ทองอินทร์ วงศ์โสธร
รองศาสตราจารย์ ดร.ทองอินทร์ วงศ์โสธร อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
รองศาสตราจารย์ ดร.ทองอินทร์ วงศ์โสธร | |
---|---|
![]() | |
เกิด | พ.ศ. 2488 |
สัญชาติ | ไทย |
การศึกษา | Ph.D. (Political Science) |
ประวัติแก้ไข
ทองอินทร์ วงศ์โสธร เกิดปี พ.ศ. 2488 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (กศ.บ.) สาขามัธยมศึกษา จากวิทยาลัยการศึกษาปทุมวัน ระดับปริญญาโท (M.A.) สาขาบริหารการศึกษา จาก มหาวิทยาลัยมินนิโซตา ระดับปริญญาเอก (Ph.D.) สาขาบริหารการศึกษา จาก มหาวิทยาลัยมินนิโซตา และประกาศนียบัตรชั้นสูงกิตติมศักดิ์ สถาบันพระปกเกล้า
การทำงานแก้ไข
ทองอินทร์ วงศ์โสธร รับราชการเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และเคยดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรองปลัดทบวงมหาวิทยาลัย และเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในระหว่างปี พ.ศ. 2543 ถึงปี พ.ศ. 2547[1]
ในปี พ.ศ. 2549 ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายวิจิตร ศรีสอ้าน)[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (นายทองอินทร์ วงศ์โสธร แทนศาสตราจารย์เอี่ยม ฉายางาม ซึ่งครบวาระ))
- ↑ คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สร ๓๔๖/๒๕๔๙ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายทองอินทร์ วงศ์โสธร และนายสมเชาว์ เกษประทุม)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๘, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
ก่อนหน้า | ทองอินทร์ วงศ์โสธร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ศ.ดร.เอี่ยม ฉายางาม | อธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (22 มีนาคม พ.ศ. 2543 - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547) |
ศ.ดร.ปรัชญา เวสารัชช์ |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |