ทีวี 24 (อังกฤษ: TV 24) หรือ เอเชียอัปเดต เป็นสถานีโทรทัศน์ทางอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ในอดีตเป็นสถานีโทรทัศน์ข่าวผ่านดาวเทียม อยู่ภายใต้ดำเนินการบริหารงานของ บริษัท เดโมเครซี นิวส์ เน็ตเวิร์ก จำกัด (อังกฤษ: Democracy News Network Co.,Ltd.) จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ด้วยทุนประเดิมมูลค่า 5 ล้านบาท และมีจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ อดีตปลัดกระทรวงแรงงาน และอดีตประธานกรรมการ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และ วิมล จันทร์จิราวุฒิกุล อดีตคณะทำงานเชิงวิชาการและนโยบาย พรรคพลังประชาชน ร่วมเป็นกรรมการบริษัท เพื่อรองรับการออกอากาศ ช่องโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ร่วมกับพรรคเพื่อไทย เป็นการทดแทน กรณีมีคำสั่งระงับการออกอากาศ สถานีประชาชน

ทีวี 24
ตราสัญลักษณ์ของ 24ทีวี
ประเทศไทย ไทย
พื้นที่แพร่ภาพไทย ประเทศไทย
เครือข่ายสถานีโทรทัศน์ผ่านอินเทอร์เน็ต
คำขวัญทีวี 24 สถานีประชาชน
สำนักงานใหญ่2539 อาคารบิ๊กซีลาดพร้าว ชั้น 5
ถนนลาดพร้าว แขวงคลองเจ้าคุณสิงห์
เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร
แบบรายการ
ระบบภาพ16:9
ความเป็นเจ้าของ
เจ้าของบริษัท เดโมเครซี นิวส์ เน็ตเวิร์ก จำกัด
บุคลากรหลักวรุธ ทัฬหสุคนธ์
ช่องรองเอสซีทีวี
เอสโอทีวี
ประวัติ
เริ่มออกอากาศ5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
(ในชื่อ เอเชียอัปเดต)
4 กันยายน พ.ศ. 2557
(ในชื่อ ทีวี 24)
1 มกราคม พ.ศ. 2563
(ในชื่อ เอเชียอัปเดต)
ยุติออกอากาศ30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
(7 ปี 329 วัน) (3 ปี 268 วัน) (ไปดำเนินการในรูปแบบข่าวออนไลน์ทางเว็บไซด์ต่าง ๆ)
ลิงก์
เว็บไซต์ทีวี24
ออกอากาศ
ทีวีดาวเทียม
พีเอสไอช่อง 216
จีเอ็มเอ็มแซตช่อง 245
คิวแซตช่อง 82
ไอเดียแซตช่อง 192
อินโฟแซต
ลีโอเทค
ช่อง 196
สามารถช่อง 56

โดยช่วงก่อนเหตุสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 รัฐบาลอภิสิทธิ์สั่งระงับการออกอากาศสถานีประชาชน หลังจากนั้น บริษัทฯ ก็เตรียมการมาระยะหนึ่ง เมื่อถึงเดือนมิถุนายน จึงสามารถเริ่มทดลองแพร่ภาพ ระหว่างเวลา 19:00-20:00 น. และออกอากาศเต็มรูปแบบ ตลอด 24 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม ปีเดียวกัน โดยใช้ชื่อว่า เอเชียอัปเดต (อังกฤษ: Asia Update) และใช้ห้องส่งกับสำนักงานแห่งเดิม ของสถานีประชาชน ซึ่งตั้งอยู่บนชั้น 5 ของอาคารอิมพีเรียลเวิลด์ลาดพร้าว ที่ยังคงใช้มาถึงยุคทีวี 24 ในปัจจุบัน ทั้งนี้ ผังรายการแบ่งเป็น ช่วงเวลา 16:00-21:30 น. จะนำเสนอรายการเป็นครั้งแรก (first-run) หลังจากนั้นจะเป็นรายการที่ออกอากาศซ้ำ (re-run) ต่อมาตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม เอเชียอัปเดตจึงเริ่มแพร่ภาพรายการสดเป็นครั้งแรกคือ ข่าวค่ำดีเอ็นเอ็น โดยมีพัชยา มหัทธโนธรรม และนพวรรณ ดุจศรีวัชร์ เป็นผู้ประกาศคู่แรก

