เส้นเวลาของอนาคตไกล

สัญลักษณ์ภาพ แก้

  หัวข้อ
  ดาราศาสตร์ และ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์
  ธรณีวิทยา และ วิทยาดาวเคราะห์
  ฟิสิกส์อนุภาค
  คณิตศาสตร์
  เทคโนโลยี และ วัฒนธรรม

อนาคตของโลก ระบบสุริยะ และเอกภพ แก้

  ปีจากปัจจุบัน เหตุการณ์
  36,000 ดาวแคระแดงขนาดเล็ก Ross 248 ผ่านภายใน 3.024 ปีแสงจากโลก เป็นดาวที่เคลื่อนเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด[1]
  44,000 อัลฟาคนครึ่งม้า มาเป็นระบบดาวคู่ที่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดซึ่งมากกว่า Ross 248 ที่ถอยห่างออกไป[1]
  50,000 (1) จุดสิ้นสุดของช่วงเวลาระหว่างยุคน้ำแข็ง (interglacial period) สืบเนื่องจากการศึกษาโดย Berger และ Loutre[2] ส่งผลให้โลกกลับสู่ยุคน้ำแข็งอีกครั้งตามวัฎจักร โดยไม่นำผลกระทบจากปรากฏการณ์โลกร้อนจากฝีมือมนุษย์มาคำนวณร่วมด้วย

(2) น้ำตกไนแองการา พรมแดนระหว่างสหรัฐอเมริกาและแคนาดา จะกัดเซาะผาจนน้ำตกถอยร่นไปถึง 32 กิโลเมตร และสูญเข้าไปในทะเลสาบอีรี[3]

  50,000 ความยาวของวันที่ใช้ในการจับเวลาทางดาราศาสตร์เพิ่มเป็น 86,401 วินาที (ตามระบบเอสไอ) จากปัจจุบันที่กำหนดไว้ใน 1 วันมี 86,400 วินาที สาเหตุเกิดจากแรงไทดัลของดวงจันทร์หน่วงการหมุนรอบตัวเองของโลก ทำให้โลกต้องใช้เวลาหมุนรอบตัวเองครบรอบเพิ่มขึ้น และภายใต้ระบบเวลาที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เราจะต้องเพิ่ม 1 วินาทีในทุกวัน[4]
  100,000 เนื่องจากดาวฤกษ์แต่ละดวงมีการเคลื่อนที่เฉพาะตัวไปในดาราจักร ทำให้ในอีกแสนปีข้างหน้ากลุ่มดาวต่าง ๆ จะเริ่มมีตำแหน่งดาวฤกษ์เปลี่ยนแปลงและผิดเพี้ยนไป จนไม่สามารถยึดถือระบบกลุ่มดาวแบบเดิมได้[5]
  100,000[a] ดาวฤกษ์ยักษ์ยิ่งยวด วีวาย สุนัขใหญ่ (VY Canis Majoris) มีโอกาสที่จะระเบิดเป็นไฮเปอร์โนวา[6]
  100,000[a] โลกมีโอกาสที่จะเจอกับการปะทุครั้งใหญ่ของมหาภูเขาไฟ (supervolcano) ซึ่งอาจมีแม็กมาปะทุออกมาถึง 400 ลูกบาศก์กิโลเมตร[7]
  250,000 ภูเขาใต้ทะเลโลอิฮี (Lōʻihi Seamount) ซึ่งเป็นภูเขาไฟอายุน้อยที่สุดในกลุ่มแนวภูเขาใต้ทะเลฮาวายเอ็มเพอเรอร์ (Hawaiian–Emperor seamount chain) จะโผล่พ้นน้ำและกลายเป็นเกาะภูเขาไฟแห่งใหม่[8]
  500,000[a] โลกมีโอกาสที่จะถูกอุกกาบาตขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราว 1 กิโลเมตรพุ่งเข้าชนโดยไม่สามารถป้องกันหรือเบี่ยงเบนแนวโคจรได้[9]
  1 ล้าน[a] โลกมีโอกาสที่จะประสบกับการปะทุของมหาภูเขาไฟ ที่สามารถพ่นลาวาออกมาได้ถึง 3,200 ลูกบาศก์กิโลเมตร ใกล้เคียงกับการปะทุครั้งใหญ่ของภูเขาไฟโตบาบนเกาะสุมาตรา[7]
  1 ล้าน[a] เวลาที่เป็นไปได้อย่างช้าที่สุดที่ดาวยักษ์แดง บีเทลจุส จะระเบิดเป็นซูเปอร์โนวา ซึ่งคาดว่าจะสามารถมองเห็นได้บนพื้นโลกแม้ในเวลากลางวัน[10][11]
  1.4 ล้าน ดาวฤกษ์กลีเซอ 710 (Gliese 710) จะโคจรเข้าใกล้ระบบสุริยะมากที่สุดที่ 1.1 ปีแสง ก่อนจะโคจรห่างออกไป โดยในขณะนั้นดาวฤกษ์กลีเซอ 710 จะส่งแรงโน้มถ่วงรบกวนวัตถุในเมฆออร์ต ซึ่งเป็นแหล่งรวมวัตถุน้ำแข็งห้อมล้อมระบบสุริยะไว้ ทำให้ระบบสุริยะชั้นในมีความเสี่ยงต่อการชนของเทหวัตถุต่าง ๆ เพิ่มขึ้น[12]
  10 ล้าน หุบเขาทรุดแอฟริกาตะวันออก (East African Rift) ขยายกว้างขึ้นและถูกน้ำจากทะเลแดงเข้าท่วม เป็นต้นกำเนิดมหาสมุทรใหม่ที่จะแยกทวีปแอฟริกาออกจากกัน[13]
  50 ล้าน เวลาที่ช้าที่สุดที่ดวงจันทร์โฟบอสจะถูกความหน่วงจากแรงไทดัลดึงเข้าหาดาวอังคาร และในที่สุดก็จะเข้าชนดาวอังคาร[14]
  50 ล้าน (1) ชายฝั่งแคลิฟอร์เนียจะจมตัวและมุดตัวลงร่องลึกก้นสมุทรอะลูเชียน (Aleutian Trench) จากการเคลื่อนไปทางทิศเหนือตามรอยเลื่อนแซนแอนเดรอัส[15]

(2) ทวีปแอฟริกาจะเลื่อนไปทางเหนือและชนกับยูเรเชีย ซึ่งจะปิดกั้นทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและเกิดเทือกเขาคล้ายเทือกเขาหิมาลัยขึ้นแทน[16]

  100 ล้าน[a] โลกมีโอกาสที่จะถูกอุกกาบาตขนาดใกล้เคียงกับที่เคยชนโลกเมื่อ 65 ล้านปีก่อนชน ซึ่งในครั้งนั้นทำให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิต[17]
  230 ล้าน หลังจากนี้เป็นต้นไป จะไม่สามารถทำนายวงโคจรของดาวเคราะห์ต่าง ๆ ได้อีกตามเวลาเลียปูนอฟ (Lyapunow time)[18]
  240 ล้าน หากนับเวลาจากปัจจุบันไปอีก 240 ล้านปี ระบบสุริยะจะโคจรรอบดาราจักรทางช้างเผือกและกลับมาอยู่ตำแหน่งเดิมในปัจจุบันครบหนึ่งรอบ เรียกว่าหนึ่งปีดาราจักร[19]
  250 ล้าน ทวีปต่าง ๆ บนโลกมีโอกาสที่จะรวมตัวกันเป็นมหาทวีป (supercontinent) ซึ่งเป็นไปได้สามรูปแบบคือ มหาทวีปอมาเชีย (Amasia) โนโวพันเจีย (Novopangaea) และพันเจียอัลติมา (Pangaea Ultima)[20][21]
  500–600 ล้าน[a] ระยะเวลาโดยประมาณที่จะเกิดแสงวาบรังสีแกมมา หรือซูเปอร์โนวาพลังงานยิ่งยวด ในระยะห่างภายใน 6,500 ปีแสงจากโลก ซึ่งใกล้พอที่จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อชั้นโอโซนของโลก และก่อให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ได้ หากสมมุติฐานที่ว่าการระเบิดดังกล่าวเคยเกิดขึ้นในอดีตและทำให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในยุคออร์โดวิเชียน–ไซลูเรียน นั้นถูกต้อง อย่างไรก็ตาม การระเบิดดังกล่าวจะต้องส่งพลังงานมีทิศทางมายังโลกโดยตรงเท่านั้นถึงจะเกิดผลกระทบต่อโลกได้[22]
  600 ล้าน ความเร่งไทดัล (Tidal acceleration) จะผลักดวงจันทร์ให้ห่างออกจากโลกไปไกลจนไม่สามารถเกิดสุริยุปราคาแบบเต็มดวงได้อีกต่อไป[23]
  600 ล้าน ความสว่างของดวงอาทิตย์ที่เพิ่มขึ้นจะไปทำลายวัฏจักรคาร์บอเนต-ซิลิเกต ความสว่างที่เพิ่มขึ้นจะไปเพิ่มการสึกกร่อนของผิวหิน ซึ่งหินนี้กักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ที่พื้นในรูปคาร์บอเนต เมื่อน้ำระเหยไปจากผิวโลกที่เป็นหินแข็งจะทำให้เกิดทวีปเลื่อนอย่างช้าๆและในที่สุดก็หยุดลง เมื่อไม่มีภูเขาไฟช่วยนำคาร์บอนกลับสู่บรรยากาศ ระดับคาร์บอนไดออกไซด์จะตกลง[24] ในเวลานี้มันจะตกลงจนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช C3 ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ พืชที่ใช้การสังเคราะห์แสงแบบ C3 (99% ของสปีชีส์ทั้งหมดในปัจจุบัน) จะตาย [25]
  800 ล้าน ระดับคาร์บอนไดออกไซด์จะลดต่ำจนปฏิกิริยาการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ (C4 carbon fixation) ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไป[25] ออกซิเจนอิสระและโอโซนจะหายไปจากบรรยากาศ สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์จะสูญพันธุ์[26]
  1,000 ล้าน[b] ความสว่างของดวงอาทิตย์เพิ่มขึ้นอีก 10 เปอร์เซ็นต์ ทำให้อุณหภูมิบนพื้นผิวโลกมีค่าประมาณ 320 K (47 °C). ชั้นบรรยากาศจะกลายเป็น "ภาวะเรือนกระจกชื้น", เนื่องจากการระเหยของมหาสมุทร[27] น้ำบางส่วนยังคงเป็นของเหลวในบริเวณขั้วโลก และยังสามารถเป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตพื้นฐาน.[28][29]
  1,300 ล้าน สิ่งมีชีวิตจำพวกยูแคริโอตทั้งหมดจะสูญพันธุ์เนื่องจากการขาดแคลนคาร์บอนไดออกไซด์ ส่วนสิ่งมีชีวิตจำพวกโปรคาริโอตจะยังคงมีชีวิตรอด[26]
  1,500–1,600 ล้าน ดวงอาทิตย์สว่างมากขึ้นทำให้เขตที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้เลื่อนออกจากโลกไป ในขณะเดียวกันทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศของดาวอังคารสูงขึ้น ซึ่งเพิ่มอุณหภูมิของพื้นผิวดาวอังคารจนใกล้เคียงกับโลกในยุคน้ำแข็ง[26][30]
  2,300 ล้าน แก่นโลกชั้นนอกจะเย็นตัวลง หากแก่นโลกชั้นในค่อย ๆ ขยายตัวในอัตราปัจจุบันที่ 1 มิลลิเมตรต่อปี[31][32] และเมื่อแกนชั้นนอกที่เป็นของเหลวเย็นตัวลงกลายเป็นของแข็ง จะทำให้สนามแม่เหล็กของโลกหยุดทำงานและหายไป[33]
  2,800 ล้าน อุณหภูมิพื้นผิวของโลกเพิ่มสูงขึ้นจนอยู่ที่เฉลี่ยประมาณ 420 เคลวิน (147°C) แม้กระทั่งบริเวณขั้วโลก ทำให้สิ่งมีชีวิตในขณะนั้น (ซึ่งมีชีวิตรอดเหลือเพียงกลุ่มสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวในสภาพแวดล้อมที่โดดเดี่ยวและกระจัดกระจาย เช่น ตามทะเลสาบบนที่สูง หรือในถ้ำใต้ดิน) สูญพันธุ์โดยสิ้นเชิง[24][34][c]
  3,000 ล้าน ตำแหน่งมัธยฐานที่ซึ่งทำให้ระยะห่างดวงจันทร์กับโลกมากขึ้นจะไปลดความเอียงของแกนโลก ในขณะนี้ ขั้วโลกจริงจะเกิดความวุ่นวายและรุนแรงมากขึ้น[35]
  3,300 ล้าน มีโอกาส 1 เปอร์เซ็นต์ที่วงโคจรของดาวพุธจะถูกขยายออกจนกระทั่งชนกับดาวศุกร์ ส่งผลให้เกิดความปั่นป่วนในระบบสุริยะชั้นใน และเพิ่มความเสี่ยงที่โลกจะถูกชนโดยวัตถุระดับดาวเคราะห์[36]
  3,500-4,500 ล้าน พื้นผิวของโลกจะคล้ายดาวศุกร์ในปัจจุบัน[37]
  3,600 ล้าน ดวงจันทร์ของดาวเนปจูน ไทรทันจะเคลื่อนเข้าหาดาวเนปจูนจนเลยขีดจำกัดของRoche (Roche Limit) จนทำให้เกิดวงแหวนของดาวเนปจูนที่คล้ายกับดาวเสาร์[38]
  4,000 ล้าน ตำแหน่งมัธยฐานที่ดาราจักรแอนดรอเมดาจะชนกับดาราจักรทางช้างเผือก ซึ่งหลังจากนั้นจะดาราจักรจะรวมกันและมีชื่อว่าดาราจักร"Milkomeda".[39]
  5,000 ล้าน ดวงอาทิตย์ใช้ไฮโดรเจนหมดทำให้ดวงอาทิตย์ออกจากแถบลำดับหลัก และเริ่มเข้าสู่ช่วงของ ดาวยักษ์แดง.[40]
  7,500 ล้าน โลกและดาวอังคารเกิดไทดัลล็อก(Tidal locking) กับดวงอาทิตย์ที่ขยายตัว[30]
  7,900 ล้าน การขยายตัวของดวงอาทิตย์อาจจะเพิ่มขึ้นถึง 256 เท่าของดวงอาทิตย์ในปัจจุบัน หรืออาจจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 358,400,000 กิโลเมตร[40] ซึ่งส่งผลให้ดาวพุธ, ดาวศุกร์และอาจจะรวมถึงโลกถูกทำลาย [41]

ในเวลานี้ ดาวบริวารของดาวเสาร์ ไททัน สามารถมีอุณหภูมิสูงพอที่จะให้กำเนิดชีวิตได้[42]

  8,000 ล้าน ในเวลานี้ ดวงอาทิตย์เป็น ดาวแคระขาวที่ประกอบด้วยคาร์บอน และ ออกซิเจน ด้วยมวล 54.05 เปอร์เซนต์ของมวลดวงอาทิตย์ในปัจจุบัน[40][43][44][d]
  22,000 ล้าน จุดจบของจักรวาลในรูปแบบของการฉีกขาดครั้งใหญ่ (Big Rip) รูปแบบของพลังงานมืดเป็นแบบ w = -1.5.[45] การสังเกตกระจุกกาแล็กซี่ที่ถูกเร่งความเร็วโดย Chandra X-ray Observatory บอกว่าสิ่งนี้จะไม่เกิด[46]
  50,000 ล้าน สมมติว่าถ้าเรารอดจากการขยายตัวของดวงอาทิตย์ ในเวลานี้โลกและดวงจันทร์จะไทดัลล็อก(tidelocked) ซึ่งไม่ว่าจะอยู่บนดาวดวงไหนก็จะเห็นอีกดวงแค่ด้านเดียว[47] หลังจากนั้น ปฏิกิริยาไทดัล(tidal action) ของดวงอาทิตย์จะดึงโมเมนตัมเชิงมุมออกจากระบบ ทำให้วงโคจรของดวงจันทร์เสื่อมลงและโลกจะหมุนเร็วขึ้น[48]
  100,000 ล้าน การขยายตัวของเอกภพ ทำให้ดาราจักรทั้งหมดเคลื่อนออกไปไกลจากกลุ่มท้องถิ่นของทางช้างเผือกจนเลยออกไปจากแนว cosmic light horizon และถูกลบเลือนไปจากเอกภพที่สังเกตได้[49]
  150,000 ล้าน รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาลจะเย็นลงจากอุณหภูมิประมาณ 2.7 K ถึง 0.3 K ทำให้ไม่สามารถตรวจจับได้ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน[50]
  450,000 ล้าน ตำแหน่งมัธยฐานของ ประมาณ 47 ดาราจักร[51] ของกลุ่มท้องถิ่นจะรวมกันเป็นดาราจักรขนาดใหญ่แห่งเดียว[52]
  800,000 ล้าน เวลาที่คาดการณ์ไว้ที่การปล่อยแสงจากดาราจักร Milkomeda จะลดลง ในขณะที่ดาวแคระแดงข้ามพ้นระยะ"ดาวแคระน้ำเงิน"ซึ่งสว่างที่สุด[53]
  1012 (1 ล้านล้าน) เวลาที่น้อยที่สุดที่ประมาณการไว้ เมื่อการกำเนิดดาวฤกษ์ไม่มีอีกต่อไปในกาแล็กซี ในขณะที่กาแล็กซี่ใช้กลุ่มแก๊สที่จำเป็นต่อการสร้างดาวฤกษ์ใหม่ไปจนหมด[52]

การขยายตัวของเอกภพที่คาดว่าเป็นความหนาแน่นของพลังงานมืดที่คงตัว จะทำให้ความยาวคลื่นของรังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาลเพิ่ม 1029 เท่า เกินสเกล cosmic light horizon และจะตรวจจับมันซึ่งเป็นหลักฐานของบิกแบงไม่ได้อีก อย่างไรก็ตามสามารถวัดการขยายตัวของเอกภพได้จากการศึกษาดาวที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง[49]

  3×1013 (30 ล้านล้าน) เวลาที่ประมาณการไว้ที่ดาวฤกษ์จะผ่านเข้ามาใกล้ดาวฤกษ์อื่นในละแวกเพื่อนบ้าน เมื่อดาวฤกษ์สองดวงผ่านใกล้กัน วงโคจรดาวเคราะห์ของพวกมันจะถูกทำลายและจะหลุดออกจากระบบ โดยเฉลี่ย ยิ่งวงโคจรดาวเคราะห์ใกล้ดาวฤกษ์เท่าไร มันยิ่งใช้เวลานานที่จะหลุด เพราะวงโคจรของมันแน่นเป็นผลจากแรงโน้มถ่วง[54]
  1014 (100 ล้านล้าน) เวลาที่มากที่สุดที่ประมาณการไว้ เมื่อการกำเนิดดาวฤกษ์ไม่มีอีกต่อไปในกาแล็กซี[52] จุดนี้เป็นจุดเปลี่ยนจาก ยุคแห่งดวงดาว(Stelliferous Era) ไปยัง ยุคเสื่อม(Degenerate Era) ซึ่งเป็นยุคที่ไม่มีไฮโดรเจนอิสระสำหรับสร้างดาวฤกษ์ดวงใหม่อีกแล้ว ดาวฤกษ์ที่เหลือค่อยๆใช้เชื้อเพลิงหมดและตายลง[55]
  1.1–1.2×1014 (110–120 ล้านล้าน) เวลาที่ดาวฤกษ์ทุกดวงในเอกภพใช้เชื้อเพลิงจนหมด (ดาวที่อายุยืนที่สุด ดาวแคระแดงมวลน้อยมีช่วงชีวิตประมาณ 10–20 ล้านล้านปี[52] หลังจากจุดนี้ วัตถุที่มีมวลที่ยังเหลืออยู่คือเศษดาว ได้แก่ ดาวแคระขาว ดาวนิวตรอน และหลุมดำ ดาวแคระน้ำตาลยังคงอยู่เช่นกัน

การชนกันระหว่างดาวแคระน้ำตาลจะสร้างดาวแคระแดงใหม่ โดยเฉลี่ยมีดาวฤกษ์ประมาณ 100 ดวง ที่ยังส่องแสงในที่ที่เคยเป็นทางช้างเผือก การชนกันของเศษดาวมีโอกาสทำให้เกิดซูเปอร์โนวา[52]

  1015 (1 พันล้านล้าน) เวลาโดยประมาณที่ดาวเคราะห์ทุกดวงในระบบสุริยะเราและระบบดาวฤกษ์อื่นจะหลุดออกนอกวงโคจร[52]

ในเวลานี้, ดวงอาทิตย์กลายเป็นดาวแคระดำและมีอุณหภูมิเหนือศูนย์องศาสัมบูรณ์อยู่แค่ 5 องศาเซลเซียสเท่านั้น.[56]

  1019–1020 (10–100 ล้านล้านล้าน) เวลาโดยประมาณที่ 90%–99% ของดาวแคระน้ำตาลและเศษดาว (รวมทั้งดวงอาทิตย์) จะหลุดออกนอกกาแล็กซี เมื่อวัตถุสองชิ้นเข้าไกลกันมากพอ พวกมันจะแลกเปลี่ยนพลังงานของวงโคจรกับวัตถุมวลน้อยกว่าเพื่อที่จะได้รับพลังงาน ด้วยวิธีนี้ซ้ำๆ วัตถุมวลน้อยจะได้พลังงานเพียงพอที่จะหลุดออกจากกาแล็กซี่ กระบวนการนี้ทำให้ดาวแคระน้ำตาลและเศษดาวส่วนใหญ่หลุดออกจากทางช้างเผือก[52][57]
  1020 (100 ล้านล้านล้าน) เวลาโดยประมาณที่โลกจะชนกับดวงอาทิตย์ที่เป็นดาวแคระดำเพราะการเสื่อมของวงโคจรผ่านทางการปลดปล่อยรังสีความโน้มถ่วง[58] ถ้าโลกไม่หลุดจากวงโคจรก่อนเมื่อดาวฤกษ์เคลื่อนใกล้กันหรือดูดกลืนโดยดวงอาทิตย์ระยะดาวยักษ์แดง[58]
  1030 เวลาโดยประมาณที่ดาวที่ยังไม่หลุดจากกาแล็กซี่ (1% – 10%) จะตกลงไปในหลุมดำมวลยวดยิ่งใจกลางกาแล็กซี ณ จุดนี้ ดาวฤกษ์ในระบบดาวคู่จะพุ่งเข้าหากัน ดาวเคราะห์จะพุ่งเข้าหาดาวฤกษ์ของมัน ผ่านทางการปลดปล่อยรังสีความโน้มถ่วง (gravitational radiation) มีเพียงวัตถุที่อยู่โดดเดี่ยวได้แก่ เศษดาว ดาวแคระน้ำตาล ดาวเคราะห์ที่หลุดจากวงโคจร และ หลุมดำ ที่ยังคงอยู่ในเอกภพ[52]
  2×1036 เวลาโดยประมาณของนิวคลีออนทั้งหมดในเอกภพที่สังเกตได้จะสลายตัว เมื่อครึ่งชีวิตของโปรตอนเป็นค่าที่น้อยที่สุดที่เป็นไปได้ ก็คือ 8.2×1033 ปี[59][60][e]
  3×1043 เวลาโดยประมาณของนิวคลีออนทั้งหมดในเอกภพที่สังเกตได้จะสลายตัว เมื่อครึ่งชีวิตของโปรตอนเป็นค่าที่มากที่สุดที่เป็นไปได้ ก็คือ 1041 ปี[52] เนื่องจากว่าบิกแบงทำให้เกิดการขยายตัว และกระบวนการเดียวกันนี้ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้แบริออนมีมากกว่าแอนติแบริออนในจักรวาลระยะแรก จะทำให้โปรตอนสลายตัว[60][e] ในช่วงเวลานี้, ถ้าโปรตอนสลายตัว ยุคหลุมดำ(Black Hole Era) ซึ่งหลุมดำเป็นวัตถุชนิดเดียวที่เหลืออยู่ในเอกภพ ได้เริ่มขึ้น[55][52]
  1065 สมมติว่าโปรตอนไม่สลายตัว นี่เป็นเวลาประมาณการสำหรับวัตถุที่แข็งจะจัดเรียงอะตอมและโมเลกุลใหม่ผ่าน อุโมงค์ควอนตัม (quantum tunneling) สสารทุกอย่างจะกลายเป็นของเหลว[58]
  5.8×1068 เวลาที่ประมาณการไว้ที่หลุมดำมวล 3 เท่าของดวงอาทิตย์จะสลายตัวเป็นอนุภาคเล็กกว่าอะตอมโดยกระบวนการของฮอว์คิง (Hawking process)[61]
  1.342×1099 เวลาที่ประมาณการไว้ที่ หลุมดำใจกลางของ S5 0014+81,ซึ่งเป็นวัตถุที่มีมวลมากที่สุดที่รู้จักในปี 2015 มีมวล 40 พันล้านเท่าของดวงอาทิตย์ เหือดหายไปโดยปล่อยรังสีฮอว์คิง (Hawking radiation)[61] โดยโมเมนตัมเชิงมุมเป็นศูนย์(ไม่ใช่หลุมดำที่หมุน) อย่างไรก็ตาม หลุมดำกำลังขยาย เวลาที่ใช้อาจจะนานกว่านี้
  1.7×10106 เวลาที่ประมาณการไว้เมื่อหลุมดำมวลยวดยิ่งที่มีมวล 20 ล้านล้านเท่าของดวงอาทิตย์ สลายตัวไปโดยกระบวนการของฮอว์คิง (Hawking process)[61] นี่เป็นจุดจบของยุคหลุมดำ(Black Hole Era) หลังจากนี้ถ้าโปรตอนสลายตัว จักรวาลจะเข้าสู่ยุคมืด(Dark Era) ซึ่งเป็นยุคที่วัตถุทางกายภาพทุกอย่างจะสลายตัวไปเป็นอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม ค่อยๆเข้าสู่สถานะพลังงานสุดท้าย(final energy state)ในระยะฮีทเดธ(Heat Death)ของจักรวาล[55][52]
  10200 เวลาที่มากที่สุดที่ประมาณการไว้ เมื่อนิวคลีออนในเอกภพที่สังเกตเห็นได้ สลายตัวไป ถ้ามันไม่ผ่านกระบวนการด้านบน มันจะผ่านกระบวนการอื่นๆในฟิสิกส์อนุภาคสมัยใหม่ เช่น higher-order baryon non-conservation processes, virtual black holes, sphalerons และอื่นๆ ในช่วงเวลา1046 - 10200 ปี[55]
  101500 สมมติว่าโปรตอนไม่สลายตัว นี่เป็นเวลาที่ประมาณการไว้เมื่อสสารแบริออนทั้งหมดรวมกันเป็น เหล็ก-56 หรือสลายจากธาตุมวลมากกว่านี้เป็น เหล็ก-56.[58]
   [f][g] เวลาที่น้อยที่สุดที่ประมาณการไว้เมื่อวัตถุทุกอย่างที่เกินมวลของพลังค์ (Planck mass) สลายผ่านอุโมงค์ควอนตัม (quantum tunneling) เป็นหลุมดำ (ถ้าไม่มีการสลายตัวของโปรตอน หรือ virtual black holes)[58] ในเวลาที่ยาวนานนี้เอง เหล็กที่เสถียรอย่างมากจะถูกทำลายด้วยอุโมงค์ควอนตัม ดาวเหล็กดวงแรกที่มวลเพียงพอจะสลายผ่านอุโมงค์เป็นดาวนิวตรอน ต่อมาดาวนิวตรอนและดาวเหล็กอื่นๆจะสลายผ่านอุโมงค์เป็นหลุมดำ การสลายของหลุมดำในเวลาต่อมาไปสู่อนุภาคเล็กกว่าอะตอม(กระบวนการใช้เวลาประมาณ 10100 ปี) จะเกิดขึ้นในสเกลเวลานี้ด้วย
   [a] เวลาที่ประมาณการไว้ที่ Boltzmann brain ปรากฏในสูญญากาศผ่านทางการลดลงของเอนโทรปี[62]
    เวลาที่ช้าที่สุดที่ประมาณการไว้ที่ทุกสสารกลายเป็นดาวนิวตรอนหรือหลุมดำ (ถ้าไม่มีการสลายตัวของโปรตอน หรือ virtual black holes)[58] และต่อมาจะสลายเป็นอนุภาคเล็กกว่าอะตอมในสเกลเวลานี้ด้วย
    เวลาที่ช้าที่สุดที่จักรวาลจะถึงสถานะพลังงานสุดท้าย(final energy state) หรือแม้แต่การเกิด false vacuum.[62]
   [a] เวลาที่ประมาณการไว้ เมื่อการกระเพื่อมแบบควอนตัมแบบสุ่ม (random quantum fluctuation) และอุโมงค์ควอนตัม (quantum tunneling) จะสร้างบิกแบงใหม่[63]

เพราะจำนวนวิธีที่ทุกอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอมในเอกภพที่สังเกตเห็นได้จะรวมตัว คือ คือ   วิธี[64][65] จำนวนนี้เมื่อคูณด้วย   จึงเกิดการerror นอกจากนี้นี่เป็นเวลาที่การกระเพื่อมแบบควอนตัม (quantum fluctuation) และอุโมงค์ควอนตัม (quantum tunneling) จะสร้างจักรวาลใหม่คล้ายกับของเรา สมมติว่าทุกจักรวาลประกอบไปด้วยอนุภาคเล็กกว่าอะตอมอย่างน้อยจำนวนเท่านี้ และปฏิบัติตามกฎของฟิสิกส์ที่อยู่ในขอบเขตที่ถูกทำนายโดยทฤษฎีสตริง[66]

อย่างง่าย ภายในเวลานี้ วัฏจักรชีวิตทั้งหมดของจักรวาลจากบิกแบง (Big Bang) ถึงสถานะพลังงานสุดท้าย (final energy state) ถึงการเกิดใหม่ จะเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกเป็นจำนวนครั้งเท่ากับจำนวนวิธีที่เป็นไปได้ของการรวมอนุภาคเล็กกว่าอะตอมในจักรวาลที่สังเกตเห็นได้

การสำรวจอวกาศและยานอวกาศ แก้

  ปีจากปัจจุบัน เหตุการณ์
  10,000 ไพโอเนียร์ 10 จะโคจรผ่าน ดาวของเบอร์นาร์ดที่ระยะ 3.8 ปีแสง .[67]
  25,000 Arecibo message ซึ่งเป็นข้อมูลวิทยุที่ถูกส่งเมื่อ 16 พฤศจิกายน 1974 จะถึงระยะเป้าหมายคือกระจุกดาวทรงกลม Messier 13[68] นี่เป็นเพียง ข้อความวิทยุระหว่างดาว (interstellar radio message) ที่ถูกส่งไปยังพื้นที่ที่ห่างไกลของกาแล็กซี่ ตำแหน่งของกระจุกดาวจะเปลี่ยนไป 24 ปีแสง ในกาแล็กซี่ ระหว่างที่ข้อความถูกส่งไป แต่ว่ากระจุกดาวมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 168 ปีแสง ข้อความจึงยังคงถึงเป้าหมาย[69] การตอบกลับจะใช้เวลาอย่างน้อยอีก 25,000 ปี
  32,000 ไพโอเนียร์ 10 เคลื่อนที่ผ่าน Ross 248 ที่ระยะ 3 ปีแสง.[70]
  40,000 วอยเอเจอร์ 1 เคลื่อนที่ผ่าน AC+79 3888 ที่ระยะ 1.6 ปีแสง, เป็นดาวในกลุ่มดาว Camelopardalis.[71]
  50,000 คีโอ ยานแคปซูลอวกาศ ได้เดินทางออกไปแล้วกลับมาสู่โลก[72]
  296,000 วอยเอจเจอร์ 2 เคลื่อนที่ผ่าน ซิริอุส ที่ระยะ 4.3 ปีแสง, เป็นดาวที่สว่างที่สุดในท้องฟ้าเวลากลางคืน.[71]
  2 ล้าน ไพโอเนียร์ 10 เคลื่อนที่ผ่าน ดาวสว่าง อัลดิบาแรน.[73]
  4 ล้าน ไพโอเนียร์ 11 เคลื่อนที่ผ่านดาวในกลุ่มดาว Aquila.[73]
  8 ล้าน วงโคจรดาวเทียมLAGEOSจะถดถอยลง และจะกลับเข้ามาในบรรยากาศโลก จะนำข้อความไปให้มนุษย์ในอนาคต และนำแผนที่ของทวีปตามที่พวกมันคาดหวังว่าจะปรากฏ[74]

เหตุการณ์ทางดาราศาสตร์ แก้

  ปีจากปัจจุบัน วันที่ เหตุการณ์
  10663 ปี การเกิดขึ้นพร้อมกันของ สุริยุปราคาเต็มดวงและการโคจรผ่านดวงอาทิตย์ของดาวพุธ[75]
  11268 ปี การเกิดขึ้นพร้อมกันของ สุริยุปราคาเต็มดวงและการโคจรผ่านดวงอาทิตย์ของดาวพุธ[75]
  11575 ปี การเกิดขึ้นพร้อมกันของ สุริยุปราคาวงแหวนและการโคจรผ่านดวงอาทิตย์ของดาวพุธ[75]
  13425 ปี การเกิดขึ้นที่ใกล้จะพร้อมกันของการโคจรผ่านดวงอาทิตย์ของดาวพุธและดาวศุกร์[75]
  13727 ปี ตำแหน่งแกนของโลกในปีนี้จะทำให้ ดาวเวกา เป็นดาวเหนือ[76][77]
  13,000 ปี
ในจุดนี้ ความเอียงของแกนโลกจะสลับกัน โดยที่ฤดูร้อน และ ฤดูหนาวจะอยู่ในด้านตรงข้ามกับวงโคจรของโลก [77]
  15232 ปี การเกิดขึ้นพร้อมกันของ สุริยุปราคาเต็มดวงและการโคจรผ่านดวงอาทิตย์ของดาวศุกร์[75]
  15790 ปี การเกิดขึ้นพร้อมกันของ สุริยุปราคาวงแหวนและการโคจรผ่านดวงอาทิตย์ของดาวพุธ[75]
  14,000-17,000 ปี
ตำแหน่งแกนของโลกในปีนี้จะทำให้ Canopus เป็นดาวใต้ แต่มันจะอยู่ภายใน 10° ของขั้วโลกใต้.[78]
  27,000 ปี
ความเยื้องศูนย์กลาง ของวงโคจรโลกจะเปลี่ยนไปถึงจุดต่ำสุดคือ 0.00236 (ปัจจุบัน 0.01671)[79][80][h]
  38172 ปี ดาวยูเรนัสผ่านหน้าดวงอาทิตย์โดยสังเกตเห็นได้จากดาวเนปจูน เป็นการบังดวงอาทิตย์ที่หายากที่สุด[81][i]
  69163 ปี การเกิดขึ้นพร้อมกันของการโคจรผ่านดวงอาทิตย์ของดาวพุธและดาวศุกร์[75]
  224508 ปี ดาวศุกร์และดาวพุธจะโคจรผ่านดวงอาทิตย์ตามลำดับ[75]
  571741 ปี การเกิดขึ้นพร้อมกันของการโคจรผ่านดวงอาทิตย์ของดาวศุกร์และโลกซึ่งสามารถมองเห็นได้จากดาวอังคาร[75]

