มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
มาสเตอร์เชฟ ประเทศไทย เป็นรายการเกมโชว์ทำอาหาร โดย บริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด ซื้อลิขสิทธิ์จากกลุ่มเอนเดโมลชายน์ (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มแบนิเจย์) มาผลิตในรูปแบบของประเทศไทย ออกอากาศทางช่อง 7HD ครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2560 โดยเปิดรับสมัครผู้เข้าแข่งขันที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จากทุกอาชีพและทุกภาคของประเทศไทยร่วมเข้าแข่งขัน[1][2] (แต่ตั้งแต่ฤดูกาลที่ 5 เป็นต้นมา ได้เพิ่มเงื่อนไขการรับสมัคร โดยกำหนดให้ผู้สมัครไม่เคยเป็นเชฟ และไม่เคยเรียนหลักสูตรการทำอาหารเกิน 3 เดือน หรือ 180 ชั่วโมง) ดำเนินรายการโดย ปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ (คุณป๊อก) และมีกรรมการคือ หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ (อิงค์), หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล (เชฟป้อม) และ พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย (เชฟเอียน)
มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ | |
---|---|
เป็นที่รู้จักกันในชื่อ | มาสเตอร์เชฟ (MasterChef) |
ไทย | มาสเตอร์เชฟ ประเทศไทย |
อังกฤษ | MasterChef Thailand |
ประเภท | เรียลลิตี้ แข่งขันทำอาหาร |
สร้างโดย | แฟรงก์ รอดดัม |
เค้าโครงจาก | มาสเตอร์เชฟ (สหราชอาณาจักร) |
พิธีกร | ปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ |
กรรมการ | หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ประเทศไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ภาษาไทย |
จำนวนฤดูกาล | 13 (7 (ปกติ) + 3 (จูเนียร์) + 3 (เซเลบริตี้)) |
จำนวนตอน | 194 (รวมทุกฤดูกาล) |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการผลิต | กิติกร เพ็ญโรจน์ |
สถานที่ถ่ายทำ | เดอะ สตูดิโอ พาร์ค อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ |
กล้อง | กล้องหลายตัว |
ความยาวตอน | 90-120 นาที |
บริษัทผู้ผลิต | เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ช่อง 7HD |
ออกอากาศ | 4 มิถุนายน 2560 – ปัจจุบัน |
การแสดงที่เกี่ยวข้อง | |
มาสเตอร์เชฟจูเนียร์ประเทศไทย |
พิธีกรและกรรมการ
แก้ฤดูกาลปกติ
แก้กรรมการและพิธีกร | ฤดูกาล | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | 2 | 3 | ออลสตาร์ส | 4 | 5 | 6 | |
หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล (เชฟป้อม) | ✔ | ||||||
พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย (เชฟเอียน) | ✔ | ||||||
หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ (คุณอิงค์) | ✔ | ||||||
ปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ (คุณป๊อก) | ✔ |
มาสเตอร์เชฟจูเนียร์
แก้กรรมการและพิธีกร | ฤดูกาล | ||
---|---|---|---|
จูเนียร์ 1 | จูเนียร์ 2 | จูเนียร์ 3 | |
หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล (เชฟป้อม) | ✔ | ||
พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย (เชฟเอียน) | ✔ | ||
หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ (คุณอิงค์) | ✔ | ||
ปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ (คุณป๊อก) | ✔ |
มาสเตอร์เชฟเซเลบริตี้
แก้กรรมการและพิธีกร | ฤดูกาล | ||
---|---|---|---|
เซเลบริตี้ 1 | เซเลบริตี้ 2 | เซเลบริตี้ 3 | |
หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล (เชฟป้อม) | ✔ | ||
พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย (เชฟเอียน) | ✔ | ||
หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ (คุณอิงค์) | ✔ | ||
ปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ (คุณป๊อก) | ✔ |
กติกาการแข่งขัน
แก้รอบคัดเลือก (Auditions)
แก้กติกาซีซันที่ 1
แก้ในซีซันที่ 1 รอบ 100 คนสุดท้าย ทางรายการจะให้ผู้เข้าแข่งขันเตรียมอาหารเป็นเวลา 1 ชั่วโมง หลังจากนั้น ทางรายการจะให้ผู้เข้าแข่งขันทำอาหารที่เตรียมไว้พร้อมนำเสนอต่อหน้าคณะกรรมการเป็นเวลา 5 นาที เมื่อหมดเวลาคณะกรรมการจะชิมและตัดสิน โดยใช้เสียงจากกรรมการ 2 ใน 3 เสียง หรือเอกฉันท์เป็นที่สิ้นสุด หาก 2 ใน 3 เสียงให้ไม่ผ่าน ผู้เข้าแข่งขันคนนั้นจะตกรอบทันที แต่ในทางกลับกัน หาก 2 ใน 3 เสียงให้ผ่าน ผู้เข้าแข่งขันคนนั้นจะได้รับผ้ากันเปื้อนของรายการเพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า ผู้เข้าแข่งขันคนนั้นเข้าสู่รอบต่อไปทันที
รอบที่สอง เป็นการทดสอบทักษะพื้นฐานในการทำอาหาร โดยในซีซันที่ 1 นั้นจะเป็นการทดสอบการหั่นขิง โดยจะมีการคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันจำนวนหนึ่งเพื่อเข้าสู่การแข่งขันในรอบต่อไป และในรอบต่อไปจะให้ผู้เข้าแข่งขันทำอาหาร 1 จาน โดยที่ทางรายการจะกำหนดวัตถุดิบหลักและระยะเวลาในการทำอาหารให้ผู้เข้าแข่งขัน และผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกวัตถุดิบอื่นเพื่อใช้ประกอบอาหารได้ภายในเวลา 3 นาที หลังจากนั้นกรรมการจะตัดสินและประกาศผู้เข้าแข่งขันที่จะได้ผ่านเข้าสู่การแข่งขันรอบต่อไปที่มาสเตอร์เชฟคิทเชน
กติกาซีซันที่ 2 และ 3
แก้ในซีซันที่ 2 ผู้เข้าแข่งขันที่เข้ามาในรอบนี้มีทั้งหมด 30 คน จะต้องแสดงทักษะในการทำอาหารผ่านโจทย์ทดสอบ 2 รอบ ด้วยโจทย์วัตถุดิบหลักที่กำหนด ในแต่ละรอบจะมีผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขัน 5 คน จนเหลือ 20 คนสุดท้าย และจะได้รับผ้ากั้นเปื้อนเพื่อเป็นผู้เข้าแข่งขันตัวจริงต่อไป คล้ายกับในซีซันที่ 3 แต่ในรอบแรกจะมีผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับผ้ากันเปื้อนและผ่านเข้ารอบทันที 15 คน และจะเหลือผู้เข้าแข่งขันที่ต้องแข่งต่อในรอบที่สองจำนวน 10 คน เพื่อหาว่าใครเป็นเจ้าของผ้ากันเปื้อน 5 ผืนที่เหลือ
กติกาซีซันที่ 4
แก้ในซีซันที่ 4 รอบคัดเลือกรอบสุดท้าย ผู้เข้าแข่งขันจะถูกแบ่งกลุ่มตามความถนัดของตัวเอง กลุ่มละ 3 - 5 คน ในแต่ละรอบจะมีโจทย์วัตถุดิบหลัก 1 อย่าง เพื่อทำอาหาร 1 เมนูในเวลา 45 - 60 นาที โดยแต่ละกลุ่มมีผู้แข่งขันได้รับผ้ากันเปื้อนและผ่านเข้ารอบจำนวนเท่าใดก็ได้ หรือไม่มีผู้เข้าแข่งขันผ่านเข้ารอบเลยก็ได้ ในรอบนี้มีผู้เข้าแข่งขันจำนวน 24 คน และมีผ้ากันเปื้อนทั้งหมด 16 ผืน ดังนั้น หากแข่งขันครบแล้วและยังมีผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบไม่ครบทุกคน ผู้ที่ตกรอบบางคนจะได้รับสิทธิ์ในการแข่งขันรอบแก้ตัวเพื่อหาผู้ที่ผ่านเข้ารอบเพิ่มเติม
กติกาซีซันที่ 5
แก้ในซีซันที่ 5 รอบคัดเลือกรอบสุดท้าย ผู้เข้าแข่งขันที่เข้ามาในรอบนี้มีทั้งหมด 60 คน จะได้รับผ้ากันเปื้อนสีส้มเพื่อทำการแข่งขันในรอบนี้ โดยโจทย์การแข่งขัน คือ การแสดงทักษะขั้นพื้นฐานในการทำอาหารไทย จำนวน 2 รอบ โดยในรอบแรก คือ การทอดไข่ดาว และรอบที่สอง คือ การตำพริกแกงตามสีของสเตชัน ผู้เข้าแข่งขันที่ไม่สามารถทำได้ตามโจทย์จะตกรอบทันที โดยกรรมการจะเข้าไปกระชากผ้ากันเปื้อนของผู้เข้าแข่งขันออก จนเหลือผู้ที่สามารถตำพริกแกงได้ตรงตามโจทย์ จะได้เป็นผู้เข้าแข่งขันตัวจริง และรับผ้ากันเปื้อนสีขาว
รอบคัดเลือกรอบนี้ ทางรายการได้มอบโอกาสที่สองแก่ผู้ที่ตกรอบบางคน ให้กลับเข้าแข่งขันอีกครั้ง ผ่านการแข่งขันสองรอบ ได้แก้ ภารกิจแบบทีม และบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ ในรอบภารกิจแบบทีม จะต้องเลือกทีมและหัวหน้าทีมกันเอง โจทย์การแข่งขัน คือ การทำอาหารคาวและอาหารหวานจำนวนมากจากวัตถุดิบที่กำหนด ทีมที่ชนะจะได้รับสิทธิ์เลือกผู้เข้าแข่งขันบางคนรับผ้ากันเปื้อนและเข้ารอบทันที ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่เหลือจะต้องแข่งขันต่อกับทีมที่แพ้ในรอบทดสอบความคิดสร้างสรรค์เพื่อชิงผ้ากันเปื้อนที่เหลือ
กติกาซีซันที่ 6
แก้ในซีซันที่ 6 รอบคัดเลือกรอบสุดท้าย ผู้เข้าแข่งขันที่เข้ามาในรอบนี้มีทั้งหมด 30 คน จะแบ่งออกเป็น 4 รอบ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องแสดงศักยภาพในการทำอาหารไทยผ่านโจทย์ต่าง ๆ ผู้ที่ทำได้ดีที่สุดจะได้รับผ้ากันเปื้อนเพื่อผ่านเข้ารอบต่อไป ส่วนผู้เข้าแข่งขันอื่นจะต้องแข่งขันกันต่อโดยไม่มีการคัดออกระหว่างการแข่งขันจนกว่าจะจบรอบที่ 4
รอบกล่องปริศนา (Mystery Box)
แก้ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหาร 1 จานจากวัตถุดิบในกล่องปริศนาและวัตถุดิบเสริมที่จัดเตรียมไว้ให้เท่านั้น โดยคณะกรรมการจะทำการคัดเลือกอาหารจำนวน 3 จานที่ดีที่สุดมาชิมอีกครั้งที่โต๊ะของกรรมการและเลือกจานที่ดีที่สุดจาก 3 จานดังกล่าวเพียง 1 จานเท่านั้น โดยผู้เข้าแข่งขันที่เป็นผู้ชนะในรอบนี้จะได้รับสิทธิพิเศษแตกต่างกันออกไปในแต่ละรอบ และจะไม่มีการคัดออกใด ๆ ในรอบนี้ ยกเว้นในบางรอบที่อาจมีการคัดออกในรอบนี้โดยกรรมการจะแจ้งให้ทราบทุกครั้งหากมีการคัดออกในรอบนี้ ในบางครั้ง หากมีการคัดออก จะคัดเลือกอาหารในกลุ่มที่แย่ที่สุดมาชิมอีกครั้งเพื่อหาผู้ที่ถูกคัดออก
รอบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ (Invention Test)
แก้ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหาร 1 จานจากโจทย์และวัตถุดิบหลักที่กำหนดให้และต้องทำให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด โดยผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกวัตถุดิบที่จำเป็นต้องใช้ภายในเวลา 3 - 5 นาทีจากห้องจัดเก็บอาหาร (Food Pantry) ของมาสเตอร์เชฟ เมื่อหมดเวลาแล้วผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะต้องนำจานอาหารของตนเองมาเสิร์ฟที่โต๊ะของกรรมการตามลำดับการเรียกชื่อของพิธีกร ผู้เข้าแข่งขัน 2 คนที่ทำอาหารได้ดีที่สุดจะได้เป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันรอบการแข่งขันแบบทีมต่อไป ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารได้แย่ที่สุดจะถูกคัดออกจากการแข่งขัน
รอบการแข่งขันแบบทีม (Team Challenge)
แก้ผู้เข้าแข่งขันที่เป็นหัวหน้าทีมจะมีสิทธิเลือกผู้เข้าแข่งขันคนอื่นเข้าสู่ทีม โดยผู้ชนะอันดับ 1 จากรอบทดสอบความคิดสร้างสรรค์จะได้สิทธิในการเลือกสมาชิกทีมก่อน และมีสิทธิที่จะเลือกผู้เข้าแข่งขันคนสุดท้ายที่ยังไม่ได้ถูกเลือกเข้าสู่ทีมให้กับอีกทีมหนึ่ง หรือเลือกที่จะเก็บไว้ในทีมตัวเองก็ได้ ในรอบนี้ทั้ง 2 ทีมจะต้องทำอาหารให้กับผู้ลงคะแนนที่ทางรายการเชิญมาในสถานการณ์และวัตถุดิบหลักที่แตกต่างกันในแต่ละรอบ โดยผลแพ้หรือชนะนั้นจะมาจากการที่ผู้ลงคะแนนเลือกที่จะให้คะแนนทีมใดทีมหนึ่งเป็นจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ลงคะแนนทั้งหมด โดยทีมที่ชนะจะได้ผ่านเข้าสู่รอบต่อไปทันที ส่วนทีมที่แพ้นั้นจะต้องแข่งขันในรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำอีกครั้งเพื่อหาผู้เข้าแข่งขันที่ต้องออกจากการแข่งขันต่อไป
รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ (Pressure Test)
แก้ทีมที่แพ้ในรอบการแข่งขันแบบทีมจะต้องมาแข่งขันในรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำอีกครั้ง เพื่อหาผู้ที่ต้องออกจากแข่งขันอย่างน้อย 1 คน ในบางรอบหัวหน้าของทีมที่แพ้ หรือหัวหน้าทีมของทีมที่ชนะในการแข่งขันในรอบการแข่งขันแบบทีมสามารถเลือกผู้เข้าแข่งขันหรือตัวเองเพื่อผ่านเข้าสู่รอบต่อไปได้โดยไม่ต้องแข่งขันในรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำ ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารได้แย่ที่สุดจะถูกคัดออกจากการแข่งขัน
รอบกำจัดคนออก (Elimination Test)
แก้ในซีซันที่ 4 ตอนที่ 5 และเซเลบริตี้ ซีซัน 2 ตอนที่ 6 เป็นรอบที่ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหารให้ตรงตามต้นฉบับจากเมนูโจทย์ที่ผู้ชนะในรอบกล่องปริศนากำหนดให้ มีเวลาในการแข่งขัน 60 นาที ผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารได้แย่ที่สุดจะถูกคัดออกจากการแข่งขัน
ในซีซันที่ 5 ตอนที่ 10 ทีมที่แพ้ในรอบการแข่งขันแบบทีม จะต้องเข้ามาแข่งขันในรอบกำจัดคนออกร่วมกับผู้ที่ไม่ได้ถูกเลือกให้เข้าทีม เพื่อหาผู้ที่ออกจากการแข่งขันอย่างน้อย 1 คน โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องแข่งกันทำอาหารให้สมบูรณ์ที่สุดและเร็วที่สุด โดยตัดสินจาก การชูวัตถุดิบ รสชาติของอาหาร ความคิดสร้างสรรค์ และการจัดการเวลา ถ้าผู้เข้าแข่งขันคนใดทำอาหารเสร็จเป็นคนแรก และวิ่งไปกดปุ่มยุติการแข่งขัน ถือว่า การแข่งขันจะสิ้นสุดลงทันที และมีเวลาให้ผู้เข้าแข่งขันคนอื่น ๆ จัดจานอาหารให้เสร็จสมบูรณ์ภายใน 2 นาที ผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารได้แย่ที่สุดจะถูกคัดออกจากการแข่งขัน
รอบพิเศษ (Special Round)
แก้มักเกิดขึ้นเป็นบางกรณี เช่น การเปลี่ยนรอบกล่องปริศนา เป็นกล่องดำ และจะต้องมีผู้ถูกคัดออกจากการแข่งขันหรือเปลี่ยนกล่องปริศนาเป็นรอบ "โอกาสครั้งที่สอง" ให้สำหรับผู้เข้าแข่งขันที่ตกรอบไปแล้วได้รับโอกาสแข่งขันและกลับเข้าสู่การแข่งขันอีกครั้งหนึ่ง
ฤดูกาล
แก้ฤดูกาลปกติ
แก้ฤดูกาล | ออกอากาศ ครั้งแรก |
ออกอากาศ ครั้งสุดท้าย |
ผู้ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | ผู้เข้าแข่งขัน (เรียงตามลำดับคนออก) |
