พลโท พงศกร รอดชมภู (เกิด 11 ตุลาคม พ.ศ. 2498) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่ อดีตรองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ อดีตประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร

พงศกร รอดชมภู
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
รองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่
ดำรงตำแหน่ง
15 มีนาคม พ.ศ. 2561 – 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 ตุลาคม พ.ศ. 2498 (68 ปี)
พรรคการเมืองอนาคตใหม่ (2561–2563)
ศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
ยศ พลโท

ประวัติ แก้

พลโท พงศกร (ชื่อเดิม ทรงพล[ต้องการอ้างอิง]) สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 14 (รุ่นเดียวกับพลอากาศเอกตรีทศ สนแจ้ง อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ, พลเอกธีรชัย นาควานิช อดีตผู้บัญชาการทหารบก, พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม, นาวาอากาศเอกวีระยุทธ ดิษยะศริน อดีตพระสวามีในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี, พลเอกอักษรา เกิดผล อดีตประธานคณะที่ปรึกษากองทัพบก, และพลเอกอุดมเดช สีตบุตร อดีตผู้บัญชาการทหารบก) วิทยาศาสตร์บัณฑิต (วิศวกรรมศาสตร์) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 25 นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิตทางพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การทหาร) โรงเรียนเสนาธิการทหารบก และรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พลโท พงศกร เริ่มรับราชการทหารในตำแหน่งผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ผู้บังคับกองพันพัฒนาที่ 1 กองทัพภาคที่ 1 ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน กรมกิจการพลเรือนทหาร ก่อนจะโอนย้ายเป็นรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ นอกจากนี้ยังเป็นผู้ช่วย ศึกษา และแก้ไขกฎหมายในคณะอนุกรรมการของสภาผู้แทนราษฎรสมัยปี 2554 - 2557 อีกด้วย

ประวัติการลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. แก้

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 บัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่

ข้อวิจารณ์ แก้

พลโท พงศกร เป็นหนึ่งในนายทหารนอกราชการที่ยังคงพักอาศัยในบ้านพักของทางราชการ แม้ว่าจะเกษียณอายุราชการมาหลายปีแล้ว ซึ่งขัดแย้งกับแนวทางของพรรคอนาคตใหม่ ที่ผลักดันเรื่องการปฏิรูประบบราชการทหาร จนนำไปสู่การประกาศลาออกจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ของพลโท พงศกร ในเวลาต่อมา[1]

นอกจากนี้ เขาเป็นหนี้พันโทหญิงฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล เจ้าของผลงานปฏิรูปกองทัพ ด้วยการยกเลิกการเกณฑ์ทหารแบบเบ็ดเสร็จ จำนวน 22,490,924 บาท [2]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ถวิล ตอก พล.ท.พงศกร พ้นราชการทหารปี 55 อยู่บ้านพักทหารกี่ปี นับเอาเอง
  2. https://www.matichonweekly.com/hot-news/article_306364#google_vignette
  3. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-07-02. สืบค้นเมื่อ 2020-03-17.
  4. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-01-24. สืบค้นเมื่อ 2020-03-17.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2021-08-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๑๙๔, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๕