เฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์

รายการเรียลลิตีโชว์แข่งขันทำอาหาร

เฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ (อังกฤษ: Hell’s Kitchen Thailand) เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตีโชว์แข่งขันทำอาหารในครัวจริง เพื่อหาผู้ชนะมาเป็นหัวหน้าแผนกครัวในภัตตาคารจริง โดย บริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด ซื้อลิขสิทธิ์จากไอทีวีสตูดิโอส์ของสหราชอาณาจักร นำมาผลิตในรูปแบบของประเทศไทย ดำเนินรายการโดย เชฟป้อม - หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล, เชฟวิลแมน ลีออง, เชฟอ๊อฟ - ณัฐวุฒิ ธรรมพันธุ์ และเชฟเอียน - พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ทางช่อง 7HD

เฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์
ประเภทเรียลลิตี, การทำอาหาร
สร้างโดยกอร์ดอน แรมซีย์
เค้าโครงจากเฮลล์คิทเช่น (เวอร์ชั่นสหราชอาณาจักร (ต้นฉบับ)
เวอร์ชั่นสหรัฐ (รูปแบบหลัก))
ผู้กำกับศิลป์กฤตพร แย้มสุข
กรรมการ
บรรยายโดยปิยะ วิมุกตายน
ประเทศแหล่งกำเนิดประเทศไทย
ภาษาต้นฉบับภาษาไทย
จำนวนฤดูกาล1
จำนวนตอน15
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตกิติกร เพ็ญโรจน์
สถานที่ถ่ายทำเดอะ สตูดิโอ พาร์ค อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
ผู้ลำดับภาพกิตติ ภิญโญ
กล้องกล้องหลายตัว
ความยาวตอน110 นาที
บริษัทผู้ผลิตบริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด
ออกอากาศ
เครือข่ายช่อง 7HD
ออกอากาศ4 กุมภาพันธ์ 2567 (2567-02-04) –
19 พฤษภาคม 2567 (2567-05-19)

รูปแบบรายการ

แก้

เฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ เป็นรายการเรียลลิตีโชว์การแข่งขันทำอาหารที่ใช้รูปแบบการคัดออก (Elimination) อย่างต่อเนื่อง เพื่อทดสอบความมุ่งมั่นในการทำอาหารของผู้เข้าแข่งขันตลอดทั้งฤดูกาล จากผู้เข้าแข่งขันจำนวน 16 คน จะคัดออกทุกครั้งจนเหลือผู้ชนะเลิศ 1 คน ที่จะได้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าแผนกครัว หรือ หัวหน้าเชฟ (Head Chef) ในภัตตาคารจริง โดย บริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด ผู้ผลิตรายการแข่งขันทำอาหารในประเทศไทยที่มีชื่อเสียงหลายรายการ เช่น เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย, มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์, ศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก, Bid Coin Chef สุดยอดเชฟหักเหลี่ยมโหด และ ท็อปเชฟไทยแลนด์ ได้บรรลุข้อตกลงซื้อลิขสิทธิ์จากไอทีวีสตูดิโอส์ เจ้าของลิขสิทธิ์รายการนี้จากสหราชอาณาจักร รวมถึงกอร์ดอน แรมซีย์ ผู้สร้างรายการนี้ เพื่อนำมาผลิตในรูปแบบของประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565[1]

เฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ มีความแตกต่างจากประเทศอื่น ๆ เนื่องจากมีหัวหน้าเชฟประจำรายการจำนวน 4 คน ที่สลับสับเปลี่ยนกันควบคุมครัวในการบริการอาหารเย็นในแต่ละสัปดาห์[2] ดังนั้น ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำและบริการอาหาร 4 ประเภท สลับสับเปลี่ยนกันไปตามโจทย์อาหารของหัวหน้าเชฟที่ควบคุมครัวในสัปดาห์นั้น ๆ ดังนี้

  1. อาหารตะวันตกดั้งเดิม (Classic Western Cuisine) ดูแลโดย วิลแมน ลีออง (เชฟวิลแมน)
  2. อาหารไทยร่วมสมัย (Contemporary Thai Cuisine) ดูแลโดย หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล (เชฟป้อม)
  3. อาหารตะวันตกสมัยใหม่ (Modern Western Cuisine) ดูแลโดย พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย (เชฟเอียน)
  4. อาหารเอเชียแนวผสมผสาน (Asian Twist) ดูแลโดย ณัฐวุฒิ ธรรมพันธุ์ (เชฟอ๊อฟ)

การแข่งขันในรายการ เฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ ใช้รูปแบบของสหรัฐเป็นส่วนใหญ่ โดยรับสมัครบุคคลจากทุกอาชีพที่มีประสบการณ์ในการทำอาหาร รวมถึงนักเรียนหลักสูตรการทำอาหาร และเชฟมืออาชีพ[3] โดยแบ่งผู้เข้าแข่งขันออกเป็น 2 ทีม ได้แก่ ทีมสีแดง สำหรับผู้หญิง และ ทีมสีน้ำเงิน สำหรับผู้ชาย ทุกคนจะได้รับเสื้อยูนิฟอร์มเชฟที่มีแผงสีนั้น ๆ บนไหล่ และจะอยู่ในทีมเดิมตลอดการแข่งขันส่วนใหญ่ แต่การย้ายทีมสามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อคณะหัวหน้าเชฟเห็นว่าจำนวนผู้เข้าแข่งขันในสัปดาห์นั้น ๆ ของทั้งสองทีมต่างกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป หรือความสามารถในการทำงานของทั้งสองทีมต่างกันมากเกินไป และขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะหัวหน้าเชฟ

ภารกิจย่อย (Challenge)

แก้

ในภารกิจย่อย ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนหรือแต่ละทีม จะได้รับมอบหมายให้ทำอาหารตามโจทย์การแข่งขันของหัวหน้าเชฟที่ควบคุมครัวในสัปดาห์นั้น ๆ ในรูปแบบต่าง ๆ ภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 45 นาที หลังจากหมดเวลา หัวหน้าเชฟจะชิมและตัดสินอาหารของผู้เข้าแข่งขันแต่ละคน โดยมีสิทธิ์ให้คะแนนตั้งแต่ 0-3 คะแนน ต่อ 1 จาน ทีมหรือผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับคะแนนรวมมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะในรอบนี้ โดยได้รับรางวัล (กิจกรรมสันทนาการต่าง ๆ นอกภัตตาคารเฮลล์คิทเช่น และรางวัลอื่น ๆ ที่เป็นไปได้) ส่วนทีมหรือผู้เข้าแข่งขันที่แพ้จะถูกลงโทษ ซึ่งของรางวัลและบทลงโทษจะแตกต่างกันในแต่ละสัปดาห์

บริการอาหารเย็น (Dinner service)

แก้

ก่อนเริ่มการบริการอาหารเย็น จะให้ผู้เข้าแข่งขันศึกษาเมนูจากตำราอาหารของหัวหน้าเชฟที่ควบคุมครัวในสัปดาห์นั้น ๆ และแบ่งหน้าที่ประจำในแต่ละแผนกครัว (อาหารเรียกน้ำย่อย, เนื้อสัตว์, อาหารทะเล, ซอส, ของตกแต่งหรือเครื่องเคียง และของหวาน) จากนั้น มีเวลา 2 ชั่วโมง ในการเตรียมอาหารในครัวตามแผนกที่แบ่งกันไว้ โดยประสานงานกับเพื่อนร่วมทีม เพื่อให้ทั้งคุณภาพอาหารและการนำเสนอเป็นไปตามมาตรฐานระดับสูงของภัตตาคารเฮลล์คิทเช่น และพร้อมสำหรับการให้บริการอาหารเย็นให้กับลูกค้า 100 คน ที่จ่ายเงินจองไว้แล้ว โดยคาดหวังว่าจะได้รับประทานอาหารเรียกน้ำย่อย อาหารจานหลัก และของหวาน

เมนูอาหารสำหรับการให้บริการอาหารเย็นนั้นมีการเปลี่ยนแปลงทุกสัปดาห์ ตามโจทย์ของหัวหน้าเชฟที่ควบคุมครัวในสัปดาห์นั้น ๆ นอกจากนี้ ในระหว่างการบริการ ยังอาจมีให้ผู้เข้าแข่งขันทำอาหารตามโจทย์พิเศษ เช่น บริการอาหารให้กับบุคคลสำคัญมาก (VIP) ที่นั่งอยู่ที่โต๊ะเชฟใกล้ครัว, ส่งผู้เข้าแข่งขัน 1 คนมาทำอาหารพิเศษให้ลูกค้าที่ไม่รับประทานโปรตีนบางอย่างในอาหารจานหลัก, ออกไปนำเสนอเมนูให้ลูกค้าระหว่างให้บริการ หรือ ทำอาหาร ตกแต่งจาน และบริการที่โต๊ะลูกค้า เป็นต้น

หลังเปิดภัตตาคารเฮลล์คิทเช่น (Hell's Kitchen Restaurant) หัวหน้าเชฟที่ควบคุมครัวในสัปดาห์นั้น ๆ จะเรียกออเดอร์ทั้งหมดสำหรับแต่ละคอร์สในแต่ละโต๊ะ และต้องนำไปบริการพร้อมกัน แต่หากมีจานใดจานหนึ่งที่ผิดพลาด เช่น ทำเนื้อสัตว์ผิดระดับ หรือปรุงรสไม่ถูกต้อง จะส่งออเดอร์ทั้งหมดกลับไปให้แก้ไขหรือทำใหม่ ในขณะที่ผู้เข้าแข่งขันถูกแบ่งออกเป็นสองทีม หัวหน้าเชฟจะได้รับความช่วยเหลือจากผู้ช่วยเชฟสองคนที่เชื่อถือได้ โดยทั้งสองคนจะดูแลครัวแต่ละฝั่งด้วยมาตรฐานเดียวกัน และแจ้งเตือนหัวหน้าเชฟเมื่อพบปัญหาต่าง ๆ

เป้าหมายของหัวหน้าเชฟคือการบริการอาหารเย็นให้เสร็จทุกครั้ง แต่หากการทำงานของทีมใดทีมหนึ่งหรือทั้งสองทีมเกิดปัญหาใหญ่ และไม่ผ่านมาตรฐานของภัตตาคารเฮลล์คิทเช่น หัวหน้าเชฟจะสั่งปิดครัวก่อนเวลา และไล่ผู้เข้าแข่งขันออกจากครัวกลับไปยังห้องพักทั้งหมด ซึ่งจะทำให้การบริหารอาหารเย็นของทีมนั้น ๆ สิ้นสุดลงในทันที (ซึ่งในกรณีนี้ ลูกค้าที่ได้รับออเดอร์จากทีมที่ถูกปิดครัวจะได้รับประทานข้าวผัดกะเพราไข่ดาว หรืออาจเป็นเมนูอื่นทดแทน และได้รับเงินจองคืนเต็มจำนวน หรือมีผู้ช่วยเชฟบริการต่อจนเสร็จสมบูรณ์ แล้วแต่กรณี) นอกจากนี้ หากมีผู้เข้าแข่งขันทำอาหารออกมาผิดพลาดหลาย ๆ ครั้ง หัวหน้าเชฟอาจไล่ผู้เข้าแข่งขันคนนั้น ๆ ออกจากครัวเป็นรายบุคคล (โดยทั่วไปคือ 3 ครั้ง แต่จำนวนครั้งอาจมีการเปลี่ยนแปลง หรืออาจไม่มีการไล่ออกจากครัวเป็นรายบุคคลก็ได้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของหัวหน้าเชฟแต่ละคนในขณะนั้น)

การคัดออก (Elimination)

แก้

หลังเสร็จสิ้นการบริการอาหารเย็น (หลังปิดภัตตาคารเฮลล์คิทเช่น) จะแบ่งการตัดสินของหัวหน้าเชฟที่ควบคุมครัวในสัปดาห์นั้น ๆ เป็น 3 กรณี ดังนี้

  • หากไม่มีการปิดครัว หัวหน้าเชฟที่ควบคุมครัวในสัปดาห์นั้น ๆ จะรวบรวมผู้เข้าแข่งขันจากครัวฝั่งทีมสีนํ้าเงินไปยังครัวฝั่งทีมสีแดง และประกาศทีมที่ชนะและแพ้ในรอบบริการอาหารเย็นในสัปดาห์นั้น ๆ โดยประเมินจากข้อผิดพลาดระหว่างการบริการ ซึ่งในบางสัปดาห์ หากทั้งสองทีมมีข้อผิดพลาดใกล้เคียงหรือเท่า ๆ กัน อาจให้เสมอกันก็ได้
  • หากมีการปิดครัวเพียงฝั่งใดฝั่งหนึ่ง ทีมที่ไม่ถูกปิดครัวจะเป็นทีมที่ชนะในรอบบริการอาหารเย็นในสัปดาห์นั้น ๆ ไปโดยปริยาย
  • หากปิดครัวทั้งคู่ ทั้งสองทีมจะแพ้ทั้งคู่ไปโดยปริยาย

ทีมที่แพ้ จะต้องร่วมกันคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันที่คิดว่าควรออกจากการแข่งขันอย่างน้อย 2 คน (กรณีเสมอจะคัดเพียงทีมละ 1 คน) หลังจากประชุมเสร็จ คณะหัวหน้าเชฟจะรวบรวมผู้เข้าแข่งขันทุกคนในห้องรับประทานอาหาร ทีมที่ชนะจะนั่งรวมกันที่ฝั่งซ้ายมือของคณะหัวหน้าเชฟ ส่วนทีมที่แพ้จะยืนหน้าคณะหัวหน้าเชฟ จากนั้น ตัวแทนของทีมที่แพ้จะเสนอชื่อผู้เข้าแข่งขันที่ควรออกจากการแข่งขันตามที่ประชุมกันไว้ และคณะหัวหน้าเชฟจะเรียกผู้เข้าแข่งขันที่ถูกเสนอชื่อทั้งหมดให้ออกมายืนด้านหน้า (แต่ในบางครั้ง หัวหน้าเชฟที่ควบคุมครัวในสัปดาห์นั้น ๆ สามารถยกเลิกการเสนอชื่อ และ/หรือ เลือกผู้เข้าแข่งขันได้ด้วยตนเองได้ตามความเหมาะสม) จากนั้น จะให้แต่ละคนอธิบายเหตุผลที่พวกเขาควรอยู่ในรายการต่อ หรืออธิบายหน้าที่ ความรับผิดชอบ และข้อผิดพลาดของตนในแผนกครัวที่มีปัญหา หรืออาจถามผู้เข้าแข่งขันที่เป็นเพื่อนร่วมทีมเกี่ยวกับผู้ที่ควรถูกคัดออก แล้วแต่กรณี

หลังจากผู้เข้าแข่งขันที่ถูกเสนอชื่อตอบคำถามของหัวหน้าเชฟเสร็จสิ้นแล้ว ในแต่ละสัปดาห์ หัวหน้าเชฟที่ควบคุมครัวในสัปดาห์นั้น ๆ จะตัดสินผู้เข้าแข่งขันให้ออกจากการแข่งขันอย่างน้อย 1 คน ผู้เข้าแข่งขันที่ถูกคัดออกจะต้องถอดเสื้อยูนิฟอร์มของรายการคืนให้หัวหน้าเชฟที่ควบคุมครัวในสัปดาห์นั้น ๆ แล้วเดินออกจากภัตตาคารผ่านโถงทางเดิน จากนั้น คณะหัวหน้าเชฟจะส่งผู้เข้าแข่งขันที่เหลือกลับเข้าห้องพัก ก่อนเดินกลับขึ้นไปยังห้องทำงาน เพื่อนำเสื้อยูนิฟอร์มของผู้เข้าแข่งขันที่ถูกคัดออกไปแขวน จากนั้น รูปของผู้เข้าแข่งขันคนนั้นจะถูกเผาทิ้ง ในฉากนี้ จะมีเสียงพากย์ของหัวหน้าเชฟที่ควบคุมครัวในสัปดาห์นั้น ๆ เป็นการอธิบายความคิดเห็นของเขาในการคัดผู้เข้าแข่งขันคนดังกล่าวออก

เมื่อการแข่งขันดำเนินมาจนเหลือผู้เข้าแข่งขันตามจำนวนที่คณะหัวหน้าเชฟเห็นสมควร จะเข้าสู่รอบเสื้อดำ (Black Jacket Round) ผู้เข้าแข่งขันที่เหลือจากทั้งสองทีมจะถูกรวมทีมเป็นทีมเดียว โดยได้รับเสื้อยูนิฟอร์มสีดำ (Black Jacket) แทนเสื้อสีของทีมเดิม เพื่อแสดงว่าเป็นผู้เข้าแข่งขันกลุ่มสุดท้ายที่เหลืออยู่ในเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ของฤดูกาลนั้น ๆ แล้วแข่งขันกันต่อจนกระทั่งเหลือผู้เข้าแข่งขัน 2 คนสุดท้ายที่จะผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ หรือ การบริการครั้งสุดท้าย (Final service)

บริการครั้งสุดท้าย (Final service)

แก้

ในตอนสุดท้ายของแต่ละฤดูกาล ผู้เข้าแข่งขัน 2 คนสุดท้ายจะได้รับการเลื่อนขั้นเป็นหัวหน้าเชฟประจำทีมสีแดงและทีมสีน้ำเงิน โดยจะมีอดีตผู้เข้าแข่งขันที่ถูกคัดออกกลับมาอีกครั้ง เพื่อให้ผู้เข้าแข่งขันที่เป็นหัวหน้าเชฟเลือกเป็นลูกทีมของตน ซึ่งผู้ที่ได้คะแนนในรอบก่อนหน้ามากกว่าจะได้สิทธิ์เลือกลูกทีมก่อน หัวหน้าเชฟจะมีหน้าที่คิดเมนูทั้งอาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer) อาหารจานหลัก (Main Course) และของหวาน (Dessert) รวมทั้งวางแผนและแจกแจงหน้าที่และความรับผิดชอบในแต่ละแผนกครัว (Station) ของแต่ละทีมให้กับลูกทีมของตน

ก่อนเริ่มต้นการบริการครั้งสุดท้าย คณะหัวหน้าเชฟจะเข้ามาตรวจสอบให้แน่ใจว่าเมนูทั้งหมดของทั้งสองทีมตรงตามมาตรฐานของภัตตาคารเฮลล์คิทเช่น จากนั้นจะหันไปดูแลในส่วนการบริการเป็นหลัก เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เข้าแข่งขันที่เป็นหัวหน้าเชฟประจำทีมทั้งสองคนจะสามารถรักษามาตรฐานของภัตตาคารเฮลล์คิทเช่นไว้ได้ แต่จะไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้เข้าแข่งขันที่เป็นหัวหน้าเชฟสามารถควบคุมครัวของตนอย่างเต็มที่ (ยกเว้นในบางกรณีที่ผู้เข้าแข่งขันไม่ได้ควบคุมครัวหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับทีมได้อย่างเหมาะสม) และหากมีลูกค้าสั่งซื้ออาหารควบทั้งสองทีม ทั้งสองทีมจะต้องดำเนินการตามออเดอร์ตามจำนวนที่สั่งให้ครบทั้งหมด และต้องนำไปบริการพร้อมกัน

หลังสิ้นสุดการบริการครั้งสุดท้าย ลูกค้าที่เข้าร่วมรับประทานอาหารทั้ง 100 คน จะร่วมลงคะแนนให้ผู้เข้าแข่งขันที่เป็นหัวหน้าเชฟทั้ง 2 คน ซึ่งคณะหัวหน้าเชฟจะใช้เป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาผลการตัดสิน โดยภายในห้องทำงานของคณะหัวหน้าเชฟจะมีประตู 2 บาน ที่ทอดออกไปสู่ระเบียงเหนือห้องรับประทานอาหารของภัตตาคารเฮลล์คิทเช่น หลังจากพิจารณาผลเสร็จแล้ว คณะหัวหน้าเชฟจะให้ผู้เข้าแข่งขันที่เป็นหัวหน้าเชฟทั้ง 2 คน ยืนหลังประตูคนละบาน โดยมีประตูเพียงบานเดียวที่สามารถเปิดออกได้ หลังจากคณะหัวหน้าเชฟบอกให้ทั้งคู่หมุนลูกบิดประตูพร้อมกันแล้ว ผู้ที่เปิดประตูออกจะเป็นผู้ชนะเลิศประจำฤดูกาล ได้รับเงินรางวัลจำนวน 1,000,000 บาท และมีโอกาสร่วมงานกับภัตตาคารเครือเฮลล์คิทเช่นในประเทศไทย นอกจากนี้ ผู้ชนะเลิศจะแขวนภาพของตนร่วมกับผู้ชนะเลิศคนอื่น ๆ ซึ่งจะมองเห็นได้ที่ทางเข้าด้านหน้าภัตตาคาร

หมายเหตุ: ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศจะมีแขกกิตติมศักดิ์มาร่วมรับประทานอาหารในภัตตาคารด้วย

ผู้ดำเนินรายการ

แก้
ผู้ดำเนินรายการ ฤดูกาลที่
1
หัวหน้าเชฟ
หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล หลัก
วิลแมน ลีออง หลัก
ณัฐวุฒิ ธรรมพันธุ์ หลัก
พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย หลัก
ผู้ช่วยเชฟ
ทีมสีแดง
พฤกษ์ สัมพันธวรบุตร หลัก
ทีมสีน้ำเงิน
ธีรภัทร ตียาสุนทรานนท์ หลัก

ภาพรวมในแต่ละฤดูกาล

แก้
ฤดูกาลที่ ช่วงเวลาออกอากาศ ชนะเลิศ รองชนะเลิศ จำนวนผู้เข้าแข่งขัน จำนวนตอน รางวัลสำหรับผู้ชนะเลิศ
1 4 กุมภาพันธ์ 2567 – 19 พฤษภาคม 2567 ภูเตโช กาญจนกิตติกูล (บิว) ณัฐศิมาภรณ์ หลักไชย (เคอร์) 16 15 เงินรางวัล 1,000,000 บาท และทำงานในภัตตาคารเครือเฮลล์คิทเช่นในประเทศไทย

ฤดูกาลที่ 1

แก้
เฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์
ฤดูกาลที่ 1
กรรมการ
จำนวนผู้เข้าแข่งขัน16
ผู้ชนะเลิศภูเตโช กาญจนกิตติกูล
รองชนะเลิศณัฐศิมาภรณ์ หลักไชย
สถานที่แข่งขันเดอะ สตูดิโอ พาร์ค อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
ประเทศประเทศไทย
จำนวนตอน15
การออกอากาศ
เครือข่ายช่อง 7HD
ออกอากาศ4 กุมภาพันธ์ 2567 (2567-02-04) –
19 พฤษภาคม 2567 (2567-05-19)
ข้อมูลเพิ่มเติม
วันถ่ายทำ21 ธันวาคม 2566 (2566-12-21) –
26 มีนาคม 2567 (2567-03-26)

ผู้ดำเนินรายการ

แก้

ผู้เข้าแข่งขัน

แก้

ในฤดูกาลแรก มีผู้เข้าแข่งขัน 16 คน[2] ซึ่งในตอนแรกถูกแบ่งออกเป็นทีมสีน้ำเงินและสีแดงตามเพศ ดังต่อไปนี้

