รถไฟฟ้าสายสีเทา

รถไฟฟ้าสายสีเทา (วัชรพล-ทองหล่อ และ พระโขนง-ท่าพระ) เป็นโครงการเส้นทางระบบขนส่งมวลชนรองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นหนึ่งในสี่เส้นทางนำร่องของ โครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระยะที่สอง (M-Map Phase 2) โดยกระทรวงคมนาคม และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ได้เร่งรัดแผนงานจากกำหนดการเดิมในปี พ.ศ. 2572 มาอยู่ในช่วงแผนงานปัจจุบันคือ พ.ศ. 2566 เพื่อเป็นการเชื่อมเส้นทางจากชานเมืองฝั่งเหนือของกรุงเทพมหานคร ให้เข้าสู่ใจกลางเมืองได้อย่างรวดเร็ว แก้ไขปัญหาการจราจรบนถนนสุขุมวิท ถนนสาทร ถนนพระรามที่ 3 และตามวงแหวนถนนรัชดาภิเษก ตลอดจนนำระบบขนส่งเข้าสู่ถนนที่ยังไม่มีระบบขนส่งมวลชนตัดผ่าน คือ ถนนประดิษฐ์มนูธรรม

รถไฟฟ้าสายสีเทา
ข้อมูลทั่วไป
สถานะโครงการ (กำลังจัดสัมมนาสรุปผลโครงการ)
เจ้าของสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร
ที่ตั้งกรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
ปลายทาง
จำนวนสถานี39
การดำเนินงาน
รูปแบบรางเดี่ยว
ระบบระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร
เส้นทาง2 (เหนือ - ใต้)
ผู้ดำเนินงานรอเอกชนเข้าร่วมประมูล
ขบวนรถยังไม่เปิดเผย
ประวัติ
เปิดเมื่อพ.ศ. 2585
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง40 กิโลเมตร
จำนวนทางวิ่ง2
ลักษณะทางวิ่งทางยกระดับ
ระบบจ่ายไฟรางที่สาม
ความเร็ว80 กิโลเมตร/ชั่วโมง
แผนที่เส้นทาง

 สีชมพู  มัยลาภ – รามอินทรา กม.6
 สุขุมวิท  เอกมัย – อ่อนนุช
วัชรพล
พระโขนง
 สีน้ำตาล  คลองลำเจียก – สตรีวิทยา 2
ต่างระดับฉลองรัช
กล้วยน้ำไท
คลองลำเจียก
บ้านกล้วยใต้
สุขุมวิท
โยธินพัฒนา
แยกเกษมราษฎร์
อีสวิลล์
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
สังคมสงเคราะห์
คลองเตย
เพลินจิต – แม่น้ำ
สายสีเหลือง ลาดพร้าว 71 – มหาดไทย
ลาดพร้าว 83
งามดูพลี
ศรีวรา
ลุมพินี
สีลม
สวนพลู
ศาลาแดง – เช็นตหลุยส์
นวลศรี
ช่องนนทรี
รฟม. – รามคำแหง 12
วัดพระราม 9
ทุ่งมหาเมฆ
มักกะสัน – หัวหมาก
ศูนย์วิจัย
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
แจ่มจันทร์
นางลิ้นจี่
เจริญสุข
รัชดา-นราธิวาส
ทองหล่อ
คลองภูมิ-วงแหวนอุตสาหกรรม
 สุขุมวิท  พร้อมพงษ์ – เอกมัย
ยานนาวา
สาธุประดิษฐ์
บางโคล่
เจริญราษฎร์
บางคอแหลม
แม่น้ำเจ้าพระยา
มไหสวรรย์
โพธิ์นิมิตร – บางหว้า
ตลาดพลู
ท่าพระ
จรัญฯ 13
อิสรภาพ – บางไผ่

เส้นทางดังกล่าวปรากฏขึ้นครั้งแรกในแผนแม่บทโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พ.ศ. 2552 (M-Map 1) พร้อมกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีฟ้า โดยกำหนดเป็นหนึ่งในเส้นทางแนวเหนือ-ใต้ ของกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก ก่อนถูกยกเลิกไปเมื่อครั้งการปรับแผนแม่บทโครงการระบบขนส่งมวลชน (M-Map 1) เมื่อ พ.ศ. 2554 เนื่องจากไม่อยู่ในแผนเร่งรัด 4 ปี ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ แต่ต่อมา กรุงเทพมหานครได้ดำเนินโครงการแบบต่อเนื่อง เพื่อเชื่อมต่อเส้นทางขนส่งมวลชนให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ก่อนที่ สนข. จะยกสถานะขึ้นเป็นหนึ่งในสี่เส้นทางนำร่องของโครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระยะที่สอง ต่อไป

โครงการได้รับการเสนอเป็นระบบรถไฟฟ้ายกระดับแบบรางเดี่ยว แนวเส้นทางจะแบ่งออกเป็นสองช่วงแยกขาดจากกัน ช่วงแรกมีจุดเริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู ที่สถานีวัชรพล จากนั้นมุ่งลงใต้ตามแนวถนนประดิษฐ์มนูธรรม เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลืองที่สถานีลาดพร้าว 83 เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้มที่สถานีวัดพระราม 9 จากนั้นข้ามเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน ช่วง Missing Link บางซื่อ - หัวหมาก เพื่อเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนเพชรบุรี จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าซอยสุขุมวิท 55 (ซอยทองหล่อ) เพื่อสิ้นสุดเส้นทางช่วงแรกที่สถานีทองหล่อ อันเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท และช่วงที่สองมีจุดเริ่มต้นที่รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท สถานีพระโขนง จากนั้นมุ่งลงใต้ตามแนวถนนพระรามที่ 4 เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สถานีคลองเตย และสถานีลุมพินี แล้วเบี่ยงซ้ายเข้าสู่ถนนสาทรไปเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ที่สถานีช่องนนทรี จากนั้นเลี้ยวซ้ายวิ่งตามแนวของรถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร–ราชพฤกษ์ ที่จะยกเลิกโครงการเมื่อมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทาไปจนถึงปลายทางสถานีราชพฤกษ์ อันเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลมอีกจุดหนึ่งที่สถานีตลาดพลู แล้วมุ่งหน้าขึ้นทางเหนือตามแนวถนนรัชดาภิเษกไปสิ้นสุดที่สถานีท่าพระ อันเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลอีก 1 จุด ระยะทางรวมประมาณ 40 กิโลเมตร

ปัจจุบัน กรุงเทพมหานคร ได้ยื่นคำร้องในการโอนถ่ายโครงการให้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. เป็นผู้ดำเนินการต่อคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เนื่องจากเล็งเห็นว่าการรวมโครงการไว้ที่เจ้าของเดียวจะทำให้สามารถควบคุมค่าโดยสารไม่ให้สูงเกินความจำเป็นได้

พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน

แก้
แขวง/ตำบล เขต/อำเภอ จังหวัด
ท่าแร้ง บางเขน กรุงเทพมหานคร
ลาดพร้าว ลาดพร้าว
สะพานสอง / วังทองหลาง วังทองหลาง
บางกะปิ ห้วยขวาง
คลองตันเหนือ วัฒนา
พระโขนง / คลองตัน / คลองเตย คลองเตย
ลุมพินี ปทุมวัน
ทุ่งมหาเมฆ สาทร
สีลม บางรัก
ช่องนนทรี / บางโพงพาง ยานนาวา
บางโคล่ / บางคอแหลม บางคอแหลม
บุคคโล / ดาวคะนอง ธนบุรี
วัดท่าพระ บางกอกใหญ่

แนวเส้นทาง

แก้

เป็นเส้นทางยกระดับความสูง 14 เมตรจากระดับดินไปตามแนวถนนเดิม แบ่งเป็น 2 ช่วงหลัก 3 ช่วงย่อยได้แก่

สายสีเทาส่วนเหนือ (วัชรพล-ทองหล่อ)