จนกระทั่งมีการประกาศใช้กฎอัยการศึก เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดยมีคำสั่งตามมา ให้เอเชียอัปเดตระงับการออกอากาศ และอีกสองวันถัดมา (22 พฤษภาคม) มีการก่อรัฐประหารอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคณะรัฐประหารออกคำสั่งฉบับที่ 15 ให้ช่องโทรทัศน์ระงับการออกอากาศ รวมถึงเอเชียอัปเดตด้วย ต่อมาคณะรัฐประหาร จึงประกาศให้ผู้ประกอบการ มาขอใบอนุญาตดำเนินงานต่อไปได้ บจก.เดโมเครซีนิวส์เน็ตเวิร์ก จึงเปลี่ยนชื่อช่องใหม่เป็น โอเพ่นทีวี (อังกฤษ: Open TV) [1] ) ก่อนจะมาเป็นชื่อ ทีวี 24 เมื่อเริ่มออกอากาศจริงในวันที่ 4 กันยายน ปีเดียวกัน โดยเริ่มออกอากาศข่าวภาคเที่ยง นิวส์รูม 12:00 และมีเกศศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ เป็นผู้ประกาศ

ในช่วงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2558 ทีวี 24 ได้ดำเนินการปรับอัตราส่วนจอที่ออกอากาศจาก 4:3 ซึ่งใช้มาตั้งแต่เมื่อครั้งเอเชียอัปเดต เป็น 16:9 โดยปรับในส่วนของแถบอักษรข่าววิ่งและแถบข้อความสั้นที่ผู้ชมส่งเข้ามา

ทีวี 24 ปิดตัวลงเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 แต่ยังคงดำเนินการในรูปแบบหนังสือพิมพ์ออนไลน์และสถานีโทรทัศน์ผ่านอินเทอร์เน็ตออกอากาศทางยูทูบโดยมีบุคลากรบางส่วนยังคงปฏิบัติงาน แต่ อีกส่วนหนึ่งได้ย้ายไปร่วมงานกับสถานีอื่นๆหรือแยกไปจัดทำรายการโทรทัศน์ออนไลน์อื่นๆ ในปี พ.ศ. 2563 สำนักข่าวออนไลน์ที่ออกอากาศทางยูทูบ ของ ทีวี 24 ได้เปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น เอเชียอัปเดต ส่วน หนังสือพิมพ์ออนไลน์ยังคงใช้ชื่อ ทีวี 24 ดังเดิม[2] ในปี พ.ศ. 2564 เว็บไซด์หนังสือพิมพ์ออนไลน์ทีวี 24 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นโพลิติก้า[3] ส่วนที่ทำการ ณ ชั้น 5 อาคารบิ๊กซีลาดพร้าว ได้เปิดให้เป็นสตูดิโอให้เช่าสำหรับผลิตรายการต่างๆ รวมถึงให้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดย การกีฬาแห่งประเทศไทย เช่าใช้เป็นห้องส่งให้กับสถานีโทรทัศน์ทีสปอร์ต (ตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2562 จนกระทั่งสถานีดังกล่าวได้รับใบอนุญาตโทรทัศน์ระบบดิจิทัลช่องบริการสาธารณะในปี พ.ศ. 2564 จึงได้ย้ายห้องส่งออกไป) ในปี พ.ศ. 2565 เฟซบุ๊กของเอเชียอัปเดต ได้ปิดตัวลง ส่วนสถานีโทรทัศน์ออนไลน์ที่ออกอากาศทางยูทูบได้เปลี่ยนชื่อเป็นเอสโอทีวี และ เรดทีวี และ ต่อมา พ.ศ. 2566 สถานีโทรทัศน์ออนไลน์ที่ออกอากาศทางยูทูบช่องเรดทีวี ได้เปลี่ยนกลับมาเป็น ทีวี 24 อีกครั้ง ส่วน เอสโอทีวีได้มีการคงช่องนี้ไว้เป็นช่องสถานีโทรทัศน์ออนไลน์สำรองของทีวี24