ชื่อ อายุ อาชีพ ลำดับการแข่งขัน
ภูเตโช กาญจนกิตติกูล (บิว)[] 37 Chef Owner ชนะเลิศ
วันที่ 19 พฤษภาคม
ณัฐศิมาภรณ์ หลักไชย (เคอร์) 30 Private Chef รองชนะเลิศ
วันที่ 19 พฤษภาคม
ชภรภัช ดาภาชุติสรรค์ (จิ๊บ)[] 40 Executive Chef ถูกคัดออกในรอบรองชนะเลิศ
วันที่ 12 พฤษภาคม
บุญยวีร์ ภาคย์วิศาล (ลูกจรรย์)[] 22 Creative Chef
นราดล ภู่เกษร (เบียร์) 44 Head Chef & Owner ถูกคัดออกหลังบริการครั้งที่ 12
วันที่ 5 พฤษภาคม
ราชวัติ วิเชียรรัตน์ (เก่ง)[][][] 42 Chef Owner & Executive Chef ถูกคัดออกหลังบริการครั้งที่ 11
วันที่ 28 เมษายน
อิทธิกร ตั้งวัฒนารัตน์ (มารวย) 30 Chef Owner & Executive Chef ถูกคัดออกหลังบริการครั้งที่ 10
วันที่ 21 เมษายน
ภัทฐิชา เดชรุ่งเรือง (เฟน) 33 Chef Owner ถูกคัดออกหลังบริการครั้งที่ 8
วันที่ 31 มีนาคม
กมเลศ ฤทธิ์เดชา (ใบตอง)[] 32 Chef Owner ถูกคัดออกหลังบริการครั้งที่ 7
วันที่ 24 มีนาคม
นรี บุณยเกียรติ (แอ้ม)[][] 40 Private Chef ถูกคัดออกหลังบริการครั้งที่ 6
วันที่ 17 มีนาคม
จัมเปียโร่ ควอตาเรโร่ (เปียโร่)
(Giampiero Quartararo)
35 Italian Head Chef ถูกคัดออกหลังบริการครั้งที่ 5
วันที่ 10 มีนาคม
ปิยศักดิ์ กัติยะ (เจมส์) 43 F&B Executive Chef ถูกคัดออกในรอบ "กำจัดตัวถ่วง"
วันที่ 3 มีนาคม
ฐิติพันธุ์ จงยิ่งเจริญ (พริกเผ็ช) 28 Chef & Food Stylist ถูกคัดออกหลังบริการครั้งที่ 4
วันที่ 25 กุมภาพันธ์
อรัญญา สาไทย (กบ) 54 อดีต Chef Owner ถูกคัดออกหลังบริการครั้งที่ 3
วันที่ 18 กุมภาพันธ์
สุมาลี วิชัยสิทธิ์ (มาลี) 45 Sous Chef ถูกคัดออกหลังบริการครั้งที่ 2
วันที่ 11 กุมภาพันธ์
ซัยยิดซูลกีฟลี ไซห์ฮามิ (ยิส)
(Syedzulkiflee Saihami)
34 Chef Owner ถูกคัดออกหลังบริการครั้งแรก
วันที่ 4 กุมภาพันธ์
  1. เคยเข้าร่วมการแข่งขันรายการ เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย (ฤดูกาลที่ 5)
  2. เคยเข้าร่วมการแข่งขันรายการ เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย One-On-One Battle (2023)
  3. เคยเข้าร่วมการแข่งขันรายการ จูเนียร์ มาสเตอร์เชฟ ไทยแลนด์
  4. 4.0 4.1 เคยเข้าร่วมการแข่งขันรายการ เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย (ฤดูกาลที่ 8)
  5. เคยเข้าร่วมการแข่งขันรายการ ศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก (ฤดูกาลที่ 2)
  6. เคยเข้าร่วมการแข่งขันรายการ เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย (ฤดูกาลที่ 9)
  7. เคยเข้าร่วมการแข่งขันรายการ ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ซีซั่นที่ 9
  8. เคยเข้าร่วมการแข่งขันรายการ ศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก (ฤดูกาลที่ 1)

ความคืบหน้าของผู้เข้าแข่งขัน

แก้

ในแต่ละสัปดาห์ สมาชิกในทีมคนหนึ่งของทีมที่แพ้จะถูกขอให้เสนอชื่อเพื่อนร่วมทีมจำนวนอย่างน้อย 2 คน (หรือบางครั้งหัวหน้าเชฟที่ควบคุมครัวในสัปดาห์นั้น ๆ จะเป็นผู้เสนอชื่อให้เอง) และ 1 ในจำนวนนั้นจะถูกคัดออกโดยหัวหน้าเชฟที่ควบคุมครัวในสัปดาห์นั้น ๆ

อันดับ ผู้เข้าแข่งขัน ทีมเริ่มต้น สลับทีม
ครั้งแรก
สลับทีม
ครั้งที่ 2
สลับทีม
ครั้งที่ 3
สลับทีม
ครั้งที่ 4
เดี่ยว รอบรอง
ชนะเลิศ
รอบชิง
ชนะเลิศ
ตอน 1 ตอน 2 ตอน 3 ตอน 4 ตอน 5 ตอน 6 ตอน 7 ตอน 8 ตอน 9 ตอน 10 ตอน 11 ตอน 12 ตอน 13 ตอน 14 ตอน 15
1 บิว ปิด ชนะ ยึด ชนะ ผ่าน ชนะ แพ้ ปิด เสมอ เสนอ ผ่าน เสนอ ผ่าน ผ่าน ชนะเลิศ
2 เคอร์ ปิด เสนอ เสนอ ชนะ เสนอ[] แพ้ ชนะ ชนะ เสมอ เสนอ เสนอ เสนอ เสนอ ผ่าน รองชนะเลิศ
3 จิ๊บ เสนอ ปิด ปิด ชนะ เสนอ[] ชนะ ชนะ ชนะ เสมอ เสมอ ผ่าน ปิด ผ่าน ออก
4 ลูกจรรย์ ปิด ปิด ปิด ชนะ ผ่าน ชนะ แพ้ ปิด เสมอ เสมอ ผ่าน ปิด ผ่าน ออก
5 เบียร์ ปิด ชนะ ยึด ปิด BoW เสนอ ชนะ ชนะ เสมอ เสมอ ผ่าน เสนอ ออก
6 เก่ง ปิด ชนะ ยึด ปิด ผ่าน แพ้ ชนะ ชนะ เสมอ เสมอ ผ่าน ออก
7 มารวย ปิด ชนะ ยึด เสนอ ผ่าน แพ้ ชนะ ชนะ เสนอ เสมอ ออก
8 เฟน ปิด ปิด เสนอ ชนะ เสนอ[] ชนะ แพ้ เสนอ ออก
9 ใบตอง ปิด ปิด ปิด ชนะ เสนอ[] ชนะ เสนอ ออก
10 แอ้ม ปิด ปิด ปิด ชนะ BoB ชนะ ออก
11 เปียโร่ ปิด ชนะ ยึด เสนอ เสนอ[] ออก
12 เจมส์ ปิด ชนะ ยึด เสนอ ออก[]
13 พริกเผ็ช เสนอ ชนะ ยึด ออก
14 กบ ปิด เสนอ ออก
15 มาลี เสนอ ออก
16 ยิส ออก
หมายเหตุ
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 เชฟที่ถูกเลือกให้เข้าแข่งขันในรอบ "กำจัดตัวถ่วง"
  2. เชฟที่ถูกเลือกให้เข้าแข่งขันและถูกคัดออกในรอบ "กำจัดตัวถ่วง"


รายชื่อตอน

แก้

ตอนที่ 1: เปิดครัวนรกกับ Head Chef ครั้งแรกของเชฟวิลแมน

แก้

ออกอากาศ 4 กุมภาพันธ์ 2567

ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 16 คน เดินทางด้วยรถตู้ (Mercedes-Benz Sprinter 419 Passenger Van Standard) ที่รายการเตรียมไว้ เมื่อมาถึงหน้าภัตตาคารเฮลล์คิทเช่น พวกเขาได้รับการต้อนรับด้วยพรมแดงและเครื่องดื่มต้อนรับ จากนั้นผู้ช่วยเชฟทั้ง 2 คน (เชฟพฤกษ์ กับ เชฟอาร์ มาในรถ ปอร์เช่ 911 3.0 CARRERA 4S CABRIO) และหัวหน้าเชฟทั้ง 4 คน (เชฟเอียน มาใน Ferrari 458 Italia, เชฟป้อม มาใน Aston Martin DB9, เชฟอ๊อฟ มาใน Jeep Wrangler Rubicorn และ เชฟวิลแมน มาใน Bentley Flying Spur) ขับรถเข้ามาจอดหน้าภัตตาคารเฮลล์คิทเช่นตามลำดับ แล้วลงมาแนะนำรูปแบบรายการพร้อมแนะนำของรางวัลว่า ผู้ชนะจะได้รับเงินรางวัล 1,000,000 บาท และได้รับโอกาสให้เข้าปฏิบัติงานจริงในภัตตาคารเครือเฮลล์คิทเช่นที่จะเปิดสาขาแรกในประเทศไทย จากนั้นเชฟอ๊อฟจึงให้ผู้เข้าแข่งขันเข้าไปในครัว และหยิบผ้ากันเปื้อนของแต่ละคนมาใส่เพื่อเริ่มการแข่งขัน

  • หัวหน้าเชฟประจำสัปดาห์/โจทย์: เชฟวิลแมน/โจทย์อาหารตะวันตกดั้งเดิม
  • ภารกิจส่วนบุคคล (Individual challenge): ในภารกิจแรกของเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ ทั้งสองทีมจะต้องส่งตัวแทนออกมาดวลกันตัวต่อตัวในแต่ละโจทย์อาหาร เพื่อให้หัวหน้าเชฟในแต่ละโจทย์อาหารทั้ง 4 คนตัดสิน โดยมีเวลาในการทำอาหาร 45 นาที
    • เหตุการณ์ในระหว่างการแข่งขัน: มีผู้เข้าแข่งขัน 2 คนฝ่าฝืนกฎในรอบนี้ คือ เจมส์ และยิส โดยในกรณีของเจมส์ คือ ขณะที่เชฟป้อมเข้ามาดูทีมสีน้ำเงิน พบว่า เขาชิมอาหารในช้อนและนำไปกวนต่อในหม้อ ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดหลักสุขอนามัย เชฟป้อมจึงพูดว่า "ใครจะกินขี้ปากคุณ" พร้อมสั่งให้เจมส์ทิ้งอาหารทั้งหมดในที่ล้างมือและให้ทำใหม่ และในกรณีของยิส คือ เมื่อหมดเวลาในการทำอาหารแล้ว ยิสพยายามจะจัดจานของตนให้เสร็จ แต่เชฟเอียนพูดว่า "บอกให้หยุด ยิสผมบอกว่าหยุดทำใช่ไหม เอาจานออกมาเลย"
    • ผลการแข่งขัน:
คู่ที่ โจทย์ การแข่งขัน
ทีมสีแดง ทีมสีน้ำเงิน
ผู้เข้าแข่งขัน คะแนน ผู้เข้าแข่งขัน
1 อาหารตะวันตกดั้งเดิม กบ 3 1 เปียโร่
2 อาหารไทยร่วมสมัย แอ้ม 2 1 พริกเผ็ช
3 อาหารเอเชียแนวผสมผสาน เฟน 2 3 เบียร์
4 อาหารตะวันตกสมัยใหม่ ใบตอง 1 2 บิว
5 อาหารตะวันตกดั้งเดิม เคอร์ 2 2 เก่ง
6 อาหารไทยร่วมสมัย มาลี 1 0[] ยิส
7 อาหารเอเชียแนวผสมผสาน จิ๊บ 2 1 เจมส์
8 อาหารตะวันตกสมัยใหม่ ลูกจรรย์ 3 2 มารวย
รวม ชนะ 16 12 แพ้

หมายเหตุ:

  1. ผู้เข้าแข่งขันเสิร์ฟอาหารลงจานไม่ทัน
  • ทีมที่ชนะรอบภารกิจ: ทีมสีแดง
  • รางวัล/บทลงโทษ:
    • ทีมชนะ (ทีมสีแดง): ได้ร่วมดินเนอร์สุดหรูกับเชฟวิลแมน ที่ Octave Rooftop Lounge & Bar at Bangkok Marriott Hotel Sukhumvit รวมถึงได้สอบถามเมนูที่จะบริการให้ลูกค้าในรอบบริการอาหารเย็นทั้งหมด
    • ทีมแพ้ (ทีมสีน้ำเงิน): ให้ทำความสะอาดครัวทั้งหมด และต้องศึกษาเมนูที่จะบริการให้ลูกค้าในรอบบริการอาหารเย็นทั้งหมดด้วยตนเองโดยไม่มีผู้สอน
  • บริการอาหารเย็น (Dinner service) ครั้งที่ 1:
ผู้รับผิดชอบแต่ละแผนกครัว และเมนูต่าง ๆ
ประเภท อาหารเรียกน้ำย่อย
(Appetizer)
อาหารจานหลัก (Main Course) ของหวาน
(Dessert)
เนื้อสัตว์ เครื่องเคียง ซอส อาหารทะเล
ผู้รับผิดชอบ ทีมสีแดง แอ้ม, ใบตอง กบ ลูกจรรย์ เฟน จิ๊บ เคอร์, มาลี
ทีมสีน้ำเงิน พริกเผ็ช, ยิส เก่ง บิว, เปียโร่ เก่ง, บิว, เปียโร่ เบียร์ มารวย, เจมส์
เมนู
  • King crab Rillette
  • Smoked wild salmon
  • Sear King Scallop
  • เป็ด
    • Pan Sear french duck breast
    • Duck leg Roulade Confit
    • Berry Compote
  • เนื้อวัว
    • Pan Roasted Grain Fed Beef Tenderloin
  • Pan sear Black Grouper
  • Butter Poach Lobster Tail
  • Lemon Mousseline
  • Beaujolais Pear Tarte Tatin
  • Brioche Butter Pudding
    • แขก VIP ในบริการอาหารเย็น:
    • เหตุการณ์ในระหว่างการบริการ: ในการบริการอาหารเย็นครั้งแรกของเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ ทั้งสองทีมมีปัญหาตั้งแต่จานเรียกน้ำย่อย โดยทีมสีแดง ใบตองทำเห็ดโรยหน้าแซลมอนขม และจิ๊บส่งสแกลลอปดิบไปให้เชฟวิลแมน เชฟวิลแมนจึงเขวี้ยงถาดสแกลลอปลงกลางครัว และมาลีแกะปูผิดพลาดจนเชฟวิลแมนพบก้างปู จึงถูกเรียกไปเตือนถึง 2 ครั้ง ส่วนทีมสีน้ำเงิน ยิสแกะปูผิดพลาดจนพบก้างปู พริกเผ็ชจึงถูกเรียกไปเตือนถึง 2 ครั้งเช่นกัน และบิวทำอาหารจานหลักไปล่วงหน้าโดยที่เชฟวิลแมนยังไม่ได้เรียก ต่อมา เจมส์ทำเค้กทาร์ตไหม้ และเบียร์ทำสแกลลอปดิบ เชฟวิลแมนจึงสั่งให้ทั้งคู่กินของที่ตนทำผิดพลาดทั้งหมด ส่วนอาหารจานหลัก แม้กบจะทำเนื้อได้ความสุกถูกระดับ แต่ทีมสีแดงก็ยังนำไปบริการไม่ได้ เพราะเฟนทำเบอร์เนสซอสเหลวและข้นเกินไป เชฟวิลแมนจึงสั่งให้เฟนกินซอส จากนั้น มาลียังแกะปูผิดพลาดจนพบก้างปูอีก 2 จาน เชฟวิลแมนจึงไล่มาลีออกจากครัวเป็นคนแรกของเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ ต่อมายังตำหนิกบที่หั่นเนื้อเองโดยพลการ เนื่องจากเป็นหน้าที่ของหัวหน้าเชฟ (ในสัปดาห์ดังกล่าวคือเชฟวิลแมน) เท่านั้น ส่วนทีมสีน้ำเงิน เก่งทำเนื้อวัวผิดระดับ และพริกเผ็ชทำมันฝรั่งดิบ เชฟวิลแมนจึงสั่งให้กินมันฝรั่ง ถือจานดังกล่าวแล้วไล่ออกจากครัวไปอีก 1 คน ในที่สุด เมื่อทั้งสองทีมมีข้อผิดพลาดจำนวนมาก โดยเฉพาะก้างปู เชฟวิลแมนจึงสั่งปิดครัวทั้งสองทีมในทันที
    • ผู้ที่ถูกไล่ออกจากครัว: มาลี และ พริกเผ็ช
  • ผลการบริการอาหารเย็น ครั้งที่ 1: ถูกปิดครัวและแพ้ทั้งสองทีม
  • การคัดออก (Elimination): ในห้องพัก ผู้ช่วยเชฟของทั้งสองทีมได้เข้าไปบอกให้แต่ละทีมประชุมกันเพื่อเสนอชื่อผู้เข้าแข่งขันทีมละ 2 คนให้เชฟวิลแมนคัดออก หลังจากกลับมาที่ครัว เชฟวิลแมนได้ประกาศให้ทั้งสองทีมแพ้ทั้งคู่ และให้แต่ละทีมเสนอชื่อ 2 คนดังกล่าว โดยทีมสีน้ำเงิน เก่งได้เสนอชื่อยิสและพริกเผ็ช ส่วนทีมสีแดง ในตอนแรกแอ้มตั้งใจเสนอชื่อ 3 คนแต่เชฟวิลแมนไม่อนุญาต จึงประชุมกันใหม่แล้วเสนอชื่อจิ๊บและมาลี จากนั้นคณะหัวหน้าเชฟได้ถามทั้ง 4 คนถึงเหตุผลที่ต้องการอยู่ต่อ รวมถึงข้อผิดพลาดของแต่ละคน โดยฝั่งทีมสีแดง จิ๊บสารภาพว่าส่งสแกลลอปดิบทำให้ทีมช้า ส่วนมาลีกล่าวว่าตนแกะปูผิดพลาด แต่จริง ๆ ตนดูแลของหวาน เชฟวิลแมนจึงถามผู้รับผิดชอบจานเรียกน้ำย่อยคือใบตองและแอ้ม โดยใบตองกล่าวว่าตนเป็น 1 ใน 3 ชื่อที่ทีมโหวตในรอบแรก ส่วนแอ้มกล่าวว่า "ไม่อยากออกค่ะ" ซึ่งทำให้แอ้มถูกวิพากษ์วิจารณ์จากผู้รับชมรายการ ขณะที่ทีมสีน้ำเงิน ยิสสารภาพในภายหลังว่าเป็นผู้แกะปู แต่ยังระบุว่าให้พริกเผ็ชทำมันฝรั่ง พริกเผ็ชจึงกล่าวสวนกลับไปทันทีว่าพวกตนทั้งคู่ทำมันฝรั่งด้วยกัน ทำให้เชฟวิลแมนตำหนิยิสว่าไม่ออกมาร่วมยอมรับผิด และปล่อยให้พริกเผ็ชรับผิดชอบเพียงคนเดียว ถือว่าไม่ยุติธรรมกับพริกเผ็ช ดังนั้น จึงให้จิ๊บ มาลี และพริกเผ็ช กลับไปรวมกับเพื่อนร่วมทีมตามลำดับ และตัดสินให้ยิสออกจากการแข่งขัน เนื่องจากรับไม่ได้ที่ให้ผู้อื่นยอมรับผิดแทน
  • ผู้ที่ถูกเสนอชื่อให้คัดออก: ยิส พริกเผ็ช จิ๊บ และ มาลี
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: ยิส
  • ความคิดเห็นของเชฟวิลแมน: "ความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ทุกคน แต่ควรต้องออกมายอมรับความผิดพลาดของตัวเอง ถ้าให้คนอื่นรับหน้าแทน คุณก็ไม่มีวันพัฒนา"

ตอนที่ 2: Head Chef ครั้งแรกของเชฟเอียน

แก้

ออกอากาศ 11 กุมภาพันธ์ 2567

  • หัวหน้าเชฟประจำสัปดาห์/โจทย์: เชฟเอียน/โจทย์อาหารตะวันตกสมัยใหม่
  • ภารกิจส่วนบุคคล (Individual challenge): ในรอบนี้ ทั้งสองทีมจะต้องทำอาหารตะวันตกสมัยใหม่คนละ 1 จาน และใช้เป็ดเป็นวัตถุดิบหลัก โดยมีเวลาในการทำอาหาร 45 นาที
    • เหตุการณ์ในระหว่างการแข่งขัน: เจมส์ฝ่าฝืนกฎในรอบนี้ โดยเมื่อเชฟอ๊อฟบอกเจมส์ว่าเขาทำอาหารผิดโจทย์ (สลัด) เจมส์พยายามให้เพื่อนร่วมทีมของเขา (เก่ง และพริกเผ็ช) ช่วยจัดจานของเขาออกมาให้กลับมาเป็นอาหารตะวันตกสมัยใหม่ เชฟอ๊อฟจึงถามเจมส์ว่า "เจมส์ คุณทำเองไม่เป็นเหรอ"
    • ผลการแข่งขัน: ในสัปดาห์นี้ คณะหัวหน้าเชฟได้ให้ผู้ช่วยเชฟประจำทีมชิมอาหารของทุกคนในทีมนั้น ๆ และเลือกจานที่ดีที่สุดทีมละ 3 จาน ออกมาให้คณะหัวหน้าเชฟชิมและตัดสิน โดย 3 จานที่ดีที่สุดของทั้งสองทีมที่เชฟพฤกษ์และเชฟอาร์เลือก และคะแนนที่ได้จากคณะหัวหน้าเชฟ มีดังนี้
คู่ที่ การแข่งขัน
ทีมสีแดง ทีมสีน้ำเงิน
ผู้เข้าแข่งขัน คะแนน ผู้เข้าแข่งขัน
1 ใบตอง 1 2 บิว
2 จิ๊บ 3 3 เก่ง
3 ลูกจรรย์ 3 2 เปียโร่
รวม เสมอ 7 7 เสมอ

เนื่องจากทั้งสองทีมมีคะแนนเท่ากัน เชฟเอียนจึงตัดสินด้วยจานที่แย่ที่สุดของแต่ละทีม โดยเชฟอาร์เลือกจานของเจมส์ ส่วนเชฟพฤกษ์เลือกจานของมาลี และเชฟเอียนได้ตัดสินให้จานที่แย่ที่สุดเป็นของมาลี ส่งผลให้ทีมสีแดงเป็นทีมที่แพ้ในรอบนี้

  • บริการอาหารเย็น (Dinner service) ครั้งที่ 2: ในตอนนี้ ผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะต้องสลับตำแหน่งในแผนกครัวจากที่เคยทำในสัปดาห์ที่แล้ว ดังนี้
ผู้รับผิดชอบแต่ละแผนกครัว และเมนูต่าง ๆ
ประเภท อาหารเรียกน้ำย่อย
(Appetizer)
อาหารจานหลัก (Main Course) ของหวาน
(Dessert)
ผู้ช่วยเหลือ
(Supporter)
เนื้อสัตว์ เครื่องเคียง ซอส อาหารทะเล
ผู้รับผิดชอบ ทีมสีแดง เคอร์, กบ มาลี แอ้ม จิ๊บ เฟน ใบตอง, ลูกจรรย์
ทีมสีน้ำเงิน เจมส์, เบียร์ เปียโร่ พริกเผ็ช เปียโร่ มารวย บิว เก่ง
เมนู
  • Day Boat Diver Scallop
  • Maine Lobster
  • Smoked Duck Breast
  • Roasted Beef Filet Mignon
  • Australian Lamb Cutlets
  • Raspberry Frangipane Tart
  • Harvest
    • แขก VIP ในบริการอาหารเย็น: ในตอนนี้ มีเฉพาะแขก VIP ของทีมสีแดงเท่านั้น คือ เชฟมาร์ติน บลูนอส เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย และ เชฟตุ๊กตา - สุพัตรา สารสิทธิ์ ผู้เข้าแข่งขันศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก (ฤดูกาลที่ 1)
    • เหตุการณ์ในระหว่างการบริการ: ทั้งสองทีมมีปัญหาตั้งแต่จานเรียกน้ำย่อย โดยทีมสีแดง เฟนทำล็อบสเตอร์ดิบถึง 2 ครั้ง ส่วนมาลีทำเนื้อเป็ดผิดระดับถึง 3 ครั้ง เชฟเอียนจึงไล่มาลีออกจากครัวเป็นครั้งที่ 2 กบ (ที่ทำงานในแผนกจานเรียกน้ำย่อย) จึงมาทำเนื้อแทน ส่วนทีมสีน้ำเงิน เปียโร่ทำเนื้อเป็ดผิดระดับถึง 3 ครั้ง เชฟเอียนจึงไล่เปียโร่ออกจากครัวเช่นกัน บิว (ที่ทำงานในแผนกของหวาน) จึงมาทำเนื้อแทน ส่วนในอาหารจานหลัก ทั้งสองทีมยังมีปัญหาเหมือนเดิม โดยทีมสีแดง กบทำเนื้อวัวดิบ และสุกเกินไป ส่วนทีมสีน้ำเงิน เชฟเอียนตำหนิบิวที่ใช้เวลาทำเนื้อวัวและเนื้อแกะนานกว่าเวลาที่บอกจริง ต่อมาในทีมสีแดง กบหยิบเนื้อเป็ดที่ดิบสำหรับออเดอร์แขก VIP ให้แก่เชฟเอียน เชฟเอียนจึงไล่กบออกจากครัวไปอีก 1 คน จิ๊บ (ที่ทำงานในแผนกซอส) จึงมาทำเนื้อแทน แต่จิ๊บก็ยังทำเนื้อวัวสุกเกินไป เชฟเอียนจึงต้องเรียกทั้งทีมไปคุยกันเป็นการส่วนตัวภายในห้องเก็บวัตถุดิบ ซึ่งด้านในนั้นเชฟเอียนได้ตำหนิทั้งทีมที่มีปัญหาเนื้อทั้งหมด และตำหนิสถานะเชฟของเฟนเพราะพยายามส่งล็อบสเตอร์ดิบออกบริการหลายครั้ง ต่อมาทีมสีน้ำเงินก็เกิดปัญหาขึ้นอีก โดยบิวหยิบถาดเนื้อวัวที่เย็น (42 องศาเซลเซียส) ให้แก่เชฟเอียน เชฟเอียนจึงไล่บิวออกจากครัวไปอีก 1 คน เก่ง (ที่ทำงานเป็นผู้ช่วยเหลือ) และ มารวย (ที่ทำงานในแผนกอาหารทะเล) จึงมาทำเนื้อแทน แต่หลังจากนั้นก็ไม่มีปัญหาอย่างอื่น แต่ทีมสีแดง หลังจากคุยกันแล้วสถานการณ์ก็ยังไม่ดีขึ้น และยังคงมีปัญหากับการบริหารจัดการเวลาและออเดอร์ที่ตกค้าง ในที่สุด เมื่อทั้งทีมผิดพลาดในการสื่อสารเกี่ยวกับระยะเวลาในการทำหอยเชลล์และเนื้อเป็ด เชฟเอียนจึงสั่งปิดครัวทีมสีแดงในทันที และให้ทีมสีแดงไปประชุมกันเพื่อเสนอชื่อผู้เข้าแข่งขัน 3 คนมาให้ตนคัดออก หลังจากทีมสีแดงถูกปิดครัวแล้ว ทีมสีน้ำเงินก็นำออเดอร์ที่เหลือบริการลูกค้าจนเสร็จสมบูรณ์ ทำให้เป็นทีมแรกที่ชนะในรอบบริการอาหารเย็นของเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์
    • ผู้ที่ถูกไล่ออกจากครัว: มาลี เปียโร่ กบ และ บิว
  • ผลการบริการอาหารเย็น ครั้งที่ 2: ทีมสีแดงถูกปิดครัว ทีมสีน้ำเงินชนะ
  • การคัดออก (Elimination): เฟนได้เสนอชื่อ กบ มาลี และเคอร์ เพราะกบถูกไล่ออกจากครัว และโหวตตนเองออกแล้ว 2 ครั้ง ส่วนมาลีถูกไล่ออกจากครัวเป็นครั้งที่ 2 และเคอร์สื่อสารในครัวผิดพลาด โดยเพื่อนร่วมทีมหลายคนเห็นด้วย จากนั้นเชฟเอียนได้ถามเคอร์ถึงเหตุผลที่เฟนระบุถึงตน เคอร์ตอบว่าเหตุผลของเฟนไม่มากพอและไม่ถูกต้อง เพราะจานเรียกน้ำย่อยที่ถูกตีกลับทั้งหมดมาจากโปรตีนที่เฟนทำแล้วดิบจากความไม่รอบคอบ แต่ตนออกมายืนเพราะตนรับผิดชอบจานเรียกน้ำย่อย เชฟเอียนจึงถามเฟนว่าส่งโปรตีนที่ยังดิบให้เคอร์ได้อย่างไร เฟนตอบว่าตนใช้อุณหภูมิในการทำล็อบสเตอร์ตามสูตรอาหารของเชฟเอียน (71 องศาเซลเซียส) แล้วไม่เพียงพอ และต้องดัดแปลงสูตรเพราะไม่ได้ทำในอุณหภูมิห้องปกติ แต่เชฟเอียนไม่เห็นด้วย และมองว่าเฟนควรออกมายืนด้านหน้ามากกว่าเคอร์ ดังนั้น จึงให้เคอร์กลับไปรวมกับเพื่อนร่วมทีม จากนั้นคณะหัวหน้าเชฟได้ถามกบและมาลีถึงเหตุผลที่ต้องการอยู่ต่อ แต่เมื่อถามว่าใครควรอยู่ต่อ ทั้งคู่ต้องการให้มาลีอยู่ต่อ เชฟเอียนจึงเรียกสติจากกบ จนในที่สุดกบยอมบอกว่าจะสู้ต่อ ดังนั้น ผู้ที่เชฟเอียนตัดสินให้ออกจากการแข่งขัน คือ มาลี เนื่องจากทำเนื้อตั้งแต่ต้นแล้วถูกไล่ออก โดยที่กบมาทำเนื้อแทนโดยไม่ใช่หน้าที่โดยตรง จากนั้นเชฟเอียนได้บอกกับกบว่าคณะหัวหน้าเชฟมอบโอกาสทั้งหมดเพื่อให้กบกลับมาแสดงความใจสู้แล้ว และให้กบกลับไปรวมกับเพื่อนร่วมทีม
  • ผู้ที่ถูกเสนอชื่อให้คัดออก: กบ มาลี และ เคอร์
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: มาลี
  • ความคิดเห็นของเชฟเอียน: "เหตุผลเดียวที่ผมเลือกมาลีออกจากครัว เพราะนี่คือการผิดพลาดซ้ำซาก หากผมเก็บตัวถ่วงอย่างมาลีไว้ ครัวอาจจะต้องถูกปิดอย่างแน่นอน"

ตอนที่ 3: Head Chef ครั้งแรกของเชฟอ๊อฟ

แก้

ออกอากาศ 18 กุมภาพันธ์ 2567

  • หัวหน้าเชฟประจำสัปดาห์/โจทย์: เชฟอ๊อฟ/โจทย์อาหารเอเชียแนวผสมผสาน
  • ภารกิจส่วนบุคคล (Individual challenge): ในรอบนี้ เป็นการแข่งขันรูปแบบ Fast and Delicious ในโจทย์อาหารเอเชียแนวผสมผสาน โดยทั้งสองทีมจะต้องส่งตัวแทนจับคู่ และดวลทำอาหารจากโจทย์ที่กำหนด ซึ่งมีทั้งหมด 4 อย่าง ตามวัตถุดิบที่เตรียมไว้ในกล่อง โดยมีเวลาในการทำอาหารในแต่ละโจทย์เพียงแค่ 5 นาทีเท่านั้น และหากทีมใดวางจานอาหารเสิร์ฟบนโต๊ะของหัวหน้าเชฟก่อน อีกทีมจะมีเวลาเพียงแค่ 10 วินาทีเท่านั้น หากหมดเวลาก่อนถึงโต๊ะ จะถือว่าไม่ทันและไม่ได้คะแนนในโจทย์นั้น ๆ
    • ผลการแข่งขัน:
คู่ที่ เมนู การแข่งขัน
ทีมสีแดง ทีมสีน้ำเงิน
ผู้เข้าแข่งขัน 1 ผู้เข้าแข่งขัน 2 คะแนน ผู้เข้าแข่งขัน 1 ผู้เข้าแข่งขัน 2
1 หอยทอด เสิร์ฟพร้อมน้ำจิ้ม แอ้ม เฟน 0 2 มารวย เบียร์
2 ราดหน้าเนื้อเต้าซี่ จิ๊บ เคอร์ 0[] 0 เจมส์ บิว
3 ผักบุ้งไฟแดง ใบตอง

กบ 1 0[] เปียโร่ พริกเผ็ช
4 ยากิโซบะ ลูกจรรย์

1 1 เก่ง
รวม แพ้ 2 3 ชนะ

หมายเหตุ:

  1. ผู้เข้าแข่งขันเสิร์ฟอาหารวางบนโต๊ะไม่ทัน ซึ่งถ้าทัน จะได้ 3 คะแนน
  2. ผู้เข้าแข่งขันเสิร์ฟอาหารวางบนโต๊ะไม่ทัน
  • ทีมที่ชนะรอบภารกิจ: ทีมสีน้ำเงิน
  • รางวัล/บทลงโทษ:
    • ทีมชนะ (ทีมสีน้ำเงิน): ได้ขึ้นเรือยอร์ชส่วนตัวที่ท่าเรือโอเชี่ยน มารีน่า รีสอร์ท พัทยา จอมเทียน จังหวัดชลบุรี และพักผ่อนกลางอ่าวไทย
    • ทีมแพ้ (ทีมสีแดง): ให้ทำความสะอาดหน้าภัตตาคารเฮลล์คิทเช่น ทำสวน ตัดหญ้า และเช็ดกระจก
  • บริการอาหารเย็น (Dinner service) ครั้งที่ 3:
ประเภท อาหารเรียกน้ำย่อย
(Appetizer)
อาหารจานหลัก (Main Course) ของหวาน
(Dessert)
เนื้อสัตว์ เครื่องเคียง ซอส
ผู้รับผิดชอบ ทีมสีแดง จิ๊บ, ลูกจรรย์ เคอร์, กบ เฟน แอ้ม ใบตอง
ทีมสีน้ำเงิน มารวย, เก่ง บิว เบียร์, เจมส์ พริกเผ็ช เปียโร่
เมนู
  • Triple Tacos
  • Szechuan Chachu Satay Risoni
  • Vietnamese Porkchop Risotto Pate Moose
  • Japanese Wagyu A3 Tenderloin
  • Chilean-sea bass in Cencioni Laksa
  • Apple Crumble Hokkaido Cheesecake
  • Puerto Rican Flan with Coconut Sticky Rice
    • แขก VIP ในบริการอาหารเย็น: ในตอนนี้ มีเฉพาะแขก VIP ของทีมสีแดงเท่านั้น คือ เชฟต้น - ธิติฎฐ์ ทัศนาขจร กรรมการตัดสินรายการท็อปเชฟไทยแลนด์ และภรรยา คุณเมย์ - จิรัฐฐา ค้ำพันธุ์
    • เหตุการณ์ในระหว่างการบริการ: ทีมสีน้ำเงินมีปัญหาเล็กน้อยในจานเรียกน้ำย่อย เพราะมีการสื่อสารที่ไม่ดีในขณะจัดจานแรก จากนั้นเก่งกับพริกเผ็ชบอกเวลาห่างกันจนเชฟอ๊อฟเข้ามาเตือน แต่แก้ไขได้ ส่วนในอาหารจานหลักมีปัญหาทั้งสองทีม โดยทีมสีแดง เคอร์ทำเนื้อสุกเกินไป ส่วนกบถูกตำหนิที่เดินไปเดินมาอย่างไร้จุดหมาย แทนที่จะรับผิดชอบการทำเนื้อ จากนั้นเชฟอ๊อฟพบเศษพลาสติกติดอยู่ใต้ชิ้นปลา ซึ่งทั้งกบและเคอร์ไม่รู้ที่มาของพลาสติกข้างต้น แต่เคอร์ก็ยังทำเนื้อผิดระดับซ้ำ เชฟอ๊อฟจึงไล่เคอร์ออกจากครัว จากนั้นเมื่อออเดอร์ของหวานเข้ามา ก็มีจานที่ถูกตีกลับมายังใบตองเพราะจัดจานของหวานไม่ถูกต้อง และขณะนั้น กบทำเนื้อผิดระดับรวมถึงทำเนื้อหมูสุกเกินไปทั้งหมด เชฟอ๊อฟจึงไล่กบออกจากครัวเป็นครั้งที่ 2 ไปอีก 1 คน เฟน (ที่ทำงานในแผนกเครื่องเคียง) จึงมาทำเนื้อแทน แต่เฟนก็พบว่าเนื้อหมูที่กบทำไว้สุกเกินไปและแห้งทั้งหมด จึงแก้โดยพยายามเลือกเนื้อหมูที่ดีที่สุดที่กบทำไปบริการ แต่แก้ไขไม่สำเร็จ เชฟอ๊อฟจึงไล่เฟนออกจากครัวไปอีก 1 คน ส่วนทีมสีน้ำเงิน บิวบอกเวลาทำเนื้อหมูห่างกับที่ทำจริง และทำดิบ 1 ชิ้น แต่แก้ไขได้อย่างรวดเร็ว และในจานของหวาน มีจานที่ถูกตีกลับมายังเปียโร่เพราะจัดจานชีสเค้กผิดพลาด แต่เมื่อแก้ไขแล้วก็ไม่มีปัญหาอื่น ทีมสีน้ำเงินได้นำออเดอร์ที่เหลือบริการลูกค้าจนเสร็จสมบูรณ์ ทำให้เป็นทีมที่ชนะในรอบนี้อีกครั้ง และเป็นครั้งแรกที่ทีมสีนํ้าเงินไม่มีผู้ที่ถูกไล่ออกจากครัว จากนั้นเชฟอ๊อฟได้สั่งให้พวกเขาเข้าไปยึดครัว (Steal Kitchen) ของทีมสีแดง และไล่ทีมสีแดงออกจากครัวทั้งหมด หลังจากทีมสีน้ำเงินยึดครัวแล้ว บิวก็พบว่าเนื้อหมูสุกเกินไปจนแห้งทั้งหมด เขาและเก่งจึงแจ้งเชฟอ๊อฟ พร้อมระบุเพิ่มว่าเนื้อหมูในครัวของสีน้ำเงินของตนหมดพอดี เชฟอ๊อฟจึงแสดงความรับผิดชอบโดยออกไปขอโทษลูกค้าและขอเปลี่ยนเมนูทั้งหมด หลังจากทีมสีน้ำเงินเปลี่ยนเมนูแล้ว เชฟอ๊อฟจึงนำไปบริการด้วยตนเองเพื่อขอโทษลูกค้าอีกครั้ง จากนั้นทีมสีน้ำเงินก็นำออเดอร์ของหวานบริการลูกค้าจนเสร็จสมบูรณ์ โดยในออเดอร์สุดท้าย เชฟอ๊อฟได้พาทีมสีน้ำเงินทั้งทีมนำจานไปบริการและขอบคุณลูกค้าคนสุดท้ายด้วยตนเอง ทำให้เป็นครั้งแรกที่ลูกค้าได้รับประทานอาหารทั้ง 3 คอร์สครบทุกคน
    • ผู้ที่ถูกไล่ออกจากครัว: เคอร์ กบ และ เฟน
  • ผลการบริการอาหารเย็น ครั้งที่ 3: ทีมสีแดงถูกปิดครัว ด้วยการถูกทีมสีน้ำเงินที่ชนะเข้ายึดครัวที่ทำไว้เดิมทั้งหมด
  • การคัดออก (Elimination): เชฟอ๊อฟได้เรียก เคอร์ กบ และเฟน ซึ่งเป็น 3 คนที่ถูกไล่ออกจากครัวทั้งหมด ให้ออกมายืนด้านหน้า โดยไม่ให้ทีมสีแดงเสนอชื่อ จากนั้นได้ถามทั้ง 3 คนถึงคนที่ควรออก กบและเฟนเห็นว่ากบควรออกเพราะทำเนื้อหมูสุกเกินไปทั้งหมด ส่วนเคอร์เห็นว่าตนควรออกเพราะหลุดโฟกัสหลายจุด เชฟเอียนเห็นว่าเฟนมีข้อผิดพลาดน้อยกว่าเคอร์และกบ จึงให้กลับไปรวมกับเพื่อนร่วมทีม จากนั้นเชฟอ๊อฟได้ถามถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของทั้งคู่ ทั้งคู่อธิบายทั้งหมด จึงถามต่อเรื่องหมู กบกล่าวว่าตนทำ และถามต่อเรื่องพลาสติกบนเนื้อปลา เคอร์กล่าวว่าตนเซียร์ปลา แต่กบเสริมว่าพลาสติกมาจากซอส เพราะมีลักษณะเป็นฉลาก ซึ่งเคอร์ยืนยันแบบเดียวกัน เชฟป้อมจึงถามผู้รับผิดชอบซอสคือแอ้ม แอ้มกล่าวว่ามีความเป็นไปได้ และขอแสดงความรับผิดชอบ เชฟอ๊อฟจึงสรุปว่าทุกคนควรรับผิดชอบเรื่องพลาสติกร่วมกัน ดังนั้น ผู้ที่เชฟอ๊อฟตัดสินให้ออกจากการแข่งขัน คือ กบ เนื่องจากทำเนื้อหมูสุกเกินไปจนแข็งทั้งหมด ทำให้เชฟอ๊อฟต้องเปลี่ยนไปบริการเมนูอื่นให้ลูกค้าแทน
  • ผู้ที่ถูกเสนอชื่อให้คัดออก: กบ เคอร์ และ เฟน
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: กบ
  • การย้ายทีม: หลังจากที่กบถูกคัดออกจากการแข่งขันไปแล้ว เชฟวิลแมนเล็งเห็นว่า ผลงานของทีมสีแดงในตลอด 3 สัปดาห์ที่ผ่านมานั้นไม่เป็นที่น่าพอใจอย่างมาก หากแข่งต่อไปจะมีโอกาสแพ้ได้สูง เชฟวิลแมนจึงเสนอโอกาสให้ทีมสีแดงสามารถเลือกใครก็ได้ 1 คนจากทีมสีน้ำเงิน ให้มาอยู่ในทีมของตน ซึ่งทีมสีแดงตกลงว่าจะเลือกบิว เชฟเอียนจึงถามความสมัครใจจากทีมสีน้ำเงินว่าจะยินยอมให้บิวไปอยู่ทีมสีแดงหรือไม่ ซึ่งในที่สุด เปียโร่ก็กล่าวว่าทีมสีน้ำเงินยินยอม เพราะให้ความสำคัญกับลูกค้า เชฟเอียนจึงอนุมัติการย้ายทีมในครั้งนี้ ทำให้บิวเป็นสมาชิกของทีมสีแดงในทันที
  • ผู้ที่ย้ายทีม: บิว (ทีมสีน้ำเงินทีมสีแดง)
  • ความคิดเห็นของเชฟอ๊อฟ: "ที่ผมต้องเลือกกบออกจากครัว เพราะเขาไม่สามารถรักษาโอกาสที่เขาขอไว้ได้ การผิดพลาดซ้ำ ๆ ทำให้ผมรู้ว่า เขาไม่เหมาะสมกับเฮลล์คิทเช่นแห่งนี้"

ตอนที่ 4: Head Chef ครั้งแรกของเชฟป้อม

แก้

ออกอากาศ 25 กุมภาพันธ์ 2567

  • หัวหน้าเชฟประจำสัปดาห์/โจทย์: เชฟป้อม/โจทย์อาหารไทยร่วมสมัย
  • ภารกิจส่วนบุคคล (Individual challenge): ในรอบนี้ เป็นการทดสอบความรอบรู้ของผู้เข้าแข่งขันในการทำขนมไทย โดยทั้งสองทีมจะต้องส่งตัวแทนครั้งละ 1 คน ให้ออกมาชิงสิทธิ์เลือกเมนู โดยกดปุ่มเพื่อทายสำนวนภาษาไทยจากรูปภาพภายในเวลา 5 วินาที เหมือนรูปแบบในช่วงภาพปริศนา ซึ่งเป็นเกมยอดนิยมในรายการเวทีทอง แต่แตกต่างที่ทุกรูปภาพใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการวาด และฝ่ายที่ทายถูกจะได้สิทธิ์เลือกเมนูที่กำหนดไว้ และอีกฝ่ายจะได้รับอีกเมนูในทันที จากนั้นผู้เข้าแข่งขันมีเวลา 45 นาทีในการทำขนมไทยที่ตนได้รับให้ถูกต้อง
    • ผลการแข่งขัน: ในรอบนี้ มีการเปลี่ยนแปลงการให้คะแนนเล็กน้อย คือ หัวหน้าเชฟมีสิทธิ์ชิมเมนูละ 2 คน ดังนั้น คะแนนในแต่ละจานที่มีได้สูงสุดจากเดิมจานละ 3 คะแนน จึงเพิ่มขึ้นเป็นจานละ 6 คะแนน โดยผลการจับคู่ และขนมไทยที่แต่ละคนได้ มีดังนี้
คู่ที่ สำนวน การแข่งขัน
ทีมสีแดง ทีมสีน้ำเงิน
เมนูที่ได้ ผู้เข้าแข่งขัน คะแนน ผู้เข้าแข่งขัน เมนูที่ได้
เชฟ 1 เชฟ 2 รวม เชฟ 1 เชฟ 2
1 สอนจระเข้ว่ายน้ำ ทองเอก แอ้ม 1 2 3 3 2 1 พริกเผ็ช กล้วยบวชชี
2 ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด กะละแม ใบตอง 0 1 1 5 3 2 เบียร์ บัวลอยไข่หวาน
3 ชาวนากับงูเห่า ขนมเปียกปูนใบเตย ลูกจรรย์ 2 2 4 5 3 2 มารวย ทับทิมกรอบ
4 คลุมถุงชน ฟักทองแกงบวด เฟน 3 3 6 0 0 0 เจมส์ ปลากริมไข่เต่า
5 ไม่ดูตาม้าตาเรือ ขนมปังสังขยาใบเตย เคอร์ 3 3 6 1 0 1 เปียโร่ ข้าวตู
6 สาวไส้ให้กากิน วุ้นกะทิ บิว, จิ๊บ 1 3 4 1 1 0 เก่ง ขนมใส่ไส้
รวม ชนะ 10 14 24 15 9 6 แพ้

หมายเหตุ: ตัวเอน คือเมนูและผู้เข้าแข่งขันที่ทายสำนวนถูกต้องในแต่ละคู่ และได้สิทธิ์เลือกเมนูก่อน

  • ทีมที่ชนะรอบภารกิจ: ทีมสีแดง
  • รางวัล/บทลงโทษ:
  • บริการอาหารเย็น (Dinner service) ครั้งที่ 4:
ผู้รับผิดชอบแต่ละแผนกครัว และเมนูต่าง ๆ
ประเภท อาหารเรียกน้ำย่อย
(Appetizer)
อาหารจานหลัก (Main Course) ของหวาน
(Dessert)
เนื้อสัตว์ เครื่องเคียง ซอส
ผู้รับผิดชอบ ทีมสีแดง ใบตอง, เคอร์ จิ๊บ ลูกจรรย์ บิว แอ้ม, เฟน
ทีมสีน้ำเงิน เปียโร่, มารวย เบียร์ พริกเผ็ช, มารวย เจมส์ เก่ง
เมนู
  • พัฟคั่วกลิ้งเนื้อ
  • ยำทวาย - ไก่คลุกงา
  • สเต๊กหมูหวาน - น้ำพริกลงเรือ
  • ข้าวขวัญ - ซี่โครงแกะพริกไทยอ่อน
    • แขก VIP ในบริการอาหารเย็น: ในตอนนี้ มีเฉพาะแขก VIP ของทีมสีน้ำเงินเท่านั้น คือ ตั๊ก - นภัสกร มิตรธีรโรจน์ พิธีกรรายการเชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย และภรรยา ป๊อก - ปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ พิธีกรรายการมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์
    • เหตุการณ์ในระหว่างการบริการ: ทั้งสองทีมมีปัญหาตั้งแต่จานเรียกน้ำย่อย โดยทีมสีแดง เคอร์บอกเวลาทำยำนานเกินไป และลูกจรรย์ใส่หัวปลีในจานดังกล่าวน้อยเกินไป เชฟป้อมจึงสั่งปรับปริมาณเพิ่ม ต่อมา เฟนและแอ้มทำของหวานไปล่วงหน้า เชฟป้อมจึงต้องเข้ามาเตือนทั้งคู่ให้ไปช่วยทีมบริการจานเรียกน้ำย่อยและอาหารจานหลักให้เสร็จก่อน แต่ทีมสีน้ำเงิน เปียโร่ลืมทอดแป้งพัฟล่วงหน้า และพริกเผ็ชลืมลวกหัวปลี ทำให้ต้องใช้เวลาแก้ไขนานถึง 20 นาทีกว่าจะเริ่มออกบริการจานเรียกน้ำย่อยจานแรกได้ เชฟป้อมจึงต้องเรียกทั้งทีมไปคุยกันเป็นการส่วนตัวภายในห้องเก็บวัตถุดิบ ซึ่งด้านในนั้นเชฟป้อมได้ตำหนิเก่งที่ไม่ช่วยเพื่อนร่วมทีม และว่ากล่าวทั้งทีมถึงตำแหน่งใหญ่และสูงของทุกคน แต่หลังจากคุยกันแล้วก็ยังไม่ดีขึ้น เพราะมารวยยังลวกหัวปลีดำเกินไป แต่ต่อมาทีมสีแดงก็พบปัญหาในอาหารจานหลัก เพราพจิ๊บทำแกะสุกเกินไป และยังถูกตำหนิจากการให้คนอื่นตรวจระดับความสุกของแกะรวมถึงส่อเจตนาหั่นแกะเองโดยพลการ แต่เมื่อแก้ไขแล้วก็ไม่มีปัญหาอื่น แต่ทีมสีน้ำเงินยังคงมีออเดอร์ตกค้างอีกหลายที่ทั้งจานเรียกน้ำย่อยและอาหารจานหลัก จากความผิดพลาดและล่าช้าในการจัดการอาหาร เพราะพริกเผ็ชและมารวยเตรียมเครื่องเคียงไม่พร้อม และมีปัญหาในการสื่อสาร ในที่สุด หลังจากเรียกอาหารจานหลักไปแล้ว 30 นาที แต่ทีมสีน้ำเงินไม่สามารถนำไปบริการให้ลูกค้าได้เลยแม้แต่จานเดียว เชฟป้อมจึงสั่งปิดครัวทีมสีน้ำเงินในทันที และให้ทีมสีน้ำเงินไปประชุมกันเพื่อเสนอชื่อผู้เข้าแข่งขัน 2 คนมาให้ตนคัดออก หลังจากทีมสีน้ำเงินถูกปิดครัวแล้ว ทีมสีแดงก็นำออเดอร์ที่เหลือบริการลูกค้าจนเสร็จสมบูรณ์ รวมถึงบริการแขก VIP แทนทีมสีน้ำเงินด้วย ทำให้เป็นครั้งแรกที่ทีมสีแดงไม่ถูกปิดครัว และชนะในรอบบริการอาหารเย็นของเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ นอกจากนี้ ยังเป็นตอนแรกที่ไม่มีการไล่ผู้เข้าแข่งขันออกจากครัวเป็นรายบุคคล
  • ผลการบริการอาหารเย็น ครั้งที่ 4: ทีมสีแดงชนะ ทีมสีน้ำเงินถูกปิดครัว
  • การคัดออก (Elimination): เบียร์ได้เสนอชื่อเปียโร่และเจมส์ แต่เชฟป้อมถามเบียร์ทันทีว่า ทำไมพริกเผ็ชและมารวยไม่ถูกเสนอชื่อแทน เบียร์ตอบว่าทั้งคู่ทำงานได้อย่างเต็มที่และสุดความสามารถแล้ว เชฟป้อมจึงสวนกลับไปทันทีว่าปัญหาเกิดขึ้นจากผู้รับผิดชอบจานเรียกน้ำย่อยและเครื่องเคียง เบียร์และเก่งจึงอธิบายไปในทิศทางเดียวกันว่า เจมส์ไม่มีข้อผิดพลาด เพราะเจมส์ทำพริกแกงไม่สำเร็จ รวมถึงไม่มีความรับผิดชอบโดยตรงในตำแหน่งใดเลย เชฟป้อมจึงถามเปียโร่ว่าตนเองควรจะออกจากการแข่งขันนี้ไหม เปียโร่ตอบทันทีว่าไม่ แต่เจมส์ควรออกเพราะไม่มีข้อผิดพลาดเนื่องจากไม่รับผิดชอบอะไรเลย ซึ่งเจมส์ไม่เห็นด้วย เพราะตนเตรียมอาหารของตนเสร็จสมบูรณ์แล้ว เชฟป้อมจึงสั่งให้ทั้งทีมกลับไปคุยกันใหม่ หลังจากที่ทั้งทีมปรึกษาหารือกันแล้ว เก่งยังยืนยันเสนอชื่อสองคนเดิม แต่ทั้งคู่ไม่ยอมรับ และเปียโร่ได้ให้สิทธิ์หัวหน้าเชฟเลือก แต่แล้ว เจมส์ก็เดินออกมายืนเพียงคนเดียว โดยระบุเหตุผลว่า เมื่อไม่มีใครตัดสินใจ ตนจะโหวตตนออกเอง จากนั้นเชฟเอียนได้เรียกพริกเผ็ชและมารวยให้ออกมาด้วย และคณะหัวหน้าเชฟจึงถามถึงหน้าที่ ความรับผิดชอบ และข้อผิดพลาดของพริกเผ็ชกับมารวย โดยทั้งคู่อธิบายทั้งหมด แต่มารวยกล่าวเพิ่มว่าสาเหตุที่ทำให้ตนเองเตรียมของไม่เรียบร้อย เพราะเจมส์มีปัญหาในการทำซอสและพริกแกง ตนจึงต้องเข้าไปช่วย เชฟป้อมจึงสวนกลับไปว่า ปัญหาส่วนใหญ่อยู่ที่จานเรียกน้ำย่อยทั้งสองจาน ทั้งผักในจานยำทวายที่มีไม่ครบ รวมทั้งการลวกหัวปลีดำ แล้วถามกลับไปยังทีมสีน้ำเงินว่าทำไมทั้งทีมจึงโยนความผิดไปที่เจมส์ หลังจากที่คณะหัวหน้าเชฟปรึกษาหารือกันแล้ว ผู้ที่เชฟป้อมตัดสินให้ออกจากการแข่งขัน คือ พริกเผ็ช
  • ผู้ที่ถูกเสนอชื่อให้คัดออก:
    • โดยทีม: เปียโร่ และ เจมส์
    • โดยหัวหน้าเชฟ: เจมส์ (เดินออกมาเอง) มารวย และพริกเผ็ช
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: พริกเผ็ช
  • ความคิดเห็นของเชฟป้อม: "ที่ต้องเลือกพริกเผ็ชออกจากครัวในวันนี้ เพราะพริกเผ็ชไม่สามารถรับผิดชอบหน้าที่ของตัวเองได้ จนทำให้ครัวต้องปิดลงอีกครั้ง"

ตอนที่ 5: การกำจัด "ตัวถ่วง" ออกจากครัวนรก

แก้

ออกอากาศ 3 มีนาคม 2567

  • การย้ายทีม: ก่อนเริ่มการแข่งขัน เชฟเอียนเห็นว่าทีมสีน้ำเงินในขณะนั้นเสียเปรียบอย่างมาก เพราะนอกจากเกิดการย้ายทีมของบิวแล้ว พวกเขายังเหลือสมาชิกเพียง 5 คน ในขณะที่ทีมสีแดงมีสมาชิกถึง 7 คน เพื่อให้จำนวนสมาชิกของทั้งสองทีมเท่ากัน เชฟป้อมจึงถามความประสงค์ในการย้ายทีมของสมาชิกทีมสีแดง ปรากฏว่ามีผู้ที่ยกมือขอย้ายทีม 3 คน คือ จิ๊บ แอ้ม และบิว ตามลำดับ จากนั้นคณะหัวหน้าเชฟได้ถามเหตุผลในการย้ายทีมของทั้ง 3 คน แต่เชฟเอียนเห็นว่าทีมสีแดงมักเลือกเสนอชื่อเคอร์ให้คัดออกอยู่บ่อยครั้ง จึงย้ายเคอร์ไปอยู่ทีมสีน้ำเงิน ทำให้เคอร์เป็นสมาชิกของทีมสีน้ำเงินในทันที
  • ผู้ที่ย้ายทีม: เคอร์ (ทีมสีแดงทีมสีน้ำเงิน)
  • ภารกิจส่วนบุคคล (Individual challenge): ในรอบนี้ เป็นการทดสอบความรอบรู้ของผู้เข้าแข่งขันในการทำอาหารจากวัตถุดิบที่ไม่คุ้นเคย โดยทั้งสองทีมจะต้องส่งตัวแทนครั้งละ 1 คน ให้ออกมาชิงสิทธิ์เลือกวัตถุดิบ ด้วยการทายภาพวัตถุดิบจากการเปิดภาพทีละมุม ฝ่ายที่ทายถูกจะได้สิทธิ์เลือกว่าจะเก็บวัตถุดิบไว้ทำเมนูเอง หรือโยนวัตถุดิบให้อีกฝั่งทำเมนู แต่จะยังไม่ทราบว่าวัตถุดิบถัดไปคืออะไร จากนั้นมีเวลา 45 นาทีในการทำเมนูจากวัตถุดิบที่ตนได้รับ
    • ผลการแข่งขัน:
คู่ที่ การแข่งขัน
ทีมสีแดง ทีมสีน้ำเงิน
วัตถุดิบที่ได้ ผู้เข้าแข่งขัน คะแนน ผู้เข้าแข่งขัน วัตถุดิบที่ได้
1 อัณฑะวัว ลูกจรรย์ 3 1 เคอร์ หัวใจวัว
2 สมองวัว ใบตอง 0 3 มารวย กระเพาะหมู
3 ผ้าขี้ริ้ววัว แอ้ม 3 1 เจมส์ รกวัว
4 ตูดไก่ เฟน 3 3 เบียร์ อุ้งตีนจระเข้
5 ตัวเดียวอันเดียววัว บิว 0 0 เก่ง หนังหมู
6 หัวแพะ จิ๊บ 2 2 เปียโร่ อึ่งอ่าง
รวม ชนะ 11 10 แพ้

หมายเหตุ: ตัวเอน คือวัตถุดิบที่ใช้ทายภาพ และผู้เข้าแข่งขันที่ทายวัตถุดิบนั้นถูก

  • ทีมที่ชนะรอบภารกิจ: ทีมสีแดง
  • รางวัล/บทลงโทษ:
    • ทีมชนะ (ทีมสีแดง): ได้บินไปที่มาเก๊า เข้าพักที่โรงแรม 6 ดาว โรงแรมมอร์เฟียส ซิตี้ ออฟ ดรีมส์ ท่องเที่ยวสถานที่สำคัญในมาเก๊าโดยมีเชฟวิลแมนเป็นผู้นำเที่ยว และรับประทานอาหารที่ภัตตาคาร 3 ดาว เจด ดรากอน รวมระยะเวลา 2 วัน 1 คืน
    • ทีมแพ้ (ทีมสีน้ำเงิน): ให้รับประทานข้าวต้มรวมมิตรที่มีวัตถุดิบทั้ง 12 ชนิดที่ใช้ในการแข่งขันรอบนี้ให้หมด
  • ภารกิจคัดคนออก (Elimination challenge): ในสัปดาห์นี้ เชฟเอียนระบุว่าจะไม่มีการเปิดภัตตาคารเฮลล์คิทเช่น เนื่องจากการบริการอาหารเย็นทั้ง 4 ครั้งที่ผ่านมา มีข้อผิดพลาดจนถูกสั่งปิดครัวทุกครั้ง ทำให้คณะหัวหน้าเชฟพบว่าทั้งสองทีมมี "ตัวถ่วง" ที่เป็นต้นเหตุของการปิดครัว จึงปรับเป็นการแข่งขัน "กำจัดตัวถ่วง" โดยให้ผู้เข้าแข่งขันที่เป็นจานที่ดีที่สุดของแต่ละทีมจากรอบภารกิจส่วนบุคคล คือ แอ้ม (Best of the Best) และ เบียร์ (Best of the Worst) เลือกผู้เข้าแข่งขันที่ตนมองว่าเป็น "ตัวถ่วง" จำนวนทีมละ 3 คนให้ไปแข่งขันต่อ
  • ผู้ที่ถูกเลือกให้เข้าแข่งขัน:
    • ทีมสีแดง: ใบตอง เฟน และ จิ๊บ
    • ทีมสีน้ำเงิน: เจมส์ เปียโร่ และ เคอร์

ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 6 คน จะต้องทำเมนูคนละ 4 จาน ให้มีรสชาติ ความคิดสร้างสรรค์ และใช้ปลากะพงแช่แข็งเป็นวัตถุดิบหลัก โดยมีเวลาทำอาหาร 45 นาที ซึ่งคณะหัวหน้าเชฟจะสามารถให้คะแนนคนละ 3 คะแนนต่อจานตามเดิม ผู้ที่ได้คะแนนรวมน้อยที่สุดจะถูกคัดออกในทันที

    • ผลการแข่งขัน:
คนที่ ทีม ผู้เข้าแข่งขัน คะแนนจากหัวหน้าเชฟ ผล
เชฟป้อม เชฟวิลแมน เชฟอ๊อฟ เชฟเอียน รวม
1 ทีมสีแดง เฟน 1 1 2 1 5 เข้ารอบ
2 ทีมสีน้ำเงิน เปียโร่ 2 2 2 2 8 เข้ารอบ
3 ทีมสีแดง จิ๊บ 1 2 2 1 6 เข้ารอบ
4 ทีมสีน้ำเงิน เคอร์ 0 0 1 1 2 เข้ารอบ
5 ทีมสีแดง ใบตอง 1 0 0 1 2 เข้ารอบ
6 ทีมสีน้ำเงิน เจมส์ ไม่มีผลคะแนน[] ตกรอบ

หมายเหตุ:

  1. คณะหัวหน้าเชฟไม่ให้คะแนนเนื่องจากไม่สามารถเสิร์ฟวัตถุดิบหลักลงในจานได้ทันเวลา
  • การคัดออก (Elimination): เนื่องจากเจมส์ไม่สามารถเสิร์ฟวัตถุดิบหลักลงในจานได้ทันเวลา คณะหัวหน้าเชฟจึงไม่ให้คะแนน และเชฟเอียนได้ตัดสินให้เจมส์ออกจากการแข่งขันไปโดยปริยาย
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เจมส์
  • ความคิดเห็นของเชฟเอียน: "จากการแข่งขันในวันนี้ เขายังจัดการเวลาได้ไม่ดี ทำให้ผมรู้ว่าเขายังไม่มีการพัฒนา ดังนั้น เขาไม่ควรได้อยู่ต่อ เพราะจะเป็นตัวถ่วงของทีมต่อไป"

ตอนที่ 6: การแก้มือในครัวของเชฟวิลแมน

แก้

ออกอากาศ 10 มีนาคม 2567

  • หัวหน้าเชฟประจำสัปดาห์/โจทย์: เชฟวิลแมน/โจทย์อาหารตะวันตกดั้งเดิม
  • ภารกิจแบบทีม (Team challenge): ในรอบนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องผลัดกันทำอาหารภายในทั้งสองทีมจำนวน 4 เมนู ตามที่หัวหน้าเชฟกำหนด ภายในเวลาคนละ 7 นาที ซึ่งในเวลานี้รวมถึงการสื่อสารและถ่ายทอดเมนูให้แก่เพื่อนร่วมทีมคนถัดไป โดยมีเพียงคนที่ทำอาหารคนแรกของแต่ละทีมเท่านั้นที่ทราบเมนูจากหัวหน้าเชฟ และเนื่องจากทีมสีน้ำเงินมีจำนวนสมาชิกน้อยกว่า คนสุดท้ายของทีมสีน้ำเงินจะมีเวลาในการทำอาหารมากกว่าที่ 14 นาที โดยลำดับของการทำอาหารของแต่ละทีม มีดังนี้
ลำดับที่ ทีมสีแดง ทีมสีน้ำเงิน
1 บิว เก่ง
2 ใบตอง มารวย
3 จิ๊บ เปียโร่
4 ลูกจรรย์ เคอร์
5 แอ้ม เบียร์
6 เฟน
    • เหตุการณ์ในระหว่างการแข่งขัน: บิวฝ่าฝืนกฎในรอบนี้ เนื่องจากเมื่อถึงเวลาที่คนที่ทำอาหารคนแรกต้องออกจากครัว และคนที่ทำอาหารคนที่ 2 ต้องมาทำอาหารแทน บิวพยายามสื่อสารและถ่ายทอดเมนูให้แก่ใบตองให้ครบทั้ง 4 เมนู เชฟป้อมจึงพยายามสั่งให้บิวกลับขึ้นไปรอที่ห้องพักให้ได้
    • ผลการแข่งขัน:
เมนูที่ หัวหน้าเชฟ ชื่อเมนู คะแนน
ทีมสีแดง ทีมสีน้ำเงิน
1 เชฟวิลแมน โพชเอ้กซอสฮอลันเดสโรสตีโปเตโต 0 1
2 เชฟป้อม ข้าวสวยราดผัดฉ่าซีฟูดไข่ดาวกรอบไข่แดงเยิ้ม 0 2
3 เชฟอ๊อฟ อูดงเนื้อไข่ออนเซน 0 1
4 เชฟเอียน ราวีโอลีไข่แดงลาวาไส้ฟักทองบดรีคอตตาชีส ซอสพาร์เมซานเอสพูมา 0 1
รวม (ผล) 0 (แพ้) 5 (ชนะ)
  • ทีมที่ชนะรอบภารกิจ: ทีมสีน้ำเงิน
  • รางวัล/บทลงโทษ:
  • บริการอาหารเย็น (Dinner service) ครั้งที่ 5:
ผู้รับผิดชอบแต่ละแผนกครัว และเมนูต่าง ๆ
ประเภท อาหารเรียกน้ำย่อย
(Appetizer)
อาหารจานหลัก (Main Course) ของหวาน
(Dessert)
เนื้อสัตว์ เครื่องเคียง ซอส อาหารทะเล
ผู้รับผิดชอบ ทีมสีแดง บิว เฟน จิ๊บ ใบตอง แอ้ม (เปลี่ยนตัว) ลูกจรรย์
ทีมสีน้ำเงิน มารวย เปียโร่ เก่ง มารวย เบียร์ เคอร์
เมนู
  • King crab Rillette
  • Smoked wild salmon
  • เนื้อวัว
    • Pan Roasted Grain Fed Beef Tenderloin
  • Pan sear Black Grouper
  • Butter Poach Lobster Tail
  • Beaujolais Pear Tarte Tatin
  • Brioche Butter Pudding
    • แขก VIP ในบริการอาหารเย็น: ในตอนนี้ มีเฉพาะแขก VIP ของทีมสีแดงเท่านั้น คือ เชฟอาร์ต - ศุภมงคล ศุภพิพัฒน์ กรรมการตัดสินรายการท็อปเชฟไทยแลนด์ และภรรยา คุณปณดา บัณฑิตกฤษดา
    • เหตุการณ์ในระหว่างการบริการ: ทีมสีน้ำเงินมีปัญหาเล็กน้อยในจานเรียกน้ำย่อย เพราะเบียร์ทำแซลมอนสุกเกินไป ต่อมาในอาหารจานหลัก ทีมสีน้ำเงินได้รับออเดอร์พิเศษที่ลูกค้าสั่งมาว่าไม่รับประทานเนื้อวัว เนื้อแกะ และอาหารทะเล เก่งจึงรับอาสาทำอาหารพิเศษจานนี้ และนำเสนอให้เชฟวิลแมนฟังก่อนนำไปบริการ ส่วนปัญหาเกิดขึ้นทั้งสองทีม โดยทั้งเปียโร่และเฟนทำเนื้อวัวดิบเกินไป ซึ่งเฟนแก้ไขได้ แต่ทีมสีน้ำเงินกลับมีจานถูกตีกลับ เพราะเปียโร่ทำเนื้อหมูห่อเยื่อไขมัน (Crépinette) ดิบ เชฟวิลแมนจึงสั่งให้เปียโร่กินให้หมดแล้วให้ทำใหม่ จากนั้นเชฟวิลแมนจึงนำไปบริการลูกค้าด้วยตนเอง พร้อมเรียกเปียโร่ออกมาขอโทษลูกค้า แต่เรื่องไม่จบ เพราะลูกค้าคนดังกล่าวถือจานเดินออกมาถามเชฟวิลแมนโดยตรงว่าเนื้อวัวที่ทำให้ใหม่นั้นไหม้หรือไม่ เชฟวิลแมนจึงอธิบายลูกค้าว่าเนื้อดังกล่าวมีสีเป็นปกติ ไม่ไหม้ หากไหม้เกรียมจะต้องเป็นสีดำทั้งชิ้น ซึ่งต่อมาลูกค้าคนนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากผู้รับชมรายการ จากนั้น ทีมสีน้ำเงินยังมีปัญหาเพิ่มเติม โดยเบียร์ส่งจานปลาที่เก่งยังไม่ได้ใส่มันบดไปให้เชฟวิลแมน และยังถูกตำหนิจากการรวมเนื้อปลาสุกกับเนื้อปลาดิบไว้ในถาดเดียว ต่อมา เปียโร่ทำเนื้อวัวผิดระดับอีกถึง 2 ครั้ง แต่แก้ไขไม่ทัน เพราะลูกค้ากลับบ้านไปก่อน เชฟวิลแมนจึงรับไม่ได้และเขวี้ยงจานลงพื้นแตกต่อหน้าทีมสีน้ำเงิน และยังมีปัญหาต่อเนื่องในจานของหวาน เพราะเคอร์บีบครีมไม่ได้มาตรฐาน อย่างไรก็ตาม ทั้งสองทีมได้นำออเดอร์ทั้งหมดบริการลูกค้าจนเสร็จสมบูรณ์ ทำให้เป็นครั้งแรกของเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ที่ไม่มีทีมใดถูกปิดครัวในระหว่างการบริการ แต่เนื่องจากทีมสีแดงบริการเสร็จก่อนทีมสีน้ำเงินทั้ง 3 คอร์ส เชฟวิลแมนจึงตัดสินให้ทีมสีแดงชนะในรอบนี้ และให้ทีมสีน้ำเงินไปประชุมกันเพื่อเสนอชื่อผู้เข้าแข่งขัน 2 คนมาให้ตนคัดออก
  • ผลการบริการอาหารเย็น ครั้งที่ 5: ทีมสีแดงชนะ ทีมสีน้ำเงินแพ้
  • การคัดออก (Elimination): เคอร์ได้เสนอชื่อเปียโร่และเบียร์ จากนั้นเชฟเอียนได้ให้เก่งระบุเหตุผลในกรณีการเสนอชื่อเปียโร่ โดยเก่งระบุว่า เปียโร่ทำเนื้อผิดระดับความสุก และขาดการสื่อสาร ทำให้ทีมทำงานช้า แต่เมื่อเชฟป้อมถามเปียโร่ เขาตอบว่าไม่เห็นด้วย และอธิบายว่าตนยอมรับเฉพาะข้อผิดพลาดของตนในการทำเนื้อผิดระดับเท่านั้น และขอโทษในกรณี Crépinette ที่ลูกค้าตำหนิ แต่บอกต่อว่า ตนไม่ได้เถียงลูกค้า เพียงแต่อธิบายว่าส่วนนั้นทำจากเนื้อวัว เชฟวิลแมนจึงสวนกลับไปทันทีว่า "คุณบ้าหรือเปล่าครับ" และอธิบายใหม่ซ้ำว่าส่วนนั้นคือเนื้อหมู ซึ่งรับประทานแบบดิบไม่ได้เพราะเป็นอันตราย ส่วนเมื่อเชฟป้อมถามต่อถึงคนที่ควรออก เปียโร่ตอบว่าเบียร์ควรออก เพราะทำแซลมอนและอาหารทะเลช้า เชฟอ๊อฟและเชฟวิลแมนจึงถามเพื่อนร่วมทีมที่เหลือ คือมารวย เบียร์ และเคอร์ ตามลำดับ ซึ่งทั้ง 3 คนเห็นตรงกันว่าเปียโร่ควรออก ทำให้เชฟวิลแมนสรุปได้ว่า หากไม่นับเปียโร่ สมาชิกทีมสีน้ำเงินทั้ง 4 คนมีมติเอกฉันท์ให้เปียโร่ออก ดังนั้น จึงตัดสินให้เปียโร่ออกจากการแข่งขัน
  • ผู้ที่ถูกเสนอชื่อให้คัดออก: เปียโร่ และ เบียร์
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เปียโร่
  • การย้ายทีม: หลังจากที่เปียโร่ถูกคัดออกจากการแข่งขันไปแล้ว เชฟเอียนเห็นว่าจำนวนสมาชิกของทั้งสองทีมต่างกันมากกว่า 2 คนอีกครั้ง โดยทีมสีน้ำเงินเหลือสมาชิกเพียง 4 คน แต่ทีมสีแดงมีสมาชิกถึง 6 คน เพื่อให้จำนวนสมาชิกของทั้งสองทีมเท่ากัน จึงให้เวลา 1 นาที เพื่อให้ทีมสีแดงประชุมกันและเลือกสมาชิก 1 คนให้ย้ายไปอยู่ทีมสีน้ำเงิน แต่ถ้าหมดเวลา 1 นาทีแล้วทีมสีแดงยังไม่สามารถตกลงกันได้ คณะหัวหน้าเชฟจะเลือกสมาชิกให้ย้ายไปอยู่สีน้ำเงินเอง ในที่สุด ในช่วง 5 วินาทีสุดท้าย จิ๊บได้ยกมือขอย้ายทีม โดยที่สมาชิกทีมสีแดงคนอื่น ๆ ก็เห็นด้วย เชฟเอียนจึงอนุมัติการย้ายทีมในครั้งนี้ ทำให้จิ๊บเป็นสมาชิกของทีมสีน้ำเงินในทันที
  • ผู้ที่ย้ายทีม: จิ๊บ (ทีมสีแดงทีมสีน้ำเงิน)
  • ความคิดเห็นของเชฟวิลแมน: "โอกาส ไม่ใช่สิ่งที่หาได้ง่าย ๆ ถ้าเราให้โอกาสแล้ว เขายังทำผิดพลาด และไม่รักษาโอกาสนั้นไว้ เขาก็ไม่ควรอยู่ที่นี่"

ตอนที่ 7: การผนึกกำลังกันคุมครัวของเชฟเอียนและเชฟอ๊อฟ

แก้

ออกอากาศ 17 มีนาคม 2567

  • หัวหน้าเชฟประจำสัปดาห์/โจทย์: ในสัปดาห์นี้ เป็นครั้งแรกที่มีหัวหน้าเชฟคุมครัวพร้อมกันจำนวน 2 คน และมีการผสมผสานกันระหว่าง 2 โจทย์อาหาร ดังนี้
    • เชฟเอียน/โจทย์อาหารตะวันตกสมัยใหม่
    • เชฟอ๊อฟ/โจทย์อาหารเอเชียแนวผสมผสาน
  • ภารกิจส่วนบุคคล (Individual challenge): เนื่องจากในครั้งนี้มีหัวหน้าเชฟคุมครัวพร้อมกันจำนวน 2 คน และมีการผสมผสานระหว่างอาหารตะวันตกสมัยใหม่และอาหารเอเชียแนวผสมผสาน ดังนั้นในรอบนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหารทั้ง 2 โจทย์ข้างต้นให้ออกมาสอดคล้องกัน โดยใช้เห็ดหอมแห้งเป็นวัตถุดิบหลักในอาหารเอเชียแนวผสมผสาน และมีวงล้อที่ระบุวัตถุดิบและเครื่องมือสำหรับทำอาหารตะวันตกสมัยใหม่ โดยทั้งสองทีมจะต้องส่งตัวแทนครั้งละ 1 คน ให้ออกมารับวัตถุดิบ และ/หรือ เครื่องมือผ่านการหมุนวงล้อของเชฟเอียน เพื่อใช้ทำเมนูร่วมกับเห็ดหอมแห้งในแต่ละคู่ โดยมีเวลาทำอาหาร 45 นาที
    • เหตุการณ์ในระหว่างการแข่งขัน: มีการเดิมพันขึ้นในคู่ของเฟนและเบียร์ โดยเชฟอาร์ได้เข้าไปหาทั้งคู่ และเดิมพันไว้ว่าหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแพ้ จะต้องทำผมสีหรือทรงเดียวกับฝ่ายที่ชนะ (เฟนทำผมทรงเดรดล็อคทุกช่อบนศีรษะ/เบียร์ย้อมสีผมเป็นสีทอง) ซึ่งเฟนยอมรับการเดิมพันในทันที ส่วนเบียร์พยายามปฏิเสธในตอนแรก ก่อนยอมรับการเดิมพันในภายหลัง แต่ในช่วงการตัดสิน เชฟวิลแมนได้วางเดิมพันให้ทั้งคู่เพิ่มว่า หากเสมอ จะต้องเปลี่ยนทรงผมทั้งคู่
    • ผลการแข่งขัน:
คู่ที่ วัตถุดิบ/เครื่องมือ
ที่ได้จากวงล้อ
การแข่งขัน
ทีมสีแดง ทีมสีน้ำเงิน
ผู้เข้าแข่งขัน คะแนน ผู้เข้าแข่งขัน
1 เครื่องทำวาฟเฟิล ใบตอง 1 2 เคอร์
2 ช็อกโกแลต ลูกจรรย์ 1 2 มารวย
3 เนยถั่ว เฟน[] 1 1 เบียร์[]
4 มาร์ชแมลโลว์ บิว[] 2 2 เก่ง
5 แคนาเดียนล็อบสเตอร์ แอ้ม 3 2 จิ๊บ
รวม แพ้ 8 9 ชนะ

หมายเหตุ:

  1. 1.0 1.1 คู่ที่เชฟอาร์เดิมพันให้เปลี่ยนทรงผม
  2. ออกไปหมุนวงล้อด้วยตนเองแทนเชฟเอียน
  • ทีมที่ชนะรอบภารกิจ: ทีมสีน้ำเงิน
  • รางวัล/บทลงโทษ:
    • ทีมชนะ (ทีมสีน้ำเงิน): ได้ไปผ่อนคลายและทำสปาที่บันยันทรีสปา ในโรงแรมบันยันทรี กรุงเทพ
    • ทีมแพ้ (ทีมสีแดง): ให้ร่วมกันคัดแยกขยะทั้งหมด
    • บทลงโทษพิเศษ: จากการเดิมพันในคู่ที่ 3 ส่งผลให้เฟนและเบียร์ต้องเปลี่ยนทรงผมให้เป็นสีและทรงเดียวกับฝั่งตรงข้าม
  • บริการอาหารเย็น (Dinner service) ครั้งที่ 6: ในตอนนี้ เป็นครั้งแรกที่มีการคุมครัวพร้อมกันของหัวหน้าเชฟจำนวน 2 คน จึงแบ่งการคุมครัวคนละฝั่ง โดยเชฟเอียนคุมครัวทีมสีแดงเป็นหลัก ส่วนเชฟอ๊อฟคุมครัวสีน้ำเงินเป็นหลัก
ผู้รับผิดชอบแต่ละแผนกครัว และเมนูต่าง ๆ
ประเภท อาหารเรียกน้ำย่อย
(Appetizer)
อาหารจานหลัก (Main Course) ของหวาน
(Dessert)
เนื้อสัตว์ เครื่องเคียง ซอส อาหารทะเล
ผู้รับผิดชอบ ทีมสีแดง เฟน ลูกจรรย์ ใบตอง แอ้ม บิว แอ้ม (เปลี่ยนตัว)
ทีมสีน้ำเงิน จิ๊บ มารวย เคอร์ มารวย, เก่ง เก่ง เบียร์
เมนู อาหารตะวันตกสมัยใหม่
  • Day Boat Diver Scallop
  • Roasted Beef Filet Mignon
  • Harvest
อาหารเอเชียแนวผสมผสาน
  • Szechuan Chachu Satay Risoni
  • Chilean-sea bass in Cencioni Laksa
  • Puerto Rican Flan with Coconut Sticky Rice
    • แขก VIP ในบริการอาหารเย็น: ในตอนนี้ มีเฉพาะแขก VIP ของทีมสีน้ำเงินเท่านั้น คือ ลูกเกด - เมทินี กิ่งโพยม และ พิม - ซอนย่า คูลลิ่ง นางแบบและนักแสดงชื่อดัง
    • เหตุการณ์ในระหว่างการบริการ: ทีมสีแดงมีปัญหาเล็กน้อยในจานเรียกน้ำย่อย เพราะแอ้มบีบปูว์เรไม่ได้มาตรฐาน ต่อมาทั้งสองทีมมีปัญหาในอาหารจานหลัก โดยลูกจรรย์และมารวยทำเนื้อดิบเกินไป โดยทีมสีน้ำเงินแก้ไขได้ แต่ทีมสีแดง ลูกจรรย์ยังทำเนื้อสุกเกินไปเป็นครั้งที่ 2 เชฟเอียนจึงเขวี้ยงถาดลงพื้นและสั่งให้ทำใหม่ ต่อมาในจานของหวาน ทีมสีแดงมีจานฮาร์เวสต์ที่ถูกตีกลับ เพราะไอศกรีมละลาย แต่พวกเขาแก้ไขถึงสองครั้งไม่สำเร็จ เชฟเอียนจึงต้องเรียกทั้งทีมไปคุยกันเป็นการส่วนตัวภายในห้องเก็บวัตถุดิบ โดยข้างในนั้นเชฟเอียนได้ตำหนิใบตองว่าใช้เวลาทำคาราเมล 2 ชั่วโมงแต่ไม่สำเร็จ ใบตองจึงชี้แจงว่าเป็นการรับงานต่อจากแอ้มจึงต้องแก้ไขหลายส่วน และจะกลับไปแก้ไข แต่หลังจากคุยกันแล้วก็ยังไม่ดีขึ้น เพราะลูกจรรย์กับใบตองจัดจานฟลาน 2 จานไม่ถูกต้อง เชฟเอียนจึงเขวี้ยงทั้ง 2 จานลงพื้นแตกต่อหน้าทีมสีแดงจนแขก VIP ของทีมสีน้ำเงินตกใจกลัว และสั่งให้ทำใหม่ และที่สำคัญ มีจานฮาร์เวสต์ถูกตีกลับมายังใบตองและแอ้มอีกถึง 2 จาน เพราะพบสิ่งแปลกปลอม โดยครั้งที่ 1 เป็นเส้นผม และครั้งที่ 2 เป็นเศษกระดาษ เชฟเอียนจึงสั่งให้ทำใหม่ จากนั้นจึงพาทั้งคู่นำจานใหม่ไปบริการด้วยตนเองเพื่อขอโทษลูกค้าทั้ง 2 ครั้ง ส่วนทีมสีน้ำเงินมีปัญหาเพียงเบียร์ที่ส่งจานของหวานไปให้เชฟอ๊อฟช้า อย่างไรก็ตาม ทั้งสองทีมได้นำออเดอร์ทั้งหมดบริการลูกค้าจนเสร็จสมบูรณ์ หลังจากหัวหน้าเชฟและผู้ช่วยเชฟประเมินการทำงานแล้ว เชฟเอียนเห็นว่าทั้งสองทีมยังบริการไม่ราบรื่นและสมบูรณ์พอ แต่ทีมสีแดงมีข้อผิดพลาดมากกว่าจึงตัดสินให้แพ้ในรอบนี้ และให้ไปประชุมกันเพื่อเสนอชื่อผู้เข้าแข่งขัน 2 คนมาให้คัดออก
  • ผลการบริการอาหารเย็น ครั้งที่ 6: ทีมสีแดงแพ้ ทีมสีนํ้าเงินชนะ
  • การคัดออก (Elimination): เฟนได้เสนอชื่อแอ้มและใบตอง โดยระบุเหตุผลว่าทั้งคู่ทำของหวานผิดพลาดจนถูกตีกลับเนื่องจากมีเส้นผมและเศษกระดาษในจาน เชฟวิลแมนจึงถามแอ้มถึงข้อผิดพลาดดังกล่าว แอ้มสารภาพว่าผิดพลาดจริง โดยออกไปรับผิดชอบจานที่มีเส้นผมและเศษกระดาษไปแล้ว แต่สรุปไม่ได้ว่าเส้นผมในจานดังกล่าวว่ามาจากไหน เพราะเป็นการทำงานแบบทีม และมองว่าใบตองควรถูกคัดออก เชฟป้อมจึงถามใบตอง ใบตองจึงอธิบายว่า ตอนแรกตนรับผิดชอบเครื่องเคียง แต่หลังจากเชฟเอียนเข้ามาตรวจสอบในช่วง 15 นาทีก่อนเปิดภัตตาคารแล้ว พบว่าแอ้มยังทำคาราเมลไม่สำเร็จ จึงสั่งเปลี่ยนหน้าที่ ตนจึงไปทำแทนเพราะเป็นคนเดียวที่เคยทำของหวานทั้งของเชฟเอียนและเชฟอ๊อฟ เชฟป้อมจึงสรุปว่าของหวานเสียหายตั้งแต่แอ้มทำอยู่ และใบตองต้องมาแก้ไขส่วนนี้แทน ใบตองจึงเสริมว่า ตนคิดว่าเป็นการช่วยเหลือกันในทีม และรู้สึกไม่ดีที่แอ้มบอกว่าตนควรออก เพราะตนช่วยเหลือแอ้มมาตลอด เมื่อเชฟป้อมถามว่าใครผิด ใบตองจึงตอบว่าเป็นแอ้ม เพราะตนไม่ได้ร่วมจัดจานฮาร์เวสต์ เชฟเอียนจึงถามเพื่อนร่วมทีมที่เหลือ ซึ่งบิวและลูกจรรย์เห็นตรงกันว่าแอ้มควรออก ดังนั้น เชฟอ๊อฟจึงให้โอกาสใบตองกลับไปพัฒนาตนเองและกลับไปรวมกับเพื่อนร่วมทีม แล้วเชฟเอียนก็ตัดสินให้แอ้มออกจากการแข่งขัน
  • ผู้ที่ถูกเสนอชื่อให้คัดออก: แอ้ม และ ใบตอง
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: แอ้ม
  • ความคิดเห็นของเชฟเอียน: "แอ้ม คือคนที่ย่ำอยู่กับที่ และไม่สามารถพัฒนาตัวเอง ผมไม่เชื่อว่าเขาจะรับผิดชอบงานที่ยิ่งใหญ่ได้ และนั่นคือเหตุผลที่ทำให้ผมเลือกเขาออกจากครัว"

ตอนที่ 8: ความโหดคูณ 2 กับการคุมครัวของเชฟป้อมและเชฟวิลแมน

แก้

ออกอากาศ 24 มีนาคม 2567

  • หัวหน้าเชฟประจำสัปดาห์/โจทย์: ในสัปดาห์นี้ มีหัวหน้าเชฟคุมครัวพร้อมกันจำนวน 2 คน และมีการผสมผสานกันระหว่าง 2 โจทย์อาหารเช่นเดิม ดังนี้
    • เชฟป้อม/โจทย์อาหารไทยร่วมสมัย
    • เชฟวิลแมน/โจทย์อาหารตะวันตกดั้งเดิม
  • ภารกิจส่วนบุคคล (Individual challenge): ในรอบนี้ มีวัตถุดิบหลักคือ หอยนางรม กระดูกหมู หางล็อบสเตอร์ ปลาเค็ม สันในโคขุน หอยเสียบ ปลาทูสด และขาวัว โดยทั้งสองทีมจะต้องส่งตัวแทนออกมาครั้งละ 1 คน โดยมีกล่องปริศนาด้านหน้า ภายในบรรจุสิ่งของปริศนา ผู้เข้าแข่งขันจะต้องใช้มือเข้าไปคลำเท่านั้น และทายให้ถูกภายใน 30 วินาที ผู้ที่ทายถูกจะได้เลือกวัตถุดิบข้างต้น ส่วนผู้ที่ทายผิด ฝ่ายตรงข้ามในคู่นั้น ๆ จะเป็นผู้เลือกวัตถุดิบข้างต้นให้ แต่หากผิดทั้งคู่ หัวหน้าเชฟจะเป็นผู้เลือกวัตถุดิบให้ จากนั้นมีเวลา 45 นาทีในการทำเมนูจากวัตถุดิบที่ตนได้รับ
    • ผลการแข่งขัน:
คู่ที่ การแข่งขัน
ทีมสีแดง ทีมสีน้ำเงิน
วัตถุดิบที่ได้ สิ่งของใน
กล่องปริศนา
ผู้เข้าแข่งขัน คะแนน ผู้เข้าแข่งขัน สิ่งของใน
กล่องปริศนา
วัตถุดิบที่ได้
1 หางล็อบสเตอร์ กบ บิว 3 3 มารวย ทุเรียน หอยนางรม
2 ปลาเค็ม กบ ใบตอง 0 0 เคอร์ ปลาดุก ขาวัว
3 สันในโคขุน ลูกจระเข้ ลูกจรรย์ 1 2 เก่ง ปูน้ำจืด ปลาทูสด
4 ปลาทูสด หัวหมู เฟน 2 2 เบียร์, จิ๊บ เงาะ หางล็อบสเตอร์
รวม แพ้ 6 7 ชนะ

หมายเหตุ: ตัวเอน คือผู้เข้าแข่งขันและสิ่งของในกล่องปริศนาที่ทายถูก รวมถึงวัตถุดิบที่ได้เลือกด้วยตนเอง

  • บริการอาหารเย็น (Dinner service) ครั้งที่ 7: ในตอนนี้ เป็นการคุมครัวพร้อมกันของหัวหน้าเชฟจำนวน 2 คน จึงแบ่งการคุมครัวคนละฝั่ง โดยเชฟป้อมคุมครัวทีมสีแดงเป็นหลัก ส่วนเชฟวิลแมนคุมครัวทีมสีน้ำเงินเป็นหลัก
ผู้รับผิดชอบแต่ละแผนกครัว และเมนูต่าง ๆ
ประเภท อาหารเรียกน้ำย่อย
(Appetizer)
อาหารจานหลัก (Main Course) ของหวาน
(Dessert)
เนื้อสัตว์ เครื่องเคียง ซอส อาหารทะเล
ผู้รับผิดชอบ ทีมสีแดง บิว ใบตอง เฟน ลูกจรรย์
ทีมสีน้ำเงิน เคอร์ เก่ง เบียร์ เก่ง มารวย จิ๊บ
เมนู อาหารไทยร่วมสมัย
  • ยำทวาย - ไก่คลุกงา
  • ข้าวคลุกนํ้าพริก - กุ้งแม่นํ้าเผา - นํ้าปลาหวาน
  • ขนมโค
อาหารตะวันตกดั้งเดิม
  • Quick Sear King Scallop
  • Pan Sear Duck Breast
  • Lemon Mousseline

หมายเหตุ: ตัวเอน คือ เมนูใหม่

    • จานพิเศษก่อนมื้ออาหาร: บาร์ของทอด​ก่อนอาหารมือหลัก พร้อมเมนูสลัดผัก
    • แขก VIP ในบริการอาหารเย็น: ในตอนนี้ มีเฉพาะแขก VIP ของทีมสีแดงเท่านั้น คือ เชฟป้อม - ธนรักษ์ ชูโต เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย และภรรยา เชฟตูน - สุมลนาถ บัณฑิตรัชต์ ผู้เข้าแข่งขัน ท็อปเชฟไทยแลนด์ ฤดูกาลที่ 2
    • เหตุการณ์ในระหว่างการบริการ: ทีมสีแดงมีปัญหากับจานเรียกน้ำย่อยเล็กน้อย โดยเฟนทำสแกลลอปดิบ แต่แก้ไขได้ ต่อมาทั้งสองทีมมีปัญหาในอาหารจานหลัก โดยทีมสีน้ำเงิน เบียร์ใส่ข้าวในจานกุ้งน้อยเกินไป เชฟป้อมจึงสั่งแก้ ส่วนทีมสีแดงไม่ได้เตรียมอาหารไว้ มีปัญหาในการจัดการเวลา และเฟนทำไข่เค็มเล็กเกินไป ต่อมาทีมสีน้ำเงินยังพบปัญหาต่อ โดยเบียร์จัดเครื่องเคียงในจานเป็ดไม่ครบ เชฟวิลแมนจึงทุ่มจานลงบนโต๊ะแตกต่อหน้าทีมสีน้ำเงินและสั่งให้ทำใหม่ และเคอร์ซึ่งมาช่วยเบียร์จัดเครื่องเคียงทำกระเทียมต้น (Leek) ไหม้ เชฟวิลแมนจึงสั่งให้เคอร์กิน เมื่อคายออกมาแล้วจึงให้ทำใหม่ แต่หลังจากนั้นก็ไม่มีปัญหาอย่างอื่น แต่ทีมสีแดงยังมีปัญหาหลายอย่าง จากความผิดพลาดของใบตอง ทั้งทำเนื้อเป็ดสุกเกินไป ทำกุ้งแห้งจนเชฟป้อมพบว่ามันกุ้งหายไป และแกะกุ้งผิดพลาดอีก 2 ตัว เชฟป้อมจึงเตือนใบตองว่าวัตถุดิบทั้งหมดคือต้นทุน พร้อมเรียกสติใบตองให้กลับคืนมา ในที่สุด เมื่อลูกจรรย์นำจานเป็ดออกมาวางเกินมาถึง 3 จาน แต่ไม่มีจานกุ้ง ทำให้เชฟป้อมเห็นว่าทีมสีแดงมีปัญหาในการจัดการเวลาและวัตถุดิบ จนมีออเดอร์ตกค้างเป็นจำนวนมาก จึงสั่งปิดครัวทีมสีแดงในทันที และให้ทีมสีแดงไปประชุมกันเพื่อเสนอชื่อผู้เข้าแข่งขัน 2 คนมาให้คัดออก หลังจากทีมสีแดงถูกปิดครัวแล้ว ทีมสีน้ำเงินก็นำออเดอร์ที่เหลือบริการลูกค้าจนเสร็จสมบูรณ์ รวมถึงบริการแขก VIP แทนทีมสีแดงด้วย ทำให้พวกเขาเป็นทีมที่ชนะในรอบนี้
  • ผลการบริการอาหารเย็น ครั้งที่ 7: ทีมสีแดงถูกปิดครัว ทีมสีน้ำเงินชนะ
  • การคัดออก (Elimination): เฟนได้เสนอชื่อตนเองและใบตอง โดยระบุว่า ในความคิดแรก ตนมองว่าใบตองควรออก แต่กลับระบุต่อว่า ปัญหาของทีมเกิดขึ้นตั้งแต่จานเรียกนํ้าย่อยซึ่งบิวรับผิดชอบ ทำให้ทุกคนต้องไปช่วย จึงเปลี่ยนความคิดในภายหลังว่าบิวควรออก เชฟอ๊อฟจึงถามว่าทำไมทีมสีแดงไม่เสนอชื่อบิว บิวจึงชี้แจงว่าตนได้มอบหมายให้เฟนทําเฉพาะอกไก่ที่ตนทำแล้วส่วนหนึ่งซึ่งเป็นโปรตีน และตุอีลซึ่งเป็นขนม ที่เหลือตนทำเองทั้งหมด แต่เชฟวิลแมนเห็นว่าเฟนทำสแกลลอปดิบ และเชฟป้อมเสริมว่ามีปัญหาเครื่องเคียงทำให้ช้าทั้งหมด แต่เมื่อถามอีกครั้งถึงคนที่ควรออก เฟนกลับยังคงยืนยันว่าเป็นบิว ส่วนใบตองมองว่าเฟนควรถูกคัดออก เพราะในการแบ่งงานในตอนแรก เฟนจะทำอาหารทะเล แต่เมื่อถึงช่วงบริการ ใบตองกลับทำเพียงคนเดียว แต่เชฟวิลแมนระบุว่าใบตองทำเป็ดสุกเกินไปจนแห้ง และเชฟป้อมเสริมว่าใบตองย่างกุ้งแล้วเปลือกไหม้ มีเศษสีดำลงไปในจาน แต่เนื้อกุ้งด้านในดิบ ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงตัวเดียว ทำให้ภัตตาคารเสียต้นทุน เมื่อเชฟป้อมถามอีกครั้งถึงคนที่ควรออก ใบตองตอบทันทีว่าควรเป็นตน ดังนั้น ผู้ที่เชฟวิลแมนตัดสินให้ออกจากแข่งขัน คือ ใบตอง โดยใบตองได้โบกมือลาเพื่อนร่วมทีมสีแดง กล่าวขอบคุณคณะหัวหน้าเชฟ ก่อนหันไปโบกมือลาทีมสีน้ำเงินที่นั่งอยู่ด้านข้าง แล้วเดินออกจากภัตตาคาร จากนั้นเชฟเอียนได้ให้เฟนกลับไปรวมกับเพื่อนร่วมทีม
  • ผู้ที่ถูกเสนอชื่อให้คัดออก: เฟน และ ใบตอง
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: ใบตอง
  • ความคิดเห็นของเชฟป้อม: "ใบตอง ถ้าเขามีความรอบคอบกว่านี้ ก็คงไม่สร้างปัญหาให้ทีมตลอดการแข่งขันจนต้องปิดครัว และนั่นคือสาเหตุที่ทำให้เขาต้องออกจากเฮลล์คิทเช่น"

ตอนที่ 9: การร่วมกันคุมครัวของเชฟสายโหดอย่างเชฟวิลแมนและเชฟเอียน

แก้

ออกอากาศ 31 มีนาคม 2567

  • หัวหน้าเชฟประจำสัปดาห์/โจทย์: ในสัปดาห์นี้ มีหัวหน้าเชฟคุมครัวพร้อมกันจำนวน 2 คน และมีการผสมผสานกันระหว่าง 2 โจทย์อาหารเช่นเดิม ดังนี้
    • เชฟวิลแมน/โจทย์อาหารตะวันตกดั้งเดิม
    • เชฟเอียน/โจทย์อาหารตะวันตกสมัยใหม่
  • การย้ายทีม: ก่อนเริ่มการแข่งขัน เชฟเอียนพบว่าทีมสีน้ำเงินมีสมาชิกถึง 5 คน แต่ทีมสีแดงเหลือสมาชิกเพียง 3 คน จึงเห็นว่าสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ทั้งสองทีมแข่งขันกันได้ยาก เพื่อให้จำนวนสมาชิกของทั้งสองทีมเท่ากัน จึงถามความประสงค์ในการย้ายทีมของสมาชิกทีมสีน้ำเงิน ปรากฏว่ามีผู้ที่ยกมือขอย้ายทีม 2 คน คือ มารวย และเบียร์ จากนั้นเชฟเอียนได้ถามเหตุผลในการย้ายทีมของทั้ง 2 คน และหันไปถามทีมสีแดงถึงสมาชิกทีมสีน้ำเงินที่ต้องการ ซึ่งบิวตอบว่าต้องการมารวย แต่หลังจากนั้นเชฟอ๊อฟได้ให้ทุกคนย้ายกลับสู่ทีมเดิมของแต่ละคนในสัปดาห์แรกทั้งหมด ทำให้บิวกลับไปเป็นสมาชิกของทีมสีน้ำเงิน และเคอร์กับจิ๊บกลับไปเป็นสมาชิกของทีมสีแดงในทันที
  • ผู้ที่ย้ายทีม:
    • ทีมสีแดงทีมสีน้ำเงิน: บิว
    • ทีมสีน้ำเงินทีมสีแดง: เคอร์ และ จิ๊บ
  • ภารกิจแบบทีม (Team challenge): ในรอบนี้ ทั้งสองทีมจะต้องทำอาหารในรูปแบบ "Happy Meal" โดยใช้วัตถุดิบหลักรสขม ได้แก่ มะระ สะเดา และใบขี้เหล็ก เพื่อบริการให้เชฟทั้ง 6 คน และเด็ก ๆ อายุ 8-12 ปี จำนวน 50 คน รวมทั้งหมด 56 จาน ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับภารกิจแบบทีมของมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ในทุกฤดูกาล โดยมีเวลาทำอาหาร 45 นาที
    • ผลการแข่งขัน: ในรอบนี้ เชฟทั้ง 6 คน มีคะแนนคนละ 3 คะแนน และเด็ก ๆ มีคะแนนคนละ 1 คะแนน รวมทั้งหมด 68 คะแนน
ทีม เมนู คะแนน ผล
ทีมสีแดง ลาซัญญาผักขี้เหล็ก มะระทอดกรอบ และไอศกรีมเกล็ดหิมะสะเดาส้มเสาวรส 26 แพ้
ทีมสีน้ำเงิน เครปผลไม้ ซอสน้ำส้มมะระเจลลี กับไอศกรีมมะระ 42 ชนะ
  • ทีมที่ชนะรอบภารกิจ: ทีมสีน้ำเงิน
  • รางวัล/บทลงโทษ:
    • ทีมชนะ (ทีมสีน้ำเงิน): ได้ปลดปล่อยและระบายความเครียด โดยการปาจานใส่หุ่นของคณะหัวหน้าเชฟที่หน้าภัตตาคารเฮลล์คิทเช่น (ต่อมาใช้เป็นเกมในงานเฮลิโคเนีย ฟู้ด เฟสติวัล ตอน Dark Valentine)
    • ทีมแพ้ (ทีมสีแดง): ให้ขนวัตถุดิบทั้งหมดรวมมากกว่า 50 กล่องที่ใช้ในการเปิดภัตตาคารเฮลล์คิทเช่น จากรถที่เข้ามาส่งในครัว แล้วจัดให้เข้าที่ทั้งฝั่งสีแดงและสีน้ำเงิน
  • บริการอาหารเย็น (Dinner service) ครั้งที่ 8: ในตอนนี้ เป็นการคุมครัวพร้อมกันของหัวหน้าเชฟ 2 คน จึงแบ่งการคุมครัวคนละฝั่ง โดยเชฟวิลแมนคุมครัวทีมสีแดงเป็นหลัก ส่วนเชฟเอียนคุมครัวทีมสีน้ำเงินเป็นหลัก
ผู้รับผิดชอบแต่ละแผนกครัว และเมนูต่าง ๆ
ประเภท อาหารเรียกน้ำย่อย
(Appetizer)
อาหารจานหลัก (Main Course) ของหวาน
(Dessert)
เนื้อสัตว์ เครื่องเคียง ซอส
ผู้รับผิดชอบ ทีมสีแดง จิ๊บ เฟน, ลูกจรรย์ เคอร์
ทีมสีน้ำเงิน เก่ง เบียร์ บิว มารวย
เมนู อาหารตะวันตกดั้งเดิม
  • King crab Rillette
  • Pan sear Black Grouper
  • Butter Poach Lobster Tail
  • Beaujolais Pear Tarte Tatin
อาหารตะวันตกสมัยใหม่
  • Maine Lobster
  • Roasted Beef Filet Mignon
  • Raspberry Frangipane Tart
    • เหตุการณ์ในระหว่างการบริการ: ทั้งสองทีมมีปัญหาตั้งแต่จานเรียกน้ำย่อย โดยทีมสีแดง ลูกจรรย์ทำล็อบสเตอร์ดิบ ส่วนทีมสีน้ำเงินจัดจานล่าช้าจนเกินเวลา ทำให้เบียร์ต้องวิ่งไปช่วย แต่กลับส่งผลให้เนื้อ 4 ชิ้นบนกระทะไหม้ เชฟเอียนจึงสั่งห้ามนำไปบริการ ต่อมา มีจานปูของทีมสีแดงถูกตีกลับผ่านเชฟป้อมเพราะพบก้างปู และเก่งจัดจานปูผิดจากต้นฉบับ รวมถึงพยายามโกหกเชฟวิลแมนว่าผักเน่าจนไม่เหลือ ต่อมาในอาหารจานหลักยังมีปัญหาทั้งสองทีม โดยบิวมีปัญหากับการจดรายการ เฟนทำเนื้อผิดระดับถึง 2 ครั้ง และมีจานของทีมสีแดงถูกตีกลับอีกครั้ง เพราะลูกจรรย์ทำปลาดิบจนลูกค้าตัดปลาไม่ขาด เชฟวิลแมนจึงเขวี้ยงจานแตกกลางครัวทีมสีแดงและสั่งให้ทำใหม่ เมื่อทำใหม่เสร็จแล้ว และเชฟวิลแมนตรวจสอบแล้วว่าถูกต้อง จึงให้ลูกจรรย์นำจานใหม่ไปบริการด้วยตนเองพร้อมขอโทษลูกค้า แต่ต่อมา ทีมสีน้ำเงินก็มีจานเนื้อวัวถูกตีกลับเช่นกัน เพราะบิวและเบียร์ทำเห็ดปูว์เรเย็นเกินไป เมื่อทำใหม่เสร็จแล้ว เชฟเอียนจึงพาบิวและเก่งนำจานใหม่ไปบริการพร้อมขอโทษลูกค้าเช่นกัน ต่อมา เฟนทำเนื้อผิดระดับอีกถึง 3 ครั้ง เชฟเอียนจึงไล่เฟนออกจากครัวเป็นครั้งที่ 2 จิ๊บ (ที่ทำงานในแผนกจานเรียกน้ำย่อย) จึงมาทำเนื้อแทน แต่เนื้อก็ยังดิบเกินไป เชฟวิลแมนจึงรับเนื้อของทีมสีน้ำเงินไปบริการแทน แต่ทีมสีน้ำเงินกลับมีปัญหาในจานของหวานแทน เพราะเชฟเอียนตำหนิมารวยที่บอกเวลาทำทาร์ตผิดจากที่ทำจริง และหลังจากจานดังกล่าวถูกนำไปบริการแล้ว ก็ถูกตีกลับผ่านเชฟอ๊อฟเพราะแป้งดิบ แต่มารวยแก้ไขไม่สำเร็จ เชฟวิลแมนจึงไล่มารวยออกจากครัวไปอีก 1 คน ทีมสีน้ำเงินที่เหลือ ทั้งเก่ง (ที่ทำงานในแผนกจานเรียกน้ำย่อย) บิว (ที่ทำงานในแผนกเครื่องเคียงและซอส) และเบียร์ (ที่ทำงานในแผนกเนื้อสัตว์) จึงมาทำของหวานแทน อย่างไรก็ตาม ทั้งสองทีมได้นำออเดอร์ทั้งหมดบริการลูกค้าจนเสร็จสมบูรณ์พร้อมกัน แต่เนื่องจากทั้งสองทีมมีข้อผิดพลาดเหมือนกัน เชฟเอียนจึงตัดสินให้ทั้งสองทีมเสมอกัน
    • ผู้ที่ถูกไล่ออกจากครัว: เฟน และ มารวย
  • ผลการบริการอาหารเย็น ครั้งที่ 8: เสมอกัน
  • การคัดออก (Elimination): เนื่องจากเสมอกัน จึงให้ทั้งสองทีมพักร่วมกันในห้องพักรวม จากนั้นเชฟพฤกษ์ได้เดินเข้ามาและบอกให้ทุกคนประชุมร่วมกันเพื่อเสนอชื่อผู้เข้าแข่งขัน 2 คน จากทีมใดก็ได้ ไปให้เชฟวิลแมนและเชฟเอียนคัดออก หลังจากกลับมาที่ครัว จิ๊บได้เสนอชื่อเฟนและมารวย ซึ่งเป็น 2 คนที่ถูกไล่ออกจากครัวทั้งคู่ จากนั้นเชฟเอียนได้ให้ผู้เข้าแข่งขันที่เหลือแสดงความคิดเห็นและร่วมตัดสินเกี่ยวกับข้อผิดพลาดของทั้งคู่ โดย เคอร์ บิว จิ๊บ เก่ง และเบียร์ เห็นว่าเฟนควรออก มีเพียงลูกจรรย์ที่เห็นว่ามารวยควรออก ดังนั้น ผู้ที่เชฟวิลแมนตัดสินให้ออกจากการแข่งขัน คือ เฟน
  • ผู้ที่ถูกเสนอชื่อให้คัดออก: เฟน และ มารวย
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เฟน
  • ความคิดเห็นของเชฟวิลแมน: "ครั้งนี้ผมไม่ได้เลือก แต่ผมให้ทุกคนเป็นผู้เลือก เพราะมันเห็นชัดเจนว่า ใครควรจะอยู่ หรือ ใครควรจะออกจากเฮลล์คิทเช่นแห่งนี้"

ตอนที่ 10: เชฟป้อมและเชฟอ๊อฟ จะมาเฆี่ยนทุกคน

แก้

ออกอากาศ 7 เมษายน 2567

  • หัวหน้าเชฟประจำสัปดาห์/โจทย์: ในสัปดาห์นี้ มีหัวหน้าเชฟคุมครัวพร้อมกันจำนวน 2 คน และมีการผสมผสานกันระหว่าง 2 โจทย์อาหารเช่นเดิม ดังนี้
    • เชฟอ๊อฟ/โจทย์อาหารเอเชียแนวผสมผสาน
    • เชฟป้อม/โจทย์อาหารไทยร่วมสมัย
  • ภารกิจส่วนบุคคล (Individual challenge): ในครั้งนี้ ทางรายการได้เชิญนักกีฬาเซปักตะกร้อทีมชาติไทยชุดเหรียญทองเอเชียนเกมส์ 2022 จำนวน 4 คน มาแสดงความสามารถในการเล่นกีฬาเซปักตะกร้อให้ผู้เข้าแข่งขันรับชม โดยมีนักกีฬาเซปักตะกร้อที่มา ดังนี้
  1. เรืออากาศเอก ศิริวัฒน์ สาขา
  2. เรืออากาศโท วิชาญ เต็มโคตร
  3. มฤคินทร์ พันธ์มกร
  4. จ่าอากาศเอก วรายุทธ จันทรเสนา

จากนั้นทั้งสองทีมจะต้องส่งตัวแทนครั้งละ 1 คน ให้ออกมาเตะตะกร้อให้ลงกล่อง โดยให้ทีมสีแดงเตะตะกร้อเพื่อเลือกประเภทอาหารไทย คือ ส้มตำปูปลาร้า ซุปหน่อไม้ ลาบปลาดุก หมกปลาซิว ต้มขมเครื่องในวัว และ แกงอ่อมไก่บ้าน และให้ทีมสีน้ำเงินเตะตะกร้อเพื่อเลือกสัญชาติอาหาร คือ เวียดนาม ฝรั่งเศส กัวเตมาลา อินเดีย ญี่ปุ่น และ อิตาลี จากนั้นให้แต่ละคู่ทำเมนูจากอาหารไทยผสมกับสัญชาติอาหารที่คู่นั้น ๆ เตะตะกร้อลง ภายในเวลา 45 นาที และเนื่องจากสีแดงมีสมาชิกน้อยกว่า ทีมสีแดงจะต้องทำจานสุดท้ายร่วมกันเพิ่มอีก 1 จาน

    • ผลการแข่งขัน:
คู่ที่ การแข่งขัน
ทีมสีแดง ทีมสีน้ำเงิน
อาหารไทย ผู้เข้าแข่งขัน คะแนน ผู้เข้าแข่งขัน สัญชาติ
1 ซุบหน่อไม้ เคอร์ 2 3 บิว ญี่ปุ่น
2 ลาบปลาดุก ลูกจรรย์ 1 1 เบียร์ อิตาลี
3 หมกปลาซิว จิ๊บ 3 0 มารวย อิตาลี
4 ต้มขมเครื่องในวัว จิ๊บ, เคอร์, ลูกจรรย์ 2 3 เก่ง กัวเตมาลา
รวม ชนะ 8 7 แพ้
  • ทีมที่ชนะรอบภารกิจ: ทีมสีแดง
  • รางวัล/บทลงโทษ:
    • ทีมชนะ (ทีมสีแดง): ได้ไปท่องเที่ยวแนวผจญภัยด้วยการโหนสลิงชมวิวทิวทัศน์ท่ามกลางธรรมชาติ (Zip line) ที่ Tree Top Adventure Park จังหวัดกาญจนบุรี
    • ทีมแพ้ (ทีมสีน้ำเงิน): ให้ทำ Amuse-Bouche (ของว่างพอดีคำ) เพื่อบริการลูกค้าทั้ง 100 คน โดยใช้โปรตีน 3 อย่าง ได้แก่ หอยเชลล์ กุ้ง และปลาแซลมอน รวมถึงน้ำผลไม้หลากรส และโยเกิร์ตจากประเทศฝรั่งเศส เป็นองค์ประกอบหลัก
  • บริการอาหารเย็น (Dinner service) ครั้งที่ 9: ในตอนนี้ เป็นการคุมครัวพร้อมกันของหัวหน้าเชฟ 2 คน จึงแบ่งการคุมครัวคนละฝั่ง โดยเชฟอ๊อฟคุมครัวทีมสีแดงเป็นหลัก ส่วนเชฟป้อมคุมครัวทีมสีน้ำเงินเป็นหลัก
ผู้รับผิดชอบแต่ละแผนกครัว และเมนูต่าง ๆ
ประเภท อาหารเรียกน้ำย่อย
(Appetizer)
อาหารจานหลัก (Main Course) ของหวาน
(Dessert)
เนื้อสัตว์ เครื่องเคียง ซอส
ผู้รับผิดชอบ ทีมสีแดง ลูกจรรย์ เคอร์ จิ๊บ
ทีมสีน้ำเงิน มารวย บิว เก่ง เบียร์
เมนู อาหารเอเชียแนวผสมผสาน
  • Triple Tacos
  • Wagyu Tenderloins
  • Apple Crumble Hokkaido Cheesecake
อาหารไทยร่วมสมัย
  • ยำทวาย - ไก่คลุกงา
  • ข้าวคลุกน้ำพริก - กุ้งแม่น้ำเผา - น้ำปลาหวาน
  • ขนมโค
    • จานพิเศษก่อนมื้ออาหาร: Seafood Amuse-Bouche
    • เหตุการณ์ในระหว่างการบริการ: ทั้งสองทีมมีปัญหาตั้งแต่จานเรียกน้ำย่อย โดยทีมสีน้ำเงิน มารวยทำจานทาโก้ส่งให้เชฟป้อมช้าเกินไป ทำให้จานยำทวายถูกส่งกลับ ส่วนทีมสีแดง มีไข่นกกระทาไหลเยิ้มในจานทาโก้ เชฟอ๊อฟจึงสั่งให้ลูกจรรย์กลับไปทำใหม่ ต่อมาทั้งสองทีมมีปัญหาในอาหารจานหลัก โดยทั้งบิวและเคอร์ทำเนื้อผิดมาตรฐานหลายครั้ง และเคอร์ยังทำซอสไหม้ด้วย ในที่สุด เนื้อของทั้งสองทีมก็หมดลงจนไม่สามารถบริการลูกค้าได้อีก เชฟป้อมและเชฟอ๊อฟจึงต้องเปลี่ยนเมนูให้ลูกค้าใหม่จากเนื้อเป็นกุ้งแทน จากนั้นทั้งคู่จึงพาบิวและเคอร์นำจานกุ้งไปบริการด้วยตนเองเพื่อขอโทษลูกค้า ส่วนของหวาน แม้ทั้งสองทีมจะไม่มีปัญหา แต่ในทีมสีน้ำเงิน เก่งและเบียร์เกิดความไม่พอใจ เพราะลูกค้าคนสุดท้ายไม่ยอมเรียกจานของหวานจากทีมของตนสักที จนทีมสีแดงนำจานของหวานไปบริการลูกค้าเสร็จก่อนแล้ว จึงเกิดความกังวลว่าพวกเขาจะแพ้ในรอบนี้ แต่ในที่สุด ทีมสีน้ำเงินก็รอจนลูกค้าคนสุดท้ายเรียกจานของหวานและบริการให้จนเสร็จสิ้น จากนั้น เชฟป้อมได้แจ้งว่า ถึงแม้ว่าทีมสีแดงจะบริการลูกค้าเสร็จก่อน แต่ไม่มีผลต่อการตัดสิน เพราะขึ้นอยู่กับลูกค้า ทั้งความพึงพอใจในการเรียกอาหาร และระยะเวลาในการรับประทานอาหาร นอกจากนี้ยังสอนทีมสีน้ำเงินว่า หากลูกค้าคนสุดท้ายยังไม่เดินออกจากภัตตาคาร จะต้องบริการให้เสร็จสมบูรณ์ ไม่ควรบ่นหรือแสดงความไม่พอใจ จากนั้นได้สรุปผลการประเมินการทำงานว่า ทั้งสองทีมมีข้อผิดพลาดใกล้เคียงกัน จึงตัดสินให้ทั้งสองทีมเสมอกัน และให้ทั้งสองทีมไปประชุมกันเพื่อเสนอชื่อผู้เข้าแข่งขันทีมละ 1 คนมาให้คัดออก
  • ผลการบริการอาหารเย็น ครั้งที่ 9: เสมอกัน
  • การคัดออก (Elimination): เคอร์และบิวได้เสนอชื่อตนเอง โดยเคอร์อธิบายว่าตนเองทำเนื้อพลาด จนต้องเปลี่ยนเมนูให้ลูกค้าเป็นกุ้งแทน เชฟอ๊อฟเสริมอีกว่าเคอร์มีข้อผิดพลาดเรื่องความล่าช้าในการจัดการเนื้อและกุ้งด้วย ส่งผลให้ลูกค้าต้องรอนาน ส่วนบิวอธิบายว่าตนเองจัดการเนื้อผิดพลาดถึง 4-5 ครั้ง ทำให้เนื้อเสียมากถึง 7 ชิ้น และกล่าวเพิ่มเติมว่า ตนยอมรับในข้อผิดพลาด และมีความเป็นนักสู้ พร้อมแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นโดยจะไม่ผิดพลาดซ้ำอีก จากนั้นเมื่อถูกถามว่าใครควรออก เคอร์มองว่าบิวควรถูกคัดออก เพราะเขาจัดการเนื้อผิดพลาดมากกว่าตนที่ผิดพลาดเพียง 3 ชิ้นสุดท้ายเท่านั้น ส่วนบิวก็มองว่าตนควรถูกคัดออก เพราะตนทำพลาดจนไม่สามารถบริการเนื้อได้ครบทุกออเดอร์ หลังจากที่คณะหัวหน้าเชฟปรึกษาหารือกันแล้ว ในตอนแรก เชฟป้อมได้ตัดสินให้ทั้งเคอร์และบิวออกจากการแข่งขันทั้งคู่ แต่หลังจากนั้น เชฟป้อมได้เสริมว่า ในการบริการอาหารเย็นทุกครั้งที่ผ่านมา ทั้งสองทีมใช้เวลาจัดการภายในครัวมากถึง 2 ชั่วโมง 30 นาที แต่ในครั้งนี้ ทั้งสองทีมใช้เวลาจัดการไม่ถึง 2 ชั่วโมง ดังนั้น เชฟป้อมจึงตัดสินใจใหม่ โดยไม่คัดผู้เข้าแข่งขันออกในครั้งนี้
  • ผู้ที่ถูกเสนอชื่อให้คัดออก: เคอร์ และ บิว
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: ไม่มี
  • ความคิดเห็นของเชฟป้อม: "วันนี้ ถือว่าทั้งสองทีมมีพัฒนาการที่ดีมากขึ้น อยากให้ทั้งสองทีมมีกำลังใจที่จะสู้ต่อ หวังว่าครั้งหน้า เขาจะทำได้ดียิ่งขึ้นไปอีก"

ตอนที่ 11: ประเดิมความโหดครั้งแรกของรอบเสื้อดำ (Black Jacket) ด้วย Head Chef 3 คน

แก้

ออกอากาศ 21 เมษายน 2567

ก่อนเริ่มการแข่งขัน ได้มีกระดาษสีดำโปรยใส่ผู้เข้าแข่งขัน และมีตู้แสดงจำนวน 7 ตู้ เลื่อนลงมาจากด้านบน ภายในตู้แสดงมีเสื้อยูนิฟอร์มสีดำ (Black Jacket) ซึ่งเชฟเอียนระบุว่า "ผู้ที่ได้ Black Jacket ถือได้ว่าเป็นผู้ที่ฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ จากทุกโจทย์ ทุกสัปดาห์ จนเป็นกลุ่มคนกลุ่มสุดท้ายที่เหลืออยู่ในเฮลล์คิทเช่น" จากนั้นคณะหัวหน้าเชฟได้ให้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 7 คนเข้าไปรับเสื้อดำมาใส่

  • หัวหน้าเชฟประจำสัปดาห์/โจทย์: ในสัปดาห์นี้ เป็นครั้งแรกมีหัวหน้าเชฟคุมครัวพร้อมกันจำนวน 3 คน และมีการผสมผสานกันระหว่าง 3 โจทย์อาหาร ดังนี้
    • เชฟวิลแมน/โจทย์อาหารตะวันตกดั้งเดิม
    • เชฟเอียน/โจทย์อาหารตะวันตกสมัยใหม่
    • เชฟป้อม/โจทย์อาหารไทยร่วมสมัย
  • ภารกิจ (Challenge): ในภารกิจส่วนบุคคลครั้งแรกของรอบเสื้อดำนี้ เป็นการทดสอบทักษะการสื่อสาร โดยทางรายการได้เชิญนักมวยมืออาชีพจำนวน 7 คน เข้ามาร่วมรายการ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องจับคู่นักมวย และออกมาสุ่มหยิบเซียมซีเพื่อรับเมนูอาหารที่จะต้องทำ โดยใช้เนยเป็นวัตถุดิบในการทำอาหารแต่ละเมนู จากนั้นผู้เข้าแข่งขันจะต้องฝึกสอนและบอกวิธีการทำอาหารที่แต่ละคู่ได้รับให้นักมวยทำ โดยต้องสวมเข็มขัดห่างกันเพื่อแยกผู้เข้าแข่งขันกับคู่นักมวยของตนออกเป็นระยะไม่ต่ำกว่า 1 เมตร มีเวลาในการแข่งขัน 45 นาที
    • เหตุการณ์ในระหว่างการแข่งขัน: มีผู้เข้าแข่งขันส่วนใหญ่ฝ่าฝืนช่วยกันหยิบจับวัตถุดิบโดยไม่ได้รับอนุญาต เชฟวิลแมนจึงสั่งให้ทีมงานมัดมือผู้เข้าแข่งขันไว้ด้านหลัง เพื่อให้ไม่สามารถแตะต้องอุปกรณ์และวัตถุดิบในการทำอาหารใด ๆ ได้ นอกจากนี้ จิ๊บยังพยายามชิมอาหารจากฝีมือนักมวย แต่คณะหัวหน้าเชฟไม่อนุญาต และประกาศกติกาเพิ่มว่า ไม่อนุญาตให้นักมวยป้อนอาหารให้เชฟชิมเด็ดขาด
    • ผลการแข่งขัน:
ลำดับที่ ผู้เข้าแข่งขัน นักมวย เมนู คะแนนจากหัวหน้าเชฟ
เชฟเอียน เชฟป้อม เชฟวิลแมน เชฟอ๊อฟ รวม
1 เคอร์ แรมโบ้เลือดเดือด ธนญชัย แลมบ์แร็กซอสมัสมั่น 2 2 3 2 9
2 จิ๊บ โบวี่ ตี๋อำมหิต สเต๊กแซลมอนซอสฮอแลนเดสเสิร์ฟพร้อมผักย่าง 2 3 3 3 11
3 ลูกจรรย์ เอ็ดดี้ เพชรยินดี ทอร์เทลลินีไส้เห็ดครีมซอส 1 2 2 2 7
4 มารวย โยเนียร์ จ.เมืองศรี แฮมเบิร์กซอสมิโซะ 2 3 2 3 10
5 เก่ง หรั่งขาว ว.สังข์ประไพ รีซอตโตเขียวหวานเนื้อย่าง 2 1 2 2 7
6 เบียร์ มหาเวทย์ ก.ทรายหล้า พาสตาเส้นสดเสิร์ฟพร้อมแซลมอนย่างซอสเพสโต 3 3 3 2 11
7 บิว โอเค ซ้ายเอทีเอ็ม พอตพายฮังเลหมูตุ๋น 2 1 2 2 7

เนื่องจากมีผู้ที่ได้คะแนนมากที่สุดเท่ากัน 2 คน คือ จิ๊บ และเบียร์ คณะหัวหน้าเชฟจึงปรึกษาหารือกัน ในที่สุด เชฟอ๊อฟได้ตัดสินให้จานที่ดีที่สุดเป็นของจิ๊บ ทำให้จิ๊บเป็นผู้ชนะในรอบนี้ไปโดยปริยาย

  • ผู้ชนะรอบภารกิจ: จิ๊บ
  • รางวัล/บทลงโทษ:
    • ผู้ชนะ (จิ๊บ): ได้ไปล่องเรือดินเนอร์สุด Exclusive จาก Khana Yacht Charter ดื่มด่ำไปกับวิวพระอาทิตย์ตกแสนงดงาม ในเส้นทางสุดโรแมนติกกลางแม่น้ำเจ้าพระยา โดยจิ๊บได้เลือกเก่งให้ไปร่วมด้วย
    • คนที่เหลือ: ให้ใช้แรงงานซักผ้าปูโต๊ะให้สะอาด
  • บริการอาหารเย็น (Dinner service) ครั้งที่ 10: ในตอนนี้ เป็นครั้งแรกที่มีการคุมครัวพร้อมกันของหัวหน้าเชฟ 3 คน จึงแบ่งประเภทอาหาร โดยเชฟวิลแมนเป็นผู้เรียกรายการอาหารและตรวจสอบอาหารเรียกน้ำย่อย เชฟเอียนตรวจสอบอาหารจานหลัก และเชฟป้อมตรวจสอบของหวานทั้งหมด และในครั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องออกไปนำเสนอเมนูที่บริการในครั้งนี้ให้ลูกค้าฟังเพื่อแบ่งเบาภาระของเชฟอ๊อฟด้วย โดยลูกจรรย์รับหน้าที่นี้
ผู้รับผิดชอบแต่ละแผนกครัว และเมนูต่าง ๆ
ประเภท อาหารเรียกน้ำย่อย
(Appetizer)
อาหารจานหลัก (Main Course) ของหวาน
(Dessert)
อาหารทะเล องค์ประกอบ เนื้อสัตว์ เครื่องเคียง ซอส
ผู้รับผิดชอบ มารวย จิ๊บ เคอร์ เก่ง บิว ลูกจรรย์, เบียร์
เมนู
  • อาหารตะวันตกดั้งเดิม
    • King Crab Rillette
    • Quick Sear King Scallop
  • อาหารตะวันตกสมัยใหม่
    • Roasted Beef Filet Mignon
    • Australian Lamb Cutlets
    • เหตุการณ์ในระหว่างการบริการ: ในการบริการอาหารเย็นครั้งแรกของรอบเสื้อดำนี้ ปัญหาเกิดขึ้นตั้งแต่จานเรียกน้ำย่อย โดยมารวยทำสแกลลอปผิดพลาดหลายครั้ง มีทั้งสุกเกินไปและดิบ เชฟวิลแมนจึงเขวี้ยงจานแตกกลางครัว และโยนถาดสแกลลอปทั้ง 2 ถาดลงพื้น อีกทั้งมารวยยังใช้น้ำมันมากเกินไปในการจี่สแกลลอปทำให้ล่าช้า ต่อมาในอาหารจานหลัก เคอร์สับสนกับการจัดการอาหาร จนส่งเนื้อวัวและเนื้อแกะผิดจำนวน ต่อมา ได้รับออเดอร์พิเศษที่ลูกค้าสั่งมาว่าไม่รับประทานเนื้อวัวและเนื้อแกะ (ลักษณะคล้ายกับในตอนที่ 6) เก่งจึงรับอาสาทำอาหารพิเศษจานนี้เช่นเดียวกับในตอนที่ 6 เมื่อทำเสร็จแล้ว และเชฟเอียนที่ดูแลอาหารจานหลักตรวจสอบแล้วว่าถูกต้อง เก่งจึงนำจานอาหารพิเศษดังกล่าวไปบริการและนำเสนอลูกค้าด้วยตนเอง ต่อมา บิวและเคอร์ทำเนื้อผิดระดับถึง 2 ครั้ง แม้ว่าจะช่วยกันแก้ไขได้ แต่เชฟวิลแมนเห็นว่าไม่มีใครจัดเครื่องเคียงบนจานเลย จึงต้องเรียกให้ทุกคนไปรุมช่วย และในจานของหวาน ลูกจรรย์ทำกะทิในจานขนมโคเย็นเกินไป และจัดจานส้มฉุนผิดพลาดถึง 2 ครั้ง โดยครั้งแรกลืมใส่เยลลี่ขิง ส่วนครั้งที่สองใส่ส้มไม่ครบ ต่อมา เชฟป้อมได้เรียกทุกคนออกมาดูเศษสีดำในจานส้มฉุนซึ่งไม่ควรนำไปบริการ และให้ทุกคนนำกลับไปแก้ไข ระหว่างนั้น เชฟป้อมเห็นว่าเคอร์กำลังปอกส้ม จึงตำหนิลูกจรรย์ที่ไม่ได้ปอกส้มเตรียมไว้ แต่ลูกจรรย์กลับเถียงว่าส้มหมดพอดี เชฟป้อมจึงสวนกลับไปทันทีว่าเป็นเพราะเตรียมไม่พอ จากนั้น เบียร์ทำขนมโค 5 จานไปล่วงหน้าโดยที่เชฟวิลแมนยังไม่ได้เรียก เชฟป้อมจึงเตือนว่า หากเป็นภัตตาคารปกติ การกระทำนี้ถือเป็นการสิ้นเปลืองต้นทุน อย่างไรก็ตาม ทุกคนได้นำออเดอร์บริการลูกค้าจนเสร็จสมบูรณ์ แต่เชฟวิลแมนเล็งเห็นว่าในการบริการครั้งนี้ยังมีข้อผิดพลาดจำนวนมาก จึงให้ทุกคนไปประชุมกันเพื่อเสนอชื่อผู้เข้าแข่งขัน 2 คนมาให้คัดออก
  • ผลการบริการอาหารเย็น ครั้งที่ 10: ผ่าน (เสร็จสมบูรณ์)
  • การคัดออก (Elimination): มารวยและเคอร์ได้ยกมือเสนอชื่อตนเอง โดยมารวยอธิบายว่าตนส่งสแกลลอปที่มีทั้งสุกเกินไปและดิบเกินไป พร้อมกับทำสแกลลอปช้า ประกอบกับอาหารที่ส่งไปไม่ได้มาตรฐานอย่างที่ตนต้องการ ทำให้การบริการอาหารล่าช้ามากกว่าที่ควรจะเป็น และจากเหตุผลดังกล่าวจึงเห็นว่าตนสมควรออก ส่วนเคอร์อธิบายว่าตนทำเนื้อผิดระดับจากที่เชฟเอียนต้องการคือ Medium Rare เป็นแบบ Rare ถึง 2 ครั้ง และบอกต่อว่า หากคณะหัวหน้าเชฟจะให้ตนออกจากการแข่งขัน ตนก็จะยอมรับผล แต่ผู้ที่เชฟวิลแมนตัดสินให้ออกจากการแข่งขัน คือ มารวย เนื่องจากเห็นว่ามีทัศนคติที่ไม่ดีพอสำหรับการแข่งขันต่อ เพราะช่วงก่อนเปิดภัตตาคาร เชฟพฤกษ์ได้เข้าไปเตือนมารวยเรื่องแกะปูแล้ว แต่มารวยกลับไม่สนใจปูและต้นทุนทั้งหมดที่สูญเสียไป และในระหว่างบริการ มารวยทำสแกลลอปโดยไม่สนใจว่าเชฟวิลแมนจะเรียกหรือไม่ เพราะกลัวว่าจะทำไม่ทัน ทำให้สแกลลอปทั้งหมดที่ทำนั้นสุกเกินไปจนบริการไม่ได้ อีกทั้งเชฟวิลแมนยังมองว่ามารวยอาจจะไม่สามารถรักษาผลประโยชน์ของภัตตาคารได้หากจ้างมารวยมาเป็นหัวหน้าเชฟ เพราะไม่ใช่เงินที่จ่ายโดยมารวย
  • ผู้ที่ถูกเสนอชื่อให้คัดออก: เคอร์ และ มารวย
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: มารวย
  • ความคิดเห็นของเชฟวิลแมน: "นี่คือการแข่งขันเฟ้นหาเชฟที่จะมารันครัวของร้านเฮลล์คิทเช่น แต่วันนี้ มารวยทำให้เรารู้ว่า เขายังไม่เหมาะสมในตำแหน่งนั้น ผมจึงเลือกที่จะให้เขากลับบ้านในวันนี้"

ตอนที่ 12: 3 Head Chef 3 สัญชาติอาหาร กับความท้าทายใหม่

แก้

ออกอากาศ 28 เมษายน 2567

  • หัวหน้าเชฟประจำสัปดาห์/โจทย์: ในสัปดาห์นี้ มีหัวหน้าเชฟคุมครัวพร้อมกันจำนวน 3 คน และมีการผสมผสานกันระหว่าง 3 โจทย์อาหารเช่นเดิม ดังนี้
    • เชฟป้อม/โจทย์อาหารไทยร่วมสมัย
    • เชฟอ๊อฟ/โจทย์อาหารเอเชียแนวผสมผสาน
    • เชฟเอียน/โจทย์อาหารตะวันตกสมัยใหม่
  • ภารกิจ (Challenge): ในรอบนี้ เป็นการทดสอบการทำอาหารข้างถนน (Street Food) โดยทางรายการได้เชิญผู้ชำนาญการเกี่ยวกับอาหารข้างถนนจำนวน 6 คน เข้ามาร่วมรายการ เพื่อแข่งขันทำอาหารข้างถนนกับผู้เข้าแข่งขันทั้ง 6 คนแบบตัวต่อตัว โดยมีการหมุนวงล้อเพื่อจับคู่ผู้เข้าแข่งขันกับคู่แข่ง และแต่ละคู่จะต้องออกมาเสี่ยงเซียมซีเพื่อรับเมนูโจทย์สำหรับการทำอาหาร โดยมีเวลาในการแข่งขัน 25 นาทีสำหรับทำอาหาร 4 จาน แต่ทางรายการได้หุงข้าวเตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว และคณะหัวหน้าเชฟได้มอบหมายให้ผู้ช่วยเชฟควบคุมการแข่งขันในรอบนี้แทน เนื่องจากคณะหัวหน้าเชฟจะออกไปอยู่ด้านนอกเพื่อรอตัดสินในรูปแบบ Blind Testing คือ คณะหัวหน้าเชฟจะไม่ทราบว่าจานที่ชิมเป็นของผู้เข้าแข่งขันฝ่ายใด
    • ผลการแข่งขัน: เมื่อหมดเวลาการทำอาหาร คณะหัวหน้าเชฟได้เดินกลับมาแล้วยืนหันหลังให้ผู้เข้าแข่งขันและชิมอาหาร โดยจาน A เป็นจานของผู้เข้าแข่งขันเฮลล์คิทเช่น และจาน B เป็นจานของผู้ชำนาญการเกี่ยวกับอาหารข้างถนน ซึ่งผู้เข้าแข่งขันที่จะเป็นผู้ชนะได้ จะต้องชนะคู่ของตน และคะแนนรวมมากที่สุด โดยผลคะแนนออกมาเป็นดังนี้
คู่ที่ เมนู ผู้เข้าแข่งขัน คะแนนจากหัวหน้าเชฟ ผู้ชนะใน
แต่ละคู่
รหัสจาน ตัวแทน ชื่อ เชฟวิลแมน เชฟอ๊อฟ เชฟป้อม เชฟเอียน รวม
1 หมึกผัดไข่เค็ม เสิร์ฟพร้อมข้าวสวย A เฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ เก่ง 1 1 2 2 6 คุณแนน
B ร้านครัวบุญปาก คุณแนน 3 3 3 3 12
2 ก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่ A เฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ บิว 0 0 1 0 1 คุณปื๊ด
B ร้านปื๊ด กุ้งแม่น้ำ คุณปื๊ด 2 2 2 2 8
3 กบทอดกระเทียมราดข้าวไข่ดาวเยิ้ม A เฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ เคอร์ 2 2 2 0 6 เคอร์
B ร้านจิตสดชื่น คุณแบงค์ 1 1 1 2 5
4 ข้าวราดกะเพราไข่เยี่ยวม้าใบกะเพรากรอบ A เฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ จิ๊บ 3 3 3 3 12 จิ๊บ
B ร้านเจ๊จิ๋วตะหลิวบิน คุณจิ๋ว 0 1 0 1 2
5 ข้าวราดทะเลผัดฉ่า กุ้ง หอย หมึก A เฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ ลูกจรรย์ 1 1 1 1 4 คุณอาร์ม
B ร้านวีรวัฒน์ ข้าวต้มปลาเก๋า คุณอาร์ม 0 1 1 3 5
6 ข้าวราดผัดเผ็ดปลาดุกกรอบ A เฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ เบียร์ 3 3 3 3 12 เบียร์
B ร้านเปี๊ยก ตำสะเด็ด ลั่นทุ่ง คุณวินิจ 1 1 1 1 4
  • ผู้ชนะรอบภารกิจ: จิ๊บ และ เบียร์
  • รางวัล/บทลงโทษ:
  • บริการอาหารเย็น (Dinner service) ครั้งที่ 11: ในตอนนี้ เป็นการคุมครัวพร้อมกันของหัวหน้าเชฟ 3 คน จึงแบ่งประเภทอาหาร โดยเชฟป้อมเป็นผู้เรียกรายการอาหารและตรวจสอบอาหารเรียกน้ำย่อย เชฟอ๊อฟตรวจสอบอาหารจานหลัก และเชฟเอียนตรวจสอบของหวานทั้งหมด และในครั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันที่รับผิดชอบจานพายบานอฟฟี จะต้องทอด จัดจาน และบริการที่โต๊ะลูกค้า (Table side) ภายใต้การควบคุมของเชฟวิลแมน โดยเก่งรับหน้าที่นี้
ผู้รับผิดชอบแต่ละแผนกครัว และเมนูต่าง ๆ
ประเภท อาหารเรียกน้ำย่อย
(Appetizer)
อาหารจานหลัก (Main Course) ของหวาน
(Dessert)
เนื้อสัตว์ เครื่องเคียง
ผู้รับผิดชอบ เคอร์, เบียร์ ลูกจรรย์ จิ๊บ เก่ง, บิว
เมนู
  • อาหารไทยร่วมสมัย
    • พัฟคั่วกลิ้งเนื้อ (เคอร์รับผิดชอบ)
    • ยำทวาย - ไก่คลุกงา (เบียร์รับผิดชอบ)
  • อาหารเอเชียแนวผสมผสาน
    • Wagyu Tenderloins
    • Vietnamese Porkchop Risotto Pate Moose
  • อาหารตะวันตกสมัยใหม่

หมายเหตุ: ตัวเอน คือ เมนูพิเศษ

    • เหตุการณ์ในระหว่างการบริการ: ปัญหาเกิดขึ้นตั้งแต่จานเรียกน้ำย่อย โดยเบียร์จัดจานยำทวายล่าช้า ทำให้ทุกคนต้องมารุมช่วย นอกจากนั้นเบียร์ยังทำน้ำยำไม่ได้มาตรฐาน จัดไก่ชิ้นเล็กเกินไปลงในจานถึง 2 ครั้ง และจัดจานเกินจากที่เชฟป้อมสั่ง ส่วนเคอร์มีปัญหาเพียงปิดทองคำเปลวไม่ติดบนพัฟ ต่อมาในอาหารจานหลัก ลูกจรรย์มีปัญหาเพียงเล็กน้อยที่ทำเนื้อดิบเกินไป 1 ชิ้น แต่เมื่อแก้ไขแล้วก็ไม่มีปัญหาอื่น แต่กลับมีข้อผิดพลาดอย่างมากในจานของหวาน โดยเฉพาะการบริการพายบานอฟฟีที่โต๊ะลูกค้า เพราะเก่งทอดแป้งฟิลโลไม่เรียบร้อยตั้งแต่เริ่ม และลืมน้ำตาลไอซิ่งไว้ที่ครัว ส่งผลให้ไอศกรีมในจานฮาร์เวสต์ที่มาด้วยกันเริ่มละลาย ต่อมา เชฟเอียนเข้าไปตรวจสอบ พบว่า บานอฟฟีจานแรกขาด Berry Compote ซึ่งเป็นซอสราดบนเบอร์รี่ จึงเรียกบิวให้นำซอสจากครัวออกไปเติม ต่อมา เมื่อออเดอร์บานอฟฟีเข้ามามากขึ้น เชฟเอียนพบว่าเก่งทำบานอฟฟีต่อหน้าลูกค้าอยู่คนเดียวโดยไม่มีใครช่วย จึงต้องเรียกอีก 2 คนให้ไปออกช่วยบริการบานอฟฟีที่โต๊ะลูกค้าเพื่อแบ่งเบาภาระของเก่ง จิ๊บกับเบียร์ที่เสร็จหน้าที่ของตนแล้วจึงออกไปช่วย แต่ในตอนแรกเบียร์เข็นรถไปทำผิดโต๊ะ ต่อมา เบียร์ทำน้ำมันไหม้ จึงกลับมาเอาน้ำมันในครัว และถูกเก่งตามมาสบถด่า จากนั้น แป้งฟิลโลไม่พอทอดและบริการลูกค้า จิ๊บและเบียร์จึงต้องกลับมาทำเพิ่ม โดยมีบิวมาช่วย ในที่สุด หลังจากลูกจรรย์เทไนโตรเจนเหลวลงในไอศกรีมที่บิวทำไว้มากเกินไป ทำให้ไอศกรีมแข็งจนตักไม่ออก และเก่งปั้นไอศกรีมด้วยมือ ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดหลักสุขอนามัย ประกอบกับมีปัญหาการสื่อสารเป็นอย่างมาก เชฟเอียนจึงสั่งปิดครัวในทันที ทำให้เป็นการปิดครัวในรอบเสื้อดำเป็นครั้งแรกของเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ และให้ทุกคนไปประชุมกันเพื่อเสนอชื่อผู้เข้าแข่งขัน 4 คนมาให้คัดออก
  • ผลการบริการอาหารเย็น ครั้งที่ 11: ไม่ผ่าน (ถูกปิดครัว)
  • การคัดออก (Elimination): เชฟอ๊อฟได้ให้คนที่ถูกเสนอชื่อยกมือเพื่อเสนอชื่อตนเอง ซึ่งเก่ง เคอร์ บิว และเบียร์ เป็น 4 คนดังกล่าว จากนั้นเชฟวิลแมนได้ถามอีก 2 คนที่ไม่ถูกเสนอชื่อถึงคนที่ผิดพลาดน้อยที่สุดใน 4 คนดังกล่าว ซึ่งลูกจรรย์คิดว่าเคอร์ผิดพลาดน้อยที่สุด ส่วนจิ๊บคิดว่าบิวผิดพลาดน้อยที่สุด เพราะบิวเตรียมขนมทุกอย่างเสร็จเรียบร้อย และปัญหาที่ทำให้ปิดครัวคือการสื่อสารที่ผิดพลาด เชฟวิลแมนจึงถามจิ๊บต่อว่าการสื่อสารพลาดที่ใคร แต่จิ๊บไม่สามารถตอบได้ เชฟวิลแมนจึงผิดหวังกับจิ๊บอย่างมาก แล้วให้เคอร์กลับไปรวมกับเพื่อนก่อน จากนั้นจึงถามบิวและเก่งถึงข้อผิดพลาดในแผนกของหวาน ซึ่งทั้งคู่ตอบตรงกันว่าเกิดจากการสื่อสาร โดยเก่งคิดว่าทั้งคู่รับผิดชอบของหวานร่วมกัน จึงควรออกพร้อมกัน แต่บิวได้กล่าวว่าตนไม่ได้ผิดพลาดมากพอที่จะถูกคัดออก เชฟเอียนจึงถามถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของทั้งคู่ โดยทั้งคู่ได้อธิบายอย่างละเอียด ทำให้เชฟเอียนสรุปได้ว่า เก่งเสียเวลาดูคนอื่นจนลืมหน้าที่ของตน ในขณะที่บิวรับผิดชอบหน้าที่ของตน และยังช่วยคนอื่น ดังนั้น จึงให้บิวกลับไปรวมกับเพื่อน จากนั้นเชฟป้อมได้ถามเบียร์ถึงข้อผิดพลาด เบียร์อธิบายว่าตนจัดจานยำทวายล่าช้า เชฟป้อมจึงได้กล่าวเพิ่มเติมว่า เบียร์มีคนอื่นมาช่วยทำ โดยเคอร์ทำน้ำแกง จิ๊บหั่นไก่ และบิวลวกผัก ในขณะที่เบียร์ทำแค่เยลลี่และหั่นผัก และไม่ช่วยเคอร์ทำจานพัฟเลย หลังจากที่คณะหัวหน้าเชฟปรึกษาหารือกันแล้ว ผู้ที่เชฟป้อมตัดสินให้ออกจากการแข่งขัน คือ เก่ง
  • ผู้ที่ถูกเสนอชื่อให้คัดออก: เก่ง, เคอร์, บิว และ เบียร์
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เก่ง
  • ความคิดเห็นของเชฟป้อม: "คนที่จะเป็นแชมป์เฮลล์คิทเช่นได้ ไม่ใช่เพียงแค่เห็นปัญหาทุกจุดของคนอื่น แต่ลืมที่จะมองปัญหาของตัวเอง"

ตอนที่ 13: การคุมครัวนรกร่วมกันของ 3 Head Chef ระดับตัวพ่อ

แก้

ออกอากาศ 5 พฤษภาคม 2567

  • หัวหน้าเชฟประจำสัปดาห์/โจทย์: ในสัปดาห์นี้ มีหัวหน้าเชฟคุมครัวพร้อมกันจำนวน 3 คน และมีการผสมผสานกันระหว่าง 3 โจทย์อาหารเช่นเดิม ดังนี้
    • เชฟเอียน/โจทย์อาหารตะวันตกสมัยใหม่
    • เชฟวิลแมน/โจทย์อาหารตะวันตกดั้งเดิม
    • เชฟอ๊อฟ/โจทย์อาหารเอเชียแนวผสมผสาน
  • ภารกิจ (Challenge): ในรอบนี้เป็นบททดสอบแกะสูตรจากต้นฉบับ โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องแกะสูตรอาหารจากเมนูพิเศษของหัวหน้าเชฟทั้ง 4 คน และทำออกมาให้เหมือนต้นฉบับ โดยใช้เนื้อสะโพกหมูเป็นวัตถุดิบหลัก เพื่อวัดทักษะของผู้เข้าแข่งขันในการเป็นเชฟ 4 ด้าน คือ การรับรู้รส ความรอบรู้วัตถุดิบ วิธีการปรุงอาหาร และความจำ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเล่นโอน้อยออกและเป่ายิ้งฉุบ เพื่อเสี่ยงลำดับการเลือกอาหาร จากนั้นมีเวลา 45 นาทีในการชิมและทำเมนูที่ได้รับ และหากผู้เข้าแข่งขันชิมเสร็จแล้ว หัวหน้าเชฟจะเก็บเมนูของตนออก
    • ผลการแข่งขัน:
ลำดับที่ ผู้เข้าแข่งขัน ลำดับการ
เลือกเมนู
หัวหน้าเชฟ
เจ้าของเมนู
คะแนนจากหัวหน้าเชฟ
เชฟวิลแมน เชฟอ๊อฟ เชฟป้อม เชฟเอียน รวม
1 เบียร์ 5 เชฟวิลแมน 0 1 0 0 1
2 บิว 3 เชฟอ๊อฟ 2 2 2 1 7
3 เคอร์ 1 เชฟเอียน 2 2 2 3 9
4 จิ๊บ 2 เชฟป้อม 0 0 0 0 0
5 ลูกจรรย์ 4 เชฟอ๊อฟ 0 1 0 1 2

