พาร์เซก (อังกฤษ: parsec; มาจาก parallax of one arcsecond ตัวย่อ: pc) เป็นหน่วยวัดระยะทางทางดาราศาสตร์ มีค่าเท่ากับความสูงของสามเหลี่ยมมุมฉากที่มีเส้นฐานยาว 1 หน่วยดาราศาสตร์และมีมุมยอด 1 พิลิปดา หรือเท่ากับ 648000/π หรือ 206,265 หน่วยดาราศาสตร์ เทียบเป็นระยะทางได้ 3.2616 ปีแสง (3.26 ปีแสง) เท่ากับระยะทาง 31 ล้านล้านกิโลเมตร. ค่าพาร์เซกเป็นค่าที่นักดาราศาสตร์ใช้วัดระยะทางภายในดาราจักร การวัดระยะจากโลกถึงดาวฤกษ์ เรียกว่าการวัดพารัลแลกซ์ดาวฤกษ์ ดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้าเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้กับระบบสุริยะของเรามากที่สุด โดยอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปประมาณ 1.3 พาร์เซก หรือราว 4.2 ปีแสง[1] ดวงดาวส่วนใหญ่ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ล้วนอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 500 พาร์เซก[ต้องการอ้างอิง]

พาร์เซก
พาร์เซก เป็นระยะทางจากดวงอาทิตย์ถึงวัตถุทางดาราศาสตร์ที่มีมุมพารัลแลกซ์อยู่ที่ 1 พิลิปดา (ไม่วัดขนาด)
ข้อมูลทั่วไป
ระบบการวัดหน่วยดาราศาสตร์
เป็นหน่วยของความยาว/ระยะทาง
สัญลักษณ์pc 
การแปลงหน่วย
1 pc ใน ...... มีค่าเท่ากับ ...
   ระบบเมตริก (ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ)   3.0857×1016 m
   ~31 เพตะเมตร
   หน่วยวัดแบบอังกฤษ และสหรัฐ   1.9174×1013 ไมล์
   หน่วยดาราศาสตร์   2.06265×105 au
   3.26156 ly

พารัลแลกซ์ คือ ปรากฏการณ์ที่ผู้สังเกตมองจาก 2 จุด แล้วเห็นตำแหน่งของวัตถุเปลี่ยนไปเมื่อเทียบกับวัตถุอ้างอิง ทดลองได้โดยใช้มือถือวัตถุยื่นไปข้างหน้า แล้วสังเกตวัตถุดังกล่าวด้วยตาซ้าย และขวาจะสังเกตเห็นตำแหน่งของวัตถุเปลี่ยนไปหรือไม่

การคำนวณค่าพาร์เซก

แก้

ตามคำนิยามในปีค.ศ. 2015 1 หน่วยดาราศาสตร์ของความยาวเส้นรองรับมุม 1 พิลิปดา (หรือ 1 อาร์กวินาที) ณ ใจกลางวงกลมที่มีรัศมี 1 พาร์เซก โดยการแปลงหน่วยองศาหน่วยนาทีหน่วยวินาทีไปเป็นเรเดียน

และ
(คำนิยามของหน่วยดาราศาสตร์ ในปีค.ศ. 2012)

ดังนั้น

(ตามคำนิยามในปีค.ศ. 2015)

ดังนั้น

(ไปยังเมตรที่ใกล้เคียงที่สุด)

ประมาณว่า,

Diagram of parsec.

ในภาพข้างบน (ไม่ตามสเกล), S คือดวงอาทิตย์ และ E คือโลก ณ จุดหนึ่งของวงโคจร ทำให้ระยะทาง ES เท่ากับ 1 หน่วยดาราศาสตร์ (au) มุม SDE คือ 1 พิลิปดา (1/3600 ขององศา) ดังนั้น ตามคำอธิบาย D คือจุดในอวกาศที่มีระยะทาง 1 พาร์เซกจากดวงอาทิตย์ ถ้าคำนวณผ่านตรีโกณมิติ ระยะทาง SD จะคำนวณแบบนี้:

เพราะหน่วยดาราศาสตร์มีความยาว 149597870700 เมตร[2] จึงคำนวณเป็นแบบนี้:

ดังนั้น 1 พาร์เซก ≈ 206,264.806247096 หน่วยดาราศาสตร์
3.085677581×1016 เมตร
30.856775815 ล้านล้าน กิโลเมตร
19.173511577 ล้านล้าน ไมล์

ดังนั้น ถ้า 1 ly ≈ 9.46×1015 เมตร

แล้ว 1 pc3.261563777 ly

ตามวิธีทางคณิตศาสตร์ เพื่อคำนวณระยะทางที่มีหน่วยเชิงมุมจากเครื่องมีอในหน่วยพิลิปดา สูตรจะเป็นไปตามนี้:

โดย θ เป็นค่ามุมในหน่วยพิลิปดา ระยะทางระหว่างโลก-ดวงอาทิตย์มีค่าคงที่ (1 au หรือ 1.5813×10−5 ly) การคำนวณระยะทางดาว จะใช้หน่ายเดียวกันกับระยะทางโลก-ดวงอาทิตย์ (ป.ล. ถ้าระยะทางโลก-ดวงอาทิตย์ = 1 au หน่วยของระยะทางดาว คือหน่วยดาราศาสตร์; ถ้าระยะทางโลก-ดวงอาทิตย์ = 1.5813×10−5 ly หน่วยของระยะทางดาว คือปีแสง)

อ้างอิง

แก้
  1. Benedict, G. F.; และคณะ. "Astrometric Stability and Precision of Fine Guidance Sensor #3: The Parallax and Proper Motion of Proxima Centauri" (PDF). Proceedings of the HST Calibration Workshop. pp. 380–384. สืบค้นเมื่อ 11 July 2007.
  2. International Astronomical Union, บ.ก. (31 August 2012), "RESOLUTION B2 on the re-definition of the astronomical unit of length" (PDF), RESOLUTION B2, Beijing: International Astronomical Union, The XXVIII General Assembly of International Astronomical Union recommends [adopted] that the astronomical unit be redefined to be a conventional unit of length equal to exactly 149597870700 m, in agreement with the value adopted in IAU 2009 Resolution B2