ประเทศชิลี

สาธารณรัฐในอเมริกาใต้
(เปลี่ยนทางจาก สาธารณรัฐชิลี)

ชิลี[10] หรือ ชิเล[10] (อังกฤษและสเปน: Chile, เสียงอ่านภาษาสเปน: [ˈtʃile]) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐชิลี หรือ สาธารณรัฐชิเล (อังกฤษ: Republic of Chile; สเปน: República de Chile) เป็นประเทศทางส่วนตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ ครอบคลุมดินแดนยาวและแคบซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาแอนดีสทางทิศตะวันออกกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางทิศตะวันตก ชิลีมีเนื้อที่ 756,096 ตารางกิโลเมตร (291,930 ตารางไมล์) และมีประชากร 17.5 ล้านคนใน ค.ศ. 2017[6] ชิลีเป็นประเทศที่อยู่ทางใต้สุดของโลก อยู่ใกล้ทวีปแอนตาร์กติกามากที่สุด และมีอาณาเขตจรดประเทศเปรูทางทิศเหนือ จรดประเทศโบลิเวียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จรดประเทศอาร์เจนตินาทางทิศตะวันออก และจรดช่องแคบเดรกทางทิศใต้สุด ชิลียังควบคุมหมู่เกาะฆวนเฟร์นันเดซ เกาะซาลัสอีโกเมซ หมู่เกาะเดสเบนตูราดัส และเกาะอีสเตอร์ในมหาสมุทรแปซิฟิก นอกจากนี้ยังอ้างกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่ประมาณ 1,250,000 ตารางกิโลเมตร (480,000 ตารางไมล์) ของทวีปแอนตาร์กติกาในนามชิเลียนแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศคือกรุงซันติอาโก และภาษาประจำชาติคือภาษาสเปน

สาธารณรัฐชิลี

República de Chile (สเปน)
คำขวัญ"ไม่ด้วยเหตุผลก็ด้วยกำลัง"
(สเปน: Por la razón o la fuerza)
พื้นที่ที่ประเทศชิลีควบคุมแสดงในสีเขียวเข้ม; พื้นที่ที่อ้างสิทธิแต่มิได้ควบคุมแสดงในสีเขียวอ่อน
พื้นที่ที่ประเทศชิลีควบคุมแสดงในสีเขียวเข้ม; พื้นที่ที่อ้างสิทธิแต่มิได้ควบคุมแสดงในสีเขียวอ่อน
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ซันติอาโกa
33°26′S 70°40′W / 33.433°S 70.667°W / -33.433; -70.667
ภาษาราชการสเปน
ภาษาพูดอื่น ๆอังกฤษ, เยอรมัน, อิตาลี, มาปูเช, ไอมารา, เกชัว, อื่น ๆ
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2012)[1]
ศาสนา
(ค.ศ. 2020)[2]
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบประธานาธิบดี
กาบริเอล โบริช
José García Ruminot
Karol Cariola
ฆวน ฟูเอนเตส เบลมาร์
สภานิติบัญญัติสภาแห่งชาติ
วุฒิสภา
สภาผู้แทนราษฎร
เอกราช 
จากสเปน
18 กันยายน ค.ศ. 1810
12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1818
• ได้รับการรับรอง
25 เมษายน ค.ศ. 1844
11 กันยายน ค.ศ. 1980
พื้นที่
• รวม
756,096.3[3] ตารางกิโลเมตร (291,930.4 ตารางไมล์) (อันดับที่ 37)
2.1 (ใน ค.ศ. 2015)[4]
ประชากร
• ค.ศ. 2022 ประมาณ
18,430,408[5] (อันดับที่ 66)
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2017
17,574,003[6] (อันดับที่ 64)
24 ต่อตารางกิโลเมตร (62.2 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 198)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2022 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 568.319 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 45)
เพิ่มขึ้น 28,526 ดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 64)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2022 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 317.594 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 45)
ลดลง 15,941 ดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 62)
จีนี (ค.ศ. 2021)Negative increase 46[8]
สูง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2021)เพิ่มขึ้น 0.855[9]
สูงมาก · อันดับที่ 42
สกุลเงินเปโซชิลี (CLP)
เขตเวลาUTC−4 ถึง−6 (CLT และ EASTc)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC-3 ถึง−5
เมษายนถึงกันยายน
รูปแบบวันที่วว/ดด/ปปปป
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์+56
โดเมนบนสุด.cl
  1. รัฐสภาตั้งอยู่ที่เมืองบัลปาราอิโซ
  2. รวมเกาะอีสเตอร์และเกาะซาลัสอีโกเมซ; แต่ไม่นับรวมพื้นที่ 1,250,000 ตารางกิโลเมตร (480,000 ตารางไมล์) ของดินแดนที่ชิลีอ้างสิทธิ์ในทวีปแอนตาร์กติกา

