ดาวดวงแก้ว
(เปลี่ยนทางจาก ดาวอาร์คตุรุส)
ดาวดวงแก้ว หรือ แอลฟาคนเลี้ยงสัตว์ (α Boo / α Boötis / Alpha Boötis) คือดาวฤกษ์สว่างที่สุดในกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ มีค่าความส่องสว่างปรากฏเท่ากับ -0.05 ถือเป็นดาวสว่างที่สุดลำดับที่ 3 บนท้องฟ้ายามราตรี (รองจากดาวซิริอุสและดาวคาโนปุส) แต่เมื่อเปรียบเทียบกับดาวแอลฟาคนครึ่งม้าอาจจะดูจางกว่า เพราะดาวแอลฟาคนครึ่งม้าทั้ง 2 ดวงอยู่ใกล้กันมากจนดูด้วยตาเปล่าเสมือนเป็นดาวดวงเดียวกัน ดังนั้นดาวดวงแก้วอาจถือเป็นดาวฤกษ์สว่างลำดับที่ 4 บนท้องฟ้าก็ได้ ดาวดวงแก้วยังอยู่ในเมฆระหว่างดาวท้องถิ่น (Local Interstellar Cloud) ด้วย
ข้อมูลสังเกตการณ์ ต้นยุคอ้างอิง J2000 วิษุวัต J2000 | |
---|---|
กลุ่มดาว | กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ |
ไรต์แอสเซนชัน | 14h 15 m 39.7s |
เดคลิเนชัน | +19° 10' 56" |
ความส่องสว่างปรากฏ (V) | −0.04 |
คุณสมบัติ | |
ชนิดสเปกตรัม | K1.5IIIFe-0.5 |
ดัชนีสี U-B | 1.27 |
ดัชนีสี B-V | 1.23 |
ดัชนีสี R-I | 0.65 |
ชนิดดาวแปรแสง | ดาวแปรแสง |
note (category: variability) : | H and K emission vary.
|
มาตรดาราศาสตร์ | |
ความเร็วแนวเล็ง (Rv) | −5 km/s |
การเคลื่อนที่เฉพาะ (μ) | RA: −1093.45 mas/yr Dec.: −1999.40 mas/yr |
พารัลแลกซ์ (π) | 88.98 ± 0.68 mas |
ระยะทาง | 36.7 ± 0.3 ly (11.24 ± 0.09 pc) |
ความส่องสว่างสัมบูรณ์ (MV) | −0.30 |
รายละเอียด | |
มวล | 1.08 [1] M☉ |
รัศมี | 25.4 ± 0.3 [2] R☉ |
กำลังส่องสว่าง | 170 ± 10 [3] L☉ |
อุณหภูมิ | 4,300 [4] K |
ค่าความเป็นโลหะ | −0.52±0.04 |
ความเร็วในการหมุนตัว (v sin i) | <17 km/s |
อายุ | 7.1 พันล้าน ปี |
ชื่ออื่น | |
ฐานข้อมูลอ้างอิงอื่น | |
SIMBAD | data |
การค้นหาดาวดวงแก้วอย่างง่าย ๆ คือลากเส้นจากแนวคันไถตรงออกไป หากลากตรงออกไปอีกก็จะเจอดาวรวงข้าว (แอลฟาหญิงสาว)
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.stellar-database.com/Scripts/search_star.exe?Name=Arcturus
- ↑ Angular diameters of stars from the Mark III optical interferometer., MOZURKEWICH D.; ARMSTRONG J.T.; HINDSLEY R.B.; QUIRRENBACH A.; HUMMEL C.A.; HUTTER D.J.; JOHNSTON K.J.; HAJIAN A.R.; ELIAS II N.M.; BUSCHER D.F.; SIMON R.S., Astron. J., 126, 2502-2520 (2003)
- ↑ Based upon the values for temperature and radius in combination with the Stefan–Boltzmann law.
- ↑ Oxygen abundances in halo giants. V. Giants in the fairly metal-rich globular cluster M 71., SNEDEN C.; KRAFT R.P.; LANGER G.E.; PROSSER C.F.; SHETRONE M.D, Astron. J., 107, 1773-1785 (1994)