ฤดูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้ พ.ศ. 2562–2563

ฤดูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้ พ.ศ. 2562–63 เป็นช่วงฤดูที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนภายในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ ถึงทางตะวันออกของเส้น 160°ตะวันออก ฤดูกาลอย่างเป็นทางการเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ไปจนถึง 30 เมษายน พ.ศ. 2563 อย่างไรก็ตาม พายุหมุนเขตร้อนสามารถก่อตัวได้ตลอดเวลาในระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 และจะถูกนับรวมไปเป็นส่วนหนึ่งของฤดูกาลด้วย ในตลอดฤดูกาลนี้ พายุหมุนเขตร้อนจะถูกตรวจสอบโดยศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาค (RSMC) ในนันจี และศูนย์เตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในบริสเบน, ออสเตรเลีย และ เวลลิงตัน, นิวซีแลนด์ นอกจากนั้นยังมี ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ซึ่งจะออกคำเตือนอย่างไม่เป็นทางการเพื่อความสนใจของชาวอเมริกัน

ฤดูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้ พ.ศ. 2562–2563
แผนที่สรุปฤดูกาล
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัว22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
ระบบสุดท้ายสลายตัว10 เมษายน พ.ศ. 2563
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่อแฮรอลด์
 • ลมแรงสูงสุด220 กม./ชม. (140 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 10 นาที)
 • ความกดอากาศต่ำที่สุด924 hPa (มิลลิบาร์)
สถิติฤดูกาล
ความแปรปรวนทั้งหมด12 ลูก
พายุดีเปรสชันทั้งหมด8 ลูก
พายุไซโคลนเขตร้อน8 ลูก
พายุไซโคลนกำลังแรง4 ลูก
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด34 คน
ความเสียหายทั้งหมด> 131.63 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2020)
ฤดูพายุไซโคลนแปซิฟิกใต้
2560–61, 2561–62, 2562–63, 2563–64, 2564–65

RSMC นันจี จะออกการเตือนภัยโดยแนบหมายเลขและตัวอักษร F ต่อท้ายให้กับพื้นที่ความแปรปรวนของอากาศที่ก่อตัวขึ้นภายในหรือเคลื่อนตัวเข้าสู่แอ่ง ในขณที่ JTWC จะให้รหัสเรียกขานกับพายุหมุนเขตร้อน และใช้ตัวอักษร P ต่อท้าย โดยกรมอุตุนิยมวิทยาฟีจี สำนักอุตุนิยมวิทยา และ เมทเซอร์วิส จะใช้มาตราพายุหมุนเขตร้อนของออสเตรเลียเป็นหลักและวัดความเร็วลมในช่วงสิบนาที ขณะที่ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมจะวัดความเร็วลมใน 1 นาที และใข้มาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน (SSHWS) มาเทียบเคียง

ภาพรวมฤดูกาล แก้

มาตราพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้
  การแปรปรวนของลมในเขตร้อน   พายุไซโคลนระดับ 3 (143–159 กม./ชม.)
  พายุดีเปรสชันเขตร้อน   พายุไซโคลนระดับ 4 (160–204 กม./ชม.)
  พายุไซโคลนระดับ 1 (63–88 กม./ชม.)   พายุไซโคลนระดับ 5 (≥205 กม./ชม.)
  พายุไซโคลนระดับ 2 (89–142 กม./ชม.)

พายุ แก้

พายุไซโคลนกำลังแรงริตา แก้

พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 3 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 22 – 26 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 120 กม./ชม. (75 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
977 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.85 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนซาไร แก้

พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 2 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 23 ธันวาคม – 2 มกราคม
ความรุนแรง 110 กม./ชม. (70 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
972 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.7 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนกำลังแรงตีโน แก้

พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 3 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 11 – 19 มกราคม
ความรุนแรง 120 กม./ชม. (75 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
970 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.64 นิ้วปรอท)

การแปรปรวนของลมในเขตร้อน 05F แก้

การแปรปรวนของลมในเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 24 – 26 มกราคม
ความรุนแรง ไม่ทราบความเร็วลม
1003 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.62 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนกำลังแรงเวซี แก้

พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 3 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 5 – 13 กุมภาพันธ์ (ออกนอกแอ่ง)
ความรุนแรง 120 กม./ชม. (75 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
970 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.64 นิ้วปรอท)

การแปรปรวนของลมในเขตร้อน 07F แก้

การแปรปรวนของลมในเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
   
ระยะเวลา 14 – 21 กุมภาพันธ์
ความรุนแรง ไม่ทราบความเร็วลม
998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท)

การแปรปรวนของลมในเขตร้อน 08F แก้

การแปรปรวนของลมในเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
พายุกึ่งโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 16 – 18 กุมภาพันธ์
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
994 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.35 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนวิคกี แก้

พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 19 – 21 กุมภาพันธ์
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
988 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.18 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนวาซี แก้

พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 21 – 23 กุมภาพันธ์
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนเกรเทล แก้

พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 2 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 14 (เข้าสู่แอ่ง) – 16 มีนาคม
ความรุนแรง 100 กม./ชม. (65 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
980 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.94 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนกำลังแรงแฮรอลด์ แก้

พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 5 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 5 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 2 (เข้าสู่แอ่ง) – 10 เมษายน
ความรุนแรง 220 กม./ชม. (140 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
924 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.29 นิ้วปรอท)

รายชื่อพายุ แก้

ภายในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ พายุดีเปรสชันเขตร้อนจะถูกตัดสินว่ามีกำลังเป็นพายุไซโคลนเมื่อมันมีความเร็วลมที่ 65 กม./ชม. และจะต้องมีการปรากฏชัดของพายุเกลขึ้นที่อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของศูนย์กลางพายุ โดยพายุดีเปรสชันเขตร้อนที่ทวีกำลังเป็นพายุไซโคลนภายในขอบเขตระหว่างเส้นศูนย์สูตรลงไปทางใต้ถึงเส้นขนานที่ 25 องศาใต้ และระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 160 องศาตะวันออก ถึง 20 องศาตะวันตก จะได้รับชื่อจากกรมอุตุนิยมวิทยาฟีจี (FMS) ขณะที่พายุดีเปรสชันเขตร้อนที่ทวีกำลังเป็นพายุไซโคลนทางใต้ของเส้นขนานที่ 25 องศาใต้ในขอบเขตเส้นเมริเดียนเดียวกันกับข้างต้น จะได้รับชื่อจากเมทเซอร์วิซแห่งนิวซีแลนด์ (MetService) ซึ่งทำงานร่วมกันกับกรมอุตุนิยมวิทยาฟีจี ส่วนพายุไซโคลนใดที่เคลื่อนตัวมาจากแอ่งภูมิภาคออสเตรเลีย ซึ่งพายุเหล่านั้นจะได้รับชื่อจากสำนักอุตุนิยมวิทยามาก่อนแล้ว จะคงชื่อเดิมของพายุนั้นไว้[1]

  • ริตา
  • ซาไร
  • ตีโน
  • เวซี
  • วิคกี
  • วาซี

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. RA V Tropical Cyclone Committee (October 11, 2018). Tropical Cyclone Operational Plan for the South-East Indian Ocean and the Southern Pacific Ocean 2018 (PDF) (Report). World Meteorological Organization. pp. I–4 – II–9 (9–21). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-10-12. สืบค้นเมื่อ October 12, 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้