จักรวรรดิสเปนเข้าพิชิตดินแดนและตั้งอาณานิคมในภูมิภาคนี้แทนที่จักรวรรดิอินคาในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่ไม่สามารถเอาชนะชาวมาปูเชซึ่งเป็นชนพื้นเมืองอิสระในบริเวณตอนกลาง-ใต้ของชิลีในปัจจุบันได้ ใน ค.ศ. 1818 หลังจากประกาศเอกราชจากสเปน ชิลีก็ได้ถือกำเนิดขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1830 ในฐานะสาธารณรัฐอำนาจนิยมที่ค่อนข้างมีเสถียรภาพ ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชิลีมีการเติบโตทางเศรษฐกิจและดินแดนอย่างมีนัยสำคัญ โดยยุติการต่อต้านของชาวมาปูเชในคริสต์ทศวรรษ 1880 และได้รับดินแดนทางเหนือเพิ่มเติมหลังจากเอาชนะเปรูและโบลิเวียในสงครามมหาสมุทรแปซิฟิก (ค.ศ. 1879–1826) เมื่อล่วงเข้าคริสต์ศตวรรษที่ 20 มาจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1970 ชิลีมีกระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตย[11][12] การเพิ่มประชากรและการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว[13] และการพึ่งพิงการส่งออกจากการทำเหมืองทองแดงเพื่อเศรษฐกิจมากขึ้น[14][15] ในคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 ประเทศประสบปัญหาการแบ่งขั้วและความวุ่นวายทางการเมืองอย่างหนัก สถานการณ์นี้ลงเอยด้วยรัฐประหารใน ค.ศ. 1973 ซึ่งโค่นล้มรัฐบาลฝ่ายซ้ายที่ได้รับเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยของซัลบาดอร์ อาเยนเด และสถาปนาระบอบเผด็จการทหารฝ่ายขวาของเอากุสโต ปิโนเช ซึ่งกินเวลานาน 16 ปี และทำให้มีผู้เสียชีวิตหรือสูญหายมากกว่า 3,000 คน[16] ระบอบปิโนเชสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1990 ซึ่งเป็นผลจากการลงประชามติใน ค.ศ. 1988 กลุ่มพันธมิตรการเมืองสายกลาง-ซ้ายปกครองประเทศต่อมาจนถึง ค.ศ. 2010

ชิลีเป็นประเทศกำลังพัฒนา[17] ที่มีเศรษฐกิจรายได้สูงและติดอันดับสูงมากในดัชนีการพัฒนามนุษย์ เป็นหนึ่งในประเทศที่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมมากที่สุดในอเมริกาใต้ โดยเป็นผู้นำของลาตินอเมริกาในการจัดอันดับด้านความสามารถในการแข่งขัน รายได้ต่อหัว โลกาภิวัตน์ สถานะสันติภาพ เสรีภาพทางเศรษฐกิจ และภาพลักษณ์คอร์รัปชันต่ำ[18] ชิลียังติดอันดับสูงในระดับภูมิภาคในด้านความยั่งยืนของรัฐ การพัฒนาประชาธิปไตย[19] และมีอัตราฆาตกรรมต่ำที่สุดในทวีปอเมริการองจากประเทศแคนาดา ประเทศนี้ยังเป็นสมาชิกก่อตั้งของสหประชาชาติ ประชาคมรัฐลาตินอเมริกาและแคริบเบียน และพันธมิตรแปซิฟิก และเข้าร่วมองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจใน ค.ศ. 2010

ประวัติศาสตร์

แก้

บริเวณประเทศชิลีมีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่เมื่อ 10,000 ปีที่แล้ว[20] โดยผู้ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานคือชาวมาปูเชซึ่งตั้งถิ่นฐานในบริเวณชายฝั่งและบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณมอนเตเบร์เด (Monte Verde) และกูเอบาเดลมิโลดอน (Cueva Del Milodon)

ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 สเปนภายใต้การนำของเปโดร เด บัลดิเบีย หนึ่งในกองกิสตาดอร์เข้ามาพิชิตชิลี แม้ว่าจะได้รับการต่อต้านจากชาวมาปูเชแต่ก็สามารถยึดชิลีได้เป็นผลสำเร็จและนำชิลีรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิสเปน อย่างไรก็ตามชัยชนะของสเปนในครั้งนี้ทำให้สเปนสามารถยึดได้เฉพาะดินแดนแถบเมืองซันติอาโกและบริเวณใกล้เคียงเท่านั้น เพราะบริเวณอื่นกองทัพสเปนยังไม่สามารถเอาชนะกองทัพของชาวมาปูเชที่เหลือได้ ซึ่งสเปนพยายามปราบปรามหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ จนในที่สุดต้องใช้แม่น้ำบิโอบิโอเป็นตัวแบ่งเขตแดน

ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โฆเซ มิเกล การ์เรรา ได้ประกาศให้ชิลีเป็นเอกราชจากสเปน แม้ว่าสเปนจะพยายามเข้ามาปราบปรามและยึดครองชิลีอีกครั้ง แต่การยึดครองก็เป็นช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น จนในที่สุดชิลีสามารถขับไล่อิทธิพลของสเปนและได้เอกราชจากสเปนโดยสมบูรณ์ในวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1818 หลังจากได้เอกราชจากสเปนแล้ว รัฐบาลชิลีใช้ความพยายามอย่างสูงในการยึดครองดินแดนของชาวมาปูเชจนสามารถยึดดินแดนได้โดยเด็ดขาดใน ค.ศ. 1871 และขยายอาณาเขตทางทิศใต้จนครอบคลุมถึงบริเวณช่องแคบมาเจลลัน นอกจากนี้แล้ว รัฐบาลชิลีได้ทำสงครามมหาสมุทรแปซิฟิกกับประเทศโบลิเวียและเปรูจนได้รับชัยชนะ ทำให้สามารถขยายดินแดนทางตอนเหนือ ดินแดนที่ได้มาจากทั้งสองเหตุการณ์กลายเป็นดินแดนของประเทศชิลีในปัจจุบัน[21]

การเมืองการปกครอง

แก้

ชิลีปกครองในรูปแบบสาธารณรัฐแบบประธานาธิบดี มีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล รัฐบาลเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร รัฐธรรมนูญของชิลีฉบับปัจจุบันผ่านการลงประชามติใน ค.ศ. 1980 สมัยรัฐบาลทหารของเอากุสโต ปิโนเช และเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1981 จากนั้นได้ผ่านการแก้ไขหลายครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดขึ้นใน ค.ศ. 2010

ฝ่ายบริหาร

แก้

ประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขของรัฐและหัวหน้าคณะรัฐบาล รวมถึงเป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งในระบบคะแนนนิยม วาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี (ไม่กำหนดวาระ สามารถดำรงตำแหน่งได้หากได้รับการเลือกตั้งต่อไป)

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

แก้

ความสัมพันธ์กับประเทศไทย

แก้

ชิลีกับไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1962 โดยชิลีมีสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยที่กรุงเทพมหานคร และไทยมีสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศชิลี ณ กรุงซันติอาโก โดยประเทศไทยเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของชิลีในกลุ่มประเทศอาเซียน และประเทศชิลีเป็นคู่ค้าอันดับ 4 ของไทยในภูมิภาคลาตินอเมริกา[22]

ใน ค.ศ. 2018 มีนักท่องเที่ยวชาวชิลีเดินทางมาประเทศไทยจำนวน 23,033 คน[23]

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

ชิลีแบ่งเขตการปกครองออกเป็นแคว้น (región) 15 แคว้น แต่ละแคว้นมีผู้ว่าการแคว้น (intendente) ได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี

แคว้นต่าง ๆ มีชื่อทางการทั้งเป็นชื่อเรียกและตัวเลขโรมัน (เช่น IV - เขตที่ 4) ลำดับตัวเลขเรียงตามที่ตั้งของแคว้นต่าง ๆ ตั้งแต่ทางตอนเหนือลงมาทางตอนใต้ ซึ่งโดยทั่วไป ตัวเลขโรมันจะถูกใช้มากกว่าชื่อของแคว้น ยกเว้นแคว้นอันเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงซึ่งเรียกว่า แคว้นมหานครซันติอาโก (Región Metropolitana de Santiago หรือ RM)

แต่ละแคว้นแบ่งออกเป็นจังหวัด (provincia) รวม 51 จังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัด (gobernador) เป็นหัวหน้า โดยแต่ละจังหวัดก็ยังแบ่งพื้นที่ย่อยลงไปอีกเป็นเทศบาล (comuna) แต่ละแห่งมีนายกเทศมนตรี (alcalde) เป็นของตนเอง ผู้ว่าราชการจังหวัดได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี ขณะที่นายกเทศมนตรีได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน

 
แคว้นของประเทศชิลี
หมายเลข แคว้น เมืองหลัก
I ตาราปากา อิกิเก
II อันโตฟากัสตา อันโตฟากัสตา
III อาตากามา โกเปียโป
IV โกกิมโบ ลาเซเรนา
V บัลปาราอิโซ บัลปาราอิโซ
VI โอฆิกินส์ รังกากัว
VII เมาเล ตัลกา
VIII บิโอบิโอ กอนเซปซิออน
IX อาเรากานิอา เตมูโก
X โลสลาโกส ปูเอร์โตมอนต์
XI ไอเซน โกไยเก
XII มากายาเนส ปุนตาอาเรนัส
RM แคว้นมหานครซันติอาโก ซันติอาโก
XIV โลสริโอส บัลดิเบีย
XV อาริกาและปารินาโกตา อาริกา
XVI ญูเบล ชิยัน
 
เมืองที่ใหญ่ที่สุดในชิลี
2012 pre-Census[1]
อันดับ ชื่อ แคว้น ประชากร
 
ซันติอาโก
 
กอนเซปซิออน
1 ซันติอาโก แคว้นมหานครซันติอาโก 6,026,797  
บัลปาราอิโซ
 
ลาเซเรนา
2 กอนเซปซิออน แคว้นบิโอ-บิโอ 945,544
3 บัลปาราอิโซ แคว้นบัลปาราอิโซ 930,220
4 ลาเซเรนา แคว้นโกกิมโบ 412,586
5 อันโตฟากัสตา แคว้นอันโตฟากัสตา 346,126
6 เตมูโก แคว้นอาเรากานิอา 339,750
7 อิกิเก แคว้นตาราปากา 278,250
8 รังกากัว แคว้นโอฆิกินส์ 276,532
9 ปูเอร์โตมอนต์ แคว้นโลสลาโกส 228,118
10 อาริกา แคว้นอาริกาและปารินาโกตา 210,920

อ้างอิง

แก้
  1. Central Intelligence Agency (2016). "Chile". The World Factbook. Langley, Virginia: Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 29 January 2017.
  2. "Estudio Monitoreo Post Plebiscito 2020 - 25 Octubre 2020" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-08-14. สืบค้นเมื่อ 3 November 2020.
  3. Instituto Nacional de Estadísticas (October 2006). "Compendio estadístico 2006" (PDF). สืบค้นเมื่อ 29 November 2007.
  4. "Surface water and surface water change". Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD). สืบค้นเมื่อ 11 October 2020.
  5. "Chile". The World Factbook (2024 ed.). Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 24 September 2022. (Archived 2022 edition)
  6. 6.0 6.1 "RESULTADOS CENSO 2017" (PDF). RESULTADOS DEFINITIVOS CENSO 2017. National Statistics Institute. 1 January 2018. สืบค้นเมื่อ 18 January 2017.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 "Chile". World Economic Outlook Database, April 2022. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 1 May 2022.
  8. "Inequality - Income inequality". OECD. สืบค้นเมื่อ 25 July 2021.
  9. "Human Development Report 2021/2022" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 8 September 2022. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-09. สืบค้นเมื่อ 8 September 2022.
  10. 10.0 10.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  11. "Elecciones, sufragio y democracia en Chile (1810-2012)". Memoria Chilena (ภาษาสเปน). National Library of Chile. สืบค้นเมื่อ 20 June 2021.
  12. "Sufragio femenino universal". Memoria Chilena (ภาษาสเปน). National Library of Chile. สืบค้นเมื่อ 20 June 2021.
  13. "Desarrollo y dinámica de la población en el siglo XX". Memoria Chilena (ภาษาสเปน). National Library of Chile. สืบค้นเมื่อ 20 June 2021.
  14. Salazar, Gabriel; Pinto, Julio (2002). Historia contemporánea de Chile III. La economía: mercados empresarios y trabajadores. LOM Ediciones. ISBN 956-282-172-2. Pages 124-125.
  15. Villalobos, Sergio; Silva, Osvaldo; Silva, Fernando; Estelle, Patricio (1974). Historia De Chile (14th ed.). Editorial Universitaria. ISBN 956-11-1163-2. Pages 773-775.
  16. "Country profile: Chile". BBC News. 16 December 2009. สืบค้นเมื่อ 31 December 2009.
  17. "International Organizations and Groups". The World Factbook (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 11 October 2021.
  18. "Human and income poverty: developing countries". UNDP. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2009.
  19. "World Development Indicators". World Bank. 17 April 2012. สืบค้นเมื่อ 12 May 2012.
  20. Brian Bell, Insight Guides : Chile, (New York : Langenscheidt Publishing, 2002), 24.
  21. Appletons' annual cyclopaedia and register of important events of the year: 1900. New York: Appletons. p. 87.
  22. "ข้อมูลความสัมพันธ์ทวิภาคี : ไทย - ชิลี". กระทรวงการต่างประเทศ. 16 พฤษภาคม 2560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-24. สืบค้นเมื่อ 2021-09-24.
  23. "ความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐชิลี". กระทรวงการต่างประเทศ. 25 กุมภาพันธ์ 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-24. สืบค้นเมื่อ 2021-09-24.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
รัฐบาล
การศึกษา
ด้านการท่องเที่ยว