แผ่นแปซิฟิก
แผ่นแปซิฟิก (อังกฤษ: Pacific Plate) เป็นแผ่นธรณีภาคแปรสัณฐานภาคพื้นสมุทรที่อยู่ใต้มหาสมุทรแปซิฟิก มีพื้นที่ประมาณ 103 ล้านตารางกิโลเมตรจึงถือว่าเป็นแผ่นเปลือกโลกที่ใหญ่ที่สุด[2]
แผ่นแปซิฟิก | |
---|---|
ประเภท | แผ่นหลัก |
พื้นที่โดยประมาณ | 103,300,000 กม.2[1] |
การเคลื่อนตัว1 | ทิศเหนือ-ทิศตะวันตก |
อัตราเร็ว1 | 56–102 มม./ปี |
ลักษณะภูมิศาสตร์ | คาบสมุทรบาฆากาลิฟอร์เนีย, เซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย, หมู่เกาะฮาวาย, ประเทศนิวซีแลนด์, หมู่เกาะโซโลมอน, เซาเทิร์นอะแลสกา, มหาสมุทรแปซิฟิก |
1โดยเทียบกับแผ่นแอฟริกา |
แผ่นเปลือกโลกนี้ปรากฏครั้งแรกเมื่อ 190 ล้านปีก่อนในบริเวณสามแยกแผ่นเปลือกโลก (triple junction) ระหว่างแผ่นแฟเรลลอน แผ่นฟีนิกซ์ และแผ่นอิซานางิ ซึ่งต่อมาได้ขยายใหญ่ขึ้นจนกลายเป็นแผ่นที่อยู่ใต้แอ่งมหาสมุทรแปซิฟิก โดยการขยายใหญ่ขึ้นนี้ทำให้แผ่นแฟเรลลอนลดลงจนเหลือเป็นเพียงเศษเล็กเศษน้อยตามชายฝั่งด้านตะวันตกของอเมริกาเหนือ ส่วนแผ่นฟีนิกซ์นั้นเหลือเป็นเศษเล็กเศษน้อยใกล้กับช่องแคบเดรก และทำลายแผ่นอิซานางิด้วยการดันให้มันมุดตัวลงใต้ทวีปเอเชีย
แผ่นแปซิฟิกมีจุดร้อนภายในที่ทำให้เกิดหมู่เกาะฮาวาย[3]
ขอบเขต
แก้ขอบด้านตะวันออกค่อนเหนือของแผ่นเป็นแนวแผ่นเปลือกโลกแยกตัวกับแผ่นเอ็กซ์พลอเรอร์ แผ่นฮวนเดฟูกา และแผ่นกอร์ดาซึ่งก่อตัวขึ้นเป็นเทือกเขากลางสมุทรเอ็กซ์พลอเรอร์ เทือกเขากลางสมุทรฮวนเดฟูกา และเทือกเขากลางสมุทรกอร์ดา ตามลำดับ ส่วนกลางของขอบด้านตะวันออกเป็นแนวแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนผ่านกับแผ่นอเมริกาเหนือตามแนวของรอยเลื่อนแซนแอนเดรอัสและขอบเขตของแผ่นโกโกส ขอบด้านตะวันออกค่อนใต้เป็นแนวแผ่นเปลือกโลกแยกตัวกับแผ่นนัซกาซึ่งก่อตัวขึ้นเป็นเทือกเขากลางสมุทรแปซิฟิกตะวันออก[ต้องการอ้างอิง]
ขอบด้านใต้เป็นแนวแผ่นเปลือกโลกแยกตัวกับแผ่นแอนตาร์กติกโดยก่อตัวขึ้นเป็นเทือกเขากลางสมุทรแปซิฟิก–แอนตาร์กติก[ต้องการอ้างอิง]
ขอบด้านตะวันตกติดกับแผ่นโอค็อตสค์ตรงร่องลึกก้นสมุทรคูริล–คัมชัตคาและร่องลึกก้นสมุทรญี่ปุ่น และยังเป็นแนวแผ่นเปลือกโลกเข้าหากันโดยแผ่นแปซิฟิกได้มุดตัวลงใต้แผ่นทะเลฟิลิปปินโดยทำให้เกิดเป็นร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา เป็นแนวแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนผ่านกับแผ่นแคโรไลน์ และเป็นแนวแผ่นเปลือกโลกปะทะ (collision boundary) กับแผ่นบิสมาร์กเหนือ[ต้องการอ้างอิง]
ขอบด้านตะวันตกค่อนใต้เป็นแนวที่ซับซ้อน แต่โดยทั่วไปเป็นแนวแผ่นเปลือกโลกเข้าหากันโดยติดกับแผ่นอินโด-ออสเตรเลีย ซึ่งแผ่นแปซิฟิกได้มุดตัวลงใต้แผ่นดังกล่าวบริเวณตอนเหนือของนิวซีแลนด์ โดยทำให้เกิดเป็นร่องลึกก้นสมุทรตองกาและร่องลึกก้นสมุทรเคอร์มาเดค มีรอยเลื่อนแอลไพน์เป็นแนวแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนผ่านระหว่างแผ่นเปลือกโลกทั้งสองแผ่น และไกลออกไปทางด้านใต้นั้นแผ่นอินโด-ออสเตรเลียจะมุดตัวลงใต้แผ่นแปซิฟิก ซึ่งทำให้เกิดเป็นร่องลึกก้นสมุทรปุยเซกูร์ ส่วนใต้ของทวีปซีแลนเดียซึ่งอยู่ทางตะวันออกของแผ่นแปซิฟิกนี้นับเป็นบล็อกที่ใหญ่ที่สุดของแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นทวีป[ต้องการอ้างอิง] รายงานของฮิลลิสและมืลเลอร์นั้นพิจารณาว่าแผ่นเบิร์ดเฮดนั้นเคลื่อนที่ไปพร้อมกับแผ่นแปซิฟิก[4] แต่เบิร์ดพิจารณาว่าแผ่นทั้งสองไม่ได้เชื่อมติดกัน[5]
ขอบด้านเหนือของแผ่นเป็นแนวแผ่นเปลือกโลกเข้าหากันโดยมีการมุดตัวลงใต้แผ่นอเมริกาเหนือทำให้เกิดเป็นร่องลึกก้นสมุทรอะลูเชียนและสอดคล้องกับหมู่เกาะอะลูเชียน
ธรณีวิทยาบรรพกาลของแผ่นแปซิฟิก
แก้แผ่นแปซิฟิกเกือบทั้งหมดเป็นเปลือกโลกภาคพื้นสมุทร แต่ประกอบด้วยเปลือกโลกภาคพื้นทวีปเป็นบางส่วนในประเทศนิวซีแลนด์ รัฐบาฮากาลิฟอร์เนีย และแนวชายฝั่งของรัฐแคลิฟอร์เนีย[3]
แผ่นแปซิฟิกมีความแตกต่างในการแสดงส่วนเชิงพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดของก้นสมุทรที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งอยู่ในบริเวณร่องลึกก้นสมุทรในเอเชียตะวันออก แผนที่ธรณีวิทยาของก้นสมุทรในมหาสมุทรแปซิฟิกไม่เพียงแสดงลำดับทางธรณีวิทยา และบริเวณที่เกี่ยวข้องกับวงแหวนไฟตามขอบมหาสมุทร แต่ยังแสดงถึงอายุต่าง ๆ ของก้นสมุทรในลักษณะขั้นบันไดตั้งแต่อายุน้อยไปจนถึงเก่าที่สุด และส่วนที่เก่าที่สุดจะถูกกลืนหายเข้าไปในร่องลึกก้นสมุทรของเอเชีย ส่วนเก่าที่สุดที่กำลังหายไปตามวัฎจักรการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค คือช่วงต้นยุคครีเทเชียส (145 ถึง 175 ล้านปีก่อน)[6]
แผ่นแปซิฟิกเกิดขึ้นที่สามแยกของแผ่นเปลือกโลกภาคพื้นสมุทรหลักสามแผ่นของมหาสมุทรแพนทาลัสซา ได้แก่ แผ่นแฟเรลลอน แผ่นฟีนิกซ์ และแผ่นอิซานางิ เมื่อประมาณ 190 ล้านปีก่อน ตัวแผ่นเกิดขึ้นเนื่องจากตัวสามแยกนั้นแปลงไปอยู่ในรูปไม่เสถียรซึ่งทุกด้านนั้นล้อมรอบด้วยรอยเคลื่อนเคลื่อนผ่าน เนื่องจากการพัฒนาขึ้นของรอยแยกหนึ่งของแผ่น "สามเหลี่ยมแปซิฟิก" ซึ่งถือเป็นส่วนที่เก่าแก่ที่สุดของแผ่นแปซิฟิกนั้นเกิดขึ้นในช่วงการก่อตัวของแผ่น ปัจจุบันตั้งอยู่ทางตะวันออกของร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา[7] การขยายตัวของแผ่นแปซิฟิกทำให้แผ่นแฟเรลลอนเหลือเพียงแค่เศษเล็กเศษน้อยตามชายฝั่งด้านตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ (เช่น แผ่นฮวนเดฟูกา)[8] เช่นเดียวกับแผ่นฟีนิกซ์บริเวณใกล้กับช่องแคบเดรก[9] ส่วนแผ่นอิซานางินั้นถูกทำลายจากการมุดตัวลงไปใต้ทวีปเอเชีย[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ http://geology.about.com/library/bl/blplate_size_table.htm
- ↑ "SFT and the Earth's Tectonic Plates". Los Alamos National Laboratory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 February 2013. สืบค้นเมื่อ 27 February 2013.
- ↑ 3.0 3.1 Wolfgang Frisch; Martin Meschede; Ronald C. Blakey (2 November 2010). Plate Tectonics: Continental Drift and Mountain Building. Springer Science & Business Media. pp. 11–12. ISBN 978-3-540-76504-2.
- ↑ Hillis, R. R.; Müller, R. D. (2003). Evolution and Dynamics of the Australian Plate. Boulder, Colorado: Geological Society of America. p. 363. ISBN 0-8137-2372-8.
- ↑ Bird, Peter (2003). "An updated digital model of plate boundaries". Geochemistry, Geophysics, Geosystems. 4 (3): 1027. Bibcode:2003GGG.....4.1027B. doi:10.1029/2001GC000252.
- ↑ "Age of the Ocean Floor". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-06. สืบค้นเมื่อ 2009-02-07.
- ↑ Boschman, Lydian M.; Hinsbergen, Douwe J. J. van (2016-07-01). "On the enigmatic birth of the Pacific Plate within the Panthalassa Ocean". Science Advances. 2 (7): e1600022. Bibcode:2016SciA....2E0022B. doi:10.1126/sciadv.1600022. ISSN 2375-2548. PMC 5919776. PMID 29713683.
- ↑ Lonsdale, Peter (2005-08-01). "Creation of the Cocos and Nazca plates by fission of the Farallon plate". Tectonophysics. 404 (3–4): 237–264. Bibcode:2005Tectp.404..237L. doi:10.1016/j.tecto.2005.05.011.
- ↑ Eagles, Graeme (2003). "Tectonic evolution of the Antarctic–Phoenix plate system since 15 Ma". Earth and Planetary Science Letters: 97, 98. ISSN 0012-821X.
- ↑ Seton, M.; Müller, R. D.; Zahirovic, S.; Gaina, C.; Torsvik, T.; Shephard, G.; Talsma, A.; Gurnis, M.; Maus, S.; Chandler, M. (2012). "Global continental and ocean basin reconstructions since 200Ma". Earth-Science Reviews. 113 (3): 212–270. Bibcode:2012ESRv..113..212S. doi:10.1016/j.earscirev.2012.03.002. สืบค้นเมื่อ 23 October 2016.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Hillis, R. R.; Müller, R. D. (2003). Evolution and Dynamics of the Australian Plate. Boulder, CO: Geological Society of America. p. 363. ISBN 0813723728.
- Age of the Ocean Floor