฤดูกาล 1936–37 และหลังช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สโมสรเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศเอฟเอคัพ 2 ครั้ง โดยได้รองแชมป์เอฟเอคัพ ในปี 1946 และคว้าแชมป์ได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1947 เมื่อสามารถเอาชนะสโมสรฟุตบอลเบิร์นลีย์ ในรอบชิงชนะเลิศ ที่สนามกีฬาเวมบลีย์
ผู้เล่นชุดปัจจุบันแก้ไข
ผู้เล่นชุดปัจจุบัน ฤดูกาล 2015–16แก้ไข
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ยืมตัวไปทีมอื่นแก้ไข
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ผู้เล่นชุดอายุต่ำกว่า 21 ปีแก้ไข
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ผู้เล่นยอดเยี่ยมแห่งปีของสโมสรแก้ไข
|
|
|
|
|
ชุดที่แข่งใช้และผู้สนับสนุนแก้ไข
ปี | ผู้ผลิต | ผู้สนับสนุนหลัก | ||
บนเสื้อ | หลังเสื้อ | ผู้สนับสนุนบนกางเกง | ||
1974–80 | บัคตา | ไม่มี | ไม่มี | |
1980–81 | อาดิดาส | |||
1981–82 | FADS | |||
1982–83 | ไม่มี | |||
1983–84 | Osca | |||
1984–86 | The Woolwich | |||
1986–88 | อาดิดาส | |||
1988–92 | แอดมิรัล | |||
1992–93 | ริเบโร | ไม่มี | ||
1993–94 | Viglen | |||
1994–98 | Quaser | |||
1998–00 | เลอ ค็อก สปอร์ติฟ | MESH | ||
2000–02 | Redbus | |||
2002–03 | All:Sports | |||
2003–05 | โจมา | |||
2005–08 | Llanera | |||
2008–09 | Carbrini Sportswear | |||
2009 | Kent Reliance Building Society | |||
2010–12 | มาครอน | |||
2012–14 | ไนกี้ | Andrews Sykes | ||
2014– | มหาวิทยาลัยกรีนวิช | Andrews Sykes | มิตซูบิชิ อิเล็คทรอนิกส์ |
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "First-team profiles". Charlton Athletic F.C. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2012. Check date values in:
|accessdate=
(help) - ↑ "2013/14 squad numbers revealed". Charlton Athletic F.C. 27 กรกฎาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม 2013. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "Charlton Athletic". Historical Football Kits. สืบค้นเมื่อ 16 June 2008.