จำนวนผู้แข่งขัน | จำนวนตอน |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | 4 มิถุนายน 2560 | 24 กันยายน 2560 | ปวีณ์นุช ยอดปรีชาวิจิตร | ริซ่า อลิษา ดอร์สัน | สุรีพร ณ ตะกั่วทุ่ง, พงศกร เจียรสาธิต, อภิพงศ์ เดชสุภา & รุจิกร มั่งมี, มาริษา วิไลโรจน์วรกุล, บุฏกา โรจนัย, ลักษณาวดี ศรีพรสวัสดิ์ & นิกูล พยุงพงษ์, กสิณ เดชเจริญ, สุวิจักขณ์ พฤกษ์ทยานนท์, ธนากร สุวรรณกฏ, สุธากร สุวรรณโชติ, จำลอง ศรีรักษา & ณัฐนิชา บุญเลิศ | 16 | 17 |
2 | 4 กุมภาพันธ์ 2561 | 27 พฤษภาคม 2561 | ธนภัทร สุยาว | รภัสสรณ์ จิรจุรีย์ชัย (ชื่อเดิม: นลัท จิรวีรกูล) | พิชญ์ธาร เลิศอุดมธนา, ชุติกาญจน์ อุปรานุเคราะห์, ภวัต กฤษฤๅนนท์, พันทิวา นิรันดโรภาส, ณิชชา รุ่งโรจน์ธนกุล, นฤพนธ์ กรประเสริฐ, ปุญญเนตร ธนัพประภัศร์, แอนนี่ ปอทเจส, มณีพร พรโชติทวีรัตน์, มินตรา ยลอนันต์ & นลินรัตน์ สมุทรรัตนกุล, สัญญา ธาดาธนวงศ์, อิศรา ดรลีเคน, พงศพล ยังมีสุข, ดิษกุล ประสิทธิ์เรืองสุข, แบงค์ เจตะสานนท์ & น้ำทิพย์ ภูศรี, คมสันต์ วงค์ษา | 20 | |
3 | 3 กุมภาพันธ์ 2562 | 9 มิถุนายน 2562 | นันทวัฒน์ จรรยาลิขิต | พัดชา กัลยาณมิตร ชานิน จีมะ |
กรณ์รวี ฐิติอมรวิทย์ & ปิยากร อวยพร, ณภัทร เหมภัทรสุวรรณ, ศรคม แก้วเสมอตา, ณฐคุณ เหล่านุญชัย, ภาคิน มีจินดา, ชัชชษา อู่พิชิต, สายชล ศรประเสริฐ, ณฐินี เจียมประเสริฐ, เอกรัฐ วชิรทองไพศาล, จิตศักดิ์ หลิมภากรกุล, รภัสสา ศิริเลิศโสภณ, ชานนท์ เรืองศรี, สุชาติ ใจฉ่ำ, สหดล ตันตราพิมพ์, เจสสิก้า หวัง | 19 | |
ออล สตาร์ |
2 กุมภาพันธ์ 2563 | 2 สิงหาคม 2563 | อี้เหิน หวัง | น้ำทิพย์ ภูศรี ชานิน จีมะ |
นิกูล พยุงพงศ์, สุชาติ ใจฉ่ำ, อิศรา ดรลีเคน, มณีพร พรโชติทวีรัตน์, ดิษกุล ประสิทธิ์เรืองสุข, รภัสสา ศิริเลิศโสภณ, จำลอง ศรีรักษา, ชานนท์ เรืองศรี, สหดล ตันตราพิมพ์, จิตศักดิ์ หลิมภากรกุล, พัดชา กัลยาณมิตร, ณัฐนิชา บุญเลิศ & คมสันต์ วงค์ษา, สัญญา ธาดาธนวงศ์ & อลิษา ดอว์สัน, รภัสสรณ์ จิรจุรีย์ชัย & แบงค์ เจตะสานนท์ | 20 | |
4 | 21 กุมภาพันธ์ 2564 | 11 กรกฎาคม 2564 | พรชนัน พัฒนาปัญญาสัตย์ | ณัฐวัฒน์ เกษมวิลาศ ปณิธี ตั้งศตนันท์ |
อิสสลา ธนาดำรงศักดิ์, ปฐมาภรณ์ อนุวนาวงศ์, ธัญวลัย เลิศรัฐพงษ์, เวชกร เจริญปัญญาวุฒิ, ณัฐนันท์ ชุติมาจิรัฐติกร, อนันต์ รักดี, ฐณะวัฒน์ ชูประเสริฐโชค, พัชรมณฑ์ เจริญชัย & จิตนเร บุญแสงวัฒน์, ภูรินท์ พัฒนวิริยะวาณิช, ภัคพงศ์ สังข์วิเศษ, ชัชวาร บุญทอง, ธนพร ตีรณะวาณิช | 16 | |
5 | 13 กุมภาพันธ์ 2565 | 19 มิถุนายน 2565 | อังศ์กฤษฏิ์ เชื้ออ่ำ | ชนิดาภา พรพินิต | แทนพล เลิศฤทธิ์เดชา & ไพลิน แจ้งประจักษ์ & สุเมศ วิโรจน์ชัยยันต์, ทวีโชค ชาญณรงค์, ตฤณพงศ์ จุลพรรค์ , เทพนิมิตร ปรีชาญาณ, อลิสา โถสัมฤทธิ์ & โสภณ ภูมิรัตนวงศ์ & สุรเชษฐ์ ช่วยแทน, ศรัณย์ อัศวานุชิต & ศุภนาถ เต็มรัตน์ & สุรวดี มีแสงพราว, พงษ์สุวรรณ รัตนสุวรรณ, สิทธิพร สุวรรณรัตน์, ทอฝัน แม๊คเคย์ & ธัชศินี เกียรติคุณพันธุ์, อนุวัฒน์ วัดพ่วง & วรท พานิชวิทย์ พิณแพทย์ & มิเชล เจนติลี, จำเริญ สุธรรมโกศล, พิมพ์ทิพย์ เป้าศิลา, ประเสริฐ ทองบริสุทธิ์ & จิรายุ เจษฎากรชัย, ยุพดี สัตตะรุจาวงษ์, แบรด ชื่นสมทรง | 27 | 18 |
