ดาวเหนือ หรือ ดาวโพลาริส (อังกฤษ: Polaris หรือ Cynosura) (α UMi / α หมีเล็ก / แอลฟาหมีเล็ก) เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวหมีเล็ก และอยู่ใกล้กับขั้วฟ้าเหนือ จึงปรากฏเหมือนอยู่นิ่งกับที่บนท้องฟ้า (แท้จริงเป็นภาวะชั่วคราวเท่านั้น เพราะแกนหมุนของโลกมีการส่าย)

Polaris


ตำแหน่งของดาวเหนือ (วงกลม)
Observation data
ต้นยุคอ้างอิง J2000      วิษุวัต J2000
กลุ่มดาว หมีเล็ก
α UMi A
ไรต์แอสเซนชัน 02h 31m 49.09s[1]
เดคลิเนชัน +89° 15′ 50.8″[1]
โชติมาตรปรากฏ (V) 1.98[2] (1.86 – 2.13)[3]
α UMi B
ไรต์แอสเซนชัน 02h 30m 41.63s[4]
เดคลิเนชัน +89° 15′ 38.1″[4]
โชติมาตรปรากฏ (V) 8.7[2]
คุณสมบัติ
ชนิดสเปกตรัมF7Ib[5]
ดัชนีสี U-B0.38[2]
ดัชนีสี B-V0.60[2]
ชนิดดาวแปรแสงดาวแปรแสงชนิดเซเฟอิด[3]
มาตรดาราศาสตร์
ความเร็วแนวเล็ง (Rv)−17[6] km/s
การเคลื่อนที่เฉพาะ (μ) RA: 198.8±0.20[1] mas/yr
Dec.: −15±0.30[1] mas/yr
พารัลแลกซ์ (π)7.54 ± 0.11[1] mas
ระยะทาง323–433[7] ly
(99–133[7] pc)
ความส่องสว่างสัมบูรณ์ (MV)−3.6 (α UMi Aa)[2]
3.6 (α UMi Ab)[2]
3.1 (α UMi B)[2]
ตำแหน่ง (relative to α UMi Aa)
ส่วนประกอบα UMi Ab
Epoch of observation2005.5880
ระยะห่างเชิงมุม0.172
Position angle231.4°
ตำแหน่ง (relative to α UMi Aa)
ส่วนประกอบα UMi B
Epoch of observation2005.5880
ระยะห่างเชิงมุม18.217
Position angle230.540°
วงโคจร[8]
ดาวหลักα UMi Aa
ดาวสมาชิกα UMi Ab
คาบการโคจร (P)29.59±0.02 ปี
ค่ากึ่งแกนเอก (a)0.1204±0.0059"
(≥2.90±0.03 AU[9])
ความเยื้องศูนย์กลาง (e)0.608±0.005
ความเอียง (i)146.2±10.9°
ลองจิจูดของจุดโหนด (Ω)191.4±4.9°
ต้นยุคอ้างอิงจุดใกล้ที่สุด (T)1987.66±0.13
มุมของจุดใกล้ที่สุด (ω)
(secondary)
123.01±0.75°
Semi-Amplitude (K1)
(primary)
3.72±0.03 km/s
รายละเอียด
α UMi Aa
มวล5.4[10] M
รัศมี37.5[10] R
แรงโน้มถ่วงที่พื้นผิว (log g)2.2[11]
กำลังส่องสว่าง (bolometric)1,260[10] L
อุณหภูมิ6015[12] K
ค่าความเป็นโลหะ112% solar[13]
การหมุนตัว119 days[5]
ความเร็วในการหมุนตัว (v sin i)14[5] km/s
α UMi Ab
มวล1.26[2] M
รัศมี1.04[2] R
กำลังส่องสว่าง (bolometric)3[2] L
α UMi B
มวล1.39[2] M
รัศมี1.38[12] R
แรงโน้มถ่วงที่พื้นผิว (log g)4.3[12]
กำลังส่องสว่าง (bolometric)3.9[12] L
อุณหภูมิ6900[12] K
ความเร็วในการหมุน (v sin i)110[12] km/s
ชื่ออื่น
Polaris, North Star, Cynosura, Alpha UMi, α UMi, ADS 1477, CCDM J02319+8915
α UMi A: 1 Ursae Minoris, BD+88°8, FK5 907, GC 2243, HD 8890, HIP 11767, HR 424, SAO 308
α UMi B: NSV 631, BD+88°7, GC 2226, SAO 305
ฐานข้อมูลอ้างอิงอื่น
SIMBADα UMi A
α UMi B
ภาพที่ถ่ายโดยเปิดหน้ากล้องเป็นเวลานาน แสดงให้เห็นว่าดาวดวงอื่นดูคล้ายเคลื่อนที่วนรอบดาวเหนือ

