พายุหมุนเขตร้อนใน พ.ศ. 2562

บทความรายชื่อวิกิมีเดีย

พายุหมุนเขตร้อนใน พ.ศ. 2562[1] แบ่งออกเป็นพื้นที่เจ็ดบริเวณที่แตกต่างกันเรียกว่า แอ่ง รวมถึงพื้นที่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนด้วย จนถึงขณะนี้ มีพายุก่อตัวขึ้นทั่วโลกในระหว่างปีนี้ 38 ลูก ในจำนวนนั้นมีพายุ 24 ลูกเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีกำลังจนได้รับชื่อเรียกจากบรรดาศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาค (RSMC) หรือศูนย์เตือนพายุหมุนเขตร้อน (TCWC) ในพื้นที่

พายุหมุนเขตร้อนใน พ.ศ. 2562
แผนที่สรุปปี
ขอบเขตของปี
ระบบแรกโมนา
ก่อตัว28 ธันวาคม พ.ศ. 2561
ระบบสุดท้ายซาไร
สลายตัว2 มกราคม พ.ศ. 2563
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่อหะลอง
ความกดอากาศต่ำที่สุด905 mbar/hPa; 26.72 inHg
พายุที่มีช่วงเวลายาวนานที่สุด
ชื่อโอมา
ระยะเวลา15 วัน
สถิติปี
พายุทั้งหมด143 ลูก
พายุที่ได้รับชื่อ105 ลูก
ผู้เสียชีวิตทั้งหมดทั้งหมด 2,090 คน
ความเสียหายทั้งหมด> 6.064 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD พ.ศ. 2562)
บทความที่เกี่ยวข้อง
ปีอื่น
2560, 2561, 2562, 2563, 2564

พายุหมุนเขตร้อนที่เป็นเหตุให้มีจำนวนผู้เสียชีวิตมากที่สุดของปี คือ พายุไซโคลนรุนแรงอิดาอีในมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้ ซึ่งมีผู้เสียชีวิตจำนวน 1,066 คนในประเทศโมซัมบิก ประเทศมาลาวี ประเทศซิมบับเว และประเทศมาดากัสการ์ ส่วนพายุที่ก่อให้เกิดความเสียหายมากที่สุดของปี คือ พายุไซโคลนกำลังแรงวิรอนิกาในภูมิภาคออสเตรเลีย โดยมีความเสียหายเกิดขึ้น 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

กิจกรรมพายุหมุนเขตร้อน[2] ในแต่ละแอ่งจะอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคต่าง ๆ[3] ดังนี้ ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติ (NHC) รับผิดชอบพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือและมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก, ศูนย์เฮอริเคนแปซิฟิกกลาง (CPHC) รับผิดชอบพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง โดยทั้ง NHC และ CPHC เป็นหน่วยงานย่อยของบริการลมฟ้าอากาศแห่งชาติสหรัฐ, กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ทำหน้าที่เฝ้าระวังและติดตามพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก, กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD) ทำหน้าที่เฝ้าระวังและติดตามพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรอินเดียเหนือ ขณะที่ศูนย์อุตุนิยมวิทยาฝรั่งเศสในเกาะเรอูว์นียง (MFR) ทำหน้าที่เฝ้าระวังและติดตามพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรอินเดียใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนในภูมิภาคออสเตรเลีย พายุหมุนเขตร้อนจะถูกติดตามโดย TCWC ห้าศูนย์ภายใต้การประสานงานของสำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลีย (BOM), กรมอุตุนิยมวิทยาฟีจี (FMS) และ เมทเซอร์วิสของนิวซีแลนด์ รวมถึงยังมีหน่วยงานที่ติดตามพายุอย่างไม่เป็นทางการ คือ ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) และหน่วยงานที่ตั้งชื่อพายุอย่างไม่เป็นทางการ คือ สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ด้วย

สรุป แก้

Hurricane Barry (2019)พายุโซนร้อนปาบึก (พ.ศ. 2562)

  มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ   มหาสมุทรอินเดียเหนือ   ภูมิภาคออสเตรเลีย
  มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกและกลาง   มหาสมุทรอินเดียใต้ฝั่งตะวันตก   มหาสมุทรแอตแลนติกใต้
  มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก   มหาสมุทรแปซิฟิกใต้   ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

