ดาวยักษ์แดง (อังกฤษ: Red Giant) เป็นดาวฤกษ์มวลน้อยหรือมวลปานกลางขนาดยักษ์ที่ส่องสว่างมาก (มวลโดยประมาณ 0.5-10 เท่าของมวลดวงอาทิตย์) ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาท้ายๆ ของวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ บรรยากาศรอบนอกของดาวจะลอยตัวและบางมาก ทำให้รัศมีของดาวขยายใหญ่ขึ้นมาก และอุณหภูมิพื้นผิวก็ต่ำ อาจอยู่ที่ประมาณ 5000 เคลวินหรือน้อยกว่านั้น ภาพปรากฏของดาวยักษ์แดงจะมีสีตั้งแต่เหลืองส้มออกไปจนถึงแดง ครอบคลุมระดับสเปกตรัมในชั้น K และ M อาจบางทีรวมถึงชั้น S และดาวคาร์บอนจำนวนมากด้วย

ขนาดของดวงอาทิตย์ปัจจุบัน (อยู่บนแถบลำดับหลัก) เปรียบเทียบกับขนาดโดยประมาณหากอยู่ในสภาวะดาวยักษ์แดง

ดาวยักษ์แดงส่วนใหญ่โดยทั่วไปมักเรียกกันเป็นแขนงดาวยักษ์เชิงเส้นกำกับ (RGB) ซึ่งยังมีการสังเคราะห์นิวเคลียสไฮโดรเจนไปเป็นฮีเลียมอยู่ แต่ที่แกนกลางจะเป็นฮีเลียมที่ไม่มีปฏิกิริยาแล้ว แต่ยังมีดาวยักษ์แดงอีกพวกหนึ่งคือที่อยู่ใน AGB ที่สร้างคาร์บอนจากฮีเลียมด้วยกระบวนการทริปเปิลอัลฟา ดาวยักษ์แดงประเภท AGB จะเป็นดาวคาร์บอนประเภท C-N หรือ C-R ช่วงปลายๆ

ดาวยักษ์แดงที่สว่างและโดดเด่นในยามค่ำคืน ได้แก่ ดาวอัลเดบาราน ดาวอาร์คตุรุส และแกมมากางเขนใต้ เป็นต้น ขณะที่ดาวที่ใหญ่ยิ่งกว่านั้นคือดาวปาริชาต และดาวบีเทลจุส เป็นดาวยักษ์ใหญ่แดง

ดาวยักษ์ใหญ่แดง

แก้

ดาวยักษ์ใหญ่แดง (อังกฤษ: Red Supergiant) เป็นดาวยักษ์ที่มีค่าสเปกตรัมชนิด K หรือ M เป็นดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ที่สุดในเอกภพเมื่อดูในแง่ของปริมาตร แม้จะไม่ใช่ดาวที่มีมวลมากที่สุด ดาวที่รู้จักกันว่าเป็นดาวยักษ์ใหญ่แดง ได้แก่ ดาวบีเทลจุส และ ดาวปาริชาต

ดูเพิ่ม

แก้