การที่ดาวเหนืออยู่ในทิศทางที่เกือบจะเป็นทิศทางเดียวกับแกนหมุนของโลก ดาวฤกษ์ดวงอื่น ๆ จึงดูเหมือนเคลื่อนที่วนเป็นวงกลมรอบดาวเหนือ นักสำรวจอาศัยดาวเหนือในการเดินเรือ ปัจจุบันดาวเหนือไม่ได้อยู่ตรงกับขั้วฟ้าเหนือแต่ห่างจากขั้วฟ้าเหนือเล็กน้อย (ไม่เกิน 1°) จึงเคลื่อนที่เป็นวงกลมเล็ก ๆ ด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2° มีเพียงสองเวลาในวันหนึ่ง ๆ ที่ดาวเหนืออยู่ตรงกับทิศเหนือพอดี ส่วนในเวลาอื่นต้องอาศัยตารางคำนวณเพื่อหาทิศเหนือที่แม่นยำ

แท้จริงแล้วดาวเหนือไม่ได้บอกทิศเหนือตลอดไป การที่แกนหมุนของโลกส่ายคล้ายลูกข่างด้วยคาบ 26,000 ปี ทำให้ดาวฤกษ์ดวงอื่นเคยเป็นดาวเหนือมาก่อน เช่น ดาวทูแบนในกลุ่มดาวมังกร ส่วนในอนาคต จะเป็นดาวเวกาในกลุ่มดาวพิณ

ในอนาคตอันใกล้นี้ เรายังสามารถใช้ดาวเหนือบอกทิศเหนือได้ต่อไป โดยที่ดาวเหนือจะอยู่ใกล้ขั้วฟ้าเหนือมากที่สุดในปี ค.ศ. 2100 ด้วยระยะห่างไม่เกินครึ่งองศา

เราสามารถค้นหาดาวเหนือได้จากการลากเส้นตรงผ่านดาว 2 ดวงของกลุ่มดาวหมีใหญ่ (β และ α หมีใหญ่) ไปหาดาวเหนือได้ เรียกดาว 2 ดวงนี้ว่าดาวชี้ (Pointers) หรือไม่ก็ลากเส้นผ่านแบ่งครึ่งผ่านกลางกลุ่มดาวแคสซิโอเปียที่มีรูปร่างเหมือนตัวอักษร W

การเป็นที่รู้จักของดาวเหนือ ทำให้คนจำนวนมากคิดว่าดาวเหนือเป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในท้องฟ้า, แต่ในความเป็นจริง ดาวเหนือเป็นดาวฤกษ์ที่สว่างเป็นอันดับที่ 47. ส่วนดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในท้องฟ้า (ยกเว้นดวงอาทิตย์) คือ ดาวซิริอัส

ข้อมูลจากดาวเทียมฮิปปาร์คอส พบว่าดาวเหนืออยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทาง 431 ปีแสง (132 พาร์เซก) เป็นดาวยักษ์ใหญ่หรือดาวยักษ์ที่มีดาวฤกษ์จาง ๆ 2 ดวงเป็นสหาย ดวงแรกมีชนิดสเปกตรัม F3 V อยู่บนแถบลำดับหลัก ห่างจากดาวแม่ประมาณ 2,000 หน่วยดาราศาสตร์ อีกดวงอยู่ใกล้กว่าด้วยกึ่งแกนเอกของวงโคจรเพียง 5 หน่วยดาราศาสตร์ ดาวเหนือเป็นดาวฤกษ์ดาวแปรแสงดวงหนึ่ง ราวปี ค.ศ. 1900 ดาวเหนือมีความสว่างขึ้นลงประมาณ 8% (คิดเป็น 0.15 ความส่องสว่าง) ด้วยคาบ 3.97 วัน ปี ค.ศ. 2005 ความสว่างเปลี่ยนแปลงเพียง 2% นอกจากนี้ยังมีความสว่างมากกว่าปี ค.ศ. 1900 อยู่ประมาณ 15% รวมทั้งคาบก็เพิ่มขึ้นด้วยอัตรา 8 วินาทีต่อปี

งานวิจัยเมื่อเร็วนี้ ๆ บ่งชี้ว่าในยุคที่ทอเลมียังมีชีวิตอยู่ ดาวเหนืออาจสว่างกว่านี้ 2.5 เท่า ซึ่งถ้าหากเป็นจริง การเปลี่ยนแปลงความสว่างของดาวเหนือ จะสูงเกินกว่าผลการพยากรณ์โดยอาศัย ทฤษฎีวิวัฒนาการของดาวฤกษ์