พายุ แก้

มกราคม แก้

 
พายุโซนร้อนปาบึก

เดือนมกราคมเป็นเดือนที่ไม่ค่อยมีกิจกรรมของพายุนัก มีพายุหมุนเขตร้อนเพียงแปดลูกเท่านั้น ซึ่งในจำนวนพายุทั้งหมดของเดือน มีพายุจำนวนห้าลูกที่ได้รับชื่อ อย่างไรก็ตาม พายุโซนร้อนปาบึก[4] กลายเป็นพายุโซนร้อนที่ก่อตัวเร็วที่สุดในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ทำลายสถิติเดิมที่พายุไต้ฝุ่นอลิซทำไว้เมื่อปี พ.ศ. 2522 ปาบึกทำให้มีผู้เสียชีวิต 10 คนในประเทศไทย, ประเทศเวียดนาม และ ประเทศมาเลเซีย และทำให้มีความเสียหายเกิดขึ้น 115 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ค.ศ. 2019)[5] ต่อมาช่วงปลายเดือนมกราคม พายุโซนร้อนเอเกตแซงได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 27 คนในประเทศมาดากัสการ์

พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในเดือนมกราคม พ.ศ. 2562
ชื่อพายุ ช่วงที่พายุมีกำลัง ลมแรงสุด
กม./ชม. (ไมล์/ชม.)
ควมกดอากาศ
(hPa)
พื้นที่ได้รับผลกระทบ ความเสียหาย
(USD)
ผู้เสียชีวิต อ้างอิง
โมนา 28 ธันวาคม—9 มกราคม 95 (60) 985 หมู่เกาะโซโลมอน, ฟีจี, ตองงา เล็กน้อย ไม่มี
ปาบึก 31 ธันวาคม—7 มกราคม 85 (50) 994 หมู่เกาะนาตูนา, เวียดนาม, มาเลเซีย, ไทย, พม่า, หมู่เกาะอันดามัน 151 ล้าน 10 [6][7]
01W (อามัง) 4–22 มกราคม 55 (35) 1004 คิริบาส, หมู่เกาะมาร์แชลล์, หมู่เกาะแคโรไลน์, ฟิลิปปินส์ 4.11 ล้าน 9 [8]
11U 15—23 มกราคม ไม่ได้ระบุ 1004 เกาะชวา ไม่มี ไม่มี
เดสมอนด์ 17—22 มกราคม 65 (40) 995 โมซัมบิก, มาดากัสการ์ ไม่ทราบ ไม่มี
ไรลีย์ 19—30 มกราคม 120 (75) 974 หมู่เกาะมาลูกู, ติมอร์ตะวันออก, รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ไม่มี ไม่มี
13U 21—25 มกราคม 55 (35) 999 คาบสมุทรเคปยอร์ก ไม่มี ไม่มี
เอเกตแซง 22—24 มกราคม 75 (45) 993 มาดากัสการ์ ไม่ทราบ 27

กุมภาพันธ์ แก้

 
พายุไต้ฝุ่นหวู่ติบ

เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่ไม่ค่อยมีกิจกรรมของพายุนัก มีพายุหมุนเขตร้อนเพียงสิบลูกเท่านั้น ซึ่งในจำนวนพายุทั้งหมดของเดือน มีพายุจำนวนเจ็ดลูกที่ได้รับชื่อ อย่างไรก็ตาม พายุไต้ฝุ่นหวู่ติบ[9] ได้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นที่มีกำลังแรงที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์

พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
ชื่อพายุ ช่วงที่พายุมีกำลัง ลมแรงสุด
กม./ชม. (ไมล์/ชม.)
ควมกดอากาศ
(hPa)
พื้นที่ได้รับผลกระทบ ความเสียหาย
(USD)
ผู้เสียชีวิต อ้างอิง
ฟูนานี 3–10 กุมภาพันธ์ 195 (120) 940 รอดริเกซ ไม่มี ไม่มี
06F 3–9 กุมภาพันธ์ 65 (40) 994 วอลิสและฟูตูนา, หมู่เกาะซามัว None None
เจเลนา 4–14 กุมภาพันธ์ 205 (125) 942 มาดากัสการ์, มอริเชียส, รอดริเกซ 1.02 ล้าน ไม่มี
โอมา 7–22 กุมภาพันธ์ 130 (80) 974 วานูวาตู, นิวแคลิโดเนีย, หมู่เกาะโซโลมอน, รัฐควีนส์แลนด์, รัฐนิวเซาท์เวลส์ 51 ล้าน 1
เนอีล 8–10 กุมภาพันธ์ 65 (40) 994 วอลิสและฟูตูนา, ฟีจี, ตองงา ไม่มี ไม่มี
08F 10–13 กุมภาพันธ์ ไม่ได้ระบุ 996 ฟีจี, ตองงา ไม่มี ไม่มี
10F 11–13 กุมภาพันธ์ ไม่ได้ระบุ 996 วอลิสและฟูตูนา, ฟีจี ไม่มี ไม่มี
หวู่ติบ (เบตตี) 18 กุมภาพันธ์–2 มีนาคม 195 (120) 920 หมู่เกาะแคโรไลน์, กวม 3.3 ล้าน ไม่มี
โปลา 23 กุมภาพันธ์–2 มีนาคม 165 (105) 950 วอลิสและฟูตูนา, ฟีจี, ตองงา ไม่มี ไม่มี
ฮาเลฮ์ 28 กุมภาพันธ์–7 มีนาคม 175 (110) 945 ไม่มี ไม่มี ไม่มี

มีนาคม แก้

 
พายุไซโคลนอิดาอี

มีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวขึ้นในเดือนมีนาคมจำนวนสิบลูก ในจำนวนนี้หกลูกได้รับชื่อ ซึ่งไซโคลนอิดาอีเป็นพายุที่ทำให้มีจำนวนผู้เสียชีวิตในทวีปอเมริกาใต้ถึง 1,007 คน.[10] ส่วนพายุโซนร้อนอีบากลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนลูกแรกที่ก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้นับตั้งแต่พายุแอนีตาใน พ.ศ. 2553

พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562
ชื่อพายุ ช่วงที่พายุมีกำลัง ลมแรงสุด
กม./ชม. (ไมล์/ชม.)
ควมกดอากาศ
(hPa)
พื้นที่ได้รับผลกระทบ ความเสียหาย
(USD)
ผู้เสียชีวิต อ้างอิง
อิดาอี 4–16 มีนาคม 195 (120) 940 โมซัมบิก, มาลาวี, มาดากัสการ์, ซิมบับเว ≥2 พันล้าน 1,297 [11][12]
15U 6–11 มีนาคม ไม่ได้ระบุ 1007 หมู่เกาะมาลูกู ไม่มี ไม่มี
ซะแวนนาห์ 7–20 มีนาคม 175 (110) 951 เกาะชวา, เกาะคริสต์มาส, หมู่เกาะโคโคส (คีลิง) >7.5 ล้าน 10
TL 13–14 มีนาคม ไม่ได้ระบุ ไม่ได้ระบุ ไม่มี ไม่มี ไม่มี
03W (เชเดง) 14–19 มีนาคม ไม่ได้ระบุ 1006 ปาเลา, ฟิลิปปินส์ 23,000 ไม่มี
เทรเวอร์ 15–26 มีนาคม 175 (110) 955 ปาปัวนิวกินี, รัฐควีนส์แลนด์, นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี 71,000 ไม่มี 1
วิรอนิกา 18–31 มีนาคม 195 (125) 938 ติมอร์, รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย 1.2 พันล้าน ไม่มี [13]
จัวนินฮา 18–30 มีนาคม 185 (115) 939 รอดริเกซ ไม่มี ไม่มี
อีบา 23–28 มีนาคม 85 (55) 1006 บราซิล ไม่มี ไม่มี
TL 31 มีนาคม–3 เมษายน ไม่ได้ระบุ 1005 ภาคตะวันออกเฉียงใต้ปาปัวนิวกินี ไม่มี ไม่มี

เมษายน แก้

 
พายุไซโคลนฟานี

มีพายุหมุนเขตร้อนหกลูกก่อตัวขึ้นในเดือนเมษายน และสี่ลูกได้รับชื่อ ในเดือนนี้ เคนเนท ได้กลายเป็นพายุไซโคลนรุนแรงที่มีกำลังแรงที่สุดที่พัดขึ้นฝั่งประเทศโมซัมบิก[14] โดยทำให้มีผู้เสียชีวิต 48 คน ซึ่งในจำนวนนั้น 41 คนเสียชีวิตในประเทศโมซัมบิก[15] ส่วน ฟานี ได้พัดเข้าบางส่วนของประเทศอินเดียและบังกลาเทศ ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 72 คนในรัฐโอฑิศา[16] 17 คนในประเทศบังกลาเทศ[17] และ 8 คนในรัฐอุตตรประเทศ โดยนับเป็นพายุที่สร้างความเสียหายไว้มากที่สุดในปีนี้ (นับถึงปัจจุบัน) ที่ 2.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[18]

พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในเดือนเมษายน พ.ศ. 2562
ชื่อพายุ ช่วงที่พายุมีกำลัง ลมแรงสุด
กม./ชม. (ไมล์/ชม.)
ควมกดอากาศ
(hPa)
พื้นที่ได้รับผลกระทบ ความเสียหาย
(USD)
ผู้เสียชีวิต อ้างอิง
วอลลิซ 1–16 เมษายน 120 (75) 980 นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี, หมู่เกาะมาลูกู, เกาะติมอร์, รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ไม่มี ไม่มี
22U 5–15 เมษายน ไม่ได้ระบุ 1006 เกาะนิวกินี, นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี ไม่มี ไม่มี
เคนเนท 21–29 เมษายน 215 (130) 934 เซเชลส์, มาดากัสการ์, หมู่เกาะโคโมโร, โมซัมบิก, แทนซาเนีย, มาลาวี >100 ล้าน 50 [15]
โลร์นา 21 เมษายน–1 พฤษภาคม 110 (70) 978 ไม่มี ไม่มี ไม่มี
TL 21–25 เมษายน ไม่ได้ระบุ 1003 เกาะสุมาตรา, หมู่เกาะโคโคส (คีลิง) ไม่มี ไม่มี
ฟานี 26 เมษายน–4 พฤษภาคม 215 (130) 937 ศรีลังกา, รัฐอานธรประเทศ, ภาคตะวันออกของอินเดีย, บังกลาเทศ, ภูฏาน 1.81 พันล้าน[19][20] 89 [16][17][18]

พฤษภาคม แก้

 
พายุไซโคลนลีลี

เดือนพฤษภาคมเป็นเดือนที่ไม่ค่อยมีกิจกรรมของพายุนัก มีพายุหมุนเขตร้อนเพียงแปดลูกเท่านั้น ซึ่งในจำนวนพายุทั้งหมดของเดือน มีพายุจำนวนสี่ลูกที่ได้รับชื่อ พายุไซโคลนลีลีก่อนตัวชึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อนในแอ่งออสเตรเลีย นับเป็นพายุหมุนนอกฤดูกาลของภูมิภาคออสเตรเลีย และพัดเข้าติมอร์ตะวันออก และหมู่เกาะมาลูกูของประเทศอินโดนีเซีย ปริมาณน้ำฝนทำให้เกิดอุทกภัย และส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นที่และทรัพย์สินประชาชนเล็กน้อย พายุไซโคลนแอนน์ เป็นพายุหมุนนอกฤดูกาลของภูมิภาคออสเตรเลียอีกลูก พัฒนาขึ้นเป็นพายุในระดับพายุโซนร้อนที่มีความรุนแรงตามมาตราแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน และพัดขึ้นฝั่งในฟาร์นอร์ทควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลียในฐานะความกดอากาศต่ำเขตร้อน โดยพายุแอนน์นับเป็นพายุหมุนแถบออสเตรเลียที่ก่อตัวในเดือนพฤษภาคมที่มีความรุนแรงที่สุด นับตั้งแต่พายุรอนดาเมื่อปี พ.ศ. 2540 ต่อมาพายุกึ่งโซนร้อนก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ และได้ชื่อว่า ฌากัวร์ ทำให้พายุฌากัวร์เป็นพายุหมุนเขตร้อนของมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ลูกที่สองของปี ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวขึ้นสองลูกในปีเดียวกันของมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 และตามด้วยการก่อตัวของพายุกึ่งโซนร้อนอายุสั้นชื่อ แอนเดรีย ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเบอร์มิวดาในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทำให้ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติกเริ่มต้นขึ้นก่อนวันเริ่มฤดูกาลอย่างเป็นทางการ เป็นปีที่ห้าติดต่อกันแล้ว

พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562
ชื่อพายุ ช่วงที่พายุมีกำลัง ลมแรงสุด
กม./ชม. (ไมล์/ชม.)
ควมกดอากาศ
(hPa)
พื้นที่ได้รับผลกระทบ ความเสียหาย
(USD)
ผู้เสียชีวิต อ้างอิง
ลีลี 4–11 พฤษภาคม 75 (45) 997 ภาคตะวันออกของอินโดนีเชีย, ติมอร์ตะวันออก, ท็อปเอ็นด์, คิมเบร์ลี ปานกลาง ไม่มี
TD 7–8 พฤษภาคม ไม่ได้ระบุ 1006 แยป, ปาเลา ไม่มี ไม่มี
TD 7–15 พฤษภาคม ไม่ได้ระบุ 1004 หมู่เกาะแคโรไลน์ ไม่มี ไม่มี
แอนน์ 7–18 พฤษภาคม 95 (60) 993 หมู่เกาะโซโลมอน, นิวแคลิโดเนีย, รัฐควีนส์แลนด์, ท็อปเอ็นด์ ไม่มี ไม่มี
TD 10–11 พฤษภาคม ไม่ได้ระบุ 1006 แยป, ปาเลา ไม่มี ไม่มี
12F 16–21 พฤษภาคม 55 (35) 1002 ไม่มี ไม่มี ไม่มี
ฌากัวร์ 20–22 พฤษภาคม 65 (40) 1010 บราซิล ไม่มี ไม่มี
แอนเดรีย 20–21 พฤษภาคม 65 (40) 1006 เบอร์มิวดา ไม่มี ไม่มี

มิถุนายน แก้

 
พายุไซโคลนวายุ

วันที่ 1 มิถุนายน เป็นวันเริ่มต้นฤดูอย่างเป็นทางการของฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก แม้ว่าพายุลูกแรกของฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติกปีนี้ (พายุแอนเดรีย) จะก่อตัวไปตั้งแต่ก่อนฤดูกาลเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมก็ตาม หลังจากที่เว้นช่วงไปอย่างยาวนานที่สุดของปี ในที่สุด ระบบพายุแรกในทะเลอาหรับของฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ พ.ศ. 2562 ก็ก่อตัวขึ้นเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน และได้ชื่อว่า วายุ มีกำลังเป็นพายุไซโคลนกำลังแรงมาก ต่อมาในช่วงปลายเดือน พายุเฮอริเคนแอลวินก่อตัวขึ้นและกลายเป็นพายุลูกแรกของฤดูพายุเฮอริเคนแปซิฟิกนี้ นอกจากนี้ยังมีพายุดีเปรสชันเขตร้อนที่ก่อตัวขึ้นและกลายเป็นพายุโซนร้อนชื่อ เซอปัต ซึ่งนับเป็นพายุโซนร้อนลูกแรกในรอบสี่เดือนนับแต่พายุหวู่ติบในเดือนกุมภาพันธ์

พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562
ชื่อพายุ ช่วงที่พายุมีกำลัง ลมแรงสุด
กม./ชม. (ไมล์/ชม.)
ควมกดอากาศ
(hPa)
พื้นที่ได้รับผลกระทบ ความเสียหาย
(USD)
ผู้เสียชีวิต อ้างอิง
วายุ 10—19 มิถุนายน 150 (90) 978 ภาคเหนือของมัลดีฟส์, ลักษทวีป, อินเดียตะวันตก, ปากีสถานตะวันออกเฉียงใต้ >140,000 8
เซอปัต 17—28 มิถุนายน 75 (45) 992 หมู่เกาะแคโรไลน์, ญี่ปุ่น ไม่มี ไม่มี
TD 26 มิถุนายน 55 (35) 1000 หมู่เกาะรีวกีว, เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น ไม่มี ไม่มี
แอลวิน 25—29 มิถุนายน 120 (75) 992 เกาะกลาริยง ไม่มี ไม่มี
04W 26 มิถุนายน—1 กรกฎาคม 55 (35) 1006 หมู่เกาะแคโรไลน์, ปาเลา ไม่มี ไม่มี
บาร์บารา 30 มิถุนายน—6 กรกฎาคม 250 (155) 933 ไม่มี ไม่มี ไม่มี

