ภูมิศาสตร์ยุโรป

ภูมิศาสตร์ยุโรป (อังกฤษ: Geography of Europe) คือลักษณะภูมิศาสตร์ของทวีปยุโรปซึ่งเป็น 1 ใน 7 ทวีปบนโลกและเป็นคาบสมุทรตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชีย การแบ่งทวีปยุโรปตะวันออกกับทวีปเอเชียจะใช้เทือกเขายูรัลในประเทศรัสเซีย ส่วนในตะวันออกเฉียงใต้นั้นยังไม่มีการกำหนดอย่างแน่ชัด แต่ส่วนมากจะใช้แม่น้ำยูรัล, แม่น้ำเอ็มบาและทะเลดำในการแบ่งเขต จุดสิ้นสุดของทวีปเอเชียคือช่องแคบบอสพอรัสในประเทศตุรกี

ภูมิศาสตร์ยุโรป
Geography of Europe
พื้นที่10,180,000 ตร.กม. (อันดับที่ 6)
ประชากร742,452,000 คน
(2013, อันดับที่ 3)
ความหนาแน่น72.9 คน/ตร.กม. (อันดับที่ 2)
เดมะนิมชาวยุโรป (European)
ประเทศ~ 45 ประเทศ
(รับรองบางส่วน ~1 ประเทศ)
ดินแดน
ภาษา~225 ภาษา[1]
เขตเวลาUTC−1 ถึง UTC+5

ส่วนการแบ่งเขตของทวีปยุโรปกับทวีปแอฟริกาจะใช้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จุดที่ทวีปยุโรปใกล้กับทวีปแอฟริกามากที่สุดคือช่องแคบยิบรอลตาร์ที่ห่างกันเพียง 14.3 กิโลเมตรหรือ 8.9 ไมล์[2]

พรมแดนทางตะวันตกมีเทือกเขากลางสมุทรไอซ์แลนด์เป็นตัวแบ่งอาณาเขตระหว่างยุโรปกับอเมริกาเหนือ ส่วนประเทศไอซ์แลนด์ที่อยู่กึ่งกลางระหว่างอเมริกาเหนือกับยุโรปนั้นถือว่าอยู่ในทวีปยุโรปเพราะเหตุผลทางด้านวัฒนธรรมและมีพื้นที่ใกล้กับแผ่นดินใหญ่ของทวีปยุโรปมากกว่าแผ่นดินใหญ่ของทวีปอเมริกาเหนือถึง 2 เท่า

นี้คือภาพถ่ายจากสถานนีอวกาศแห่งชาติโดยใช้กล้อง2ตัวโดยทางซ้ายมองไปทางเหนือและทางขวามองมาทางตรง

ภาพรวม

แก้
 
แผนที่แสดงที่ตั้งของแผ่นยูเรเซีย

ในตำราภูมิศาสตร์นั้นจะเรียกทวีปยุโรปร่วมกับทวีเอเชียเนืองจากทวีปยุโรปไม่ได้ถูกล้อมด้วยมหาสมุทรและตึดกับแผ่นดินใหญ่ทางตะวันออกเฉียงใต้

นั้นทำให้ยุโรปถูกเรียกว่าคาบสมุทรที่ใหญ่ที่สุดในโลกและมีสแกนดิเนเวียทางเหนือของยุโรปเป็นคาบสมุทรที่ใหญ่เป็นอันดับสองซึ่งถูกแบ่งด้วยทะเลบอลติกและทวีปยุโรปยังมีคาบสมุทรเล็กๆอีกสามแห่งคือคาบสมุทรอิตาลี, คาบสมุทรไอบีเรียและคาบสมุทรบอลข่านซึ่งจะอยู่ทางใต้ของทวีป

คาบสมุทรบอลข่านนั้นถูกแยกออกมาจากทวีปเอเชียโดยทะเลดำและทะเลอีเจียน ส่วนคาบสมุทรอิตาลีถูกแยกจากคาบสมุทรบอลข่านด้วยทะเลเอเดรียติกและคาบสมุทรไอบีเรียถูกแยกจากคาบสมุทรอิตาลีด้วยทะเลเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนนั้นยังเป็นทะเลที่แยกยุโรปกับแอฟริกาออกจากกันอีกด้วย

ทวีปยุโรปมีลักษณะภูทิประเทศที่หลากหลายมากซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงมากมายในพื้นที่เล็ก ๆ เช่นมีเทือกเขาแอลป์, เทือกเขาพิเรนีส, เทือกเขาคาร์เพเทียนในภาคใต้ของทวีปและยังมีที่ราบสูงที่กว้างใหญ่ทางตะวันออกของทวีปและยังมีฟยอร์ดมากมายตรงแถบสแกนดิเนเวียและตรงตะวันตกของประเทศนอร์เวย์และมีการคาดว่าเกาะ[บริเตนใหญ่และเกาะไอร์แลนด์นั้นเคยติดกับพื้นแผ่นดินใหญ่ของทวีปก่อนถูกแยกออกจากกันด้วยระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น

คาบสมุทร

แก้

ยุโรปนั้นถูกเรียกว่าเป็น "คาบสมุทรของคาบสมุทร"เนืองจากทวีปยุโรปนั้นเป็นทวีปที่มีทะเลล้อมลอบสามด้านจึงถูกเรียกว่าคาบสมุทรที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกทั้งทวีปยุโรปยังประกอบไปด้วยคาบสมุทรใหญ่เล็กอีกมากมาย[3]

รายชื่อคาบสมุทรบ้างส่วนของยุโรป

แก้

ธรณีวิทยา

แก้
 
ชายฝั่งที่ ประเทศกรีซ

ลักษณะทางธรณีวิทยาที่สำคัญที่สุดของยุโรปคือการแบ่งแยกระหว่างที่ราบสูงและเทือกเขาทางตอนใต้ของทวีปยุโรปและพื้นที่ใต้น้ำบางส่วนของเกาะบริเตนใหญ่ ทั้งนี้ธรณีวิทยาของทวีปยุโรปมีความหลากหลายและซับซ้อนมากซึ่งก่อให้เกิดความหลากหลายของภูมิประเทศและจะสามารถพบได้ทั่วทั้งทวีปจากที่ราบสูงสกอตติชไปจนถึงที่ราบลุ่มของฮังการี

ประชากร

แก้

ตัวเลขของประชากรในยุโรปนั้นแตกต่างกันไปตามข้อกำหนดในการแบ่งเขตแดนของยุโรปที่ใช้ประชากรที่อยู่ในขอบเขตของภูมิศาสตร์ทางกายภาพมีจำนวนประมาณ 731 ล้านคนในปี 2005 และในปี 2010 มีจำนวนประชากร 857 ล้านคนตามที่สหประชาชาติประกาศซึ่งการประกาศครั่งนี้นั้นรวมถึงประเทศข้ามทวีปด้วยเช่นประเทศรัสเซียและประเทศตุรกี

ค่าเฉลี่ยอายุของคนในทวีปยุโรปส่วนมากจะอายุมัธยฐานค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับทวีปอิ่น ๆ

อุณหภูมิและฝนตก

แก้

บริเวณที่มีภูเขาสูงในทวีปยุโรปมีอากาศหนาวเย็นและมีฝนตกมากกว่าบริเวณที่ต่ำกว่าเช่นเดียวกับพื้นที่ภูเขาทั่วไป ยุโรปมีฝนตกน้อยกว่าในภาคกลางและตะวันตกของยุโรป ความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาวค่อยๆเพิ่มขึ้นจากชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือและค่อย ๆ ไล่ไปจนถึงตะวันออกเฉียงใต้ของทวีป

แม่น้ำ

แก้

รายชื่อแม่น้ำที่ยาวที่สุดในยุโรปตามลำดัยความยาวโดยประมาณ

  1. แม่น้ำวอลกา -   3,690 km (2,290 mi)
  2. แม่น้ำดานูบ - 2,860 km (1,780 mi)
  3. แม่น้ำยูรัล   -    2,428 km (1,509 mi)
  4. แม่น้ำนีเปอร์ - 2,290 km (1,420 mi)
  5. แม่น้ำดอน   -     1,950 km (1,210 mi)
  6. แม่น้ำเพโชล่า - 1,809 km (1,124 mi)
  7. แม่น้ำคามา -  1,805 km (1,122 mi)
  8. แม่น้ำโอก้า   -   1,500 km (930 mi)
  9. แม่น้ำบีรายา - 1,430 km (890 mi)
  10. แม่น้ำติซอ   -   1,358 km (844 mi)
  11. แม่น้ำนีสเตอร์ - 1,352 km (840 mi)
  12. แม่น้ำไรน์   -   1,236 km (768 mi)
  13. แม่น้ำเอลเบอ   -   1,091 km (678 mi)
  14. แม่น้ำวิสวา - 1,047 km (651 mi)
  15. แม่น้ำเทกัส   - 1,038 km (645 mi)
  16. แม่น้ำโดก้าวา - 1,020 km (630 mi)
  17. แม่น้ำลอรี่ - 1,012 km (629 mi)
  18. แม่น้ำเอโบร - 960 km (600 mi)
  19. แม่น้ำเนมูนัส - 937 km (582 mi)
  20. แม่น้ำซาวา - 933 km (580 mi)
  21. แม่น้ำโดรู - 897 km (557 mi)
  22. แม่น้ำโอเดอร์ - 854 km (531 mi)
  23. แม่น้ำกวาเดียนา - 829 km (515 mi)
  24. แม่น้ำโรน - 815 km (506 mi)
  25. แม่น้ำแซน  - 776 km (482 mi)
  26. แม่น้ำมูรัส - 761 km (473 mi)
  27. แม่น้ำปรุต - 742 km (461 mi)
  28. แม่น้ำโป - 682 km (424 mi)
  29. แม่น้ำกวาดัลกีบีร์ - 657 km (408 mi)
  30. แม่น้ำโอต - 615 km (382 mi)
  31. แม่น้ำกลอมา - 604 km (375 mi)
  32. แม่น้ำการอนนี่ - 602 km (374 mi)
  33. แม่น้ำซิเรต - 559 km (347 mi)
  34. แม่น้ำเนริส - 510 km (320 mi)
  35. แม่น้ำมาริสา - 480 km (300 mi)
  36. แม่น้ำวัลตาวา - 430 km (270 mi)
  37. แม่น้ำยาโลมีตซา - 417 km (259 mi)
  38. แม่น้ำวาก - 406 km (252 mi)
  39. แม่น้ำวาร์ดาร์ - 388 km (241 mi)
  40. แม่น้ำชานนอน - 386 km (240 mi)
  41. แม่น้ำโซเมส - 376 km (234 mi)
  42. แม่น้ำโมลาวา - 353 km (219 mi)
  43. แม่น้ำแอลบาเนีย 335 km
  44. แม่น้ำทอร์นีย์ - 324 km (201 mi)

ทะเลสาบและทะเลภายในประเทศ

แก้

หมู่เกาะที่สำคัญ

แก้

ทุ่งหญ้าและที่ราบลุ่ม

แก้

เทือกเขา

แก้
 
ยอดเขาเอลบรุส
 
ภูเขาโอลิมปัส.
 
เทือกเขาในประเทศแอลเบเนีย


ภูเขาสำคัญ ๆ ในยุโรป:

พื้นที่ต่าง ๆ ของภูมิประเทศที่เป็นภูเขาของยุโรป (อ้างอิงจาก UNEP-WCMC เก็บถาวร 2008-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน) :

ระดับความสูง อาณาเขต (km2) % อาณาเขต
≥4500m 1 0.00%
3500-4500m 225 0.00%
2500-3500m 497,886 4.89%
1500-2500m & ลาดชัน ≥2° 145,838 1.43%
1000-1500m & ลาดชัน ≥5°
หรือระดับความสูง >300m
345,255 3.39%
300-1000m
หรือระดับความสูง >300m
1,222,104 12.00%
ภูเขา 2,211,308 21.72%
ทวีปยุโรป 10,180,000 100.00%
  • หมายเหตุ ≥ อ่านว่า มากกว่าหรือเท่ากับ

ประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล

แก้

ประเทศที่เป็นเกาะ

แก้

ประเทศที่มีดินแดนข้ามทวีป

แก้
ยูเรเชีย ประเทศอาเซอร์ไบจาน, ประเทศจอร์เจีย, คาซัคสถาน, ประเทศรัสเซีย, ประเทศตุรกี
ยุโรป-แอฟริกา ประเทศมอลตา, ประเทศสเปน (เซวตา, เมลียา และกานาเรียส), ประเทศอิตาลี (ลัมเปดูซาและลัมปีโอเน), ประเทศโปรตุเกส (มาเดรา),[4] ประเทศฝรั่งเศส (เรอูว์นียงและมายอต)
อเมริกาใต้ ประเทศฝรั่งเศส (เฟรนช์เกียนา)
อเมริกาเหนือ ประเทศฝรั่งเศส (กัวเดอลุป, มาร์ตีนิก และแซ็งปีแยร์และมีเกอลง), ประเทศเดนมาร์ก (กรีนแลนด์), ประเทศเนเธอร์แลนด์ (โบแนเรอ, ซาบา และซินต์เอิสตาซียึส), ประเทศโปรตุเกส (Corvo Island, Flores Island)

ประเทศที่มีชื่อเมืองหลวงกับชื่อประเทศเหมือนกัน

แก้
  1.   ลักเซมเบิร์ก
  2.   โมนาโก
  3.   ซานมารีโน
  4.   นครรัฐวาติกัน
  5.   อันดอร์รา

ประเทศที่เมืองหลวงไม่ใช่เมืองใหญ่สุด

แก้
ประเทศ เมืองหลวง เมืองใหญ่ที่สุด
  ลีชเทินชไตน์ วาดุซ ชาน
  มอลตา วัลเลตตา บีร์กีร์การา
  ซานมารีโน ซานมารีโน แซร์ราวัลเล
  สวิสเซอร์แลนด์ แบร์น ซือริช
  ตุรกี อังการา อิสตันบูล

หมายเหตุ: กรุงโรมเมืองหลวงของอิตาลีเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศหากพิจารณาเฉพาะเมือง (มหานครมิลานเป็นเขตปริมณฑลที่ใหญ่ที่สุดในอิตาลี)

เมืองบรัสเทล - เมืองหลวงของเขตการปกครองบรัสเซลส์ถือเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเบลเยี่ยม ประชากรของกรุงบรัสเซลส์คือ 175,000 คน ส่วนเมือง Antwerp เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ

ประเทศที่มีเพื่อนบ้านมากที่สุด

แก้
 
แผ่นที่แสดงประเทศที่มีเพื่อนบ้านมากที่สุด
14 รัสเซีย (รวม แคว้นคาลินินกราด)
11 ฝรั่งเศส (รวม overseas departments และ territories)
9 เยอรมนี
8 ออสเตรีย, เซอร์เบีย, ตุรกี
7 ฮังการี, โปแลนด์, ยูเครน
6 อิตาลี
5 อาเซอร์ไบจาน, เบลารุส, โครเอเชีย, คาซัคสถาน, โรมาเนีย, มาซิโดเนีย, สโลวาเกีย, สเปน (รวม Ceuta และ Melilla), สวิสเซอร์แลนด์
4 อัลเบเนีย, อาร์มีเนีย, บัลแกเรีย, เช็กเกีย, จอร์เจีย, กรีซ, คอซอวอ, ลัตเวีย, ลิทัวเนีย, มอนเตเนโกร, สโลวีเนีย
3 ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, ฟินแลนด์, เนเธอร์แลนด์ (รวม Sint Maarten), นอร์เวย์, ลักเซมเบิร์ก
2 อันดอร์รา, เอสโตเนีย, ลีชเทินชไตน์, มอลโดวา, สวีเดน
1 เดนมาร์ก, ไอร์แลนด์, โมนาโก, โปรตุเกส, ซานมารีโน, สหราชอาณาจักร, วาติกัน
0 ไอซ์แลนด์, ไซปรัส, มอลตา

อ้างอิง

แก้
  1. Language facts – European day of languages ("ข้อเท็จจริงเรื่องภาษา - วันภาษาแห่งยุโรป"), Council of Europe. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2559
  2. See Robinson, Allan Richard and Paola Malanotte-Rizzoli, Ocean Processes in Climate Dynamics: Global and Mediterranean Examples. Springer, 1994, p. 307, ISBN 0-7923-2624-5.
  3. Europe:Physical Geography เก็บถาวร 2012-09-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน National Geographic - Education
  4. Peoples of Africa. Marshall Cavendish. 2000. ISBN 9780761471585.