อภิวัฒน์ เงินหมื่น
อภิวัฒน์ เงินหมื่น (เกิด 28 เมษายน พ.ศ. 2519) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอำนาจเจริญ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ 2 สมัย
อภิวัฒน์ เงินหมื่น | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอำนาจเจริญ เขต 2 | |
ดำรงตำแหน่ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 | |
คะแนนเสียง | 45,655 (48.52%) |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอำนาจเจริญ เขต 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ วิเชียร อุดมศักดิ์ | |
คะแนนเสียง | 61,141 (34.13%) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 28 เมษายน พ.ศ. 2519 อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2549–ปัจจุบัน) |
บุพการี |
|
ประวัติ
แก้อภิวัฒน์ เงินหมื่น เกิดเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2519 เป็นบุตรของนายสุทัศน์ เงินหมื่น[1] แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ระดับปริญญาตรี สาขาระบบเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ จาก Marymouth University ประเทศสหรัฐอเมริกา และปริญญาโท สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา
งานการเมือง
แก้อภิวัฒน์ เงินหมื่น เคยทำงานเป็นนักวิเคราะห์คอมพิวเตอร์ สังกัดการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ต่อมาได้เข้าสู่งานการเมืองโดยได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้ง ส.ส. 2550 ในนามพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก ซึ่งเป็นหนึ่งในห้า ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ที่ชนะการเลือกตั้งในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อภิวัฒน์ เงินหมื่น วุฒิพงษ์ นามบุตร ศุภชัย ศรีหล้า อิสสระ สมชัย และณิรัฐกานต์ ศรีลาภ)
ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 เขาได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. สมัยที่ 2 และเป็นหนึ่งในสี่ ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ ในพื้นที่ภาคอีสาน และในปี พ.ศ. 2562[2] และ 2566 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เดิม แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ "42ตระกูลการเมืองยกครัวเข้าสภา!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-19. สืบค้นเมื่อ 2011-12-24.
- ↑ "สุทัศน์ เงินหมื่น พาลูกชาย หาเสียงที่อำนาจเจริญ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-13. สืบค้นเมื่อ 2021-02-10.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2022-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๓, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๖๑, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