พรรคโอกาสใหม่ (อังกฤษ: New Opportunity Party) เป็นพรรคการเมืองไทยที่ประชุมจัดตั้งเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2564 และได้รับจดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ในชื่อ พรรคไทยเป็นหนึ่ง ต่อมาเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เปลี่ยนชื่อพรรคเป็นชื่อปัจจุบัน ปัจจุบันมี สุปกิต โพธิ์ปภาพันธ์ เป็นหัวหน้าพรรค และ ธงชัย ลืออดุลย์ เป็นเลขาธิการพรรค

พรรคโอกาสใหม่
ผู้ก่อตั้งศิระ โค้วตระกูล
หัวหน้าสุปกิต โพธิ์ปภาพันธ์
รองหัวหน้า
  • ศิระ โค้วตระกูล
  • วีระชัย นาคมาศ
  • สุนทร คงคานิ่ง
เลขาธิการธงชัย ลืออดุลย์
เหรัญญิกโสภณ ทองดี
นายทะเบียนสมาชิกเฉลิมพล มั่งคั่ง
โฆษกอรรทิตย์ฌาณ คูหาเรืองรอง
กรรมการบริหาร
  • ภัทรานันท์ ทองประพาฬ
  • อรรถพล จันทร์ศรี
  • วัชรวิชย์ สุขวัฒนาภิรมย์
  • รวินท์ ชอบใช้
  • ธนพนธ์ สิงหพันธุ์
  • ธนเมธ วัฒนโกเมร
  • โชติกาญจน์ บุญพรม
  • อิทธิเดช ธเนศวัฒนะ
คำขวัญโอกาสสำหรับคนไทยทุกคน
ก่อตั้งพรรคไทยเป็นหนึ่ง:
17 มกราคม พ.ศ. 2564; 3 ปีก่อน (2564-01-17)
พรรคโอกาสใหม่:
3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567; 23 วันก่อน (2567-11-03)
รับรองตามกฎหมาย28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565; 2 ปีก่อน (2565-02-28)
ที่ทำการ411 อาคารเจดับบลิว ทาวเวอร์ ชั้น 2-3 ถนนศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร
เว็บไซต์
okardmai.org
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

ประวัติ

แก้

พรรคไทยเป็นหนึ่ง

แก้
 
ตราสัญลักษณ์ของพรรคไทยเป็นหนึ่ง (พ.ศ. 2565–2567)

พรรคไทยเป็นหนึ่ง (อังกฤษ: Thai To Be One Party; ชื่อย่อ: ทปน.) ประชุมจัดตั้งพรรคขึ้นเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2564 และได้รับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 เป็นลำดับที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565[1] มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 462/21 หมู่ 10 ถนนสายเอเชีย ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์[2] โดยมี ศิระ โค้วตระกูล (หนึ่ง เอพริล) (ชื่อเดิม: ณัฐธีร์ พัสวีดิลกภัทร์, นิธิพัฒน์ พัสวีดิลกภัทร์ และ ศิระ อวยศิลป์ ตามลำดับ) อดีตผู้จัดละครจากไอพีเอ็ม โปรดักชั่น ซึ่งเคยมีผลงานที่มีชื่อเสียงคือละครดาวย้อมแสง เป็นผู้ก่อตั้งและหัวหน้าพรรคคนแรก และ โชติกาญจน์ บุญพรม เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก โดยพรรคมีนโยบายหลักหลายประการ ซึ่งเน้นไปที่การสนับสนุนและส่งเสริมสิทธิของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทยเป็นหลัก[3]

พรรคโอกาสใหม่

แก้

ต่อมาเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 มีการประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1/2567 ของพรรคไทยเป็นหนึ่งที่ห้องทับทิมสยาม โรงแรมบ้านสวนรีสอร์ท หมู่ 9 ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีกลุ่มข้าราชการเกษียณ เช่น อดีตข้าราชการกระทรวงมหาดไทยสายปกครองซึ่งเป็นส่วนใหญ่ และอดีตข้าราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรี อดีตผู้ช่วยดำเนินการสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อดีตผู้ช่วยดำเนินการสมาชิกวุฒิสภา และนักธุรกิจอื่น ๆ เข้าร่วม[4][5]

