ร่องลึกก้นสมุทรอะลูเชียน

ร่องลึกก้นสมุทรอะลูเชียน (อังกฤษ: Aleutian Trench) เป็นร่องลึกก้นสมุทรบริเวณขอบแผ่นเปลือกโลกตามแนวชายฝั่งทางตอนใต้ของอะแลสกาและหมู่เกาะอะลูเชียน ร่องลึกมีความยาว 3,400 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกของร่องลึกมีรอยต่อสามผสานร่วมกับร่องลึกก้นสมุทรคูริล–คัมชัตคาและรอยเลื่อนอูลาคัน ส่วนทางตะวันออกติดต่อกับรอยเลื่อนควีนชาร์ลอตต์ แผ่นเปลือกโลกนี่เกิดจากการที่แผ่นแปซิฟิกมุดตัวลงไปใต้แผ่นอเมริกาเหนือ การมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกบริเวณนี้ทำให้เกิดหมู่เกาะรูปโค้งอะลูเชียนขึ้นบริเวณทะเลเปิดทางตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรอะแลสกา

แผนที่ของร่องลึกก้นสมุทรอะลูเชียน

ทางเหนือของร่องลึกมีความชันที่ 3°–4° ส่วนทางใต้มีความชันที่ 1°–4°[1] ความลึกที่สุดที่วัดได้คือ 7,822 เมตร พิกัด 51.21°N, 174.83°E ห่างจากเกาะบูรเดอร์ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 145 กิโลกเมตร[2]

แผ่นดินไหวที่เกี่ยวข้อง แก้

ที่ร่องลึกก้นสมุทรอะลูเชียน แผ่นแปซิฟิกทำการมุดตัวลงไปใต้แผ่นอเมริกาเหนือ ทำให้ร่องลึกนี้ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวหลายครั้ง:

อ้างอิง แก้

  1. "Profile of Aleutian Trench". สืบค้นเมื่อ May 6, 2012.
  2. "North Pacific Ocean Bering Sea (Southern Part)". NOAA Chart 513 7th Edition. June 2004. สืบค้นเมื่อ 29 November 2012.
  3. USGS - Historic Earthquakes, Unimak Island เก็บถาวร 2013-07-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. "USGS - Historic Earthquakes, 1957 Andreanof Islands". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-08. สืบค้นเมื่อ 2017-08-28.
  5. "USC Tsunami Research Group". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-05. สืบค้นเมื่อ 2013-07-18.
  6. USGS - Historic Earthquakes
  7. "M 7.9 - 280 km SE of Kodiak, Alaska". earthquake.usgs.gov. สืบค้นเมื่อ 2018-01-23.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

52°N 172°E / 52°N 172°E / 52; 172