สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม

สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม (ชื่อเล่น: ต้อย) เป็นนักธุรกิจด้านสื่อและนักเคลื่อนไหวการเมืองชาวไทย หนึ่งในแกนนำคนสำคัญของ กปปส.[1] ก่อตั้งสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น., สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน, ทีนิวส์[2], ท็อปนิวส์ และสถาบันทิศทางไทย

สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม
เกิดสนธิญาณ หนูแก้ว
5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 (66 ปี)
อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
อาชีพนักธุรกิจ, นักเคลื่อนไหวทางการเมือง
องค์การทีนิวส์, เนชั่น, ท็อปนิวส์
ขบวนการกปปส.

ประวัติ แก้

สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม มีชื่อเดิมว่า สนธิญาณ หนูแก้ว[1] ชีวิตในวัยเด็กค่อนข้างมีความลำบากอยู่พอสมควรเนื่องจากถูกพ่อแม่ทิ้งแต่แต่เล็ก โดยเขาได้อยู่กับยายและผู้เป็นลุงที่เลี้ยงดูและส่งเสียเรียนหนังสือจนจบมัธยมปลาย แต่เอ็นทรานซ์ไม่ติดเลยไปเรียนมหาวิทยาลัยรามคำแหงจนจบการศึกษาปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ระหว่างศึกษาเขาก็กลายเป็นนักกิจกรรมตัวยงของมหาวิทยาลัย เขาเริ่มทำงานเป็นนักข่าวที่สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2529 ก่อนที่จะออกมาในตำแหน่งบรรณาธิการบริหาร[ต้องการอ้างอิง] และจากนั้นได้จัดตั้งสำนักข่าวไอ เอ็น เอ็น ร่วมกับสมชาย แสวงการ และได้จัดตั้งบริษัท สยามทีวี แอนด์ เทเลคอมมิวนิเคชั่น ประมูลโครงการทีวีเสรี ในฐานะผู้บริหารบริษัทฯ ในเครือของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์[ต้องการอ้างอิง] แต่ต่อมาได้ถอนตัวกลับไปบริหารสำนักข่าว ไอ เอ็น เอ็น

เขาเคยประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และอีกหลายสาขา จนกระทั่งรู้จักกับบุญชัย เบญจรงคกุล และได้ร่วมเป็นฝ่ายบริหารธุรกิจในเครือยูคอม และดีแทค[ต้องการอ้างอิง] และหลังจากวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 สนธิญาณได้หันมาศึกษาธรรมะอย่างจริงจังกับพระครูเมตตากิตติคุณ (สมหมาย อัตตมโน) วัดป่าสันติกาวาส จังหวัดอุดรธานี จนได้จัดตั้งมูลนิธิชื่นฤทัยในธรรม และสร้างสถานปฏิบัติธรรมชื่นฤทัยในธรรมที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ต่อมากลายเป็นวัดชื่อ วัดป่าพุทธเมตตาศรีธรรมราม[ต้องการอ้างอิง]

ในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2550 สนธิญาณได้ก่อตั้งสำนักข่าวทีนิวส์ (TNews) เพื่อรายงานข่าวผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยระบบบริการสารสั้นเป็นรายแรกของประเทศไทย และได้ก่อตั้ง ทีนิวส์ ทีวี (TNews TV) เป็นสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2553 ซึ่งมีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จนประสบความสำเร็จทางธุรกิจได้รับความนิยมเป็นสถานีข่าวผ่านดาวเทียมอันดับที่ 1 จากการวัดอันดับของนิลเส็น[3]

