วอยเอจเจอร์ 1
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
วอยเอจเจอร์ 1 (อังกฤษ: Voyager 1) เป็นยานสำรวจอวกาศ (space probe) แบบไร้คนขับซึ่งองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐหรือองค์การนาซาได้ทำการปล่อยขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 1977 ภายใต้โครงการวอยเอจเจอร์ ซึ่งเป็นเวลา 16 วันหลังการปล่อยยาน วอยเอจเจอร์ 2 เป้าหมายเพื่อทำการศึกษาบริเวณรอบนอกของระบบสุริยะและห้วงอวกาศระหว่างดวงดาว (interstellar space) ส่วนที่ไกลออกไปจากอาณาเขตเฮลิโอสเฟียร์ (heliosphere) ปัจจุบันยานปฏิบัติภารกิจในอวกาศเป็นเวลา 47 ปี 4 วัน (กันยายน 9, 2024 UTC [รีเฟรช]) และยังคงสื่อสารกับพื้นโลกผ่านทางเครือข่ายอวกาศห้วงลึก (DSN) เพื่อรับคำสั่งประจำและส่งข้อมูลกลับมายังโลก โดยข้อมูลระยะทางและความเร็วของยานตามเวลาจริงสามารถดูได้จากเว็บไซต์ของนาซาและห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่น[4] ปัจจุบันด้วยระยะทางของยานสำรวจที่อยู่ไกลจากโลกราว 162.3 หน่วยดาราศาสตร์ (24 พันล้าน กิโลเมตร; 15 พันล้าน ไมล์) ข้อมูลเมื่อ สิงหาคม 2023[update][5] ส่งผลให้ยาน วอยเอจเจอร์ 1 เป็นวัตถุที่สร้างโดยมนุษย์ที่อยู่ไกลจากโลกมากที่สุด[6]
วอยเอจเจอร์ 1 | |
---|---|
ภาพแบบจำลองยานโครงการวอยเอจเจอร์ | |
ประเภทภารกิจ | สำรวจดาวเคราะห์ชั้นนอก เฮลิโอสเฟียร์ และมวลสารระหว่างดาว |
ผู้ดำเนินการ | นาซา ห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่น |
COSPAR ID | 1977-084A[1] |
SATCAT no. | 10321[2] |
เว็บไซต์ | voyager |
ระยะภารกิจ |
|
ข้อมูลยานอวกาศ | |
ชนิดยานอวกาศ | มาริเนอร์ จูปิเตอร์-แซทเทิร์น (Mariner Jupiter-Saturn) |
ผู้ผลิต | ห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่น |
มวลขณะส่งยาน | 815 kg (1,797 lb)[3] |
กำลังไฟฟ้า | 470 วัตต์ (ขณะปล่อยยาน) |
เริ่มต้นภารกิจ | |
วันที่ส่งขึ้น | 5 กันยายน ค.ศ. 1977, 12:56:00 UTC |
จรวดนำส่ง | Titan_IIIE |
ฐานส่ง | ฐานปล่อยจรวด 41 ฐานทัพอากาศแหลมคะแนเวอรัล |
สิ้นสุดภารกิจ | |
ติดต่อครั้งสุดท้าย | รอการยืนยัน |
บินผ่านดาวพฤหัสบดี | |
เข้าใกล้สุด | 5 มีนาคม ค.ศ. 1979 |
ระยะทาง | 349,000 km (217,000 mi) |
บินผ่านดาวเสาร์ | |
เข้าใกล้สุด | 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1980 |
ระยะทาง | 124,000 km (77,000 mi) |
บินผ่านดวงจันทร์ไททัน (สำรวจชั้นบรรยากาศ) | |
เข้าใกล้สุด | 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1980 |
ระยะทาง | 6,490 km (4,030 mi) |
ตราภารกิจโครงการวอยเอจเจอร์ ยานสำรวจอวกาศที่สำคัญ |
ภารกิจของยานสำรวจคือการบินเฉียดดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ และดวงจันทร์ไททัน (ดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์) ซึ่งต่างจากแผนการบินเดิมคือการบินเฉียดดาวพลูโตโดยการไม่ผ่านดวงจันทร์ไททัน แต่ภายหลังได้มีการปรับเปลี่ยนแผนการบินเป็นการบินเฉียดดวงจันทร์ไททัน ซึ่งมีความสำคัญมากกว่า โดยพุ่งเป้าไปที่ชั้นบรรยากาศ[7][8][9] วอยเอจเจอร์ 1 ได้ทำการสำรวจสภาพอากาศ สภาพสนามแม่เหล็ก และวงแหวนของทั้งดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ นอกจากนี้ยังเป็นยานสำรวจลำแรกที่ได้ถ่ายภาพเผยให้เห็นรายละเอียดของกลุ่มดาวบริวารของดาวเคราะห์เหล่านี้อีกด้วย
ภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจหลักในโครงการวอยเอจเจอร์เช่นเดียวกับยานคู่แฝด วอยเอจเจอร์ 2 ยานสำรวจ วอยเอจเจอร์ 1 ได้รับภารกิจเพิ่มเติมให้ทำการระบุและศึกษาอาณาเขตอวกาศส่วนนอกของพื้นที่ยังได้รับอิทธิพลจากลมสุริยะหรือเฮลิโอสเฟียร์ และเริ่มการสำรวจมวลสารระหว่างดาวฤกษ์ โดยยานสำรวจ วอยเอจเจอร์ 1 ได้สร้างประวัติศาสตร์ในการเป็นยานสำรวจลำแรกที่เดินทางผ่านชั้นเฮลิโอพอสไปยังพื้นที่มวลสารระหว่างดาวฤกษ์เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 2012[10][11] สองปีต่อมายาน วอยเอจเจอร์ 1 ได้เผชิญกับคลื่นยักษ์จากการปลดปล่อยมวลจากชั้นโคโรนาของดวงอาทิตย์ (coronal mass ejection) เรื่อยมาจนสิ้นสุดเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 2014 ซึ่งเป็นการยืนยันแล้วว่ายานได้ในอยู่ในมวลสารระหว่างดาวฤกษ์แล้ว [12]
ในช่วงปลายของปี ค.ศ. 2017 ทีมงานของวอยเอจเจอร์ประสบความสำเร็จในการทดลองจุดชุดเครื่องยนต์ไอพ่นที่ใช้ในการควบคุมแนวโคจร (TCM) ซึ่งไม่ได้ใช้งานมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 ส่งผลให้สามารถขยายเวลาทำภารกิจของยานไปได้อีกสองถึงสามปี[13] โดยคาดว่ายาน วอยเอจเจอร์ 1 จะสามารถทำภารกิจได้ต่อไปจนถึงปี ค.ศ. 2025 ซึ่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าด้วยความร้อนจากไอโซโทปรังสี (RTG) จะผลิตพลังงานไฟฟ้าไม่เพียงพอเพื่อหล่อเลี้ยงเครื่องมือวัดทางวิทยาศาสตร์ภายในยาน และหลังจากนั้นยานจะลอยเคว้งคว้างเป็นวัตถุเร่ร่อนในอวกาศ[14]
เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 2023 นาซาได้ประกาศว่าระบบข้อมูลการบินของ "วอยเอจเจอร์ 1" ประกาศว่าไม่สามารถใช้งานหน่วยการกล้ำสัญญาณโทรมาตร ทำให้ไม่สามารถส่งข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ได้[15] เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2024 นาซาได้แก้ปัญหาและการส่งข้อมูลกลับมาใช้งานได้ในอีกสองวันถัดมา[16][17][18]
เบื้องหลังภารกิจ
แก้ประวัติ
แก้ในปี ค.ศ. 1964 นาซาได้เสนอแนวคิดโครงการแกรนด์ทัวร์ซึ่งมีเป้าหมายในการส่งยานสำรวจเพื่อทำการศึกษาดาวเคราะห์ภายนอกระบบสุริยะ และเริ่มดำเนินงานโครงการในตอนต้นยุค ค.ศ. 1970[19] โดยข้อมูลที่ได้รับจากยานสำรวจ ไพโอเนียร์ 10 ช่วยให้ทีมวิศวกรของโครงการ วอยเอจเจอร์ สามารถออกแบบยานสำรวจเพื่อรับมือกับระดับกัมมันตรังสีที่รุนแรงของดาวพฤหัสบดี[20] นอกจากนี้ยังได้มีการเสริมชั้นป้องกันรังสีเพิ่มเติมด้วยแผ่นเปลวอะลูมิเนียมแบบที่ใช้ตามครัวเรือนในช่วงไม่กี่นาทีก่อนปล่อยยานอีกด้วย[21]
เดิมทียานสำรวจ วอยเอจเจอร์ 1 ก็คือยานสำรวจ "มาริเนอร์ 11" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการมาริเนอร์มาก่อน ภายหลังงบประมาณของโครงการถูกจำกัดลง เป้าหมายของภารกิจจึงเน้นไปที่การสำรวจดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์เป็นหลัก ยานถูกเปลี่ยนชื่อเป็น มาริเนอร์ จูปิเตอร์-แซทเทิร์น (Mariner Jupiter-Saturn) ภายหลังการดำเนินโครงการได้ระยะหนึ่งจึงมีการเปลี่ยนชื่อยานสำรวจอีกครั้งเป็น วอยเอจเจอร์ 1 เนื่องด้วยตัวยานได้ถูกออกแบบมาเพื่อทำภารกิจที่ยิ่งใหญ่กว่าโครงการมาริเนอร์[22]
ส่วนประกอบของยานฯ
แก้ยานสำรวจ วอยเอจเจอร์ 1 ถูกสร้างขึ้นโดยศูนย์ปฏิบัติการเครื่องยนต์ไอพ่น หรือ เจพีแอล[23][24][25] ตัวยานขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ไฮดราซีน 16 ตัว มีไจโรสโคปรักษาตำแหน่งแบบ 3 แกน และระบบควบคุมยานที่คอยรักษาทิศทางของเสาวิทยุบนยานให้ชี้มายังโลก อุปกรณ์เหล่านี้จะเรียกรวมว่าเป็นระบบควบคุมตำแหน่งและแนวโคจร (AACS) มาพร้อมกับระบบควบคุมสำรอง และเครื่องยนต์ไอพ่นสำรองอีก 8 ตัว นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ตรวจวัดทางวิทยาศาสตร์รวมกว่า 11 ชิ้นเพื่อใช้ทำการศึกษาเหล่าดาวเคราะห์ที่ยานโคจรเข้าใกล้[26]
ระบบสื่อสาร
แก้ยานสำรวจ วอยเอจเจอร์ 1 ใช้ระบบการสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุย่านความถี่สูงซึ่งออกแบบให้สามารถสื่อสารได้ไกลถึงนอกระบบสุริยะ ตัวยานประกอบไปด้วยจานสายอากาศทรงพาราโบลา แบบแคสซิเกรน (Cassegrain) ซึ่งมีเกณฑ์ขยายสูง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.7 เมตร (12 ฟุต) ส่งสัญญาณและรับสัญญาณคลื่นวิทยุผ่านเครือข่ายอวกาศห้วงลึก (Deep Space Network หรือ DSN) ที่มีสถานีฐานกระจายอยู่ทั่วพื้นโลก[27] โดยปกติแล้วยานจะทำการส่งสัญญาณผ่านทางช่องสัญญาณ์ 18 โดยใช้ย่านความถี่ 2.3 จิกะเฮิรตซ์ หรือ 8.4 จิกะเฮิรตซ์ ขณะที่การส่งสัญญาณจากโลกไปยังตัวยานจะทำการส่งผ่านย่านความถี่ 2.1 จิกะเฮิรตซ์ [28]
ในช่วงที่ยานสำรวจ วอยเอจเจอร์ 1 ไม่สามารถส่งข้อมูลมายังโลกโดยตรงได้ ข้อมูลทั้งหมดจะถูกบันทึกลงเทปบันทึกระบบดิจิตอล (DTR) ซึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้สูงสุด 67 เมกะไบต์ เพื่อรอการส่งกลับมายังโลกในครั้งถัดไป[29] โดยใช้เวลาประมาณ 22 ชั่วโมงในการส่งสัญญาณจากยานสำรวจ วอยเอจเจอร์ 1 กลับมายังโลก (ข้อมูลเมื่อ 2023[update])[30]
แหล่งพลังงาน
แก้ยานสำรวจ วอยเอจเจอร์ 1 ใช้พลังงานไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าด้วยความร้อนจากไอโซโทปรังสี หรืออาร์ทีจี (Radioisotope Thermoelectric Generator) รวม 3 เครื่อง ติดตั้งในลักษณะเป็นส่วนแขนยื่นออกจากตัวยาน เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแต่ละเครื่องประกอบไปด้วยลูกบอลอัดเชื้อเพลิงพลูโตเนียม-238 (238Pu) ในรูปของพลูโตเนียมออกไซด์ (PuO2) ทั้งหมด 24 ลูก[31] กำลังไฟฟ้าวัดได้รวม 470 วัตต์ ณ วันที่ทำการปล่อยยาน[32] โดยพลังงานไฟฟ้าที่ได้จะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป อันเป็นผลจากการสลายตัวของพลูโตเนียม-238 ที่มีค่าครึ่งชีวิตอยู่ที่ 87.7 ปี รวมถึงการเสื่อมสภาพของชุดเทอร์โมคัปเปิล อย่างไรก็ตามเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอาร์ทีจีจะยังคงจ่ายพลังงานให้กับตัวยานได้อย่างเพียงพอต่อไปจนถึงปี ค.ศ. 2025[26][31]
-
ผังแท่งเก็บเชื้อเพลิงของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอาร์ทีจี แสดงลูกบอลเชื้อเพลิงพลูโตเนียม-238 ออกไซด์
-
ผังชั้นโครงสร้างของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอาร์ทีจี แสดงชุดเทอร์โมคัปเปิลทำจากซิลิคอน-เจอมาเนียม
-
แบบจำลองเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอาร์ทีจี
เมื่อวันที่ กันยายน 9 ปริมาณพลูโตเนียม-238 ใน วอยเอจเจอร์ 1 คงเหลือ 68.97% เทียบกับวันที่ปล่อยยาน และจะลดลงจนเหลือเพียง 56.5% ในปี ค.ศ. 2050 ซึ่งน้อยมากเพื่อให้ยานยังสามารถทำงานต่อไปได้ ปริมาณยังจะลดลงต่อไปอีกจนเหลือ 47.21% ในปี ค.ศ. 2078, คงเหลือ 28.92% ในปี ค.ศ. 2106, คงเหลือ 28.92% ในปี ค.ศ. 2134 และคงเหลือ 15.13% ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2165 ซึ่งพลูโตเนียม-238 ทั้งหมดจะสลายตัวกลายเป็นธาตุชนิดอื่น
ระบบคอมพิวเตอร์
แก้แทบทุกส่วนของตัวยานสำรวจทำงานโดยอัตโนมัติผ่านการควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ยกเว้นระบบถ่ายภาพแสงที่มองเห็นได้ซึ่งเป็นเพียงระบบเดียวที่ไม่ได้ทำงานแบบอัตโนมัติ แต่จะถูกควบคุมโดยชุดค่าพารามิเตอร์ในคอมพิวเตอร์ระบบย่อยข้อมูลการบิน (Flight Data Subsystem: FDS) ต่างจากกล้องถ่ายภาพในยานสำรวจยุคหลังจากปี ค.ศ. 1990 ที่เปลี่ยนมาใช้ระบบควบคุมแบบอัตโนมัติทั้งหมดแล้ว[33]
ระบบย่อยคอมพิวเตอร์สั่งการ (Computer Command Subsystem: CCS) ประกอบไปด้วยชุดคำสั่งแบบสำเร็จ เช่น ชุดคำสั่งถอดรหัส ชุดคำสั่งตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่อง ชุดคำสั่งควบคุมทิศทางของเสาอากาศ และชุดคำสั่งควบคุมตำแหน่งยาน คอมพิวเตอร์ส่วนนี้เป็นส่วนที่พัฒนามาจากคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในยานโครงการไวกิ้ง (Viking Program) ช่วงยุค ค.ศ. 1970 ฮาร์ดแวร์แบบปรับแต่งเอง (custom-built) ที่ใช้สำหรับระบบย่อยคอมพิวเตอร์สั่งการของยานสำรวจทั้งสองลำในโครงการ โวเอจเจอร์ จะเหมือนทุกประการ มีเพียงการปรับแต่งโปรแกรมเล็กน้อยเพราะมีระบบย่อยทางวิทยาศาสตร์ที่ยานอีกลำไม่มี[34]
ระบบย่อยควบคุมตำแหน่งและแนวโคจร (Attitude and Articulation Control Subsystem: AACS) เป็นระบบที่ใช้ในการควบคุมตำแหน่งและทิศทางของตัวยาน คอยควบคุมองศาของเสาอากาศยานให้ชี้มายังโลก ควบคุมการเปลี่ยนตำแหน่ง และบังคับทิศทางของยานเพื่อทำการถ่ายภาพวัตถุและพื้นผิว ระบบย่อยนี้สำหรับยานสำรวจในโครงการ โวเอจเจอร์ จะเหมือนทุกประการ[35][36]
เครื่องมือวัดทางวิทยาศาสตร์
แก้เครื่องมืดวัด | ตัวย่อ | รายละเอียด | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ระบบการสร้างภาพถ่าย (Imaging Science System) ปิดการทำงานแล้ว |
(ISS) | ทำงานโดยอาศัยกล้องถ่ายภาพ 2 ชุด คือ กล้องมุมมองกว้าง และกล้องมุมมองแคบ เพื่อให้ได้ภาพถ่ายของดาวเคราะห์หรือวัตถุที่ยานเคลื่อนผ่านตลอดภารกิจ เพิ่มเติม
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ระบบวิทยาศาสตร์วิทยุ (Radio Science System) ปิดการใช้งานแล้ว |
(RSS) | ทำงานโดยอาศัยระบบสื่อสารของยานโวเอจเจอร์ในการเก็บข้อมูลลักษณะทางกายภาพของดาวเคราะห์และดาวบริวาร (ชั้นบรรยากาศ มวล สนามแรงโน้มถ่วง ความหนาแน่น) อีกทั้งยังทำการเก็บข้อมูลปริมาณและขนาดของวัตถุที่อยู่ในวงแหวนของดาวเสาร์ รวมถึงขนาดของวงแหวนอีกด้วย เพิ่มเติม | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อินฟราเรด อินเตอร์เฟอโรมิเตอร์ สเปกโทรมิเตอร์ (Infrared Interferometer Spectrometer) ปิดการทำงานแล้ว |
(IRIS) | ทำการสำรวจดุลพลังงาน และองค์ประกอบของชั้นบรรยากาศแบบเฉพาะพื้นที่และแบบทั่วทั้งดาว นอกจากนี้ยังเก็บข้อมูลรายละเอียดของระดับอุณภูมิในแต่ละชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์และเหล่าดาวบริวาร รวมถึงองค์ประกอบ สมบัติทางความร้อน และขนาดของวัตถุที่อยู่ในวงแหวนของดาวเสาร์ เพิ่มเติม | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อัลตราไวโอเลต สเปกโทรมิเตอร์ (Ultraviolet Spectrometer) ปิดการทำงานแล้ว |
(UVS) | ออกแบบมาเพื่อทำการวัดค่าต่างๆ ของชั้นบรรยากาศ รวมถึงการวัดค่าของการแผ่รังสี เพิ่มเติม | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฟลักซ์เกทแมกนิโทมิเตอร์แบบสามแกน (Triaxial Fluxgate Magnetometer) ยังทำงานอยู่ |
(MAG) | ออกแบบมาเพื่อทำการศึกษาสนามแม่เหล็ก ของดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ ปฏิกิริยาระหว่างพายุสุริยะที่มีต่อแม็กนีโตสเฟียร์ของดาวเคราะห์แต่ละดวง สนามแม่เหล็กของอวกาศชั้นนอก ไปจนถึงเส้นขอบระหว่างลมสุริยะกับสนามแม่เหล็กของอวกาศระหว่างดาวฤกษ์ เพิ่มเติม | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พลาสมา สเปกโทรมิเตอร์ (Plasma Spectrometer) ระบบขัดข้อง |
(PLS) | ทำการศึกษาคุณสมบัติของอนุภาคไออนในพลาสมาและตรวจหาจำนวนของอิเล็กตรอนที่มีพลังงานในช่วง 5 อิเล็กตรอนโวลต์ถึง 1 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ เพิ่มเติม | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เครื่องตรวจวัดอนุภาคมีประจุพลังงานต่ำ (Low Energy Charged Particle Instrument) ยังทำงานอยู่ |
(LECP) | ทำการวัดความค่าความเปลี่ยนแปลงของฟลักซ์พลังงาน การกระจายตัวเชิงมุมของไอออนและอิเล็กตรอน ตลอดจนวัดความเปลี่ยนแปลงของพลังงานในสารประกอบของไอออน เพิ่มเติม | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เครื่องตรวจจับรังสีคอสมิก (Cosmic Ray System) ยังทำงานอยู่ |
(CRS) | ค้นหาแหล่งกำเนิดและกระบวนการเร่ง ประวัติในช่วงชีวิตและการพัวพันเชิงพลวัตของรังสีคอสมิกระหว่างดาวฤกษ์ (interstellar cosmic ray) การสังเคราะห์นิวเคลียสของธาตุองค์ประกอบในแหล่งกำเนิดของรังสีคอสมิก พฤติกรรมของรังสีคอสมิกในมวลสารระหว่างดาว รวมถึงสภาพแวดล้อมของอนุภาคพลังงานสูงของดาวเคราะห์ที่ถูกกักไว้ เพิ่มเติม | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ระบบวิเคราะห์ดาราศาสตร์วิทยุ (Planetary Radio Astronomy Investigation) ปิดการทำงานแล้ว |
(PRA) | อาศัยการทำงานของเครื่องรับวิทยุแบบกวาดความถี่เพื่อศึกษาคลื่นวิทยุที่ปล่อยออกมาจากดาวพฤหัสและดาวเสาร์ เพิ่มเติม | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เครื่องวัดการโพลาไรซ์ของแสง (Photopolarimeter System) ระบบขัดข้อง |
(PPS) | อาศัยการทำงานของกล้องโทรทรรศน์ที่มีโพลาไรเซอร์ในการเก็บข้อมูลรายละเอียดและองค์ประกอบของพื้นผิว รวมถึงคุณสมบัติการกระจายตัวและความหนาแน่นของชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสและดาวเสาร์ เพิ่มเติม | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ระบบตรวจจับคลื่นพลาสมา (Plasma Wave System) ยังทำงานอยู่ |
(PWS) | อาศัยการทำงานของเสาอากาศที่ยืดหดได้ในการวัดปฏิกิริยาของคลื่นอิเล็กตรอนบริเวณรอบดาวเคราะห์กับช่วงมวลสารระหว่างดาวฤกษ์ โดยการตรวจวัดค่าความเปลี่ยนแปลงของสนามไฟฟ้าเมื่อเสาอากาศเคลื่อนผ่านกลุ่มเมฆประจุไฟฟ้า เพิ่มเติม |
ภาพของยานสำรวจ วอยเอจเจอร์ 1 | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
| ||||||||
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ the Voyager spacecraft |
รายละเอียดภารกิจ
แก้ช่วงเวลาการเดินทาง
แก้
แนวเส้นทางวิถีโค้งจากโลกของยาน วอยเอจเจอร์ 1 ก่อนเริ่มออกนอกสุริยวิถีที่ดาวเสาร์ในปี ค.ศ. 1981 ปัจจุบันกำลังมุ่งหน้าเข้าสู่กลุ่มดาวคนแบกงู |
วันที่ | เหตุการณ์ |
---|---|
5 กันยายน 1977 | ทำการปล่อยยาน ณ เวลา 12:56:00 (UTC) |
10 ธันวาคม 1977 | เดินทางเข้าสู่แถบดาวเคราะห์น้อย |
19 ธันวาคม 1977 | ระยะห่างจากโลกของยาน วอยเอจเจอร์ 1 เริ่มแซงยาน วอยเอจเจอร์ 2 (ดูแผนผัง) |
8 กันยายน 1978 | เดินทางออกจากแถบดาวเคราะห์น้อย |
6 มกราคม 1979 | เริ่มปฏิบัติการสำรวจดาวพฤหัสบดี |
5 มีนาคม 1979 | เคลื่อนเข้าใกล้กลุ่มดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี (jovian system) |
06:54 น. | บินโฉบผ่านดวงจันทร์อมัลเทีย ที่ระยะห่าง 420,200 กิโลเมตร |
12:05:26 น. | เคลื่อนเข้าใกล้ดาวพฤหัสบดีระยะใกล้ที่สุดที่ 348,890 กิโลเมตรจากจุดศูนย์กลางมวล |
15:14 น. | บินโฉบผ่านดวงจันทร์ไอโอ ที่ระยะห่าง 20,570 กิโลเมตร |
18:19 น. | บินโฉบผ่านดวงจันทร์ยูโรปา ที่ระยะห่าง 733,760 กิโลเมตร |
6 มีนาคม 1979 | |
02:15 น. | บินโฉบผ่านดวงจันทร์แกนีมีด ที่ระยะห่าง 114,710 กิโลเมตร |
17:08 น. | บินโฉบผ่านดวงจันทร์คัลลิสโต ที่ระยะห่าง 126,400 กิโลเมตร |
13 เมษายน 1979 | สิ้นสุดภารกิจการสำรวจดาวพฤหัสบดี |
29 มกราคม 1980 | ปิดการทำงานระบบตรวจวัดโพลาไรซ์ของแสง (PPS) เนื่องจากการเสื่อมสภาพ |
22 สิงหาคม 1980 | เริ่มภารกิจการสำรวจดาวเสาร์ |
12 พฤศจิกายน 1980 | เคลื่อนเข้าใกล้ดาวบริวารของดาวเสาร์ (saturnian system) |
05:41:21 น. | บินโฉบผ่านดวงจันทร์ไททัน ที่ระยะห่าง 6,490 กิโลเมตร |
22:16:32 น. | บินโฉบผ่านดวงจันทร์ทีทิส ที่ระยะห่าง 415,670 กิโลเมตร |
23:46:30 น. | เคลื่อนเข้าใกล้ดาวเสาร์ระยะใกล้ที่สุดที่ 184,300 กิโลเมตรจากจุดศูนย์กลางมวล |
13 พฤศจิกายน 1980 | |
01:43:12 น. | บินโฉบผ่านดวงจันทร์ไมมัส ที่ระยะห่าง 88,440 กิโลเมตร |
01:51:16 น. | บินโฉบผ่านดวงจันทร์เอนเซลาดัส ที่ระยะห่าง 202,040 กิโลเมตร |
06:21:53 น. | บินโฉบผ่านดวงจันทร์รีอา ที่ระยะห่าง 73,980 กิโลเมตร |
16:44:41 น. | บินโฉบผ่านดวงจันทร์ไฮพีเรียน ที่ระยะห่าง 880,440 กิโลเมตร |
14 พฤศจิกายน 1980 | สิ้นสุดภารกิจการสำรวจดาวเสาร์ |
14 พฤศจิกายน 1980 | เข้าสู่ช่วงขยายภารกิจ |
ช่วงขยายภารกิจ | |
---|---|
14 กุมภาพันธ์ 1990 | ภาพถ่ายสุดท้ายของโครงการวอยเอจเจอร์ที่ได้จากยาน วอยเอจเจอร์ 1 ซึ่งภายหลังถูกนำมาประกอบเป็นภาพครอบครัวสุริยะ
ปิดการทำงานของกล้องถ่ายภาพทั้ง 2 ชุด (ISS) เพื่อสงวนพลังงาน |
17 กุมภาพันธ์ 1998 | วอยเอจเจอร์ 1 ทำสถิติวัตถุที่สร้างโดยมนุษย์ที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุดซึ่งยาน ไพโอเนียร์ 10 เคยทำไว้ที่ระยะ 69.419 หน่วยดาราศาสตร์ ยานเคลื่อนที่ออกห่างจากดวงอาทิตย์มากกว่า 1 หน่วยดาราศาสตร์ต่อปี เร็วกว่ายาน ไพโอเนียร์ 10 เช่นกัน |
3 มิถุนายน 1998 | ปิดการทำงานระบบอินฟราเรดอินเตอร์เฟอโรมิเตอร์สเปกโทรมิเตอร์ (IRIS) เพื่อสงวนพลังงาน |
17 ธันวาคม 2004 | เคลื่อนผ่านชั้นกำแพงกระแทกที่ระยะ 94 หน่วยดาราศาสตร์ และเข้าสู่ชั้นเฮลิโอชีท |
1 กุมภาพันธ์ 2007 | ปิดการทำงานระบบพลาสมาสเปกโทรมิเตอร์ (PLS) จากการเสื่อมสภาพ |
11 เมษายน 2007 | ปิดการทำงานระบบทำความร้อนของอุปกรณ์ตรวจจับพลาสมา |
16 มกราคม 2008 | ปิดการทำงานระบบวิเคราะห์ดาราศาสตร์วิทยุ (PRA) เพื่อสงวนพลังงาน |
25 สิงหาคม 2012 | ผ่านเข้าสู่อวกาศชั้นเฮลิโอพอสที่ระยะ 121 หน่วยดาราศาสตร์ และเข้าสู่อวกาศระหว่างดาว |
7 กรกฎาคม 2014 | ยืนยันตำแหน่งของยานอยู่ในอวกาศระหว่างดาว |
19 เมษายน 2016 | ปิดการทำงานระบบอัลตราไวโอเลตสเปกโทรมิเตอร์ (UVS) เพื่อสงวนพลังงาน |
28 พฤศจิกายน 2017 | ทำการจุดเครื่องยนต์ควบคุมเส้นแนวโคจร (TCM) อีกครั้งนับตั้งแต่ปี 1980[39] |
5 พฤษจิกายน 2023 | วอยเอจเจอร์ 1 อยู่ไกลจากโลก 162.3 หน่วยดาราศาสตร์ (24.280 พันล้าน กิโลเมตร; 15.087 พันล้าน ไมล์) และอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 161.64 หน่วยดาราศาสตร์ (24.181 พันล้าน กิโลเมตร; 15.025 พันล้าน ไมล์) |
การปล่อยยานและแนวโคจร
แก้ยานสำรวจ วอยเอจเจอร์ 1 ถูกส่งขึ้นไปในอวกาศเมื่อวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 1977 ณ แท่นปล่อยจรวด 41 ฐานทัพอากาศแหลมคะแนเวอรัล ด้วยจรวดนำส่ง Titan IIIE ประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากยานสำรวจ วอยเอจเจอร์ 2 ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศไปก่อนเมื่อวันที่ 20 สิงหาคมปีเดียวกัน อย่างไรก็ตาม แม้จะถูกส่งขึ้นอวกาศช้ากว่ายาน วอยเอจเจอร์ 2 แต่ยาน วอยเอจเจอร์ 1 ก็เดินทางถึงดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ได้ก่อน[40] ด้วยแนวโคจรที่สั้นกว่า[41]
บินเฉียดดาวพฤหัสบดี
แก้ยานสำรวจ วอยเอจเจอร์ 1 เริ่มทำการถ่ายภาพดาวพฤหัสบดีในปี ค.ศ. 1979 โดยบินเฉียดใกล้มากที่สุดที่ระยะห่างประมาณ 349,000 กิโลเมตร (217,000 ไมล์)* จากจุดศูนย์กลางดาวเมื่อวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1979[40] และด้วยตำแน่งของยานที่อยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดี ทำให้ได้ภาพถ่ายที่มีรายละเอียดที่มากขึ้น ส่งผลให้ภารกิจการสังเกตการณ์ระบบของดาวพฤหัสบดีซึ่งได้แก่ เหล่าดาวบริวาร วงแหวน สนามแม่เหล็ก และสภาพแวดล้อมของแถบรังสีแวนแอลเลน (Van Allen Belts) เสร็จสิ้นภายใน 48 ชั่วโมงเท่านั้น ภารกิจการถ่ายภาพระบบดาวพฤหัสบดีเสร็จสิ้นลงในเดือนเมษายน ค.ศ. 1979
การค้นพบภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นอยู่บนดวงจันทร์ไอโอ ถือว่าเป็นการค้นพบที่สร้างความฮือฮาที่สุด นับเป็นครั้งแรกที่มีการค้นพบภูเขาไฟมีพลังบนดาวดวงอื่นในระบบสุริยะนอกเหนือจากบนโลก อีกทั้งภูเขาไฟที่ครุกรุ่นเหล่านี้ยังส่งอิทธิพลไปยังดาวพฤหัสบดีด้วย ดวงจันทร์ไอโอถือเป็นแหล่งของสสารหลักที่แผ่ไปทั่วชั้นแม็กนีโตสเฟียร์ (บริเวณโดยรอบของดาวฤกษ์ที่ได้รับอิทธิพลอย่างรุนแรงจากสนามแม่เหล็ก) ของดาวพฤหัสบดี โดยมีการค้นพบร่องรอยของซัลเฟอร์ ออกซิเจน และโซเดียมที่เกิดจากการปะทุของภูเขาไฟบนดวงจันทร์ไอโอปะปนอยู่ในขอบนอกของชั้นแม็กนีโตสเฟียร์ของดาวพฤหัสบดี[40]
ยานสำรวจ วอยเอจเจอร์ ทั้งสองลำได้เผยการค้นพบที่สำคัญของดาวพฤหัสบดีเป็นจำนวนมาก เช่น เหล่าดาวบริวาร แถบกัมมันตรังสี และวงแหวนของดาวพฤหัสบดีที่ไม่เคยค้นพบมาก่อน
-
วิดีโอลำดับเวลาการบินเข้าใกล้ดาวพฤหัสบดีของยาน วอยเอจเจอร์ 1 (ดูวิดีโอฉบับเต็ม)
-
ภาพถ่ายจุดแดงใหญ่ บนดาวพฤหัสบดีซึ่งเป็นพายุขนาดยักษ์หมุนทวนเข็มนาฬิกาที่มีขนาดใหญ่กว่าโลก
-
ภาพถ่ายลาวาซัลเฟอร์ปริมาณมหาศาลไหลออกมาจากปล่องภูเขาไฟรา พาทีราบนดวงจันทร์ไอโอ
-
ภาพถ่ายการปะทุของภูเขาไฟโลกิ พาทีรา ความสูง 160 กิโลเมตรจากพื้นผิวดวงจันทร์ไอโอ
-
ภาพถ่ายเส้นริ้วบนพื้นผิวดวงจันทร์ยูโรป้า เผยให้เห็นถึงพื้นผิวที่ยังมีการเคลื่อนตัวอยู่ ถจากระยะ 2.8 ล้านกิโลเมตร
-
ภาพถ่ายจุดสีขาวแสดงพื้นผิวที่โดนทำลายทางธรณีวิทยาบนดวงจันทร์แกนีมีด จากระยะ 253,000 กิโลเมตร
บินเฉียดดาวเสาร์
แก้ยานสำรวจ วอยเอจเจอร์ ทั้งสองลำประสบความสำเร็จในการโคจรโดยอาศัยแรงโน้มถ่วง (gravitational assist trajectory) ไปยังดาวเสาร์ อีกทั้งได้ทำการสำรวจดาวเสาร์ รวมถึงวงแหวน และเหล่าดาวบริวารของดาวเสาร์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ยานสำรวจ วอยเอจเจอร์ 1 เดินทางมาถึงดาวเสาร์ในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1980 และเดินทางเข้าใกล้มากที่สุด โดยห่างจากขอบบนของกลุ่มเมฆ (clound-tops) บนดาวที่ระยะ 124,000 กิโลเมตร (77,000 ไมล์)* ในวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1980 ซึ่งกล้องบนยานได้ตรวจพบโครงสร้างอันสลับซับซ้อนบนวงแหวนของดาวเสาร์และใช้เซ็นเซอร์ระยะไกลทำการศึกษาชั้นบรรยากาศของทั้งดาวเสาร์และดวงจันทร์ไททัน ดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุด[42]
จากการสำรวจพบว่าชั้นบรรยากาศส่วนบนของดาวเสาร์ประกอบไปด้วยฮีเลียมอยู่ประมาณร้อยละ 7 (คิดเป็นร้อยละ 11 ของชั้นบรรยากาศบนดาวพฤหัสบดี) ขณะที่องค์ประกอบที่เหลือคือไฮโดรเจน เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าฮีเลียมปริมาณมหาศาลจะกระจุกตัวอยู่บริเวณชั้นในของดาวเสาร์เช่นเดียวกับที่พบบนดาวพฤหัสบดีและดวงอาทิตย์ ส่วนฮีเลียมปริมาณเบาบางที่พบในชั้นบรรยากาศส่วนบนอาจแทรกลงมาด้านล่างอย่างช้าๆ ผ่านไฮโดรเจนซึ่งมีมวลน้อยกว่า ซึ่งนั่นอาจเป็นเหตุผลว่าความร้อนส่วนเกินบนดาวเสาร์ที่แผ่ออกมานั้นได้รับมาจากดวงอาทิตย์นั่นเอง นอกจากยังพบว่ามีกระแสลมแรงพัดอยู่บนพื้นผิวดาวเสาร์ ความเร็วลมใกล้เส้นศูนย์สูตรสูงถึง 500 เมตรต่อวินาที (1,100 ไมล์ต่อชั่วโมง) โดยกระแสลมส่วนใหญ่จะพัดไปทางทิศตะวันออก[41]
มีการตรวจพบปรากฏการณ์คล้ายออโรราซึ่งเกิดจากรังสีอัลตราไวโอเลตที่ปลดปล่อยออกมาจากไฮโดรเจนบริเวณเขตละติจูดกลาง (mid-latitudes) ของชั้นบรรยากาศ และพบออโรราบริเวณละติจูดแถบขั้วโลก (มากกว่า 65 องศา) การเกิดออโรราบนชั้นบรรยากาศที่สูงเช่นนี้อาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนรูปเป็นโมเลกุลเชิงซ้อนของไฮโดรคาร์บอนซึ่งจะเคลื่นที่ไปรวมกันอยู่ที่แถบเส้นศูนย์สูตร ส่วนสาเหตุของการเกิดออโรราบริเวณเขตละติจูดกลางที่พบได้เฉพาะบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึงนั้นยังคงเป็นปริศนา แต่คาดการณ์ว่าอาจเกิดจากการระเบิดของอิเล็กตรอนและไอออนซึ่งเป็นสาเหตุเดียวกับการเกิดออโรราที่พบบนโลก ยานวอยเอจเจอร์ทั้งสองลำได้ทำการวัดคาบการหมุนรอบตัวเอง (เวลาในหนึ่งวัน) ของดาวเสาร์พบว่าใช้เวลา 10 ชั่วโมง 39 นาที 24 วินาที[42]
ภารกิจของยาน วอยเอจเจอร์ 1 ยังรวมถึงการบินเฉียดดวงจันทร์ไททัน ดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ ซึ่งมีการค้นพบการมีอยู่ของชั้นบรรยากาศจากภาพถ่ายที่ได้จากยาน ไพโอเนียร์ 11 ในปี ค.ศ. 1979 ระบุว่ามีชั้นบรรยากาศที่หนาแน่นและซับซ้อน ซึ่งทำให้เป็นที่สนใจของนักวิทยาศาสตร์ในเวลาต่อมา การบินเฉียดดวงจันทร์ไททันเกิดขึ้นเมื่อยานพยายามเดินทางเข้าสู่ระบบของดาวเสาร์โดยพยายามหลีกเลี่ยงการปะทะที่อาจส่งผลต่อการสำรวจ ในที่สุดยานก็เข้าใกล้ที่ระยะประมาณ 6,400 km (4,000 mi) จากด้านหลังดวงจันทร์ไททันหากมองจากโลก เครื่องมือบนยานทำการตรวจวัดปฏิกิริยาระหว่างชั้นบรรยากาศกับแสงอาทิตย์ มีการใช้คลื่นวิทยุของยานเพื่อทำการค้นหาองค์ประกอบ ความหนาแน่น และความดันของชั้นบรรยากาศ นอกจากนี้ยังทำการวัดมวลของดวงจันทร์ไททันโดยอาศัยการสังเกตแรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อแนวโคจรของยาน ชั้นบรรยากาศที่ปกคลุมอย่างหนาแน่นกลายเป็นอุปสรรคทำให้ไม่สามารถมองทะลุถึงพื้นผิวได้ แต่ข้อมูลต่างๆ ที่เก็บได้จากชั้นบรรยากาศทำให้สามารถคาดการณ์ได้ว่ามีทะเลสาบโฮโดรคาร์บอนเหลวอยู่บนพื้นผิวดาว[43]
เนื่องภารกิจการสำรวจดวงจันทร์ไททันถูกจัดให้เป็นภารกิจสำคัญ ดังนั้นแนวโคจรของยาน วอยเอจเจอร์ 1 จึงถูกออกแบบให้บินเฉียดดวงจันทร์ไททันให้มากที่สุด ส่งผลให้ยานเคลื่อนผ่านขั้วโลกใต้ของดาวเสาร์และหลุดออกจากระนาบสุริยวิถี ซึ่งทำให้ภารกิจการสำรวจดาวเคราะห์นั้นสิ้นสุดลงไปด้วย[44] หากยาน วอยเอจเจอร์ 1 ล้มเหลวในการเข้าใกล้เพื่อทำการสำรวจดวงจันทร์ไททัน ทางนาซ่าก็ยังสามารถปรับเปลี่ยนเส้นทางของยาน วอยเอจเจอร์ 2 มาทำภารกิจนี้แทนได้[43]: 94 โดยไม่โคจรผ่านดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน[7] นอกจากนี้ในแผนเดิมแนวโคจรของยาน วอยเอจเจอร์ 1 จะไม่ผ่านดาวยูเรนัสหรือดาวเนปจูน[43]: 155 แต่สามารถปรับเปลี่ยนเส้นทางภายหลังได้โดยการไม่บินเฉียดดวงจันทร์ไททัน อีกทั้งยังสามารถเดินทางจากดาวเสาร์ไปยังดาวพลูโตได้ภายในปี ค.ศ. 1986 อีกด้วย[9]
-
ภาพถ่ายรูปเสี้ยวของดาวเสาร์ที่ระยะห่าง 5.3 ล้านกิโลเมตร (4 วันหลังการเข้าใกล้ระยะใกล้สุด)
-
ภาพถ่ายแนวแคบของวงแหวนดาวเสาร์ที่มีลักษณะเป็นเกลียวบิด
-
ภาพถ่ายรอยแตกบนพื้นผิวดวงจันทร์ไดโอนี
-
ภาพถ่ายพื้นผิวน้ำแข็งของดวงจันทร์รีอา (Rhea) ประกอบกับหลุมอุกกาบาต
-
ภาพถ่ายชั้นบรรยากาศที่หนาแน่นของดวงจันทร์ไททัน
-
ภาพถ่ายรายละเอียดของกลุ่มเมฆของดวงจันทร์ไททันที่ประกอบไปด้วยสารประกอบอินทรีย์เชิงซ้อน
โคจรออกจากเฮลิโอสเฟียร์
แก้ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1990 ยานสำรวจ วอยเอจเจอร์ 1 ได้ทำการถ่ายภาพครอบครัวสุริยะ (family portrait) จากมุมมองนอกระบบสุริยะได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์[45] ซึ่งรวมถึงภาพถ่ายของโลกที่รู้จักกันในชื่อเพลบลูดอต ก่อนที่จะทำการปิดการทำงานของอุปกรณ์กล้องถ่ายภาพเพื่อสงวนพลังงานสำหรับระบบอื่นในยานหลังจากนั้น เนื่องจากซอฟต์แวร์ของระบบกล้องถ่ายภาพทั้งหมดได้ถูกลบออกหมดแล้ว จึงเป็นการยากที่จะเปิดระบบนี้ขึ้นมาใช้งานอีกครั้ง นอกจากนี้ยังไม่มีซอฟต์แวร์และคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ภาพถ่ายจากยานบนโลกอีกแล้วเช่นกัน[7]
ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1998 ยานสำรวจ วอยเอจเจอร์ 1 โคจรที่ระยะห่าง 69
หน่วยดาราศาสตร์จากดวงอาทิตย์ ซึ่งมากกว่าระยะที่ยานไพโอเนียร์ 10 ที่เคยเป็นยานอวกาศที่โคจรห่างจากโลกมากที่สุด[46][47] นอกจากนี้ยานยังเดินทางด้วยความเร็วประมาณ 17 กิโลเมตรต่อวินาที (11 ไมล์ต่อวินาที)[48] ซึ่งเป็นความเร็วถอยห่างจากดวงอาทิตย์ที่มากที่สุดเมื่อเทียบกับยานอวกาศทุกลำ[49]
ยาน วอยเอจเจอร์ 1 ได้เดินทางเข้าสู่อวกาศระหว่างดาว มีการใช้อุปกรณ์ตรวจวัดเพื่อทำการศึกษาระบบสุริยะอย่างต่อเนื่อง นักวิทยาศาสตร์ของศูนย์ปฏิบัติการเครื่องยนต์ไอพ่น (JPL) ได้เปิดใช้งานอุปกรณ์ปล่อยคลื่นพลาสมาที่ติดตั้งอยู่บนทั้งยาน วอยเอจเจอร์ 1 และ 2 เพื่อทำการศึกษาเฮลิโอพอส ซึ่งเป็นแนวเขตที่ลมสุริยะได้ถูกหยุดลงเพราะเป็นบริเวณแรงดันของมวลสารระหว่างดาวกับลมสุริยะเข้าสู่สมดุลกัน[50] ในปี ค.ศ. 2013 ยานสำรวจโคจรด้วยความเร็วสัมพัทธ์กับดวงอาทิตย์ประมาณ 17,030 เมตรต่อวินาที (55,900 ฟุตต่อวินาที)[51] และในปัจจุบันยาน วอยเอจเจอร์ 1 โคจรโดยคงความเร็วคงที่ 325 ล้านไมล์ (523×106 กิโลเมตร) ต่อปี[52] หรือประมาณ 1 ปีแสงใน 18,000 ปี
กำแพงกระแทก
แก้เหล่านักวิทยาศาสตร์จากห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ประยุกต์ของมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์เชื่อว่ายาน วอยเอจเจอร์ 1 ได้เดินทางเข้าสู่ชั้นกำแพงกระแทก (termination shock) ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003[54] บริเวณนี้เป็นจุดที่ลมสุริยะชะลอความเร็วลงจนช้ากว่าความเร็วของเสียง (subsonic speed) หรือต่ำกว่า 100 กิโลเมตรต่อวินาที แต่ก็ยังมีข้อโต้แย้งกันในหมู่นักวิทยาศาสตร์กลุ่มอื่นๆ มีการถกประเด็นนี้ในวารสารวิชาการเนเจอร์ ฉบับวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003[55] โดยประเด็นนี้จะยังคงต้องถกเถียงดันต่อไปจนกว่าจะมีข้อมูลใหม่ที่สามารถมายืนยันได้ อีกทั้งอุปกรณ์ตรวจจับลมสุริยะที่ติดตั้งไว้บนยานได้หยุดการทำงานไปตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 ทำให้การตรวจหาชั้นกำแพงกระแทกทำได้โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์ตัวอื่นแทน[56][57][58]
ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2005 ทางนาซาได้เผยแพร่บทความสรุปผลว่ายานสำรวจ วอยเอจเจอร์ 1 ได้โคจรเข้าสู่ห้วงอวกาศบริเวณที่เรียกว่าเฮลิโอชีท (heliosheath) โดยในงานประชุมทางวิทยาศาสตร์ที่จัดขึ้นที่สหภาพธรณีวิทยาอเมริกา (American Geophysical Union: AGU) เมืองนิวออร์ลีนส์ วันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 2005 ทาง ดร.เอ็ด สโตน (Dr. Ed Stone) ได้เสนอหลักฐานที่ยืนยันได้ว่ายานเดินทางผ่านชั้นกำแพงกระแทกในช่วงปลายปี ค.ศ. 2004[59] ซึ่งคาดว่าเกิดขึ้นในวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 2004 ที่ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 94 หน่วยดาราศาสตร์[60][61]
เฮลิโอชีท
แก้ในวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2006 กลุ่มนักวิทยุสมัครเล่นจากองค์กรกิจการดาวเทียมวิทยุสมัครเล่น หรือ AMSAT ในประเทศเยอรมนี ได้รับสัญญาณคลื่นวิทยุจากยาน วอยเอจเจอร์ 1 ผ่านจานดาวเทียมขนาด 20 เมตร (66 ฟุต) ที่เมืองโบคุม สัญญาณที่พบได้รับการตรวจสอบและยืนยันแล้วโดยเทียบกับสัญญาณที่ได้จากเครือข่ายสื่อสารข้อมูลห้วงอวกาศ (DSN) ที่เมืองมาดริด ประเทศสเปน[62] ถือได้ว่าเป็นกลุ่มนักวิทยุสมัครเล่นกลุ่มแรกที่สามารถติดตามสัญญาณของยาน วอยเอจเจอร์ 1 ได้[62]
วันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 2010 ไมีการยืนยันว่ายานสำรวจ วอยเอจเจอร์ 1 เดินทางผ่านขอบเขตของการขยายตัวของลมสุริยะ โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากเครื่องตรวจวัดอนุภาคมีประจุพลังงานต่ำ (Low Energy Charged Particle: LECP) นักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่าลมสุริยะในบริเวณนี้มีทิศทางไหลย้อนกลับอันเนื่องมาจากกระแสลมระหว่างดาว (interstellar wind) ที่พยายามไหลต้านกับเฮลิโอสเฟียร์ และในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2010 มีการตรวจพบว่าลมสุริยะมีค่าคงที่เป็นศูนย์ ซึ่งสามารถใช้สนับสนุนข้อสันนิษฐานนี้ได้เป็นอย่างดี[63][64] ในวันนั้นยานโคจรห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 116 หน่วยดาราศาสตร์ (17.4 พันล้าน กิโลเมตร; 10.8 พันล้าน ไมล์)*[65]
ยานสำรวจ วอยเอจเจอร์ 1 ได้รับคำสั่งให้หมุนตัวยานเพื่อทำการตรวจวัดการเลี้ยวเบนของลมสุริยะของบริเวณนี้ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2011 (ประมาณ 33 ปีหลังการปล่อยยาน) ภายหลังการทดสอบที่แล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ ทำให้ยานมีความพร้อมที่จะถูกควบคุมให้หมุนตัวได้อีกครั้ง โดยยังคงแนวโคจรไว้เช่นเดิม แต่จะหมุนตัวยานไป 70 องศาทวนเข็มนาฬิกาเมื่อเทียบกับโลกเพื่อทำการตรวจจับลมสุริยะ (ถือเป็นครั้งแรกที่มีการบังคับตัวยานครั้งใหญ่นับตั้งแต่การถ่ายภาพครอบครัวสุริยะในปี ค.ศ. 1990) โดยหลังจากการหมุนตัวยานในครั้งแรกพบว่าตัวยานสามารถหมุนตัวกลับมาหาดาวแอลฟาคนครึ่งม้า (α-Centauri) ซึ่งเป็นดาวนำทางของยาน วอยเอจเจอร์ 1 ได้โดยไม่พบปัญหาใดๆ และยังสามารถส่งสัญญาณกลับมายังโลกได้เหมือนเดิมอีกด้วย คาดว่ายาน วอยเอจเจอร์ 1 เดินทางเข้าสู่อวกาศระหว่างดาวไปแล้วโดยไม่ทราบวันเวลาแน่ชัด ในขณะยาน วอยเอจเจอร์ 2 ยังคงกำลังตรวจวัดการไหลออกของลมสุริยะที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งซึ่งคาดว่าน่าจะตามหลังยาน วอยเอจเจอร์ 1 ในแง่ของเหตุการณ์ที่ได้พบไปประมาณหลายเดือนหรือหลายปี[66][67]
ตำแหน่งของยานสำรวจ วอยเอจเจอร์ 1 ข้อมูลเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 2019 เทียบจากโลกตามพิกัดศูนย์สูตร (equatorial coordinates) คือเดคลิเนชันที่ 12.44 องศา, ไรต์แอสเซนชันที่ 17.163 ชั่วโมง และละติจูดสุริยะที่ 34.9 องศา (ละติจูดสุริยะจะเปลี่ยนช้ามาก) ซึ่งเป็นตำแหน่งของกลุ่มดาวคนแบกงู (Ophiuchus)[7]
ในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2011 มีการประกาศว่ายาน วอยเอจเจอร์ 1 ได้ตรวจพบรังสีช่วงไลแมน-อัลฟา (Lyman-alpha) ที่มีจุดกำเนิดมาจากดาราจักรทางช้างเผือก (Milky Way) ได้เป็นครั้งแรก จากปกติยานจะพบแต่รังสีช่วงไลแมน-อัลฟาที่มาจากดาราจักรอื่นๆ รังสีที่มาจากดาราจักรทางช้างเผือกจะถูกรบกวนจากดวงอาทิตย์ ทำให้ไม่สามารถตรวจจับได้[68]
องค์การนาซาได้ลงประกาศในวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 2011 ว่ายาน วอยเอจเจอร์ 1 ได้โคจรเข้าสู่อวกาศพื้นที่ใหม่ที่เรียกว่า "cosmic purgatory" ซึ่งเป็นชื่อเรียกพื้นที่สแตกเนชัน (stagnation) กล่าวคือ ภายในพื้นที่นี้อนุภาคมีประจุที่ปลดปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์จะเคลื่อนที่ช้าลงและเริ่มเคลื่อนที่ย้อนกลับ และด้วยสนามแม่เหล็กของระบบสุริยะที่มากกว่าสนามแม่เหล็กของอวกาศระหว่างดาวถึงสองเท่านั้นได้ก่อให้เกิดเป็นแรงดันขึ้น อนุภาคมีพลังงานที่มีจุดกำเนิดมาจากระบบสุริยะจะลดลงเกือบกึ่งหนึ่ง ขณะที่มีการตรวจพบอิเล็กตรอนพลังงานสูงจากบริเวณภายนอกมากถึง 100 ทบ เส้นขอบส่วนในของพื้นที่สแตกเนชันนี้อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 113 หน่วยดาราศาสตร์[69]
เฮลิโอพอส
แก้นาซาได้ลงประกาศในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2012 ว่ายานสำรวจได้ตรวจพบความเปลี่ยนแปลงบริเวณโดยรอบยานที่คาดว่าน่าจะบ่งบอกการมาถึงของเฮลิโอพอส[70] ยาน วอยเอจเจอร์ 1 ได้รายงานว่ามีการเพิ่มขึ้นของอนุภาคมีประจุจากอวกาศชั้นอวกาศระหว่างดาว (interstellar space) ซึ่งปกติจะมีการหักเหเนื่องจากอิทธิพลของลมสุริยะภายในชั้นเฮลิโอสเฟียร์ที่มาจากดวงอาทิตย์ นั่นหมายความว่ายานได้เริ่มโคจรเข้าสู่ชั้นมวลสารระหว่างดาว (interstellar medium) ซึ่งสุดขอบของระบบสุริยะแล้ว[71]
ยาน วอยเอจเจอร์ 1 เป็นยานอวกาศลำแรกที่ได้เดินทางเข้าสู่อวกาศชั้นเฮลิโอพอสในเดือนสิงหา ค.ศ. 2012 ซึ่งเป็นระยะห่างจากดวงอาทิตย์ 121 หน่วยดาราศาสตร์ อย่างไรก็ตามเหตุการณ์นี้เพิ่งจะได้รับการยืนยันในช่วง 1 ปีให้หลังไปแล้ว[72][73][74][75][76]
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2019 แสงจากดวงอาทิตย์ต้องใช้เวลาประมาณ 20.11 ชั่วโมงเพื่อเดินทางไปถึงยาน วอยเอจเจอร์ 1 ซึ่งคือระยะห่างจากดวงอาทิตย์ 145 หน่วยดาราศาสตร์ ค่าความส่องสว่างปรากฏเท่ากับ -15.9 หน่วย (น้อยกว่าค่าความสว่างของดวงจันทร์เต็มดวง 30 เท่า)[77] ยานกำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสัมพัทธ์กับดวงอาทิตย์ 16.972 กิโลเมตรต่อวินาที (10.434 ไมล์ต่อวินาที) ด้วยความเร็วนี้จะต้องใช้เวลาประมาณ 17,676 ปีเพื่อเดินทางให้ได้ระยะทางเท่ากับ 1 ปีแสง[77]
ช่วงปลายปี ค.ศ. 2012 กลุ่มนักวิจัยพบว่าข้อมูลอนุภาคที่ได้จากยานบ่งชี้ว่ายานได้เดินทางผ่านชั้นเฮลิโอพอสแล้ว ค่าต่างๆ ที่วัดได้แสดงให้เห็นว่ามีการชนกันของอนุภาคพลังงานสูงเพิ่มขึ้นแบบคงที่ (มากกว่า 70 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์) ซึ่งเชื่อว่าเป็นรังสีคอสมิกที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากการระเบิดซูเปอร์โนวาที่ไกลออกไปจากระบบสุริยะ นอกจากนี้ในปลายเดือนสิงหาคมยังพบว่าการชนกันของอนุภาคพลังงานสูงมีค่าสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ขณะเดียวกันการชนกันของอนุภาคพลังงานต่ำพบว่ามีค่าลดลงเช่นกัน ซึ่งเชื่อว่าอนุภาคพลังงานต่ำเหล่านี้มีต้นกำเนิดมาจากดวงอาทิตย์[78] Ed Roelof นักวิทยาศาสตร์อวกาศจากมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์และเป็นผู้ติดตามข้อมูลการสำรวจของเครื่องตรวจวัดอนุภาคมีประจุพลังงานต่ำ (LECP) ได้ประกาศว่า "เหล่านักวิทยาศาสตร์ที่ดูแลยาน วอยเอจเจอร์ 1 ต่างพึงพอใจเป็นอย่างมาก"[78] อย่างไรก็ตามหลักเกณฑ์สุดท้ายที่ใช้ยืนยันว่ายาน วอยเอจเจอร์ 1 ได้โคจรผ่านบริเวณที่คาดว่ามีการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็ก (ทั้งจากดวงอาทิตย์และจากอวกาศระหว่างดาว) ไม่ได้ถูกตั้งข้อสังเกต (สนามแม่เหล็กเปลี่ยนทิศเพียง 2 องศา[73]) ซึ่งนั่นอาจทำให้มีการระบุแนวขอบของเฮลิโอพอสมีความผิดพลาดได้
ในวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 2012 ดร.เอ็ด สโตน นักวิทยาศาสตร์ของโครงการวอยเอจเจอร์จากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (Caltech) กล่าวไว้ว่า "ยาน วอยเอจเจอร์ 1 ได้ค้นพบพื้นที่ใหม่ในเฮลิโอพอสที่เราไม่เคยทราบมาก่อน ตอนนี้ยานยังอยู่ภายใน แต่สนามแม่เหล็กสามารถเชื่อมต่อกับภายนอกได้ มันเป็นเหมือนถนนที่เป็นทางเข้าออกของเหล่าอนุภาค"[79] สนามแม่เหล็กบริเวณนี้สูงมากกว่า 10 เท่าเทียบกับที่ยาน วอยเอจเจอร์ 1 ได้เคยเจอมาก่อนในบริเวณชั้นกำแพงกระแทก คาดว่าบริเวณนี้เป็นแนวกั้นสุดท้ายก่อนที่ยานจะเดินทางออกไปจากระบบสุริยะอย่างสมบูรณ์และเริ่มเข้าสู่อวกาศระหว่างดาว[80][81][82]
มวลสารระหว่างดาว
แก้เดือนมีนาคม ค.ศ. 2013 มีการประกาศว่ายาน วอยเอจเจอร์ 1 อาจเป็นยานอวกาศลำแรกที่เดินทางเข้าสู่อวกาศระหว่างดาว โดยตรวจพบความเปลี่ยนแปลงของพลาสมาบรืเวณโดยรอบมาตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 2012 อย่างไรก็ตามมีการถกเถียงกันว่าพิ้นที่นี้คืออวกาศระหว่างดาวหรือเป็นพื้นที่ของระบบสุริยะที่ไม่เคยค้นพบกันแน่ มีการถกประเด็นเรื่อยมาจนถึงวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 2013 จึงได้มีการประกาศยืนยันอย่างเป็นทางการเรื่องดังกล่าว[83][84]
ในปี ค.ศ. 2020 ยาน วอยเอจเจอร์ 1 กำลังเดินทางออกจากระบบสุริยะด้วยความเร็วประมาณ 3.6 หน่วยดาราศาสตร์ (330 ล้าน ไมล์; 540 ล้าน กิโลเมตร)*ต่อปี ขณะที่ยาน วอยเอจเจอร์ 2 โคจรด้วยความเร็วที่ช้ากว่าที่ประมาณ 3.3 หน่วยดาราศาสตร์ (310 ล้าน ไมล์; 490 ล้าน กิโลเมตร)*ต่อปี[85] โดยยาน วอยเอจเจอร์ 1 จะนำหน้ายาน วอยเอจเจอร์ 2 มากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี
ยาน วอยเอจเจอร์ 1 ทำระยะห่างจากดวงอาทิตย์ 135 หน่วยดาราศาสตร์ (12.5 พันล้าน ไมล์; 20.2 พันล้าน กิโลเมตร)*ในวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 2016[86] และเพิ่มขึ้นเป็น 139.64 หน่วยดาราศาสตร์ (12.980 พันล้าน ไมล์; 20.890 พันล้าน กิโลเมตร)*ในวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 2017 หรือมากกว่า 19 ชั่วโมงแสง ซึ่งในขณะนั้น ยาน วอยเอจเจอร์ 2 อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 115.32 หน่วยดาราศาสตร์ (10.720 พันล้าน ไมล์; 17.252 พันล้าน กิโลเมตร)*[87]
สำหรับข้อมูลตำแหน่งของยานสามารถดูได้จากเว็บไซต์ทางการขององค์การนาซา (ดูเพิ่มในหัวข้อ แหล่งข้อมูลอื่น )[88]
-
กราฟแสดงอัตราการตรวจพบอนุภาคของรังสีคอสมิกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดจากยานวอยเอจเจอร์ 1 (ตุลาคม 2011 ถึง ตุลาคม 2012)
-
กราฟแสดงอัตราการตรวจพบอนุภาคของลมสุริยะที่ลดลงอย่างรวดจากยานวอยเอจเจอร์ 1 (ตุลาคม 2011 ถึง ตุลาคม 2012)
วันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 2013 องค์การนาซาได้ยืนยันอย่างเป็นทางการว่ายาน วอยเอจเจอร์ 1 ได้เดินทางถึงชั้นมวลสารระหว่างดาวแล้วตั้งแต่เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2012 หลังจากมีการตรวจสอบ และตกลงว่าเกิดขึ้นในวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 2012 (ประมาณ 10 วันก่อนครบรอบ 34 ปีที่ปล่อยยาน) ช่วงเวลาอาจไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับว่ามีการตรวจพบความเปลี่ยนแปลงของอนุภาคมีพลังงานครั้งแรกเมื่อใด[74][75][76] ตรงจุดนี้บรรดานักวิทยาศาสตร์อวกาศได้ทิ้งสมมติฐานที่ว่าการเปลี่ยนแปลงทิศทางของสนามแม่เหล็กจะเกิดขึ้นพร้อมกับการข้ามผ่านเฮลิโอพอส[75] แบบจำลองเฮลิโอพอสแบบใหม่ได้ทำนายว่าอาจไม่พบความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มากนัก[89]
กุญแจสำคัญที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อว่ายานเคลื่อนที่ผ่านเฮลิโอพอสไปแล้วก็คือการตรวจพบอิเล็กตรอนที่มีความหนาแน่นเพิ่มขึ้นถึง 80 ทบ อ้างอิงจากการแกว่งของพลาสมาที่เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 2013[75] ที่เกิดจากการระเบิดบนดวงอาทิตย์ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2012[72] (คาดว่าความหนาแน่นของอิเล็กตรอนภายนอกเฮลิโอพอสจะมากกว่าภายใน 2 ระดับในแง่ของขนาด)[74] การแกว่งที่น้อยกว่านี้ถูกตรวจพบตั้งแต่เดือนตุลาคมถีงพฤศจิกายน ค.ศ. 2012[90][91] ถูกนำมาใช้ประกอบการศึกษาด้วย
การตรวจวัดพลาสมาต้องอาศัยข้อมูลทางอ้อมจากอุปกรณ์วัดอื่นๆ เนื่องจากเครื่องวัดพลาสมาสเปกโตรมิเตอร์ของยาน วอยเอจเจอร์ 1 ได้หยุดทำงานลงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980[76] ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2013 นาซาได้เผยแพร่สัญญาณเสียงที่แปลงมาจากคลื่นพลาสมาที่วัดได้ในอวกาศระหว่างดาว[92]
ในขณะที่ยาน วอยเอจเจอร์ 1 ได้รับกล่าวถึงอย่างกว้างขวางว่ากำลังจะออกจากระบบสุริยะทันทีที่ออกจากชั้นเฮลิโอพอส แต่โดยทางเทคนิคแล้วกลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะระบบสุริยะถูกนิยามว่าเป็นพื้นที่อันกว้างใหญ่ในอวกาศครอบคลุมเหล่าวัตถุที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ปัจจุบันยานยังโคจรได้น้อยกว่า 1 ใน 7 ของจุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุดของดาวเซดนา และยังโคจรไม่ถึงเมฆออร์ต ซึ่งเชื่อว่าเป็นแหล่งต้นกำเนิดของดาวหาง ที่เหล่านักดาราศาสตร์กำหนดว่าเป็นส่วนนอกสุดของระบบสุริยะ[73][90]
เดือนตุลาคม ค.ศ. 2020 กลุ่มนักดาราศาสตร์ได้ตรวจพบค่าความหนาแน่นของอวกาศนอกระบบสุริยะที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญที่ได้จากยาน วอยเอจเจอร์ 1 และยาน วอยเอจเจอร์ 2 หากอ้างอิงจากกลุ่มนักวิจัย สามารถกล่าวได้ว่าบริเวณนี้เป็นบริเวณที่หลุดออกไปจากขอบของระบบสุริยะ (VLISM หรือ very local interstellar medium) ซึ่งเปรียบเสมือนส่วนปลายของเฮลิโอพอส[93][94]
ต่อมาในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2021 องค์การนาซาได้ออกรายงานการติดตามวัดค่าความหนาแน่นของสสารในพื้นที่อวกาศระหว่างดวงดาวเป็นครั้งแรก ตลอดจนการตรวจพบเสียงของอวกาศระหว่างดาวได้เป็นครั้งแรก[95]
อนาคตของยานสำรวจ
แก้วอยเอจเจอร์ 1 จะเดินทางถึงเมฆออร์ตในราว 300 ปีข้างหน้า[97][98] และใช้จะเวลาราว 30,000 ปีในการเดินทางข้ามผ่าน[73][90] แม้ว่ายานจะไม่มุ่งหน้าไปยังดาวฤกษ์ใดๆ แต่อีกประมาณ 40,000 ปี ตัวยานจะอยู่ห่างจากดาว Gliese 445 ซึ่งอยู่ในกลุ่มดาวยีราฟราว 1.6 ปีแสง[99] ดาวดวงนี้เคลื่อนที่มายังระบบสุริยะด้วยความเร็วประมาณ 119 กิโลเมตรต่อวินาที[99] นาซากล่าวไว้ว่า วอยเอจเจอร์ทั้งคู่ถูกลิขิตให้เร่ร่อนไปในทางช้างเผือกอาจจะชั่วนิรันดร์" ("The Voyagers are destined—perhaps eternally—to wander the Milky Way.")[100] และภายใน 300,000 ปีข้างหน้ายานจะอยู่ห่างจากดาว TYC 3135-52-1 ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ประเภท M3V น้อยกว่า 1 ปีแสง[101]
เชื่อว่ายาน วอยเอจเจอร์ 1 จะท่องไปในห้วงลึกของอวกาศโดยไม่ชนกับวัตถุใดๆ และไม่มีทางที่จะกู้คืนได้อีกแล้ว ในทางกลับกันยานสำรวจ นิวฮอไรซันส์ กลับไม่เป็นเช่นนั้น แม้ความเร็วตอนปล่อยยานจากโลกจะสูงกว่ายานวอยเอจเจอร์ทั้งสองลำ แต่ยานวอยเอจเจอร์ทั้งสองลำกลับได้แรงส่งจากจากบินเฉียดดาวเคราะห์หลายดวง ซึ่งทำให้ความเร็วจากศูนย์กลางดวงอาทิตย์ (heliocentric velocity) เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ยาน นิวฮอไรซันส์ กลับได้แรงส่งจากการบินเฉียดดาวพฤหัสบดีเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ในปี ค.ศ. 2019 ยาน นิวฮอไรซันส์ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ 14 กิโลเมตรต่อวินาที ซึ่งช้ากว่ายาน วอยเอจเจอร์ 1 ไปประมาณ 3 กโลเมตรต่อวินาที และยังเคลื่อนที่ช้าลงเรื่อยๆ อีกด้วย[102]
ในปี ค.ศ. 2017 นาซาประกาศความสำเร็จในการติดเครื่องยนต์ไอพ่นควบคุมแนวโคจร (trajectory correction maneuver: TCM) ทั้งหมด 4 ตัวที่ติดตั้งบนยาน วอยเอจเจอร์ 1 ภายหลังมีการติดเครื่องยนต์ชุดนี้ครั้งแรกไปตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เครื่องยนต์ชุดนี้สามารถใช้แทนเครื่องยนต์ที่ใช้ในการควบคุมตำแหน่งของจานสายอากาศที่เสื่อมสภาพไปนานแล้ว ซึ่งนั่นทำให้นาซายังสามารถรับส่งข้อมูลกับยาน วอยเอจเจอร์ 1 ต่อไปได้อีก 2 ถึง 3 ปี[103][104]
มีการปิดการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งบนยานเพื่อสงวนพลังงานไว้สำหรับอุปกรณ์ที่สำคัญอื่นๆ โดยเริ่มจากอุปกรณ์วัดทางวิทยาศาสตร์ที่ไม่จำเป็นหรือได้รับข้อมูลมากเพียงพอแล้ว ขณะนี้อุปกรณ์ที่ยังเปิดใช้งานอยู่จะใช้สำหรับการศึกษาคุณสมบัติของอวกาศระหว่างดาว รวมถึงอวกาศภายนอกระบบสุริยะ ซึ่งได้แก่ รังสีคอสมิก อนุภาคมีประจุพลังงานต่ำ สนามแม่เหล็ก และคลื่นพลาสมา[105]
ในอนาคตนาซามีแผนที่จะปิดการทำงานของเทปบันทึกดิจิตอล (DTR) ที่ใช้ในการสำรองข้อมูลในยานเมื่อรอส่งกลับมายังโลก เพื่อโอนถ่ายพลังงานไว้สำหรับระบบป้องกันเชื้อเพลิงไฮดราซีนจากการเยือกแข็ง นอกจากนี้จะหยุดการใช้งานไจโรสโคปในการปฏิบัติภารกิจทั่วไป โดยมีการเขียนโปรแกรมให้ทำงานในกรณีที่มีข้อบกพร่องร้ายแรงเท่านั้น
ภายหลังปี ค.ศ. 2020 อุปกรณ์วัดทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมดที่ติดตั้งบนยาน วอยเอจเจอร์ 1 เริ่มถูกปิดการทำงานทันที หรือมีการปิดการทำงานบางส่วน แล้วใช้พลังงานไฟฟ้าร่วมกันเท่าที่พลังงานไฟฟ้าที่หลงเหลืออยู่ ท้ายสุดยานจะยังคงสื่อสารกับโลกไปจนกว่าจะถึงปี ค.ศ. 2025 ที่คาดว่าจะไม่มีพลังงานไฟฟ้าหลงเหลือสำหรับยาน สุดท้ายยานจะขาดการติดต่อกับโลกไปตลอดกาลและโคจรไปในห้วงอวกาศโดยไร้การควบคุมใดๆ[31][105]
แผ่นจานทองคำ
แก้ยานวอยเอจเจอร์แต่ละลำบรรทุกแผ่นเสียงที่เรียกว่าแผ่นจานทองคำ (Golden record) ซึ่งบันทึกเสียงและภาพของเหตุการณ์ต่างๆ บนโลก ในกรณีที่ยานทั้งสองได้มีโอกาสพบกับสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาอื่นในระบบดาวเคราะห์แห่งอื่น[106] เนื้อหาในแผ่นจานประกอบด้วยภาพของโลก สิ่งมีชีวิตบนโลก ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์หลากหลายสาขา คำพูดทักทายจากผู้คนเป็นภาษาต่างๆ มากถึง 55 ภาษา (เช่น จากเลขาธิการสหประชาชาติ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และเด็ก ๆ บนโลก รวมถึงภาษาไทย โดยภาษาไทยมีการบันทึกไว้ว่า "สวัสดีค่ะ สหายในธรณีโพ้น พวกเราในธรณีนี้ขอส่งมิตรจิตมาถึงท่านทุกคน") รวมถึงชุดเมดเล่ย์ "เสียงจากโลก" ที่ประกอบด้วยเสียงของวาฬ เสียงเด็กร้อง เสียงคลื่นกระทบฝั่ง และบทเพลงของศิลปินชื่อดังมากมาย[107]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "Voyager 1". NSSDC Master Catalog. NASA/NSSDC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ธันวาคม 14, 2013. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 21, 2013.
