ประเทศลิทัวเนีย

สาธารณรัฐในยุโรปตะวันออกเฉียงเหนือ
(เปลี่ยนทางจาก สาธารณรัฐลิทัวเนีย)

55°N 24°E / 55°N 24°E / 55; 24 ลิทัวเนีย (อังกฤษ: Lithuania; ลิทัวเนีย: Lietuva, ออกเสียง [lʲɪɛtʊˈvɐ]) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐลิทัวเนีย (อังกฤษ: Republic of Lithuania; ลิทัวเนีย: Lietuvos Respublika) เป็นประเทศในภูมิภาคบอลติกของยุโรป เป็นหนึ่งในสามรัฐบอลติกและตั้งอยู่ริมชายฝั่งตะวันออกของทะเลบอลติก มีอาณาเขตติดต่อกับลัตเวียทางทิศเหนือ ติดต่อกับเบลารุสทางทิศตะวันออกและทิศใต้ ติดต่อกับโปแลนด์ทางทิศใต้ และติดต่อกับแคว้นคาลินินกราดของรัสเซียทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ลิทัวเนียมีเนื้อที่ 65,300 ตารางกิโลเมตร (25,200 ตารางไมล์) และมีประชากร 2.8 ล้านคน เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือวิลนีอัส ส่วนเมืองใหญ่อื่น ๆ ได้แก่ เกานัสและเกล็ยเปดา ชาวลิทัวเนียจัดอยู่ในกลุ่มภาษาศาสตร์ชาติพันธุ์บอลต์และพูดภาษาลิทัวเนียซึ่งเป็นหนึ่งในภาษากลุ่มบอลต์เพียงไม่กี่ภาษาที่ยังมีผู้ใช้อยู่ในปัจจุบัน

สาธารณรัฐลิทัวเนีย

Lietuvos Respublika (ลิทัวเนีย)
ที่ตั้งของ ประเทศลิทัวเนีย  (เขียวเข้ม)

– ในทวีปยุโรป  (เขียว & เทาเข้ม)
– ในสหภาพยุโรป  (เขียว)  —  [คำอธิบายสัญลักษณ์]

เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
วิลนีอัส
54°41′N 25°19′E / 54.683°N 25.317°E / 54.683; 25.317
ภาษาราชการลิทัวเนีย[1]
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2021[2])
  • 84.6% ลิทัวเนีย
  • 6.5% โปแลนด์
  • 5.0% รัสเซีย
  • 1.0% เบลารุส
  • 0.5% ยูเครน
  • 2.3% อื่น ๆ
ศาสนา
(ค.ศ. 2021[3])
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบกึ่งประธานาธิบดี[4][5][6][7]
กิตานัส เนาเซดา
อิงกริดา ชิมอนีเต
วิกตอริยา ชมิลีเต-นิลเซิน
สภานิติบัญญัติเซย์มัส
ก่อตั้ง
9 มีนาคม ค.ศ. 1009
ค.ศ. 1236
• มินเดากัสครองราชย์
6 กรกฎาคม ค.ศ. 1253
2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1386
• ก่อตั้งเครือจักรภพ
1 กรกฎาคม ค.ศ. 1569
24 ตุลาคม ค.ศ. 1795
16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1918
11 มีนาคม ค.ศ. 1990
29 มีนาคม ค.ศ. 2004
1 พฤษภาคม ค.ศ. 2004
พื้นที่
• รวม
65,300 ตารางกิโลเมตร (25,200 ตารางไมล์) (อันดับที่ 121)
1.98 (ใน ค.ศ. 2015)[8]
ประชากร
• ค.ศ. 2021 ประมาณ
เพิ่มขึ้นเป็นกลาง 2,795,680[9] (อันดับที่ 137)
43 ต่อตารางกิโลเมตร (111.4 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 138)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2021 (ประมาณ)
• รวม
107,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[10] (อันดับที่ 83)
41,288 ดอลลาร์สหรัฐ[10] (อันดับที่ 34)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2021 (ประมาณ)
• รวม
56,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[10] (อันดับที่ 80)
22,412 ดอลลาร์สหรัฐ[11] (อันดับที่ 54)
จีนี (ค.ศ. 2019)positive decrease 35.4[12]
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.882[13]
สูงมาก · อันดับที่ 34
สกุลเงินยูโร () (EUR)
เขตเวลาUTC+2 (เวลายุโรปตะวันออก)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+3 (เวลาออมแสงยุโรปตะวันออก)
รูปแบบวันที่ปปปป-ดด-วว (ค.ศ.)
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์+370
โดเมนบนสุด.lta
เว็บไซต์
lithuania.lt
  1. และ .eu ซึ่งใช้กันในรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป

เป็นเวลานับพันปีที่ชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลบอลติกเป็นที่อยู่อาศัยของชนเผ่าบอลต์หลายเผ่า ในคริสต์ทศวรรษ 1230 มินเดากัสได้รวบรวมดินแดนลิทัวเนียเข้าเป็นหนึ่งเดียวแล้วก่อตั้งราชอาณาจักรลิทัวเนียเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1253 ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 แกรนด์ดัชชีลิทัวเนียเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป[14] ลิทัวเนีย เบลารุส ยูเครน รวมทั้งบางส่วนของโปแลนด์และรัสเซียล้วนเคยเป็นดินแดนของแกรนด์ดัชชีนี้ ราชบัลลังก์แห่งราชอาณาจักรโปแลนด์และแกรนด์ดัชชีลิทัวเนียเป็นรัฐร่วมประมุขโดยพฤตินัยตั้งแต่ ค.ศ. 1386 ผ่านการอภิเษกสมรสระหว่างสมเด็จพระราชินีนาถยัดวีกาแห่งโปแลนด์กับแกรนด์ดุ๊กยอกายลาแห่งลิทัวเนียซึ่งได้รับราชาภิเษกเป็นพระเจ้าววาดึสวัฟที่ 2 ยากีแยววอ ตามสิทธิ์ของคู่อภิเษก เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนียได้รับการจัดตั้งขึ้นตามข้อตกลงสหภาพลูบลินในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1569 และดำรงอยู่เป็นเวลานานกว่าสองศตวรรษก่อนจะถูกประเทศเพื่อนบ้านแบ่งแยกเอาดินแดนไประหว่าง ค.ศ. 1772–1795 โดยดินแดนส่วนใหญ่ของลิทัวเนียถูกผนวกเข้ากับจักรวรรดิรัสเซีย เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ได้มีการลงนามในรัฐบัญญัติเอกราชลิทัวเนียเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1918 เพื่อจัดตั้งสาธารณรัฐลิทัวเนียสมัยใหม่ขึ้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ลิทัวเนียถูกสหภาพโซเวียตและเยอรมนีนาซีเข้ายึดครองตามลำดับ ในช่วงท้ายของสงครามใน ค.ศ. 1944 ระหว่างที่เยอรมนีถอนตัวออกไป สหภาพโซเวียตได้กลับเข้ายึดครองลิทัวเนียอีกครั้ง พลพรรคชาวลิทัวเนียทำสงครามกองโจรต่อต้านการยึดครองของสหภาพโซเวียตมาจนถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 1950 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1990 หนึ่งปีก่อนการล่มสลายอย่างเป็นทางการของสหภาพโซเวียต ลิทัวเนียได้ผ่านร่างรัฐบัญญัติจัดตั้งรัฐลิทัวเนียขึ้นใหม่และกลายเป็นสาธารณรัฐโซเวียตแห่งแรกที่ประกาศเอกราช[15]

ลิทัวเนียเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยมีระบบเศรษฐกิจก้าวหน้ารายได้สูงและมีดัชนีการพัฒนามนุษย์อยู่ในระดับสูงมาก ได้รับการจัดอันดับที่ดีในด้านเสรีภาพพลเมือง เสรีภาพสื่อ เสรีภาพทางอินเทอร์เน็ต วิธีการปกครองระบอบประชาธิปไตย และความสงบสุข ลิทัวเนียเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป สภายุโรป ยูโรโซน ธนาคารเพื่อการลงทุนนอร์ดิก ความตกลงเชงเกน องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ และองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังมีส่วนร่วมในกรอบความร่วมมือระดับภูมิภาคนอร์ดิก-บอลติกแปดและเป็นผู้สังเกตการณ์ถาวรในสภานอร์ดิก