แก้

เริ่มต้นจากบริเวณแยกต่างระดับรามอินทรา จุดตัดถนนรามอินทรา ถนนวัชรพล ถนนประดิษฐ์มนูธรรม และทางพิเศษฉลองรัช มุ่งหน้าลงมาทางทิศใต้ตามแนวเขตทางของถนนประดิษฐ์มนูธรรม โดยวางโครงสร้างบนพื้นที่ด้านข้างทางเท้าและทางจักรยาน ผ่านถนนนวลจันทร์ ถนนสุคนธสวัสดิ์ ยกข้ามถนนประเสริฐมนูกิจ (ถนนเกษตร-นวมินทร์) ผ่านซอยลาดพร้าว 87 เข้าถนนประดิษฐ์มนูธรรม ผ่านแยกประชาธรรม จุดตัดถนนประชาอุทิศ ลอดใต้ทางพิเศษศรีรัช ที่แยกพระราม 9-ประดิษฐ์มนูธรรม เลี้ยวที่แยกเอกมัยเหนือมาทางทิศตะวันตกเข้าสู่แนวเกาะกลางถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แล้วเลี้ยวลงมาทางทิศใต้เข้าสู่แนวเกาะกลางถนนทองหล่อตลอดสาย สิ้นสุดเส้นทางที่บริเวณปากซอยสุขุมวิท 55 รวมระยะทาง 16.25 กิโลเมตร มีทั้งสิ้น 15 สถานี เส้นทางส่วนนี้มีระยะทางรวมทั้งหมด 16.25 กิโลเมตร

สายสีเทาส่วนใต้ ช่วงที่ 1 (พระโขนง - พระราม 3)

แก้

แนวเส้นทางเริ่มต้นจากบริเวณแยกพระโขนง จุดตัดถนนสุขุมวิท กับถนนพระรามที่ 4 แล้ววิ่งตามเส้นทางถนนพระรามที่ 4 มาจนถึงสี่แยกวิทยุ แนวเส้นทางจะเบี่ยงลงไปยังถนนสาทรโดยใช้คลองสาทรเป็นแนวเส้นทางจนถึงแยกสาทร-นราธิวาส แนวเส้นทางจะเบี่ยงซ้ายเข้าถนนนราธิวาสราชนครินทร์แล้ววิ่งตามเส้นทางเดียวกับ รถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร-ราชพฤกษ์ แล้วเบี่ยงขวาสิ้นสุดเส้นทางบริเวณซอยพระรามที่ 3 ซอย 58 รวมระยะทาง 12.17 กิโลเมตร มีทั้งสิ้น 15 สถานี

สายสีเทาส่วนใต้ ช่วงที่ 2 (พระราม 3 - ท่าพระ)

แก้

แนวเส้นทางต่อเนื่องจากช่วงก่อนหน้านี้ เริ่มจากบริเวณซอยพระรามที่ 3 ซอย 58 วิ่งตามแนวถนนพระรามที่ 3 ลอดใต้ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม, สะพานพระราม 9 (ทางพิเศษเฉลิมมหานคร) แล้วข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณช่องว่างระหว่างสะพานพระราม 3 กับสะพานกรุงเทพ เข้าสู่ฝั่งธนบุรี ผ่านสี่แยกมไหสวรรย์เข้าสู่ถนนรัชดาภิเษก และสิ้นสุดเส้นทางบริเวณแยกท่าพระ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รวมระยะทาง 11.48 กิโลเมตร มี 9 สถานี

รายละเอียดปลีกย่อย

แก้
  • เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว แบบวางคร่อมราง (straddle-beam monorail)
  • ทางวิ่ง ยกระดับที่ความสูง 15.5 เมตรตลอดทั้งโครงการ ยกเว้น ช่วงข้ามทางพิเศษฉลองรัช ยกระดับที่ความสูง 18.5 เมตร ช่วงข้ามทางพิเศษศรีรัช รถไฟฟ้าเอราวัณและถนนเพชรบุรี รถไฟฟ้าจะใต้ยกระดับที่ความสูง 26 เมตร หลังออกจากสถานีพระราม 9 ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของโครงการ จากนั้นลดระดับเหลือ 22 เมตร เพื่อเข้าสู่สถานีเพชรบุรี-ทองหล่อ และช่วงบนนถนนทองหล่อ ยกระดับที่ความสูง 14 เมตรจนถึงสถานีปลายทาง
  • มีรางที่ 3 ตีขนานไปกับรางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ
  • ตัวรถเป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 3.147 เมตร ยาว 11.8-13.2 เมตร สูงประมาณ 4.06 เมตร (เมื่อคร่อมรางทั้งหมด) ความจุ 356 คนต่อคัน (คำนวณจากอัตราความหนาแน่นที่ 4 คน/ตารางเมตร) ต่อพวงได้ 2-8 คันต่อขบวน ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลท์ ป้อนระบบขับเคลื่อนรถ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 24,100 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
  • ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ และใช้ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ

ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ

แก้

โครงการมีการศึกษาศูนย์ซ่อมบำรุงไว้สองแห่ง ได้แก่ ที่บริเวณจุดตัดทางพิเศษฉลองรัช ใกล้ ๆ กับถนนประเสริฐมนูกิจ เป็นศูนย์ซ่อมบำรุงสำหรับช่วงวัชรพล-ทองหล่อ และที่บริเวณแยกยานนาวา หรือจุดตัดถนนยานนาวา กับถนนพระราม 3 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา (ปัจจุบันเป็นที่ดินเปล่า ส่วนหน้าติดถนนเป็น บริษัท โรแยลคลีฟ บีช โฮเต็ล จำกัด) เป็นศูนย์ซ่อมบำรุงสำหรับช่วงพระโขนง-ท่าพระ ศูนย์ซ่อมบำรุงทั้งสองแห่งประกอบไปด้วยอาคารโรงจอด ศูนย์ซ่อมบำรุง อาคารเปลี่ยนล้อ ส่วนควบคุมระบบจัดการเดินรถซึ่งควบคุมแยกกัน และสำนักงานบริหารจัดการโครงการ

สถานี

แก้

มีทั้งหมด 39 สถานี เป็นสถานียกระดับทั้งหมด โดยสถานีในส่วนใต้เป็นการนำเส้นทางรถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร-ราชพฤกษ์ มาดัดแปลงเป็นเส้นทางรถไฟฟ้า เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการยกเลิกการให้บริการรถโดยสารด่วนพิเศษ

รูปแบบสถานี

โครงการออกแบบรูปแบบสถานีไว้ทั้งหมด 4 รูปแบบ ดังต่อไปนี้

  • สถานีโครงสร้างปกติ แบบชานชาลาด้านข้าง เสายึดริมทางเท้า สถานีมีความยาวประมาณ 125 เมตร กว้าง 20 เมตร มีประตูชานชาลา (platform screen door) ความสูงแบบ Half-Height ทุกสถานี ออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดินและบนดินและรักษาสภาพผิวจราจรบนถนนมากที่สุด มีเสายึดสถานีอยู่บริเวณริมทางเท้า และมีชั้นจำหน่ายบัตรโดยสารอยู่ใต้ชานชาลา มีจำนวน 10 สถานี ส่วนใหญ่เป็นสถานีช่วงบนถนนประดิษฐ์มนูธรรม
  • สถานีโครงสร้างปกติ แบบชานชาลาด้านข้าง เสายึดริมทางเท้าแบบโครงสร้างข้อแข็ง สถานีมีความยาวประมาณ 139 เมตร กว้าง 20 เมตร มีประตูชานชาลา (platform screen door) ความสูงแบบ Half-Height ออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดินและบนดินและรักษาสภาพผิวจราจรบนถนนมากที่สุด มีเสายึดสถานีอยู่บริเวณสองฝั่งริมทางเท้า และมีชั้นจำหน่ายบัตรโดยสารอยู่ใต้ชานชาลา มีจำนวน 2 สถานี คือสถานีแจ่มจันทร์ และสถานีทองหล่อ 10
  • สถานีโครงสร้างปกติแบบสูงพิเศษ แบบชานชาลาด้านข้าง เสายึดริมทางเท้าแบบโครงสร้างข้อแข็ง สถานีมีความยาวประมาณ 139 เมตร กว้าง 20 เมตร สูง 30 เมตร มีประตูชานชาลา (platform screen door) ความสูงแบบ Half-Height ออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดินและบนดินและรักษาสภาพผิวจราจรบนถนนมากที่สุด มีเสายึดสถานีอยู่บริเวณสองฝั่งริมทางเท้า และมีชั้นจำหน่ายบัตรโดยสารอยู่ใต้ชานชาลา มีจำนวน 1 สถานี คือสถานีเพชรบุรี-ทองหล่อ
  • สถานีโครงสร้างปกติ แบบชานชาลากลาง เสายึดริมทางเท้าแบบโครงสร้างข้อแข็ง สถานีมีความยาวประมาณ 136-139 เมตร กว้าง 20 เมตร มีประตูชานชาลา (platform screen door) ความสูงแบบ Half-Height ออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดินและบนดินและรักษาสภาพผิวจราจรบนถนนมากที่สุด มีเสายึดสถานีอยู่บริเวณสองฝั่งริมทางเท้า และมีชั้นจำหน่ายบัตรโดยสารอยู่ใต้ชานชาลา มีจำนวน 2 สถานี คือสถานีวัชรพล และสถานีทองหล่อ