- ↑ "Voyager 1". N2YO. สืบค้นเมื่อ August 21, 2013.
- ↑ "NASA - Voyager Facts". NASA's Goddard Space Flight Center website. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 10, 2022. สืบค้นเมื่อ May 20, 2023.
- ↑ https://voyager.jpl.nasa.gov/mission/status/
- ↑ "Voyager - Mission Status". Jet Propulsion Laboratory. National Aeronautics and Space Administration. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 1, 2018. สืบค้นเมื่อ January 7, 2023.
- ↑ "Voyager 1". BBC Solar System. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กุมภาพันธ์ 3, 2018. สืบค้นเมื่อ กันยายน 4, 2018.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 "Voyager – Frequently Asked Questions". NASA. February 14, 1990. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-21. สืบค้นเมื่อ August 4, 2017.
- ↑ "New Horizons conducts flyby of Pluto in historic Kuiper Belt encounter". สืบค้นเมื่อ September 2, 2015.
- ↑ 9.0 9.1 "What If Voyager Had Explored Pluto?". สืบค้นเมื่อ September 2, 2015.
- ↑ "Interstellar Mission". NASA Jet Propulsion Laboratory. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 14, 2017. สืบค้นเมื่อ August 24, 2020.
- ↑ Barnes, Brooks (September 12, 2013). "In a Breathtaking First, NASA Craft Exits the Solar System". New York Times. สืบค้นเมื่อ September 12, 2013.
- ↑ Claven, Whitney (July 7, 2014). "Sun Sends More 'Tsunami Waves' to Voyager 1". NASA. สืบค้นเมื่อ July 8, 2014.
- ↑ Wall, Mike (December 1, 2017). "Voyager 1 Just Fired Up its Backup Thrusters for the 1st Time in 37 Years". Space.com. สืบค้นเมื่อ December 3, 2017.
- ↑ "Voyager – Frequently Asked Question". Jet Propulsion Laboratory. สืบค้นเมื่อ July 30, 2020.
- ↑ Paul, Andrew (December 14, 2023). "Voyager 1 is sending back bad data, but NASA is on it". Popular Science (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 22, 2023. สืบค้นเมื่อ December 15, 2023.
- ↑ Hartono, Naomi (2024-04-04). "Engineers Pinpoint Cause of Voyager 1 Issue, Are Working on Solution – Voyager". blogs.nasa.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 12, 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-04-13.
- ↑ "NASA's Voyager 1 Resumes Sending Engineering Updates to Earth". NASA Jet Propulsion Laboratory (JPL) (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 22, 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-04-22.
- ↑ Strickland, Ashley (2024-04-22). "Voyager 1 is sending data back to Earth for the first time in 5 months". CNN (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 24, 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-04-24.
- ↑ "1960s". JPL. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ธันวาคม 8, 2012. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 18, 2013.
- ↑ "The Pioneer missions". NASA. 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-29. สืบค้นเมื่อ August 19, 2013.
- ↑ "Preview Screening: The Farthest - Voyager in Space". informal.jpl.nasa.gov. NASA Museum Alliance. August 2017. สืบค้นเมื่อ August 18, 2019.
supermarket aluminum foil added at the last minute to protect the craft from radiation
- ↑ Mack, Pamela (1998). "Chapter 11". From engineering science to big science: The NACA and NASA Collier Trophy research project winners. History Office. p. 251. ISBN 978-0-16-049640-0.
- ↑ Landau, Elizabeth (October 2, 2013). "Voyager 1 becomes first human-made object to leave solar system". CNN. CNN. สืบค้นเมื่อ May 29, 2014.
- ↑ "NASA Spacecraft Embarks on Historic Journey into Interstellar Space". NASA. September 12, 2013. สืบค้นเมื่อ May 29, 2014.
NASA's Voyager 1 spacecraft officially is the first human-made object to venture into interstellar space.
- ↑ "Viking: Trailblazer for All Mars Research". NASA. June 22, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-23. สืบค้นเมื่อ May 29, 2014.
All of these missions relied on Viking technologies. As it did for the Viking program team in 1976, Mars continues to hold a special fascination. Thanks to the dedication of men and women working at NASA centers across the country, the mysterious Mars of our past is becoming a much more familiar place.
- ↑ 26.0 26.1 "VOYAGER 1:Host Information". JPL. 1989. สืบค้นเมื่อ April 29, 2015.
- ↑ "High Gain Antenna". JPL. สืบค้นเมื่อ August 18, 2013.
- ↑ Ludwig, Roger; Taylor, Jim (March 2002). "Voyager Telecommunications" (PDF). DESCANSO Design and Performance Summary Series. NASA/JPL. สืบค้นเมื่อ September 16, 2013.
- ↑ "NASA News Press Kit 77–136". JPL/NASA. สืบค้นเมื่อ December 15, 2014.
- ↑ "Voyager - Mission Status". Jet Propulsion Laboratory. National Aeronautics and Space Administration. สืบค้นเมื่อ February 16, 2019.
- ↑ 31.0 31.1 31.2 Furlong, Richard R.; Wahlquist, Earl J. (1999). "U.S. space missions using radioisotope power systems" (PDF). Nuclear News. 42 (4): 26–34. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-10-16. สืบค้นเมื่อ 2019-02-07.
- ↑ "Spacecraft Lifetime". JPL. สืบค้นเมื่อ August 19, 2013.
- ↑ "pds-rings". สืบค้นเมื่อ May 23, 2015.
- ↑ Tomayko, James (April 1987). "Computers in Spaceflight: The NASA Experience". NASA. สืบค้นเมื่อ February 6, 2010.
- ↑ "au.af". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-16. สืบค้นเมื่อ May 23, 2015.
- ↑ "airandspace". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-06. สืบค้นเมื่อ May 23, 2015.
- ↑ "Voyager 1 Narrow Angle Camera Description". NASA. สืบค้นเมื่อ January 17, 2011.
- ↑ "Voyager 1 Wide Angle Camera Description". NASA. สืบค้นเมื่อ January 17, 2011.
- ↑ Greicius, Tony (2017-12-01). "Voyager 1 Fires Up Thrusters After 37 Years". NASA (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-19. สืบค้นเมื่อ 2017-12-13.
- ↑ 40.0 40.1 40.2 "Encounter with Jupiter". NASA. สืบค้นเมื่อ August 18, 2013.
- ↑ 41.0 41.1 "Planetary voyage". NASA. สืบค้นเมื่อ August 18, 2013.
- ↑ 42.0 42.1 "Encounter with saturn". NASA. สืบค้นเมื่อ August 29, 2013.
- ↑ 43.0 43.1 43.2 Jim Bell (February 24, 2015). The Interstellar Age: Inside the Forty-Year Voyager Mission. Penguin Publishing Group. p. 93. ISBN 978-0-698-18615-6.
- ↑ David W. Swift (January 1, 1997). Voyager Tales: Personal Views of the Grand Tour. AIAA. p. 69. ISBN 978-1-56347-252-7.
- ↑ "Photo Caption". Public Information Office. สืบค้นเมื่อ August 26, 2010.
- ↑ "Voyager 1 now most distant man-made object in space". CNN. กุมภาพันธ์ 17, 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 1, 2012. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 1, 2012.
- ↑ Clark, Stuart (September 13, 2013). "Voyager 1 leaving solar system matches feats of great human explorers". The Guardian.
- ↑ Webb, Stephen (October 4, 2002). If the Universe is Teeming with Aliens … WHERE IS EVERYBODY?: Fifty Solutions to the Fermi Paradox and the Problem of Extraterrestrial Life. ISBN 978-0-387-95501-8.
- ↑ Darling, David. "Fastest Spacecraft". สืบค้นเมื่อ August 19, 2013.
- ↑ "Voyager 1 in heliopause". JPL. สืบค้นเมื่อ August 18, 2013.
- ↑ "Voyager Mission Operations Status Report # 2013-09-06, Week Ending September 6, 2013". JPL. สืบค้นเมื่อ September 15, 2013.
- ↑ Wall, Mike (September 12, 2013). "It's Official! Voyager 1 Spacecraft Has Left Solar System". Space.com. สืบค้นเมื่อ May 30, 2014.
- ↑ Staff (February 12, 2020). "Pale Blue Dot Revisited". NASA. สืบค้นเมื่อ February 12, 2020.
- ↑ Tobin, Kate (November 5, 2003). "Spacecraft reaches edge of Solar System". CNN. สืบค้นเมื่อ August 19, 2013.
- ↑ Fisk, Len A. (2003). "Planetary Science: Over the edge?" (PDF). Nature. 426 (6962): 21–2. Bibcode:2003Natur.426...21F. doi:10.1038/426021a. PMID 14603294.
- ↑ Krimigis, S. M.; Decker, R. B.; Hill, M. E.; Armstrong, T. P.; Gloeckler, G.; Hamilton, D. C.; Lanzerotti, L. J.; Roelof, E. C. (2003). "Voyager 1 exited the solar wind at a distance of ∼85 au from the Sun". Nature. 426 (6962): 45–8. Bibcode:2003Natur.426...45K. doi:10.1038/nature02068. PMID 14603311.
- ↑ McDonald, Frank B.; Stone, Edward C.; Cummings, Alan C.; Heikkila, Bryant; Lal, Nand; Webber, William R. (2003). "Enhancements of energetic particles near the heliospheric termination shock". Nature. 426 (6962): 48–51. Bibcode:2003Natur.426...48M. doi:10.1038/nature02066. PMID 14603312.
- ↑ Burlaga, L. F. (2003). "Search for the heliosheath with Voyager 1 magnetic field measurements" (PDF). Geophysical Research Letters. 30 (20): n/a. Bibcode:2003GeoRL..30.2072B. doi:10.1029/2003GL018291.
- ↑ "Voyager crosses termination shock". สืบค้นเมื่อ August 29, 2013.
- ↑ "Voyager crosses termination shock". สืบค้นเมื่อ August 29, 2013.
- ↑ "Voyager Timeline". NASA/JPL. February 2013. สืบค้นเมื่อ December 2, 2013.
- ↑ 62.0 62.1 "ARRL article" (ภาษาเยอรมัน). AMSAT-DL. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 14, 2006. "ARRL article".
- ↑ "Voyager 1 Sees Solar Wind Decline". NASA. ธันวาคม 13, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ สิงหาคม 22, 2011. สืบค้นเมื่อ กันยายน 16, 2013.
- ↑ Krimigis, S. M.; Roelof, E. C.; Decker, R. B.; Hill, M. E. (2011). "Zero outward flow velocity for plasma in a heliosheath transition layer". Nature. 474 (7351): 359–361. Bibcode:2011Natur.474..359K. doi:10.1038/nature10115. PMID 21677754.
- ↑ Amos, Jonathan (December 14, 2010). "Voyager near Solar System's edge". BBC News. สืบค้นเมื่อ December 21, 2010.
- ↑ NASA. "Voyager – The Interstellar Mission". NASA. สืบค้นเมื่อ September 16, 2013.
- ↑ "Voyager: Still dancing 17 billion km from Earth". BBC News. March 9, 2011.
- ↑ "Voyager Probes Detect "invisible" Milky Way Glow". National Geographic. December 1, 2011. สืบค้นเมื่อ December 4, 2011.
- ↑ "Spacecraft enters 'cosmic purgatory'". CNN. December 6, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-07. สืบค้นเมื่อ December 7, 2011.
- ↑ "NASA Voyager 1 Spacecraft Nears Interstellar Space". Space.com. สืบค้นเมื่อ August 19, 2013.
- ↑ "Data From NASA's Voyager 1 Point to Interstellar Future". NASA. June 14, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-17. สืบค้นเมื่อ June 16, 2012.
- ↑ 72.0 72.1 Cook, J.-R. C.; Agle, D.C.; Brown, D. (September 12, 2013). "NASA Spacecraft Embarks on Historic Journey into Interstellar Space". NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-13. สืบค้นเมื่อ September 14, 2013.
- ↑ 73.0 73.1 73.2 73.3 Ghose, Tia (September 13, 2013). "Voyager 1 Really Is in Interstellar Space: How NASA Knows". Space.com. TechMedia Network. สืบค้นเมื่อ September 14, 2013.
- ↑ 74.0 74.1 74.2 Cowen, R. (2013). "Voyager 1 has reached interstellar space". Nature. doi:10.1038/nature.2013.13735.
- ↑ 75.0 75.1 75.2 75.3 Kerr, R. A. (2013). "It's Official—Voyager Has Left the Solar System". Science. 341 (6151): 1158–1159. doi:10.1126/science.341.6151.1158. PMID 24030991.
- ↑ 76.0 76.1 76.2 Gurnett, D. A.; Kurth, W. S.; Burlaga, L. F.; Ness, N. F. (2013). "In Situ Observations of Interstellar Plasma with Voyager 1". Science. 341 (6153): 1489–1492. Bibcode:2013Sci...341.1489G. doi:10.1126/science.1241681. PMID 24030496.
- ↑ 77.0 77.1 Thongoon, Kiattisak (June 7, 2019). "Spacecraft escaping the Solar System". Heavens-Above. สืบค้นเมื่อ June 7, 2019.
- ↑ 78.0 78.1 Wolchover, Natalie. "Did NASA's Voyager 1 Spacecraft Just Exit the Solar System?". livescience. สืบค้นเมื่อ August 20, 2013.
- ↑ Matson, John (December 4, 2012). "Despite Tantalizing Hints, Voyager 1 Has Not Crossed into the Interstellar Medium". Scientific American. สืบค้นเมื่อ August 20, 2013.
- ↑ "Voyager 1 Can 'Taste' the Interstellar Shore". Discovery News. Discovery Channel. December 3, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-05. สืบค้นเมื่อ September 16, 2013.
- ↑ Oakes, Kelly (December 3, 2012). "Voyager 1 is still not out of the Solar System". Basic Space Blog. Scientific American. สืบค้นเมื่อ September 16, 2013.
- ↑ "Voyager 1 probe leaving Solar System reaches 'magnetic highway' exit". Daily News & Analysis. Reuters. December 4, 2012. สืบค้นเมื่อ December 4, 2012.
- ↑ "Voyager 1 has entered a new region of space, sudden changes in cosmic rays indicate". American Geophysical Union. March 20, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 22, 2013.
- ↑ Cook, J.-R (September 12, 2013). "How Do We Know When Voyager Reaches Interstellar Space?". NASA / Jet Propulsion Lab. สืบค้นเมื่อ September 15, 2013.
- ↑ "Voyager - Fast Facts". voyager.jpl.nasa.gov.
- ↑ "Voyager - Mission Status". Jet Propulsion Laboratory. National Aeronautics and Space Administration. สืบค้นเมื่อ November 21, 2021.
- ↑ "Voyager - Mission Status". Jet Propulsion Laboratory. National Aeronautics and Space Administration. สืบค้นเมื่อ November 21, 2021.
- ↑ "Voyager - Mission Status". Jet Propulsion Laboratory. National Aeronautics and Space Administration. สืบค้นเมื่อ November 21, 2021.
- ↑ Swisdak, M.; Drake, J. F.; Opher, M. (2013). "A Porous, Layered Heliopause". The Astrophysical Journal. 774 (1): L8. arXiv:1307.0850. Bibcode:2013ApJ...774L...8S. doi:10.1088/2041-8205/774/1/L8.
- ↑ 90.0 90.1 90.2 Cook, J.-R (September 12, 2013). "How Do We Know When Voyager Reaches Interstellar Space?". NASA / Jet Propulsion Lab. สืบค้นเมื่อ September 15, 2013.
- ↑ Morin, Monte (September 12, 2013). "NASA confirms Voyager 1 has left the Solar System". Los Angeles Times.
- ↑ "Voyage 1 Records "Sounds" of Interstellar Space". Space.com. สืบค้นเมื่อ December 20, 2013.
- ↑ Starr, Michelle (October 19, 2020). "Voyager Spacecraft Detect an Increase in The Density of Space Outside The Solar System". ScienceAlert. สืบค้นเมื่อ October 19, 2020.
- ↑ Kurth, W.S.; Gurnett, D.A. (August 25, 2020). "Observations of a Radial Density Gradient in the Very Local Interstellar Medium by Voyager 2". The Astrophysical Journal Letters. 900 (1): L1. Bibcode:2020ApJ...900L...1K. doi:10.3847/2041-8213/abae58. S2CID 225312823. สืบค้นเมื่อ October 19, 2020.
- ↑ Hatfield, Miles; Cofield, Calla (May 11, 2021). "As NASA's Voyager 1 Surveys Interstellar Space, Its Density Measurements Are Making Waves". NASA. สืบค้นเมื่อ May 11, 2021.
- ↑ "Voyager Signal Spotted By Earth Radio Telescopes". NASA. NASA TV. September 5, 2013. สืบค้นเมื่อ 2015-05-20.
- ↑ "Catalog Page for PIA17046". Photo Journal. NASA. สืบค้นเมื่อ April 27, 2014.
- ↑ "It's Official: Voyager 1 Is Now In Interstellar Space". UniverseToday. 2013-09-12. สืบค้นเมื่อ April 27, 2014.
- ↑ 99.0 99.1 "Voyager – Mission – Interstellar Mission". NASA. August 9, 2010. สืบค้นเมื่อ March 17, 2011.
- ↑ "Future". NASA. สืบค้นเมื่อ October 13, 2013.
- ↑ Bailer-Jones, Coryn A. L.; Farnocchia, Davide (3 April 2019). "Future stellar flybys of the Voyager and Pioneer spacecraft". Research Notes of the AAS. RNAAS 3, 59. 3 (4): 59. Bibcode:2019RNAAS...3d..59B. doi:10.3847/2515-5172/ab158e.
- ↑ "New Horizons Salutes Voyager". New Horizons. สิงหาคม 17, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มีนาคม 9, 2011. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 3, 2009.
- ↑ "Voyager 1 spacecraft thrusters fire up after decades idle". The Irish Times. December 4, 2017.
- ↑ "Voyager 1 Fires Up Thrusters After 37 Years". NASA. December 1, 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-19. สืบค้นเมื่อ 2019-02-21.
- ↑ 105.0 105.1 "Voyager - Mission Status". voyager.jpl.nasa.gov.
- ↑ Ferris, Timothy (May 2012). "Timothy Ferris on Voyagers' Never-Ending Journey". Smithsonian Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-04. สืบค้นเมื่อ August 19, 2013.
- ↑ "Voyager Golden record". JPL. สืบค้นเมื่อ August 18, 2013.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- NASA Voyager website
- Voyager Spacecraft Lifetime — interstellar mission coverage.
- Voyager 1 Mission Profile เก็บถาวร 2015-02-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by NASA's Solar System Exploration
- Voyager 1 (NSSDC Master Catalog)
- Spacecraft Escaping the Solar System เก็บถาวร 2007-04-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน — ตำแหน่งปัจจุบันและไดอะแกรม
- รายงานผลปฏิบัติการประจำสัปดาห์ — รวมข้อมูลสถานะปัจจุบันของยาน
- We Are Here: The Pale Blue Dot. ภาพยนตร์สั้นประกอบเรื่อง The Pale Blue Dot ถ่ายจากยานวอยเอจเจอร์ บรรยายประกอบโดย คาร์ล เซแกน
- Heavens-above.comเก็บถาวร 2011-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- JPL Voyager Telecom Manual
- Voyager 1 Has Outdistanced the Solar Wind