สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช (อังกฤษ :School of Communication Arts) เป็นสาขาวิชาในสังกัดมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเปิดที่ใช้ระบบการศึกษาทางไกลแห่งเดียวในประเทศไทย สาขาวิชาในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีฐานะเทียบเท่ากับคณะในมหาวิทยาลัยทั่วไป

สาขาวิชานิเทศศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
School of Communication Arts
Symbol Sukhothai Thammathirat Open University
คติพจน์มสธ.ที่ไหน เวลาใด ใครก็เรียนได้
คณบดีอาจารย์ ดร. กานต์ บุญศิริ
ที่อยู่
เว็บไซต์สาขาวิชานิเทศศาสตร์

ประวัติ

แก้

สาขาวิชานิเทศศาสตร์ แรกเริ่มก่อตั้งเป็นหน่วยงานระดับกองของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมีฐานะเทียบเท่าคณะของมหาวิทยาลัยในระบบปิด ได้รับการจัดตั้งเป็นสาขาวิชาลำดับที่ 10 ของมหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2527 เปิดรับสมัครนักศึกษาเป็นครั้งแรกในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2527 นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนสาขาวิชานิเทศศาสตร์ในระบบการศึกษาทางไกล

เหตุผลสำคัญที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเปิดสอนสาขาวิชานิเทศศาสตร์มีดังนี้ 

1. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมีปัจจัยพื้นฐานที่พร้อมจะสนับสนุนการเรียนการสอนสาขาวิชานิเทศศาสตร์ กล่าวคือ มหาวิทยาลัยจัดการเรียนการสอนระบบทางไกล โดยใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะต่างๆ มีความชำนาญการในงานด้านสื่อสารมวลชนเป็นพิเศษ อีกทั้งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่นในการจัดตั้งศูนย์ผลิตรายการวิทยุและโทรทัศน์เพื่อการศึกษาขึ้น นับเป็นส่วนที่ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอนสาขาวิชานิเทศศาสตร์ได้เป็นอย่างดี

2. การเปิดสอนวิชานิเทศศาสตร์สอดคล้องกับความต้องการของประเทศชาติในการมุ่งพัฒนากำลังคนด้านสื่อสารมวลชน ในแผนการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 5 ได้ระบุให้มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจัดตั้งสาขาวิชานิเทศศาสตร์ขึ้น โดยถือเป็นโครงการที่มีความสำคัญระดับสูง

ปัจจุบันสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ทำให้การสื่อสารและองค์ความรู้ด้านนิเทศศาสตร์มีความจำเป็นมากขึ้น สาขาวิชานิเทศศาสตร์ จึงได้ปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัยและสอดรับกับความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ โดยทางทบวงมหาวิทยาลัย (ปัจจุบันคือสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ) ได้ให้ความเห็นชอบหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุงเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2546 และได้เปิดสอนในภาคการศึกษาที่ 2/2546 รวม ถึงหลักสูตรบัณฑิตศึกษา ซึ่งได้เปิดสอนครั้งแรกเมื่อภาคการศึกษาที่ 2/2546 และมีการปรับปรุงหลักสูตรไปเมื่อพ.ศ. 2555 

  • ในภาคต้น ปีการศึกษา 2552 มีการเปิดสอนระดับปริญญาเอก หรือนิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต
  • ในภาคต้น ปีการศึกษา 2557 มีการเปิดสอนหลักสูตรนิเทศศาสตมหาบัณฑิต แขนงวิชานิเทศศาสตร์อาเซียน (หลักสูตรนานาชาติ) ซึ่งเป็นหลักสูตรปริญญาโทนานาชาติที่ใช้ในการเรียนการสอนทางออนไลน์[1]
  • ในภาคต้น ปีการศึกษา 2560 มีการเปิดสอนระดับปริญญาโท 3 แขนงวิชา ได้แก่ แขนงวิชาการบริหารกิจการการสื่อสาร แขนงวิชาการบูรณาการการสื่อสาร และ แขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น
  • ในภาคต้น ปีการศึกษา 2562 มีการเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต แขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารการเมืองและการปกครองท้องถิ่น

หลักสูตรที่เปิดสอน

แก้
ระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก
ประกาศนียบัตรวิชาชีพนิเทศศาสตร์ (ป.นศ.)[2]
  • กลุ่มวิชาสื่อสิ่งพิมพ์
  • กล่มวิชาวิทยุกระจายเสียง
  • กลุ่มวิชาโทรทัศน์
  • กลุ่มวิชาภาพยนตร์
  • กลุ่มวิชาการโฆษณา
  • กลุ่มวิชาการประชาสัมพันธ์
นิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.)[3]
  • กลุ่มวิชาวารสารศาสตร์
  • กล่มวิชาวิทยุกระจายเสียง
  • กลุ่มวิชาโทรทัศน์
  • กลุ่มวิชาภาพยนตร์
  • กลุ่มวิชาการโฆษณา
  • กลุ่มวิชาการประชาสัมพันธ์
  • กลุ่มสื่อสารชุมชน
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต​ (นศ.ม.)[4]
  • การบริหารกิจการสื่อสาร
  • การบูรณาการการสื่อสาร
  • นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด)[5]
  • นิเทศศาสตร์
  • นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น

อ้างอิง

แก้
  1. http://www.stou.ac.th/SchoolsWeb/commarts/page/Home.aspx
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-28. สืบค้นเมื่อ 2017-05-09.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-28. สืบค้นเมื่อ 2017-05-09.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-28. สืบค้นเมื่อ 2017-05-09.
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-28. สืบค้นเมื่อ 2017-05-09.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  • เว็บไซต์สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช