สมเด็จพระมหาวชิรมังคลาจารย์ (สงัด ปญฺญาวุโธ)

สมเด็จพระมหาวชิรมังคลาจารย์ (สงัด ปญฺญาวุโธ) เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ ทักษิณมหาคณิศวราธิบดี ฝ่ายมหานิกาย นับเป็นสมเด็จพระราชาคณะรูปแรกในประวัติศาสตร์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่พำนักจำพรรษาในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ สมเด็จพระราชาคณะภูธร ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่หนใต้, ที่ปรึกษามหาเถรสมาคม และเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดกะพังสุรินทร์ (พระอารามหลวง) จังหวัดตรัง

สมเด็จพระมหาวชิรมังคลาจารย์

(สงัด ปญฺญาวุโธ)
คำนำหน้าชื่อท่านเจ้าประคุณ
ส่วนบุคคล
เกิด27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 (95 ปี)
นิกายมหานิกาย
การศึกษานักธรรมชั้นเอก
เปรียญธรรม 7 ประโยค
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดกะพังสุรินทร์ (พระอารามหลวงจังหวัดตรัง
อุปสมบทพ.ศ. 2491
พรรษา75
ตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่หนใต้,ที่ปรึกษามหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดกะพังสุรินทร์ (พระอารามหลวง) จังหวัดตรัง

ประวัติ แก้

สมเด็จพระมหาวชิรมังคลาจารย์ (สงัด ปญฺญาวุโธ)ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่หนใต้ และเจ้าอาวาสวัดกะพังสุรินทร์ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง มีนามเดิมว่า "สงัด ลิ่มไทย" เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 ที่บ้านหนองไทร ตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง โดยโยมบิดา-มารดา ชื่อ นายเปลี่ยน และนางทองอ่อน นามสกุลลิ่มไทย ในปี พ.ศ. 2491 ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุพัทธสีมาวัดจอมไตร อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง โดยมีพระครูสังวรโกวิท เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูพิบูลธรรมสาร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระผุด มหาวีโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้ฉายานามว่า "ปญฺญาวุโธ" ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้เปรียญธรรม 7 ประโยค ในปี พ.ศ. 2504 ท่านถือเป็นพระเถระอีกรูปหนึ่ง ที่สร้างคุณูปการต่อวงการสงฆ์แห่งแดนใต้และประเทศไทยอย่างเอนกอนันต์ เป็นที่โจษจันเลื่องลือไปไกล ทุ่มแรงกายแรงใจให้งานแบบถวายชีวิต ตั้งอยู่ในศีล ดำรงตนตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนส่งเสริมพระพุทธศาสนาในภาคใต้ของประเทศไทย

 
รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นเป็น พระพรหมจริยาจารย์ (สงัด ปญฺญาวุโธ)ป.ธ.7

สมณศักดิ์ แก้

การดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่หนใต้ แก้

เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ท่านได้รับสถาปนาสมณศักดิ์ขึ้น เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏ ที่พระพรหมจริยาจารย์ ซึ่งถือเป็นเจ้าคณะใหญ่รูปแรกที่พำนักอยู่ในภูมิภาค ทั้งนี้เนื่องจากมหาเถรสมาคมมองเห็นว่า การแก้ปัญหาภาคใต้ของคณะสงฆ์นั้น หากให้พระสงฆ์ในพื้นที่ทำหน้าที่ดูแลกันเอง ย่อมจะมีผลดีต่อพระสงฆ์ในพื้นที่ดังกล่าวได้มากกว่า เนื่องจากมีความคล่องตัว รวมไปถึงมีสายงานการบังคับบัญชาที่มีความกระชับรวดเร็วกว่าที่จะให้พระเถระชั้นผู้ใหญ่จากส่วนกลางเข้ามาดูแล ดังนั้นจึงมีมติเสนอเลื่อนสมณศักดิ์ พระธรรมรัตนากร (สงัด ปญฺญาวุโธ) เจ้าคณะภาค 18 เจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดกะพังสุรินทร์ ขึ้นเป็นพระพรหมจริยาจารย์ ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่หนใต้ เพื่อดูแลคณะสงฆ์ในพื้นที่ภาคใต้ทั้งหมด

โดยเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ สำนักอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำนักนายกรัฐมนตรี ได้อัญเชิญพระบรมราชโองการสถาปนาสมณศักดิ์ และเครื่องประกอบสมณศักดิ์ เพื่อนำมาสมโภชหิรัญบัฏแก่พระพรหมจริยาจารย์ โดยมีสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) ผู้แทนประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เดินทางมาเป็นประธาน โดยมีเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะภาค และพระสังฆาธิการในเขตปกครองหนใต้มาร่วมงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งในโอกาสนี้ เจ้าคณะใหญ่หนใต้ ได้กล่าวถึงหลักการปกครองคณะสงฆ์ว่า เราควรยกย่องผู้ที่สมควรยกย่อง และตักเตือนผู้ที่สมควรตักเตือน ดังนั้นหากพระสังฆาธิการรูปใดที่ประพฤติดีต้องยกย่อง และต้องให้ได้รับเกียรติมีสมณศักดิ์ พร้อมกันนั้นท่านยังได้อบรมพระในปกครองอยู่เสมอว่า ในการทำงานจะต้องไม่กลัวผิดพลาด แต่จะต้องตั้งใจทำงานนั้นให้ดีที่สุด และจะต้องไม่ตื่นเต้นเมื่อเกิดการผิดพลาด โดยพร้อมที่จะแก้ไขอยู่ตลอดเวลา ในส่วนของการได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระพรหมจริยาจารย์ กล่าวว่า “ไม่รู้สึกดีใจ แต่รู้สึกภาคภูมิใจ เพราะตลอดระยะเวลาที่อยู่ในเพศบรรพชิต ไม่เคยไขว่คว้ายศ ตำแหน่ง และสมณศักดิ์ ถึงแม้จะอยู่ระดับไหนก็ตาม ก็ตั้งใจทำงานเพื่อพระพุทธศาสนามาโดยตลอด โดยเฉพาะงานด้านการศึกษาและการเผยแผ่ ซึ่งถือเป็นเบื้องต้นของพระพุทธศาสนา เพราะการที่จะมีพระภิกษุ สามเณรที่ดี ก็ต้องอาศัยการศึกษาเป็นพื้นฐาน และที่สำคัญรู้สึกภาคภูมิใจแทนคณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนในภาคใต้ ที่ได้รับความไว้วางใจจากพระผู้ใหญ่ที่ให้ตนมารับหน้าที่สำคัญนี้ ” กว่า 60 พรรษาแห่งการอุทิศชีวิตในพระพุทธศาสนา เพื่อประโยชน์แก่ตนและต่อชาวโลก ด้วยศีลาจารวัตรอันงดงาม พระพรหมจริยาจารย์ นับเป็นพระมหาเถระอีกรูปหนึ่ง ที่สร้างคุณูปการต่อวงการสงฆ์แห่งแดนใต้อย่างอเนกอนันต์ เป็นที่โจษขานเลื่องลือไปไกล ทุ่มแรงกายแรงใจให้งานแบบถวายชีวิต ตั้งอยู่ในศีล ดำรงตนตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เปรียบประดุจสะพานบุญ เชื่อมต่อศรัทธาแห่งชาวบ้านในชุมชนกับวัด มิให้ห่างเหินไปไกลกัน

เกียรติคุณ แก้

เขตการปกครองคณะสงฆ์ แก้

การปกครองคณะสงฆ์มหานิกายหนใต้รวม 3 ภาค 14 จังหวัด ได้แก่

อ้างอิง แก้

  1. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 88, ตอนที่ 151 ง ฉบับพิเศษ, 31 ธันวาคม 2514, หน้า 6
  2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 102, ตอนที่ 17 ง ฉบับพิเศษ, 8 กุมภาพันธ์ 2528, หน้า 2
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 116, ตอนที่ 202 ง ฉบับพิเศษ, 6 ธันวาคม 2536, หน้า 2
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 116, ตอนที่ 23 ข, 27 ธันวาคม 2542, หน้า 1
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 125, ตอนที่ 5 ข, 11 มีนาคม 2551, หน้า 1-3
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 139, ตอนที่ 48 ข, 15 พฤศจิกายน 2565, หน้า 1
ก่อนหน้า สมเด็จพระมหาวชิรมังคลาจารย์ (สงัด ปญฺญาวุโธ) ถัดไป
พระพรหมจริยาจารย์ (สมุท รชตวณฺโณ)    
เจ้าคณะใหญ่หนใต้
  'ยังอยู่ในตำแหน่ง'
-   เจ้าอาวาสวัดกะพังสุรินทร์
  'ยังอยู่ในตำแหน่ง'