ปีแสง
ปีแสง (อังกฤษ: Light-year หรือ Light year; สัญลักษณ์: ly หรือ lyr[3]) เป็นหน่วยความยาวที่ใช้แสดงระยะห่างทางดาราศาสตร์และมีค่าเท่ากับ 9460730472580.8 กิโลเมตรถ้วน หรือในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์คือ 9.4607304725808 × 1012 กิโลเมตร ซึ่งเท่ากับประมาณ 9.46 ล้านล้านกิโลเมตร หรือ 5.88 ล้านล้านไมล์ ตามนิยามโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (IAU) ปีแสงคือระยะทางที่แสงเดินทางในสุญญากาศใน 1 ปีจูเลียน (365.25 วัน)[2] เนื่องจากมีคำว่า "ปี" รวมอยู่ด้วย ทำให้อาจมีการตีความผิดว่าเป็นหน่วยของเวลา[4]
ปีแสง | |
---|---|
![]() แผนที่แสดงดวงดาวและระบบดวงดาวห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 12.5 ปีแสง[1] | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ระบบการวัด | หน่วยดาราศาสตร์ |
เป็นหน่วยของ | ความยาว |
สัญลักษณ์ | ly[2] |
การแปลงหน่วย | |
1 ly[2] ใน ... | ... มีค่าเท่ากับ ... |
หน่วยวัดเมตริก (SI) | |
หน่วยอิมพีเรียลและสหรัฐ |
|
หน่วยทางดาราศาสตร์ |
|
ปีแสงมักใช้ในการแสดงระยะทางไปยังดวงดาวต่าง ๆ และระยะทางอื่น ๆ ในระดับดาราจักร โดยเฉพาะในบริบทที่ไม่เฉพาะทางและสิ่งพิมพ์เชิงวิทยาศาสตร์ประชานิยม[4] หน่วยที่ใช้กันทั่วไปในดาราศาสตร์ระดับมืออาชีพคือ พาร์เซก (สัญลักษณ์: pc; ประมาณ 3.26 ปีแสง)[2]
คำจำกัดความ
แก้ตามนิยามโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (IAU) ปีแสงคือผลคูณของปีจูเลียนกับอัตราเร็วของแสง (299792458 เมตรต่อวินาที)[ก] (365.25 วันของปีจูเลียน ต่างกับ 365.2425 วันของปีเกรกอรี หรือ 365.24219 วันของปีสุริยคติ ซึ่งต่างก็เป็นค่าประมาณ) และอัตราเร็วของแสง (299792458 เมตรต่อวินาที)[ข] ซึ่งทั้งสองค่านี้รวมอยู่ในระบบค่าคงที่ทางดาราศาสตร์ของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลปี 1976 (IAU (1976) System of Astronomical Constants) ใช้ตั้งแต่ปี 1984[6] จากนี้จะหาค่าจากการแปลงหน่วยได้ดังนี้
1 ปีแสง = 9460730472580800 เมตรถ้วน ป. 9.461 เพตะเมตร ป. 9.461 ล้านล้าน (มาตราสั้น)[ค] กิโลเมตร (5.879 ล้านล้านไมล์) ป. 63241.077 หน่วยดาราศาสตร์ ป. 0.306601 พาร์เซก
ตัวย่อที่สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลใช้สำหรับปีแสงคือ "ly"[2] ส่วนมาตรฐานสากล เช่น ISO 80000:2006 (ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว) เคยใช้ "l.y."[9][10] และยังมีตัวย่อเฉพาะตามภาษาท้องถิ่นอีกมากมาย เช่น "al" ในภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน และภาษาอิตาลี (จาก année-lumière, año luz และ anno luce ตามลำดับ) "Lj" ในภาษาเยอรมัน (จาก Lichtjahr) ฯลฯ
ก่อนปี 1984 ปีสุริยคติ (ไม่ใช่ปีจูเลียน) และอัตราเร็วของแสงที่วัดได้ (ไม่ได้นิยาม) ได้จัดรวมอยู่ในระบบค่าคงที่ทางดาราศาสตร์ของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลปี 1976 ซึ่งใช้ตั้งแต่ปี 1968 ถึงปี 1983[11] ผลคูณของปีสุริยคติเฉลี่ยแบบ J1900.0 ของไซมอน นิวคอมบ์ (Simon Newcomb) มีค่าเท่ากับ 31556925.9747 วินาทีของปฏิทินดาราศาสตร์ กับอัตราเร็วของแสงที่ 299792.5 กิโลเมตรต่อวินาที ทำให้ได้ค่าปีแสงเท่ากับ 9.460530×1015 เมตร (ปัดค่าตามเลขนัยสำคัญ 7 หลักของความเร็วแสง) ซึ่งปรากฏในแหล่งข้อมูลสมัยใหม่หลายแหล่ง[12][13][14] และอาจมีที่มาจากแหล่งข้อมูลเก่า เช่น หนังสืออ้างอิง Astrophysical Quantities ของซี. ดับเบิลยู. อัลเลน (C. W. Allen) ฉบับปี 1973 ได้รับการปรับปรุงในปี 2000 รวมถึงค่าที่อ้างถึงจากสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลปี 1976 (ตัดทอนเหลือเลขนัยสำคัญ 10 หลัก)[15]