กรกฎาคม แก้

 
พายุเฮอริเคนเอริก

เดือนกรกฎาคมเป็นเดือนที่มีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนค่อนข้างมากในปีนี้ โดยมีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวขึ้นสิบสามลูก ในจำนวนนั้นสิบลูกมีความรุนแรงถึงพายุโซนร้อน ในบรรดาพายุเหล่านี้ พายุโซนร้อนมูน ได้พัดขึ้นฝั่งทางภาคเหนือของประเทศเวียดนาม และพายุเฮอริเคนแบร์รี ได้พัดขึ้นฝั่งบริเวณชายฝั่งมิดเวสเทิร์นของสหรัฐและภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐในฐานะพายุโซนร้อน สร้างความเสียหาย 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีผู้เสียชีวิตทางอ้อมจากพายุจำนวน 1 คน

พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562
ชื่อพายุ ช่วงที่พายุมีกำลัง ลมแรงสุด
กม./ชม. (ไมล์/ชม.)
ควมกดอากาศ
(hPa)
พื้นที่ได้รับผลกระทบ ความเสียหาย
(USD)
ผู้เสียชีวิต อ้างอิง
มูน 1—4 กรกฎาคม 65 (40) 992 เกาะไหหนัน, ภาคใต้ของจีน, หมู่เกาะพาราเซล, เวียดนาม, ลาว 240,000 2
คอสมี 6—8 กรกฎาคม 85 (50) 1001 ไม่มี ไม่มี ไม่มี
แบร์รี 11—15 กรกฎาคม 120 (75) 991 มิดเวสเทิร์นของสหรัฐ, ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐ, ชายฝั่งด้านอ่าวของสหรัฐ, รัฐอาร์คันซอ, รัฐโอคลาโฮมา, ภูมิภาคเกรตเลกส์, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐ ≥500 ล้าน 1
สี่-อี 12—14 กรกฎาคม 55 (35) 1006 ไม่มี ไม่มี ไม่มี
ดานัส 12—21 กรกฎาคม 85 (50) 985 แยป, ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, หมู่เกาะรีวกีว, ภาคตะวันออกของจีน, ญี่ปุ่น, คาบสมุทรเกาหลี, ภาคเหนือของจีน, รัสเซียตะวันออกไกล, หมู่เกาะคูริล 302,000 4
TD 17—19 กรกฎาคม 55 (35) 996 ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, หมู่เกาะรีวกีว ไม่มี ไม่มี
เดลิลา 22—25 กรกฎาคม 65 (40) 1005 ปานามา, คอสตาริกา, นิการาก้ว ไม่มี ไม่มี
สาม 22—23 กรกฎาคม 50 (30) 1013 บาฮามาส ไม่มี ไม่มี
01 22—24 กรกฎาคม 45 (30) 1001 ไม่มี ไม่มี ไม่มี
นารี 24—27 กรกฎาคม 65 (40) 998 หมู่เกาะโบนิน, ญี่ปุ่น ไม่มี ไม่มี
เอริก 27 กรกฎาคม—ปัจจุบัน 215 (130) 952 รัฐฮาวาย ไม่มี ไม่มี
ฟลอสซี 28 กรกฎาคม—ปัจจุบัน 130 (80) 990 ไม่มี ไม่มี ไม่มี
วิภา 30 กรกฎาคม—3 สิงหาคม 55 (35) 992 หมู่เกาะพาราเซล, เกาะไหหนัน, ภาคใต้ของจีน, เวียดนาม, ลาว ไม่มี ไม่มี

สิงหาคม แก้

พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562
ชื่อพายุ ช่วงที่พายุมีกำลัง ลมแรงสุด
กม./ชม. (ไมล์/ชม.)
ควมกดอากาศ
(hPa)
พื้นที่ได้รับผลกระทบ ความเสียหาย
(USD)
ผู้เสียชีวิต อ้างอิง
ฟรานซิสโก 1 สิงหาคม—ปัจจุบัน 95 (60) 992 ไม่มี ไม่มี ไม่มี
เลกีมา 1 สิงหาคม—ปัจจุบัน 65 (40) 996 ไม่มี ไม่มี ไม่มี
กิล 3 สิงหาคม—ปัจจุบัน 65 (40) 1006 ไม่มี ไม่มี ไม่มี

