ครุย เป็นเสื้อคลุมประเภทหนึ่ง มีลักษณะหลวม ยาวถึงเข่าหรือทั้งตัว ใช้สวมหรือคลุมทับด้านนอก ทั้งชายและหญิงในยุโรปใส่ครุยกันมาตั้งแต่ยุคกลางตอนต้นจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 เดิมเคยใส่เฉพาะราชสำนักเท่านั้น แต่ปัจจุบันสามารถใช้สวมใส่เพื่อแสดงตำแหน่งฐานะในอาชีพ เช่น ผู้พิพากษา ในวงวิชาการ ครุยยังใช้เพื่อแสดงวิทยฐานะอีกด้วย

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์ครุยเนติบัณฑิต

ประวัติ แก้

ต้นกำเนิดที่แท้จริงของครุยยังไม่ทราบอย่างแน่ชัด ถึงแม้ว่ามีสมมติฐานน่าเป็นสินค้านำเข้าจากเปอร์เซียและ/หรืออินเดีย[1] บันทึกแรกสุดที่กล่าวถึงมาจากทูตฝรั่งเศสตอนไปพบสมเด็จพระนารายณ์มหาราชใน ค.ศ. 1685 และตอนทูตสยามไปประเทศฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1686 แสดงภาพพระมหากษัตริย์สยามกับทูตสวมเสื้อผ้าแบบนี้ คำว่าครุยยังคงมีใช้ในสมัยรัตนโกสินทร์ ตามหลักฐานที่กล่าวถึงในกฎหมายตราสามดวงใน ค.ศ. 1804 ว่าห้ามข้าราชการรุ่นเล็กสวมใส่มันเด็ดขาด[2]

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประมวลครุยเพิ่มให้ใช้ตามพระราชกำหนดใน ค.ศ. 2455 ซึ่งกำหนดประเภทและยศต่าง ๆ ที่ราชวงศ์และข้าราชการมีสิทธิที่จะสวมใส่[3] ต่อมาพระองค์ยังทรงอนุญาตให้ใช้ในชุดวิชาการของโรงเรียนมหาดเล็ก (วชิราวุธวิทยาลัย) ใน ค.ศ. 2456 กับเนติบัณฑิตยสภาประจำสยามใน พ.ศ. 2458[4][5] ต่อมามีการนำมาใช้เป็นชุดจบปริญญาประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใน พ.ศ. 2473[6] ตั้งแต่ ค.ศ. 2510 เป็นต้นมา บางมหาวิทยาลัยผลิดครุยเป็นของตนเอง และคำนี้กลายเป็นความหมายของชุดศาลหรือวิชาการทั่วไป

การใช้งาน แก้

ตามธรรมเนียม ครุยใช้บ่งบอกสถานะกษัตริย์หรือขุนนาง และสวมใส่เฉพาะผู้ชายเท่านั้น สมาชิกของพระราชวงศ์จะสวมใส่ครั้งแรกในพระราชพิธีโสกันต์ (พิธีโกนจุก)[a] พระมหากษัตริย์จะฉลองพระองค์ในโอกาสพิเศษ เช่น พิธีราชาภิเษก พระราชพิธีต่าง ๆ หรือเมื่อมีแขกพิเศษมาเยี่ยมเยือน[7] นอกจากนี้ เหล่านาค—สามเณรที่เตรียมตัวไปเป็นอุปสมบท—เป็นกลุ่มเดียวที่สามารถสวมครุยได้โดยไม่สนระดับชั้นทางสังคม

รายงานจากพระราชกฤษฎีกาประจำปี 2455 บุคคลมีสิทธิที่จะสวมครุยตามลำดับชั้น ตำแหน่ง หรือตามพระบรมราชานุญาตเพิ่มเติม ตำแหน่งเหล่านี้ได้แก่ เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าชั้นสามขึ้นไป และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกหรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยชั้นสองขึ้นไป ผู้พิพากษาสามารถสวมในเครื่องแบบเต็มยศตามพระราชพิธี; ข้าราชการคนอื่น ๆ สามารถสวมได้ในพิธีที่มีการดำเนินการพิเศษหรือในพิธีจำเพาะ[3][8] ปัจจุบันไม่ค่อยพบเห็นบ่อยนัก ถึงแม้ว่าจะยังคงมีการใช้ครุยในพิธีแรกนาขวัญทุกปีและพระราชพิธีบรมราชาภิเษกก็ตาม

ปัจจุบัน ครุยสามารถระบุได้ง่ายที่สุดเป็นครุยวิทยฐานะในมหาวิทยาลัยไทยบางแห่ง เช่น จุฬาลงกาณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้นำมาใช้นานและโดดเด่นที่สุด โดยจะสวมทับชุดเดรสมหาวิทยาลัย (มักเป็นราชปะแตนและกางเกงขาวสำหรับผู้ชาย เสื้อเชิ้ตสตรีขาวและกระโปรงสีกรมท่าสำหรับผู้หญิง) โดยไม่มีหมวก สำหรับนักศึกษาวุฒิปริญญาตรี หรือชุดสูทกับเน็คไทสำหรับนักศึกษาวุฒิปริญญาโท

ภาพ แก้

ครุยพระราชวงศ์ แก้

ครุยตำแหน่ง แก้

"ครุยขุนนาง" แก้

"ครุยเสนามาตย์" แก้

ครุยวิทยฐานะ แก้

ดูเพิ่ม แก้

หมายเหตุ แก้

  1. พิธีโกนจุก เป็นพิธีที่จะทำตอนอายุ 11 หรือ 13 ปี เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าได้เปลี่ยนจากวัยเด็กไปยังวัยรุ่นและผู้ใหญ่แล้ว

อ้างอิง แก้

  1. มะสะลุม (5 December 2004). "มะงุมมะงาหรา". Osotho. 45 (5). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2012. สืบค้นเมื่อ 25 August 2012.
  2. Memorial Hall of Chulalongkorn University (17 March 2011). "ครุย: ความหมายและความเป็นมา (Khrui: meaning and history)". Memorial Hall of Chulalongkorn University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 25 August 2012.
  3. 3.0 3.1 "พระราชกำหนดเสื้อครุย" (PDF). Royal Gazette. 28: 141–6. 2 July 1912. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 25 August 2012.
  4. Chongkol, Sawat. "ฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภก". ของดีหอประวัติ. Memorial Hall of Chulalongkorn University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2012. สืบค้นเมื่อ 25 August 2012.
  5. "พระราชกำหนดเสื้อครุยเนติบัณฑิต" (PDF). Royal Gazette. 31: 537–8. 28 February 1915. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-03-20. สืบค้นเมื่อ 25 August 2012.
  6. "พระราชกำหนดเสื้อครุยบัณฑิต ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พุทธศักราช 2473" (PDF). Royal Gazette. 47: 92–5. 6 July 1930. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 25 August 2012.
  7. Pakdeecharean, Penluck (7 July 2009). "กรุผ้าโบราณ เผ่าทอง ทองเจือ (Paothong Thongchua's historical clothing collection)". Krungthep Turakij. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-21. สืบค้นเมื่อ 25 August 2012.
  8. "พระราชกำหนดเสื้อครุยเพิ่มเติม" (PDF). Royal Gazette. 31: 422–3. 11 November 1914. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 25 August 2012.