ณิรัฐกานต์ ศรีลาภ
นางสาวณิรัฐกานต์ ศรีลาภ (ชื่อเล่น: บ็อบบี้)[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยโสธร พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในห้า ส.ส.ประชาธิปัตย์ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550
ณิรัฐกานต์ ศรีลาภ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519 จังหวัดยโสธร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ |
ประวัติ แก้ไข
ณิรัฐกานต์ ศรีลาภ เกิดเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519[2] เป็นบุตรสาวของนายรัชชัย ศรีลาภ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยโสธร พรรคประชาธิปัตย์ กับนางทองใบ ศรีลาภ[3] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการจัดการ จากมหาวิทยาลัยเกริก
การทำงานการเมือง แก้ไข
ณิรัฐกานต์ ศรีลาภ เริ่มทำงานการเมืองโดยการเป็นนักการเมืองท้องถิ่น เป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร (ส.อบจ.) ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 จึงได้เข้าสู่งานการเมืองระดับชาติ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดยโสธร เขตเลือกตั้งที่ 1 ในนามพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในห้า ส.ส.ของพรรประชาธิปัตย์ที่ชนะการเลือกตั้งในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อภิวัฒน์ เงินหมื่น วุฒิพงษ์ นามบุตร ศุภชัย ศรีหล้า อิสสระ สมชัย และณิรัฐกานต์ ศรีลาภ)
ในปี 2554 เธอลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์[4] แต่ไม่ได้รับเลือก หลังจากนั้นเธอปรากฏตัวในการร่วมกิจกรรมของพรรครวมพลังประชาชาติไทย[5] แต่ก็ไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 และ 2566
เธอเป็นนักการเมืองที่มีความใกล้ชิดกับวิฑูรย์ นามบุตร แกนนำพรรคประชาธิปัตย์[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้ไข
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[8]
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ แนวหน้าเลือกตั้ง '50[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 23". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2011-03-12.
- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีพ้นจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครบ 1 ปี 9 พฤษภาคม 2555[ลิงก์เสีย]
- ↑ มาร์คอ้อนชาวยโสเลือกปชป.เป็นรบ.
- ↑ ‘สุเทพ’ ลงพื้นที่ยโสธร รับฟังปัญหา ‘กลุ่มวิสาหกิจชุมชน’ ฟุ้ง ‘รปช.’ ได้เป็นรัฐบาลแน่
- ↑ 4 สาวดาวเด่นรัฐบาลมาร์ค ณิรัฐกานต์-นริศรา-สุภาลักษณ์-นวลพรรณ “ดอกไม้” ที่มี“เจ้าของ”
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๗๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑๓๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