ผลกระทบทั่วโลก แก้

ชื่อฤดูกาล พื้นที่ได้รับผลกระทบ พายุทั้งหมด พายุทีได้รับชื่อ ความเสียหาย (USD) ผู้เสียชีวิต
ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2562 เบอร์มิวดา, สหรัฐ, มิดเวสเทิร์นของสหรัฐ, ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐ, ชายฝั่งด้านอ่าวของสหรัฐ, รัฐอาร์คันซอ, รัฐโอคลาโฮมา, ภูมิภาคเกรตเลกส์, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐ, บาฮามาส 3 2 500 ล้าน 1
ฤดูพายุเฮอริเคนแปซิฟิก พ.ศ. 2562 อเมริกากลาง, ปานามา, คอสตาริกา, นิการากัว, รัฐฮาวาย, หมู่เกาะฮาวาย, จอห์นสตันอะทอลล์ 7 6 0 0
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 25621 หมู่เกาะนาดูนา, เวียดนาม, มาเลเซีย, ไทย, พม่า, คิริบาส, หมู่เกาะมาร์แชลล์, หมู่เกาะแคโรไลน์, ปาเลา, ฟิลิปปินส์, กวม, สหพันธรัฐไมโครนีเชีย, หมู่เกาะมาเรียนา, แยป, ไต้หวัน, หมู่เกาะรีวกีว, ภาคตะวันออกของจีน, ญี่ปุ่น, คาบสมุทรเกาหลี, ภาคเหนือของจีน, รัสเซียตะวันออกไกล, ฝั่งตะวันตกของรัฐแอลาสกา, เขตอาร์กติก, หมู่เพาะคูริล, หมู่เกาะโบนิน, ลาว 17 7 165 ล้าน 25
ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ พ.ศ. 2562 ไทย, พม่า, หมู่เกาะอันดามัน, หมู่เกาะนิโคบาร์, ศรีลังกา, ภาคใต้ของอินเดีย, ภาคตะวันออกของอินเดีย, บังกลาเทศ, ภูฏาน 2 2 >1.812 พันล้าน 97
พายุหมุนเขตร้อนในแอตแลนติกใต้ พ.ศ. 2562 บราซิล 2 2 0 0
ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้ พ.ศ. 2561–25621 มาดากัสการ์, รอดริเกซ, มอริเชียส, โมซัมบิก, มาลาวี, ซิมบับเว, เซเชลล์, หมู่เกาะโคโมโร 9 9 >2.111 พันล้าน 1,376
ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้ พ.ศ. 2562–25632 ไม่มี 1 0 $0 0
ฤดูพายุไซโคลนภูมิภาคออสเตรเลีย พ.ศ. 2561–25621 เกาะชวา, อินโดนีเชีย, รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย, หมู่เกาะมาลูกู, ติมอร์ตะวันออก, คาบสมุทรเคปยอร์ก, รัฐควีนส์แลนด์, รัฐนิวเซาท์เวลส์, หมู่เกาะโซโลมอน, หมู่เกาะโคโคส (คีลิง), เกาะคริสต์มาส, นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี, เกาะสุมาตรา, นิวแคลิโดเนีย, คิมเบร์ลี 16 8 1.209 พันล้าน 13
ฤดูพายุไซโคลนภูมิภาคออสเตรเลีย พ.ศ. 2562–25632 ไม่มี 0 0 0 0
ฤดูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้ พ.ศ. 2561–25621 หมู่เกาะโซโลมอน, ฟีจี, วอลลิสและฟุตุนา, หมู่เกาะซามัว, ตองงา, วานูวาตู, นิวแคลิโดเนีย 11 4 51 ล้าน 0
ฤดูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้ พ.ศ. 2562–25632 ไม่มี 0 $0 0
ทั่วโลก (ดูด้านบน) 67[a] 40 >5.748 พันล้าน 1,510[b]
  1. ผลรวมของจำนวนพายุในแต่ละแอ่งจะไม่เท่ากับจำนวนที่แสดงในทั้งหมด เพราะเมื่อพายุเคลื่อนตัวข้ามแอ่งมันจะถูกนับเป็นพายุในอีกหนึ่งด้วย ทำให้เกิกเป็นข้อแตกต่าง (ในสิ่งที่ควรจะเหมือนกัน) ของจำนวนพายุจริง
  2. ผลรวมของจำนวนผู้เสียชีวิตในแต่ละแอ่งจะไม่เท่ากับจำนวนที่แสดงในทั้งหมด เพราะเมื่อพายุเคลื่อนตัวข้ามแอ่งมันจะถูกนับเป็นพายุในอีกหนึ่งด้วย ทำให้เกิกเป็นข้อแตกต่าง (ในสิ่งที่ควรจะเหมือนกัน) ของจำนวนผู้เสียชีวิตจริง

