การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2552
การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2552 เป็นการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลอีก 5 คน โดยการอภิปรายไม่ไว้วางใจจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 มีนาคม และ 20 มีนาคม พ.ศ. 2552 ส่วนการลงมติจัดขึ้นในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2552
ผู้อภิปรายจากพรรคเพื่อไทย
แก้ลำดับ | รายนาม | ตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง | ส.ส.สัดส่วน |
2 | นายจตุพร พรหมพันธุ์ | ส.ส.สัดส่วน |
3 | นายสุนัย จุลพงศธร | ส.ส.สัดส่วน |
4 | ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ | ส.ส.สัดส่วน |
5 | นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ | ส.ส.สัดส่วน |
6 | นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล | ส.ส.เชียงใหม่ |
7 | นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง | ส.ส.ฉะเชิงเทรา |
8 | นางฐิติมา ฉายแสง | ส.ส.ฉะเชิงเทรา |
9 | น.ส.วิสาระดี เตชะธีราวัฒน์ | ส.ส.เชียงราย |
10 | นายสุชาติ ลายน้ำเงิน | ส.ส.ลพบุรี |
11 | นายประชา ประสพดี | ส.ส.สมุทรปราการ |
12 | นายธเนศ เครือรัตน์ | ส.ส.ศรีสะเกษ |
13 | นายสมคิด บาลไธสง | ส.ส.หนองคาย |
14 | นายประเสริฐ จันทรรวงทอง | ส.ส.นครราชสีมา |
15 | นายสถาพร มณีรัตน์ | ส.ส.ลำพูน |
16 | น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ | ส.ส.กรุงเทพมหานคร |
17 | นายไพจิต ศรีวรขาน | ส.ส.นครพนม |
18 | นายคมเดช ไชยศิวามงคล | ส.ส.กาฬสินธุ์ |
19 | นายประเสริฐ ชัยกิจเด่นนภาลัย | ส.ส.สมุทรปราการ |
20 | นายสันติ พร้อมพัฒน์ | ส.ส.สัดส่วน |
21 | นายสมพล เกยุราพันธุ์ | ส.ส.สัดส่วน |
22 | นายนิคม เชาว์กิตติโสภณ | ส.ส.สัดส่วน |
23 | นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล | ส.ส.แพร่ |
24 | นายประเกียรติ นาสิมมา | ส.ส.สัดส่วน |
รัฐมนตรีที่ถูกอภิปราย
แก้ลำดับ | รายนาม | ตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ | นายกรัฐมนตรี |
2 | นายกรณ์ จาติกวณิช | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง |
3 | นายกษิต ภิรมย์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ |
4 | นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย |
5 | นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ | รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง |
6 | นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ | รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย |
การยื่นญัตติขอเปิดการอภิปราย
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การอภิปราย
แก้19 มีนาคม
แก้ร.ต.อ.ดร.เฉลิม อยู่บำรุง ประธาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย เป็นผู้ขึ้นเปิดอภิปรายเป็นคนแรก โดยอภิปรายไม่ไว้วางใจนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในกรณีการปกปิด ซ่อนเร้น ไม่เปิดเผยการรับเงินสนับสนุนพรรคการเมือง ในการรายงานงบดุลต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งเส้นทางของเงินดังกล่าวเป็นเงินที่รับจากบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) แล้วทำนิติกรรมอำพรางผ่านบริษัท เมซไซอะ ซึ่งถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.พรรคการเมือง[2]
ทั้งนี้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงว่าขณะนั้นตนดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และหลังได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรค ตนก็มีหน้าที่ 2 อย่างคือ การแจ้งเงินบริจาคเข้าสู่พรรคการเมืองให้ กกต.รับทราบ และการรับรองงบดุล 2547 ที่ต้องเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ของพรรคและได้ส่งรายงานงบดุลอย่างครบถ้วน
ต่อมา นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้ชี้แจงในเรื่องนี้ว่าการว่าจ้างบริษัท เมซไซอะนั้น มีเอกสารงบดุลและใบเสร็จหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ กกต.ได้ตรวจสอบและอนุมัติรายการงบดุลดังกล่าวแล้ว
ซึ่งในช่วงท้ายนายประดิษฐ์ประกาศว่าหากตนเข้าไปเกี่ยวข้องกับความไม่โปร่งใสดังที่ผู้อภิปรายนำมากล่าวจริง จะขอเอาตำแหน่งเป็นประกันและจะเลิกเล่นการเมืองโดยไม่ต้องให้ถึงชั้นศาลฎีกา
ต่อมา นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย กล่าวหานายอภิสิทธิ์ว่าไม่ได้รับการเกณฑ์ทหาร แต่กลับสามารถสมัครรับราชการที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าได้ โดยอาจมีการสร้างหลักฐานเท็จขึ้นว่าได้เป็นทหารกองเกิน
นายอภิสิทธิ์ได้ชี้แจงในประเด็นนี้ว่าตนได้รับการผ่อนผันตามระเบียบ อีกทั้งยังได้แสดงหลักฐานเป็นใบ สด.9 ที่ระบุวันที่บรรจุเป็นทหารกองเกิน[3]
ต่อมา นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ได้อภิปราย นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในประเด็นส่งเอสเอ็มเอส เพื่อขอบคุณประชาชน หลังนายอภิสิทธิ์เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยฝ่ายค้านเห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล อีกทั้งเป็นการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อประโยชน์แก่ตัวเอง
ทั้งนี้ทั้งนายกรณ์ และนายอภิสิทธิ์ได้ขึ้นชี้แจงในประเด็นดังกล่าวไปในทางเดียวกันว่า การส่งเอสเอ็มเอส ดังกล่าวนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ อีกทั้งรัฐไม่ได้เสียงบประมาณใดๆ เนื่องจากเป็นการขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการเอกชน ส่วนที่ว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลนั้น นายกรณ์กล่าวว่าเป็นการส่งเฉพาะเบอร์โทรศัพท์ในเครือข่าย ไม่ได้มีข้อมูลส่วนบุคคลว่าเป็นเบอร์ของใคร[4]
นอกจากนี้ ส.ส.ฝ่ายค้านยังได้อภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรณ์ในประเด็นการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ เช่น การกู้เงินจากต่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ นโยบายเช็คช่วยชาติ ว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการรายใหญ่เท่านั้น อีกทั้งการการเปิดให้ธนาคารกรุงเทพ ซึ่งเป็นธนาคารเอกชนเป็นผู้รับผิดชอบการเบิกจ่ายเช็ค 2 พันบาทแทนที่จะเป็นธนาคารของรัฐนั้น ฝ่ายค้านเห็นว่า อาจมีการเอื้อประโยชน์ให้แก่พวกพ้องของรัฐบาล
นายกรณ์กล่าวชี้แจงว่าสาเหตุที่เลือกธนาคารกรุงเทพให้เป็นผู้ออกเช็ค เนื่องจากเสนอราคาต่ำสุดคือ 2 บาทต่อฉบับ นอกจากนี้ ยืนยันว่าธนาคารกรุงเทพคงไม่สามารถนำเม็ดเงินไปลงทุนล่วงหน้าตามที่ฝ่ายค้านเข้าใจได้ เนื่องจากเงินที่กรมบัญชีกลางจะโอนเข้าไปให้กับธนาคารกรุงเทพ จำนวน 19,400 ล้านบาท จะอยู่ถึงประมาณเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 เท่านั้น
ทางด้านนายอภิสิทธิ์ก็ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่ารัฐบาลต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ จำเป็นต้องใช้เงิน ซึ่งวิธีหาเงินได้แก่ เก็บภาษี และการกู้ ซึ่งในสถานการณ์เช่นนี้การกู้เงินถือเป็นเรื่องปกติที่ทุกประเทศทำกัน
ส่วนมาตรการเรื่องเงิน 2,000 บาทนั้น ก็เป็นการนำเงินไปช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยที่มีเงินเดือนประจำ ส่วนการช่วยเหลือภาคอื่นๆนั้นรัฐบาลก็ได้ดำเนินการช่วยเหลือเช่นกัน เช่น การแทรกแซงราคาพืชผลการเกษตร การรับจำนำพืชหลัก โครงการชุมชนพอเพียง รวมถึงการแก้ไขหนี้กองทุนฟื้นฟู
20 มีนาคม
แก้นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ถูกฝ่ายค้านอภิปรายในเรื่องพฤติกรรมส่วนตัวในอดีต โดยเฉพาะในประเด็นการร่วมชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรฯ[5] และการปิดการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รวมถึงการทำลายความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยและกัมพูชา ด้วยการใช้คำพูดไม่เหมาะสมต่อนายกรัฐมนตรีกัมพูชา อีกทั้งยังปล่อยให้กัมพูชาสร้างถนนในพื้นที่ซับซ้อน ซึ่งขัดต่อบันทึกความร่วมมือและข้อตกลงร่วมไทย-กัมพูชา พ.ศ. 2543 โดยฝ่ายค้านเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีปลดนายกษิตออกจากตำแหน่ง
ต่อมานายกษิตได้ขึ้นชี้แจงว่าไม่ได้เป็นแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯและไม่เคยไปร่วมประชุมวางแผนใดๆ เพียงแต่ได้เคลื่อนไหวต่อต้านระบอบทักษิณทั้งในทางลับและทางแจ้งเท่านั้น[6]
นายกษิตยังได้กล่าวถึงกรณีที่เคยประณามสมเด็จ ฮุน เซนว่า ทำไปด้วยความรักชาติ และต้องการปกป้องอธิปไตยของประเทศ ซึ่งในช่วงแรกสมเด็จ ฮุน เซนอาจได้รับข้อมูลที่ผิดพลาด ทำให้การตัดสินใจผิดพลาด
นอกจากนี้นายอภิสิทธิ์ยังได้ชี้แจงในส่วนที่เกี่ยวกับปราสาทพระวิหารว่าตามคำตัดสินของศาลโลกนั้นปราสาทพระวิหารเป็นดินแดนของกัมพูชา แต่ไม่ได้ครอบคลุมดินแดนรอบๆปราสาท ตอนนี้มีการละเมิดข้อตกลง มีการเข้าไปปรับเปลี่ยนสภาพพื้นที่ การสร้างถนน ฝ่ายไทยได้ประท้วงและได้ดำเนินการในหลายระดับ ซึ่งเห็นว่าการใช้วิธีเจรจาไปเรื่อยๆ ดีกว่าล้มโต๊ะเจรจาแล้วปะทะกัน
ส่วนเรื่องที่นายกษิตไปขึ้นเวทีพันธมิตรฯนั้น นายอภิสิทธิ์เห็นว่านายกษิตเป็นเพียงวิทยากรรับเชิญเท่านั้น และเหตุผลที่ให้นายกษิตมาดำรง รมว.ต่างประเทศ เนื่องจากที่ผ่านมานายกษิตทำงานกับพรรคและงานด้านต่างประเทศจริง เมื่อมาดำรงตำแหน่งตรงนี้ต้องปฏิบัติตามแนวทางของรัฐบาล และเมื่อเวลาผ่านมาก็ยึดตามนโยบายของรัฐ
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ถูกอภิปรายในกรณีในการแต่งตั้งบุคคลสู่ตำแหน่งโดยเอื้อต่อพวกพ้องคนใกล้ชิด เช่น การโยกย้ายปลัดกระทรวงมหาดไทยและข้าราชการผู้ว่าอีก 28 ตำแหน่ง รวมถึงการแต่งตั้งบอร์ดรัฐวิสาหกิจในกระทรวงมหาดไทย คกก.บอร์ดการประปานครหลวง
รวมถึงยังปรากฏพฤติกรรมส่อไปในการทุจริต กรณีการจัดซื้อผ้าห่มให้กับผู้ประสบภัยหนาว เช่น มีการเพิ่มเพดานจัดซื้อผ้าห่มจังหวัดละ และมีการกำหนดสเปกผ้าห่ม
นอกจากนี้ยังกล่าวถึงกางเต็นท์รับสมัครสมาชิกพรรคการเมืองและแจกเสื้อที่มีสัญลักษณ์พรรคภูมิใจไทย เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ที่ อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งถือเป็นการทำ ผิด พ.ร.บ.พรรคการเมือง มาตรา 22
หลังจากฝ่ายค้านอภิปรายจบ นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ลุกขึ้นชี้แจงการบริหารงานในกระทรวงมหาดไทยทั้งของตนเองและของนายชวรัตน์อย่างรวดเร็ว เนื่องจากเวลากระชั้นชิด โดยกล่าวว่าการโยกย้ายข้าราชการระดับปลัดกระทรวงและผู้ว่าฯ สามารถทำได้โดยไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญเนื่องจากเป็นการบริหารราชการแผ่นดิน และได้ปฏิเสธว่าไม่มีการตั้งโต๊ะรับสมัครสมาชิกพรรคที่อำเภอวังสามหมอแต่อย่างใด ส่วนการแจกเสื้อนั้นก็เป็นเสื้อสีน้ำเงินที่ทำขึ้นเพื่อปลุกจิตสำนึกให้คนไทยยุติความแตกแยกและร่วมกันปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์เท่านั้น[7]
หลังจากนั้น ร.ต.อ.ดร.เฉลิมได้ขึ้นกล่าวสรุปการอภิปรายเป็นเวลา 2 วันที่ผ่านมา
ผลการลงมติ
แก้รายนามรัฐมนตรี | ไว้วางใจ | ไม่ไว้วางใจ | งดออกเสียง | ไม่ลงคะแนน | ผู้เข้าร่วมประชุม |
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ | 246 | 176 | 12 | 15 | 449 |
นายกรณ์ จาติกวณิช | 246 | 174 | 12 | 15 | 447 |
นายกษิต ภิรมย์ | 237 | 184 | 12 | 13 | 447 |
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล | 246 | 167 | 20 | 14 | 446 |
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ | 246 | 174 | 12 | 15 | 447 |
นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ | 246 | 168 | 18 | 15 | 447 |
อ้างอิง
แก้- ↑ พท.สรุปซักฟอกอภิสิทธิ์-กรณ์- กษิต -ประดิษฐ์-บุญจง-ชวรัตน์[ลิงก์เสีย]
- ↑ ""เฉลิม"โชว์หลักฐาน"เมซไซอะ"อัด "มาร์ค-ประดิษฐ์" แฉเช็ค27ฉบับจ่าย23ล้าน บริจาคเข้าปชป. ผิดถึงยุบพรรค". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-24. สืบค้นเมื่อ 2009-05-02.
- ↑ นายกฯ-จตุพรโต้หนีทหาร-หลักฐานสมัครจปร.[ลิงก์เสีย]
- ↑ สุรพงษ์ กล่าวหา มาร์ค-กรณ์ โต้ส่งเอสเอ็มเอสรับตำแหน่งนายกฯ
- ↑ ""วิสาระดี"อภิปราย"กษิต" กล่าวหาได้ตำแหน่งเพราะพันธมิตรฯ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-12. สืบค้นเมื่อ 2009-05-02.
- ↑ กษิตโต้ข้อหาแกนนำพันธมิตรฯ แค่ร่วมต้านระบอบทักษิณในอุดมการณ์ตรงกัน
- ↑ อีสานพัฒนาดาหน้าถล่มชวรัตน์-บุญจง[ลิงก์เสีย]
- ↑ ลงมติไม่ไว้วางใจ รัฐบาลผ่านฉลุย “กษิต” สะดุดเสียงไว้วางใจน้อยที่สุด ทางด้าน พท. งูเห่าโผล่อีก
ก่อนหน้า | การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2552 | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2551 | การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย |
การอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย พ.ศ. 2553 |