ดาราศาสตร์วิทยุ

ดาราศาสตร์วิทยุ (อังกฤษ: Radio astronomy) เป็นสาขาหนึ่งของดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ที่เฝ้าศึกษาวัตถุท้องฟ้าในช่วงความถี่ของคลื่นวิทยุ การตรวจจับคลื่นวิทยุจากวัตถุท้องฟ้าครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 1933 เมื่อ คาร์ล แจนสกี (Karl Jansky) จากห้องปฏิบัติการเบลล์ (Bell Telephone Laboratories) รายงานว่ามีรังสีมาจากทางช้างเผือก จากการสังเกตการณ์ในเวลาต่อมาพบแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุที่แตกต่างกันหลายแหล่ง การตรวจจับพบคลื่นวิทยุจากวัตถุทางดาราศาสตร์ (ในทางช้างเผือก) เป็นครั้งแรกเกิดขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่สองจึงมีความคืบหน้าในการแยกแยะแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุในอวกาศที่แตกต่างกัน คือจากดาวฤกษ์ ดาราจักร และวัตถุท้องฟ้าประเภทใหม่ๆ ที่ค้นพบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น ดาราจักรวิทยุ พัลซาร์ และเมเซอร์ การค้นพบการแผ่รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาลนับเป็นการค้นพบที่สำคัญที่สุด ซึ่งถือเป็นหลักฐานของทฤษฎีบิกแบง เกิดขึ้นโดยผ่านวิชาดาราศาสตร์วิทยุ

กล้องโทรทรรศน์วิทยุจำนวนมากเรียงรายในลานกว้าง ที่รัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา

การสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุสามารถทำได้โดยกล้องโทรทรรศน์วิทยุเดี่ยวๆ หรือใช้การเชื่อมต่อกล้องโทรทรรศน์หลายตัวและทำงานร่วมกันก็ได้ วิธีหลังจะทำให้สามารถจับภาพของแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุได้โดยไม่ต้องกำหนดมุมสังเกตการณ์เสียก่อน

ประวัติ

แก้
 
คาร์ล แจนสกี และเสาอากาศที่กำลังหมุนหาทิศทางของเขา (ต้นทศวรรษปี 1930) ในเมืองโฮล์มเดล รัฐนิวเจอร์ซี (Holmdel, New Jersey) กล้องโทรทรรศน์วิทยุตัวแรกของโลก ซึ่งใช้ค้นพบการแผ่คลื่นวิทยุจากทางช้างเผือก

ก่อนที่แจนสกีจะสำรวจทางช้างเผือกในช่วงทศวรรษที่ 1930 นักฟิสิกส์คาดเดาว่าคลื่นวิทยุสามารถสังเกตได้จากแหล่งกำเนิดทางดาราศาสตร์ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1860 สมการของเจมส์ เคลิร์ก แมกซ์เวลล์แสดงให้เห็นว่ารังสีแม่เหล็กไฟฟ้ามีความเกี่ยวข้องกับไฟฟ้าและแม่เหล็ก และสามารถมีอยู่ได้ที่ความยาวคลื่นใดๆ ก็ได้ มีความพยายามหลายครั้งในการตรวจจับการแผ่คลื่นวิทยุจากดวงอาทิตย์ รวมถึงการทดลองของนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน โยฮันเนส วิลซิง (Johannes Wilsing) และจูเลียส ไชเนอร์ (Julius Scheiner) ในปี ค.ศ. 1896 และอุปกรณ์ตรวจวัดการแผ่รังสีคลื่นเซนติเมตรที่จัดตั้งโดยโอลิเวอร์ ลอดจ์ (Oliver Lodge) ระหว่างปี 1897 ถึงปี 1900 ความพยายามเหล่านี้ไม่สามารถตรวจจับการแผ่รังสีใดๆ ได้เนื่องจากข้อจำกัดทางเทคนิคของเครื่องมือ การค้นพบชั้นไอโอโนสเฟียร์ที่สะท้อนคลื่นวิทยุในปี 1902 ทำให้นักฟิสิกส์สรุปได้ว่า ชั้นนี้จะสะท้อนการส่งสัญญาณวิทยุทางดาราศาสตร์กลับไปสู่อวกาศ ทำให้ไม่สามารถตรวจจับได้ [1]

เทคนิค

แก้

นักดาราศาสตร์วิทยุจะใช้เทคนิคต่าง ๆ เพื่อสังเกตวัตถุในช่วงสเปกตรัมคลื่นวิทยุ เครื่องมืออาจถูกชี้ไปที่แหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุที่มีพลังงานเพื่อวิเคราะห์การแผ่รังสีของมัน

แหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุในจักรวาล

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  1. F. Ghigo. "Pre-History of Radio Astronomy". National Radio Astronomy Observatory. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-15. สืบค้นเมื่อ 2010-04-09.