การทำนายปฏิทิน แก้

  ปีจากปัจจุบัน วันที่ เหตุการณ์
  10,000 ปี ปฏิทินเกรกอเรียนจะคลาดเคลื่อนกับตำแหน่งของฤดูกาลไป 10 วัน[82]
  20,874 จันทรคติของปฏิทินอิสลาม และ สุริยคติของปฏิทินเกรกอเรียน จะมีเลขปีเดียวกัน หลังจากนี้ปฏิทินอิสลามจะเร็วกว่าปฏิทินเกรกอเรียน[83]
  48,901 ในปีนี้ ปฏิทินจูเลียน (365.25 วัน) และ ปฏิทินเกรกอเรียน (365.2425 วัน) จะเป็นวันเดียวกัน โดยห่างกัน 1 ปี[84][j]

แผนภาพเส้นเวลา แก้

สำหรับแผนภาพเส้นเวลาสเกลลอการิทึมของเหตุการณ์เหล่านี้ ดูที่:

ดูเพิ่ม แก้

หมายเหตุ แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 1.8 This represents the time by which the event will most probably have happened. It may occur randomly at any time from the present.
  2. Units are short scale
  3. There is a roughly 1 in 100,000 chance that the Earth might be ejected into interstellar space by a stellar encounter before this point, and a 1 in 3 million chance that it will then be captured by another star. Were this to happen, life, assuming it survived the interstellar journey, could potentially continue for far longer.
  4. Based upon the weighted least-squares best fit on p. 16 of Kalirai et al. with the initial mass equal to a solar mass.
  5. 5.0 5.1 Around 264 half-lives. Tyson et al. employ the computation with a different value for half-life.
  6.   is 1 followed by 1026 (100 septillion) zeroes.
  7. Although listed in years for convenience, the numbers beyond this point are so vast that their digits would remain unchanged regardless of which conventional units they were listed in, be they nanoseconds or star lifespans.
  8. Data for 0 to +10 Myr every 1000 years since J2000 from Astronomical solutions for Earth paleoclimates by Laskar, et al.
  9. Calculated using Aldo Vitagliano's Solex software. 2011-09-30.
  10. Manually calculated from the fact that the calendars were 10 days apart in 1582 and grew further apart by 3 days every 400 years.

