พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน)

นายพลเรือโท พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน) (9 มิถุนายน พ.ศ. 2429 – 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482)[1] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

นายพลเรือโท
พระยาราชวังสัน
(ศรี กมลนาวิน)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 – 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476
นายกรัฐมนตรีพระยามโนปกรณ์นิติธาดา
ก่อนหน้าตนเอง
(ในฐานะเสนาบดี)
ถัดไปนายพลตรี พระยาประเสริฐสงคราม
เสนาบดีกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
12 สิงหาคม – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้านายพลเอก พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร
ถัดไปตนเอง
(ในฐานะรัฐมนตรี)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 มิถุนายน พ.ศ. 2429
เสียชีวิต21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 (52 ปี)
คู่สมรสนาง ถนอมศรี ประดิยัตินาวายุทธ
คุณหญิง ระจิตร ราชวังสัน
บุตรพลเรือตรี กมล กมลนาวิน
ดร. โกมล กมลนาวิน
นาย กมุท กมลนาวิน
พลเรือตรี กุมุท กมลนาวิน
พลเรือเอก โกมุท กมลนาวิน
ด.ช. กสุม กมลนาวิน
นาย กุสุม กมลนาวิน
คุณหญิง กมลนารี สิงหะ
พลเรือเอก โกสุม กมลนาวิน
นาง กมลเทวี ฉันทานุมัติ
บุพการี
  • นายเล็ก กมลนาวิน (บิดา)
  • นางจู กมลนาวิน (มารดา)

พลเรือโท พระยาราชวังสัน มีนามเดิมว่า ศรี กมลนาวิน เกิดที่ตำบลบ้านท่าจีน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร เป็นบุตรนายเล็ก-นางจู กมลนาวิน เป็นพี่ชายของหลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน)[2] สมรสกับ นางสาวถนอมศรี วีระศิริ (นางถนอมศรี ประดิยัตินาวายุทธ) เมื่อ พ.ศ. 2456 ต่อมาเมื่อนางถนอมศรีถึงแก่กรรม จึงสมรสกับ นางสาว ระจิตร วีระศิริ (คุณหญิงระจิตร ราชวังสัน) น้องสาวภรรยา

ศรี กมลนาวิน จบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบอังกฤษ[3] เข้าเรียนเป็นนักเรียนนายเรือ เมื่อ พ.ศ. 2446[4] ได้ถวายตัวต่อพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เพื่อเข้าเป็นนักเรียนนายเรือ เมื่อ พ.ศ. 2449 และรับราชการทหารเรือ เคยเป็นผู้บังคับการเรือหลวงคำรณสินธุ์ซึ่งเดินทางจากประเทศญี่ปุ่นมายังประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2455[5] ขณะนั้นมีบรรดาศักดิ์เป็น นาวาตรี หลวงประดิยัตินาวายุทธ (ศรี) ร.น. เป็นผู้บังคับการเรือพระที่นั่งมหาจักรี[6] เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนนายเรือ เสนาธิการทหารเรือ[7] ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาราชวังสันเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2464 ในรัชกาลที่ 6[8]และได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นองคมนตรีไทยในสมัยรัชกาลที่ 7 เมื่อ พ.ศ. 2470–2476 เป็นเสนาบดีกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พ.ศ. 2475–2476) ได้รับพระราชทานยศเป็น พลเรือโท เมื่อวันที่ 7 เมษายน ปี พ.ศ. 2475[9]

พลเรือโท พระยาราชวังสัน เคยดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน ระหว่าง พ.ศ. 2478–2482[10] ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมถึงเยอรมนี จึงถึอว่าเป็นอัครราชทูตไทยประจำเยอรมนีอีกตำแหน่งด้วย[11]

พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน) มีหลานชายคือกษิติ กมลนาวิน อดีตผู้ประกาศข่าวสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ซึ่งเป็นสุดยอดแฟนพันธุ์แท้ฝรั่งเศส ปี 2005 และสุดยอดแฟนพันธุ์แท้กีฬาโอลิมปิก ปี 2008

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

พลเรือโท พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสยามและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้

อ้างอิง แก้

  1. เกิดวังปารุสก์ พระนิพนธ์ใน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์
  2. ประวัติและผลงานโดยสังเขปของพลเรือโท พระราชวังสัน (ศรีกมลนาวิน) หน้า 4[ลิงก์เสีย]
  3. นาวิกศาสตร์ ปีที่ ๘๖ เล่มที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๖ สำเนาจาก กูเกิลแคช
  4. เพชรพระมหามงกุฎ ตอน กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
  5. "เรือรบในรัชสมัย รัชกาลที่ 6". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-07. สืบค้นเมื่อ 2007-11-03.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-10. สืบค้นเมื่อ 2007-11-03.
  7. แจ้งความกระทรวงทหารเรือ
  8. พระราชทานบรรดาศักดิ์
  9. พระราชทานยศ
  10. "รายนามเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-03. สืบค้นเมื่อ 2007-11-03.
  11. รายชื่ออดีตอัครราชทูตและเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศเยอรมนี[ลิงก์เสีย]
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๖๙๗, ๑๒ กรกฎาคม ๒๔๘๐
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๕๑๖, ๑ มีนาคม ๒๔๗๓
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕๕๒, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๔๖๘
  15. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๔๐, ๓ มกราคม ๒๔๕๗
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๔๒, ๗ มกราคม ๒๔๖๖
  17. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๖๕, ๒๒ ธันวาคม ๑๓๑
  18. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๕๖, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
  19. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๔๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๔๙๐, ๒๓ มีนาคม ๒๔๗๒
  20. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความให้ประดับตราต่างประเทศ, เล่ม ๕๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๖๔, ๑ ตุลาคม ๒๔๗๖
  21. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๖๒, ๑๘ เมษายน ๒๔๘๑
  22. "Hitler Honours Siamese". The Straits Times. 3 April 1938. p. 3.