6 (อาหารไทย) | 11 มิถุนายน 2566 | 8 ตุลาคม 2566 | วลาสุระ ณ ลำปาง | อารยา ศิริแวว วสุรัตน์ แก้ววิชิต |
ละเอียด กรองทอง, นวรัตน์ สุวรรณสินธุ์, ปริชญาอร จุ่นขจร, อวิรุทธ เมฆสุวรรณ, กอบกฤต เกษตรากสิกรรม, ไวภพ ยอดแสวง, ฮุซนี อาดหมัน, รณกร เฮงสกุลวัฒน์ & ณัชพล ประกอบนา, พรวิภา นาคสกุล, ทิฎฐิพงษ์ ศรีวิไล, ณัฐพล ประทุมศรีสาคร & พินทุ์สุดา สังข์ทอง & ธมนวรรณ เสตะปุระ | 17 | 17 |
มาสเตอร์เชฟจูเนียร์
แก้ฤดูกาล | ออกอากาศ ครั้งแรก |
ออกอากาศ ครั้งสุดท้าย |
ผู้ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | ผู้เข้าแข่งขัน (เรียงตามลำดับคนออก) |
จำนวนผู้แข่งขัน | จำนวนตอน |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | 19 สิงหาคม 2561 | 9 ธันวาคม 2561 | ชนัญชิดา พงษ์เพ็ชร | สิริศักดิ์ มาทอง ภาวริสร์ พานิชประไพ |
นาโน & ราฟาแอล, เอ็นดู & แพรว, ซีนาย & เมล, แทน & เคซี, กัปตัน & สตังค์, อลิช & ริต้า, ชาช่า & ภูมิ, บูม & น้ำใส, อชิ & พอใจ, กอหญ้า & พีช, อัยริน, จัสมิน & เชน | 26 | 16 |
2 | 22 กันยายน 2562 | 22 ธันวาคม 2562 | พริมา สิงหะผลิน | คีตกานท์ พงษ์ศักดิ์ วีรวิน เลิศบรรณพงษ์ |
เฟิร์น สุประวีณ์ & สตางค์ ธาดา, ภูมิใจ ศศิชา & เอพริล ภูวริศา, โกะ ณัชชา & ริสา มาริสา, แพท ชณิชา & เฟิร์ส ภควัฒน์, ฟิจิ กฤตภาส & มะกร ภุม ผนินทร, อิ่ม จิดาภา & โมสต์ ภูรี, จินจิน อินทร์ริตา & เคนเน็ธ เคนเน็ธ, พรีม ประวีร์รัชย์ & จัสติน ณัฐสกนธ์, รันย่า พิลันยา & ฟุ้ย พศิน, เฌอแตม ญาณิณีศ์, ตั้น ภาคิน & ปาร์แมน ปุญญพัฒน์, ชูบี้ จิรัชญา & เนลล์ กรรัมภา, เฟย์ รรกร & พอดี พอดี | 28 | 14 |
3 | 2 มิถุนายน 2567 | 8 กันยายน 2567 | กรรณปกร อภิบุญอำไพ เอกตระการ เชี่ยวพัทธยากร |
สุคนธา วัชรพินธุ์ ณัฐพิสิษฐ์ เลิศมุกดา |
พร้อม นภัทร & เพลงเพราะ นัทธ์ชวัล, ปาณพุฒิ ปาณพุฒิ & ผิงอัน เฌอนิตา, ซันนี่ ซันนี่, พูม่า พูมา & เกรซ พิทย์รดา, แพนเตอร์ แพนเตอร์ & อลีน่า อลีนา, แซค ชัยกฤต & คอปเตอร์ ณัฐวรรธน์, ชิน นรโชติ & ซัญ เอดิสันต์, แอรี่ แอรี่เม & รถถัง ภีมพศ, เอญ่า อนัญญา, น้ำใจ ธัญชนก, ดราโก้ กร & วิน ภควุฒิ, ฟรอยด์ ณธกร & ยูจิน วิกตอเรีย | 25 | 13 |
มาสเตอร์เชฟเซเลบริตี้
แก้ฤดูกาล | ออกอากาศ ครั้งแรก |
ออกอากาศ ครั้งสุดท้าย |
ผู้ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | ผู้เข้าแข่งขัน (เรียงตามลำดับคนออก) |