ภูมิศาสตร์

แก้

มีพื้นที่ 65,300 ตารางกิโลเมตร ใหญ่ที่สุดในจำนวน 3 ประเทศแถบบอลติก (เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย) พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าสนและเนินทราย ลิทัวเนียเป็นแหล่งอำพันที่สำคัญ

การเมืองการปกครอง

แก้

ฝ่ายบริหาร

แก้

ระบบการเมือง มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี ภายใต้รัฐธรรมปัจจุบันซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1992

ฝ่ายนิติบัญญัติ

แก้

รัฐสภาใช้ระบบสภาเดียว เรียกว่า เซย์มัส (Seimas) จำนวนสมาชิกสภาทั้งหมด 141 คน (71 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง อีก 70 คน มาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน) มีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี พรรคการเมืองจะต้องได้รับคะแนนเสียงเกินร้อยละ 4 จากการลงคะแนนเสียงทั่วประเทศ จึงจะมีสิทธิเข้าร่วมในรัฐสภา ยกเว้นพรรคที่มาจากชนกลุ่มน้อย คณะรัฐบาลดำรงตำแหน่งเท่ากับวาระของสมาชิกรัฐสภาเว้นแต่สมาชิกคณะรัฐบาลจะลาออก หรือรัฐสภาลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลด้วยเสียงข้างมากเด็ดขาด ประธานสภาเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี

สถานการณ์การเมือง

แก้

ปัจจุบันสถานภาพทางการเมืองของลิทัวเนียในสายตาของนานาชาตินั้นถือได้ว่ามีเสถียรภาพและเอื้ออำนวยต่อการค้าการลงทุน ภายหลังจากการถอนทหารรัสเซียออกจากลิทัวเนียตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1996 กอปรกับชนกลุ่มน้อยชาวรัสเซียในลิทัวเนียไม่มีบทบาทสำคัญทางการเมือง จึงส่งผลทำให้การบริหารบ้านเมืองของรัฐบาลลิทัวเนียในเรื่องชนกลุ่มน้อยค่อนข้างเป็นไปอย่างราบรื่นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศบอลติกอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ ลัตเวียและเอสโตเนีย

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

แก้

การเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป

แก้

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2004 ลิทัวเนียและประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มบอลติก คือ เอสโตเนียและลัตเวีย พร้อมด้วยสาธารณรัฐเช็ก ไซปรัส ฮังการี มอลตา โปแลนด์ สโลวีเนีย และสโลวาเกีย ได้เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของสหภาพยุโรปอย่างสมบูรณ์

ก่อนหน้านี้ ลิทัวเนียและกลุ่มประเทศบอลติกพยายามที่จะดำเนินการเจรจาเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปในขั้นตอนต่าง ๆ และการปฏิบัติตามเงื่อนไขของการเข้าเป็นสมาชิกใหม่ให้เสร็จสิ้นลุล่วงใน ค.ศ. 2002 เพื่อที่จะได้มีความพร้อมสำหรับการลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งรัฐสภายุโรปใน ค.ศ. 2004

การเข้าเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ

แก้

ลิทัวเนียได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (เนโท) ใน ค.ศ. 2002 โดยรัฐบาลดำเนินนโยบายในเชิงรุกเพื่อสร้างความตื่นตัวและความกระตือรือร้นให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการเป็นสมาชิกภาพเนโทของลิทัวเนียในด้านต่าง ๆ และจะมีการติดต่อหารืออย่างต่อเนื่องกับประเทศสมาชิกเนโท เพื่อแสดงให้เห็นถึงความพร้อมของลิทัวเนีย

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 2003 สมาชิกเนโท 19 ประเทศได้ลงนามในพิธีสารว่าด้วยการรับสมาชิกใหม่ 7 ประเทศ คือ บัลแกเรีย เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย โรมาเนีย สโลวาเกีย และสโลวีเนีย ที่กรุงบรัสเซลส์ ต่อมาเมื่อวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 2004 ประเทศสมาชิกเนโทใหม่ทั้ง 7 ประเทศได้มอบภาคยานุวัตรสารให้แก่รัฐบาลสหรัฐที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

การพัฒนาสัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้าน

แก้

ลิทัวเนียให้ความสำคัญแก่การพัฒนาความสัมพันธ์และความเป็นหุ้นส่วนที่ใกล้ชิดกับโปแลนด์ การแสวงหาความร่วมมือในภูมิภาคยุโรปเหนือกับกลุ่มประเทศแถบทะเลบอลติกและกลุ่มประเทศนอร์ดิก การกระชับความร่วมมือกับรัสเซียโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเศรษฐกิจ พลังงาน การคมนาคมขนส่ง รวมทั้งการขยายความร่วมมือกับเบลารุสและประเทศต่าง ๆ ในแถบทะเลดำ

การดำเนินนโยบายการทูตเชิงเศรษฐกิจและวัฒนธรรม

แก้

ลิทัวเนียจะมุ่งเน้นการพัฒนาในการส่งออกและการแสวงหาการลงทุนจากต่างประเทศเพื่อพัฒนาขีดความสามารถทางเศรษฐกิจของลิทัวเนีย ขณะเดียวกัน มุ่งเน้นให้ความสำคัญมากขึ้นแก่มิติความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรมกับประเทศต่าง ๆ เพื่อที่จะส่งผลเกื้อกูลต่อการดำเนินนโยบายต่างประเทศของลิทัวเนีย

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้
 
แผนที่เทศมณฑลและเทศบาลต่าง ๆ ของลิทัวเนีย

การแบ่งเขตการปกครองตามระบบปัจจุบันมีมาตั้งแต่ ค.ศ. 1994 และได้รับการปรับปรุงใน ค.ศ. 2000 เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรป ลิทัวเนียประกอบด้วยเทศมณฑล (apskritis) 10 เทศมณฑล แต่ละเทศมณฑลแบ่งออกเป็นเทศบาล (savivaldybė) รวมทั้งหมด 60 เทศบาล และแต่ละเทศบาลแบ่งออกเป็นแขวง (seniūnija; แปลว่า เขตผู้อาวุโส) รวมทั้งหมด 545 แขวง

เทศบาลกลายเป็นหน่วยการปกครองระดับแรกของลิทัวเนียนับตั้งแต่หน่วยงานบริหารของเทศมณฑลถูกยุบเลิกไปใน ค.ศ. 2010[16] บางเทศบาลมีฐานะเป็น "เทศบาลเขต" (มักเรียกสั้น ๆ ว่า "เขต") ในขณะที่บางเทศบาลมีฐานะเป็น "เทศบาลนคร" (บางครั้งเรียกสั้น ๆ ว่า "นคร") แต่ละเทศบาลมีฝ่ายบริหารที่มาจากการเลือกตั้ง การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลแต่เดิมจัดขึ้นทุกสามปี แต่ในปัจจุบันจัดขึ้นทุกสี่ปี สภาเทศบาลจะแต่งตั้งกำนันแขวง (seniūnas; แปลว่า ผู้อาวุโส) เพื่อปกครองแขวง นายกเทศมนตรีได้รับการเลือกตั้งทางตรงตั้งแต่ ค.ศ. 2015 ก่อนหน้านั้นมาจากการแต่งตั้งของสภาเทศบาล[17]