รูปแบบรายการ แก้

รูปแบบรายการระยะแรก จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับต่างประเทศเป็นหลักประมาณร้อยละ 40 เรื่องการเมืองในประเทศ ประมาณร้อยละ 25 ส่วนรายการบันเทิงปกิณกะ และรายการที่เปิดให้เช่าเวลา ประมาณร้อยละ 35 สำหรับรายการเชิงการเมือง มีพิธีกรประกอบด้วย หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล นักวิเคราะห์อิสระทางการเมืองและเศรษฐกิจทั่วโลก, ศุภรัตน์ นาคบุญนำ อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, จิรายุ ห่วงทรัพย์ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย, การุณ โหสกุล และนาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร โดยอีกส่วนหนึ่ง เป็นผู้ดำเนินรายการชุดเดิมจากสถานีประชาชน ซึ่งในระยะต่อมา ก็ขยายเป็นรายการเชิงการเมืองเกือบทั้งหมด ร่วมด้วยรายการปกิณกะและสาระบันเทิงในอีกบางส่วน

รายการยุคเอเชียอัปเดต แก้

  • ประชาชนข่าว (ข่าวภาคเช้า)
  • คุยกันวันละประเด็น
  • บ้านเมืองของเรา
  • ข่าวเที่ยง ดีเอ็นเอ็น
  • แถลงข่าว นปช.แดงทั้งแผ่นดิน (ถ่ายทอดพร้อมกับยูดีดีทีวี)
  • แถลงข่าว ถลกหนังเทือก (ถ่ายทอดพร้อมกับยูดีดีทีวี)
  • เฉพาะกิจเกาะติดกบฏ
  • ข่าวค่ำ ดีเอ็นเอ็น
  • เกาะติดสถานการณ์บ้านเมือง
  • เกาะติดสถานการณ์ ฮอตนิวส์
  • เรด 24 นิวส์ (ข่าวภาคดึก)
  • เสียงประชาชนคนไทย
  • ประชาคมเสื้อแดง
  • ดับเครื่องชน
  • ลูกทุ่งการเมือง
  • Asiaupdate News
  • เมาท์มัน
  • ข่าวแข็งข้อ

รายการยุคทีวี 24 แก้

  • คมข่าว (เที่ยง,ค่ำ)
  • โอทอป ไทยแลนด์
  • เอสเอ็มอี มือโปร
  • วันนี้ที่ปักษ์ใต้
  • สัปดาห์นี้มีอะไร
  • คิดเพื่อไทย
  • เวทีทรรศน์
  • ที่นี่สระบุรี
  • สงครามเศรษฐกิจ
  • คนรักสิ่งแวดล้อม
  • คุยกับลุงไพร
  • RECODING THE TRUTH ถอดสลักความจริง
  • ตรงไปตรงมา
  • ลูกทุ่งการเมือง

ในอดีต แก้

  • นิวส์รูม (12:00 น. และ 18:30 น.)
  • อะเวคเคนด์ (Awakened)
  • ลิฟวิงไทยแลนด์ (Living Thailand)
  • ดิเอ็กซ์คลูซีฟ (The Exclusive)
  • เฮลธ์คลับวาไรตี (Health Club Variety)
  • กริชชีวิตกลับด้าน
  • เคลียร์ทุกประเด็น (The Clear)
  • ที่นี่ความจริง รีเทิร์น
  • ผะหยาภาษิตสะกิดใจ
  • ตู้ ป.ณ. 24
  • คนรู้จริง
  • รามสูร
  • ศึกมวยไทยใจเกินร้อย
  • 24 นิวส์ (ข่าวภาคดึก,เปลี่ยนชื่อมาจาก เรด 24 นิวส์)
  • ศึกมวยดีสระบุรี

เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับสถานีฯ แก้

มติ กสท. ให้ระงับออกอากาศ 7 วัน แก้

ต่อมาเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ลงมติให้ระงับการออกอากาศช่อง ทีวี 24 เป็นเวลา 7 วัน เนื่องจากมีเนื้อหาในบางรายการ ซึ่งขัดต่อประกาศคณะรัฐประหาร ฉบับที่ 97/2557 และฉบับที่ 103/2557[4] โดยให้มีผลนับตั้งแต่ที่สถานีได้รับหนังสือเตือนจากทาง กสท. โดยสถานีได้รับหนังสือเตือนเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558[5] โดยเริ่มหยุดการออกอากาศตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน เวลา 00:00 น.เป็นต้นไป ซึ่งก่อนเที่ยงคืนของวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2558 ทางช่องออกอากาศข่าวภาคดึก (24 News) เป็นรายการสุดท้าย จากนั้นแพร่ภาพคำอวยพร จากคณะผู้ดำเนินรายการ ทีวี 24 เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ ต่อด้วยมิวสิกวิดีโอ เพลงลำล่อง "หัวอกพ่อแม่" และอัตลักษณ์ของช่อง จนกระทั่งเวลาประมาณ 23:30 น. จึงเปลี่ยนเป็นภาพกราฟิกแสดงข้อความ แจ้งระงับการออกอากาศ ไว้บนหน้าจอโทรทัศน์ โดยมีนาฬิกาที่มุมจอซ้ายบน ลักษณะเดียวกับการออกอากาศตามปกติ จนถึงเวลาประมาณ 00:00 น. จึงเปลี่ยนอีกครั้ง เป็นภาพทดสอบแถบสี กลางจอมีแถบสีดำแสดงข้อความ "THAICOM SD1" พร้อมทั้งแสดงเวลากำกับใต้ข้อความ

จนกระทั่งวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2558 หนึ่งวันก่อนกำหนดการระงับการออกอากาศ 7 วัน จะสิ้นสุด สถานีฯ ได้นำเทปบันทึกภาพการแสดงคอนเสิรฺ์ตของ เสก โลโซ มาออกอากาศเพื่อทดลองระบบออกอากาศสดผ่านอินเทอร์เน็ตโดยตรงผ่านเว็บไซต์ของสถานี ในช่วงเวลาประมาณ 21:00 น. ส่วนผู้ที่รับชมผ่านดาวเทียม ยังคงปรากฏภาพทดสอบตามปกติ

เมื่อถึงเวลา 00:01 น. ของวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2558 เสียงบิปที่ดังตลอดต่อเนื่องมา 7 วันก็เงียบลง พร้อมกับเปลี่ยนภาพเข้าสู่ภาพกราฟิกแสดงข้อความ แจ้งการกลับมาออกอากาศอีกครั้ง โดยมีข้อความลักษณะเดียวกับภาพทดสอบของไทยพีบีเอส โดยมีนาฬิกาที่มุมจอซ้ายบน ลักษณะเดียวกับการออกอากาศตามปกติ และต่อจากนั้น เริ่มออกอากาศอัตลักษณ์ของช่อง ต่อด้วยมิวสิกวีดีโอต่างๆ เริ่มจากเพลง "คิดถึงจัง" ของ อริสมันต์ พงษ์เรืองรอง ต่อจากนั้นเวลาประมาณ 00:20 น. ออกอากาศภาพยนตร์แอนิเมชัน "ตาดูดาว เท้าติดดิน" จนถึงเวลาประมาณ 03:26 น. จึงเริ่มนำเทปรายการเก่ามาแยซ้ำ ซึ่งมีการแสดงนาฬิกา อัตลักษณ์ของสถานี และแถบอักษรข่าววิ่งเช่นเดียวกับการออกอากาศตามปกติ จนกระทั่งถึงเวลา 06:00 น. จึงเข้าสู่รายการตามผังปกติ จนถึงเวลา 08:00 เริ่มเคารพธงชาติ ต่อจากนั้นจึงเริ่มออกอากาศรายการสดรายการแรกคือรายการ "รามสูร" โดยมีผู้ดำเนินรายการคือ อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด และวิทยากรประจำรายการ คือ พายัพ ปั้นเกตุ และ ขนิษฐา รัฐกาญจน์

สัญญาณขัดข้อง แก้

เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2560 เวลา 20.55 ในระหว่างการออกอากาศรายการ คิดเพื่อไทย ซึ่งเชิญนาย เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ในประเด็นการเก็บภาษีหุ้นชินคอร์เปอเรชัน ได้ปรากฏภาพหน้าจอของโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ซึ่งส่งผลให้ผู้ที่รับชมช่อง TV24 เข้าใจผิดว่ามีการถ่ายทอดสดจากทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจฯ ทั้งๆที่ช่องอื่นๆ ยังคงเสนอรายการตามปกติ จนกระทั่งเวลา 21.02 น.สัญญาณจึงกลับเข้าสู่รายการปกติ

กสทช. พักใช้ใบอนุญาตครั้งที่ 2 แก้

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ในคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีคำสั่งให้ระงับการออกอากาศช่อง ทีวี 24 เป็นเวลา 30 วัน เนื่องจากมีเนื้อหาในบางรายการ ซึ่งขัดต่อเงื่อนไขการอนุญาตประกอบกิจการ[6] โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ซึ่งก่อนเที่ยงคืนของวันที่ 23 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน ทางช่องออกอากาศเทปบันทึกภาพรายการคมข่าวค่ำ 18:30 น. เป็นรายการสุดท้าย จากนั้นแพร่ภาพสปอตโฆษณาต่างๆ ของทางสถานีจนกระทั่งเวลาประมาณ 23:30 น. จึงเปลี่ยนเป็นภาพกราฟิกแสดงข้อความ แจ้งระงับการออกอากาศ ไว้บนหน้าจอโทรทัศน์ จนถึงเวลาประมาณ 00:04 น. เริ่มต้นการออกอากาศภาคออนไลน์ของทีวี 24 โดยรายการแรก คือ รายการ MANCATION โดยเป็นการออกอากาศรายการต่างๆ ของสถานีตามผังปกติ เพียงแต่ไม่มีการออกอากาศของรายการข่าว เนื่องจากหลังจากคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตมีผล สถานีฯได้ให้พนักงานทั้งหมดหยุดการทำงานชั่วคราว ยกเว้นกองบรรณาธิการสื่อสังคมออนไลน์ ที่ยังคงเสนอข่าวสารตามปกติ โดยรายการข่าวจะกลับมาออกอากาศในภาคออนไลน์ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2560 [7]

ทั้งนี้ สถานีได้กลับมาออกอากาศรายการข่าวอีกครั้งในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เวลา 12:00 น. โดยเริ่มด้วยรายการคมข่าวเที่ยง โดยผู้ประกาศในวันนั้น คือ นพวรรณ ดุจศรีวัชร์ และ ประสิทธิ์ชัย คำบาง ซึ่งก็ได้ทดลองนำเสนอข่าวในรูปแบบใหม่สองครั้ง จนกระทั่งในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เวลา 00:01 น. ทีวี 24 ได้กลับมาออกอากาศอีกครั้งในทุกช่องทาง ซึ่งเลื่อนมาจากกำหนดเดิมหลังจากคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตสิ้นสุดลง เพื่อให้เวลาสถานีฯได้เตรียมการออกอากาศให้เรียบร้อย โดยเริ่มจากไอเดนท์สถานี โฆษณาของสถานี และไอเดนท์พิเศษเนื่องในวันคริสต์มาส ก่อนจะเริ่มรายการแรก เป็นรายการฉายซ้ำ คือรายการ เพื่อชุมชน รวมระยะเวลาพักใช้ใบอนุญาต 4 สัปดาห์ 3 วัน

ผู้ประกาศข่าวและพิธีกร แก้

วิทยากร แก้

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้