ค่าที่มีความแม่นยำสูงอื่น ๆ บางค่าไม่ได้มาจากระบบค่ามาตรฐานของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลที่สอดคล้องกัน โดยค่าหนึ่งที่พบในแหล่งข้อมูลสมัยใหม่บางแห่งคือ 9.460536207×1015 เมตร[16][17] เป็นผลคูณของปีเกรกอรีเฉลี่ย (365.2425 วัน หรือ 31556952 วินาที) กับนิยามของอัตราเร็วแสง (299792458 เมตรต่อวินาที และอีกค่าหนึ่งคือ 9.460528405×1015 เมตร[18] มาจากผลคูณของปีสุริยคติเฉลี่ยแบบ J1900.0 กับนิยามของอัตราเร็วเร็วแสง
ตัวย่อที่ใช้สำหรับปีแสงและทวีคูณของปีแสง ได้แก่
ประวัติ
แก้หน่วยปีแสงเริ่มปรากฏขึ้นไม่นานหลังจากการวัดระยะทางไปยังดาวฤกษ์ (นอกเหนือจากดวงอาทิตย์) ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกโดยฟรีดริช เบ็สเซิล ในปี 1838 ดาวดวงนั้นคือ 61 Cygni โดยใช้เฮลิโอมิเตอร์ขนาด 160 มิลลิเมตร (6.2 นิ้ว) ซึ่งออกแบบโดยโยเซ็ฟ ฟ็อน เฟราน์โฮเฟอร์ ในขณะนั้น หน่วยที่ใหญ่ที่สุดสำหรับแสดงระยะทางในอวกาศคือหน่วยดาราศาสตร์ ซึ่งเท่ากับรัศมีวงโคจรของโลกประมาณ 150 ล้าน กิโลเมตร (93 ล้าน ไมล์) จากการคำนวณตรีโกณมิติโดยอิงจากพารัลแลกซ์ของดาว 61 Cygni ที่มีค่าประมาณ 0.314 พิลิปดา พบว่าระยะทางไปยังดาวดวงนี้อยู่ที่ 660000 หน่วยดาราศาสตร์ (9.9×1013 กิโลเมตร; 6.1×1013 ไมล์) เบ็สเซิลระบุเพิ่มเติมว่า แสงใช้เวลา 10.3 ปีในการเดินทางผ่านระยะทางนี้[24] เขาตระหนักว่าผู้อ่านอาจเพลิดเพลินกับการจินตนาการถึงระยะเวลาที่แสงใช้ในการเดินทางโดยประมาณ แต่ก็หลีกเลี่ยงที่จะใช้ปีแสงเป็นหน่วยวัดระยะทางและหลีกเลี่ยงการแสดงระยะทางในหน่วยปีแสง เพราะจะทำให้ความแม่นยำของข้อมูลพารัลแลกซ์ลดลง เนื่องจากต้องคูณกับค่าอัตราเร็วแสงซึ่งในขณะนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด
อัตราเร็วแสงยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดในปี 1838 แต่การประมาณค่ามีการเปลี่ยนแปลงในปี 1849 (ฟีโซ) และในปี 1862 (ฟูโก) ในขณะนั้น ความเร็วแสงยังไม่ได้ถือว่าเป็นค่าคงที่พื้นฐานของธรรมชาติ และการแพร่กระจายของแสงผ่านอีเธอร์หรืออวกาศยังคงเป็นปริศนาอยู่
หน่วยปีแสงปรากฏในปี 1851 ในบทความดาราศาสตร์ชื่อดังของเยอรมันโดยอ็อตโต อูเล (Otto Eduard Vincenz Ule)[25] อูเลอธิบายถึงความแปลกประหลาดของชื่อหน่วยระยะทางที่ลงท้ายด้วย "ปี" โดยเปรียบเทียบกับชั่วโมงการเดิน (Wegstunde)
หนังสือดาราศาสตร์เยอรมันร่วมสมัยเล่มหนึ่งได้ตั้งข้อสังเกตว่าปีแสงเป็นชื่อที่แปลก[26] ในปี 1868 วารสารภาษาอังกฤษได้ระบุปีแสงเป็นหน่วยที่ชาวเยอรมันใช้[27] เอ็ดดิงตัน เรียกปีแสงว่าเป็นหน่วยที่ไม่สะดวกและไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งบางครั้งได้หลุดจากการใช้งานทั่วไปไปสู่การสืบสวนทางเทคนิค[28]
แม้ว่านักดาราศาสตร์สมัยใหม่มักชอบใช้หน่วยพาร์เซกแต่ปีแสงยังเป็นที่นิยมใช้ในการวัดความกว้างใหญ่ของอวกาศระหว่างดวงดาวและระหว่างกาแล็กซี่อีกด้วย
การใช้คำศัพท์
