สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช (อังกฤษ : School of Science and technology) เป็นหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเปิดที่ใช้ระบบการศึกษาทางไกลแห่งเดียวในประเทศไทย สาขาวิชาในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีฐานะเทียบเท่ากับคณะในมหาวิทยาลัยทั่วไป

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
School of Science and technology
Symbol Sukhothai Thammathirat Open University
คติพจน์เป็นผู้นำด้านการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระบบการศึกษาทางไกล เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ตรงกับความต้องการของสังคม
คณบดีผศ.ดร.ภูมิ เจือศิริภักดี
ที่อยู่
เว็บไซต์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ประวัติ แก้

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แรกเริ่มจากสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เห็นชอบให้จัดตั้งโครงการสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขึ้น ตามมติที่ประชุมสภาวิชาการ ในการประชุมครั้งที่ 20/2532 วันที่ 1 มิถุนายน 2532 และมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 7/2532 วันที่ 4 สิงหาคม 2532 และมหาวิทยาลัยได้เสนอขอจัดตั้งสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างเป็นทางการไปที่ทบวงมหาวิทยาลัย แต่คณะกรรมการทบวงมหาวิทยาลัยในขณะนั้นมีมติไม่เห็นชอบให้มีการจัดตั้งสาขาวิชานี้ โดยมีข้อสังเกตด้านความไม่พร้อมของบุคลากร ประสิทธิภาพของการเรียนการสอน ความไม่ชัดเจนด้านสถานที่ฝึกปฏิบัติ และรูปแบบการฝึกปฏิบัติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับนักศึกษาจำนวนมากในระบบการศึกษาทางไกล ดังนั้นในระยะแรกของการเตรียมการเปิดสอนหลักสูตรต่างๆ ของสาขาวิชา  จึงได้ดำเนินการภายใต้โครงการจัดตั้งสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยังคงเป็นหน่วยงานสังกัดสาขาวิชานิเทศศาสตร์

ต่อมา มหาวิทยาลัยได้ยืนยันความพร้อมและขอทบทวนการจัดตั้งสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปยังทบวงมหาวิทยาลัยอีกหลายครั้ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2533 จนถึง พ.ศ. 2538 โดยทบวงมหาวิทยาลัยอนุมัติเพียงให้เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม วิชาเอกเทคโนโลยีการพิมพ์ (ต่อเนื่อง 2 ปี) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2538 และเปิดสอนหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต แขนงวิชาเทคโนโลยีพณิชยกรรม วิชาเอกเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ (ต่อเนื่อง 2 ปี) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2542  จนกระทั่งวันที่ 14 ตุลาคม 2540 ได้เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในประเทศไทย คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ระงับและชะลอการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ในระบบราชการทั้งหมด เป็นผลให้สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไม่สามารถจัดตั้งเป็นหน่วยงานของมหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการได้  แต่ในทางปฏิบัติมีการดำเนินงานต่างๆ เช่นเดียวกับสาขาวิชาอื่นๆ ของมหาวิทยาลัย และในวันที่ 12 กรกฎาคม 2543 สภามหาวิทยาลัยจึงได้ออกประกาศจัดตั้งสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม วิชาเอกเทคโนโลยีการพิมพ์ (ต่อเนื่อง 2 ปี) จำนวน 2 ครั้ง โดยเปิดสอนหลักสูตรปรับปรุงในปีการศึกษา 2546 และปีการศึกษา 2550 ตามลำดับ  และดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต แขนงวิชาเทคโนโลยีพณิชยกรรม วิชาเอกเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ (ต่อเนื่อง 2 ปี) จำนวน 1 ครั้ง โดยเปิดสอนหลักสูตรปรับปรุงในปีการศึกษา 2552

นอกจากนี้ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ซึ่งเปิดสอนครั้งแรกในปีการศึกษา 2552 ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งเปิดสอนครั้งแรกในปีการศึกษา 2553 และดำเนินการพัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งเปิดสอนครั้งแรกในปีการศึกษา 2554  และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ซึ่งเปิดสอนครั้งแรกในปีการศึกษา 2558 และดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต แขนงวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เพื่อเปิดสอนในปีการศึกษา 2560 [1]

ปัจจุบัน หลักสูตรต่าง ๆ ของสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เปิดสอนมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชและสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (เดิมชื่อ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา) ได้พิจารณาอนุมัติ/ความสอดคล้องของหลักสูตรแล้ว

ปณิธาน แก้

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชในฐานะที่เป็นมหาวิทยาลัยในระบบเปิด ยึดหลักการศึกษาตลอดชีวิตมุ่งพัฒนาคุณภาพของประชาชนทั่วไป เพิ่มพูนวิทยฐานะแก่ผู้ประกอบอาชีพและขยายโอกาสทางการศึกษาต่อสำหรับผู้สำเร็จมัธยมศึกษา เพื่อสนองความต้องการของบุคคลและสังคม ด้วยการจัดระบบการศึกษาทางไกล ซึ่งใช้สื่อการสอนทางไปรษณีย์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และวิธีการอื่นที่ผู้เรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องเข้าชั้นเรียนตามปกติ

วิสัยทัศน์ แก้

เป็นผู้นำด้านการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระบบการศึกษาทางไกล เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ตรงกับความต้องการของสังคม

อัตลักษณ์ แก้

ผลิตบัณฑิตที่ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มีความมุ่งมั่น มีวินัย มีความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยตนเองโดยใช้ระบบทางไกลและการใช้เทคโนโลยี รวมทั้งสามารถบูรณาการความรู้กับประสบการณ์ทำงานในภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจ เพื่อพัฒนาตนเอง องค์กร ชุมชน และประเทศได้

Work Integrated Lifelong Learning: WILL

พันธกิจ แก้

  1. ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ตรงกับความต้องการของสังคม
  2. วิจัย ส่งเสริม และพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  3. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
  4. ส่งเสริมสังคมให้เกิดการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

วัตถุประสงค์ แก้

  1. เพื่อผลิตบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้มีคุณภาพเป็นที่ต้องการและยอมรับของสังคม
  2. เพื่อพัฒนาระบบการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระบบการศึกษาทางไกลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  3. เพื่อพัฒนาอาจารย์ให้มีความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  4. เพื่อให้บริการวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่สังคม
  5. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมให้เกิดขึ้นในบัณฑิต

หลักสูตรที่เปิดสอน แก้

ปัจจุบัน สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เปิดสอนในหลักสูตรและสาขาวิชา ดังต่อไปนี้

ระดับประกาศนียบัตร ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก
หลักสูตรประกาศนียบัตร[2]
  • ประกาศนียบัตรการโปรแกรมคอมพิวเตอร์
    • กลุ่มวิชาการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทั่วไป
    • กลุ่มวิชาการโปรแกรมคอมพิวเตอร์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่
  • ประกาศนียบัตรเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์
วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ)[3]
  • แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร[4]
    • วิชาเอกการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    • วิชาเอกวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • แขนงวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์[5]
    • วิชาเอกวิทยาการคอมพิวเตอร์
    • วิชาเอกวิทยาการข้อมูล
    • วิชาเอกเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • แขนงวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม[6]
    • วิชาเอกเทคโนโลยีวิศวกรรมการผลิตและการจัดการ
    • วิชาเอกเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์และการจัดการผลิตภัณฑ์
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม)[7]
  • แขนงวิชาเทคโนโลยีการจัดการทางวิศวกรรม
  • แขนงวิชาเทคโนโลยีดิจิทัล[8]
    • กลุ่มวิชาวิทยาการดิจิทัล
    • กลุ่มวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล
-

อ้างอิง แก้

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-30. สืบค้นเมื่อ 2017-05-09.
  2. "หลักสูตรประกาศนียบัตร ด้านการผลิต และ ด้านสารสนเทศ หลักสูตร 1 ปี".{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. หลักสูตรระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2559
  4. หลักสูตรระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2560
  5. หลักสูตรระดับปริญญาตรีและต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2565
  6. หลักสูตรปริญญาตรี หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2564
  7. หลักสูตรการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  8. สป.อว. อนุมัติหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาเทคโนโลยีดิจิทัล หลักสูตรปรับปรุง 2565

แหล่งข้อมูลอื่น แก้