สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช เป็นสาขาวิชาในสังกัดมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเปิดที่ใช้ระบบการศึกษาทางไกลแห่งเดียวในประเทศไทย สาขาวิชาในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีฐานะเทียบเท่ากับคณะในมหาวิทยาลัยทั่วไป

สาขาวิชาศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สถาปนา7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522
คณบดีรศ.ดร.สมเกียรติ วัฒนาพงษากุล
ที่อยู่
เว็บไซต์libarts.stou.ac.th/

ประวัติ แก้

สาขาวิชาศิลปศาสตร์ แรกเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 ซึ่งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นมหาวิทยาลัยเปิดที่ยึดหลักการการศึกษาตลอดชีวิต มุ่งพัฒนาคุณภาพของประชาชนทั่วไป เพิ่มความรู้แก่ประกอบอาชีพ และขยายโอกาสแก่ผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา เพื่อสนองตอบความต้องการด้านวิชาการอันหลากหลายของบุคคลและสังคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จึงเปิดสอนสาขาวิชาต่างๆ จำนวน 12 สาขาวิชา เพื่อให้การศึกษาต่อเนื่องในระดับปริญญาตรี และประกาศนียบัตร ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมีหลักการว่า บัณฑิตทุกคนของมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นบัณฑิตของสาขาวิชาใด พึงมีความรู้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการเข้าใจสังคม และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา เพื่อที่จะสามารถดำรงตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม และตระหนักในคุณค่าของวัฒนธรรมควบคู่ไปกับการพัฒนาจิตใจ และความเป็นอยู่ ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงได้มอบหมายให้สาขาวิชาศิลปศาสตร์รับผิดชอบการเปิดสอนชุดวิชาในหมวดศึกษาทั่วไป ด้านภาษาศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ ไทยศึกษา วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ให้แก่นักศึกษาในทุกสาขาวิชาของมหาวิทยาลัย

นอกจากนี้ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ยังได้เปิดสอนชุดวิชาต่างๆ เพื่อให้บริการแก่สาขาวิชาอื่น และเปิดสอนในระดับประกาศนียบัตร ปริญญาตรี  ปริญญาโท และปริญญาเอก เพื่อเป็นบริการทางวิชาการแก่ประชาชน  และผู้สนใจทั่วไป โดยใช้หลักการให้การศึกษาแบบบูรณาการเพื่อประโยชน์ในการดำเนินชีวิตอย่างสมบูรณ์ และประกอบอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ[1]

หลักสูตรที่เปิดสอน แก้

ระดับประกาศนียบัตร ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก
ประกาศนียบัตร (ป.)[2]
  • วิชาศึกษาทั่วไป
  • วิชางานสารสนเทศ (ทั่วไป)
  • วิชางานสารสนเทศ (สำนักงาน)
  • วิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร
  • วิชาภาษาอังกฤษเฉพาะอาชีพ (ธุรกิจ)
  • วิชาภาษาอังกฤษเฉพาะอาชีพ (การท่องเที่ยว)
  • วิชาภาษาอังกฤษเฉพาะอาชีพ (การโรงแรม)
  • วิชาภาษาอังกฤษเฉพาะอาชีพ (งานสำนักงาน)
  • วิชาภาษาอังกฤษเฉพาะอาชีพ (คอมพิวเตอร์)
  • วิชาภาษาอังกฤษเฉพาะอาชีพ (การสาธารณสุข)
  • วิชาภาษาอังกฤษเฉพาะอาชีพ (ช่าง)
  • วิชาภาษาอังกฤษเฉพาะอาชีพ (การเกษตร)
  • วิชาภาษาอังกฤษเฉพาะอาชีพ (ครู)
  • วิชาภาษาอังกฤษเฉพาะอาชีพ (กฎหมาย)
ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)[2]
  • แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์
  • แขนงวิชาไทยคดีศึกษา
  • แขนงวิชาภาษาอังกฤษ
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต​ (ศศ.ม.)[3]
  • แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์
  • แขนงวิชาไทยคดีศึกษา
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด)[4]
  • แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์

อ้างอิง แก้

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-18. สืบค้นเมื่อ 2017-05-06.
  2. 2.0 2.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-17. สืบค้นเมื่อ 2017-05-06.
  3. http://www.stou.ac.th/thai/courses/Master_60/art_60.asp
  4. http://www.stou.ac.th/thai/courses/Master_60/art_60.asp

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  • เว็บไซต์สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช