การปรับอธิกวินาที[1]
ค.ศ. (พ.ศ.) 30 มิ.ย. 31 ธ.ค.
1972 (2515) +1 +1
1973 (2516) 0 +1
1974 (2517) 0 +1
1975 (2518) 0 +1
1976 (2519) 0 +1
1977 (2520) 0 +1
1978 (2521) 0 +1
1979 (2522) 0 +1
1980 (2523) 0 0
1981 (2524) +1 0
1982 (2525) +1 0
1983 (2526) +1 0
1984 (2527) 0 0
1985 (2528) +1 0
1986 (2529) 0 0
1987 (2530) 0 +1
1988 (2531) 0 0
1989 (2532) 0 +1
1990 (2533) 0 +1
1991 (2534) 0 0
1992 (2535) +1 0
1993 (2536) +1 0
1994 (2537) +1 0
1995 (2538) 0 +1
1996 (2539) 0 0
1997 (2540) +1 0
1998 (2541) 0 +1
1999 (2542) 0 0
2000 (2543) 0 0
2001 (2544) 0 0
2002 (2545) 0 0
2003 (2546) 0 0
2004 (2547) 0 0
2005 (2548) 0 +1
2006 (2549) 0 0
2007 (2550) 0 0
2008 (2551) 0 +1
2009 (2552) 0 0
2010 (2553) 0 0
2011 (2554) 0 0
2012 (2555) +1 0
2013 (2556) 0 0
2014 (2557) 0 0
2015 (2558) +1 0
2016 (2559) 0 +1
2017 (2560) 0 0
2018 (2561) 0 0
2019 (2562) 0 0
2020 (2563) 0 0
2021 (2564) 0 0
ค.ศ. 30 มิ.ย. 31 ธ.ค.
รวม 11 16
27

อธิกวินาที (อังกฤษ: leap second) คือ วินาทีที่ปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลง เพื่อรักษามาตรฐานการประกาศเวลาให้ใกล้เคียงกับเวลาสุริยะ (UT1) โดยเฉลี่ย เนื่องด้วยการประกาศเวลามาตรฐานมีพื้นฐานอยู่บนเวลาสากลเชิงพิกัด (UTC) ซึ่งรักษาไว้ด้วยนาฬิกาอะตอมที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำสูง แต่เนื่องจากโลกมีการเปลี่ยนแปลง อาทิ การเคลื่อนที่ของเปลือกโลก แผ่นดินไหว ปริมาณน้ำในมหาสมุทร ทำให้อัตราการหมุนของโลกช้าลงหรือเร็วขึ้น ถึงแม้จะเล็กน้อยแต่ก็อาจทำให้เวลาทั้งสองเกิดความแตกต่าง จึงต้องมีการปรับเวลาให้ใกล้เคียงกัน การปรับอธิกวินาทีปัจจุบันควบคุมโดย International Earth Rotation and Reference Systems Service (IERS) ซึ่งก่อนหน้านั้นควบคุมโดย Bureau International de l'Heure (BIH) จนถึง 1 มกราคม พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988)

การปรับอธิกวินาทีจะกระทำเมื่อ UT1 แตกต่างจาก UTC เกิน ±0.9 วินาที และจะถูกกำหนดให้เพิ่มหรือลดเมื่อสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน หรือ 31 ธันวาคม โดยจะประกาศเป็นคราว ๆ ไป (ถึงแม้ว่าอธิกวินาทีสามารถเพิ่มหรือลดในวันไหนก็ได้) ซึ่งจะทำให้นาทีสุดท้ายของวันดังกล่าวเกินมาหรือขาดไป 1 วินาทีตามทฤษฎี อย่างไรก็ตามการปรับอธิกวินาทีที่เคยเกิดขึ้นในอดีต มีเพียงการเพิ่มเวลาเข้าไปอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งจะทำให้เวลา 23:59:60 ปรากฏขึ้น ก่อนที่จะเป็น 0:00:00 ในวินาทีถัดไป และจะเกิดพร้อมกันทั่วโลก (เช่นประเทศไทยจะปรากฏเป็นเวลา 6:59:60)

การปรับอธิกวินาทีเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) และครั้งล่าสุดเมื่อ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016)[2][3]

กราฟแสดงความแตกต่างระหว่าง UT1 กับ UTC ส่วนที่ตั้งชันคืออธิกวินาที

อ้างอิง แก้

  1. "IETF Leap Seconds List". สืบค้นเมื่อ June 29, 2020.
  2. Gambis, Daniel (July 4, 2008). "Bulletin C 36". Paris: IERS EOP PC, Observatoire de Paris. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-06. สืบค้นเมื่อ April 18, 2010.
  3. Andrea Thompson (December 8, 2008). "2008 Will Be Just a Second Longer". Live Science. สืบค้นเมื่อ December 29, 2008.