สถานีย่อย:รถไฟฟ้า/ที่เก็บบทความ

พ.ศ. 2556 – 2559 แก้

 
สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง

สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (City Air Terminal - CAT) หรือสถานีมักกะสันแห่งใหม่ หรือสถานีมักกะสัน (อโศก) เป็นสถานีรถไฟฟ้าในเส้นทางระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Suvarnabhumi Airport Rail Link - SARL) โดยเป็นสถานีต้นทางของรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สาย Express Line (Suvarnabhumi Airport Rail Link Express Line) ซึ่งจะวิ่งตรงจากมักกะสันสู่สถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิโดยไม่แวะสถานีรายทาง ระยะทาง 25.7 กิโลเมตร ใช้เวลาไม่เกิน 15 นาที (ต่างจากรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สาย City Line (Suvarnabhumi Airport Rail Link City Line) ที่แวะจอดรายทางจากสถานีพญาไทถึงสุวรรณภูมิ)

เมื่อระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานเปิดให้บริการ สถานีนี้จะเป็นสถานีแห่งเดียวที่ผู้โดยสารสามารถนำสัมภาระมาเช็คอินเข้าสู่บริการขนถ่ายสัมภาระไปยังสนามบินสุวรรณภูมิได้โดยสะดวก (อ่านต่อ...)


 
สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง

สถานีหัวลำโพง (รถไฟฟ้ามหานคร) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่ถนนพระรามที่ 4 กรุงเทพมหานคร บริเวณสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ซึ่งเป็นสถานีรถไฟที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นสถานีรถไฟหลักของประเทศไทย เนื่องจากเป็นสถานีปลายทางและเพื่อรำลึกถึงกิจการรถไฟในประเทศไทย จึงใช้สถานีหัวลำโพงเป็นสถานที่ทำพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการ และทำพิธีเปิดการเดินรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล นอกจากนี้ยังมีส่วนจัดแสดงนิทรรศการถาวรเกี่ยวกับความเป็นมาของโครงการรถไฟฟ้ามหานครอยู่ภายในสถานี

ที่ตั้งของสถานีหัวลำโพง นอกจากมีความโดดเด่นจากการเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟกรุงเทพแล้ว ยังอยู่ใกล้กับย่านธุรกิจการค้าที่สำคัญของชาวไทยเชื้อสายจีนของถนนเยาวราช หรือ "ไชน่าทาวน์" ของเมืองไทย ทำให้สถานีรถไฟฟ้าหัวลำโพงเป็นอีกหนึ่งสถานี ที่มีบทบาทสำคัญด้านการท่องเที่ยวในกรุงเทพฯ และในขณะนี้ที่ระบบรถไฟฟ้ายังครอบคลุมไปไม่ถึงพื้นที่เมืองเก่าบริเวณเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ สถานีหัวลำโพงก็ยังมีความสำคัญต่อการเดินทางของผู้โดยสารในย่านเมืองเก่า ในปัจจุบันสถานีหัวลำโพงถือได้ว่าเป็นสถานีรถไฟฟ้าที่อยู่ใกล้กับเขตเมืองเก่ามากที่สุด (อ่านต่อ...)

บทความยอดเยี่ยมก่อนหน้านี้: สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง


รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้ามหานคร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีทั้งโครงสร้างใต้ดินและยกระดับ มีแนวเส้นทางที่รองรับการเดินทางภายในเขตเมืองตามแนวตะวันออก-ตะวันตก เริ่มต้นจากสถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน ชานเมืองด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรี เข้าสู่ย่านบางกอกน้อย แล้วลอดแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่ย่านเมืองเก่าในเขตพระนคร ป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตดุสิต ผ่านสถานที่สำคัญเช่น สนามหลวง ถนนราชดำเนิน ภูเขาทอง ตลาดมหานาค เข้าสู่ใจกลางเมืองย่านราชเทวี ประตูน้ำ ดินแดง ไปยังศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ออกสู่ถนนรามคำแหง บางกะปิ สะพานสูง มาสิ้นสุดเส้นทางที่เขตมีนบุรี ชานเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯ รวมระยะทาง 37.5 กิโลเมตร

โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ได้แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ส่วน คือเส้นทางช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ, ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางกะปิ และช่วงบางกะปิ-มีนบุรี (อ่านต่อ...)

บทความยอดเยี่ยมก่อนหน้านี้: สถานีหัวลำโพง (รถไฟฟ้ามหานคร) - สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง


 

สถานีวงเวียนใหญ่ (อังกฤษ: Wongwian Yai Station, รหัส S8) เป็นสถานีรถไฟลอยฟ้า ในเส้นทางรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา สายสีลม ส่วนต่อขยายตากสิน-บางหว้า ช่วงที่ 1 (สะพานตากสิน-แยกตากสิน) ยกระดับเหนือถนนกรุงธนบุรี ใกล้แยกตากสิน ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร

สถานีแห่งนี้เคยใช้ชื่อในโครงการระหว่างการก่อสร้างว่า "สถานีแยกตากสิน" เพราะตั้งอยู่ใกล้สี่แยกตากสิน ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สถานีวงเวียนใหญ่" ในปัจจุบัน สอดคล้องกับวงเวียนใหญ่ที่ถือเป็นจุดหมายตาที่สำคัญในย่านนี้ แม้ที่ตั้งวัดจากจุดกึ่งกลางสถานีจะอยู่ห่างจากสถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ของเส้นทางรถไฟสายแม่กลองถึง 800 เมตร และห่างจากพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ วงเวียนใหญ่ กว่า 1 กิโลเมตร (อ่านต่อ...)

บทความยอดเยี่ยมก่อนหน้านี้: รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม - สถานีหัวลำโพง (รถไฟฟ้ามหานคร) - สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง


 

รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล เป็นระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร และเป็นระบบใต้ดินแห่งแรกของประเทศไทย ดำเนินการโดยบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BMCL) โดยได้รับสัมปทานจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) และหลังจากที่เกิดความล่าช้าขึ้นหลายครั้ง ในที่สุดได้เปิดให้สาธารณชนทดลองใช้งานในวงจำกัดเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 กรกฎาคม ปีเดียวกัน ปัจจุบันมีระยะทางรวม 21 กิโลเมตร เส้นทางเริ่มต้นจากสถานีหัวลำโพง ถึงสถานีบางซื่อ มีสถานี 18 สถานี สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสได้ที่สถานีสีลม/ศาลาแดง, สุขุมวิท/อโศก และสวนจตุจักร/หมอชิต และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่สถานีเพชรบุรี/มักกะสัน สามารถรองรับผู้ใช้บริการได้ 80,000 คนต่อทิศทางต่อชั่วโมง

สำหรับนามเฉลิมรัชมงคล เป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเพื่อเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร ระยะแรก สายหัวลำโพง-ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์-บางซื่อ มีความหมายว่า “งานเฉลิมความเป็นมงคลแห่งความเป็นพระราชา” (อ่านต่อ...)

บทความยอดเยี่ยมก่อนหน้านี้: สถานีวงเวียนใหญ่ - รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม - สถานีหัวลำโพง (รถไฟฟ้ามหานคร)


 

สถานีกลางบางซื่อ หรือสถานีรถไฟกรุงเทพแห่งใหม่ เป็นสถานีที่ปรากฏอยู่ใน "โครงการแผนแม่บท การขนส่งมวลชนระบบรางในเขตกรุงเทพมหานคร และพื้นที่ต่อเนื่อง" ซึ่ง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ตั้งเป้าหมายให้สถานีนี้ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางรางแทนสถานีรถไฟหัวลำโพงเดิม ที่เปิดให้บริการตั้งแต่ พ.ศ. 2459 โดยเบื้องต้นรัฐบาลได้ทุ่มเงินเพื่อทำการก่อสร้างกว่า 2 หมื่นล้านบาท และแยกออกมาก่อสร้างต่างหากจากโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง

สถานีกลางบางซื่อ ตั้งอยู่บริเวณสถานีรถไฟบางซื่อในปัจจุบัน ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 1,172.6 ไร่ หรือ 1,876,160 ตร.ม. ไม่รวมพื้นที่สถานีขนส่งผู้โดยสารหมอชิต 2 ประกอบด้วยพื้นที่กิจกรรมที่การรถไฟฯ ใช้อยู่เดิม โดยจะไม่มีการรื้อย้ายประมาณ 685.6 ไร่ หรือ 1,096.960 ตร.ม. และพื้นที่ที่นำมาใช้ออกแบบก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อประมาณ 487 ไร่ หรือ 779,200 ตร.ม. หรือประมาณ 41.5% ของพื้นที่ทั้งหมด (อ่านต่อ...)

บทความยอดเยี่ยมก่อนหน้านี้: รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล - สถานีวงเวียนใหญ่ - รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม


 

รถไฟฟ้าปารีส (Métro de Paris) เป็นระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ถือเป็นสัญลักษณ์ของเมืองก็ว่าได้ เห็นได้ชัดจากอิทธิพลของศิลปะใหม่แบบอาร์ตนูโว มีเส้นทางทั้งหมด 16 สาย ส่วนมากมักจะอยู่ใต้ดินและมีความยาวทั้งสิ้น 213 กิโลเมตร (133 ไมล์) และมีสถานี 298 แห่ง

รถไฟฟ้าสายแรกเปิดโดยไม่มีพิธีรีตองในปี พ.ศ. 2443 ระหว่างงานนิทรรศการนานาชาติ (Exposition Universelle 1900) หลังจากนั้นระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วจนกระทั่งเสร็จในช่วงปี พ.ศ. 2463 ส่วนการขยายออกไปยังชานเมืองได้บรรลุในช่วง 10 กว่าปีต่อมา

ระบบรถไฟฟ้าปารีสได้ถึงจุดอิ่มตัวในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งระบบรถไฟฟ้าก็ได้นำขบวนรถไฟฟ้าใหม่เข้ามาให้บริการเนื่องจากการจราจรอันคับคั่ง ซึ่งการต่อเติมนั้นเป็นไปได้ยากและมีขีดจำกัดจึงได้เกิดรถไฟฟ้าแอร์เออแอร์ขึ้นในปี พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา

รถไฟฟ้าปารีสมีสถานีทั้งหมด 298 แห่ง (382 ป้าย) โดยเชื่อมต่อกับสายอื่น 62 ป้าย มีจำนวนผู้โดยสารใช้บริการประมาณ 4.5 ล้านคนต่อวัน (1,409 ล้านคนต่อปี) ถือเป็นลำดับที่ 4 ของโลก ตามหลังมอสโก โตเกียวและเม็กซิโก และอยู่ในลำดับที่ 7 ของโลกเมื่อเปรียบเทียบระยะทางการเดินรถไฟฟ้า ตามหลังนิวยอร์ก โซล โตเกียว มอสโก มาดริด (แต่ถ้ารวมกับแอร์เออแอร์แล้วจะอยู่ในอันดับที่ 1) ส่วนจำนวนสถานีนั้นอยู่ที่ลำดับ 3 ของโลก รองลงมาจากนิวยอร์ก (468 สถานี) และ โซล ทั้งนี้สถานีชาตเลต์-เลส์ อาลส์ยังเป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย (อ่านต่อ...)