แขวงซึ่งมีจำนวนมากกว่า 500 แขวงเป็นหน่วยการปกครองที่เล็กที่สุดและไม่มีบทบาทในการเมืองระดับชาติ มีหน้าที่หลักเพียงการให้บริการสาธารณะที่จำเป็นในท้องถิ่น เช่น การแจ้งเกิดและการแจ้งตายในชนบท เป็นต้น แขวงมีบทบาทมากที่สุดในภาคสังคม โดยพิสูจน์ทราบบุคคลหรือครอบครัวที่มีความขัดสนและจัดหาสวัสดิการรวมทั้งการบรรเทาทุกข์ในรูปแบบอื่น ๆ[18] พลเมืองบางคนรู้สึกว่าแขวงไม่มีอำนาจอย่างแท้จริงและได้รับความสนใจน้อยเกินไป หาไม่แล้ว แขวงเหล่านี้อาจกลายเป็นแหล่งกำเนิดของความริเริ่มแก้ไขปัญหาในชนบทก็ได้[19]

เศรษฐกิจ

แก้
  • สกุลเงินยูโร เริ่มใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 2015 แทนเงินสกุลลิตัส (Litas)
  • ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) 22.287 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (จีดีพีต่อหัว 6,487 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี)
  • อัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ร้อยละ 6.7
  • อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 2.9
  • อัตราการว่างงาน ร้อยละ 11.4 (จำนวนแรงงาน 1.5 ล้านคน)
  • ดุลการค้า ขาดดุล 3.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • นำเข้า/ส่งออก 12.78 และ 9.64 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ประเทศคู่ค้านำเข้าสำคัญ รัสเซีย (ร้อยละ 22.34) เยอรมนี (ร้อยละ 16.89) โปแลนด์ (ร้อยละ 7.56) เนเธอร์แลนด์ (ร้อยละ 3.95) ลัตเวีย (ร้อยละ 3.8)/ประเทศในสหภาพยุโรป (ร้อยละ 63)
  • ประเทศคู่ค้าส่งออกสำคัญเยอรมนี (ร้อยละ 10.24) ลัตเวีย (ร้อยละ 10.06) รัสเซีย (ร้อยละ 9.10) ฝรั่งเศส (ร้อยละ 6.31) สหรัฐ (ร้อยละ 5.32)/ประเทศในสหภาพยุโรป (ร้อยละ 66.45)
  • สินค้านำเข้าสำคัญ ผลิตภัณฑ์แร่ธาตุ เครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ อุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่ง เคมีภัณฑ์ โลหะ
  • สินค้าส่งออกสำคัญ ผลิตภัณฑ์แร่ธาตุ เครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ อุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่ง เคมีภัณฑ์

ประชากรศาสตร์

แก้

จากสำมะโนประชากรและเคหะใน ค.ศ. 2011 ลิทัวเนียมีประชากร 3,043,429 คน เป็นชาวลิทัวเนียร้อยละ 84.2 ชาวโปลร้อยละ 6.6 ชาวรัสเซียร้อยละ 5.8 ชาวเบลารุสร้อยละ 1.2 และชาวยูเครนร้อยละ 0.5[20][21] ภาษาราชการคือภาษาลิทัวเนียซึ่งเป็นภาษาแม่ของประชากรประมาณร้อยละ 85 ของประเทศ ประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกมากที่สุด แต่ชาวรัสเซียในลิทัวเนียนับถือศาสนาคริสต์นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์เป็นหลัก[3]