รายชื่อสถานี

แก้
รหัส ชื่อสถานี เชื่อมต่อกับ / หมายเหตุ วันที่เปิดให้บริการ ที่ตั้ง
แขวง/ตำบล เขต/อำเภอ จังหวัด
เส้นทางส่วนเหนือ (คลองสี่ - วัชรพล - ทองหล่อ)
GYEX05 คลองสี่ สายสุขุมวิท สถานีคลองสี่ ยังไม่กำหนด ลาดสวาย ลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
GYEX04 สายไหม สายไหม สายไหม กรุงเทพมหานคร
GYEX03 จตุโชติ ออเงิน
GYEX02 เทพรักษ์ ท่าแร้ง บางเขน
GYEX01 ร่วมมิตรพัฒนา
GY01 วัชรพล สายสีชมพู สถานีวัชรพล
GY02 อยู่เย็น ลาดพร้าว ลาดพร้าว
GY03 ประดิษฐ์มนูธรรม 27 สายสีน้ำตาล สถานีต่างระดับฉลองรัช
GY04 ประดิษฐ์มนูธรรม 25 ศูนย์ซ่อมบำรุง (ช่วงคลองสี่-ทองหล่อ)
GY05 โยธินพัฒนา
GY06 ประดิษฐ์มนูธรรม 15
GY07 สังคมสงเคราะห์
GY08 ลาดพร้าว 71 สายสีเหลือง สถานีลาดพร้าว 71 สะพานสอง วังทองหลาง
GY09 ศรีวรา วังทองหลาง
GY10 ศูนย์แพทย์พัฒนา
GY11 วัดพระราม 9 สายสีส้ม สถานีวัดพระราม 9 บางกะปิ ห้วยขวาง
GY12 เพชรบุรี 47
GY13 แจ่มจันทร์ คลองตันเหนือ วัฒนา
GY14 ทองหล่อ 10
GY15 ทองหล่อ สายสุขุมวิท สถานีทองหล่อ
เส้นทางส่วนใต้ (พระโขนง - ลุมพินี - ท่าพระ)
GY16 พระโขนง สายสุขุมวิท สถานีพระโขนง ยังไม่กำหนด พระโขนง คลองเตย กรุงเทพมหานคร
GY17 บ้านกล้วยใต้
GY18 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
GY19 เกษมราษฎร์ คลองตัน
GY20 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สายสีน้ำเงิน สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ คลองเตย
GY21 คลองเตย สายสีน้ำเงิน สถานีคลองเตย
สายสีแดงอ่อน สถานีคลองเตย
GY22 งามดูพลี ทุ่งมหาเมฆ / ลุมพินี สาทร / ปทุมวัน
GY23 ลุมพินี สายสีน้ำเงิน สถานีลุมพินี
GY24 สวนพลู ทุ่งมหาเมฆ / สีลม สาทร / บางรัก
GY25 ช่องนนทรี สายสีลม สถานีช่องนนทรี ทุ่งมหาเมฆ สาทร
GY26 นราธิวาสฯ
GY27 นางลิ้นจี่
GY28 รัชดา-นราธิวาส ช่องนนทรี ยานนาวา
GY29 คลองช่องนนทรี
GY30 พระราม 3
GY31 คลองภูมิ ศูนย์ซ่อมบำรุง (ช่วงพระโขนง-ท่าพระ)
GY32 คลองด่าน
GY33 สาธุประดิษฐ์ บางโพงพาง
GY34 สะพานพระราม 9
GY35 เจริญราษฎร์ บางโคล่ บางคอแหลม
GY36 เจริญกรุง
GY37 มไหสวรรย์ สายสีม่วง สถานีสำเหร่ บุคคโล ธนบุรี
GY38 ตลาดพลู สายสีลม สถานีตลาดพลู ดาวคะนอง
GY39 ท่าพระ สายสีน้ำเงิน สถานีท่าพระ วัดท่าพระ บางกอกใหญ่