หมายเหตุ: ตัวเอน คือคะแนนจากหัวหน้าเชฟเจ้าของเมนูที่แกะสูตรโดยผู้เข้าแข่งขัน

  • ผู้ชนะรอบภารกิจ: เคอร์
  • รางวัล/บทลงโทษ:
    • ผู้ชนะ (เคอร์): ได้ไปเล่นเครื่องเล่นทางน้ำผาดโผน Flyboard ที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี โดยเคอร์ได้เลือกลูกจรรย์ให้ไปร่วมด้วย
    • คนที่เหลือ: ให้อาบน้ำหมูทุกตัว
  • บริการอาหารเย็น (Dinner service) ครั้งที่ 12: ในตอนนี้ เป็นการคุมครัวพร้อมกันของหัวหน้าเชฟ 3 คน จึงมีการแบ่งประเภทอาหาร โดยเชฟเอียนเป็นผู้เรียกรายการอาหารและตรวจสอบอาหารเรียกน้ำย่อย เชฟวิลแมนตรวจสอบอาหารจานหลัก และเชฟอ๊อฟตรวจสอบของหวานทั้งหมด
ผู้รับผิดชอบแต่ละแผนกครัว และเมนูต่าง ๆ
ประเภท อาหารเรียกน้ำย่อย
(Appetizer)
อาหารจานหลัก (Main Course) ของหวาน
(Dessert)
เนื้อสัตว์ เครื่องเคียง ซอส อาหารทะเล
ผู้รับผิดชอบ ลูกจรรย์ เบียร์ เคอร์ บิว จิ๊บ
เมนู
  • อาหารตะวันตกสมัยใหม่
    • Day Boat Diver Scallop
    • Smoked Duck Breast
  • อาหารตะวันตกดั้งเดิม
    • Pan Roasted Grain Fed Beef Tenderloin
    • Pan Sear Black Grouper + Butter Poach Lobster Tail
  • อาหารเอเชียแนวผสมผสาน
    • Apple Crumble Hokkaido Cheesecake
    • Puerto Rican Flan with Coconut Sticky Rice
    • เหตุการณ์ในระหว่างการบริการ: ปัญหาเกิดขึ้นตั้งแต่จานเรียกน้ำย่อย โดยบิวทำสแกลลอปดิบถึง 2 ครั้ง เบียร์ส่งเป็ดให้เชฟเอียนล่าช้าเกินไป และทั้งคู่มีปัญหาการสื่อสาร แต่แก้ไขได้ ต่อมาในอาหารจานหลัก เบียร์ทำเนื้อวัวจานแรกสุกเกินไปทั้ง 2 ชิ้น แต่แก้ไขได้ แต่ในจานนั้นเคอร์ส่งซอสที่ผิดพลาดให้เชฟวิลแมนถึง 2 ครั้ง โดยครั้งแรกทำซอสเปรี้ยวเกินไป ส่วนครั้งที่สองทำเบอร์เนสซอสสุกเกินไป ทำให้อาหารจานหลักชุดแรกจำนวน 5 จานถูกส่งกลับทั้งหมด หลังจากนั้นเบียร์ทำเนื้อวัวผิดระดับอีก 2 ครั้ง โดยครั้งที่สองสุกเกินไปทั้งชุดจำนวน 5 ชิ้น ครั้งที่สามดิบเกินไป และขณะนั้นอาหารจานหลักสองจานแรกถูกตีกลับเนื่องจากเย็นลง เมื่อบิวบอกเวลาทำจานใหม่แล้ว เชฟวิลแมนจึงบอกว่า "ไม่เอาแล้ว" และโยนจานที่เย็นลงแตกกลางครัว และเมื่อทำใหม่เสร็จแล้ว เชฟวิลแมนได้เรียกเบียร์ให้ออกไปขอโทษลูกค้าด้วย แต่ต่อมา เบียร์ทำเนื้อดิบเกินไปอีก 2 ครั้ง รวมแล้วเบียร์ทำผิดระดับอย่างน้อย 5 ครั้ง ส่วนในจานของหวาน มีจานที่ถูกลูกค้าตีกลับมายังจิ๊บเพราะไอศกรีมละลาย อย่างไรก็ตาม ทุกคนได้นำออเดอร์บริการลูกค้าจนเสร็จสมบูรณ์ แต่เชฟเอียนยังเห็นว่าในการบริการครั้งนี้ยังมีข้อผิดพลาด จึงให้ทุกคนไปประชุมกันเพื่อเสนอชื่อผู้เข้าแข่งขัน 2 คนมาให้คัดออก
  • ผลการบริการอาหารเย็น ครั้งที่ 12: ผ่าน (เสร็จสมบูรณ์)
  • การคัดออก (Elimination): จิ๊บได้เสนอชื่อเบียร์และเคอร์ หลังจากนั้นเชฟป้อมได้ถามจิ๊บถึงคนที่ควรออก จิ๊บจึงอธิบายข้อผิดพลาดของทั้งคู่ และสรุปว่าเบียร์ควรออก จากนั้น คณะหัวหน้าเชฟได้ถามถึงข้อผิดพลาดของทั้งคู่ โดยทั้งคู่ได้อธิบายอย่างละเอียด จากนั้นเชฟวิลแมนได้เสริมในกรณีของเคอร์ว่าซอสผิดพลาดทำให้อาหารจานหลักถึงมือลูกค้าล่าช้าไปมากกว่า 10 นาที และยังกล่าวว่าในช่วงก่อนเปิดภัตตาคาร ตนเองได้เตือนให้เคอร์ปรับแก้เรื่องความเปรี้ยวของซอสแล้ว แต่เคอร์ทำไม่สำเร็จ จากนั้นจึงถามเคอร์ว่าใครผิดพลาดมากกว่า เคอร์จึงตอบว่าเป็นตนเอง แต่กล่าวต่อว่ายังไม่อยากออกจากการแข่งขัน ส่วนเชฟเอียนได้เสริมในกรณีของเบียร์ว่า ทุกครั้งที่เบียร์ได้รับผิดชอบเนื้อสัตว์ มีความผิดพลาดเกิดขึ้นทุกครั้งและนับครั้งไม่ถ้วน ทั้ง ๆ ที่มีตำแหน่งใหญ่และสูง และยังเปรียบเทียบกับตอนที่แล้วที่ผู้รับผิดชอบเนื้อคือลูกจรรย์ ซึ่งแม้จะเรียนจบเชฟได้ไม่นาน แต่ทำเนื้อได้ดีและมีข้อผิดพลาดน้อยมาก ดังนั้น ผู้ที่เชฟอ๊อฟตัดสินให้ออกจากการแข่งขัน คือ เบียร์ จากนั้น เชฟป้อมได้ประกาศว่า ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 4 คนที่เหลือ จะผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศ
  • ผู้ที่ถูกเสนอชื่อให้คัดออก: เบียร์ และ เคอร์
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เบียร์
  • ความคิดเห็นของเชฟอ๊อฟ: "สำหรับการแข่งขันในเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ ยิ่งคนน้อยลงเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งพลาดไม่ได้ เพราะโอกาสไม่ได้มีไว้สำหรับผู้ที่ทำผิดซ้ำเดิม เหมือนที่เบียร์ จะไม่ได้รับโอกาสในเฮลล์คิทเช่นอีกต่อไป"

ตอนที่ 14: รอบรองชนะเลิศ (Semi-Final) กับ 3 ด่านนรก

แก้

ออกอากาศ 12 พฤษภาคม 2567

ในรอบรองชนะเลิศ เชฟเอียนได้ประกาศว่าจะไม่มีการเปิดภัตตาคารเฮลล์คิทเช่น แต่ผู้เข้าแข่งขันจะต้องแข่งขันทั้งหมด 3 ภารกิจ เพื่อสะสมคะแนน โดย 2 คนที่มีคะแนนรวมมากที่สุด จะผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ

  • ภารกิจที่ 1: การควบคุมต้นทุนด้วยการทำสเต็ก ผู้เข้าแข่งขันจะต้องตัดแต่งเนื้อสันนอกให้เป็นสเต็กขนาด 1 นิ้ว และปรุงความสุก 3 ระดับ ได้แก่ Medium Rare, Medium และ Well Done ระดับละ 4 ชิ้น รวม 12 ชิ้น โดยมีเวลา 25 นาที และหากทำเสร็จแล้วจะต้องนำมาให้คณะหัวหน้าเชฟตรวจทันที โดยแต่ละคนจะถูกปล่อยถัดจากคนแรก 10 นาที ตามลำดับของหมายเลขชิ้นเนื้อที่จับสลากได้
    • ผลการแข่งขัน: ในรอบนี้ มีการปรับเกณฑ์การให้คะแนน โดยเนื้อที่ถูกต้องตามโจทย์ จะได้รับ 1 คะแนนต่อชิ้น
ลำดับที่ ผู้เข้าแข่งขัน คะแนนที่ได้
Medium Rare
(มีเดียมแรร์)
Medium
(มีเดียม)
Well Done
(เวลดัน)
รวม
1 จิ๊บ 2 0 0 2
2 เคอร์ 0 0 2 2
3 บิว 2 2 2 6
4 ลูกจรรย์ 0 0 1 1
  • ภารกิจที่ 2: ความคิดสร้างสรรค์และการยกระดับวัตถุดิบ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องนำหางหมู ที่มีราคาในท้องตลาดกิโลกรัมละ 55 บาท มาทำอาหารที่มีความคิดสร้างสรรค์และเพิ่มมูลค่า จำนวนทั้งหมด 4 จาน โดยมีเวลาในการทำอาหาร 45 นาที และมีตัวช่วยเป็น 3 เครื่องเทศพิเศษ ได้แก่ ออริกาโน สโมคปาปริกา และการ์ลิคซอลท์ช
    • ผลการแข่งขัน:
ลำดับที่ ผู้เข้าแข่งขัน คะแนนจากหัวหน้าเชฟ สรุปคะแนน
เชฟวิลแมน เชฟอ๊อฟ เชฟป้อม เชฟเอียน รอบที่ 1 รอบที่ 2 รวม
1 จิ๊บ 0 1 0 0 2 1 3
2 เคอร์ 0 3 3 3 2 9 11
3 บิว 2 2 2 1 6 7 13
4 ลูกจรรย์ 2 1 1 1 1 5 6
  • ภารกิจที่ 3: ความเข้าใจในวัตถุดิบอย่างถ่องแท้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องนำปูทะเลที่ตายแล้ว มาทำอาหารจานปูระดับเฮลล์คิทเช่น จำนวนทั้งหมด 4 จาน โดยมีเวลาในการทำอาหาร 45 นาที
    • ผลการแข่งขัน:
ลำดับที่ ผู้เข้าแข่งขัน คะแนนจากหัวหน้าเชฟ สรุปคะแนน
เชฟวิลแมน เชฟอ๊อฟ เชฟป้อม เชฟเอียน รอบที่ 1+2 รอบที่ 3 รวม
1 จิ๊บ 3 3 3 1 3 10 13
2 บิว 2 3 2 1 13 8 21
3 ลูกจรรย์ 1 1 0 2 6 4 10
4 เคอร์ 1 1 1 1 11 4 15
  • การคัดออก: เนื่องจากบิวและเคอร์เป็น 2 คนที่ได้คะแนนรวมทั้ง 3 รอบมากที่สุดตามลำดับ ทั้ง 2 คนจึงผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศทันที ทำให้จิ๊บและลูกจรรย์ถูกคัดออกในรอบนี้ไปโดยปริยาย จากนั้น คณะหัวหน้าเชฟได้ให้จิ๊บและลูกจรรย์ไปยืนด้านข้างโดยไม่มีการให้ถอดเสื้อดำออก พร้อมกับนำผู้เข้าแข่งขันอีก 8 คนที่ถูกคัดออกในสัปดาห์ก่อนหน้านั้นกลับเข้ามาสู่เฮลล์คิทเช่นอีกครั้ง เพื่อให้บิวและเคอร์เลือกเป็นผู้ช่วยภายในครัวของตนสำหรับการบริการครั้งสุดท้าย ทั้งนี้ คณะหัวหน้าเชฟไม่ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการคัดออกของลูกจรรย์และจิ๊บ
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: จิ๊บ และ ลูกจรรย์
  • ผู้ที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ: บิว และ เคอร์

ตอนที่ 15: การรันครัวนรกในรอบชิงชนะเลิศ (Final) ของเคอร์และบิวในฐานะ Head Chef

แก้

ออกอากาศ 19 พฤษภาคม 2567

ในรอบชิงชนะเลิศ บิว และ เคอร์ จะได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นหัวหน้าเชฟ และได้เลือกผู้เข้าแข่งขันจำนวน 10 คนที่ถูกคัดออก (จิ๊บ, ลูกจรรย์, มารวย, เบียร์, พริกเผ็ช, เฟน, ใบตอง, เจมส์, เปียโร่ และเก่ง) มาเป็นผู้ช่วยภายในครัวของตนสำหรับการบริการครั้งสุดท้าย ซึ่งบิวได้คะแนนในรอบรองชนะเลิศมากกว่าเคอร์ จึงได้สิทธิ์เลือกสมาชิกทีมก่อน

  • ผลการเลือกลูกทีม:
ทีม หัวหน้าเชฟ
ประจำทีม
สมาชิก
คนที่ 1 คนที่ 2 คนที่ 3 คนที่ 4 คนที่ 5
ทีมสีแดง เคอร์ เปียโร่ ลูกจรรย์ เบียร์ เฟน เจมส์
ทีมสีน้ำเงิน บิว เก่ง จิ๊บ มารวย ใบตอง พริกเผ็ช

นอกจากนี้ คณะหัวหน้าเชฟยังได้ให้เลือกผู้ช่วยเชฟประจำทีมของตนด้วย โดยเคอร์ได้สิทธิ์เลือก ซึ่งเคอร์ได้เลือกเชฟอาร์ เชฟพฤกษ์จึงเป็นผู้ช่วยเชฟประจำทีมบิวไปโดยปริยาย

  • บริการครั้งสุดท้าย (Final service):
ผู้รับผิดชอบแต่ละแผนกครัว และเมนูต่าง ๆ
ประเภท อาหารเรียกน้ำย่อย
(Appetizer)
อาหารจานหลัก (Main Course) ของหวาน
(Dessert)
ผู้ช่วยเหลือ
(Supporter)
เนื้อสัตว์ เครื่องเคียง ซอส
ทีมสีแดง เคอร์ ผู้รับผิดชอบ เฟน เบียร์, เปียโร่ ลูกจรรย์ เจมส์
เมนู
  • Memories in Spain
  • My First Lobster
  • It's Audition Day
  • Grandmother's Chicken (Style Parisian)
  • Pavlova Mango Sticky Rice
  • Opera Pandan
ทีมสีน้ำเงิน บิว ผู้รับผิดชอบ จิ๊บ, พริกเผ็ช เก่ง มารวย เก่ง ใบตอง
เมนู
  • Heaven Asian Tapas
  • Slow Cooked Lobster
  • Snow Fish in the Forest
  • Cow in the Backyard
  • After a Storm Comes Calm
  • Six Hearts of Sweetness
    • เเขกรับเชิญกิตติมศักดิ์: ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
    • เหตุการณ์ในระหว่างการบริการ: ในการบริการครั้งสุดท้าย ทีมเคอร์มีปัญหาเล็กน้อยในจานเรียกน้ำย่อย เพราะเคอร์พบว่าลูกจรรย์ราดซอสในจานทูน่าน้อยเกินไป จึงสั่งปรับปริมาณเพิ่ม ต่อมาในอาหารจานหลัก ทั้งทีมเคอร์และทีมบิวมีปัญหาการสื่อสาร โดยลูกทีมของเคอร์ไม่ตั้งใจฟังออเดอร์ที่เคอร์จะเรียก ส่วนลูกทีมของบิวหันไปถามจิ๊บแทน เชฟอ๊อฟจึงต้องเข้ามาเตือนสติบิวถึงความเป็นหัวหน้าเชฟ ต่อมา มีจานเรียกน้ำย่อยของทีมเคอร์ถูกตีกลับผ่านเชฟวิลแมน เพราะเปียโร่ทำกุ้งไม่ได้มาตรฐาน นอกจากนั้น เปียโร่ยังทำปลาดิบถึง 2 ครั้ง โดยเชฟวิลแมนเข้ามาตรวจสอบด้วยตนเองในครั้งที่สอง ต่อมา เชฟป้อมเข้าไปสอบถามแขกรับเชิญกิตติมศักดิ์ ทูลกระหม่อมหญิงฯ ประทานความคิดเห็นว่าซอสเขียวหวานในจานของทีมบิวหวานมากเกินไป เชฟป้อมจึงเข้าไปเตือนบิวในเรื่องดังกล่าว อีกทั้งทีมบิวเริ่มมีปัญหาในการจัดการอาหารจานหลักซึ่งล่าช้ามากถึง 7 โต๊ะ ทำให้เชฟวิลแมนต้องเข้ามาเตือน แต่ทันใดนั้น ก็มีจานอาหารของทีมเคอร์ถูกตีกลับอีกครั้งผ่านเชฟป้อม เพราะเบียร์ทำไก่ดิบ เมื่อทำใหม่เสร็จแล้ว เคอร์จึงนำจานใหม่ไปบริการและขอโทษลูกค้าด้วยตนเอง ต่อมา ทีมของบิวกลับมีปัญหาเกี่ยวกับตำแหน่งงานอีกครั้ง เชฟวิลแมนจึงต้องเข้ามาเตือน ส่วนในจานของหวาน ทีมบิวมีปัญหาเล็กน้อย เพราะใบตองส่งจานล่าช้า จนไอศกรีมในจานมะม่วงของทีมเคอร์เกือบละลาย อย่างไรก็ตาม ทั้งสองทีมได้นำออเดอร์ทั้งหมดบริการลูกค้าจนเสร็จสมบูรณ์ และเสร็จสิ้นการบริการอาหารเย็นครั้งสุดท้ายได้สำเร็จ
  • การตัดสิน: ทางรายการได้ให้ลูกค้าที่มารับประทานอาหารทั้ง 100 คน ลงคะแนนให้กับผู้เข้าแข่งขันทั้ง 2 คน เพื่อให้คณะหัวหน้าเชฟใช้เป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาตัดสิน หลังจากนั้น คณะหัวหน้าเชฟได้ใช้วิธีประกาศผลการตัดสินวิธีเดียวกับในเวอร์ชั่นสหรัฐ โดยให้บิวและเคอร์จับลูกบิดประตูคนละบานแล้วเปิดพร้อมกัน ซึ่งมีเพียงบานเดียวที่สามารถเปิดออกได้ และผู้ที่เปิดประตูออก ซึ่งถือเป็นผู้ชนะเลิศคนแรกของเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ คือ บิว โดยได้รับเงินรางวัล 1,000,000 บาท และได้เข้าทำงานในภัตตาคารเครือเฮลล์คิทเช่นในประเทศไทย
  • ผู้ชนะเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ ฤดูกาลที่ 1: บิว

สิ่งสืบเนื่อง

แก้

สินค้า

แก้

เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป ได้ต่อยอดความสำเร็จของเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ ออกมาผลิตและจำหน่ายเป็นน้ำพริก 2 ชนิด คือ น้ำพริกนรก และ น้ำพริกตาแดง ภายใต้ตราสินค้าเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ โดยวางจำหน่ายบนเฟซบุ๊กของรายการ และในช่องทาง "เฮลิโคเนีย ช็อป" ที่เปิดขึ้นมาใหม่บนลาซาด้า ช้อปปี้ ติ๊กต็อกช็อป และไลน์ช็อปปิง ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2567

รายการภาคล้อเลียน

แก้

มีบางรายการที่นำองค์ประกอบของรายการนี้มาล้อเลียน อาทิ "โจ๊กเกอร์คิทเช่นไทยแลนด์" ในรายการ ก็มาดิคร้าบ ที่ออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์ เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2567[4] หรือรายการ คุณพระช่วย ช่วงฉ่อยหน้าม่าน ที่นำเสนอตอน "สามน้าคิตเชน" ออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์เช่นเดียวกัน เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2567[5] เป็นต้น

ข้อวิจารณ์

แก้

หลังเสร็จสิ้นการออกอากาศรายการในฤดูกาลที่ 1 มีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เข้าแข่งขันของรายการ โพสต์พาดพิงถึงเคอร์ (รองชนะเลิศในฤดูกาลดังกล่าว) ในเชิงลบว่า "ดูเชฟเคอร์สัมภาษณ์ เหมือนดูละครคุณธรรม" จึงถูกผู้ใช้สื่อสังคมหลายคนเข้าไปวิพากษ์วิจารณ์เป็นจำนวนมาก และหนึ่งในนั้น มีผู้เข้าแข่งขันอีกคนไปแสดงความคิดเห็นในโพสต์พาดพิงถึงเคอร์สั้น ๆ ว่า "ว้ายยยย" จึงถูกแฟนคลับและแฟนรายการวิพากษ์วิจารณ์ในพฤติกรรมติดตลกที่แย่เอามาก และมีการโพสต์ถ่ายรูปโมเมนต์ในรายการใส่ชื่อเชฟบนลงแฮชแท็กทุกคน แต่ไม่มีแฮชแท็กเคอร์ หลังจากนั้นเชฟคนดังกล่าวออกมาชี้แจงทางโอเพนแชทส่วนตัว แต่บิวและเคอร์ได้ให้สัมภาษณ์ในสำนักข่าวต่าง ๆ โดยที่มติชน เคอร์ได้พูดถึงเรื่องดังกล่าวว่า

"เป็นเรื่องที่เราคิดว่าไม่น่าจะเกิดขึ้น เพราะต้องเป็นวันที่แสดงความยินดีกับเชฟบิวที่ได้เป็น Hell's Kitchen Thailand คนแรกของประเทศไทย อยากให้คนที่กำลังเสพดราม่าอยู่ ให้หยุด เพื่อที่แสดงความยินดีกับสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเราไม่ได้ให้ตรงนั้นเป็นสิ่งสำคัญ จริง ๆ ผู้เข้าแข่งขันไม่เคยคุยกันหลังไมค์ เพราะเป็นกฎ ซึ่งระหว่างแข่งขันห้ามสังสรรค์กันนอกรอบ แม้กระทั่งกรรมการ เพราะฉะนั้นเราแข่งเสร็จเจอกันหน้ากอง ก็กลับบ้านแยกย้ายกัน แม้กระทั่งไลน์ก็ไม่มีของกันและกัน ซึ่งงงมากว่า จะเกิดการไม่ชอบพอกันได้อย่างไร เพราะมันไม่มีเวลาใช้ชีวิตส่วนตัวด้วยกัน ทุกวันนี้นั่งคิดก็ยังหาสาเหตุไม่ได้ ส่วนเมื่อวานไม่ได้คุยกับใครเลยหลังรายการจบ เพราะส่วนตัวไม่ค่อยสุงสิงกับใครอยู่แล้ว บวกกับเราไม่มีเรื่องอะไรต้องโทรไปเคลียร์ ไม่มีเรื่องอะไรต้องไปถามเจ้าตัวคนโพสต์ว่า 'เห้ย เธอจะแฉอะไรเรา' เพราะฉะนั้นสำหรับเราจบแล้ว เคลียร์แล้ว เราจะไม่มีการทำอะไรแบบนี้ และเราเข้าใจว่าคนโพสต์เองอาจจะไม่ได้ตั้งใจที่จะโพสต์แบบนั้นด้วยซ้ำ"

ส่วนบิว (ผู้ชนะเลิศคนแรกของเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์) ได้กล่าวเสริมว่า "จริง ๆ มันไม่ได้มีอะไรเลย อยากให้ทุกคนเปลี่ยนมุมมอง ไปให้กำลังใจเชฟทุกคนดีกว่า ทุกคนมีมิตรภาพที่ดีต่อกันเสมอ หลังจบรายการเราไปเจอกันในงานเราก็ทักทายพูดคุย"

หลังจากนั้นเคอร์กล่าวอีกว่า "การที่ทุกคนมาแข่ง ทุกคนมีเป้าหมายเดียวกันคืออยากชนะ แต่พอเกิดความผิดพลาดไปถึงความฝันไม่ได้ อยากให้แฟนคลับของเชฟทุกคนไปสนับสนุนทุกคน ทุกคนมีร้านอาหารหมดเลย"[6]

อ้างอิง

แก้
  1. ""เฮลิโคเนียเอช กรุ๊ป" ตอกย้ำตำแหน่งเจ้าพ่อ King of Food Content ตัวจริง ! คว้ำลิขสิทธิ์รายการระดับโลก Hell's Kitchen เสริมเขี้ยวเล็บ". ผู้จัดการออนไลน์. 2022-09-09. สืบค้นเมื่อ 2023-08-25.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 "เปิดเตา Hell's Kitchen Thailand16 เชฟหนาวสั่นสะท้าน! เจอ 'เชฟป้อม-เชฟเอียน-เชฟวิลแมน-เชฟอ๊อฟ'แผ่รังสีอำมหิต". แนวหน้า. 31 มกราคม 2024. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "ครัวนรกมีไฟลุก เปิดหน้า "เชฟป้อม-เชฟวิลเมนท์" พิธีกรเฮล คิทเช่น ไทยแลนด์". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-10-14. สืบค้นเมื่อ 2023-10-14.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. ก็มาดิคร้าบ | Joker Kitchen’s Thailand ครัวนรกที่เดือดยิ่งกว่าน้ำมันในกระทะ | 7 เม.ย. 67, สืบค้นเมื่อ 2024-05-12
  5. ฉ่อยหน้าม่าน ตอน สามน้าคิตเชน | คุณพระช่วย | ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๗, สืบค้นเมื่อ 2024-05-21
  6. "เคอร์ เปิดใจดราม่า ผู้เข้าแข่งขันรายการโพสต์ถึง ลั่น ไม่มีอะไรต้องเคลียร์ เข้าใจไม่ได้ตั้งใจโพสต์". มติชน. 20 พฤษภาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้