แก้ระยะทางที่แสดงเป็นปีแสงรวมถึงระยะทางระหว่างดวงดาว ในพื้นที่ทั่วไปเดียวกัน เช่น ระยะทางที่อยู่ในแขนก้นหอยเดียวกันหรือ กระจุกดาวทรงกลมกาแล็กซีเองมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ไม่กี่พันปีจนถึงไม่กี่แสนปีแสง และอยู่ห่างจากกาแล็กซีและกระจุกกาแล็กซีเพื่อนบ้านเป็นระยะทางหลายล้านปีแสง ระยะทางไปยังวัตถุต่าง ๆ เช่น ควาซาร์ และ สโลนเกรตวอลซึ่งมีระยะทางหลายพันล้านปีแสง
มาตรา (ปีแสง) | ค่า | วัถตุ |
---|---|---|
10−9 | 4.04×10−8 ปีแสง | Reflected sunlight from the Moon's surface takes 1.2–1.3 seconds to travel the distance to the Earth's surface (travelling roughly 350000 to 400000 kilometres). |
10−6 | 1.58×10−5 ปีแสง | One astronomical unit (the distance from the Sun to the Earth). It takes approximately 499 seconds (8.32 minutes) for light to travel this distance.[29] |
1.27×10−4 ปีแสง | The Huygens probe lands on Titan off Saturn and transmits images from its surface, 1.2 billion kilometres from Earth. | |
5.04×10−4 ปีแสง | New Horizons encounters Pluto at a distance of 4.7 billion kilometres, and the communication takes 4 hours 25 minutes to reach Earth. | |
10−3 | 2.04×10−3 ปีแสง | The most distant space probe, Voyager 1, was about 18 light-hours (130 au,19.4 billion km, 12.1 billion mi) away from the Earth ข้อมูลเมื่อ October 2014[update].[30] It will take about 17500 years to reach one light-year at its current speed of about 17 km/s (38000 mph, 61 200 km/h) relative to the Sun. On 12 September 2013, NASA scientists announced that Voyager 1 had entered the interstellar medium of space on 25 August 2012, becoming the first manmade object to leave the Solar System.[31] |
2.28×10−3 ปีแสง | Voyager 1 as of October 2018, nearly 20 light-hours (144 au, 21.6 billion km, 13.4 billion mi) from the Earth. | |
100 | 1.6×100 ปีแสง | The Oort cloud is approximately two light-years in diameter. Its inner boundary is speculated to be at 50000 au ≈ 0.8 ly, with its outer edge at 100000 au ≈ 1.6 ly. |
2.0×100 ปีแสง | Approximate maximum distance at which an object can orbit the Sun (Hill sphere/Roche sphere, 125000 au). Beyond this is the deep ex-solar gravitational interstellar medium. | |
4.24×100 ปีแสง | The nearest known star (other than the Sun), Proxima Centauri, is about 4.24 light-years away.[32][33] | |
8.6×100 ปีแสง | Sirius, the brightest star of the night sky. Twice as massive and 25 times more luminous than the Sun, it outshines more luminous stars due to its relative proximity. | |
1.19×101 ปีแสง | Tau Ceti e, an extrasolar candidate for a habitable planet. 6.6 times as massive as the earth, it is in the middle of the habitable zone of star Tau Ceti.[34][35] | |
2.05×101 ปีแสง | Gliese 581, a red-dwarf star with several detectable exoplanets. | |
3.1×102 ปีแสง | Canopus, second in brightness in the terrestrial sky only to Sirius, a type A9 bright giant 10700 times more luminous than the Sun. | |
103 | 3×103 ปีแสง | A0620-00, the second-nearest known black hole, is about 3000 light-years away. |
2.6×104 ปีแสง | The centre of the Milky Way is about 26000 light-years away.[36][37] | |
1×105 ปีแสง | The Milky Way is about 100000 light-years across. | |
1.65×105 ปีแสง | R136a1, in the Large Magellanic Cloud, the most luminous star known at 8.7 million times the luminosity of the Sun, has an apparent magnitude 12.77, just brighter than 3C 273. | |
106 | 2.5×106 ปีแสง | The Andromeda Galaxy is approximately 2.5 million light-years away. |
3×106 ปีแสง | The Triangulum Galaxy (M33), at about 3 million light-years away, is the most distant object visible to the naked eye. | |
5.9×107 ปีแสง | The nearest large galaxy cluster, the Virgo Cluster, is about 59 million light-years away. | |
1.5×108 – 2.5×108 ปีแสง | The Great Attractor lies at a distance of somewhere between 150 and 250 million light-years (the latter being the most recent estimate). | |
109 | 1.2×109 ปีแสง | The Sloan Great Wall (not to be confused with Great Wall and Her–CrB GW) has been measured to be approximately one billion light-years distant. |
2.4×109 ปีแสง | 3C 273, optically the brightest quasar, of apparent magnitude 12.9, just dimmer than R136a1. 3C 273 is about 2.4 billion light-years away. | |
4.57×1010 ปีแสง | The comoving distance from the Earth to the edge of the visible universe is about 45.7 billion light-years in any direction; this is the comoving radius of the observable universe. This is larger than the age of the universe dictated by the cosmic background radiation; see here for why this is possible. |
หน่วยที่เกี่ยวข้อง
แก้ระยะทางระหว่างวัตถุต่าง ๆ ภายในระบบดาวอาจเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของปีแสง และโดยปกติจะแสดงในหน่วยดาราศาสตร์ อย่างไรก็ตามหน่วยความยาวที่เล็กลงสามารถสร้างขึ้นได้อย่างมีประโยชน์เช่นเดียวกันโดยการคูณหน่วยเวลาด้วยอัตราเร็วแสง เช่น วินาทีแสง ซึ่งมีประโยชน์ในทางดาราศาสตร์ ทางโทรคมนาคมและฟิสิกส์เชิงสัมพันธภาพ มีค่า 299792458 เมตรถ้วน หรือ 131557600 ของปีแสง หน่วยอื่น ๆ เช่น นาทีแสง ชั่วโมงแสง และวันแสง มักใช้ในสิ่งพิมพ์เชิงวิทยาศาสตร์ประชานิยม โดยที่เดือนแสงซึ่งมีค่าประมาณหนึ่งในสิบสองของปีแสง อาจนำมาใช้เป็นครั้งคราวสำหรับการวัดโดยประมาณอีกด้วย[38][39] ท้องฟ้าจำลองเฮย์เดน (Hayden Planetarium) ได้ระบุเดือนแสงอย่างเฉพาะเจาะจงว่าคือเวลาที่แสงเดินทาง 30 วัน[40]
แสงเดินทางได้ประมาณหนึ่งฟุตในเวลาหนึ่งนาโนวินาที คำว่า "ฟุตแสง" บางครั้งอาจนำมาใช้เป็นหน่วยวัดเวลาอย่างไม่เป็นทางการ[41]
ดูเพิ่มเติม
แก้- 1 เพตาเมตร (ตัวอย่างหนึ่งของระยะทางประมาณหนึ่งปีแสง)
- โปรโตคอลไอน์สไตน์
- ความยาวของฮับเบิล
- อันดับของขนาด (ความยาว)
เชิงอรรถ
แก้- ↑ หนึ่งปีจูเลียนเท่ากับ 365.25 วันถ้วน (หรือ 31557600 วินาที อิงจากหนึ่งวันถ้วนหรือ 86400 วินาทีของหน่วยเอสไอ)[5]
- ↑ อัตราเร็วของแสงมีค่า 299792458 เมตรต่อวินาทีถ้วน ตามนิยามของเมตร
- ↑ ระบบการเรียกชื่อตัวเลขแบบมาตรายาวและสั้น เป็นระบบการเรียกชื่อตัวเลขที่ใช้ยกกำลังของสิบ ซึ่งมีความสอดคล้องกันสำหรับตัวเลขที่มีค่าน้อยกว่า แต่จะขัดแย้งกันเมื่อใช้กับตัวเลขที่มีค่ามากขึ้น[7][8]
รายการอ้างอิง
แก้- ↑ "The Universe within 12.5 Light Years – The Nearest stars". www.atlasoftheuniverse.com. สืบค้นเมื่อ 2 April 2022.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 International Astronomical Union, Measuring the Universe: The IAU and Astronomical Units, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-22, สืบค้นเมื่อ 10 November 2013
- ↑ Mutel, R. L.; Aller, H. D.; Phillips, R. B. (1981). "Milliarcsecond structure of BL Lac during outburst". Nature. 294 (5838): 236–238. Bibcode:1981Natur.294..236M. doi:10.1038/294236a0. hdl:2027.42/62626.
- ↑ 4.0 4.1 Bruce McClure (31 July 2018). "How far is a light-year?". EarthSky. สืบค้นเมื่อ 15 October 2019.
- ↑ IAU Recommendations concerning Units, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 February 2007
- ↑ "Selected Astronomical Constants เก็บถาวร 2014-07-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน" ใน Astronomical Almanac, p. 6.
- ↑ Guitel, Geneviève (1975). Histoire comparée des numérations écrites (ภาษาฝรั่งเศส). Paris: Flammarion. pp. 51–52. ISBN 978-2-08-211104-1.
- ↑ Guitel, Geneviève (1975). ""Les grands nombres en numération parlée (État actuel de la question)", i.e. "The large numbers in oral numeration (Present state of the question)"". Histoire comparée des numérations écrites (ภาษาฝรั่งเศส). Paris: Flammarion. pp. 566–574. ISBN 978-2-08-211104-1.
- ↑ ISO 80000-3:2006 Quantities and Units – Space and Time
- ↑ IEEE/ASTM SI 10-2010, American National Standard for Metric Practice
- ↑ P. Kenneth Seidelmann, บ.ก. (1992), Explanatory Supplement to the Astronomical Almanac, Mill Valley, California: University Science Books, p. 656, ISBN 978-0-935702-68-2
- ↑ Basic Constants, Sierra College
- ↑ Marc Sauvage, Table of astronomical constants, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 December 2008
- ↑ Robert A. Braeunig, Basic Constants
- ↑ Arthur N. Cox, บ.ก. (2000), Allen's Astrophysical Quantities (fourth ed.), New York: Springer-Valeg, p. 12, ISBN 978-0-387-98746-0
- ↑ Nick Strobel, Astronomical Constants
- ↑ KEKB, Astronomical Constants, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 September 2007, สืบค้นเมื่อ 5 November 2008
- ↑ Thomas Szirtes (1997), Applied dimensional analysis and modeling, New York: McGraw-Hill, p. 60, ISBN 978-0-07-062811-3
- ↑ Comins, Neil F. (2013), Discovering the Essential Universe (fifth ed.), W. H. Freeman, p. 365, ISBN 978-1-4292-5519-6
- ↑ Viollier 1994
- ↑ Hassani, Sadri (2010), From Atoms to Galaxies, CRC Press, p. 445, ISBN 978-1-4398-0850-4
- ↑ Deza, Michel Marie; Deza, Elena (2016), Encyclopedia of Distances (fourth ed.), Springer, p. 620, ISBN 978-3-662-52843-3
- ↑ Sanchez et al. 2022
- ↑ Bessel, Friedrich (1839). "On the parallax of the star 61 Cygni". London and Edinburgh Philosophical Magazine and Journal of Science. 14: 68–72. Bessel's statement that light employs 10.3 years to traverse the distance.
- ↑ Ule, Otto (1851). "Was wir in den Sternen lesen". Deutsches Museum: Zeitschrift für Literatur, Kunst und Öffentliches Leben. 1: 721–738.
- ↑ Diesterweg, Adolph Wilhelm (1855). Populäre Himmelskunde u. astronomische Geographie. p. 250.
- ↑ The Student and Intellectual Observer of Science, Literature and Art. Vol. 1. London: Groombridge and Sons. 1868. p. 240.
- ↑ "Stellar movements and the structure of the universe". สืบค้นเมื่อ 1 November 2014.
- ↑ "Chapter 1, Table 1-1", IERS Conventions (2003), คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-19, สืบค้นเมื่อ 2024-09-03
- ↑ WHERE ARE THE VOYAGERS?, สืบค้นเมื่อ 14 October 2014
- ↑ NASA Spacecraft Embarks on Historic Journey Into Interstellar Space, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-11, สืบค้นเมื่อ 14 October 2014
- ↑ NASA, Cosmic Distance Scales – The Nearest Star
- ↑ "Proxima Centauri (Gliese 551)", Encyclopedia of Astrobiology, Astronomy, and Spaceflight
- ↑ "Tau Ceti's planets nearest around single, Sun-like star". BBC News. 19 December 2012. สืบค้นเมื่อ 1 November 2014.
- ↑ Tuomi, Mikko; Jones, Hugh R. A.; Jenkins, James S.; Tinney, Chris G.; Butler, R. Paul; Vogt, Steve S.; Barnes, John R.; Wittenmyer, Robert A.; O'Toole, Simon; Horner, Jonathan; Bailey, Jeremy; Carter, Brad D.; Wright, Duncan J.; Salter, Graeme S.; Pinfield, David (March 2013). "Signals embedded in the radial velocity noise: periodic variations in the τ Ceti velocities" (PDF). Astronomy & Astrophysics. 551: A79. arXiv:1212.4277. Bibcode:2013A&A...551A..79T. doi:10.1051/0004-6361/201220509. S2CID 2390534.
- ↑ Eisenhauer, F.; Schdel, R.; Genzel, R.; Ott, T.; Tecza, M.; Abuter, R.; Eckart, A.; Alexander, T. (2003), "A Geometric Determination of the Distance to the Galactic Center", The Astrophysical Journal, 597 (2): L121, arXiv:astro-ph/0306220, Bibcode:2003ApJ...597L.121E, doi:10.1086/380188, S2CID 16425333
- ↑ McNamara, D. H.; Madsen, J. B.; Barnes, J.; Ericksen, B. F. (2000), "The Distance to the Galactic Center", Publications of the Astronomical Society of the Pacific, 112 (768): 202, Bibcode:2000PASP..112..202M, doi:10.1086/316512
- ↑ Fujisawa, K.; Inoue, M.; Kobayashi, H.; Murata, Y.; Wajima, K.; Kameno, S.; Edwards, P. G.; Hirabayashi, H.; Morimoto, M. (2000), "Large Angle Bending of the Light-Month Jet in Centaurus A", Publications of the Astronomical Society of Japan, 52 (6): 1021–26, Bibcode:2000PASJ...52.1021F, doi:10.1093/pasj/52.6.1021, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 September 2009
- ↑ Junor, W.; Biretta, J. A. (1994), "The Inner Light-Month of the M87 Jet", ใน Zensus, J. Anton; Kellermann; Kenneth I. (บ.ก.), Compact Extragalactic Radio Sources, Proceedings of the NRAO workshop held at Socorro, New Mexico, February 11–12, 1994, Green Bank, WV: National Radio Astronomy Observatory (NRAO), p. 97, Bibcode:1994cers.conf...97J
- ↑ Light-Travel Time and Distance by the Hayden Planetarium Accessed October 2010.
- ↑ David Mermin (2009). It's About Time: Understanding Einstein's Relativity. Princeton, New Jersey: Princeton University Press. p. 22. ISBN 978-0-691-14127-5.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- นิยามแบบพจนานุกรมของ ปีแสง ที่วิกิพจนานุกรม