การปรับเปลี่ยนเส้นทาง

แก้
  • มกราคม พ.ศ. 2557 - กรุงเทพธนาคมได้มีการปรับเปลี่ยนแนวเส้นทางจากการศึกษาเดิมของ สนข. ที่เดิมแนวเส้นทางส่วนใต้จะต่อเนื่องจากซอยทองหล่อไปจนถึงถนนพระรามที่ 4 แล้วเลี้ยวขวาวิ่งไปตามแนวถนนพระรามที่ 4 จนถึงแยกรัชดา-พระราม 4 แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนรัชดาภิเษกและต่อเนื่องไปยังถนนพระรามที่ 3 เพื่อสิ้นสุดเส้นทางบริเวณเชิงสะพานพระราม 9 ให้เป็นเริ่มต้นที่บริเวณแยกพระโขนง (จุดตัดถนนสุขุมวิท-ถนนพระรามที่ 4) แล้ววิ่งมาตามแนวถนนพระรามที่ 4 จนถึงแยกวิทยุแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนสาทร จากนั้นวิ่งตามแนวถนนสาทรมาจนถึงแยกสาทร-นราธิวาสฯ แนวเส้นทางจะเลี้ยวซ้ายแล้ววิ่งทับเส้นทางเดิมของรถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร-ราชพฤกษ์ ไปจนสุดโครงการที่บริเวณแยกท่าพระ พร้อมกันนี้ยังได้รวมโครงการส่วนเหนือทั้งสองช่วงเข้าเป็นช่วงเดียวกัน เป็นวัชรพล-ทองหล่อ โดยกรุงเทพธนาคมให้ความเห็นกรณีการแยกช่วงว่าเนื่องจากช่วงที่ต้องผ่านถนนสุขุมวิทเพื่อออกถนนพระรามที่ 4 ส่วนใหญ่เป็นซอยที่มีพื้นที่คับแคบ และอาจจะมีผลกระทบจากการเวนคืนที่ดินเพื่อขยายเขตทางสูงซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากราคาที่ดินบริเวณดังกล่าวมีการปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้นการแยกเส้นทางเหนือ-ใต้ออกจากกันจึงเป็นแนวคิดที่ดีที่สุด

ส่วนต่อขยาย

แก้

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและแผนการจราจรได้ศึกษาแนวเส้นทางเพิ่มเติมต่อเนื่องจากจุดสิ้นสุดบริเวณแยกต่างระดับรามอินทราของสายสีเทาส่วนเหนือไปตามแนวถนนสุขาภิบาล 5 และสิ้นสุดเส้นทางที่ถนนสายไหม เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร ใกล้กับอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี รวมระยะทาง 14 กิโลเมตร

ความคืบหน้า

แก้
  • 19 กันยายน พ.ศ. 2561 นายสกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ภายในปี 2561 กรุงเทพมหานครจะพยายามผลักดันเร่งรัดให้เกิดโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าไลท์เรล สายบางนา-สุวรรณภูมิ และรถไฟฟ้าสายสีเทา ระยะที่ 1 ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ ให้ได้ โดยให้สำนักการจราจรและขนส่ง ติดตามผลการจัดทำรายงานผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ของรถไฟฟ้าไลท์เรล สายบางนา-สุวรรณภูมิ ในขณะที่สายสีเทา ระยะที่ 1 กรุงเทพมหานครจะไปหารือกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เนื่องจากจำเป็นต้องขอใช้พื้นที่ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยบางส่วนในการก่อสร้างโครงการ[1]
  • 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่ารัฐบาลรับทราบความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยว “โมโนเรลสายสีเทา” จะใช้ช่วงสถานีวัชรพล-ทองหล่อ เป็นเส้นทางนำร่อง ระยะทางรวม 16.3 กม. วงเงินการก่อสร้าง 27,500 ล้านบาท [2] คาดว่าจะจัดทำรายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ ระยะที่ 1 วัชรพล-ทองหล่อ[3]
  • 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ที่มีนายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธาน มีมติเห็นชอบโอนภารกิจโครงการรถไฟฟ้าที่จะต้องลงทุนก่อสร้างใหม่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร (กทม.) กลับคืนไปให้กระทรวงคมนาคมโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการสายสีเงิน สายสีเทา และสายสีฟ้า โดยกรณีของสายสีเทาสาเหตุมาจากพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย และการทางพิเศษแห่งประเทศไทยซึ่งอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคม[4]

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้