มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

มหาวิทยาลัยเปิดของรัฐในประเทศไทย
(เปลี่ยนทางจาก มสธ)

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (อังกฤษ: Sukhothai Thammathirat Open University; อักษรย่อ: มสธ. – STOU) เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐแบบรับจำนวนจำกัด โดยใช้ระบบการศึกษาทางไกล ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2521 ตาม พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พุทธศักราช 2521[5]

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Sukhothai Thammathirat Open University
ตราพระราชลัญจกร ร.๗
"ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย"
ชื่อย่อมสธ. / STOU
คติพจน์เรียนอย่างมีความสุข จบอย่างมีคุณภาพ , มสธ.ที่ไหนเวลาใด ใคร ๆ ก็เรียนได้
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
มหาวิทยาลัยเปิด
สถาปนา5 กันยายน พ.ศ. 2521; 46 ปีก่อน (2521-09-05)
สังกัดการศึกษากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สังกัดวิชาการ
งบประมาณ662,118,700 บาท
(พ.ศ. 2568)[1]
นายกสภาฯนิรันดร์ จงวุฒิเวศย์ (ทำหน้าที่แทน)
อธิการบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ พนมพัทธ์ สมิตานนท์
(รักษาราชการแทน)[2]
อาจารย์315 คน (พ.ศ. 2565)[3]
บุคลากรทั้งหมด1,916 คน (พ.ศ. 2565)[3]
ผู้ศึกษา99,616 คน (พ.ศ. 2566)[4]
ที่ตั้ง
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยปาริชาติ (ทองหลางลาย)
สี████ สีเขียว สีทอง
เว็บไซต์เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี แบบมหาวิทยาลัยปิดโดยรับนักศึกษาจำกัดจำนวน ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเปิดการศึกษาถึงระดับดุษฎีบัณฑิตในบางสาขาวิชา[6] โดยมีการสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษา[7]


ผู้ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชในอดีต ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร แต่ในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินปฏิบัติพระราชกรณียกิจในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจนถึงปัจจุบัน ภายหลัง รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกประกาศที่ 1/2560 เข้าควบคุมมหาวิทยาลัยเนื่องจากกรณีกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ขอลาออกจากตำแหน่งจนทำให้เหลือกรรมการไม่ครบองค์ประกอบตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2521[8] และยกเลิกประกาศควบคุมเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561[9]เนื่องจากมีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเป็นที่เรียบร้อยแล้ว[10]

ประวัติ

แก้

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมีการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีแบบ "มหาวิทยาลัยเปิด" กล่าวคือรับนักศึกษาไม่จำกัดจำนวน โดยมหาวิทยาลัยไม่มีชั้นเรียนตามปกติเหมือนมหาวิทยาลัยปิดและมหาวิทยาลัยตลาดวิชาซึ่งดำเนินการสอนโดยใช้ระบบการสอนทางไกล จัดการเรียนการเรียนการสอนแบบตลาดวิชาโดยเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองจากเอกสารชุดวิชาจากสื่อสารสนเทศต่าง ๆ ที่ทางมหาวิทยาลัยจัดไว้ให้นักศึกษา เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์และสื่อต่าง ๆ เป็นต้น

แนวคิดของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเปิดในประเทศไทย

แก้

การก่อตั้งมหาวิทยาลัยเปิด เป็นความพยายามของรัฐบาลในการที่จะขยายโอกาสการศึกษาระดับอุดมศึกษาแก่ประชาชนให้มากที่สุด แนวคิดนี้ได้เคยนำมาใช้แล้วในประเทศไทย โดยมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2476 ได้จัดการศึกษาระบบ "ตลาดวิชา" โดยไม่จำกัดรับนักศึกษา เป็นครั้งแรก แต่ต่อมาก็ได้เปลี่ยนมาเป็นระบบมหาวิทยาลัยปิด (จำกัดการรับนักศึกษา) เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ต่อมาปี พ.ศ. 2514 ได้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชาขึ้นอีกแห่งหนึ่ง คือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง แต่มหาวิทยาลัยรามคำแหงยังคงจัดการศึกษาโดยอาศัยชั้นเรียนเป็นหลัก ทำให้มหาวิทยาลัยรามคำแหงประสบปัญหาในด้านอาคารสถานที่เรียนเป็นอันมาก ทำให้ไม่สามารถขยายให้เพียงพอกับจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นทุกปีได้ ทางรัฐบาลเล็งเห็นว่าหากรัฐบาลให้การสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยรามคำแหง จัดการศึกษาให้เพียงพอกับความต้องการของผู้เรียนแล้ว จะทำให้ภาครัฐต้องรับผิดชอบภาระด้านงบประมาณมากขึ้นอย่างไม่มีวันสิ้นสุด

ดังนั้นเพื่อเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้แก่ประชาชน ให้กว้างที่สุด โดยใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงมีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชขึ้น โดยดำเนินการในระบบมหาวิทยาลัยเปิด จัดการเรียนการสอนโดยใช้ระบบการศึกษาทางไกล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จึงเป็นมหาวิทยาลัยเปิด โดยใช้ระบบการศึกษาทางไกล แห่งเดียวในประเทศไทย[11]

การสถาปนามหาวิทยาลัย

แก้
 
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานนามมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ตามพระนามทรงกรมของ "สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิ์เดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา" (รัชกาลที่ 7) โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงปรับสร้อยพระนามทรงกรมของรัชกาลที่ 7 เล็กน้อย (ภาพ:หนังสือแจ้งพระราชทานนามมหาวิทยาลัยฯ ยังทบวงมหาวิทยาลัย)

มหาวิทยาลัยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อ "มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช" ตามพระนามเดิมของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศ เป็น "กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา" และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระราชลัญจกรในรัชกาลที่ 7 ซึ่งเป็นรูปพระแสงศรสามองค์ นำมาประกอบกับเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของกรุงสุโขทัย เป็นตราประจำมหาวิทยาลัย

เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2521 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงลงพระปรมาภิไธย ใน พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2521[12] มหาวิทยาลัยจึงกำหนดให้ วันที่ 5 กันยายน ของทุกปีเป็น วันสถาปนามหาวิทยาลัย

อธิการบดีคนแรก

แก้

ในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2521 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยชุดแรก[13] รวมทั้งได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ศาสตราจารย์ วิจิตร ศรีสอ้าน ให้ดำรงตำแหน่ง อธิการบดีคนแรก

การเปิดดำเนินการการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย

แก้
 
สาขาวิชาที่เปิดสอน 5 สาขาวิชาแรกของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช คือ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ และสาขาวิชาวิทยาการจัดการ (ภาพ:ห้องประชุมอาคารวิทยทัศน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช)

หลังจากได้ใช้เวลาเตรียมการด้านต่าง ๆ เพื่อให้พร้อมที่จะเปิดสอนเป็นเวลาประมาณ 2 ปี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจึงได้เปิดรับนักศึกษารุ่นแรก เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2523[14] สาขาวิชาที่เปิดสอน 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ และสาขาวิชาวิทยาการจัดการ[15] โดยมี ผู้สนใจลงทะเบียนเรียน จำนวน 11,152 คน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 มหาวิทยาลัยได้ขยายการรับนักศึกษาเพิ่มขึ้นในสาขาวิชานิติศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์(มนุษยนิเวศศาสตร์) และสาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ ปีการศึกษา 2526(ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์) มหาวิทยาลัยได้เปิดสอนสาขาวิชารัฐศาสตร์ ปีการศึกษา 2527 เปิดสอนสาขาวิชานิเทศศาสตร์ ในปีการศึกษา 2538 มหาวิทยาลัยได้เปิดสอนสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และในปี พ.ศ. 2544 ได้เปิดสอนสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ เพิ่มขึ้นอีกสาขาวิชาหนึ่ง รวมเป็น 12 สาขาวิชา

ปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

แก้

ในฐานะที่เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจึงมีอำนาจให้ปริญญาบัตร และประกาศนียบัตรที่มีศักดิ์และสิทธิเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยของรัฐอื่น ๆ ทุกประการ

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตรเป็นครั้งแรก ณ อาคารใหม่สวนอัมพร เมื่อวันที่ 26 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2527 โดยเป็นการพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยรุ่นแรก (ประจำปีการศึกษา 2525) ซึ่งในปีนั้นมีผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 9,594 คน จาก 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์และสาขาวิชาวิทยาการจัดการ [16]

ในอดีต ผู้ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ให้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินปฏิบัติพระราชกรณียกิจในการพระราชทานปริญญาบัตร แก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจนถึงปัจจุบัน นับเป็นความภูมิใจของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อย่างหาที่สุดมิได้

สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

แก้

ตราประจำมหาวิทยาลัย

แก้

มหาวิทยาลัยได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระราชลัญจกรในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นรูปพระแสงศรสามองค์เรียงกันบนบันไดแก้ว ได้แก่ "พระแสงศรพรหมศาสตร์" "พระแสงอัคนิวาต" "และพระแสงศรพลายวาต" ประดิษฐานอยู่ภายใต้ พระมหามงกุฏ นำมาประกอบกับส่วนยอดของ "เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของกรุงสุโขทัย และมีข้อความ "มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช" อยู่ในแถบริ้วเบื้องล่าง เป็นตราประจำมหาวิทยาลัย[17]

เสื้อครุยของมหาวิทยาลัย

แก้

เสื้อครุยวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยเป็นเสื้อคลุม ผ้าโปร่งสีขาว ผ่าอกตลอดรอบขอบและที่ต้นแขนกับปลายแขน มีแถบสีทองทาบทับด้วยแถบทองบริเวณอกเสื้อทั้งสองข้างมีวงกลมสีทอง กลางวงมีตรามหาวิทยาลัย ปริญญาตรี มี 1 วง ปริญญาโทมี 2 วง ปริญญาเอก มี 3 วง[18]

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

แก้

มหาวิทยาลัยกำหนดให้ ต้นปาริชาตหรือต้นทองหลางลายเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย เนื่องจากมีใบเป็นสีเขียวและเส้นใบเป็นสีทอง ตรงกับสีเขียว-ทองซึ่งเป็นสีประจำมหาวิทยาลัย

สีประจำมหาวิทยาลัย

แก้

"สีเขียว - ทอง" เป็นสีประจำมหาวิทยาลัย

  • ██ สีทอง เป็นสีแห่งความเป็นสิริมงคล

อาคารที่สำคัญในมหาวิทยาลัย

แก้
 
อาคารทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ สถาปัตยกรรมที่โดดเด่นที่สุดในมหาวิทยาลัย
  • อาคารพุ่มข้าวบิณฑ์ เป็นอาคารสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งได้ประยุกต์สถาปัตยกรรมไทยสมัยสุโขทัยมาใช้ในการออกแบบก่อสร้าง โดยมี รองศาสตราจารย์ ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติ เป็นผู้ออกแบบ การจัดวางอาคารนั้นตั้งอยู่กึ่งกลางของอุทยานการศึกษารัชมังคลาภิเษก จัดเป็นสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นที่สุดในมหาวิทยาลัย[19]
  • หอพระ ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัยปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก 60 นิ้ว ตัวอาคารหอพระออกแบบโดย รองศาสตราจารย์ ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติ โดยตัวอาคารมีเอกลักษณ์สะท้อนรูปลักษณะศิลปสุโขทัย อันเป็นชื่อของมหาวิทยาลัย ตัวอาคารสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2551 การจัดวางอาคารนั้นตั้งอยู่บริเวณมุมด้านเหนือของอุทยานการศึกษารัชมังคลาภิเษก ใกล้กับถนนหลักภายในมหาวิทยาลัย ตัวอาคารยกพื้นสูงจากระดับปกติ จึงทำให้มีความโดดเด่นสะดุดตา[20]

หน่วยงาน

แก้

หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีดังนี้

สาขาวิชาที่เปิดสอน

แก้

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เปิดทำการเรียนการสอนทั้งในระดับประกาศนียบัตร, ปริญญาบัณฑิต, ประกาศนียบัตรบัณฑิต, และปริญญามหาบัณฑิต กระจายไปตามสาขาวิชาต่าง ๆ โดยมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีสาขาวิชาทั้งหมด 12 สาขาวิชา (เป็นหน่วยงานตามประกาศกระทรวงฯ 10 สาขาวิชา[22] เป็นหน่วยงานภายใน 2 สาขาวิชา) ดังนี้

หมายเหตุ: สาขาวิชาเทียบเท่ากับคณะวิชาของมหาวิทยาลัยทั่วไป

โครงการเรียนล่วงหน้า

แก้

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ยังเปิดการเรียนทางไกลให้สำหรับนักเรียนหรือบุคคลที่ต้องการเรียนล่วงหน้าได้โดยไม่ต้องมีวุฒิการศึกษา ไม่ต้องสมัครเป็นนักศึกษาในหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่งก็ได้ เมื่อสอบผ่านแล้วผู้เรียนยังสามารถ โอนชุดวิชาที่เรียนผ่านเข้าเป็นชุดวิชาในหลักสูตรที่ต้องการศึกษาในภายภาคหน้าได้ ซึงแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • โครงการสัมฤทธิบัตร[23] (สำหรับชุดวิชาในหลักสูตรปริญญาตรี)
  • โครงการสัมฤทธิบัตรบัณฑิต[24] (สำหรับชุดวิชาในหลักสูตรปริญญาโท)
 
อาคารวิชาการ 3 (ตึกด้านขวามือ) สถานที่ตั้งที่ทำการสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ศูนย์วิทยบริการและชุมชนสัมพันธ์

แก้

ศูนย์วิทยบริการและชุมชนสัมพันธ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (ศวช.) เป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนการจัดการศึกษาในระบบการศึกษาทางไกลของมหาวิทยาลัย โดยเริ่มเปิดศูนย์วิทยพัฒนามหาวิทยาลัยฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นแห่งแรกในปี พ.ศ. 2534

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีศูนย์วิทยบริการและชุมชนสัมพันธ์ทั้งสิ้น 12ศูนย์ กระจายไปตามจังหวัดต่าง ๆ ครบทุกภาคของประเทศไทย ดังนี้[25]

ศูนย์บริการการศึกษาในต่างประเทศ

แก้

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จัดการศึกษาสำหรับคนไทยในต่างประเทศโดยได้รับความร่วมมือจากกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงแรงงาน เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาตลอดชีวิตให้กับคนไทยในต่างประเทศ ได้เพิ่มพูนความรู้และเพิ่มคุณวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีการจัดการศึกษาสำหรับคนไทยในประเทศต่างประเทศ ดังนี้

ทั้งนี้นักศึกษาจะต้องเดินทางมาเข้ารับการฝึกอบรมชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพ หรือชุดวิชาที่มีการฝึกปฏิบัติ ณ สถานที่ที่มหาวิทยาลัยฯ จัดให้โดยใช้เวลาในการฝึกอบรมประมาณ 4–5 วัน นอกจากประเทศ/เมืองที่มหาวิทยาลัยยังมีการให้บริการจัดสอบในต่างประเทศ

รายนามอธิการบดี

แก้

นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมีอธิการบดีมาแล้ว 6 คน และ รักษาการแทนอธิการบดี 6 คน ดังรายนามต่อไปนี้

รายนามอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
รายนามอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง อ้างอิง
1. ศาสตราจารย์ วิจิตร ศรีสอ้าน

7 มกราคม พ.ศ. 2522 – 7 มกราคม พ.ศ. 2526 (วาระที่ 1)
7 มกราคม พ.ศ. 2526 – 6 มกราคม พ.ศ. 2530 (วาระที่ 2)
7 มกราคม พ.ศ. 2530 – 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 (วาระที่ 3)

[26]
2. ศาสตราจารย์ เอี่ยม ฉายางาม

19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 – 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 (วาระที่ 1)
20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534 – 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 (วาระที่ 2)
20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2543 (วาระที่ 3)

[27]
3. รองศาสตราจารย์ ทองอินทร์ วงศ์โสธร

22 มีนาคม พ.ศ. 2543 – 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547

[28]
4. ศาสตราจารย์ ปรัชญา เวสารัชช์

1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2551

[29]
5. รองศาสตราจารย์ ปราณี สังขะตะวรรธน์

30 มิถุนายน พ.ศ. 2551 – 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555
5 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 (กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ รักษาการแทนอธิการบดี)

[30]
6. รองศาสตราจารย์ สมจินต์ สันถวรักษ์

30 มิถุนายน พ.ศ. 2555 – 31 มกราคม พ.ศ. 2556 (กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ รักษาการแทนอธิการบดี)
9 มิถุนายน พ.ศ. 2559 – 24 มีนาคม พ.ศ. 2560 (กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ รักษาการแทนอธิการบดี)

[31]
7. รองศาสตราจารย์ ชัยเลิศ พิชิตพรชัย

31 มกราคม พ.ศ. 2556 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2559[32]

[33]
8. รองศาสตราจารย์ ภาณุมาศ ขัดเงางาม

25 มีนาคม พ.ศ. 2560 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2561 (กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้แทนสภาวิชาการ รักษาการแทนอธิการบดี)

[34]
9. ศาสตราจารย์ ประสาท สืบค้า

23 มีนาคม พ.ศ. 2561 – 4 ตุลาคม พ.ศ. 2563 (กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ รักษาการแทนอธิการบดี)

[35]
10. รองศาสตราจารย์ มานิตย์ จุมปา

1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 (กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ รักษาการแทนอธิการบดี)

[36]
11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พนมพัทธ์ สมิตานนท์

1 มกราคม พ.ศ. 2567 (กรรมการสภามหาวิทยาลัย รักษาการแทนอธิการบดี)

[37]

รายนามนายกสภามหาวิทยาลัย

แก้

นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีนายกสภามหาวิทยาลัยมาแล้ว 5 คน และทำหน้าที่แทนนายกสภามหาวิทยาลัย 2 คน ดังรายนามต่อไปนี้

รายนามนายกสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
รายนามนายกสภามหาวิทยาลัย วาระการดำรงตำแหน่ง อ้างอิง
1. ศาสตราจารย์กิตติคุณ เกษม สุวรรณกุล

24 ตุลาคม พ.ศ. 2521 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2523 (วาระที่ 1)
21 เมษายน พ.ศ. 2524 – 20 เมษายน พ.ศ. 2526 (วาระที่ 2)
5 ตุลาคม พ.ศ. 2526 – 4 ตุลาคม พ.ศ. 2528 (วาระที่ 3)
13 ธันวาคม พ.ศ. 2528 – 12 ธันวาคม พ.ศ. 2530 (วาระที่ 4)
14 ตุลาคม พ.ศ. 2542 – 22 กันยายน พ.ศ. 2544 (วาระที่ 5)
22 กันยายน พ.ศ. 2544 – 21 กันยายน พ.ศ. 2546 (วาระที่ 6)
17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 – 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 (วาระที่ 7)

[38]
2. ศาสตราจารย์ วิจิตร ศรีสอ้าน

9 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 (วาระที่ 1)
30 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 29 ตุลาคม พ.ศ. 2551 (วาระที่ 2)
26 มกราคม พ.ศ. 2552 – 25 มกราคม พ.ศ. 2554 (วาระที่ 3)
27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 – 21 กันยายน พ.ศ. 2563 (วาระที่ 4)
21 กันยายน พ.ศ. 2563 – 30 กันยายน พ.ศ. 2566 (วาระที่ 5)

[39]
3. ศาสตราจารย์ ชัยอนันต์ สมุทวณิช

22 กันยายน พ.ศ. 2533 – 21 กันยายน พ.ศ. 2535

[40]
4. อาชว์ เตาลานนท์

26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 – 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 (วาระที่ 1)
23 มีนาคม พ.ศ. 2538 – 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 (วาระที่ 2)
18 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 – 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 (วาระที่ 3)
23 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2542 (วาระที่ 4)

[41]
5. ศาสตราจารย์ คณิต ณ นคร

พ.ศ. 2555 – พ.ศ. 2557 (ทำหน้าที่แทนนายกสภามหาวิทยาลัยและอุปนายกสภามหาวิทยาลัย)

[42]
6. รองศาสตราจารย์ องค์การ อินทรัมพรรย์

24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 – 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

[43]
7. นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์

1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน (อุปนายกสภามหาวิทยาลัยทำหน้าที่แทนนายกสภามหาวิทยาลัย)

การจัดอันดับมหาวิทยาลัย

แก้

การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 มสธ. อยู่ในอันดับที่ 5,571 ของโลก อันดับที่ 265 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[44] อันดับที่ 47 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย[45]

บุคคลที่มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๒๐, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  2. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. คณะผู้บริหาร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
  3. 3.0 3.1 บุคลากรมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  4. เปิด 10 มหาวิทยาลัย มีนักศึกษามากที่สุดในประเทศไทย
  5. "ประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 มิถุนายน 2016. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2016.
  6. "ข้อมูลการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา". มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2019.
  7. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ลักษณะการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาในระบบการศึกษาทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
  8. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 1/2560. เล่ม ๑๓๔ ตอนพิเศษ ๑๖๘ ง. หน้า ๓๓. ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๐.
  9. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 3/2561. เล่ม ๑๓๕ ตอนพิเศษ ๒๙๐ ง. หน้า ๖๐. ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๑.
  10. ราชกิจจานุเบกษา. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช" (PDF).. เล่ม ๑๓๕ ตอนพิเศษ ๔๙ ง. ๖ มีนาคม ๒๕๖๑.
  11. "เรียน ป.ตรี ทางไปรษณีย์...มีอยู่จริง กับ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช". True Digital & Media Platform. 23 ตุลาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2022.
  12. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2521. เล่ม ๙๕ ตอน ๙๙. หน้า ๑. ๒๑ กันยายน ๒๕๒๑.
  13. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เล่ม ๙๕ ตอน ๑๒๕. ฉบับพิเศษ หน้า ๑. ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๑.
  14. "จดหมายเหตุบอกเล่า เรื่อง การเปิดรับนักศึกษารุ่นแรก". หน่วยจดหมายเหตุมหาวิทยาลัย ฝ่ายบริการสารสนเทศ สำนักบรรณสารสนเทศ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 มกราคม 2022. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2019.
  15. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง การจัดตั้งสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เล่ม ๙๖ ตอน ๒๘. หน้า ๑๑๗. ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒.
  16. "จดหมายเหตุบอกเล่า ตอน พิธีพระราชทานปริญญาบัตร". หน่วยจดหมายเหตุมหาวิทยาลัย ฝ่ายบริการสารสนเทศ สำนักบรรณสารสนเทศ. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2019.[ลิงก์เสีย]
  17. พิชัย วาศนาส่ง เป็นผู้ออกแบบตราประจำมหาวิทยาลัย
  18. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะและเข็มวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. ๒๕๒๔. เล่ม ๙๘ ตอน ๑๘๐. หน้า ๗. ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๔.
  19. "Thai Architecture Pinyo Suwankiri – Pagodas". thai-architecture.com. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2019.
  20. "30 ปี แห่งการสถาปนา มสธ. สร้างหอพระ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ครบ 60 ปี". ไทยพีอาร์ ดอตเน็ต. 3 กรกฎาคม 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กันยายน 2008. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2008.
  21. พิธีเปิดห้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วันพุธที่ ๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๓๘
  22. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การจัดตั้งสาขาวิชาในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๖๘ ง. หน้า๑๑. ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๕.
  23. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. โครงการสัมฤทธิบัตร.
  24. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. โครงการสัมฤทธิบัตรบัณฑิต.
  25. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักวิทยพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  26. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๕. หน้า ๔๘๖. ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๒.
    ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๓. ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔. ๗ มกราคม ๒๕๒๖.
    ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๘. หน้า ๖๐๔๖. ๑๑ ธันวาคม ๒๕๒๙.
  27. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๔. ฉบับพิเศษ หน้า ๑. ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๐.
    ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๗๘. หน้า ๙๘๓๘. ๘ ตุลาคม ๒๕๓๔.
    ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๖๔ ง. หน้า ๑๔. ๑๐ สิงหาคม ๒๕๓๘.
  28. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๓๒ ง. หน้า ๔. ๒๐ เมษายน ๒๕๔๓.
  29. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๕๒ ง. หน้า ๓. ๒๙ มิถุนายน ๒๕๔๗.
  30. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เล่ม ๑๒๕ ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง. หน้า ๑๗. ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๑.
    "Today News". STOU Variety. 5 ตุลาคม 2020 – โดยทาง เฟซบุ๊ก.
  31. "ระเบียบวาระการประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 11/2554 วันที่ 27 ธันวาคม 2554". สำนักงานสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 มกราคม 2012.
    "แจงเหตุสั่งปลดปลดอธิการบดี มสธ". กรุงเทพธุรกิจ. 10 มิถุนายน 2016.
  32. "สภามีมติ 9:2 ปลดอธิการบดีมสธ. เหตุ ทำงานร่วมกันสภาฯไม่ได้". มติชน. 9 มิถุนายน 2016.
  33. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เล่ม ๑๓๐ ตอนพิเศษ ๑๘ ง. หน้า ๕. ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖.
  34. "ดร.สมจินต์ สันถวรักษ์ ลาออกโค้งสุดท้ายก่อนเลือกอธิการ มสธ.คนใหม่". สำนักข่าวอิศรา. 23 มีนาคม 2017.
    มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. คณะผู้บริหาร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
  35. "ตั้ง "ประสาท" นั่งรักษาการ มสธ". ไทยรัฐ. 23 มีนาคม 2018.
  36. "สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้ง 'มานิตย์ จุมปา' เป็นผู้รักษาการแทนอธิการบดี มสธ". สำนักข่าวอิศรา. 1 ตุลาคม 2021.
  37. คำสั่งสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาการแทนอธิการบดี
  38. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
    ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
    ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
    ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
    ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
    ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
    ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เก็บถาวร 2022-12-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  39. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
    ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
    ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
    ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
    ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
  40. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
  41. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
    ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
    ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
  42. "ประวัตินายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัย มสธ". สภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 มิถุนายน 2016. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2016.
  43. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
  44. "Ranking web of Universities – South East Asia". Webometrics Ranking of World Universities. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2019.
  45. "Ranking web of Universities – Thailand". Webometrics Ranking of World Universities. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2019.

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°54′36″N 100°32′13″E / 13.909876°N 100.537037°E / 13.909876; 100.537037