ซาร์ดิเนีย (อังกฤษ: Sardinia), ซาร์เดญญา (อิตาลี: Sardegna) หรือ ซาร์ดิญญา (ซาร์ดิเนีย: Sardìgna) เป็นหนึ่งในยี่สิบแคว้นและหนึ่งในห้าแคว้นปกครองตนเองของประเทศอิตาลี เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (อันดับหนึ่งคือเกาะซิซิลี) มีพื้นที่ 24,090 ตารางกิโลเมตร (9,301 ตารางไมล์) มีแผ่นดินที่อยู่ใกล้ที่สุดได้แก่ (เรียงจากทิศเหนือตามเข็มนาฬิกา) เกาะคอร์ซิกาของประเทศฝรั่งเศส คาบสมุทรอิตาลี ประเทศตูนิเซีย และหมู่เกาะแบลีแอริกของประเทศสเปน แคว้นซาร์ดิเนียเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอิตาลีและเป็นพื้นที่ปกครองตนเองตามรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐอิตาลี ที่มาของชื่อแคว้นนั้นยังไม่ทราบแน่นอน บางทีอาจมาจากชื่อเรียกของชนเผ่าท้องถิ่นที่เรียกท้องที่นั้นว่า ซาร์ดี

แคว้นปกครองตนเองซาร์ดิเนีย

Regione autonoma della Sardegna
ธงของแคว้นปกครองตนเองซาร์ดิเนีย
ธง
ตราราชการของแคว้นปกครองตนเองซาร์ดิเนีย
ตราอาร์ม
แผนที่ประเทศอิตาลีแสดงที่ตั้งของแคว้นปกครองตนเองซาร์ดิเนีย
แผนที่ประเทศอิตาลีแสดงที่ตั้งของแคว้นปกครองตนเองซาร์ดิเนีย
ประเทศอิตาลี
เมืองหลักคัลยารี
การปกครอง
 • ประธานแคว้นฟรันเชสโค ปิลยารู
พื้นที่
 • ทั้งหมด24,090 ตร.กม. (9,300 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (มิถุนายน 2557)
 • ทั้งหมด1,656,003 คน
 • ความหนาแน่น69 คน/ตร.กม. (180 คน/ตร.ไมล์)
ความเป็นพลเมือง[1]
 • อิตาลีร้อยละ 97
เขตเวลาUTC+1 (เวลายุโรปกลาง)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (เวลาออมแสงยุโรปกลาง)
จีดีพี (ตัวเงิน)33.6[2] พันล้านยูโร (2554)
จีดีพี (อำนาจซื้อ)20,071[2] ยูโร (2554)
เว็บไซต์www.regione.sardegna.it

ภูมิศาสตร์

แก้

แคว้นซาร์ดิเนียเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ครอบคลุมพื้นที่ 23,821 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 38° 51' เหนือ ถึง 41° 15' เหนือ และลองจิจูดที่ 8° 8' ตะวันออกถึง 9° 50' ตะวันออก ชายฝั่งของเกาะซาร์ดิเนียมีความยาวทั้งสิ้น 1,849 กิโลเมตร ส่วนใหญ่จะเป็นที่สูงและโขดหิน

อ้างอิง

แก้
  1. "Statistiche demografiche ISTAT 2011" (PDF). Demo.istat.it. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-03-13. สืบค้นเมื่อ 4 December 2012.
  2. 2.0 2.1 http://www.bancaditalia.it/pubblicazioni/econo/ecore/2013/analisi_s-r/1321_sardegna/1321_sardegna.pdf เก็บถาวร 2013-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Banca D'Italia, Economie regionali – Istat datas – page 55

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้