และต่อมาในปี พ.ศ. 2560 สนธิญาณได้รับเชิญจากฉาย บุนนาค ให้เข้ามาร่วมบริหารเครือเนชั่นเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สิน ทำให้ช่องเนชั่นทีวีได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นจนกลับมาทำกำไรให้กับช่อง[4] ระหว่างนี้สนธิญาณยังได้ก่อตั้งสถาบันทิศทางไทยขึ้นเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562[5] แต่เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 สนธิญาณลาออกจากทุกตำแหน่งในเครือเนชั่น[6] เพื่อไปเคลื่อนไหวในสถาบันทิศทางไทย[7] ก่อนที่ในวันที่ 18 ธันวาคม จะก่อตั้ง บริษัท ท็อปนิวส์ ดิจิทัล มีเดีย จำกัด และเปิดตัวสถานีโทรทัศน์ท็อปนิวส์ โดยดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารด้วยตัวเอง และนำผู้ประกาศข่าวและผู้บริหารที่ลาออกจากเนชั่นทีวีก่อนหน้านี้มาร่วมงานทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เป็นต้นมา[8] แต่ภายหลัง สนธิญาณมีทิศทางการทำธุรกิจที่ขัดแย้งกับผู้บริหาร ทำให้เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 สนธิญาณได้เขียนจดหมายลาออกจากทุกตำแหน่งในท็อปนิวส์ โดยมีผลในวันที่ 15 พฤศจิกายน

บทบาททางการเมือง แก้

ในปี พ.ศ. 2556 เขาจัดตั้งองค์กร "สันนิบาตประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแห่งประเทศไทย"[9]

ในห้วงวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 เขาเข้าร่วมกับ "กลุ่มสยามสามัคคี" มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 เป็นแกนนำ กปปส. ลำดับที่สอง รองจาก สุเทพ เทือกสุบรรณ[1] ต่อมาถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมตัวในข้อหาฝ่าฝืนพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน)[10] อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องในคดีเกี่ยวกับ กปปส.[11] แต่เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาแก้เป็นจำคุกสนธิญาณเป็นเวลา 8 เดือน โดยไม่รอลงอาญา พร้อมเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี[12]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม ประวัติแกนนำ กปปส. ที่ถูกจับ
  2. มองสถานการณ์ก่อน-หลังเลือกตั้งของสื่อเว็บไซต์-เคเบิล-วิทยุชุมชน (เสื้อแดง)
  3. "ครบรอบ 10 ปี "สำนักข่าวทีนิวส์" แขกผู้มีเกียรติเดินทางอวยพรคับคั่ง!!". ทีนิวส์. 2017-08-04. สืบค้นเมื่อ 2021-03-05.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. ""ทีวี"แห่เขย่าผังชิงเรทติ้ง สู้ศึกระลอกใหม่ หลัง 7 ช่องยกธงขาว". กรุงเทพธุรกิจ. 2019-10-02. สืบค้นเมื่อ 2021-03-05.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "เปิดตัว 'สถาบันทิศทางไทย' ขับเคลื่อนไทยไร้ขัดแย้ง". กรุงเทพธุรกิจ. 2019-11-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-03-05.
  6. ""สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม" ลาออกจากเนชั่น มีผล 1 มิ.ย. 63". ผู้จัดการออนไลน์. 26 พฤษภาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "สะพัด! "สันติสุข-อัญชะลี" ไขก๊อกเนชั่นซบ "นิว 18" หลังปั้นเรตติ้งมากว่า 2 ปี". ผู้จัดการออนไลน์. 2020-11-03. สืบค้นเมื่อ 2021-03-24.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. ""สนธิญาณ" แบไต๋แบรนด์ "ท็อปทีวี" ปั้น 7 อดีตผู้ประกาศเนชั่น โวมีเครดิตพอกู้เงิน ม.ค.นี้ได้ดูแน่". sondhitalk.com (ภาษาอังกฤษ). 2020-12-16. สืบค้นเมื่อ 2021-02-26.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "Bloggang.com : : haiku : แก้รัฐธรรมนูญ (๓)". BlogGang. 2013-05-05. สืบค้นเมื่อ 2021-03-05.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "รวบสนธิญาณแกนนำกปปส.คุมสอบตชด.ภาค1". สนุก.คอม. 2014-02-10. สืบค้นเมื่อ 2021-03-05.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. "ศาลอาญา ยกฟ้อง 4 แกนนำกปปส. พ้นผิดข้อกล่าวหาร่วมกบฏ". มติชน. 2019-07-25. สืบค้นเมื่อ 2021-06-14.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. "จำคุก "สนธิญาณ" 8 เดือน ตัดสิทธิ์เลือกตั้ง 5 ปี คดี กปปส.ยกฟ้องจำเลยอื่น". ไทยรัฐ. 2021-10-20. สืบค้นเมื่อ 2023-11-12.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้