หมายเหตุ แก้

1 เฉพาะพายุที่ก่อตัว ในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 เท่านั้นที่ถูกนับในจำนวนพายุรวม
2 เฉพาะพายุที่ก่อตัว ก่อนหรือในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 เท่านั้นที่ถูกนับในจำนวนพายุรวม
3 ความเร็วลมสูงสุดในแอ่งนี้อ้างอิงตามมาตราของกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย ซึ่งจะใช้ความเร็วลมเฉลี่ยใน 3 นาที
4 ความเร็วลมสูงสุดในแอ่งนี้อ้างอิงตามมาตราแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน ซึ่งจะใช้ความเร็วลมเฉลี่ยใน 1 นาที
5ความเร็วลมของพายุหมุนเขตร้อนนี้อ้างอิงตามเมเตโอฟร็องส์ซึ่งวัดที่ความเร็วลมกระโชก

อ้างอิง แก้

  1. Meteorology, corporateName=Bureau of. "Tropical Cyclones". www.bom.gov.au (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-04-10.
  2. Doyle, Kate (2019-02-19). "Why are cyclone paths so difficult to predict?". ABC News (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). สืบค้นเมื่อ 2019-04-10.
  3. "Tropical Cyclone Programme". www.wmo.int. สืบค้นเมื่อ 2019-04-07.
  4. Olarn, Kocha (5 January 2019). "Storm kills 3 in Thailand, moves into Andaman Sea". CNN. สืบค้นเมื่อ 2019-04-09.
  5. "Pabuk leaves 4 dead, billions of Baht in damage – Thailand". ReliefWeb. สืบค้นเมื่อ 2019-04-09.
  6. Olarn, Kocha. "Storm Kills 3 in Thailand, moves into Andaman Sea". CNN. CNN. สืบค้นเมื่อ 26 January 2019.
  7. Wright, Pam. "Tropical Storm Pabuk Makes First on Record Southern Thailand January Landfall; Two Killed, Thousands Evacuated". The Weather Channel. The Weather Channel. สืบค้นเมื่อ 26 January 2019.
  8. Dalizon, Alfred. "Landslide buried 7 treasure hunters in Agusan del Norte". Journal Online. People's Journal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-20. สืบค้นเมื่อ 26 January 2019.
  9. "Wutip 2019 – Hurricane And Typhoon Updates". blogs.nasa.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-04-09.
  10. Leahy, Stephen (2019-03-19). "Why Cyclone Idai was so destructive". Environment. สืบค้นเมื่อ 2019-04-09.
  11. "Resources stretched as Cyclone Kenneth piles misery on Mozambique". Reliefweb. 27 April 2019. สืบค้นเมื่อ 27 April 2019.
  12. "Hundreds feared dead after Cyclone Idai". BBC News. 18 March 2019. สืบค้นเมื่อ 18 March 2019.
  13. Osental, Duffie (5 April 2019). "Insurers on standby as cyclone looms off Western Australia coast". Insurance Business America. สืบค้นเมื่อ 5 April 2019.
  14. Brandon Miller (25 April 2019). "Cyclone Kenneth: Thousands evacuated as Mozambique is hit with the strongest storm in its history". Cable News Network. สืบค้นเมื่อ 25 April 2019.
  15. 15.0 15.1 Mutsaka, Farai. "Mozambique church a refuge for Muslim cyclone survivors". SF Gate. The Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-01. สืบค้นเมื่อ 1 May 2019.
  16. 16.0 16.1 "Number Of Dead From Cyclone Fani Rises To 29 In Odisha". NDTV. 5 May 2019. สืบค้นเมื่อ 5 May 2019.
  17. 17.0 17.1 "Cyclone Fani: 14 killed in 8 districts". Dhaka Tribune. 4 May 2019. สืบค้นเมื่อ 4 May 2019.
  18. 18.0 18.1 "Lightning kills 8 in Uttar Pradesh". New Indian Express. 3 May 2019. สืบค้นเมื่อ 5 May 2019.
  19. "Andhra Pradesh pegs loss due to Cyclone Fani at ₹58.62 crore". The Hindu. 5 May 2019. สืบค้นเมื่อ 5 May 2019.
  20. "Fani storm loss estimated at Tk 536 crore". Banglanews24.com. 9 May 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-11. สืบค้นเมื่อ 9 May 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาค

ศูนย์เตือนพายุหมุนเขตร้อน