บทความยอดเยี่ยมก่อนหน้านี้: สถานีกลางบางซื่อ - รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล - สถานีวงเวียนใหญ่


 

รถไฟใต้ดินเซี่ยงไฮ้ เป็นระบบขนส่งมวลชนความเร็วสูงในเมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน เส้นทางแรก เปิดให้บริการเมื่อ ค.ศ. 1993 ทำให้เซี่ยงไฮ้เป็นเมืองที่ 3 ในจีนแผ่นดินใหญ่ ที่มีระบบรถไฟฟ้าใช้ (ก่อนหน้านั้นเป็นเมืองปักกิ่งและเทียนสิน) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา รถไฟใต้ดินเซี่ยงไฮ้ เป็นระบบรถไฟฟ้าที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก

ปัจจบัน มีจำนวน 12 สาย และ 289 สถานี (ถ้าไม่นับสถานีเชื่อมต่อที่ซ้ำกัน จะมี 251 สถานี) มีระยะทางรวม 439 กิโลเมตร ทำให้เป็นระบบรถไฟฟ้าที่ยาวเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีรายได้ 2.276 พันล้านบาทในปี ค.ศ. 2012 มีผู้โดยสาร 8.486 ล้านคนต่อวัน (ข้อมูลเมื่อ 9 มีนาคม ค.ศ. 2013) (อ่านต่อ...)

บทความยอดเยี่ยมก่อนหน้านี้: รถไฟฟ้าปารีส - สถานีกลางบางซื่อ - รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล


 

รถไฟใต้ดินลอนดอน (อังกฤษ: London Underground) เป็นระบบขนส่งมวลชนของกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ตัวระบบใช้ไฟฟ้าเป็นหลัก มีทั้งรถไฟบนดินและรถไฟใต้ดินอยู่ภายในสายเดียวกัน ลอนดอนอันเดอร์กราวนด์เป็นรถไฟใต้ดินที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เริ่มเปิดใช้เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2406 (ค.ศ. 1863) โดยสายแรกคือ สาย Circle วิ่งรอบโซน 1 ชั้นในของเมือง และ สาย Hammersmith & City วิ่งพาดจากด้านตะวันตกเฉียงใต้ไปยังด้านตะวันออกของเมือง. ในปัจจุบันมีทั้งหมด 274 สถานี และมีระยะทางรวมประมาณ 406 กิโลเมตร (253 ไมล์) มีผู้โดยสารในปี พ.ศ. 2547 - 2548 ประมาณ 976 ล้านคน หรือเฉลี่ย 2.67 ล้านคนต่อวัน

รถไฟใต้ดินลอนดอน บางครั้งจะเรียกว่า ดิอันเดอร์กราวนด์ (The Underground) หรือ เดอะทิวบ์ (The Tube) ตามลักษณะของอุโมงค์รถไฟใต้ดิน (อ่านต่อ...)

บทความยอดเยี่ยมก่อนหน้านี้: รถไฟใต้ดินเซี่ยงไฮ้ - รถไฟฟ้าปารีส - สถานีกลางบางซื่อ


 

รถไฟใต้ดินเดลี เป็นระบบขนส่งมวลชนความเร็วสูงที่ให้บริการในกรุงนิวเดลีและปริมณฑล เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่ยาวเป็นอันดับที่สิบสามของโลก ประกอบด้วย 6 เส้นทาง รวมระยะทางได้ 189.63 กิโลเมตร (117.83 ไมล์) จำนวน 142 สถานี โดยเป็นสถานีใต้ดิน 35 สถานี สถานีเสมอระดับ 5 สถานี และที่เหลือเป็นสถานียกระดับ ทุกสถานีมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบทุกอย่าง เส้นทางมีทั้งแบบใต้ดิน เสมอดิน และยกระดับ ใช้ราง broad gauge และรางมาตรฐาน สร้างและดำเนินการโดย Delhi Metro Rail Corporation Limited (DMRC)

เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2010 มีรถไฟฟ้าจำนวน 2,700 เที่ยวต่อวัน ให้บริการเวลา 06:00-23:00 น. ความถี่ประมาณ 2 นาที 40 วินาที รถไฟฟ้าจะพ่วงรถ 4-6 คันต่อขบวน แต่ถ้ามีผู้โดยสารมาก ก็จะเพิ่มเป็น 8 คันต่อขบวน โดยสายสีเหลืองเป็นสายแรกที่มี 8 คันต่อขบวน ใช้พลังไฟฟ้า 25 กิโลโวลต์ 50 เฮิร์ตซ์ ไฟฟ้ากระแสสลับ โดยรับส่งไฟฟ้าผ่านทางลวดไฟฟ้าเหนือหัว สถิติผู้โดยสารเฉลี่ยรายวันคือ 2.5 ล้านคน (อ่านต่อ...)

บทความยอดเยี่ยมก่อนหน้านี้: รถไฟใต้ดินลอนดอน - รถไฟใต้ดินเซี่ยงไฮ้ - รถไฟฟ้าปารีส


 

โตเกียวเมโทรสายกินซะ หรือ สาย 3 กินซะ เป็นเส้นทางรถไฟใต้ดินสายหนึ่งของบริษัทโตเกียวเมโทร ในเมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีความยาวทั้งสิ้น 14.3 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่เขตชิบุยะ มินะโตะ ชิโยะดะ และไทโต สัญลักษณ์ของโตเกียวเมโทรสายกินซะที่ปรากฏบนแผนที่หรือป้ายบอกทางจะใช้สีส้ม และตัวอักษรภาษาอังกฤษ "G"

สายกินซะเริ่มต้นเมื่อนักธุรกิจนามว่าโนะริสึงุ ฮะยะกะวะ ได้เดินทางไปกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1914 ได้เห็นกิจการรถไฟใต้ดินลอนดอน จึงเกิดความคิดว่าโตเกียวจะต้องมีรถไฟใต้ดินเป็นของตัวเอง เขาจึงก่อตั้งบริษัทรถไฟใต้ดินโตเกียว ขึ้นในปี ค.ศ. 1920 และเริ่มก่อสร้างในอีก 5 ปีต่อมา

เส้นทางระหว่างอุเอะโนะและอะซะกุซะได้ก่อสร้างแล้วเสร็จในวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1927 ซึ่งถือเป็นเส้นทางรถไฟใต้ดินสายแรกในซีกโลกตะวันออก ทันทีที่เปิดให้บริการได้รับความนิยมจากผู้โดยสารมาก เพราะสามารถลดระยะเวลาในการรอรถไฟจาก 2 ชั่วโมง เหลือเพียงแค่ 5 นาที (อ่านต่อ...)

บทความยอดเยี่ยมก่อนหน้านี้: รถไฟใต้ดินเดลีรถไฟใต้ดินลอนดอนรถไฟใต้ดินเซี่ยงไฮ้


พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน แก้

 

รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม หรือ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ซึ่งเรียกตามสีที่กำหนดในแผนแม่บทโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้ามหานคร โดย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)

นาม ฉลองรัชธรรม เป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเพื่อเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ระยะแรก สายคลองบางไผ่-นนทบุรี-เตาปูน มีความหมายว่า “เฉลิมฉลองพระราชาที่ปกครองโดยธรรม” โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้ยื่นเรื่องขอพระราชทานชื่อเส้นทาง เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสพระราชพืธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เพื่อเป็นเกียรติและสิริมงคลแก่โครงการฯ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และแก่ประชาชนผู้เข้ามาใช้บริการ

ปัจจุบันโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ได้แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ส่วน คือเส้นทางช่วงเตาปูน-บางใหญ่ (สถานีคลองบางไผ่) และเส้นทางช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ-สถานีครุใน (อ่านต่อ...)

บทความยอดเยี่ยมก่อนหน้านี้: โตเกียวเมโทรสายกินซะรถไฟใต้ดินเดลีรถไฟใต้ดินลอนดอน