เวลาในประเทศชิลี

เวลาในประเทศชิลี แบ่งเขตเวลาออกเป็น 3 แบบ[1] ได้แก่

  1. ชิลีแผ่นดินใหญ่ (ยกเว้นแคว้นมากายาเนส)
  2. แคว้นมากายาเนสและลาอันตาร์ตีกาชีเลนา มีค่าออฟเซตเวลาสากลเชิงพิกัดเท่ากับ UTC−03:00 ตลอดปี เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา[2]
  3. เกาะอีสเตอร์ (รวมถึงเกาะอิสลาซาลัสอีโกเมซที่ไม่มีคนอาศัยอยู่) ซึ่งตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกทางทิศตะวันตกของประเทศ
    • ในช่วงฤดูหนาวใช้ค่าออฟเซตเวลาสากลเชิงพิกัดเท่ากับ UTC−06:00 (ช้ากว่าเวลาสากลเชิงพิกัด 6 ชั่วโมง)
    • ในช่วงฤดูร้อนใช้ค่าออฟเซตเวลาสากลเชิงพิกัดเท่ากับ UTC−05:00 (ช้ากว่าเวลาสากลเชิงพิกัด 5 ชั่วโมง)
เขตเวลาในประเทศชิลี 3 เขต
  ชิลีแผ่นดินใหญ่

ประวัติ แก้

ก่อนวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558 ชิลีใช้เวลามาตรฐาน 2 เขตเวลา แต่ละเขตเวลามีเวลาออมแสง ดังนี้[1]

  1. เวลามาตรฐานชิลี (Chile Standard Time, CLT) ใช้บนแผ่นดินใหญ่ทั้งหมด เขตเวลา UTC−04:00
  2. เวลามาตรฐานเกาะอีสเตอร์ (Easter Island Standard Time, EAST) ใช้บนเกาะอีสเตอร์และอิสลาซาลัสอีโกเมซ เขตเวลา UTC−06:00

เวลาออมแสง ใช้ในช่วงฤดูร้อน (ราวเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์) ได้แก่

  1. เวลาฤดูร้อนชิลี (Chile Summer Time, CLST) ใช้เขตเวลา UTC−03:00
  2. เวลาฤดูร้อนเกาะอีสเตอร์ (Easter Island Summer Time, EASST) ใช้เขตเวลา UTC−05:00

ต่อมาตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558 ทางการชิลีได้มีการปรับเขตเวลาโดยใช้ออฟเซตเวลาสากลเชิงพิกัดเป็นเวลาออมแสงอย่างถาวร ทำให้ชิลีมีเขตเวลาดังนี้[3]

  1. เวลามาตรฐานชิลี (CLT) เขตเวลา UTC−03:00
  2. เวลามาตรฐานเกาะอีสเตอร์ (EAST) เขตเวลา UTC−05:00

ชิลีใช้เวลามาตรฐานดังกล่าวมาตลอดปี 2558 ซึ่งในขณะเดียวกันทางการได้รับคำวิจารณ์จากสาธารณะในเรื่องผลกระทบของการใช้เวลาเดียวตลอดปี ทั้งเรื่องอัตราการขาดเรียนที่เพิ่มขึ้นของนักเรียนในช่วงฤดูหนาว[4] คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไม่สามารถแสดงเวลาที่ถูกต้อง (ตามเวลามาตรฐานที่รัฐบาลกำหนด) รวมทั้งยังมีรายงานว่าผลผลิตชาวสวนลดลงกว่า 15% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าเนื่องจากชั่วโมงทำงานของแรงงานไม่สอดคล้องกับช่วงเวลาที่มีแสงอาทิตย์ทำให้งานไม่เกิดประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังทำให้ผู้ผลิตต้องจัดหาแสงสว่างเพิ่มเติมทำให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงขึ้น[5] จนกระทั่งปี พ.ศ. 2559 ทางการชิลีตัดสินใจเปลี่ยนแปลงเวลามาตรฐานให้สอดคล้องกับฤดูกาล โดยในชิลีแผ่นดินใหญ่กำหนดให้ใช้เขตเวลา UTC−04:00 ในช่วงฤดูหนาว ตั้งแต่เสาร์ที่สองของเดือนพฤษภาคมถึงเสาร์ที่สองของเดือนสิงหาคม นอกเหนือจากนี้ให้ใช้เขตเวลา UTC−03:00[6] ปี พ.ศ. 2560 ได้มีการตั้งเขตเวลาขึ้นใหม่ในแคว้นมากายาเนสและลาอันตาร์ตีกาชีเลนา โดยใช้ค่า UTC−03:00 เดียวตลอดทั้งปี ทำให้ชิลีแผ่นดินใหญ่มีเวลาที่ต่างกัน 2 เวลาเป็นครั้งแรก[2]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 จากเว็บไซต์ timeanddate.com สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2558:
    • "CLT – Chile Standard Time".
    • "CLST – Chile Summer Time".
    • "EAST – Easter Island Standard Time".
    • "EASST – Easter Island Summer Time".
  2. 2.0 2.1 "Magallanes con horario propio a partir de 2017", La Prensa Austral, 5 Dec 2016, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-08, สืบค้นเมื่อ 31 May 2017
  3. ""Horario de verano" se mantendrá durante todo el año en Chile". biobiochile.cl (ภาษาสเปน). 28 Jan 2015.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "Chile to switch back to Standard Time". สืบค้นเมื่อ 31 May 2017.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "Chile: Fruit growers blame productivity loss on abolition of DST". 10 Jun 2015.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "Government determines use of winter schedule for three months this year". 13 Mar 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-20.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้