อ้างอิง

แก้
  1. "Lithuania's Constitution of 1992 with Amendments through 2019" (PDF). Constitute Project.
  2. "Rodiklių duomenų bazė - Oficialiosios statistikos portalas". osp.stat.gov.lt.
  3. 3.0 3.1 "Population by religious community indicated, municipalities (2021)" (ภาษาลิทัวเนีย). Statistics Lithuania. สืบค้นเมื่อ 2 January 2022.
  4. Kulikauskienė, Lina (2002). Lietuvos Respublikos Konstitucija [The Constitution of the Republic of Lithuania] (ภาษาลิทัวเนีย). Native History, CD. ISBN 978-9986-9216-7-7.
  5. Veser, Ernst (23 September 1997). "Semi-Presidentialism-Duverger's Concept – A New Political System Model" (PDF) (ภาษาอังกฤษ และ จีน). Department of Education, School of Education, University of Cologne. pp. 39–60. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-04-24. สืบค้นเมื่อ 23 August 2017. Duhamel has developed the approach further: He stresses that the French construction does not correspond to either parliamentary or the presidential form of government, and then develops the distinction of 'système politique' and 'régime constitutionnel'. While the former comprises the exercise of power that results from the dominant institutional practice, the latter is the totality of the rules for the dominant institutional practice of the power. In this way, France appears as 'presidentialist system' endowed with a 'semi-presidential regime' (1983: 587). By this standard he recognizes Duverger's pléiade as semi-presidential regimes, as well as Poland, Romania, Bulgaria and Lithuania (1993: 87).
  6. Shugart, Matthew Søberg (September 2005). "Semi-Presidential Systems: Dual Executive and Mixed Authority Patterns" (PDF). Graduate School of International Relations and Pacific Studies. United States: University of California, San Diego. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 19 August 2008. สืบค้นเมื่อ 23 August 2017.
  7. Shugart, Matthew Søberg (December 2005). "Semi-Presidential Systems: Dual Executive And Mixed Authority Patterns" (PDF). French Politics. Palgrave Macmillan Journals. 3 (3): 323–351. doi:10.1057/palgrave.fp.8200087. ISSN 1476-3419. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 23 August 2017. A pattern similar to the French case of compatible majorities alternating with periods of cohabitation emerged in Lithuania, where Talat-Kelpsa (2001) notes that the ability of the Lithuanian president to influence government formation and policy declined abruptly when he lost the sympathetic majority in parliament.
  8. "Surface water and surface water change". Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD). สืบค้นเมื่อ 2020-10-11.
  9. "Pradžia – Oficialiosios statistikos portalas". osp.stat.gov.lt.
  10. 10.0 10.1 10.2 "Lithuania". International Monetary Fund.
  11. "World Economic Outlook Database". International Monetary Fund (IMF). สืบค้นเมื่อ 2022-02-07.
  12. "Gini coefficient of equivalised disposable income – EU-SILC survey". ec.europa.eu. Eurostat. สืบค้นเมื่อ 12 September 2019.
  13. "2020 Human Development Report". United Nations Development Programme. 2015. สืบค้นเมื่อ 24 March 2017.
  14. Bideleux, Robert; Jeffries, Ian (1998). A history of Eastern Europe: crisis and change. Routledge. p. 122. ISBN 978-0-415-16111-4.
  15. "Lithuania breaks away from the Soviet Union". The Guardian. London. 12 March 1990. สืบค้นเมื่อ 7 June 2018. Lithuania last night became the first republic to break away from the Soviet Union, by proclaiming the restoration of its pre-war independence. The newly-elected parliament, 'reflecting the people's will,' decreed the restoration of 'the sovereign rights of the Lithuanian state, infringed by alien forces in 1940,' and declared that from that moment Lithuania was again an independent state
  16. (ในภาษาลิทัวเนีย) (Republic of Lithuania Annul Law on County Governing), Seimas law database, 7 July 2009, Law no. XI-318.
  17. (ในภาษาลิทัวเนีย) Justinas Vanagas, Seimo Seimas įteisino tiesioginius merų rinkimus เก็บถาวร 14 ตุลาคม 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Delfi.lt, 26 June 2014. Retrieved 26 March 2015.
  18. (ในภาษาลิทัวเนีย) Lietuvos Respublikos vietos savivaldos įstatymo pakeitimo įstatymas, Seimas law database, 12 October 2000, Law no. VIII-2018. Retrieved 3 June 2006.
  19. (ในภาษาลิทัวเนีย) Indrė Makaraitytė, Europos Sąjungos pinigai kaimo neišgelbės, Atgimimas, Delfi.lt, 16 December 2004. Retrieved 4 June 2006.
  20. "Lithuania census 2011" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-02-29. สืบค้นเมื่อ 2012-10-17.
  21. Statistics Lithuania. "2 lentelė. Gyventojai pagal tautybę" (ภาษาลิทัวเนีย). Statistics Lithuania. p. 8. สืบค้นเมื่อ 13 January 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
รัฐบาล
ข้อมูลทั่วไป
อื่น ๆ