ในการประชุมครั้งนี้มีการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค โดยเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น พรรคโอกาสใหม่ นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ รวมทั้งที่ทำการพรรค โดยเปลี่ยนมาใช้เลขที่ 411 อาคารเจดับบลิว ทาวเวอร์ ชั้น 2-3 ถนนศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร โดยเช่าพื้นที่จากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น เป็นที่ทำการพรรคแห่งใหม่ และเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 16 คน ซึ่งพบว่า ที่ประชุมมีมติเลือกอดีตข้าราชการและผู้ว่าราชการจังหวัดต่าง ๆ เป็นกรรมการบริหารพรรคจำนวน 4 คน เช่น สุปกิต โพธิ์ปภาพันธ์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เป็นหัวหน้าพรรค, ธงชัย ลืออดุลย์ อดีตรองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา, อดีตเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[6] อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดบึงกาฬ เป็นเลขาธิการพรรค, วีระชัย นาคมาศ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดมุกดาหาร เป็นรองหัวหน้าพรรคคนที่ 2, โสภณ ทองดี อดีตอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นเหรัญญิกพรรค และเฉลิมพล มั่งคั่ง อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหารอีกคนหนึ่ง เป็นนายทะเบียนสมาชิกพรรค ส่วนอดีตหัวหน้าพรรคและอดีตเลขาธิการพรรคยังดำรงตำแหน่งในพรรคตามเดิม โดยศิระ อดีตหัวหน้าพรรค เป็นรองหัวหน้าพรรคคนที่ 1 ส่วน โชติกาญจน์ บุญพรม อดีตเลขาธิการพรรค เป็นกรรมการบริหารพรรค[4]

บทบาททางการเมือง

แก้

มีกระแสข่าวว่า พรรคโอกาสใหม่จัดตั้งขึ้น (ผ่านการเปลี่ยนชื่อจากพรรคไทยเป็นหนึ่ง) จากการที่ ฉัตรชัย พรหมเลิศ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย และ จตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมมือกับนายทุนจากพรรคการเมืองใหญ่ในกลุ่มพรรคร่วมรัฐบาลปัจจุบันพรรคหนึ่ง ซึ่งต่อมามีบทวิเคราะห์ว่าหมายถึงสารัชถ์ รัตนาวะดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)[7] โดยการสนับสนุนจากพรรคภูมิใจไทย ซึ่งมีหัวหน้าพรรคคืออนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[8] ประสานงานให้กลุ่มข้าราชการเกษียณในสังกัดของตนเข้ามารวมตัวกัน รวมถึงมีอดีตข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจเอกร่วมให้คำปรึกษา[9] ทั้งนี้ ฉัตรชัยและจตุพรเคยพยายามจัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อสนับสนุนพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยที่ 3 ในช่วงปี พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นช่วงที่พลเอกประยุทธ์เริ่มมีความขัดแย้งกับพลเอกประวิตร แต่ในที่สุด พลเอกประยุทธ์ก็ย้ายไปสมัครสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ ทำให้ฉัตรชัยต้องยุติแผนการจัดตั้งพรรคดังกล่าวไปก่อน[10] และในช่วงการเลือกสมาชิกวุฒิสภาไทย พ.ศ. 2567 ทั้งคู่ก็เคยพยายามส่งผู้สมัครลงสมัครให้ได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาให้ได้มากที่สุด แต่สุดท้าย ที่นั่งส่วนใหญ่ของวุฒิสภาไทยก็เป็นของกลุ่ม "สว.สีน้ำเงิน" ที่เชื่อมโยงกับพรรคภูมิใจไทย[11]

โดยการตั้งพรรคโอกาสใหม่นี้ มีจุดมุ่งหมายจะดึงสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้ามาในสังกัดของตน โดยเฉพาะจากพรรครวมไทยสร้างชาติในกลุ่มที่เคยสนับสนุนพลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยที่ 3 ก่อนที่ต่อมาสมาชิกกลุ่มนี้จะลาออกจากพรรครวมไทยสร้างชาติตามพลเอกประยุทธ์ที่วางมือทางการเมืองหลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566[5] และยังมีเป้าหมายต้องการตัดคะแนนผู้ได้รับเลือกตั้ง สส. แบบบัญชีรายชื่อของพรรคประชาชน[8] เพื่อให้ได้ สส. จำนวน 20 คนขึ้นไป และเป็นพรรคการเมืองขนาดกลางในสภาผู้แทนราษฎร[9] ตามแผนการจัดตั้งรัฐบาลของทักษิณ ชินวัตร ที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ ในการเลือกตั้งครั้งถัดไป[7] โดยมีพรรคกล้าธรรมและพรรคประชาธิปัตย์มาร่วมรัฐบาล ส่วนพรรคประชาชนและพรรคภูมิใจไทยจะเป็นฝ่ายค้าน[12] ทั้งนี้เนื่องจากพบว่า กรรมการบริหารพรรคหลายคนมีความเชื่อมโยงกับปลัดกระทรวงทั้ง 2 คน โดยเฉพาะสุปกิต หัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคคนอื่น ๆ ที่มีประวัติเป็นอดีตผู้ว่าราชการจังหวัด ที่เชื่อมโยงถึงฉัตรชัย[9] รวมถึงเหรัญญิกพรรคที่เชื่อมโยงไปยังจตุพร และยังมีหนึ่งในกรรมการบริหารพรรคคือ ภัทรานันท์ ทองประพาฬ ซึ่งเป็นน้องสาวของพิชชารัตน์ เลาหพงศ์ชนะ สส. บัญชีรายชื่อของพรรครวมไทยสร้างชาติ และเป็นเลขานุการของสารัชถ์ซึ่งเป็นกลุ่มนายทุนข้างต้น[7] แต่สุปกิตปฏิเสธ โดยระบุว่าพรรคโอกาสใหม่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นทางเลือกใหม่ของประชาชนในการเลือกตั้งครั้งถัดไปเท่านั้น และตนเพียงแต่ขอคำปรึกษาจากฉัตรชัยตามปกติ[13] นอกจากนี้ ยังมีบทวิเคราะห์เพิ่มเติมว่า ปานปรีย์ พหิทธานุกร อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน อาจจะมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคโอกาสใหม่ต่อจากสุปกิต รวมถึงจะนำนักวิชาการและนักธุรกิจทั้งหมดมาร่วมงานในพรรคโอกาสใหม่อีกด้วย[7]

บุคลากร

แก้

หัวหน้าพรรค

แก้
ลำดับ รูป ชื่อ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
1   ศิระ โค้วตระกูล 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
2   สุปกิต โพธิ์ปภาพันธ์ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน -

เลขาธิการพรรค

แก้
ลำดับ รูป ชื่อ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
1   โชติกาญจน์ บุญพรม 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
2   ธงชัย ลืออดุลย์ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ปัจจุบัน -

กรรมการบริหารพรรคชุดปัจจุบัน

แก้
ลำดับที่ ชื่อ ตำแหน่ง[4][5]
1 สุปกิต โพธิ์ปภาพันธ์ หัวหน้าพรรค
2 ศิระ โค้วตระกูล รองหัวหน้าพรรค
3 วีระชัย นาคมาศ
4 สุนทร คงคานิ่ง
5 ธงชัย ลืออดุลย์ เลขาธิการพรรค
6 โสภณ ทองดี เหรัญญิกพรรค
7 เฉลิมพล มั่งคั่ง นายทะเบียนสมาชิกพรรค
8 อรรทิตย์ฌาณ คูหาเรืองรอง โฆษกพรรค
9 ภัทรานันท์ ทองประพาฬ กรรมการบริหารพรรค
10 อรรถพล จันทร์ศรี
11 วัชรวิชย์ สุขวัฒนาภิรมย์
12 รวินท์ ชอบใช้
13 ธนพนธ์ สิงหพันธุ์
14 ธนเมธ วัฒนโกเมร
15 โชติกาญจน์ บุญพรม
16 อิทธิเดช ธเนศวัฒนะ

การเลือกตั้ง

แก้

การเลือกตั้งทั่วไป

แก้

ในสมัยพรรคไทยเป็นหนึ่ง พรรคส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 โดยศิระได้ระบุว่าจะเป็นการเลือกตั้งครั้งเดียวของพรรคไทยเป็นหนึ่ง และนำเสนอนโยบายขยายเวลาการให้บริการสถานบันเทิง โดยสิ้นสุดในเวลา 4:00 น. และลดอายุขั้นต่ำของผู้เข้าใช้บริการสถานบันเทิงเหลือ 18 ปี[14] โดยพรรคส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 31 คน แบ่งเป็นแบบแบ่งเขต 8 คน หนึ่งในนั้นมีจังหวัดกำแพงเพชรซึ่งส่งลงสมัครทั้งจังหวัดรวม 3 เขต[15] และแบบบัญชีรายชื่ออีก 23 คน รวมถึงเสนอชื่อ พลเอก ประสูตร รัศมีแพทย์ อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นบุคคลที่ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี[16] อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคไทยเป็นหนึ่งได้รับคะแนนเสียงรวมเพียง 13,605 คะแนนเท่านั้น ส่งผลให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อได้คะแนนไม่เพียงพอที่จะได้รับการเลือกตั้ง