รายการอ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Matthews, R. A. J. (Spring 1994). "The Close Approach of Stars in the Solar Neighborhood". Quarterly Journal of the Royal Astronomical Society. 35 (1): 1. Bibcode:1994QJRAS..35....1M.
  2. Berger, A, and Loutre, MF (2002). "Climate: an exceptionally long interglacial ahead?". Science. 297 (5585): 1287–8. doi:10.1126/science.1076120. PMID 12193773.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. "Niagara Falls Geology Facts & Figures". Niagara Parks. สืบค้นเมื่อ 29 April 2011.
  4. Finkleman, David; Allen, Steve; Seago, John; Seaman, Rob; Seidelmann, P. Kenneth (June 2011). "The Future of Time: UTC and the Leap Second". ArXiv eprint. 1106: 3141. arXiv:1106.3141. Bibcode:2011arXiv1106.3141F.
  5. Tapping, Ken (2005). "The Unfixed Stars". National Research Council Canada. สืบค้นเมื่อ 29 December 2010.
  6. Monnier, J. D.; Tuthill, P.; Lopez, GB; และคณะ (1999). "The Last Gasps of VY Canis Majoris: Aperture Synthesis and Adaptive Optics Imagery". The Astrophysical Journal. 512 (1): 351. arXiv:astro-ph/9810024. Bibcode:1999ApJ...512..351M. doi:10.1086/306761.
  7. 7.0 7.1 "Super-eruptions: Global effects and future threats". The Geological Society. สืบค้นเมื่อ 25 May 2012.
  8. "Frequently Asked Questions". Hawai'i Volcanoes National Park. 2011. สืบค้นเมื่อ 22 October 2011.
  9. Bostrom, Nick (March 2002). "Existential Risks: Analyzing Human Extinction Scenarios and Related Hazards". Journal of Evolution and Technology. 9 (1). สืบค้นเมื่อ 10 September 2012.
  10. "Sharpest Views of Betelgeuse Reveal How Supergiant Stars Lose Mass". Press Releases. European Southern Observatory. 29 July 2009. สืบค้นเมื่อ 6 September 2010.
  11. Sessions, Larry (29 July 2009). "Betelgeuse will explode someday". EarthSky Communications, Inc. สืบค้นเมื่อ 16 November 2010.
  12. Bobylev, Vadim V. (March 2010). "Searching for Stars Closely Encountering with the Solar System". Astronomy Letters. 36 (3): 220–226. arXiv:1003.2160. Bibcode:2010AstL...36..220B. doi:10.1134/S1063773710030060.
  13. Haddok, Eitan (29 September 2008). "Birth of an Ocean: The Evolution of Ethiopia's Afar Depression". Scientific American. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-24. สืบค้นเมื่อ 27 December 2010.
  14. Sharma, B. K. (2008). "Theoretical formulation of the Phobos, moon of Mars, rate of altitudinal loss". Eprint arXiv:0805.1454. สืบค้นเมื่อ 10 September 2012.
  15. Garrison, Tom (2009). Essentials of Oceanography (5 ed.). Brooks/Cole. p. 62.
  16. "Continents in Collision: Pangea Ultima". NASA. 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-21. สืบค้นเมื่อ 29 December 2010.
  17. Nelson, Stephen A. "Meteorites, Impacts, and Mass Extinction". Tulane University. สืบค้นเมื่อ 13 January 2011.
  18. Hayes, Wayne B. (2007). "Is the Outer Solar System Chaotic?". Nature Physics. 3 (10): 689–691. arXiv:astro-ph/0702179. Bibcode:2007NatPh...3..689H. doi:10.1038/nphys728.
  19. Leong, Stacy (2002). "Period of the Sun's Orbit Around the Galaxy (Cosmic Year)". The Physics Factbook. สืบค้นเมื่อ 2 April 2007.
  20. Scotese, Christopher R. "Pangea Ultima will form 250 million years in the Future". Paleomap Project. สืบค้นเมื่อ 13 March 2006.
  21. Williams, Caroline; Nield, Ted (20 October 2007). "Pangaea, the comeback". New Scientist. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 April 2008. สืบค้นเมื่อ 2 January 2014.
  22. Minard, Anne (2009). "Gamma-Ray Burst Caused Mass Extinction?". National Geographic News. สืบค้นเมื่อ 2012-08-27.
  23. "Questions Frequently Asked by the Public About Eclipses". NASA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2010. สืบค้นเมื่อ 7 March 2010.
  24. 24.0 24.1 O'Malley-James, Jack T.; Greaves, Jane S.; Raven; John A.; Cockell; Charles S. (2012). "Swansong Biospheres: Refuges for life and novel microbial biospheres on terrestrial planets near the end of their habitable lifetimes" (PDF). arxiv.org. สืบค้นเมื่อ 2012-11-01. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  25. 25.0 25.1 Heath, Martin J.; Doyle, Laurance R. (2009). "Circumstellar Habitable Zones to Ecodynamic Domains: A Preliminary Review and Suggested Future Directions". arXiv:0912.2482.
  26. 26.0 26.1 26.2 Franck, S.; Bounama, C.; Von Bloh, W. (November 2005). "Causes and timing of future biosphere extinction" (PDF). Biogeosciences Discussions. 2 (6): 1665–1679. Bibcode:2005BGD.....2.1665F. doi:10.5194/bgd-2-1665-2005. สืบค้นเมื่อ 19 October 2011.
  27. Schröder, K.-P.; Connon Smith, Robert (1 May 2008). "Distant future of the Sun and Earth revisited". Monthly Notices of the Royal Astronomical Society. 386 (1): 155–163. arXiv:0801.4031. Bibcode:2008MNRAS.386..155S. doi:10.1111/j.1365-2966.2008.13022.x.
  28. Brownlee, Donald E. (2010). "Planetary habitability on astronomical time scales". ใน Schrijver, Carolus J.; Siscoe, George L. (บ.ก.). Heliophysics: Evolving Solar Activity and the Climates of Space and Earth. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-11294-9.
  29. Li King-Fai; Pahlevan, Kaveh; Kirschvink, Joseph L.; Yung, Luk L. (2009). "Atmospheric pressure as a natural climate regulator for a terrestrial planet with a biosphere". Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America. 106 (24). Bibcode:2009PNAS..106.9576L. doi:10.1073/pnas.0809436106. PMC 2701016. PMID 19487662.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  30. 30.0 30.1 Kargel, Jeffrey Stuart (2004). Mars: A Warmer, Wetter Planet. Springer. p. 509. ISBN 978-1-85233-568-7. สืบค้นเมื่อ 29 October 2007.
  31. Waszek, Lauren; Irving, Jessica; Deuss, Arwen (20 February 2011). "Reconciling the Hemispherical Structure of Earth's Inner Core With its Super-Rotation". Nature Geoscience. 4 (4): 264–267. Bibcode:2011NatGe...4..264W. doi:10.1038/ngeo1083.
  32. McDonough, W. F. (2004). "Compositional Model for the Earth's Core". Treatise on Geochemistry. 2: 547–568. Bibcode:2003TrGeo...2..547M. doi:10.1016/B0-08-043751-6/02015-6. ISBN 978-0-08-043751-4.
  33. Luhmann, J. G.; Johnson, R. E.; Zhang, M. H. G. (1992). "Evolutionary impact of sputtering of the Martian atmosphere by O+ pickup ions". Geophysical Research Letters. 19 (21): 2151–2154. Bibcode:1992GeoRL..19.2151L. doi:10.1029/92GL02485.
  34. Adams, Fred C. (2008). "Long-term astrophysicial processes". ใน Bostrom, Nick; Cirkovic, Milan M. (บ.ก.). Global Catastrophic Risks. Oxford University Press. pp. 33–47.
  35. Neron de Surgey, O.; Laskar, J. (1996). "On the Long Term Evolution of the Spin of the Earth". Astronomie et Systemes Dynamiques, Bureau des Longitudes. 318: 975. Bibcode:1997A&A...318..975N.
  36. "Study: Earth May Collide With Another Planet". Fox News. 11 June 2009. สืบค้นเมื่อ 8 September 2011.
  37. Hecht, Jeff (2 April 1994). "Science: Fiery Future for Planet Earth". New Scientist (subscription required). No. 1919. p. 14. สืบค้นเมื่อ 29 October 2007.
  38. Chyba, C. F.; Jankowski, D. G.; Nicholson, P. D. (1989). "Tidal Evolution in the Neptune-Triton System". Astronomy & Astrophysics. 219: 23. Bibcode:1989A&A...219L..23C.
  39. Cox, J. T.; Loeb, Abraham (2007). "The Collision Between The Milky Way And Andromeda". Monthly Notices of the Royal Astronomical Society. 386 (1): 461. arXiv:0705.1170. Bibcode:2008MNRAS.tmp..333C. doi:10.1111/j.1365-2966.2008.13048.x.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  40. 40.0 40.1 40.2 Schroder, K. P.; Connon Smith, Robert (2008). "Distant Future of the Sun and Earth Revisited". Monthly Notices of the Royal Astronomical Society. 386 (1): 155–163. arXiv:0801.4031. Bibcode:2008MNRAS.386..155S. doi:10.1111/j.1365-2966.2008.13022.x.
  41. Rybicki, K. R.; Denis, C. (2001). "On the Final Destiny of the Earth and the Solar System". Icarus. 151 (1): 130–137. Bibcode:2001Icar..151..130R. doi:10.1006/icar.2001.6591.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  42. Lorenz, Ralph D.; Lunine, Jonathan I.; McKay, Christopher P. (1997). "Titan under a red giant sun: A new kind of "habitable" moon" (PDF). Geophysical Research Letters. 24 (22): 2905–8. Bibcode:1997GeoRL..24.2905L. doi:10.1029/97GL52843. PMID 11542268. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-24. สืบค้นเมื่อ 21 March 2008.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  43. Balick, Bruce. "Planetary Nebulae and the Future of the Solar System". University of Washington. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-19. สืบค้นเมื่อ 23 June 2006.
  44. Kalirai, Jasonjot S.; และคณะ (March 2008). "The Initial-Final Mass Relation: Direct Constraints at the Low-Mass End". The Astrophysical Journal. 676 (1): 594–609. arXiv:0706.3894. Bibcode:2008ApJ...676..594K. doi:10.1086/527028.
  45. "Universe May End in a Big Rip". CERN Courier. 1 May 2003. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
  46. Vikhlinin, A.; Kravtsov, A.V.; Burenin, R.A.; และคณะ (2009). "Chandra Cluster Cosmology Project III: Cosmological Parameter Constraints". The Astrophysical Journal. Astrophysical Journal. 692 (2): 1060. arXiv:0812.2720. Bibcode:2009ApJ...692.1060V. doi:10.1088/0004-637X/692/2/1060.
  47. Dickinson, Terence (1993). From the Big Bang to Planet X. Camden East, Ontario: Camden House. pp. 79–81. ISBN 978-0-921820-71-0.
  48. Canup, Robin M.; Righter, Kevin (2000). Origin of the Earth and Moon. The University of Arizona space science series. Vol. 30. University of Arizona Press. p. 177. ISBN 978-0-8165-2073-2.
  49. 49.0 49.1 Loeb, Abraham (2011). "Cosmology with Hypervelocity Stars". Journal of Cosmology and Astroparticle Physics. Harvard University. 2011 (4): 023. arXiv:1102.0007. Bibcode:2011JCAP...04..023L. doi:10.1088/1475-7516/2011/04/023. S2CID 118750775.
  50. Chown, Marcus (1996). Afterglow of Creation. University Science Books. p. 210.
  51. "The Local Group of Galaxies". University of Arizona. Students for the Exploration and Development of Space. สืบค้นเมื่อ 2 October 2009.
  52. 52.00 52.01 52.02 52.03 52.04 52.05 52.06 52.07 52.08 52.09 52.10 Adams, Fred C.; Laughlin, Gregory (April 1997). "A dying universe: the long-term fate and evolution of astrophysical objects". Reviews of Modern Physics. 69 (2): 337–372. arXiv:astro-ph/9701131. Bibcode:1997RvMP...69..337A. doi:10.1103/RevModPhys.69.337.
  53. Adams, F. C.; Graves, G. J. M.; Laughlin, G. (December 2004). García-Segura, G.; Tenorio-Tagle, G.; Franco, J.; Yorke, H. W. (บ.ก.). "Gravitational Collapse: From Massive Stars to Planets. / First Astrophysics meeting of the Observatorio Astronomico Nacional. / A meeting to celebrate Peter Bodenheimer for his outstanding contributions to Astrophysics". Revista Mexicana de Astronomía y Astrofísica (Serie de Conferencias). 22: 46–49. Bibcode:2004RMxAC..22...46A. See Fig. 3.
  54. Tayler, Roger John (1993). Galaxies, Structure and Evolution (2 ed.). Cambridge University Press. p. 92. ISBN 978-0-521-36710-3.
  55. 55.0 55.1 55.2 55.3 Adams, Fred; Laughlin, Greg (1999). The Five Ages of the Universe. New York: The Free Press. ISBN 978-0-684-85422-9.
  56. Barrow, John D.; Tipler, Frank J. (19 May 1988). The Anthropic Cosmological Principle. foreword by John A. Wheeler. Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-282147-8. LC 87-28148. สืบค้นเมื่อ 31 December 2009.
  57. Adams, Fred; Laughlin, Greg (1999). The Five Ages of the Universe. New York: The Free Press. pp. 85–87. ISBN 978-0-684-85422-9.
  58. 58.0 58.1 58.2 58.3 58.4 58.5 Dyson, Freeman J. (1979). "Time Without End: Physics and Biology in an Open Universe". Reviews of Modern Physics (subscription required). 51 (3): 447. Bibcode:1979RvMP...51..447D. doi:10.1103/RevModPhys.51.447. สืบค้นเมื่อ 5 July 2008.
  59. Nishino H, และคณะ (Super-K Collaboration) (2009). "Search for Proton Decay via
    p+