จำนวนผู้แข่งขัน | จำนวนตอน |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | 1 พฤศจิกายน 2563 | 20 ธันวาคม 2563 | พิชญ์ กาไชย | ปฏิภาณ ปฐวีกานต์ หนึ่งธิดา โสภณ ปวีณ์นุช แพ่งนคร |
ธนัชพันธ์ บูรณาชีวาวิไล, ภัครมัย โปตระนันทน์, ภัณฑิลา ฟูกลิ่น, พิมรา เจริญภักดี, สมพล ปิยะพงศ์สิริ, ชินวุฒิ อินทรคูสิน | 10 | 8 |
2 | 3 ตุลาคม 2564 | 26 ธันวาคม 2564 | อรรณพ ทองบริสุทธิ์ | พัสกร พลบูรณ์ ชวัลกร วรรธนพิสิฐกุล |
คาร์โรไลน์ เอมมา สปริงเก็ตต์, สิรีภรณ์ ยุกตะทัต, นลิน โฮเลอร์, ธนทัต ชัยอรรถ, อัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์, ภพธร สุนทรญาณกิจ, ณิชาภัทร ฉัตรชัยพลรัตน์, ธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญ, ธันวา สุริยจักร |
12 | 11 |
3 | 9 ตุลาคม 2565 | 25 ธันวาคม 2565 | ดรุณี สุทธิพิทักษ์ | อรจิรา แหลมวิไล พงศกร โตสุวรรณ เขมรัชต์ สุนทรนนท์ |
วรยศ บุญทองนุ่ม, สุรัตนาวี ภัทรานุกุล, วรินดา ดำรงผล, ธีระชาติ ธีระวิทยากุล, จุติ จำเริญเกตุประทีป, อาทิตย์ สมน้อย, เกียรติศักดิ์ อุดมนาค, ปิยา พงศ์กุลภา, ปองศักดิ์ รัตนพงษ์, มณีรัตน์ คำอ้วน |
14 | 12 |
มาสเตอร์เชฟ เดอะโปรเฟสชั่นแนลส์
แก้ฤดูกาล | ออกอากาศ ครั้งแรก |
ออกอากาศ ครั้งสุดท้าย |
ผู้ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | ผู้เข้าแข่งขัน (เรียงตามลำดับคนออก) |
จำนวนผู้แข่งขัน | จำนวนตอน |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | เร็ว ๆ นี้ |
รางวัล
แก้ปี พ.ศ. | ผู้มอบรางวัล | สาขารางวัล | ผลการตัดสิน |
---|---|---|---|
2561 | ดาราเดลี่ อวอร์ดส์ ครั้งที่ 7 | รายการโทรทัศน์ที่สุดแห่งปี | ชนะ |
ฟีเวอร์ อวอร์ด ครั้งที่ 4 | รายการโทรทัศน์ฟีเวอร์ | ชนะ | |
รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 9 | รายการวาไรตี้ยอดเยี่ยม | ชนะ | |
2562 | รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 10 | รายการเกมส์โชว์ยอดเยี่ยม | ชนะ |
2563 | รางวัลนาฏราช ครั้งที่ 11 | รายการเกมส์โชว์ยอดเยี่ยม | ชนะ |
INTERNATIONAL EMMY AWARDS ครั้งที่ 48 | Non-Scripted Entertainment | เสนอชื่อเข้าชิง |
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ news.ch7. "รับสมัครมาสเตอร์เชฟ ประเทศไทย พร้อมชิงเงินรางวัล 1 ล้านบาท พร้อมเป็นมาสเตอร์เชฟคนแรกของประเทศไทย". สืบค้นเมื่อ 23 Mar 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย] - ↑ "กิติกร เพ็ญโรจน์ เสิร์ฟรสดราม่า ในมาสเตอร์เชฟ ไทยแลนด์". Posttoday. สืบค้นเมื่อ 23 Mar 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)