อ้างอิง

แก้
  1. "ราชกิจจานุเบกษา ประกาศนายทะเบียน รับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคไทยรักชาติ – พรรคไทยเป็นหนึ่ง เผยรายชื่อกรรมการบริหารพรรค". มติชนสุดสัปดาห์. 27 พฤษภาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคไทยเป็นหนึ่ง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (41 ง): 292–333. 28 กุมภาพันธ์ 2022.
  3. "อดีตผู้จัดละคร "หนึ่ง เอพริล"ตั้งพรรค "ไทยเป็นหนึ่ง"". ผู้จัดการออนไลน์. 18 พฤษภาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. 4.0 4.1 4.2 "อดีตผู้ว่า ฯ – บิ๊กข้าราชการเกษียณ รวมตัวก่อตั้ง 'พรรคโอกาสใหม่'". สำนักข่าวอิศรา. 16 พฤศจิกายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. 5.0 5.1 5.2 "เปิดตัว พรรคโอกาสใหม่ บิ๊กมท.ร่วมเพียบ นายทุนดังสนับสนุน จับขั้วรัฐบาลเพื่อไทยล่วงหน้า". มติชน. 20 พฤศจิกายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "ชงชื่อ 'ธงชัย ลืออดุลย์' นั่งเลขารัฐมนตรี". วอยซ์ทีวี. 1 สิงหาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2024.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 ชื่นฤทัยในธรรม, สนธิญาณ (24 พฤศจิกายน 2024). "ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับ ทักษิณยังไงก็ไม่รอด ดิ้นเลือกตั้งครั้งหน้า". สถาบันทิศทางไทย. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2024 – โดยทาง เฟซบุ๊ก.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. 8.0 8.1 "ประธานผู้ลี้ภัยเย้ยพรรคโอกาสใหม่ช่างฝันกลางวัน!". ไทยโพสต์. 13 พฤศจิกายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. 9.0 9.1 9.2 ตาวัน, วงค์ (19 พฤศจิกายน 2024). "ชกไม่มีมุม - พรรคใหม่-ไม่ได้มาเล่นๆ เครือข่าย 2 ปลัดคนดัง". ข่าวสด. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "ปิดฉาก "ประยุทธ์-ประวิตร" เปิดทาง "พรรคโอกาสใหม่" เสียบแทน พปชร.-รทสช". คมชัดลึก. 23 พฤศจิกายน 2024. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. "คิกออฟ 'พรรคโอกาสใหม่' - 'ฉัตรชัย-จตุพร' ผนึก 'กลุ่มทุน'". กรุงเทพธุรกิจ. 23 พฤศจิกายน 2024. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. "เปิดตัวพรรคโอกาสใหม่ เกมใหญ่ชิง "สายอำนาจ"". ประชาชาติธุรกิจ. 23 พฤศจิกายน 2024. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. "หัวหน้าพรรคโอกาสใหม่ยันจัดตั้ง ไม่ได้หวังเป็นอะไหล่ให้ใคร รับมีหารือ 'ปลัดฉิ่ง'". สำนักข่าวอิศรา. 17 พฤศจิกายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. "18 ปีเข้าผับ – ผับปิดตี 2 คุยถึงนโยบายเอาใจสายปาร์ตี้ และจุดยืนของพรรคไทยเป็นหนึ่ง". เดอะ แมทเทอร์. 17 กุมภาพันธ์ 2023. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. "พรรคไทยเป็นหนึ่ง ประกาศส่งผู้สมัคร ส.ส.ครบ 3 เขต จ.กำแพงเพชร". มติชน. 20 กุมภาพันธ์ 2023. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. "'แคนดิเดตนายกฯ' นอกกระแส หลายวงการขยับสู่พื้นที่การเมือง". กรุงเทพธุรกิจ. 6 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้