ในท้องฟ้าซีกใต้ ไม่มีดาวฤกษ์สว่างที่อยู่ใกล้ขั้วฟ้าใต้ ดาวที่มองเห็นด้วยตาเปล่าและอยู่ใกล้ขั้วฟ้าใต้มากที่สุด คือ ดาวซิกมาออกแทนต์ (บางครั้งเรียกว่า Polaris Australis) อย่างไรก็ตาม คนในซีกโลกใต้สามารถใช้กลุ่มดาวกางเขนใต้ในการคะเนตำแหน่งของทิศใต้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Van Leeuwen, F. (2007). "Validation of the new Hipparcos reduction". Astronomy and Astrophysics. 474 (2): 653–664. arXiv:0708.1752. Bibcode:2007A&A...474..653V. doi:10.1051/0004-6361:20078357. S2CID 18759600.
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 Evans, N. R.; Schaefer, G. H.; Bond, H. E.; Bono, G.; Karovska, M.; Nelan, E.; Sasselov, D.; Mason, B. D. (2008). "Direct Detection of the Close Companion of Polaris with The Hubble Space Telescope". The Astronomical Journal. 136 (3): 1137. arXiv:0806.4904. Bibcode:2008AJ....136.1137E. doi:10.1088/0004-6256/136/3/1137. S2CID 16966094.
  3. 3.0 3.1 Samus, N. N.; Kazarovets, E. V.; และคณะ (2017). "General Catalogue of Variable Stars". Astronomy Reports. 5.1. 61 (1): 80–88. Bibcode:2017ARep...61...80S. doi:10.1134/S1063772917010085. S2CID 125853869.
  4. 4.0 4.1 Vallenari, A.; และคณะ (Gaia collaboration) (2023). "Gaia Data Release 3. Summary of the content and survey properties". Astronomy and Astrophysics. 674: A1. arXiv:2208.00211. Bibcode:2023A&A...674A...1G. doi:10.1051/0004-6361/202243940. S2CID 244398875. Gaia DR3 record for this source at VizieR.
  5. 5.0 5.1 5.2 Lee, B. C.; Mkrtichian, D. E.; Han, I.; Park, M. G.; Kim, K. M. (2008). "Precise Radial Velocities of Polaris: Detection of Amplitude Growth". The Astronomical Journal. 135 (6): 2240. arXiv:0804.2793. Bibcode:2008AJ....135.2240L. doi:10.1088/0004-6256/135/6/2240. S2CID 12176373.
  6. Campbell, William Wallace (1913). "The radial velocities of 915 stars". Lick Observatory Bulletin. 229: 113. Bibcode:1913LicOB...7..113C. doi:10.5479/ADS/bib/1913LicOB.7.113C.
  7. 7.0 7.1 Turner, D. G.; Kovtyukh, V. V.; Usenko, I. A.; Gorlova, N. I. (2013). "The Pulsation Mode of the Cepheid Polaris". The Astrophysical Journal Letters. 762 (1): L8. arXiv:1211.6103. Bibcode:2013ApJ...762L...8T. doi:10.1088/2041-8205/762/1/L8. S2CID 119245441.
  8. Evans, N. R.; และคณะ (2018). "The Orbit of the Close Companion of Polaris: Hubble Space Telescope Imaging, 2007 to 2014". The Astrophysical Journal. 863 (2): 187. arXiv:1807.06115. Bibcode:2018ApJ...863..187E. doi:10.3847/1538-4357/aad410. S2CID 119392532.
  9. Anderson, R. I. (March 2019). "Probing Polaris' puzzling radial velocity signals. Pulsational (in-)stability, orbital motion, and bisector variations". Astronomy & Astrophysics. 623: 17. arXiv:1902.08031. Bibcode:2019A&A...623A.146A. doi:10.1051/0004-6361/201834703. S2CID 119467242. A146.
  10. 10.0 10.1 10.2 Fadeyev, Y. A. (2015). "Evolutionary status of Polaris". Monthly Notices of the Royal Astronomical Society. 449 (1): 1011–1017. arXiv:1502.06463. Bibcode:2015MNRAS.449.1011F. doi:10.1093/mnras/stv412. S2CID 118517157.
  11. Usenko, I. A.; Miroshnichenko, A. S.; Klochkova, V. G.; Yushkin, M. V. (2005). "Polaris, the nearest Cepheid in the Galaxy: Atmosphere parameters, reddening and chemical composition". Monthly Notices of the Royal Astronomical Society. 362 (4): 1219. Bibcode:2005MNRAS.362.1219U. doi:10.1111/j.1365-2966.2005.09353.x.
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 Usenko, I. A.; Klochkova, V. G. (2008). "Polaris B, an optical companion of the Polaris (α UMi) system: Atmospheric parameters, chemical composition, distance and mass". Monthly Notices of the Royal Astronomical Society: Letters. 387 (1): L1. arXiv:0708.0333. Bibcode:2008MNRAS.387L...1U. doi:10.1111/j.1745-3933.2008.00426.x. S2CID 18848139.
  13. Cayrel de Strobel, G.; Soubiran, C.; Ralite, N. (2001). "Catalogue of [Fe/H] determinations for FGK stars: 2001 edition". Astronomy and Astrophysics. 373: 159–163. arXiv:astro-ph/0106438. Bibcode:2001A&A...373..159C. doi:10.1051/0004-6361:20010525. S2CID 17519049.