สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอำนาจเจริญ
จังหวัดอำนาจเจริญ มีเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2 เขต (สำหรับการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566)[1] และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งได้ 2 คน จากทั้งหมด 400 คนทั่วประเทศในสภาผู้แทนราษฎรไทย
เขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร | |
---|---|
จังหวัดอำนาจเจริญ | |
เขตเลือกตั้งในปัจจุบัน | |
จำนวนเขต | 2 |
คะแนนเสียง | 85,156 (ภูมิใจไทย) |
เขตเลือกตั้งปัจจุบัน | |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2535 |
ที่นั่ง | ภูมิใจไทย (2) |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร | ดูในบทความ |
ประวัติศาสตร์
แก้หลังจากที่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 การเลือกตั้งครั้งนี้เป็น "การเลือกตั้งทางอ้อมครั้งแรกและครั้งเดียวของไทย" โดยขณะนั้นอำนาจเจริญยังเป็นเพียงอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี
ปี พ.ศ. 2536 อำนาจเจริญยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด และได้แยกเขตเลือกตั้งที่ 3 ของจังหวัดอุบลราชธานี (จากการเลือกตั้งในเดือนกันยายน พ.ศ. 2535) มาเป็นเขตเลือกตั้งของจังหวัดอำนาจเจริญ โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดแรก คือ นายสุทัศน์ เงินหมื่น นายวิฑูรย์ นามบุตร และนายสนิท จันทรวงศ์
- นักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากครั้งที่สุด คือ 3 สมัย ได้แก่ นายสุทัศน์ เงินหมื่น และนายธีระชัย ศิริขันธ์
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสตรีคนแรกของจังหวัดอำนาจเจริญ คือ นางสมหญิง บัวบุตร (จากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554)
- ตระกูลการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งมากที่สุด คือ
- เงินหมื่น (2 คน) ได้แก่ นายสุทัศน์ เงินหมื่น และนายอภิวัฒน์ เงินหมื่น
เขตเลือกตั้ง
แก้การเลือกตั้ง | เขตเลือกตั้ง | แผนที่ | จำนวน ส.ส. |
พ.ศ. 2538 | เขตเลือกตั้งที่ 1 : ทั้งจังหวัด | 2 คน (เขตละ 2 คน) | |
พ.ศ. 2539 | |||
พ.ศ. 2544 | · เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอเมืองอำนาจเจริญและอำเภอหัวตะพาน · เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอลืออำนาจ, อำเภอพนา, อำเภอปทุมราชวงศา, อำเภอชานุมาน และอำเภอเสนางคนิคม |
2 คน (เขตละ 1 คน) | |
พ.ศ. 2548 | |||
พ.ศ. 2549 | |||
พ.ศ. 2550 | เขตเลือกตั้งที่ 1 : ทั้งจังหวัด | 2 คน (เขตละ 2 คน) | |
พ.ศ. 2554 | · เขตเลือกตั้งที่ 1 : อำเภอเมืองอำนาจเจริญและอำเภอหัวตะพาน · เขตเลือกตั้งที่ 2 : อำเภอลืออำนาจ, อำเภอพนา, อำเภอปทุมราชวงศา, อำเภอชานุมาน และอำเภอเสนางคนิคม |
2 คน (เขตละ 1 คน) | |
พ.ศ. 2557 | |||
พ.ศ. 2562 | |||
พ.ศ. 2566 |
รายนามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต
แก้ชุดที่ 18; พ.ศ. 2535
แก้เขต | ชุดที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2535 |
3 | นายสุทัศน์ เงินหมื่น |
นายวิฑูรย์ นามบุตร | |
นายสนิท จันทรวงศ์ |
- แยกมาจากเขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดอุบลราชธานี
ชุดที่ 19–20; พ.ศ. 2538–2539
แก้เขต | ชุดที่ 19 พ.ศ. 2538 | ชุดที่ 20 พ.ศ. 2539 |
1 | นายสุทัศน์ เงินหมื่น | |
นายชัยพร ทองประเสริฐ | นายธีระชัย ศิริขันธ์ |
ชุดที่ 21–22; พ.ศ. 2544–2548
แก้เขต | ชุดที่ 21 พ.ศ. 2544 | ชุดที่ 22 พ.ศ. 2548 |
1 | นายธีระชัย ศิริขันธ์ | นายธีระชัย ศิริขันธ์ |
2 | นายไพศาล จันทวารา | นายชัยศรี กีฬา |
ชุดที่ 23; พ.ศ. 2550
แก้เขต | ชุดที่ 23 พ.ศ. 2550 |
1 | นายอภิวัฒน์ เงินหมื่น |
นายวิเชียร อุดมศักดิ์ |
ชุดที่ 24–26; พ.ศ. 2554–2566
แก้ชุดที่ | การเลือกตั้ง | เขตเลือกตั้งที่ 1 | เขตเลือกตั้งที่ 2 |
ชุดที่ 24 | พ.ศ. 2554 | นางสมหญิง บัวบุตร | นายอภิวัฒน์ เงินหมื่น |
ชุดที่ 25 | พ.ศ. 2562 | นายดะนัย มะหิพันธ์ | |
ชุดที่ 26 | พ.ศ. 2566 | นางสุขสมรวย วันทนียกุล | นางญานีนาถ เข็มนาค |
รูปภาพ
แก้-
นายสุทัศน์ เงินหมื่น
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัดจะพึงมี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 140 (14 ก): 38–42. 3 มีนาคม 2566.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- คณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดอำนาจเจริญ เก็บถาวร 2014-01-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน