พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร (5 ธันวาคม พ.ศ. 2426 — 18 ตุลาคม พ.ศ. 2490) พระนามเดิม พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 47 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทับทิม พระสนมเอก เป็นต้นราชสกุลวุฒิชัย[1]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นเอก
เสนาบดีกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 - 29 มิถุนายน พ.ศ. 2475
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช
ถัดไปพระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน)
เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ
ดำรงตำแหน่ง13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467 - 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
ถัดไปพระยาปรีชาชลยุทธ (วัน จารุภา)
(ในฐานะผู้บัญชาการทหารเรือ)
ประสูติ5 ธันวาคม พ.ศ. 2426
สิ้นพระชนม์18 ตุลาคม พ.ศ. 2490 (63 ปี)
ภรรยาชายา
หม่อมเจ้าพร้อมเพราพรรณ วุฒิชัย
หม่อม
หม่อมประพันธ์ วุฒิชัย ณ อยุธยา
พระบุตร10 องค์
ราชสกุลวุฒิชัย
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาทับทิม พระสนมเอก

พระประวัติ แก้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร มีพระนามเมื่อแรกประสูติที่ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทับทิม ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2426 มีพระโสทรเชษฐาและพระโสทรเชษฐภคินีสองพระองค์ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประเวศวรสมัย

 
ศาลกรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร ในวังสะพานขาว

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร เสด็จไปทรงศึกษาที่ยุโรป ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2440 ขณะมีพระชันษาได้ 14 ปี การเสด็จประพาสยุโรปครั้งนั้นมีพระราชโอรสตามเสด็จ 4 พระองค์ คือ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2448 เสด็จกลับประเทศสยาม ทรงเข้ารับราชการทางทหารเรือ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สถาปนาเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสิงหวิกรมเกรียงไกร[2] และในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463 โปรดให้เลื่อนเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสิงหวิกรมเกรียงไกร[3] ได้เลื่อนยศตามลำดับจนเป็นนายพลเรือเอก เมื่อ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467 [4] ต่อมาได้เป็นนายพลเอกและเลื่อนกรมเป็น พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร ทรงศักดินา 15,000 ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474[5] และทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467[6]ต่อมาเมื่อมีการรวมกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงทหารเรือเข้าเป็นกระทรวงเดียวกัน เป็นกระทรวงกลาโหม กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกรได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม ตั้งแต่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2475 (หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง) จึงได้ลาออกจากราชการ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร ได้เริ่มประชวรด้วยโรคพระวักกะ (ไต) พิการ อยู่เป็นเวลานาน ต่อมาประชวรเป็นอัมพาต และพระโรคนิ่ว ในปี พ.ศ. 2482 จนถึงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2490 ก็ประชวรเป็นโรคน้ำในพระปัปผาสะ (ปอด) และสิ้นพระชนม์ในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2490 สิริพระชันษา 63 ปี 10 เดือน ได้รับพระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2491[7]

พระโอรส พระธิดา แก้

 
ตราราชสกุลวุฒิชัย

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร เสกสมรสกับหม่อมเจ้าพร้อมเพราพรรณ วุฒิชัย (ราชสกุลเดิม ดิศกุล; 9 ธันวาคม พ.ศ. 2431 - 4 กันยายน พ.ศ. 2467) พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2449[8][9][10] มีพระโอรส-ธิดา ดังนี้

  1. หม่อมเจ้าทรงวุฒิไชย วุฒิชัย (27 มีนาคม พ.ศ. 2454 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2484) เสกสมรสกับคันธรสรังษี แสงมณี (เดิม: หม่อมเจ้าคันธรสรังษี รพีพัฒน์; 5 มีนาคม พ.ศ. 2459 - 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2526)
  2. หม่อมเจ้าอุทัยเฉลิมลาภ วุฒิชัย (11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2457 - 18 สิงหาคม พ.ศ. 2501) เสกสมรสกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร (ราชสกุลเดิม ฉัตรชัย; 27 มิถุนายน พ.ศ. 2464 - 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552)
  3. หม่อมเจ้าสุวภาพเพราพรรณ สวัสดิวัตน์ (14 มกราคม พ.ศ. 2459 - 20 กันยายน พ.ศ. 2530) เสกสมรสกับหม่อมเจ้านนทิยาวัด สวัสดิวัตน์ (25 เมษายน พ.ศ. 2452 – 18 ตุลาคม พ.ศ. 2501)
  4. หม่อมเจ้าหญิงโต (30 มีนาคม พ.ศ. 2460 - 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2463)
  5. หม่อมเจ้าชายพอ (24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 - 1 มีนาคม พ.ศ. 2463)
  6. หม่อมเจ้าชาย (ยังไม่มีพระนาม; 14 ตุลาคม พ.ศ. 2463 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2463)

และมีพระโอรส-ธิดา กับหม่อมประพันธ์ วุฒิชัย ณ อยุธยา (สกุลเดิม ชะตารุ่ง; 4 มีนาคม พ.ศ. 2452 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2526) ดังนี้

  1. หม่อมเจ้าไกรสิงห์ วุฒิชัย (29 เมษายน พ.ศ. 2472 - 3 มีนาคม พ.ศ. 2519)
  2. วุฒิสวาท อนุมานราชธน (8 ตุลาคม พ.ศ. 2473 - 23 มกราคม พ.ศ. 2557) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับพลตำรวจเอกเสริม จารุรัตน์ ต่อมาหย่าและสมรสใหม่กับเอ็ดมันด์ ไครฟฟ์ และญาณิน อนุมานราชธน
  3. วุฒิเฉลิม วุฒิชัย (ประสูติ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2477) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับวิรัช ณ สงขลา และอี. มอกัน กิลเบอร์ต ต่อมาทรงหย่า
  4. วุฒิวิฑู พี. เทอเสน (2 ธันวาคม พ.ศ. 2479 - 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับหม่อมราชวงศ์วิภากร รพีพัฒน์ และเคอร์ท โบรป พี. เทอเสน

พระเกียรติยศ แก้

ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร
 
ธงประจำพระอิสริยยศ
 
ตราประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ แก้

  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ (5 ธันวาคม พ.ศ. 2426 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสิงหวิกรมเกรียงไกร (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสิงหวิกรมเกรียงไกร (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468)
  • พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมขุนสิงหวิกรมเกรียงไกร (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474)
  • พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 – 18 ตุลาคม พ.ศ. 2490)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

พระยศ แก้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร
รับใช้  ไทย
แผนก/สังกัดกองทัพบกสยาม
กองทัพเรือสยาม
กองเสือป่า
ชั้นยศ  พลเอก
  พลเรือเอก
นายหมวดเอก

พระยศทหาร แก้

  • พลเอก[23]
  • พลเรือเอก

พระยศเสือป่า แก้

  • นายหมวดเอก[24]

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

  1. "พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานนามสกุลสำหรับเชื้อพระวงศ์พระบรมราชวงศ์ชั้น ๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46 (0 ก): 24. 9 มิถุนายน 2472. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-06-12. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2563. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนและตั้งกรมพระองค์เจ้า และเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 29 (ก): 248–249. 13 พฤศจิกายน ร.ศ. 131. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. "พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนกรม ตั้งกรมและตั้งเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 37 (0 ก): 293–294. 11 พฤศจิกายน 2463. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. พระราชทานยศทหารเรือ
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศเลื่อนกรมและตั้งเจ้าพระยา, เล่ม 48, 15 พฤศจิกายน 2474, หน้า 405
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ
  7. ราชกิจจานุเบกษา, หมายกำหนดการ ที่ ๓/๒๔๙๑ พระราชทานเพลิงพระศพ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๑ เล่ม 65, ตอน 16 ง, 23 มีนาคม พ.ศ. 2491, หน้า 1117
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-21. สืบค้นเมื่อ 2006-10-11.
  9. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  10. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ พระนามพระราชโอรส พระราชธิดา และพระราชนัดดา. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 4, พ.ศ. 2548. 136 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-746-7
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 23, ตอน 27, 30 กันยายน ร.ศ. 125, หน้า 679
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 48, ตอน 0 ง, 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474, หน้า 3094
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนักนี้ รายพระนามและนามผู้ที่จะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล, เล่ม 29, ตอน 0 ง, 17 พฤศจิกายน ร.ศ. 131, หน้า 1829
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 30, ตอน 0 ง, 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456, หน้า 1963
  15. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 25, ตอน 26, 27 กันยายน ร.ศ. 127, หน้า 756
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานฐานันดร เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม 35, ตอน 0 ง, 2 ธันวาคม พ.ศ. 2461, หน้า 2182
  17. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม 25, ตอน 35, 29 พฤศจิกายน ร.ศ. 127, หน้า 1012
  18. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน ฝ่ายหน้า เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 27, ตอน 0 ง, 11 มกราคม ร.ศ. 129, หน้า 2410
  19. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า, เล่ม 43, ตอน 0 ง, 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469, หน้า 3120
  20. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม 63, ตอน 17 ง, 26 มีนาคม พ.ศ. 2489, หน้า 426
  21. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เก็บถาวร 2018-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 23, ตอน 28, 7 ตุลาคม ร.ศ. 125, หน้า 716
  22. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 34, ตอน 0 ง, 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2460, หน้า 3217
  23. พระราชทานยศทหารบก
  24. "พระราชทานยศเสือป่า" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-06-24. สืบค้นเมื่อ 2021-06-24.
ก่อนหน้า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร ถัดไป
นายพลเรือเอก สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา   เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ
(13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467 - 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474)
  นายพลเรือตรี พระยาปรีชาชลยุทธ์
(วัน จารุภา)
พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช   เสนาบดีกระทรวงกลาโหม
(8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 - 19 มิถุนายน พ.ศ. 2475)
  พลเรือโท พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน)
พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช   ผู้บัญชาการทหารบก
(8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475)
  พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
(พจน์ พหลโยธิน)