    e+

    π0
    and
    p+

    μ+

    π0
    in a Large Water Cherenkov Detector". Physical Review Letters. 102 (14): 141801. arXiv:0903.0676. Bibcode:2009PhRvL.102n1801N. doi:10.1103/PhysRevLett.102.141801. PMID 19392425. S2CID 32385768.
  60. 60.0 60.1 Tyson, Neil de Grasse; Tsun-Chu Liu, Charles; Irion, Robert (2000). One Universe: At Home in the Cosmos. Joseph Henry Press. ISBN 978-0-309-06488-0.
  61. 61.0 61.1 61.2 Page, Don N. (1976). "Particle Emission Rates From a Black Hole: Massless Particles From an Uncharged, Nonrotating Hole". Physical Review D. 13 (2): 198–206. Bibcode:1976PhRvD..13..198P. doi:10.1103/PhysRevD.13.198. See in particular equation (27).
  62. 62.0 62.1 Linde, Andrei. (2007). "Sinks in the Landscape, Boltzmann Brains and the Cosmological Constant Problem". Journal of Cosmology and Astroparticle Physics (subscription required). 2007 (1): 022. arXiv:hep-th/0611043. Bibcode:2007JCAP...01..022L. doi:10.1088/1475-7516/2007/01/022. สืบค้นเมื่อ 26 June 2009.
  63. Carroll, Sean M.; Chen, Jennifer (27 Oct 2004). "Spontaneous Inflation and the Origin of the Arrow of Time". arXiv:hep-th/0410270.
  64. Tegmark, M (May 2003). "Parallel universes. Not just a staple of science fiction, other universes are a direct implication of cosmological observations". Sci Am. 288 (5): 40–51. arXiv:astro-ph/0302131. Bibcode:2003SciAm.288e..40T. doi:10.1038/scientificamerican0503-40. PMID 12701329.
  65. Max Tegmark (2003). "Parallel Universes". In "Science and Ultimate Reality: from Quantum to Cosmos", honoring John Wheeler's 90th birthday. J. D. Barrow, P.C.W. Davies, & C.L. Harper eds. Cambridge University Press. 288: 40–51. arXiv:astro-ph/0302131. Bibcode:2003SciAm.288e..40T. doi:10.1038/scientificamerican0503-40. PMID 12701329.
  66. M. Douglas, "The statistics of string / M theory vacua", JHEP 0305, 46 (2003). arXiv:hep-th/0303194; S. Ashok and M. Douglas, "Counting flux vacua", JHEP 0401, 060 (2004).
  67. "Hurtling Through the Void". Time Magazine. 20 June 1983. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-17. สืบค้นเมื่อ 5 September 2011.
  68. "Cornell News: "It's the 25th Anniversary of Earth's First (and only) Attempt to Phone E.T."". Cornell University. 12 November 1999. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-02. สืบค้นเมื่อ 29 March 2008.
  69. Dave Deamer. "In regard to the email from". Science 2.0. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2014-11-14.
  70. "Pioneer 10: The First 7 Billion Miles". NASA. สืบค้นเมื่อ 5 September 2011.
  71. 71.0 71.1 "Voyager: The Interstellar Mission". NASA. สืบค้นเมื่อ 5 September 2011.
  72. "KEO FAQ". keo.org. สืบค้นเมื่อ 14 October 2011.
  73. 73.0 73.1 "The Pioneer Missions". NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-15. สืบค้นเมื่อ 5 September 2011.
  74. "LAGEOS 1, 2". NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-21. สืบค้นเมื่อ 21 July 2012.
  75. 75.0 75.1 75.2 75.3 75.4 75.5 75.6 75.7 75.8 Meeus, J. and Vitagliano, A. (2004). "Simultaneous Transits" (PDF). Journal of the British Astronomical Association. 114 (3). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-06-15. สืบค้นเมื่อ 7 September 2011.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  76. "Why is Polaris the North Star?". NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-15. สืบค้นเมื่อ 10 April 2011.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  77. 77.0 77.1 Plait, Phil (2002). Bad Astronomy: Misconceptions and Misuses Revealed, from Astrology to the Moon Landing "Hoax". John Wiley and Sons. pp. 55–56.
  78. Kieron Taylor (March 1, 1994). "Precession". Sheffield Astronomical Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-23. สืบค้นเมื่อ 2013-08-06.
  79. Laskar, J.; และคณะ (1993). "Orbital, Precessional, and Insolation Quantities for the Earth From −20 Myr to +10 Myr". Astronomy and Astrophysics. 270: 522–533. Bibcode:1993A&A...270..522L.
  80. Laskar; และคณะ. "Astronomical Solutions for Earth Paleoclimates". Institut de mecanique celeste et de calcul des ephemerides. สืบค้นเมื่อ 20 July 2012.
  81. Aldo Vitagliano (2011). "The Solex page". Università degli Studi di Napoli Federico II. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-29. สืบค้นเมื่อ 20 July 2012.
  82. Borkowski, K.M. (1991). "The Tropical Calendar and Solar Year". J. Royal Astronomical Soc. of Canada. 85 (3): 121–130. Bibcode:1991JRASC..85..121B.
  83. Strous, Louis (2010). "Astronomy Answers: Modern Calendars". University of Utrecht. สืบค้นเมื่อ 14 September 2011.
  84. "Julian Date Converter". US Naval Observatory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-06. สืบค้นเมื่อ 20 July 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้